ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คณะราษฎร

เกร็ดประวัติศาสตร์
29
พฤษภาคม
2563
“ถ้าไม่มีนายปรีดี พนมยงค์ ประเทศไทยจะไม่มีประชาธิปไตย ถ้าไม่มีนายปรีดี พนมยงค์ ประเทศไทยก็จะเป็นเมืองขึ้น” คำกล่าวในเชิงสดุดีจากปากของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามอันดับแถวหน้าสุดของประเทศเช่นนี้ สำหรับผู้ที่ติดตามประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทยด้วยความเที่ยงธรรมมาโดยตลอด ก็ไม่มีอะไรเป็นที่สงสัยเลยแม้แต่น้อย แต่สำหรับบางคนที่ม่านแห่งอคติบดบังจนดวงตาและดวงใจมืดสนิท คำกล่าวของ ส. ศิวรักษ์ ข้างต้น ก็มีแต่ก่อความขึ้งเคียดถึงขนาดตีอกชกหัวเลยทีเดียว
บทบาท-ผลงาน
22
พฤษภาคม
2563
การเปลี่ยนแปลงการปกครองยังไม่ทันผ่านพ้นข้ามปี อาจารย์ปรีดีก็สามารถก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง” ขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2476 ในฐานะผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย อาจารย์ปรีดีได้แถลงถึงเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เอาไว้ว่า เพื่อจะได้ช่วยบำบัดความกระหายการศึกษาของราษฎรโดยทั่วไป
แนวคิด-ปรัชญา
3
เมษายน
2563
พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล เรื่อง   เมื่อกล่าวถึง ‘คณะราษฎร’ และการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ตัวละครหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้น ‘ปรีดี พนมยงค์’ ในฐานะตัวตั้งตัวตีในการอภิวัฒน์สยามสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทว่าบันทึกและหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวอ้างถึงปรีดีและคณะราษฎรในระยะหลัง มักปรากฏในลักษณะของการบอกเล่า ตีความ วิเคราะห์ จากมุมของคนนอก เช่น นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ เสียส่วนใหญ่ ขณะที่ข้อมูลชั้นต้นจำพวกบันทึกหรือข้อเขียนจากตัวละครต่างๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์ กลับไม่แพร่หลายเท่าไหร่นัก
บทสัมภาษณ์
30
มีนาคม
2563
กษิดิศ อนันทนาธร เรื่อง   ผมได้ทราบจากอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรว่า ดร.จริย์วัฒน์ สันตะบุตร คือบุคคลซึ่งอาจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ รักเหมือนลูกคนสุดท้อง  เขาเป็นคนมีอารมณ์ขัน และเป็นคนหนึ่งที่กล้าแหย่ให้อาจารย์ปรีดีหัวเราะอย่างมีความสุขได้
บทบาท-ผลงาน
27
มีนาคม
2563
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง   “คืนนั้นผมเข้านอนปรกติ ถึงเวลาเขามาปลุก บอกว่า ไปกันเถอะ แล้วต่างคนต่างแยกย้ายไปตามจุดนัดหมายตัวเอง ทุกหมู่เหล่ามีชาวบ้านอย่างเราไปอยู่ด้วย ถนนราชดำเนินตอนนั้นเงียบมาก พี่ชายบอกว่า เดี๋ยวมีคนเอาปืนมาให้ ผมคิดอย่าเดียวว่า ตั้งใจมาทำงานให้สำเร็จ เขาสู้ก็สู้กับเขา ตายก็ตาย…” กระจ่าง ตุลารักษ์ คณะราษฎรคนสุดท้าย ผู้อยู่ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง หวนรำลึกเหตุการณ์ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ระหว่างให้สัมภาษณ์นิตยสาร สารคดี ก่อนเสียชีวิตไม่นาน
บทบาท-ผลงาน
24
มีนาคม
2563
ประจักษ์ ก้องกีรติ เรื่อง ผมเชื่อว่าผู้อ่านส่วนใหญ่คงเคยได้ยินคำกล่าวที่พูดกันติดหูว่า “ผู้ชนะคือผู้เขียนประวัติศาสตร์” แต่ในสังคมไทยของเรา เรื่องราวกลับไม่ได้ดำเนินไปเช่นนั้น เพราะสิ่งที่เรียกว่า “ประวัติศาสตร์” ซึ่งคือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วให้คนรุ่นหลังได้จดจำนั้น ช่างเต็มไปด้วยความยอกย้อนและซ่อนเงื่อน ผู้ชนะในสมรภูมิทางการเมืองบ่อยครั้งกลับพ่ายแพ้ในสมรภูมิการเขียนประวัติศาสตร์
Subscribe to คณะราษฎร