เจ้าสุวันนะพูมา
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
29
ตุลาคม
2565
คุณศุขปรีดา พนมยงค์ เป็นหัวหน้าพาคณะมิตรสหายไปเยี่ยมเยือนและคารวะผู้อาวุโส ยังประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามหลายครั้ง ผมมีโอกาสติดตามไป 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ตามลำดับ
จากนั้น คุณศุขปรีดาลงมือเขียนประวัติท่านโฮจิมินห์ ส่งไปลงพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 และรวมพิมพ์เล่มครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์มิ่งมิตร — บริษัทชนนิยม จำกัด เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ในชื่อเล่มที่คุณขรรค์ชัย บุนปาน ประธานเครือบริษัทมติชน จำกัด เป็นผู้ตั้งให้ “โฮจิมินห์ เทพเจ้าผู้ยังมีลมหายใจ”
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
16
เมษายน
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : พรรคประชาชนลาว - พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
รัฐบาลผสมชั่วคราวแห่งชาติ ซึ่งถือเป็น การรวมลาวครั้งที่ 3 นี้ นอกเหนือจาก เจ้าสุวันนะพูมา ซึ่งทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีแล้ว รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเวียงจันทน์ คือ ท่านเหลื่อมอิน ศรีเชียงใหม่ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการด้วย ส่วนฝ่ายแนวลาวรักชาติ คือ พญาพูมี วงวิจิด ก็ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
3
เมษายน
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : สงครามซีไอเอ
นับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา “ฝ่ายแนวลาวรักชาติ” เสนอให้มีการประชุมกับ “ฝ่ายเวียงจันทน์” ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นพวกปะติกานฝ่ายขวา สำหรับฝ่ายเป็นกลางอย่างแท้จริงที่สนับสนุน เจ้าสุวันนะพูมา นั้นก็มีความเห็นชอบแนวนโยบายของฝ่ายแนวลาวรักชาติ และเข้าร่วมด้วย อาทิเช่น พันเอกเดือน สุนนะลาด เป็นต้น ซึ่งในเวลาต่อมาก็เข้าเป็นฝ่ายแนวลาวรักชาติเต็มตัว
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
26
มีนาคม
2565
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปิดฉากลง หน่วยงานที่ก่อตัวขึ้นทั้งหลายจึงถูกยุบไป จนเมื่อเกิดสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับโซเวียตที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ฟากฝั่งอเมริกาจึงได้จัดตั้ง "ซีไอเอ" ขึ้นมาอีกครั้ง โดยสมาชิกส่วนหนึ่งนั้นมาจากอดีตโอเอสเอส แต่วัตุประสงค์การจัดตั้งคราวนี้เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปสิ้นเชิง โดยในครั้งนี้ได้มุ่งเน้นต่อต้าน “คอมมิวนิสต์” ให้ถึงที่สุด
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
19
มีนาคม
2565
เมื่อฝ่ายขวาเริ่มอยู่ในตำแหน่งที่กำลังจะเสียเปรียบมากขึ้นทุกที ทุกที ทางฟากฝั่งอย่างอเมริกาจึงต้องใช้แผนเด็ดขาด คือ การสังหารบุคคลผู้ซึ่งมีความสำคัญและทรงอิทธิพลต่อคนในชาติ นั่นก็คือ "เจ้าสุพานุง" หรือ "ท่านสุพานุวง"
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
19
กุมภาพันธ์
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : เส้นทางหลบหนี
เช้าตรู่ของวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ขณะชาวนครหลวงเวียงจันทน์ตื่นนอนตอนเช้าก็พบว่าเกิดรัฐประหารยึดอำนาจรัฐแล้ว นำโดย ร้อยเอกกองแล โรรัง ผู้บังคับกองพันราบอากาศ พร้อมด้วย ร้อยโทเดือน สุนนะลาด รอง ผ.บ. พัน และร้อยตรีเทียบ ลิดทิเดด มีสารวัตรทหารส่วนหนึ่งเข้าร่วมทำการ และสมทบด้วยทหารอีกส่วนจากค่าย “จินายโม้” รวมกำลังพลประมาณ 800 คน
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
26
ธันวาคม
2564
เมื่อบาดเจ็บสาหัสจากคมกระสุนที่ยิงมาจากฐานปืนกลประจำเครื่องบินสปิตไฟร์ในศึกป้องกันเมืองท่าแขก และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครพนมอยู่ระยะหนึ่ง เจ้าสุพานุวงจึงเดินทางเข้าบางกอกพร้อมเจ้าเวียงคำชายาเพื่อรักษาตัวเพิ่มเติม ศัลยแพทย์ฝีมือดีที่สุดคนหนึ่งทำหน้าที่ดูแลท่านในขณะนั้นคือ นายแพทย์บรรจง กรลักษณ์
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
28
พฤศจิกายน
2564
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประธานโฮจิมินห์ที่ฮานอยเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 ได้สร้างความเข้าใจด้านทฤษฎี แนวทางอภิวัฒน์ ให้แก่เจ้าสุพานุวงในการกอบกู้เอกราชของชาติเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นมาเจ้าสุพานุวงได้รับการติดอาวุธทางความคิดอันถูกต้องเพื่อเข้าสู่รูปธรรมแห่งการปฏิบัติจริง ท่านโฮจิมินห์กล่าวเน้นถึงการสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวลาวด้วยกัน ทั้งยังต้องสามัคคีกับชาวเวียดนาม และชาวเขมรด้วย เพราะดินแดนของทั้งสามชาติตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ที่ฝรั่งเศสขนานนามว่า “อินโดจีนของฝรั่งเศส”
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
13
พฤศจิกายน
2564
พญาฟ้างุ่มตั้งตัวเป็นอิสระเมื่ออำนาจการปกครองขอมอ่อนแอและกำลังดำเนินไปสู่ความเสื่อมสลาย เช่นเดียวกับอาณาจักรสุโขทัยที่ได้สถาปนาขึ้นก่อนหน้านี้
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
Subscribe to เจ้าสุวันนะพูมา
29
ตุลาคม
2564
เมื่อฝรั่งเศสยึดครองลาวเป็นเมืองขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ได้ พยายามผนวกดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอันเป็นมณฑลอีสานของสยามมีการยุยงสร้างความขัดแย้งระหว่างลาว-ไทย