ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข่าวสาร

ข่าวสาร เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

12
พฤษภาคม
2565
  วานนี้ (11 พ.ค.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดงานวันปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2565 เนื่องในวาระ 122 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส   
11
พฤษภาคม
2565
เนื่องในโอกาสครบรอบ 122 ปี ชาตกาล ท่านรัฐบุรุษอาวุโส ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ ในปีนี้ ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันปรีดี พนมยงค์ และมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ได้จัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงท่านบริเวณลานปรีดี พนมยงค์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  หลังจากนั้นจะมีแจกทุนการศึกษา กองทุนปาล พนมยงค์ พร้อมกับ การเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “มุมมอง SDGs เพื่อการพัฒนาสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์” แนวคิดประชาธิปไตยสมบูรณ์นั้นเป็นสิ่งที่อาจารย์ปรีดีได้พยายามพลักดันให้เกิดขึ้นใน “สยาม” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “ประเทศไทย” 
30
เมษายน
2565
ประชุมการพิจารณาตัดสินการประกวดบทความ กองทุนปาล พนมยงค์ ประจำปี 2565 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
27
เมษายน
2565
งานสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อรับฟังความคิดเห็น “โครงการพัฒนาพื้นที่ของสถาบันปรีดี พนมยงค์”
18
เมษายน
2565
วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ และ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรม “ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก”
13
เมษายน
2565
  “ประเพณีวันสงกรานต์” เป็นประเพณีฉลองการขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งโดยทั่วไปจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ตรงกับเดือน 5 ตามจันทรคติ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเทศไทยมีประเพณีวันสงกรานต์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
9
เมษายน
2565
‘ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก’ เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รุ่นที่ 6 ระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2491 ระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2500  ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ (พ.ศ. 2538 - 2540) และ รองประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์
2
เมษายน
2565
คำชี้แจงจากมูลนิธิปรีดี พนมยงค์
30
มีนาคม
2565
ผลงานที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่อธิบายถึงหลักธรรมในพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ความรู้และสาระของหลักธรรมในพุทธศาสนานั้นมีมาก แต่ในหนังสืออุดมธรรมฯ เล่มเดียวนี้ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้เลือกที่จะอธิบายเน้นหนักไปที่แก่นแท้ หลักการสำคัญของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสาระที่ชาวพุทธทุกคนพึงศึกษา รู้ และเข้าใจ
30
มีนาคม
2565
หนังสือที่รวมบทความ คัดสรรทั้งที่เป็นบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว และบทความที่เขียนขึ้นใหม่ บทความหลายเรื่องเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการศึกษาชีวิตและผลงานของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่ยังไม่เคยได้รับรู้กันมาก่อน
Subscribe to ข่าวสาร