PRIDI Talks #13 รำลึก 45 ปี 6 ตุลาฯ
“จากทุ่งสังหารถึงสำนักงานตั๋วช้าง”
ตำรวจ-ทหาร กองทัพของราษฎร
วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2564
เวลา 13.00 - 16.00
รูปแบบกิจกรรม: ONLINE ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook สถาบันปรีดี พนมยงค์
หลักการและเหตุผล
วันที่ 6 ตุลาคม 2519 หรือ 45 ปีที่แล้ว เป็นวันที่เกิดการสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนที่ชุมนุมประท้วงบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ซึ่งนับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย
สถานการณ์ทางการเมืองใน ปีพ.ศ. 2564 ภายใต้การอุบัติของโรคระบาดโควิด 19 และการควบคุมของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกถึงความเห็นของประชาชน จนนำมาสู่การตั้งคำถามต่อการใช้ความรุนแรงในการควบคุมฝูงชน รวมไปถึงสภาพสังคมภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ที่ประชาชนถูกจำกัดอิสรภาพโดยปราศจากความผิด ถูกบังคับสูญหาย หรือต้องลี้ภัยทางการเมืองไป
กล่าวได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปีที่แล้ว ดังนั้นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จึงเป็นหมุดหมายที่สำคัญต่อการสร้างความเข้าใจ เหตุการณ์อาชญากรรมโดยรัฐครั้งสำคัญของประเทศไทย
ในการนี้ สถาบันปรีดี พนมยงค์ มีความต้องการสร้างเวทีวิชาการ เพื่อเผยแพร่หลักภราดรภาพ การปฏิบัติตามหลักสากลเพื่อลดความรุนแรงจากการสลายฝูงชน ซึ่งเป็นการนำมรดกทางความคิดของนายปรีดี พนมยงค์ เพื่อปรับใช้แก้ไขปัญหาร่วมสมัยในสังคมไทย และสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมอำนาจนิยม ระบบอุปถัมภ์ และหน้าที่กองทัพ การติดตามพ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย และการปฏิรูปตำรวจ ท้ายที่สุดเป็นการนำเสนอมุมมองกระบวนการยุติธรรมบนฐานความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างอย่างหลากหลายบนสังคมประชาธิปไตย
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมอำนาจนิยม ระบบอุปถัมภ์ และติดตามพ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาน - อุ้มหาย
- เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักประชาธิปไตยสมบูรณ์ของนายปรีดี พนมยงค์ ผ่านหลักภราดรภาพเพื่อลดความรุนแรงในการควบคุมฝูงชน
- เพื่อเป็นการนำเสนอมุมมองกระบวนการยุติธรรมบนฐานความเห็นทางการเมืองอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์ตามหลักสังคมประชาธิปไตยสมบูรณ์
กำหนดการ
13.05 - 13.20 น. | รองศาสตราจารย์ ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ กล่าวเปิดงาน และ ปาฐกถานำ หัวข้อ “ภราดรภาพนิยม: แนวทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติธรรมในวิกฤติขัดแย้งและสังคมเห็นต่าง” |
13.20 - 13.35 น. | พลโท ดร.พงศกร รอดชมภู อดีตประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ สภาผู้แทนราษฎร และ รองประธานกรรมการมูลนิธิคณะก้าวหน้า หัวข้อ “วัฒนธรรมอำนาจนิยม ระบบอุปถัมภ์ และบทบาทกองทัพ” |
13.35 - 13.50 น. | พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หัวข้อ “การปฏิรูปตำรวจ และ ความคืบหน้าพรบ. ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย” |
13.50 - 14.05 น. | ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หัวข้อ “มุมมองกระบวนการยุติธรรมกับความเห็นต่างทางการเมือง” |
14.05 - 14.20 น. | นายสุธรรม แสงประทุม อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวข้อ “ทุ่งสังหาร 6 ตุลาฯ กับความรุนแรงที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง” |
14.20 - 14.35 น. | นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หัวข้อ “การบังคับสูญหาย: อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” |
14.35 - 14.50 น. | นายชานันท์ ยอดหงษ์ นักเขียน นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย หัวข้อ สันติวิธีกับการชุมนุม: อุปสรรคและความหวังของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย |
14.55 - 15.25 น. | เสวนาร่วมระหว่างวิทยากร |
15.25 - 15.45 น. | ถามตอบคำถามจากผู้รับชมกิจกรรม |
ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook สถาบันปรีดี พนมยงค์ facebook.com/pridibanomyonginstitute
กรุณากดสนใจหรือเข้าร่วม เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อกิจกรรมเริ่มต้นขึ้นได้ที่ https://fb.me/e/11caOGnWK