ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การเมือง

บทบาท-ผลงาน
12
เมษายน
2567
ปรีดี พนมยงค์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ออกจากประเทศไทยและเดินทางไปยังหลายประเทศ โดยตลอดเวลาที่อยู่ในต่างประเทศนั้น ปรีดีได้ติดตามสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด และเมื่อในปี 2476 รัฐบาลไทยได้เรียกให้ปรีดีกลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง
แนวคิด-ปรัชญา
20
กันยายน
2566
บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนนอกจากจะวิเคราะห์กลุ่มพรรคการเมืองทั้งสองกลุ่มว่า นำเสนอนโยบายต่างประเทศที่มีจุดเน้นแตกต่างกันแล้ว ยังย้อนรำลึกถึงนโยบายของรัฐบาลบางชุดในอดีต
แนวคิด-ปรัชญา
26
กรกฎาคม
2566
หนึ่งในปัจจัยสำคัญและแสนยากเข็ญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองคือ การเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองทางการเมือง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบุคคลที่จะเปลี่ยนความเชื่อหรือฟากฝั่งที่ตนยึดถือมาตลอด โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีผลประโยชน์ผูกพันกับความเชื่อดังกล่าว โดยเฉพาะชนชั้นนำอนุรักษนิยม
แนวคิด-ปรัชญา
25
กรกฎาคม
2566
ประเทศไทยยังคงวนเวียนกับวงจรและกับดักของเผด็จการจากรัฐประหาร แต่การเลือกตั้งก็ยังคงเป็นกิจกรรมสำคัญของประชาชนที่ขาดไม่ได้ตลอดมา ในฐานะเจ้าของสิทธิอันชอบธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย สิ่งสำคัญหนึ่งในการปกป้องระบบรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ให้ได้ ก็คือ การรักษาความชอบธรรมทางการเมือง
แนวคิด-ปรัชญา
21
กรกฎาคม
2566
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์นี้ จะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้สังคมได้ประจักษ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญแท้จริงแล้วคือองค์กรที่ถูกสร้างเพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตยหรือแท้จริงแล้วเป็นเพียงองค์กรที่จะนำสังคมไปสู่ทางตัน
แนวคิด-ปรัชญา
6
กรกฎาคม
2566
คำกล่าวประโยคหนึ่งที่ว่า “ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่า เราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย” จริงหรือไม่ คำอภิปรายต่อไปนี้เป็นการตอบคำถามดังกล่าว ที่แฝงไว้ด้วยความประสงค์ให้คนไทยพึงเรียนรู้สาระสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
แนวคิด-ปรัชญา
5
กรกฎาคม
2566
สื่อมวลชนสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยตลอดมา แม้สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็เกิดขึ้นภายใต้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความคิดเห็นด้านประชาธิปไตยในแง่มุมต่างๆ ที่หนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์ของนักเขียนในสมัยก่อนหน้าและในขณะนั้น นำเสนอให้ชาวสยามได้รับทราบ
แนวคิด-ปรัชญา
16
พฤษภาคม
2566
การคัดง้างระหว่างอำนาจที่สำคัญต่อปัจจัยในการวางรากฐานประชาธิปไตยของสังคมไทยเมื่อครั้งการอภิวัฒน์สยาม 2475 ได้แก่ อำนาจทางกองทัพ และอำนาจตามประเพณีซึ่งเป็นมรดกตกค้างจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เกร็ดประวัติศาสตร์
1
เมษายน
2566
ชวนอ่านกลวิธีที่นำไปสู่การรัฐประหารครั้งแรกของไทย โดย 'พระยามโนปกรณ์นิติธาดา' โดยอาศัยช่องว่างในขณะที่ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ" ข้อเสนอโดย 'นายปรีดี พนมยงค์' ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการทบทวนพิจารณาเชิงหลักการและฐานความคิดต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
แนวคิด-ปรัชญา
14
มีนาคม
2566
ปัญหาการเกิดขึ้นของ "นายกฯ คนนอก" ด้วยกระบวนการที่เปิดประตูให้แก่บุคคลนอกระบอบเล็ดลอดเข้ามามีอำนาจโดยไม่ผ่านกลไกด้วยระบอบประชาธิปไตย ปัญหาดังกล่าวถูกปิดตายด้วยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ฉบับ 2540 กระทั่งปัญหาดังกล่าวบังเกิดอีกครั้งภายหลังการแทรกแซงทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2557 ในรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ ฉบับ 2560
Subscribe to การเมือง