ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การอภิวัฒน์สยาม

เกร็ดประวัติศาสตร์
6
กรกฎาคม
2563
ในรอบศตวรรษที่ผ่านมา หากจะถามหาสามัญชนที่เป็นอัจฉริยะและรัตนบุรุษ ผู้สร้างคุณูปการต่อชาติและศาสนา ทั้งในฝ่ายฆราวาสและบรรพชิตแล้ว นายปรีดี พนมยงค์และท่านพุทธทาสภิกขุ ย่อมอยู่ในฐานะอันโดดเด่น ควรแก่การยกย่อมอย่างแท้จริง ทั้งความรู้ ความสามารถ ความเสียสละ ความสะอาดบริสุทธิ์ ความซื่อสัตย์สุจริตและความเห็นการณ์ไกล ซึ่งประวัติศาสตร์ชาติไทยจักต้องจารึกความสำคัญของท่านทั้งสองไว้นานเท่านาน
แนวคิด-ปรัชญา
19
มิถุนายน
2563
ในวาระครบรอบ 60 ปี แห่งการอภิวัฒน์ประชาธิปไตย ไทย ผมใคร่จะถือโอกาสนี้เขียนถึง ฯพณฯ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นมันสมองของคณะราษฎรในการอภิวัฒน์ครั้งนั้น 
บทบาท-ผลงาน
18
มิถุนายน
2563
ในการเสวนาเรื่อง “ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ 27 มิถุนายน 2475” เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2550 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต ได้ร่วมอภิปราย ความตอนหนึ่งดังนี้ ความจริงการเสวนาในวันนี้มีสองมิตินะครับที่กําหนดเป็นหัวข้อ มิติทางประวัติศาสตร์และมิติทางรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2745 พี่สุพจน์ [ด่านตระกูล] ได้พูดถึงมิติทางด้านประวัติศาสตร์ไปในรายละเอียด ผมจะขอให้ข้อสังเกตบางประการทางด้านมิติรัฐธรรมนูญฉบับแรก 
แนวคิด-ปรัชญา
15
มิถุนายน
2563
ปรีดี พนมยงค์ ทำการอภิวัฒน์สยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยความปรารถนาจะให้ประเทศสยามในขณะนั้นได้มีประชาธิปไตยสมบูรณ์ คือประกอบไปด้วยประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยการเมือง และทัศนะทางสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
11
มิถุนายน
2563
ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์ โดย ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ
ศิลปะ-วัฒนธรรม
7
มิถุนายน
2563
ที่มา: เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  
แนวคิด-ปรัชญา
3
เมษายน
2563
พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล เรื่อง   เมื่อกล่าวถึง ‘คณะราษฎร’ และการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ตัวละครหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้น ‘ปรีดี พนมยงค์’ ในฐานะตัวตั้งตัวตีในการอภิวัฒน์สยามสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทว่าบันทึกและหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวอ้างถึงปรีดีและคณะราษฎรในระยะหลัง มักปรากฏในลักษณะของการบอกเล่า ตีความ วิเคราะห์ จากมุมของคนนอก เช่น นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ เสียส่วนใหญ่ ขณะที่ข้อมูลชั้นต้นจำพวกบันทึกหรือข้อเขียนจากตัวละครต่างๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์ กลับไม่แพร่หลายเท่าไหร่นัก
บทบาท-ผลงาน
27
มีนาคม
2563
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง   “คืนนั้นผมเข้านอนปรกติ ถึงเวลาเขามาปลุก บอกว่า ไปกันเถอะ แล้วต่างคนต่างแยกย้ายไปตามจุดนัดหมายตัวเอง ทุกหมู่เหล่ามีชาวบ้านอย่างเราไปอยู่ด้วย ถนนราชดำเนินตอนนั้นเงียบมาก พี่ชายบอกว่า เดี๋ยวมีคนเอาปืนมาให้ ผมคิดอย่าเดียวว่า ตั้งใจมาทำงานให้สำเร็จ เขาสู้ก็สู้กับเขา ตายก็ตาย…” กระจ่าง ตุลารักษ์ คณะราษฎรคนสุดท้าย ผู้อยู่ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง หวนรำลึกเหตุการณ์ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ระหว่างให้สัมภาษณ์นิตยสาร สารคดี ก่อนเสียชีวิตไม่นาน
บทบาท-ผลงาน
24
มีนาคม
2563
ประจักษ์ ก้องกีรติ เรื่อง ผมเชื่อว่าผู้อ่านส่วนใหญ่คงเคยได้ยินคำกล่าวที่พูดกันติดหูว่า “ผู้ชนะคือผู้เขียนประวัติศาสตร์” แต่ในสังคมไทยของเรา เรื่องราวกลับไม่ได้ดำเนินไปเช่นนั้น เพราะสิ่งที่เรียกว่า “ประวัติศาสตร์” ซึ่งคือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วให้คนรุ่นหลังได้จดจำนั้น ช่างเต็มไปด้วยความยอกย้อนและซ่อนเงื่อน ผู้ชนะในสมรภูมิทางการเมืองบ่อยครั้งกลับพ่ายแพ้ในสมรภูมิการเขียนประวัติศาสตร์
Subscribe to การอภิวัฒน์สยาม