ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เขมภัทร ทฤษฎิคุณ

แนวคิด-ปรัชญา
11
ธันวาคม
2565
พิจารณาแกนหลักสำคัญผ่านรัฐธรรมนูญ คือการวางหลักประกันให้แก่สิทธิและเสรีภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน อีกทั้งนำเสนอหลักคิดและอุดมคติของ ‘นายปรีดี พนมยงค์’ ซึ่งแสดงทัศนะไว้ต่อประเด็นรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเชิงจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ถดถอยลง เพื่อถอดบทเรียนไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
แนวคิด-ปรัชญา
6
ธันวาคม
2565
พัฒนาการของการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในทางเศรษฐกิจ ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่เริ่มต้นนับตั้งแต่การอภิวัฒน์สยาม 2475 อีกทั้งการเกิดขึ้นของบทบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอันเป็นแนวทางคุ้มครองสิทธิและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทว่า การรัฐประหารได้ทำให้หลักการดังกล่าวนั้นพร่าเลือนลงไป อันเนื่องมาจากความถดถอยของความเป็นประชาธิปไตย
แนวคิด-ปรัชญา
21
พฤศจิกายน
2565
ผู้เขียนได้นำเสนอสาระสำคัญของร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ กล่าวคือสร้าง "ประชาธิปไตยสมบูรณ์" ซึ่งเป็นระบอบที่จะต้องเป็นประชาธิปไตยทั้งใน "ทางการเมือง" และ ใน "ทางเศรษฐกิจ" ควบคู่กันไปอย่างมิอาจแยกจากกันได้ ตลอดจนความรักชาติของนายปรีดีที่ปรากฏในร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ
แนวคิด-ปรัชญา
4
พฤศจิกายน
2565
"จาก “ควบรวม” ถึง “ผูกขาด” ประเมินความเสี่ยงที่สังคมไทยต้องแบกรับ" โดยชวนให้พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คือ การผนวกรวมของสองกลุ่มทุนใหญ่เข้าด้วยกัน โดยผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงสภาพการแข่งขันทางธุรกิจก่อนเกิดกรณีดังกล่าว ที่ฉายภาพการแข่งขันเสรีอย่างขับเคี่ยวโดยกลุ่มทุนต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด
แนวคิด-ปรัชญา
25
ตุลาคม
2565
“รัฐธรรมนูญ” มีความสำคัญในทางการเมือง ในฐานะเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และรัฐธรรมนูญยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอุดมคติที่ต้องการให้เกิดขึ้นภายในประเทศด้วยเช่นกัน
แนวคิด-ปรัชญา
18
ตุลาคม
2565
“การบริจาค” ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่คู่กับสังคมไทย เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การบริจาคและการทำการกุศลนั้นเป็นเรื่องที่ดีและเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้สังคมดีขึ้น และสร้างความเป็นภราดรภาพ (ให้รู้สึกเหมือนเป็นพี่น้องร่วมชาติกัน) ให้เกิดขึ้นภายใต้การอยู่ร่วมกัน มายาคติที่ว่านี้ส่วนหนึ่งนั้นอาจมาจากอิทธิพลของพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องบาป-บุญ
แนวคิด-ปรัชญา
12
ตุลาคม
2565
เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนตุลาคม เหตุการณ์สำคัญที่จะต้องหยิบมาพูดถึงคือ เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม และ 6 ตุลาคม ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญในหน้าการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ทั้งสอง ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของการลอยนวลพ้นผิดที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งการลอยนวลพ้นผิดนี้สร้างบาดแผลให้กับสังคมไทยในหลายๆ ด้าน ทั้งก่อให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม อีกทั้งยังถ่างช่องว่างของความเหลื่อมล้ำให้กว้างขึ้น  
แนวคิด-ปรัชญา
5
ตุลาคม
2565
ท่ามกลางปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่รายล้อมชีวิตของแรงงาน อัตราดังกล่าวเพียงพอต่อการดำรงชีวิตหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนชวนสำรวจบทวิเคราะห์การเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำ โดยได้เสนอทิศทางการกำหนดอัตราค่าจ้าง อันมีตัวแปรสำคัญ คือ "คุณภาพชีวิต" ที่มีมาตรฐานของแรงงานอยู่ในสมการนี้ด้วย เพื่อให้อัตราค่าแรงเป็นส่วนที่ช่วยในการยกระดับความเป็นอยู่ของแรงงานให้ดีมากยิ่งขึ้น
แนวคิด-ปรัชญา
27
กันยายน
2565
ในปัจจุบันไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในฐานะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ในชีวิตประจำวัน การที่ราคาค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นย่อมกระทบต่อชีวิตประชาชน
แนวคิด-ปรัชญา
20
กันยายน
2565
ประเด็นสิทธิแรงงานผ่านมิติเวลาการทำงานที่ถูกขูดรีด โดยพิจารณาการเปลี่ยนผ่านทางสังคมที่เข้าสู่ระบบทุนนิยมภายหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งต่อมาได้มาปรากฏความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิเวลาการทำงานที่เป็นธรรมของแรงงานในระบบ
Subscribe to เขมภัทร ทฤษฎิคุณ