ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ชีวประวัติย่อ ปรีดี พนมยงค์

ชีวประวัติย่อ ปรีดี พนมยงค์

1. นามบิดามารดา

นายเสียง กับ นางลูกจันทน์ พนมยงค์

2. วันเกิดและที่เกิด

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ณ บ้านหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3. การศึกษาในประเทศไทย

(1) เริ่มศึกษาหนังสือไทยที่บ้านครูแสง ตำบลท่าวาสุกรี แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่บ้านหลวงปราณีฯ (เปี่ยม) อำเภอท่าเรือ

(2) อ่านออกเขียนได้แล้วเข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดรวก ซึ่งสมัยนั้นเป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอท่าเรือ สอบไล่ได้ชั้น 1 ประโยค 1 (ตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการสมัยนั้น ที่จำแนกการศึกษาสามัญออกเป็น 3 ประโยค ๆ ละ 4 ชั้น ยังมิได้จำแนกเป็นข้อมูล, ประถม, มัธยม)

(3) ต่อมากระทรวงธรรมการจัดหลักสูตรใหม่ จำแนกเป็นชั้นมูล, ประถม, มัธยม จึงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า สอบไล่ได้ประถมบริบูรณ์ตามหลักสูตรใหม่แล้ว ย้ายไปศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างมณทลกรุงเก่าจนสอบไล่ได้ได้ชั้นมัธยม 6 (ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง) แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบอีก 6 เดือน จึงลาออกเพื่อกลับไปช่วยบิดาทำนา ซึ่งได้รับความรู้ทางปฎิบัติเป็นอันมากจากชาวนา

(4) ใน พ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา โดยอาจารย์เลเดแกร์ (E.LADEKER) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศเป็นผู้สอน

(5) พ.ศ. 2462 สอบไล่วิชากฎหมายชันเนติบัณฑิตได้ แต่ตามข้อบังคับสมัยนั้นยังเป็นเนติบัณฑิตไม่ได้เพราะมีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องรอจนถึงมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ใน พ.ศ. 2463 จึงได้เป็นสมาชิกสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา

4. กิจกรรมพิเศษและรับราชการระหว่างเป็นนักเรียนกฎหมาย

(1) พ.ศ. 2460 - 2461 เป็นเสมียนสำนักงานทนายความพระวิชิตมนตรี (สุด กุลฑลจินดา) อดีตอธิบดีศาลมณฑลชุมพร และอดีตผู้ช่วยเจ้ากรมพระธรรมนูญทหารบก

(2) พ.ศ. 2462 - 2463 เป็นเสมียนโทกรมราชทัณฑ์

(3) เคยได้รับอนุญาตพิเศษเป็นทนายความบางคดี

5. การศึกษาในประเทศฝรั่งเศส

(1) สิงหาคม พ.ศ. 2463 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ ประเทศฝรั่งเศส

(2) ศึกษาภาษาฝรั่งเศสและความรู้ทั่วไปที่วิทยาลัย (Lycee) กอง (Caen) และศึกษาพิเศษจากอาจารย์เลอบอนนัวส์ (LEBONNOIS) ซึ่งเป็นเลขาธิการสถาบันคุรุศาสตร์ระหว่างประเทศ (Institut Pedagogique International)

(3) ศึกษากฎหมายที่วิทยาลัยกอง (Caen) สอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "บาเชอลิเอร์" กฎหมาย (Bachelier en Droit) และสอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "ลิซองซิเอ" (Licencie en Droit)

(4) ศึกษาต่อที่วิทยาลัยปารีส สอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย" (Docteur en Droit) ฝ่ายนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques) และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจ (Diplome d'Etudes Superieures d'Economie Politique)

6. กิจกรรมพิเศษในระหว่างศึกษาในฝรั่งเศส

(1) เมื่อ พ.ศ. 2466 - 2467 (ค.ศ. 1924 - 1925) ร่วมกับนักเรียนไทยในฝรั่งเศสกับสวิสเซอร์แลนด์และนักเรียนไทยในประเทศอื่นส่วนที่ขึ้นต่อสถานทูตสยามกรุงปารีส ตั้งเป็นสมาคมอันหนึ่งอันเดียวกันเรียกชื่อว่า "สามัคยานุเคราะห์สมาคม" อักษรย่อ "ส.ย.า.ม." เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "Association Siamoise d'intellectualite et d' Assistance Mutuelle" อักษรย่อ "S.I.A.M."

(2) ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการสมาคมคนแรก แล้วใน พ.ศ .2468 (ค.ศ. 1925) ได้รับเลือกตั้งเป็นสภานายกสมาคม และใน พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ได้รับเลือกตั้งเป็นสภานายกสมาคมอีกครั้งหนึ่ง

(3) ริเริ่มที่จะแปลงสมาคมฯ ให้เป็นสหภาพแรงงานและการต่อสู้ท่านอัครราชทูตสยามสมัยนั้นซึ่งเป็นตัวแทนระบบสมบูรณาฯ

7. ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน รวมเป็น 7 คน ประชุมครั้งแรกก่อตั้งคณะราษฎรที่กรุงปารีสเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927

(ปฏิทินไทยขณะนั้นยังเป็น พ.ศ. 2469 ปฏิทินไทยปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2470)

ผู้ที่เข้าร่วมประชุมครั้งแรกคือ

  1. ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี (นายทหารกองหนุน)
  2. ร.ท.แปลก ขีตตะสังขะ (จอมพล ป. นักศึกษาโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส)
  3. ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี (นักศึกษาโรงเรียนนายทหารม้าฝรั่งเศส)
  4. นายตั้ว ลพานุกรม (เดิมศึกษาในเยอรมันนีสมัยพระเจ้าไคเซอร์วิลเลี่ยมที่ 2 ต่อมาเมื่อสยามประกาศสงครามกับเยอรมัน นายตั้วฯ ถูกรัฐบาลเยอรมันจับเป็นเชลยศึก ต่อมาเยอรมันทำสัญญาหยุดยิง (Armistice) กับสัมพันธมิตร นายตั้วฯ ได้รับการปลดปล่อยตัวแล้วเดินทางมาฝรั่งเศสสมัครเป็นทหารอาสาไทย ได้รับยศเป็นจ่านายสิบ เสร็จสงครามแล้วไปศึกษาปริญาเอกทางวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยในสวิตเซอร์แลนด์)
  5. หลวงสิริราชไมตรี นามเดิม จรูญ สิงหเสนี (อดีตนายสิบตรีกองทหารอาสาสงครามดลกครั้งที่ 1) ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส
  6. นายแนบ พหลโยธิน (เนติบัณฑิตอังกฤษ หลานอาว์พระยาพหลพลหยุหเสนา- พจน์)
  7. นายปรีดี พนมยงค์

8. หน้าที่ราชการก่อนอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 

(1) ผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม

  • ฝึกหัดอัยการศาลต่างประเทศและศาลคดีต่างประเทศเป็นเวลา 6 เดือน
  • ทำบันทึกกระทงแถลงสำนวนคดีฎีกาประจำศาลฎีกาเป็นเวลา 6 เดือน

(2) เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย

(3) ผู้สอน ณ โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ตอนว่าด้วย "ห้างหุ้นส่วน, บริษัท, สมาคม"
  • กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
  • ผู้สอนคนแรกวิชา "กฎหมายปกครอง" (Administratif)

9. กิจกรรมพิเศษก่อนการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน

(1) อาศัยการสอนที่โรงเรียนกฎหมายฯ ปลุกจิตสำนึกนักศึกษาให้สนใจเป็นขั้นๆ ไป ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบสมบูรณาฯ เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินประชาธิปไตย

(2) เปิดการอบรมทบทวนวิชากฎหมายที่บ้านถนนสีลมโดยไม่คิดค่าสอนแก่นักเรียนกฎหมาย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักเรียนฯ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีนักเรียนกฎหมายหลายคนเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎรประเภท ดี 1. และเป็นผู้สนับสนุนคณะราษฎรประเภท ดี 2. และ ดี 3.

10. ร่วมกับสมาชิกคณะราษฎรที่เป็นทหารบก, ทหารเรือ และพลเรือน ทำการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475

(รายละเอียดยืดยาวจะได้กล่าวไว้อีกบทความหนึ่ง)

11. หน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารตั้งแต่ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวฉบับ 27 มิถุนายน 2475

(1) ได้รับแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 28 มิถุนายน 2475

(2) ได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นเลขาธิการ (คนแรก) ของสภาฯ นั้น

(3) ได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นอนุกรรมการคนหนึ่งในจำนวน 9 คน มีหน้าที่ร่างธรรมนูญปกครองแผ่นดินถาวรซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อว่า "รัฐธรรมนูญ" โดยร่วมมือกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น สภาฯ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็น รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475

(4) ได้รับเลือกตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็น "กรรมการราษฎร" คนหนึ่งในจำนวน 15 คน ซึ่งทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินร่วมกับ "เสนาบดี" พระยามโนปกรณ์ฯ เป็น "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว คณะกรรมการราษฎรและเสนาบดีได้เลิกไปโดยมี "คณะรัฐมนตรี" ขึ้นแทน ปรีดี ได้รับแต่งตั้งเป็น "รัฐมนตรี" ประเภทไม่ดำรงกระทรวงใดที่เรียกกันว่า "รัฐมนตรีลอย" พระยามโนปกรณ์ฯ เป็นนายกรัฐมนตรี

12. เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ

เสียงเรียกร้องจากราษฎรและผู้แทนราษฎรให้รัฐบาลกำหนดโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติตามที่แถลงต่อราษฎรไว้โดยประกาศของคณะราษฎรฉบับ 24 มิถุนายน 2475 รัฐบาลจึงมีมติมอบหมายให้ปรีดีฯ เป็นผู้ร่างโครงการเศรษฐกิจเสนอรัฐบาล

ปรีดีฯ เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจต่อรัฐบาล รัฐบาลตั้งอนุกรรมการพิจารณาเค้าโครงการเศรษฐกิจนั้น อนุกรรมการส่วนข้างมากเห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฯ ที่นายปรีดีฯ เสนอ แต่อนุกรรมการส่วนข้างน้อย อาทิ พระยามโนฯ, พระยาศรีวิศาลฯ, พระยาทรงสุรเดช, นายประยูร ภมรมนตรี ไม่เห็นด้วย ครั้นแล้วคณะอนุกรรมการฯ นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีส่วนมากไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงการเศรษฐกิจนั้น แต่รัฐมนตรีส่วนน้อยเห็นด้วยกับเค้าโครงการเศรษฐกิจนั้น ปรีดีฯ จึงแถลงต่อคณะที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า เมื่อปรีดีเป็นฝ่ายที่มีเสียงข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี ปรีดีฯ ก็ขอลาออกจากคณะรัฐมนตรีตามวิถีทางประชาธิปไตย โดยจะนำเค้าโครงการเศรษฐกิจนั้นเสนอต่อราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 ซึ่งปรีดีฯ จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร

13. รัฐบาลพระยามโนฯ ปิดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา, พ.ร.บ.คอมมิวนิสต์, เนรเทศนายปรีดีฯ

แต่รัฐบาลมิได้ปฎิบัติตามวิถีทางประชาธิปไตยที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ตามธรรมนูญ หากรัฐบาลใช้วิธีเผด็จการคือ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476 รัฐมนตรีส่วนหนึ่งภายใต้การนำของพระยามโนฯ ได้นำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ให้ลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา "ปิดสภาผู้แทนราษฎร" และ "'งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา" คือ คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารมีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย

พร้อมกันนั้นรัฐบาลก็ได้ออกกฎหมายที่เรียกว่า "พระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ 2476" และออกแถลงการณ์ปรีดีฯ ว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" และบังคับให้ปรีดีฯ กับภรรยาต้องเดินทางออกจากประเทศไทยไปอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส

14. การอภิวัฒน์ 20 มิถุนายน 2476

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เป็นหัวหน้านำทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ยึดอำนาจการปกครองประเทศและนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ถึงความประสงค์ที่จะให้เปิดสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกัน 26 คน ได้ยื่นคำร้องขอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรให้นำความกราบบังคมทูลเรียกประชุมวิสามัญแห่งสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ประธานสภาฯ จึงได้นำความกราบบังคมทูล ครั้นแล้วพระมหากษัตริย์ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ ได้ ตั้งแต่วันที่ 21 เดือนเดียวกันนั้น และโปรดเกล้าฯ ให้ใช้รัฐธรรมนูญบับ 10 ธันวาคมต่อไป ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาพหลฯ เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่แทนรัฐบาลพระยามโนฯ ที่ลาออกไป

15. ปรีดีฯ กลับสู่สยาม

หนังสือพิมพ์หลายฉบับถามพระยาพหลฯ ว่าทางการจะให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี) เดินทางกลับสยามหรือไม่ พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีตอบว่าได้ติดต่อกับหลวงประดิษฐ์ฯ ให้เดินทางกลับแล้ว ได้รับตอบว่ายินดีกลับสยาม แต่ขอให้รัฐบาลนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาเสียก่อน นายกรัฐมนตรีจึงนำความกราบบังคมทูลและโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 หลวงประดิษฐ์ฯ จึงเดินทางกลับสยาม

16. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2476 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

(1) ปรีดีได้ปฎิบัติการเพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นและท้องที่คือ

  • ได้ตั้งเทศบาลทั่วราชอาณาจักรสยามตาม พ.ร.บ.เทศบาล ซึ่งปรีดีเป็นผู้ร่างให้รัฐบาลพระยาพหลฯ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การปกครองท้องถิ่นเป็นไปตามระบบประชาธิปไตย
  • ได้มีการกวดขันให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่

(2) ได้จัดตั้งกรมโยธาเทศบาลเพื่อสอดคล้องกับการปกครองเทศบาลและสร้างทางท้องที่หลายจังหวัด

(3) ป้องกันและปราบปรามการประทุษร้ายระหว่างมนุษย์ด้วยกันให้ลดน้อยลงกว่าสมัยก่อน

(4) สร้างโรงพยาบาลหลายแห่งรวมทั้งจัดให้มีเรือพยาบาลตามลำน้ำโขงโดยใช้สลากกินแบ่งของท้องที่

(5) สร้างฝายและพนังหลายแห่งเพื่อช่วยชาวนาและเกษตรกร

(6) สร้างทัณฑนิคมเพื่อให้ผู้พ้นโทษแล้วมีที่ดินของตน

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

17. ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

เสนอรัฐบาลให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเพื่อให้เป็นตลาดวิชาอำนาวยการศึกษาวิชาการกฎหมาย วิชาเศรษฐกิจ และวิชาการอื่นๆ อันเกี่ยวกับธรรมศาสตร์และการเมือง เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการและประชาชนมีโอกาสศึกษาได้อย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการเผยแพร่และปลูกฝังระบอบประชาธิปไตยให้รู้หน้าที่การปกครองบ้านเมืองในระบบนี้ รัฐบาลเห็นชอบด้วยจึงให้หลวงประดิษฐ์ (ปรีดี) เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 เพื่อเสนอสภาผู้แทนราษฎร สภาฯ เห็นชอบด้วยและอนุมัติให้เป็นกฎหมายได้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2476 (ตามปฎิทินเดิม)

ครั้นแล้วรัฐบาลได้เสนอขอความเห็นชอบจากสภาฯ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์แต่งตั้งให้ปรีดี เป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนั้น เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2477 ปรีดีดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา 18 ปี จึงพ้นจากตำแหน่งนั้น เนื่องจากรัฐบาลที่สืบต่อจากคณะรัฐประหาร 2490 ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ขึ้นใหม่ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2495 ยุบตำแหน่งผู้ประศาสน์การ

ในระว่างที่ปรีดีเป็นผู้ประศาสน์การนั้น ได้ปฎิบัติการเพื่อให้นักศึกษานิยมระบบประชาธิปไตย ดังที่นักศึกษาส่วนมากของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองทราบอยู่แล้ว

18. เดินทางไปต่างประเทศเจรจาลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่รัฐบาลรัชกาลที่ 6 ได้ทำไว้ และทาบทามรัฐบาลต่างประเทศที่จะแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาค

ครั้งรัชกาลที่ 6 รัฐบาลได้กู้เงินจากธนาคารอังกฤษเพื่อนำมาใช้ก่อสร้างสาธารณูปโภค ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี ฉะนั้นเมื่อ พ.ศ. 2478 รัฐบาลพระยาพหลฯ จึงได้มอบหมายให้ปรีดีเดินทางไปกรุงลอนดอน เพื่อเจรจาแปลงดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลงมา ปรีดีได้เจรจาให้ธนาคารอังกฤษลดดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 6 ต่อปี เป็นร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งเป็นผลให้ชาติไทยได้ลดดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนมาก

ในคราวเดียวกันนั้นปรีดีได้เดินทางไปประเทศมหาอำนาจเพื่อทาบทามถึงการที่รัฐบาลสยามจะเปิดเจรจาใหม่เพื่อยกเลิกสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับประเทศนั้นๆ

19. การเจรจาให้สยามมีเอกราชและอธิปไตยสมบูรณ์และได้ดินแดนบางส่วนระหว่างเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 และดำรงตำแหน่งนี้จนถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญคือ

(1) ในสมัยรัฐบาลสมบูรณาฯ นั้น สยามถูกจักรวรรดินิยม (Imperialism) หลายประเทศบังคับให้จำต้องทำสัญญาไม่เสมอภาค โดยยอมให้หลายประเทศจักรวรรดินิยมมีสิทธิพิเศษเหนือประเทศไทยหลายประการ อาทิ คนในบังคับต่างประเทศเหล่านั้นทำผิดในดินแดนไทย แต่ศาลไทยไม่มีอำนาจตัดสิน หากรัฐบาลไทยต้องส่งตัวคนต่างประเทศที่ทำผิดนั้นไปให้ศาลกงสุลของต่างประเทศชำระคดี แม้ต่อมาบางประเทศ อาทิ อังกฤษและฝรั่งเศส ยอมผ่อนผันให้ไทยตั้งศาลต่างประเทศและศาลคดีต่างประเทศซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาไทยและที่ปรึกษากฎหมายชาวยุโรปร่วมกันพิจารณาพิพากษาคดีคนในบังคับอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นก็ตาม แต่ในสนธิสัญญาก็ได้กำหนดไว้อีกว่า ถ้าความเห็นของผู้พิพากษาไทยขัดแย้งกับที่ปรึกษาชาวยุโรป ก็ให้ถือเอาความเห็นของที่ปรึกษาชาวยุโรปนั้นเป็นความเห็นใหญ่กว่าผู้พิพากษาไทยโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้พิพากษาไทยมีจำนวนมากกว่าที่ปรึกษาชาวยุโรป

แม้กระนั้นสนธิสัญญาก็ยังได้กำหนดไว้อีกว่าคดีที่อยู่ในศาลต่างประเทศนั้น กงสุลอังกฤษก็ยังมีอำนาจที่จะถอนคดีไปชำระที่ศาลกงสุลอังกฤษได้ สถานกงสุลของหลายประเทศมีศาลและมีคุกสำหรับคนในบังคับของตนโดยเฉพาะ และมีสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่เรียกตามศัพท์กฎหมายต่างประเทศว่า "สภาพนอกอาณาเขต" (Extraterritoriality)

ส่วนในทางเศรษฐกิจนั้นประเทศจักรวรรดินิยมดังกล่าวมีสิทธิพิเศษตามสนธิสัญญาไม่เสมอภาค คือ ประเทศไทยถูกบังคับให้เก็บภาษีขาเข้าได้เท่าที่สนธิสัญญากำหนดไว้ คือ เดิมเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3 ของราคาสินค้าขาเข้า แม้รัฐบาลสมบูรณาฯ ได้แก้ไขสนธิสัญญาให้สยามมีสิทธิมากขึ้นบ้าง แต่ก็ยังมีข้อกำหนดอัตราภาษีศุลกากรไว้อีกหลายประการ อีกทั้งจักรวรรดินิยมหลายประเทศได้มีสิทธิพิเศษอื่นๆอีก อาทิ ได้สัมปทานป่าไม้, เหมืองแร่, การเดินเรือ ฯลฯ และมีอำนาจกับอิทธิพลในทางการเมืองเหนือประเทศไทย

เมื่อปรีดีได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลพระพหลฯ แล้ว พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีจึงมอบหน้าที่ให้ปรีดีเป็นผู้ปฎิบัติการเพื่อเจรจาสนธิสัญญาฉบับใหม่กับนานาประเทศเพื่อให้สยามมีเอกราชและอธิปไตยสมบูรณ์ ปรีดีจึงใช้ยุทธวิธีบอกเลิกสัญญาไม่เสมอภาคกับประเทศจักรวรรดินิยมต่างๆนั้น และได้ยื่นร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่สยามได้เอกราชและอธิปไตยสมบูรณ์นั้นแก่ประเทศจักรวรรดินิยมพิจารณา ปรีดีได้ใช้ความอุตสาหะพยายามเจรจาโดยอาศัยหลัก "ดุลยภาพแห่งอำนาจ" ซึ่งทำให้จักรวรรดินิยมแต่ละประเทศนั้นๆ ยอมทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่ได้เอกราชและอธิปไตยสมบูรณ์ ในที่สุดจักรวรรดินิยมทุกประเทศก็ได้ยอมทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่สยามได้เอกราชอธิปไตยสมบูรณ์ ทั้งเอกราชในทางการเมือง และในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ

(2) ได้เจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้โอนดินแดนของสยามส่วนหนึ่งที่อังกฤษได้ไปจากสยามตามสนธิสัญญาฉบับปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอังกฤษ ค.ศ.1868 (สมัย ร.4) ที่ปากน้ำจั่นจังหวัดระนองกับวิคตอเรียพอยท์ของอังกฤษซึ่งมีดินงอกทางฝั่งไทย และอีกแห่งหนึ่งที่มีดินแดนริมฝั่งไทยด้านริมแม่น้ำสาย จังหวัดเชียงราย รัฐบาลอังกฤษได้ตกลงยินยอมให้ดินแดนที่งอกที่ฝั่งไทยนั้นเป็นดินแดนของไทย ฯลฯ

20. ปรับปรุงภาษีอากรให้เป็นธรรม ยกเลิกภาษีรัชชูประการ (ภาษีส่วย) อากรค่านา สถาปนาประมวลรัษฎากรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2481 และดำรงตำแหน่งนี้จนถึง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484

ในระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังนั้นได้ปฎิบัติภารกิจเกี่ยวกับความเป็นธรรมทางสังคมหลายประการ อาทิ

(1) ยกเลิกเงินภาษีรัชชูปการซึ่งเป็นซากตกค้างจาก "เงินส่วย" ซึ่งราษฎรที่เป็นไพร่ของเจ้าศักดินาต้องเสียให้เจ้าศักดินา

(2) ยกเลิกอากรค่านาที่เป็นซากของการบรรณาการซึ่งราษฎรที่ทำนาต้องส่งบรรณาการให้แก่เจ้าศักดินาสูงสุดที่ถือว่าที่ดินทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรเป็นของประมุขของสังคม

(3) ปรับปรุงภาษีอากรให้เป็นธรรมแก่สังคม คือ ผู้ใดมีรายได้ก็เสียภาษีมาก ผู้ใดบริโภคฟุ่มเฟือยมากก็เสียภาษีทางอ้อมมาก และถ้าผู้ใดบริโภคเครื่องบริโภคที่ไม่จำเป็นแก่การดำรงชีพก็ต้องเสียภาษีอากรมากตามลำดับ

(4) สถาปนา "ประมวลรัษฎากร" เป็นแบบฉบับครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งรวมบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรทางตรงที่เป็นธรรมแก่สังคม

(5) เมื่อสงครามใหญ่ได้เริ่มขึ้นในยุโรปก่อนที่จะลุกลามไปทั่วโลกนั้น ปรีดีได้จัดการปกป้องทรัพย์สินของชาติไทยซึ่งมีอยู่ในต่างประเทศนั้นได้ทันท่วงที คือ

เมื่อครั้งระบบสมบูรณาฯ ได้ใช้วิธีมีเงินปอนด์สเตอร์ริงค์เป็นทุนสำรองเงินตราฝากธนาคารอังกฤษไว้ในประเทศอังกฤษ ปรีดีคาดคะเนว่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงค์จะต้องลดค่าลงตามลำดับ ฉะนั้นจึงได้จัดการเอาเงินปอนด์ที่เป็นเงินลงทุนสำรองเงินตราจำนวนหนึ่ง ซื้อทองคำเป็นจำนวนน้ำหนักประมาณ 1 ล้านออนซ์ (35 ล้านกรัม) ในราคาออนซ์ละประมาณ 35 เหรียญสหรัฐอเมริกา และได้นำทองคำนั้นมาเก็บไว้ในห้องนิรภัยกระทรวงการคลัง ซึ่งยังคงรักษาไว้เป็นเงินทุนสำรองเงินบาทอยู่จนทุกวันนี้

บัดนี้ทองคำในตลาดโลกมีราคาประมาณออนซ์ละ 350 เหรียญสหรัฐฯ ฉะนั้นต้นทุนที่ปรีดีในฐานะรัฐมนตรีคลัง ได้ใช้จ่ายเพื่อซื้อทองคำเข้ามาเก็บในห้องริรภัยของกระทรงการคลังเป็นราคา 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้น บัดนี้ทองคำดังกล่าวของชาติไทยมีค่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (นอกจากนี้ยังมีทองคำที่ปรีดีได้เรียกร้องให้ญี่ปุ่นนำทองคำมาแลกกับเงินตราไทยจำนวนหนึ่งที่ปรีดีในฐานะหัวหน้าเสรีไทยได้เรียกร้องให้รัฐบาล ควง อภัยวงศ์ ที่จะให้เงินญี่ปุ่นกู้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ต้องเอาทองคำของญี่ปุ่นที่ธนาคารชาติของญี่ปุ่นกันไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย ซึ่งสัมพันธมิตรได้มอบให้รัฐบาลไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2)

21. โอนวิสาหกิจยาสูบของบริษัทอังกฤษ อเมริกัน มาเป็นของรัฐบาลไทยสำเร็จก่อนญี่ปุ่นยึด

ตามสนธิสัญญาไม่เสมอภาคของอังกฤษ และอเมริกันนั้น บริษัทอังกฤษ-อเมริกัน ใช้สิทธิพิเศษทำการผูกขาดการทำบุหรี่ซิกกาแรตจำหน่ายในประเทศไทย

เมื่อปรีดีทำสนธิสัญญาใหม่กับนานาประเทศ ยกเลิกสิทธิพิเศษต่างๆ แล้ว ปรีดีได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ได้จัดการปรับปรุงภาษีอากรให้เป็นธรรมและประกาศประมวลรัษฎากรแล้ว ปรีดีได้เสนอรัฐบาลให้เสนอ พ.ร.บ.ยาสูบ ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ พ.ร.บ. นั้นได้ประกาศใช้แล้ว ปรีดีได้จัดการโอนกิจการของบริษัทอังกฤษ-อเมริกัน เข้ามาเป็นของรัฐบาลไทย การนั้นได้ทำเสร็จลงเมื่อประมาณ 6 เดือนก่อนที่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศไทย ถ้าสมมติกิจการนั้นบริษัทอังกฤษอเมริกันเป็นเจ้าของอยู่ ญี่ปุ่นผู้รุกรานก็คงยึดเอาไปเป็นทรัพย์สินเชลยของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นจะผลิตยาสูบจำหน่ายในประเทศไทยตลอดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็จะได้เงินกำไรหลายพันล้านบาท

22. เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อต้านเผด็จการและปฎิบัติการเพื่อให้ชาติไทยได้เอกราชอธิปไตยสมบูรณ์กลับคืน

(1) ทางการทูตญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ ได้ติดต่อขอให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม จัดการให้ ปรีดี พนมยงค์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลังเพราะเป็นผู้นิยมสัมพันธมิตร แต่เนื่องจากยังมีราษฎรนิยมนายปรีดีอยู่มาก ฉะนั้นขอให้จัดการให้ปรีดีดำรงตำแหน่งสูงสุดที่มิใช่อำนาจทางการเมือง (หมายถึงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการฯ ในคณะผู้สำเร็จฯ ที่ว่างอยู่ 1 ตำแหน่ง) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.อดุล อดุลเดชจรัส รองนายกรัฐมนตรีนำความแจ้งแก่นายปรีดี นายปรีดีจึงตกลงลาออกจากรัฐบาล วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 สภาผู้แทนราษฎรลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการฯ คนหนึ่ง ในตำแหน่งคณะผู้สำเร็จฯ ที่ว่างนั้น

(2) ปรีดีเห็นว่าตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ฉบับ 10 ธันวาม 2475 นั้น พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจคัดค้านระบบเผด็จการและปฎิบัติการเพื่อให้ชาติไทยได้เอกราชอธิปไตยโดยสมบูรณ์ ฉะนั้นในการที่ปรีดีรับตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติแทนองค์พระมหากษัตริย์ดังต่อไปนี้

ประการที่ 1 หน้าที่ต่อต้านเผด็จการ

(ก) ระหว่าง พ.ศ. 2485 - 2486 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสนอพระราชกฤษฎีกามายังคณะผู้สำเร็จราชการฯ ให้อำนาจผู้บัญชาการทหารสูงสุด (จอมพล ป.) มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวง ทบวง กรม ได้ ปรีดีจึงทำเป็นบันทึกเสนอพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ประธานคณะผู้สำเร็จฯ ว่าสมควรที่คณะผู้สำเร็จฯ (ซึ่งรวมทั้งนายปรีดีด้วยนั้น) จะต้องยับยั้ง (Veto) พระราชกฤษฎีกานั้น เพราะเท่ากับให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (จอมพล ป.) มีอำนาจเผด็จการ ซึ่งขัดต่อระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ประธานคณะผู้สำเร็จฯ เห็นชอบด้วย คณะผู้สำเร็จฯ จึง "ยับยั้ง" (Veto) พระราชกฤษฎีกาฉบับนั้น พร้อมกันนั้นปรีดี ได้ทำจดหมายถึง พล.ต.ต.อดุล อดุลเดชจรัส รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเหตุที่ "ยับยั้ง" (Veto) พระราชกฤษฎีกาฉบับนั้น พล.ต.ต.อดุล เห็นชอบด้วยกับคณะผู้สำเร็จฯ และยังมีรัฐมนตรีที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรอีกหลายคนเห็นชอบด้วยกับคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ดูคำให้การ พล.ต.ต.อดุล อดุลเดชจรัส พยานคณะกรรมการอาชญากรสงคราม ซึ่งโจทก์อ้างเป็นพยานที่ศาลแพ่ง คดีหมายเลขดำที่ 4226/2521 ซึ่งผู้เขียนบทความบางคนย่อมทราบหรือควรทราบแล้ว แต่จงใจเขียนหมิ่นประมาทใส่ความสมาชิกคณะราษฎรทุกคนว่าสนับสนุนให้จอมพล ป. เป็นเผด็จการ)

(ข) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 สภาฯ ได้ลงมติด้วยคะแนนลับ ไม่อนุมัติพระราชกำหนดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ที่รัฐบาล จอมพล ป. เสนอ และต่อมาวันที่ 22 เดือนนั้น สภาฯ ลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล

จอมพล ป. นายกรัฐมนตรีจึงเสนอใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คณะผู้สำเร็จฯ ได้เชิญประธานสภาฯ มาปรึกษาเพื่อให้หยั่งเสียงผู้แทนราษฎรว่าผู้ใดควรจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ในชั้นแรกผู้แทนราษฎรเห็นควรเชิญ พระยาพหลฯ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอีกครั้งหนึ่ง แต่พระพหลฯ ปฎิเสธ คณะผู้สำเร็จฯ จึงขอให้ประธานสภาฯ หยั่งเสียงสภาผู้แทนราษฎรถึงบุคคลอื่นที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ผู้แทนราษฎรเห็นว่า นายควง อภัยวงศ์ สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป แต่ประธานผู้สำเร็จฯ ไม่ยอมลงพระนามแต่งตั้งนายควงเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคพวกของ จอมพล ป. ก็ได้เรียกร้องให้คณะผู้สำเร็จฯ แต่งตั้ง จอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ปรีดีเห็นควรปฏิบัติตามมติของผู้แทนราษฎรส่วนมากที่ประธานสภาฯ ได้หยั่งเสียงแล้วนำมาเสนอคณะผู้สำเร็จฯ นั้น พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ประธานคณะผู้สำเร็จฯ จึงลาออกจากตำแหน่ง ครั้นแล้วสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2487 ตั้งปรีดี พนมยงศ์ เป็นผู้สำเร็จฯ แต่ผู้เดียว นายปรีดีในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงตั้งให้นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้น

ประการที่ 2 หน้าที่ปฎิบัติการเพื่อให้ชาติไทยได้เอกราชและอธิปไตยสมบูรณ์กลับคืน

ปรีดีเห็นว่าถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุนิติภาวะและบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองตามรัฐธรรมนูญ พระองค์ก็จะไม่ทรงนิ่งเฉย หากจะทรงปฎิบัติให้ชาติไทยได้เอกราชและอธิปไตยสมบูรณ์กลับคืน ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่จะปฎิบัติตามหน้าที่แทนพระมหากษัตริย์ดังกล่าวนั้น

ปรีดีจึงดำเนินงานของขบวนการต่อสู้ญี่ปุ่นในประเทศไทยซึ่งต่อมาได้ร่วมกับเสรีไทยใน ส.ร.อ. และในอังกฤษเป็นขบวนการเสรีไทยอันเดียวกัน ในการปฎิบัติรับใช้ชาติไทย 2 ด้านประกอบกันคือ

(ก) ด้านหนึ่งต่อสู่ญี่ปุ่นผู้รุกราน

(ข) ปฎิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรยอมรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และการผ่อนหนักเป็นเบา (ดูหนังสือชื่อ "จดหมายของนายปรีดี พนมยงศ์ ถึงพระพิศาลสุขุมวิท เรื่อง จดหมายเหตุของเสรีไทยเกี่ยวกับปฎิบัติการใน แคนดี นิวเดลฮี และสหรัฐอเมริกา" และหนังสือ "อนุสรณ์นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร นักอภิวัฒน์, เสรีไทย, นายสนามมวยเวทีราชดำเนินคนแรก" และ บทความนายป๋วย อึ้งภากรณ์ เกี่ยวกับเสรีไทย และบทความเกี่ยวกับเสรีไทยอีกหลายท่านที่พิมพ์ลงในหนังสือของนายดิเรก ชัยนาม เรื่อง ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ฯลฯ)

ประการที่ 3 ปรารภให้นายกรัฐมนตรีปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์

ท่านที่ได้อ่านสุนทรพจน์ฉบับ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ของปรีดี ซึ่งลงพิมพ์เป็นเล่มและได้กระจายเสียงแล้ว ก็คงระลึกได้ว่า ปรีดีได้คัดความในพระราชปรารภของรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยฉบับ 2489 ซึ่งมีความดังต่อไปนี้

"ต่อมานายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้นได้ปรารภกับนายควง อภัยวงศ์ ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยนี้พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานแก่ชนชาวไทยมาแล้วเป็นปีที่ 14 ถึงแม้ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักนี้จะได้ยังความเจริญให้เกิดแก่ประเทศชาตินับเป็นเอนกประการ ทั้งประชาชนจะได้รับซาบซึ้งถึงคุณประโยชน์ของการปกครองระบอบนี้เป็นอย่างดีแล้วก็จริง แต่เหตุการณ์บ้านเมืองก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก ถึงเวลาแล้วที่จะได้เลิกบทเฉพาะกาลอันมีอยู่ในรัฐธรรมนูญนั้น และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นายกรัฐมนตรีจึงนำความนั้นปรึกษาหารือกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 พร้อมกับคณะผู้ก่อการฯ ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ เมื่อได้ปรึกษาตกลงกันแล้ว รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ จึงเสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ขอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญคณะหนึ่ง...."

ครั้นแล้วการดำเนินเพื่อร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ก็ได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรตามลำดับ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ให้ใช้เป็นกฎหมายได้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

หลักฐานของสัมพันธมิตรรับรองเอกราชอธิปไตยของชาติไทยและรับรองคุณูปการของเสรีไทย และรับรองว่าปรีดีเป็นตัวแทนของชาติไทย

แม้ว่ารัฐบาลไทยซึ่งมีจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศสงครามต่อ ส.ร.อ. (สหรัฐอเมริกา) และบริเตนใหญ่ และก่อสงครามกับประเทศจีนก็ตาม แต่ด้วยการปฏิบัติของขบวนการเสรีไทยเป็นส่วนรวมที่เป็นคุณูปการแก่สัมพันธมิตร จึงเป็นผลให้สัมพันธมิตรรับรองเอกราชอธิปไตยของชาติไทย และรับรองว่านายปรีดีเป็นตัวแทนของชาติไทย

 

23. หลักฐานของสัมพันธมิตรับรองเอกราชอธิปไตยของชาติไทยและรับรองคุณูปการของเสรีไทย และรับรองว่าปรีดีเป็นตัวแทนของชาติไทย

แม้ว่ารัฐบาลไทยซึ่งมีจอมพลพิบูลฯเป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศสงครามต่อ ส.ร.อ. และบริเตนใหญ่ และก่อสงครามกับประเทศจีนก็ตาม แต่ด้วยการปฏิบัติของขบวนการเสรีไทยเป็นส่วนรวมที่เป็นคุณูปการแก่สัมพันธมิตร จึงเป็นผลให้สัมพันธมิตรรับรองเอกราชอธิปไตยของชาติไทย และรับรองว่านายปรีดีเป็นตัวแทนของชาติไทยตามหลักฐานดังต่อไปนี้

(1) ในระหว่างที่อังกฤษรีรอการรับรองว่าประกาศสงครามของรัฐบาลไทยเป็นโมฆะนั้น ส.ร.อ. ได้มีนโยบายเกี่ยวกับประเทศไทยที่แจ้งต่อรองผู้อำนวยการสำนักงานบริการยุทธศาสตร์โดยจดหมายของ มร.คอร์เดลล์ ฮัลล์ ฉบับเลขที่ ๘๙๒/๓๒ ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๔๓ (พ.ศ. ๒๔๘๖) ซึ่งกล่าวถึงนโยบายของอเมริกันไว้

(2) บันทึกจัดทำโดยกรมกิจการปาซิฟิคตะวันตกเฉียงใต้เพื่อประธานาธิบดี

(3) โทรเลขลับระหว่างผู้รักษาการแทน ร.ม.ต.การต่างประเทศ ส.ร.อ. กับ "รูธ" (นามแฝงของปรีดี)

โดยที่กำลังพลพรรดของเสไทยได้รับความช่วยเหลือทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายสัมพันธมิตรได้ขยายกว้างขวางมากขึ้น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงเกิดความระแวงสงสัยมากขึ้นว่าในประเทศไทยมีการจัดตั้งขบนการเสรีไทยอย่างกว้างขวาง กองบัญชาการเสรีไทยเกรงว่าญี่ปุ่นอาจลงมือโจมตีก่อน ดังนั้น "รูธ" จึงส่งโทรเลขลับด่วนมากถึงกระทรวงการต่างประเทศ ส.ร.อ. และถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเซียอาคเนย์มีความตรงกัน และได้รับคำตอบจากผู้รักษาการแทน ร.ม.ต.การต่างประเทศ ส.ร.อ. ยืนยันรับรองความเป็นเอกราชของไทย

 

24. ประกาศสันติภาพ

(1) โทรเลข ร.ม.ต.ต่างประเทศอเมริกันถึงเอกอัครรัฐทูตอเมริกันประจำอังกฤษ

 

ข้อสังเกต คำอ้างของ ๒ อดีตนายกฯ ไทย

อดีตนายกรัฐมนตรีไทยซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ๒ ท่าน ได้กล่าวคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการที่ปรีดีฯ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสงครามต่อ ส.ร.อ. และบริเตนใหญ่ว่าเป็นโมฆะ ปรีดีจึงขอชี้แจงท่านผู้อ่านผู้ฟังดังต่อไปนี้

(ก) เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๕ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีไทยและอดีตหัวหน้าพรรดประชาธิปัตย์ได้แถลงในที่ประชุมงาน "กึ่งศตวรรษประชาธิปไตย" ที่จัดขึ้น ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีใจความตอนหนึ่งว่า

"ตอนเสร็จสงครามใหม่ๆ เราก็ประกาศสงครามเป็นโมฆะภายใน ฝรั่งมันก็หัวร่อเอา โมฆะอะไร ไอ้ดัทช์คนหนึ่งมันถูกเอาไปขัง Death Railway เมืองกาญจน์เหลือแต่กระดูก ทำอะไรก็ไม่อ้วน มันบอกว่า แล้วยังไงล่ะ โมฆะแล้ว เนื้อผมได้คืนไหม ถ้าไม่ได้คืน เขาไม่รับนับถือเลยประกาศเป็นโมฆะนี่............."

ปรีดีฯ ขอเสนอท่านที่มีสติปัญญาซึ่งต้องการสัจจะโปรดอ่านสำเนาเอกสารหลักฐานจากหนังสือรัฐบาลอเมริกันชื่อ "Foreign Relations of the United States" ฉบับ ค.ศ. ๑๙๔๕ เล่ม ๖ หน้า ๑๒๗๘-๑๒๗๙ ซึ่งลงพิมพ์สำเนาโทรเลขของร.ม.ต.ต่างประเทศอเมริกันถึงเอกอัครรัฐทูตอเมริกันประจำอังกฤษที่ ๗๔๐.๐๐๑๑ PW/S 1545 ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ซึ่งกระทรวงอเมริกันนั้นได้แจ้งให้เอกอัดรรัฐทูตอเมริกันประจำอังกฤษทราบว่า รัฐบาลอเมริกันได้อนุญาตให้ลอร์ดเมานท์แบทเตนแนะนำ "รูธ" (ปรีดีฯ) ว่าภายหลังที่ญี่ปุ่นได้ยอมจำนนแล้วให้ปรีดีฯ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกาศโดยเร็วที่สุดปฏิเสธการประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่และ ส.ร.อ. ดังปรากฏข้อความเต็มตามโทรเลขนั้น ซึ่งปรีดีฯ ได้นำลงพิมพ์ไว้ในข้อ ๒๔ (๑) ข้างต้นนั้นแล้ว ปรีดีฯ ก็ได้จัดการตามคำแนะนำนั้นซึ่งสืบเนื่องจากข้อเสนอของปรีดีฯ ตามเอกสารหลักฐานหลายฉบับซึ่งได้ลงพิมพ์ไว้ในข้อ ๒๓ นั้นแล้ว อันเป็นผลที่บริเตนใหญ่ไม่บังคับให้ประเทศไทยต้องทำเอกสารการยอมจำนนหรือการยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามบริเตนใหญ่และ ส.ร.อ. และบริเตนใหญ่ก็ได้ประกาศสงครามต่อประเทศไทย ซึ่งตามสภาพการทำสงครามนั้นประเทศไทยจะต้องทำเอกสารการยอมจำนนหรือยอมแพ้ ถ้าหากปรีดีมิได้ประกาศว่าการประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่และ ส.ร.อ. เป็นโมฆะ

ฉะนั้นที่ท่านอดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อ้างว่า "ฝรั่งมันก็หัวร่อเอา" นั้น ก็เป็นฝรั่งที่ไม่รู้เรื่องความจริงที่รัฐบาลอังกฤษและ ส.ร.อ. ได้ตกลงกับปรีดีฯ ไว้ก่อนประกาศสันติภาพที่ประกาศว่าสงครามต่อประเทศทั้งสองนั้นเป็นโมฆะ ส่วนท่านอดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ถ้าสนใจเอกสารหลักฐานแท้จริงที่รัฐบาลอังกฤษอเมริกันเปิดเผยแล้วนั้น ท่านก็ควรกล่าวตามหลักฐานเอกสารแท้จริง จะเป็นประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังที่จะได้ทราบประวัติศาสตร์ที่แท้จริงไว้โดยไม่ต้องหลงเชื่อฝรั่งชาติใดหรือชาติดัทซ์ที่พูดจาเหลวไหล

(ข) นายควง อภัยวงศ์ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อีกคนหนึ่งได้แสดงปาฐกถา ณ หอประชุมคุรุสภาเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ในหัวข้อเรื่อง "ชีวิตของข้าพเจ้า" ซึ่งเจ้าภาพได้พิมพ์ปาฐกถานั้นแจกในงานพระราชทานเพลิงศพนายควงฯ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๑๑ ปาฐกถาดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนหลายประการเกี่ยวกับการงานของปรีดีฯ ซึ่งปรีดีฯ จะได้ชี้แจงในโอกาสสมควรต่อไป ณ ที่นี้ปรีดีฯ ขอชี้แจงความจริงเฉพาะตอนที่นายควงฯ กล่าวถึงการประกาศว่าการประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่และ ส.ร.อ. เป็นโมฆะและการปลดอาวุธของทหารญี่ปุ่นภายหลังสงครามดังต่อไปนี้

ข.๑. ในหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพนายควงฯ หน้า ๑๓๓ มีความตอนหนึ่งดังต่อไปนี้

"เมื่อเลิกสงครามนั้น ประชาชนชาวไทยทุกคนสบายใจแต่ที่ไหนได้ผมหัวอกเป็นหนอง จะหาทางออกอย่างไรจึงจะเอาประเทศให้รอด ทางหลวงประดิษฐ์ฯ (หมายถึงปรีดีฯ) ฟังวิทยุแล้วก็เรียกผมไปหา บอกว่า ควงฯ ญี่ปุ่นยอมแพ้แล้ว เขาขอยอมแพ้โดยแจ้งผ่านทางรัสเซีย.. ทีนี้ผมจะหาทางออกอย่างไรเล่า ญี่ปุ่นก็ยอมแพ้ไปแล้ว แต่เมืองไทยยังรบอยู่คนเดียวถึง ๑๕ วัน ท่านทั้งหลายคงไม่ได้นึกหรอกว่าผมไม่ได้ยอมอะไรกับใครเลย และจอมพล ป. ก็ประกาศสงครามกับเขาเสียด้วย ใครๆ ก็ยอมแพ้กันไปหมดแล้ว เหลือแต่เมืองไทยเท่านั้นที่ยังไม่ยอม ตกลงว่าผมนี่ดูจะเก่งกาจนักรบอยู่คนเดียวได้ตั้ง ๑๕ วัน"

คำกล่าวของนายควงฯ ตอนนั้นคลาดเคลื่อนความจริงที่สำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์คือ

ประการที่ ๑ ปรีดี (หลวงประดิษฐ์ฯ) มิได้บอกนายดวงฯว่า "ญี่ปุ่นยอมแพ้แล้ว เขาขอยอมแพ้โดยแจ้งผ่านทางรัสเซีย"

ปรีดีฯ และท่านผู้สนใจฟังข่าวสงครามด้วยตนเองตลอดมาก็ยังจำได้ว่าญี่ปุ่นเริ่มขอเจรจาเลิกสงครามกับสัมพันธมิตรโดยผ่านรัฐบาลสเปนซึ่งเป็นฝ่ายอักษะด้วยกันกับญี่ปุ่น แต่สเปนประกาศความเป็นกลางของตน ฝ่ายสัมพันธมิตร ก็ตอบไปยังรัฐบาลสเปนว่าญี่ปุ่นต้องยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข (Unconditional surren-der) ญี่ปุ่นจึงขอต่อรองไปว่า ญี่ปุ่นยอมแพ้ไทยโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ขอให้สถาบันพระจักรพรรดิดงดำรงอยู่ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตอบสเปนไปอีกว่า ญี่ปุ่นต้องให้พระจักรพรรดิของตนฟังคำสั่งบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสัมพันธมิตรที่จะไปยึดดรองญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงแจ้งผ่านรัฐบาลสเปนยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไขโดยยังคงมีสถาบันพระจักรพรรดิซึ่งปฏิบัติตามคำสั่งผู้บัญชาการสูงสุดของสัมพันธมิตร

ฉะนั้นญี่ปุ่นจึงตกลงยอมแพ้โดยผ่านทางรัฐบาลสเปน มิใช่ผ่านทางรัสเซีย ท่านอดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ควรรู้ความนึกคิดของญี่ปุ่นที่รักษาศักดิ์ศรีของตนในการที่ไม่ยอมถ่อมตนลงมาแจ้งการยอมแพ้ผ่านรัสเซีย

ประการที่ ๒ ปรีดีขอให้ท่านที่มีสติปัญญาซึ่งปรารถนาสัจจะ โปรดพิจารณาหลักฐานประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็จะพบความจริงได้ว่าญี่ปุ่นยอมแพ้สัมพันธมิตรโดยไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ (พ.ศ. ๒๔๘๔) ต่อมาอีก ๑ วันคือวันที่ ๑๖ สิงหาคมปีนั้นเอง ปรีดีฯ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ลงนามในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประกาศสันติภาพว่าประกาศสงครามต่อ ส.ร.อ. และบริเตนใหญ่เป็นโมฆะ ประกาศสันติภาพนั้นนายทวี บุณยเกตุ รัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษาของวันเดือนปีนั้นแล้ว

ฉะนั้นการที่นายควงฯ พูดว่า "ญี่ปุ่นก็ยอมแพ้ไปแล้ว แต่เมืองไทยยังรบอยู่คนเดียวถึง ๑๕ วัน" นั้น จึงเป็นคำพูดที่เคลื่อนต่อความจริงถึง ๑๕ เท่า

ข.๒. นายควงฯ พูดในปาฐกถาต่อไปว่า

"คุณพระอร่ามมรณชิต ท่านรับฟังวิทยุต่างประเทศพอได้เรื่องอะไรก็มาเล่าให้ฟัง ผมจึงไปหาหลวงประดิษฐ์ฯ บอกว่า อาจารย์ ถ้าจะได้ความแล้ว ไอ้เรื่องโมฆะของอาจารย์ท่านจะใช้ได้...ผมให้หลวงประดิษฐ์ฯ ช่วยร่างประกาศให้ผม แล้วผมก็ไปประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทางสภาพอแว่วข่าวว่าเราจะประกาศว่า การทำสงครามของเราเป็นโมฆะก็เอะอะสงสัยกันใหญ่ ว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ ผมบอกว่า นี่นิ่งๆ นะคุณ ประเดี๋ยวผมจะประกาศเอง แล้วผมก็เดินไปกระซิบกับบรรดาสมาชิกสภาว่า คราวนี้ถ้าพวกคุณ ไม่ยกมือให้พร้อมเพรียงกันละก็ ตายนะคุณ ผมไม่รู้ด้วยนา ในที่สุดพวกนั้นก็ตกลง พอผมประกาศว่าการทำสงครามเป็นโมฆะ สภาก็ลงมติเห็นชอบ แหม ยกมือกันพรึบหมดแล้วพวกนั้นก็สบายใจ นึกว่าหมดธุระแล้ว แต่ไม่ใช่หมดนะเราต้องฟังอังกฤษและอเมริกาเขาจะว่าอย่างไร ต่อมาอีกประมาณ ๓ วันอเมริกาก็ปล่อยข่าวออกมาว่าเห็นด้วยไม่เอาธุระกับไทย ส่วนอังกฤษยังแบ่งรับแบ่งสู้ ผมก็รอดตัว ภายหลัง ลอร์ด หลุย เมานท์แบทเตนโทรเลขมาถึงผมให้จัดการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทยทั้งหมด ผมก็มาคิดว่าจะทำอย่างไรดี ถ้าให้ทหารไทยไปปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นก็จะเกิดเบ่งกันขึ้น แล้วก็อาจเกิดเรื่องใหญ่ ผมจึงเชิญนายพลนาตามูระมาบอกว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรเขาสั่งมาอย่างนี้จะให้ฉันทำอย่างไรเพราะเราก็เป็นเพื่อนกัน นายพลนาตามูระบอกว่าท่าน ไม่ต้องวิตกหรอก ฉันจะปลดอาวุธตัวเอง ท่านส่งทหารไปรับมอบอาวุธตามจำนวนก็แล้วกัน เรื่องก็เป็นอันเรียบร้อย"

ปรีดีฯ ขอให้ท่านที่มีสติปัญญาซึ่งปรารถนาสัจจะโปรดสังเกตคำพูดของนายควงฯ ที่คลาดเคลื่อนจากหลักฐานประวัติศาสตร์หลายประการดังต่อไปนี้

ประการที่ ๑ ตามเอกสารหลักฐานของสัมพันธมิตรซึ่งปรีดีฯ ได้นำมาลงพิมพ์ไว้ในข้อ ๒๔(๑) นั้น ปรากฏชัดว่า รัฐบาลอังกฤษพร้อมด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลอเมริกันได้อนุญาตให้ลอร์ด เมานท์ แบทเตน แนะนำมายังปรีดีฯ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ประกาศว่า การประกาศสงครามที่รัฐบาลไทยทำต่อบริเตนใหญ่และ ส.ร.อ. นั้นเป็นโมฆะ มิใช่เป็นเรื่องที่แนะนำมายังนายควงฯ ฉะนั้นจึงมิใช่นายควงฯ มาขอหรือมาสั่งให้ปรีดีฯ ช่วยร่างประกาศดังกล่าวให้นายควงนำไปแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นเรื่องที่ปรีดีฯ ได้รับสาสน์จากลอร์ด เมานท์แบทเตน แล้วจึงเชิญนายควงฯ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและนายทวี บุณยเกตุ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการสำนักนายกรัฐมนตรีมาประชุมที่บ้านปรีดีเพื่อพิจารณาประกาศสันติภาพ โดยเห็นควรให้นายทวี บุณยเกตุเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพราะเป็นการไม่เหมาะสมที่นายควงฯ จะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเนื่องจากนายควงได้แสดงเปิดเผยต่อสัมพันธมิตรว่าเป็นผู้ร่วมมือกับญี่ปุ่น

ประการที่ ๒ คำพูดของนายควงที่ว่า เมื่อนายควงฯ ประกาศว่าการทำสงครามเป็นโมฆะ ซึ่งสภาลงมติเห็นชอบตามสำนวนของนายควงฯ ว่า "แหม ยกมือกันพรึบหมด" ครั้นแล้วนายควงก็พูดต่อไปว่า "แล้วพวกนั้นก็สบายใจ นึกว่าหมดธุระแล้ว แต่ไม่ไช่หมดนะ เราต้องฟังอังกฤษและอเมริกาเขาจะว่าอย่างไร ต่อมาอีกประมาณ ๓ วันอเมริกาก็ปล่อยข่าวออกมาว่าเห็นด้วยไม่เอาธุระกับไทย ส่วนอังกฤษก็ยังแบ่งรับแบ่งสู้ ผมก็รอดตัว...."

ปรีดีฯ ขอให้ท่านที่มีสติปัญญาซึ่งปรารถาสัจจะก็สามารถวินิจฉัยได้เองว่า คำพูดดังกล่าวของนายควงฯ ปราศจากมูลแห่งความจริง เพราะรัฐบาลอังกฤษโดยความเห็นชอบของรัฐบาลอเมริกันอนุญาตให้ลอร์ด เมานท์แบตเตน แนะนำมายังปรีดีฯ ให้ประกาศว่า ประกาศสงครามต่ออังกฤษและ ส.ร.อ. นั้นเป็นโมฆะ เมื่อปรีดีฯ ได้มีประกาศดังกล่าวแล้วจึงไม่ต้องรอฟังเสียงของสองประเทศนั้นอีกประมาณ ๓ วัน

ประการที่ ๓ ตามที่นายควงฯ อ้างว่าลอร์ด หลุย เมานท์แบทเตน โทรเลขมาถึงนายควงฯ ให้จัดการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทยให้หมด และนายควงไปถามนายพลญี่ปุ่นว่าจะให้นายควงทำอย่างไร และนายพลญี่ปุ่นก็บอกว่าจะปลดอาวุธตนเองนั้นก็เป็นเรื่องเหลวไหลปราศจากมูลความจริงซึ่งขัดต่อเอกสารหลักฐานและสภาพการที่คนไทยจำนวนไม่น้อยที่เห็นสภาพแก่นัยน์ตาตนเองและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ระลึกภาพได้ว่า กองทหารอังกฤษได้เดินทางเข้ามาทำการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย มิใช่นายพลญี่ปุ่นปลดอาวุธทหารของตนเองโดยมอบอาวุธให้แก่ทหารไทย

หมายเหตุ เพื่อความเป็นธรรมแก่นายควงฯ ปรีดีฯ จึงขอเชิญคำไว้อาลัยซึ่งกรมหมื่นพิทยลาภฯ (พระองค์เจ้าธานีนิวัติ) อดีตอภิรัฐมนตรี, อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, อดีตประธานองคมนตรีได้ประทานไว้ในหน้าต้นแห่งหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพนายควงฯ 

 

25. อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จกลับสยามเพื่อทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง

เมื่อได้ประกาศสันติภาพซึ่งถือว่าสถานสงครามสิ้นสุดแล้ว นายปรีดีฯ ผู้สำเร็จราชการจึงขออัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) เสด็จกลับสยามเพื่อทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง

ได้เสด็จกลับถึงพระนครเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘

 

26. ประกาศพระบรมราชโองการยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐบุรุษอาวุโส

"ประกาศ

อนันทมหิดล

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

 

โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า นายปรีดี พนมยงค์ ได้เคยรับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วหลายตำแหน่ง จนในที่สุดได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และปรากฏว่าตลอดเวลาที่นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และด้วยความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ทั้งได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในความปรีชาสามารถบำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติเป็นเอนกประการ

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโสและให้มีหน้าที่รับปรึกษาราชการแผ่นดินเพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘

เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

นายกรัฐมนตรี"

 

27. นายกรัฐมนตรีครั้งที่ ๑ เป็นเวลา ๒ เดือน ๑๐ วัน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมขอร้องให้ปรีดีฯ เป็นนายกรัฐมนตรีในภาวะดับขัน จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ปรีดีฯ เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

ครั้นถึงวันที่ ๓ มิถุนายนปีนั้น ภายหลังที่ได้เปิดการประชุมรัฐสภาประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับพฤษภาคม ๒๔๘๙ แล้ว ปรีดีฯ ได้พิจารณาว่าแม้รัฐธรรมนูญมิได้มีบทบังคับว่าถ้ามีรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นเมื่อใด รัฐบาลก็ต้องลาออก แต่ปรีดีฯ เห็นว่าตามมารยาทนั้นรัฐบาลควรลาออกเพื่อเป็นแบบฉบับสำหรับรัฐบาลต่อไป ฉะนั้นปรีดีฯ จึงอาสาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อในหลวงจะได้ทรงพิจารณาแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ต่อไป

รวมเวลาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ ๑ นี้ ๒ เดือน ๑๐ วัน

 

28. นายกรัฐมนตรีครั้งที่ ๒ เป็นเวลา ๒ วัน

วันที่ ๘ มิถุนายนปีนั้น ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนันทมหิดลตามความเห็นชอบของสมาชิกพฤฒสภาและสภาผู้แทนว่า สมควรโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งปรีดีเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งปรีดีฯ เป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ยังไม่ทันที่ ปรีดีฯ จะประกอบคณะรัฐมนตรีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ก็เสด็จสวรรคตในวันที่ ๙ มิถุนายนปีนั้น

ปรีดีฯ นายกรัฐมนตรีจึงขอเสนอความเห็นชอบต่อรัฐสภาให้อัญเชิญพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นทรงครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อไปรัฐสภาเห็นชอบเป็นเอกฉันท์

เสร็จประชุมรัฐสภาแล้ว ปรีดีฯ ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙

รวมเวลาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ ๒ เพียง ๒ วัน

29. นายกรัฐมนตรีครั้งที่ ๓ เป็นเวลา ๒ เดือน ๑๐ วัน

เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายนปีนั้นประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของสมาชิกรัฐสภาส่วนมากได้เสนอคณะผู้สำเร็จราชการฯ ชั่วคราวให้แต่งตั้งปรีดีฯ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง (ครั้งที่ ๓)

ครั้นถึงวันที่ ๒๐ สิงหาคมปีนั้น ปรีดีฯ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพราะเหตุได้ตรากตรำทำงานฉลองคุณประเทศชาติมาเป็นเวลาพอสมควรรู้สึกว่าอนามัยเสื่อมโทรมลง ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจของรัฐได้เต็มที่

รวมเวลาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ ๓ นี้ ๒ เดือน ๑๐ วัน

30. ลี้ภัยรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๐

เมื่อ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะรัฐประหาร" ได้ยึดอำนาจรัฐโดยใช้กำลังทหารประกอบด้วยรถรบและอาวุธทันสมัยยิงระดมทำเนียบท่าช้างวังหน้า (ซึ่งเป็นทำเนียบที่รัฐบาลให้ปรีดีฯ กับครอบครัวอาศัยอยู่นั้น) แล้วบุกเข้าไปในทำเนียบเพื่อจับปรีดีฯ แต่ปรีดีฯ ได้เล็ดรอดหลบหนีไปได้โดยอาศัยตามบ้านเพื่อนที่ไว้วางใจและไปอาศัยที่กรมนาวิกโยธินที่สัตหีบ

เมื่อพิจารณาเห็นว่ายังไม่พร้อมที่จะต่อต้าน "คณะรัฐประหาร" ได้ ปรีดีฯ จึงเดินทางไปอาศัยอยู่ที่สิงคโปร์ชั่วคราวแล้วเดินทางไปอาศัยอยู่ในประเทศจีนขณะนั้นซึ่งเจียงไคเช็คยังมีอำนาจปกครองแผ่นดินส่วนใหญ่ของจีน

31. ขบวนประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ (๒๔๙๒)

พวกปรปักษ์ประชาธิปไตยเรียก "ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์" ว่า "ขบถวังหลวง" บางคนก็พลอยเรียกเช่นนั้น โดยไม่พิจารณาตามหลักวิชาการแท้จริงว่าขบวนการดังกล่าวนั้นป็นขบถต่อระบบปกครองประชาธิปไตยที่ได้สถาปนาขึ้นโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญหรือเป็นขบวนการที่ต่อต้านพวกปฏิกิริยาที่ทำลายระบบประชาธิปไตยซึ่งได้สถาปนาถูกต้องสมบูรณ์ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นปรีดีฯ จึงขอเสนอท่านที่ปรารถนาสัจจะโปรดใช้สติปัญญาระลึกและศึกษาความเป็นมาดังต่อไปนี้

(๑)

(ก) เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ยังทรงดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งทรงมีพระราชอำนาจทำการแทนปวงชนชาวสยามได้โดยไม่ต้องมีผู้รับอำนาจจากราษฎร รับสนองพระบรมราชโองการนั้น พระองค์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ระบบปกครองนั้นจึงถูกต้องสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย

ธรรมนูญฉบับนั้นได้กำหนดวิธีตราพระราชบัญญัติไว้ซึ่งการแก้ไขธรรมนูญการปกครองแผ่นดินก็จะต้องดำเนินตามวิธีการที่ธรรมนูญนั้นได้กำหนดไว้มิใช่จะทำโดยพละการของบุคคลใดคณะใดที่ฝ่าฝืนวิธีการตามธรรมนูญฉบับนั้น

(ข) ต่อมารัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ซึ่งอนุกรรมการของสภาผู้แทนราษฎรที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้ร่างขึ้นโดยร่วมมือกับพรค์นั้น สภาฯ ได้ลงมติให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้

(ค) ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙ รัชกาลที่ ๘ ได้ทรงตรารัฐธรรมนูญฉบับ ๙ พฤษภาคมโดยใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคมนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ตราขึ้นโดยถูกต้องตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ทุกประการดังนั้นระบบการเมืองประชาธิปไตยที่ได้สถาปนาขึ้นโดย รัฐธรรมนูญฉบับ ๙ พฤษกาคม ๒๔๘๙ จึงเป็นระบบประชาธิปไตยที่ถูกต้องตามวิถีทางรัฐธรรมนูญที่บัญญัติขึ้นโดยสืบต่อมาจากธรรมนูญการปกครองฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ และรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕

(๒) ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ พฤคจิกายน ๒๔๙๐ ได้มีบุคคลคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะรัฐประหาร" ได้ยึดอำนาจรัฐล้มระบบประชาธิปไตยที่สถาปนาขึ้นอย่างถูกต้องตามวิถีทางรัฐธรรมนูญดังกล่าวใน (๑) ข้างบนนั้น ต่อมาในวันที่ ๙ นั้นคณะบุคคลดังกล่าวก็ได้สถาบนาระบบรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีสมญาว่า "รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม" ซึ่งนอกจากมิใช่ระบบการเมืองประชาธิปไตยตามวิถีทางรัฐธรรมนูญโดยชอบตามที่ได้กล่าวใน (๑) นั้นแล้ว หากระบบรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหารทำขึ้นเองนั้นก็มิใช่เป็นระบบปกครองที่สมบูรณ์ในตัวของรัฐธรรมนูญนั้นเองด้วย ดังจะเห็นได้ดังต่อไปนี้

(ก) ขอให้นักวิชาการแท้จริงดูตันฉบับรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มนั้นที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ซึ่งสำนักพิมพ์ "นิติเวชช์" รวบรวมโดย ร.ต.ท.เสถียร วิชัยลักษณ์ เนติบัณฑิตไทยและรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต กับพ.ต.ท.สีบวงศ์ วิชัยลักษณ์ นิติศาสตร์บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำมาลงพิมพ์ไว้ในหนังสือชื่อ "รวมรัฐธรรมนูญ" อย่างตรงไปตรงมามิได้มีการตัดตอนบิดเบือนให้ผิดไปจากต้นฉบับราชกิจจานุเบกษาปรากฏชัดแจ้งในตอนตันของรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มที่ปรีดีฯ ถ่ายภาพมา

 

ผู้นิยมประชาธิปไตยสมัยนั้นแม้มิใช่อาจารย์หรือนักศึกษากฎหมายก็ตาม แต่เมื่อได้เห็นหัวรัฐธรรมนูญมีความปรากฏดังนั้น ก็ใช้สามัญสำนึกได้ทันทีว่า หัวเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เขียนตำแหน่งผู้ลงนามในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ซึ่งในภาษาไทยคำว่า "คณะ" หมายถึงบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แต่เหตุใดจึงมีผู้ลงนามเพียงคนเดียว คือ "รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร" ส่วนหลายคนที่มีจิตใจสังเกตก็แสดงความเห็นว่าเมื่อก่อนหน้าวันที่ ๘ พฤศจิกายนนั้น เคยได้ฟังวิทยุกรมโฆษณาอ่านประกาศกฎหมายหลายฉบับ คือ เมื่ออ่านคำว่า "คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" แล้วก็อ่านต่อไปถึงชื่อคณะนั้นที่ลงนาม ซึ่งผู้ลงนาม ๒ ท่านคือ "รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร" และ "มานวราชเสวี" (พระยามานวราชเสวี) แสดงว่าคณะนั้นประกอบด้วยบุคคล ๒ คน ฉะนั้นผู้ใช้ความสังเกตจึงเห็นได้ทันทีว่ารัฐธรรมนูญ (ฉบับใต้ตุ่ม) ดังกล่าวเริ่มแสดงถึงการเป็นโมมะตั้งแต่หัวเรื่องของรัฐธรรมนูญฉบับนั้น

ส่วนนักวิชาการแท้จริงสมัยนั้นก็ได้ค้นคว้าเอกสารหลักฐานแท้จริงแทนที่จะถือเอาดำบอกเล่าเป็นหลักวิชาการนั้น ก็พบประกาศในราชกิจจานุเบกษาและวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาลที่ได้ลงและแจ้งประกาศตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองด์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขณะยังทรงพระเยาว์ ตามประกาศลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๘๙ มีความดังต่อไปนี้

"โดยที่รัฐสภาอาศัยร่างตามความในมาตรา ๑๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ปรึกษากันเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๘๙ และลงมติตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วย

๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร เป็นประธาน

๒. พระยามานวราชเสวี

โดยมีข้อตกลงว่าในการลงนามในเอกสารราชการนั้นให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ลงนาม จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๘๕

วิลาศ โอสถานนท์

ประธานรัฐสภา"

ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มซึ่งกรมขุนชัยนาทฯ องค์เดียวเป็นผู้ลงนามจึงเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนต่อข้อกำหนดในประกาศแต่งตั้ง "คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ฉบับวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๘๙

ส่วนระบบการเมืองและรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ และฉบับต่อๆ มา อาทิ ฉบับ ๒๕๑๗ ที่ถือเอาฉบับ ๒๔๙๒ เป็นแม่บทนั้นจึงเป็นโมฆะ และองค์การใดที่กำลังเรียกร้องให้มีรัฐธรมนูญโดยถือเอาฉบับ ๒๕๑๗ เป็นแม่บทนั้นจึงชักจูงให้บุคคลทำสิ่งที่เป็นโมฆะ

ข้อสังเกต

มีหนังสือบางเล่มที่พิมพ์รัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ จำหน่ายได้จัดทำหัวเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มโดยพลการ ซึ่งขัดต่อราชกิจจาฯ เล่มที่ปรีดีฯ อ้างไว้ อาทิบางเล่มได้ตัดคำว่า "คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ออกไป คงมีแต่ชื่อ "รังสิตกรมขุนชัยนาทนเรนทร" เป็นผู้ลงนาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่ากรมขุนชัยนาทฯ ลงนามในฐานะใด ซึ่งต่างกับที่เคยปฏิบัติมาว่าผู้ลงนามในหัวเรื่องบทกฎหมายใดๆ นั้นให้แจ้งว่า "ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" และถ้าผู้สำเร็จราชการหลายคนก็แจ้งว่า "คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ถ้าในกรณีที่แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการฯ ไว้คนเดียว ผู้ลงนามก็บอกตำแหน่งของตนว่า "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"

ฉะนั้นขอให้นิสิตนักศึกษาที่ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นใช้ความรอบคอบตรวจดูให้ถี่ถ้วนว่าในกรณีที่มีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้สำเร็จฯ ได้ลงนามครบถ้วนตามข้อกำหนดในประกาศแต่งตั้งหรือไม่ ไม่ควรศึกษาแต่เพียง "ย่อยรัฐธรรมนูญ" เพื่อสะดวกในการสอบไล่เท่านั้น

(ข) ในตอนท้ายแห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ (ฉบับใต้ตุ่ม) นั้น ปรากฏความดังต่อไปนี้

"จอมพล ป.พิบูลสงคราม

ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๐"

นิสิตนักศึกษาและสามัญชนที่แม้มิใช่นักวิชาการก็เห็นได้โดยไม่ยากว่า "ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย" เป็นตำแหน่งที่คณะรัฐประหารตั้งให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งผิดต่อกฎหมาย และผู้นั้นไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ดังนั้น นอกจากรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มเป็นโมฆะตามที่ได้กล่าวใน (ก) ข้างบนนั้นแล้ว ก็ยังเป็นโมฆะอีกสถานหนึ่งเพราะผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการไม่มีอำนาจหรือสิทธิใดๆ ตามกฎหมายที่จะทำ เช่นนั้นได้

(ค) ขอให้นิสิตนักศึกษาที่มีปัญญาประกอบด้วยสติโปรดพิจารณาการที่บุคคลหลายคนได้ร่วมมือกันทำรัฐประหาร ทำลายระบบปกครองประชาธิปไตยที่สถาปนาโดยระบบรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ นั้นได้ทำการที่เข้าลักษณะเป็น "กบฏ" หรือไม่ และกฎหมายนิโทษกรรมที่ได้ตราขึ้นโดยรัฐสภาที่ตั้งขึ้น ทางนิตินัยตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มนั้น ถือว่าถูกต้องหรือไม่

(๓) ปรีดีฯ ได้รวบรวมนักประชาธิปไตยจำนวนหนึ่งที่เห็นว่าถึงเวลาสมควรแล้วที่จะลงมือใช้กำลังอาวุธต่อสู้คณะรัฐประหารกับพวกที่ทำลายระบบปกครองประชาธิปไตยที่สถาปนาขึ้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ ปรีดีฯ จึงเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการลับ และนำการต่อสู้ฝ่ายปรปักษ์ประชาธิปไตยดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ ซึ่งขณะนั้นระบบปกครองของประเทศเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พฤศจิกายน ๒๔๙๐ (ฉบับใต้ตุ่มที่เป็นโมฆะ)

วัตถุประสงค์ของขบนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ ได้แถลงเมื่อขบวนการได้ยึดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ว่าขบวนการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อพื้นระบบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙

ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ จึงมิใช่กบฏต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย จึงไม่ควรที่ผู้รณรงค์เพื่อความเป็นประชาธิปไตยจะสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มและระบบต่างๆ ที่สืบเนื่องจากระบบใต้ตุ่มโดยใส่ความว่า ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ เป็นกบถวังหลวง

ข้อสังเกต

ในการต่อสู้ระหว่างขบวนการประซาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ กับขบวนปรปักษ์ประชาธิปไตยเมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ นั้น ในหลวงมิได้ประทับอยู่ในประเทศไทย ฉะนั้นการยืดวังหลวงชั่วคราวจึงไม่มีภยันตรายต่อพระมหากษัตริย์

32. ลี้ภัยในสาธารณรัฐประชาชนจีนภายหลังนำขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ พ่ายแพ้

เมื่อปรีดีฯ ได้นำขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ พ่ายแพ้ต่อฝ่ายปรปักษ์ประชาธิปไตยแล้ว ปรีดีฯ ได้หลบอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา ประมาณ ๖ เดือน ครั้นแล้วจึงเล็ดรอดเดินทางเรือไปยังเกาะแห่งหนึ่งซึ่งขณะนั้นอยู่ภาย

ใต้การปกครองของวิลันดา และจากเกาะดังกล่าวได้เล็ดรอดมายังสิงคโปร์ และจากสิงคโปร์ไปฮ่องกง แล้วเดินทางจากฮ่องกงไปขอลี้ภัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเวลาประมาณ ๒๑ ปี ครั้นถึง ค.ศ. ๑๙๗๐ (พ.ศ. ๒๕๑๓) จึงเดินทางจากประเทศจีนมาอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศสจนถึงปัจจุบันนี้

33. ถูกใส่ความว่าสมคบการปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาล 8

ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศนั้น ปรีดีฯ ถูกโฆษณาใส่ความว่าสมคบการปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ผู้บริสุทธิ์หลายคนต้องถูกประหารชีวิต ส่วนปรีดีฯ ได้ฟ้องผู้ใส่ร้ายต่อศาลยุติธรรมไทย จำเลยยอมประกาศขอขมาปรีดีฯ

34. ผู้จ้างหรือวานบุคคลทำการใส่ร้ายปรีดีฯ ในกรณีสวรรคต ร.๘

ขณะที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้คดีสิ้นสุดลงแล้วนั้น ก็ยังมีบุคคลที่เป็นตัวการอยู่เบื้องความปรีดีฯ ต่อไปอีก ปรีดีฯ จึงขอเสนอท่านผู้อ่านโปรดสังเกตไว้ดังต่อไปนี้ (๑) ในงาน "กึ่งศตวรรษประชาธิปไตย" ซึ่งหลายองค์การได้ร่วมกัน จัดให้มีขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร ะหว่าง ๒๔-๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๔ นั้น ได้มีตัวการคนหนึ่งใช้ให้ลูกสมุนลอบนำหนังสือที่พวกเขาแต่งขึ้นใส่ความปรีดีฯ ว่า เป็นผู้ฆ่าในหลวงรัชกาลที่ ๘ โดยผู้แต่งใช้นามแฝงว่า "ดาบชัย ปิติฆาฎ" พวกเขาได้ลอบกระทำโดยคณะกรรมการของงานนั้นไม่รู้เห็นด้วย

ผู้ปรารถนาดีได้แจ้งให้ปรีดีฯทราบว่าตัวการนั้นเป็นสตรีคนหนึ่งที่ได้ ทำการใส่ร้ายปรีดีฯ ติดต่อกันมา ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งตั้งแต่ในหลวงรัชกาล ที่ ๘ สวรรคตเมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ เป็นต้นมา

สามีของสตรีผู้นั้นถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนที่ปรีดีฯ ได้ออกจากประเทศแต่ทว่าก่อนที่สามีของสตรีผู้นั้นถึงแก่ จีนมาอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๓ กรรมเขาได้ว่าจ้างชาวออสเตรเลียคนหนึ่งซึ่งทำงานอยู่ที่หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ณ กรุงโรมให้แต่งหนังสือใส่ความปรีดีฯ แต่เมื่อชาวออสเตรเลียนั้นได้เข้ามาประเทศไทยทำการสืบสวนทราบความจริงแล้วก็ไม่ยอมรับเขียนใส่ความปรีดีฯ ต่อมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายการข่าวของรัฐบาลออสเตรเลียได้มาพบปรีดีที่ปารีส ยืนยันว่านักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรเลียคนนั้นให้คำมั่นว่า เขาจะไม่เขียนใส่ความปรีดีฯ และเขาได้บอกชื่อตัวการสำคัญซึ่งเป็นสามีของสตรีที่ใช้ลูกสมุนนั้นแต่งหนังสือใส่ความปรีดีฯ

(ผู้เขียนบางคนที่ใส่ร้ายปรีดีนั้นก็เคยอาศัยอยู่ที่บ้านสามีของสตรีของคนนั้น)