ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คณะราษฎร

ศิลปะ-วัฒนธรรม
14
มิถุนายน
2563
สาเหตุของความแตกแยกภายในคณะราษฎร มีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมืองของบุคคลชั้นหัวหน้าในคณะราษฎรเป็นสําคัญ  การรวมตัวกันของคณะราษฎรเป็นที่น่าสังเกตว่า ประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีแนวความคิดต่างกันอยู่มาก แต่เท่าที่สามารถรวมกลุ่มกันได้ในระยะแรก เป็นเพราะบุคคลเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายร่วมกันอยู่ คือ ความต้องการยึดอํานาจจากชนชั้นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อสถาปนารัฐบาลชุดใหม่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
เกร็ดประวัติศาสตร์
11
มิถุนายน
2563
ในการเสวนาเรื่อง “ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ 27 มิถุนายน 2475” เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2550 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์  นายสุพจน์ ด่านตระกูล ได้ร่วมอภิปรายด้วย ความตอนหนึ่งดังนี้
บทสัมภาษณ์
10
มิถุนายน
2563
ท่านผู้หญิงพูนศุข เกิดในสมัยรัชกาลที่ 6 ในตระกูล ณ ป้อมเพชร์ ซึ่งเป็นตระกูลขุนนาง  บิดาของท่านคือ พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ  เมื่ออายุไม่ถึง 17  ปี ท่านผู้หญิงก็สมรสกับนายปรีดี พนมยงค์ ดอกเตอร์หนุ่มนักกฎหมายชื่อดังสมัยนั้น
แนวคิด-ปรัชญา
8
มิถุนายน
2563
1. การยึดอำนาจการปกครองของคณะราษฎร การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่าเป็นจุดสุดยอดของการสะสมความต้องการในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ได้มีการประกาศพระราชกำหนดนิรโทษกรรม แก่คณะราษฎรและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวพุทธศักราช 2475
ศิลปะ-วัฒนธรรม
7
มิถุนายน
2563
ที่มา: เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  
เกร็ดประวัติศาสตร์
29
พฤษภาคม
2563
“ถ้าไม่มีนายปรีดี พนมยงค์ ประเทศไทยจะไม่มีประชาธิปไตย ถ้าไม่มีนายปรีดี พนมยงค์ ประเทศไทยก็จะเป็นเมืองขึ้น” คำกล่าวในเชิงสดุดีจากปากของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามอันดับแถวหน้าสุดของประเทศเช่นนี้ สำหรับผู้ที่ติดตามประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทยด้วยความเที่ยงธรรมมาโดยตลอด ก็ไม่มีอะไรเป็นที่สงสัยเลยแม้แต่น้อย แต่สำหรับบางคนที่ม่านแห่งอคติบดบังจนดวงตาและดวงใจมืดสนิท คำกล่าวของ ส. ศิวรักษ์ ข้างต้น ก็มีแต่ก่อความขึ้งเคียดถึงขนาดตีอกชกหัวเลยทีเดียว
บทบาท-ผลงาน
22
พฤษภาคม
2563
การเปลี่ยนแปลงการปกครองยังไม่ทันผ่านพ้นข้ามปี อาจารย์ปรีดีก็สามารถก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง” ขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2476 ในฐานะผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย อาจารย์ปรีดีได้แถลงถึงเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เอาไว้ว่า เพื่อจะได้ช่วยบำบัดความกระหายการศึกษาของราษฎรโดยทั่วไป
แนวคิด-ปรัชญา
3
เมษายน
2563
พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล เรื่อง   เมื่อกล่าวถึง ‘คณะราษฎร’ และการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ตัวละครหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้น ‘ปรีดี พนมยงค์’ ในฐานะตัวตั้งตัวตีในการอภิวัฒน์สยามสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทว่าบันทึกและหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวอ้างถึงปรีดีและคณะราษฎรในระยะหลัง มักปรากฏในลักษณะของการบอกเล่า ตีความ วิเคราะห์ จากมุมของคนนอก เช่น นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ เสียส่วนใหญ่ ขณะที่ข้อมูลชั้นต้นจำพวกบันทึกหรือข้อเขียนจากตัวละครต่างๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์ กลับไม่แพร่หลายเท่าไหร่นัก
บทสัมภาษณ์
30
มีนาคม
2563
กษิดิศ อนันทนาธร เรื่อง   ผมได้ทราบจากอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรว่า ดร.จริย์วัฒน์ สันตะบุตร คือบุคคลซึ่งอาจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ รักเหมือนลูกคนสุดท้อง  เขาเป็นคนมีอารมณ์ขัน และเป็นคนหนึ่งที่กล้าแหย่ให้อาจารย์ปรีดีหัวเราะอย่างมีความสุขได้
บทบาท-ผลงาน
27
มีนาคม
2563
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง   “คืนนั้นผมเข้านอนปรกติ ถึงเวลาเขามาปลุก บอกว่า ไปกันเถอะ แล้วต่างคนต่างแยกย้ายไปตามจุดนัดหมายตัวเอง ทุกหมู่เหล่ามีชาวบ้านอย่างเราไปอยู่ด้วย ถนนราชดำเนินตอนนั้นเงียบมาก พี่ชายบอกว่า เดี๋ยวมีคนเอาปืนมาให้ ผมคิดอย่าเดียวว่า ตั้งใจมาทำงานให้สำเร็จ เขาสู้ก็สู้กับเขา ตายก็ตาย…” กระจ่าง ตุลารักษ์ คณะราษฎรคนสุดท้าย ผู้อยู่ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง หวนรำลึกเหตุการณ์ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ระหว่างให้สัมภาษณ์นิตยสาร สารคดี ก่อนเสียชีวิตไม่นาน
Subscribe to คณะราษฎร