ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วันปรีดี พนมยงค์ พ.ศ. 2566

12
พฤษภาคม
2566

ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เป็นวาระ 123 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ ในช่วงเช้า สถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศล และพิธีวางพานพุ่ม อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อรำลึกคุณูปการต่างๆ ของ ‘ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์’ ในฐานะผู้ริเริ่มวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย โดยในเวลา 08.00 น. ได้เริ่มพิธีทำบุญแด่นายปรีดี พนมยงค์

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566

 

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงาน หลังจากนั้นมีการกล่าวถึงความสำคัญของงานวันรำลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส และบุคคลสำคัญของโลกด้วยผลงานหลากหลายด้าน จากนั้น นายคณิต พีชวณิชย์ ตัวแทนนายกสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ น.ส.ธัญญลักษณ์ เศวตมาลย์ ตัวแทนเลขาธิการนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวสดุดีผู้ประศาสน์การ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566

 

ถัดจากนั้น ได้มีกิจกรรมการขับร้องเพลงประสานเสียง (เพลงประจำมหาวิทยาสัย ทำนอง - มอญดูดาว, เพลงปรีดี พนมยงค์, เพลงคนดีมีค่า) โดย ชุมนุมขับร้องเพลงประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพิธีมอบโล่รางวัล “ปรีดี พนมยงค์” ประจำปี 2566 แก่นักศึกษาดีเด่น ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้มอบ ลำดับต่อมาได้แก่พิธีมอบรางวัลการประกวดบทความ “ทุนปาล พนมยงค์” ประจำปี 2566 ในหัวข้อ “ปรัชญาสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย” โดย นายปรีดิวิชญ์ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการสถาบันปรีดี พนมยงค์ พร้อมด้วย นายเอกชัย ไชยนุวัติ กรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ นางสาวปาลีรัตน์ บุญประกอบ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดีบที่ 2 ได้แก่ นายนภวัฒน์ วันชัย และ นางสาวอภิญญา  บ่อวารี
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ นายวุฒิพงษ์  วงศ์ประกอบ

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566

 

กิจกรรมท้ายสุดของช่วงเช้าเป็นพิธีวางพานพุ่มอนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ โดย คณะทายาท คณะผู้บริหาร สมาคมธรรมศาสตร์ฯ สถาบันปรีดี พนมยงค์ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยงานภายนอก อาทิ ผู้แทนสถานทูตหลายประเทศ ตัวแทนจากพรรคการเมือง เป็นต้น

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566

 

นอกจากนี้ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ PRIDI Talks ครั้งที่ 20 ณ ชั้น 9 อาคารอเนกประสงค์ 1 สถาบันไทยคดีศึกษา ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ภายใต้ชื่องาน PRIDI Talks #20: “ดุลยภาพแห่งอำนาจ” : เปลี่ยนผ่านสังคมไทยด้วยการเลือกตั้ง เปิดกิจกรรมงานเสวนาวิชาการ โดย สีแพร เมฆาลัย ศิลปินพื้นบ้านรุ่นใหม่จากจังหวัดเพชรบุรี ที่มีความเป็นเอกเทศในการผสานผสมผลงานความเก่ากับใหม่ มา[บรรเลงขลุ่ยและอ่านบทกวีสะท้อนชีวิตของนายปรีดีและสังคมไทย ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้รับฟัง ตามด้วยการนำเสนอบทความรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทุนปาล พนมยงค์ ประจำปี 2566

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566

 

ต่อมาเป็นกิจกรรมเสวนาวิชาการ ผู้ร่วมเสวนาโดย รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล พิธีกรรายการมองมุมมายด์, ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ดำเนินรายการโดย ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566

 

หลังจบกิจกรรมเสวนาวิชาการแล้ว เป็นกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ ปรีดี - พุทธทาส “เทอดรัฐธรรมนูญ” โดย โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัทบุ๊คไทม์ จำกัด, บัญชา เฉลิมชัยกิจ ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์สุขภาพใจ, นริศ จรัสจรรยาวงศ์ ผู้เขียนบทเกริ่นนำ และดำเนินรายการโดย กษิดิศ อนันทนาธร โดยกล่าวถึงที่มาและความสำคัญในจัดทำหนังสือเล่มนี้ เนื่องในวาระ 123 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ และ 117 ปี ชาตกาล พุทธทาสภิกขุ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง สถาบันปรีดี พนมยงค์ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ และการสนับสนุนเอกสารชั้นต้นโดยหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566

 

ในช่วงท้ายกิจกรรม ได้มีการมอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากรที่มาเข้าร่วมกิจกรรม และปิดกิจกรรมด้วยการร่วมกันถ่ายรูป

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566

 

นอกจากนี้ เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2566 จัดแถลงการณ์สภาพปัญหาของการเลือกตั้งที่พบเห็น รวมถึงประกาศข้อเรียกร้องต่อหน่วยงาน องค์กร และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 2566 นำโดย กฤต แสงสุรินท์ (We Watch), ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ตัวแทนเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2566, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา จากกลุ่มทะลุฟ้า, วศินี บุญที ตัวแทนสมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ตัวแทนโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นผู้ร่วมแถลงการณ์ โดยชี้ให้เห็นถึงความผิดปกติและข้อน่ากังวล 7 ประการ ได้แก่

  1. การจ่าหน้าซองบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผิดพลาดของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.)
  2. มีจำนวนผู้ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าสองแสนคน ซึ่งอาจเกิดจากการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพของ กกต. ซึ่งสร้างความเข้าใจที่คาดเคลื่อนให้แก่ประชาชน
  3. ระบบการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าบนเว็บไซต์ล้มเหลวในช่วงท้ายก่อนการหมดระยะเวลาลงทะเบียน จึงทำให้มีผู้ตกหล่นและไม่สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้เป็นจำนวนมาก
  4. ประชาชนยังสับสนต่อการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ โดยเฉพาะการระบุให้หมายเลขของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตกับหมายเลขของพรรคในบัตรลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อไม่ตรงกัน รวมทั้งการไม่ระบุชื่อผู้สมัครลงไปในบัตรลงคะแนนแบบแบ่งเขต ยิ่งทำให้ประชาชนสับสนมากขึ้น
  5. ปัญหาด้านการจัดเตรียมสถานที่ในการจัดการเลือกตั้งไม่มีความพร้อมรองรับผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงไม่มีการจัดการสถานที่ให้พร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด
  6. ข้อกังวลเรื่องการปิดประกาศเอกสารสำคัญหน้าคูหา พบว่า เอกสารรายชื่อแบบแบ่งเขตที่มีรายชื่อของพรรคการเมืองบางพรรคหายไปจากบางหน่วยเลือกตั้ง และเอกสารแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งดูยาก เช่น ตัวอย่างบัตรลงคะแนนถูกใช้เป็นสีขาวดำ
  7. การสังเกตการณ์การเลือกตั้งยังถูกห้ามจาก กปน. ที่ไม่มีความเข้าใจ แม้ว่าส่วนใหญ่จะให้ความร่วมมือก็ตาม

 

วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566
วันปรีดี พนมยงค์ 2566