ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

พจน์ พหลโยธิน

เกร็ดประวัติศาสตร์
29
มีนาคม
2567
ภายหลังการอภิวัฒน์สยาม พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เดินทางไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสังเกตการณ์ และรับความเห็นจากผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในการดำเนินการด้านต่างๆ
แนวคิด-ปรัชญา
29
มีนาคม
2566
135 ปี ชาตกาล พระยาพหลพลพยุหเสนา กับคำปราศรัยที่ได้แสดงไว้ต่อปวงชน เมื่อคราวระบอบประชาธิปไตยปักหลักลงรากสู่แผ่นดินสยามได้ครบเป็นปีที่ 4 เรื่อง "การปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ"
เกร็ดประวัติศาสตร์
1
มีนาคม
2566
บันทึกร่วมของ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ และ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ ผู้เป็นสมาชิกของคณะ ร.ศ. 130 บอกเล่าความเชื่อมร้อยทางความคิดในความพยายามของการเปลี่ยนแปลงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย จากคณะ ร.ศ. 130 ถึง คณะราษฎรเมื่อครั้งการอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475
แนวคิด-ปรัชญา
25
พฤศจิกายน
2565
'นริศ จรัสจรรยาวงศ์' เขียนถึงพิธีฝังหมุดคณะราษฎรในงานรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479 กับบทความของ 'กุหลาบ สายประดิษฐ์' สิงห์น้ำหมึกแห่งวรรณกรรมไทย ซึ่งได้เขียนถึงระบอบใหม่ของประเทศและความประทับใจในหมุดคณะราษฎรอันแสดงไว้ในบทความ "ระบอบรัฐธรรมนูญ" และ "ความเสมอภาค" ดังปรากฏในหนังสือพิมพ์ประชาชาติเมื่อกลางธันวาคมของปีเดียวกัน
บทบาท-ผลงาน
16
ตุลาคม
2565
คำบรรยายของ 'นายปรีดี พนมยงค์' ต่อปลัดจังหวัดและนายอำเภอจำนวนทั้งสิ้น 94 คน คณะผู้จัดการอบรม และบุคคลอื่นๆ ที่สนใจร่วมเข้าฟัง โดยนายปรีดีได้เน้นย้ำความสำคัญของการสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญจะสำเร็จได้นั้น ล้วนต้องอาศัยความร่วมมือจากเหล่าข้าราชการท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดประชาชน
บทบาท-ผลงาน
3
ตุลาคม
2565
ความพยายามของรัฐบาลคณะราษฎรในการสร้างความเข้าใจต่อประชาชนสำหรับการเลือกตั้งทางตรงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2480 ผ่านการจัดอบรม ณ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ให้แก่เหล่าข้าราชการท้องถิ่น ได้แก่ ปลัดจังหวัด และนายอำเภอ ข้าราชการผู้ใกล้ชิดราษฎรซึ่งถือเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง
แนวคิด-ปรัชญา
9
สิงหาคม
2565
ฐานคิดว่าด้วยสันติภาพผ่านนโยบายการต่างประเทศที่เกิดขึ้นหลังการอภิวัฒน์สยาม ภายใต้การดำเนินงานในรัฐบาลของพระยาพหลฯ ซึ่งมีนายปรีดี เป็น รมต.กระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ซึ่งตั้งอยู่ในบนหลักของการรักษาดุลแห่งอำนาจซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะเปิดฉากในช่วง 2 ทศวรรษต่อมา
บทบาท-ผลงาน
26
พฤษภาคม
2565
ในบทความนี้ ผู้เขียนนำเสนอในเรื่องของ "การประเมินบทบาทที่ปรึกษาต่างชาติ" ว่าเป็นอย่างไร ส่งผลแค่ไหนต่อความสำเร็จในการเจรจาสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลภายใต้ระบอบเดิม ซึ่งจากงานศึกษาของนักวิชาการที่ผู้เขียนหยิบยกมาพิจารณานั้นได้เสนอไว้ว่า "ที่ปรึกษาชาวต่างชาติหลายคนมิได้แสดงให้เห็นความสามารถเท่าที่ควร"
บทบาท-ผลงาน
14
พฤษภาคม
2565
สมัยที่ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะราษฎรได้มีนโยบายส่งเสริมการทำนาโดยจัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว ซึ่งการประกวดครั้งสำคัญนั้น เกิดขึ้นที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2477 ท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและสมาชิกคณะราษฎรบางส่วนยังเดินทางไปมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด อีกทั้งร่วมเกี่ยวข้าวจากแปลงนาของเกษตรกรด้วยตนเอง
บทบาท-ผลงาน
14
เมษายน
2565
  วันนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (14 เมษายน 2560)  มีข่าวแพร่สะพัดว่า หมุด ‘ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ’ หรือเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ‘หมุดคณะราษฎร’ ได้หายไปจากจุดที่มันเคยอยู่ (จากการติดตามของสำนักข่าวประชาไทระบุมีความเป็นไปได้ที่หมุดจะหายไปในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 3-7 เมษายน 2560) เป็นปริศนาจวบจนถึงวันนี้
Subscribe to พจน์ พหลโยธิน