ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ศุขปรีดา พนมยงค์

ชีวิต-ครอบครัว
2
มกราคม
2564
ครั้งหนึ่งมีคนถามท่านผู้หญิงพูนศุขในรายการโทรทัศน์ว่า ความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตของเธอคืออะไร เธอตอบทันทีว่า “คือความภาคภูมิใจที่ได้อยู่ใกล้คนที่ซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้วิชาที่จะรับใช้บ้านเมือง … ไม่ได้ผิดหวังในชีวิตส่วนตัว”
ชีวิต-ครอบครัว
5
ธันวาคม
2563
เธอเน้นหนักในการอบรมข้าพเจ้าและลูก ๆ ให้ยึดหลักสังคมที่เป็นธรรม คือ สังคมที่ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และในการศึกษาหาความรู้ทั่วไปต้องทำตนให้ปราศจากอุปาทานและกิเลส จึงจะสามารถรับเอาสิ่งที่เป็นสัจจะตามภาววิสัยและรูปธรรมที่ประจักษ์ได้
ชีวิต-ครอบครัว
16
พฤศจิกายน
2563
16 พฤศจิกายน 2471 เป็นวันแต่งงานของท่านผู้หญิงพูนศุขกับนายปรีดี พนมยงค์ หลังความผันผวนทางการเมืองในปี 2490 และ 2492 ทั้งสองคนต้องพลัดพรากจากกัน จนถึงปี 2496 ถึงได้กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่ง
บทบาท-ผลงาน
9
พฤศจิกายน
2563
ค.ศ. 1956 เจ้านโรดม สีหนุ ได้พบกับนายปรีดี พนมยงค์ ที่กรุงปักกิ่ง หลังจากได้สนทนากันหลายต่อหลายเรื่อง ก่อนที่จะอําลาจากกัน เจ้านโรดม สีหนุ ในฐานะประมุขของรัฐกัมพูชาเอกราช ก็ได้กล่าวเชื้อเชิญนายปรีดี พนมยงค์ ให้ไปเยือนกัมพูชา
เกร็ดประวัติศาสตร์
2
กันยายน
2563
วันที่ 2 กันยายน 2488 ประธานโฮจิมินห์ได้ประกาศเอกราชของประเทศเวียดนาม ณ จตุรัสบาดิ่น กลางกรุงฮานอย
ศิลปะ-วัฒนธรรม
30
มิถุนายน
2563
ปรีดีคีตานุสรณ์เป็นผลงานประพันธ์ทางดนตรีของสมเถา สุจริตกุล ประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในวาระครบรอบ 100 ปีแห่งชาตกาลของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้ซึ่งทางองค์การยูเนสโก สหประชาชาติ ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสําคัญของโลกในปี ค.ศ. 2000  วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ ได้นํา “ปรีดีคีตานุสรณ์” ออกแสดงเป็นรอบปฐมทัศน์ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 โดย สมเถา สุจริตกุล ผู้ประพันธ์ได้ทําหน้าที่เป็นผู้อํานวยเพลง ซึ่งได้รับความสําเร็จอย่างงดงาม
ชีวิต-ครอบครัว
13
มิถุนายน
2563
“ผมกับภรรยาสืบมาจากเชียดเดียวกัน” ท่านปรีดี พนมยงค์ กล่าวตอนหนึ่งในการสนทนากับนายฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อเดือนเมษายน 2525 ถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างท่านกับท่านผู้หญิงพูนศุข ผู้เป็นศรีภริยา คําว่า “เชียด” นั้นเป็นคําโบราณที่ไม่ค่อยมีใครในปัจจุบันเรียกกัน หมายถึงพ่อของชวด (ทวด) ตามประวัติของท่านรัฐบุรุษอาวุโสนั้น เชียดของท่านมีบุตรอยู่หลายคน บุตรีคนหนึ่งชื่อปิ่นได้แต่งงานกับจีนก๊ก แซ่ตั้ง เป็นพ่อค้าเชื้อชาติจีน ทั้งสองมีบุตร หลายคนคนหนึ่งชื่อเกิด ได้แต่งงานกับนางคุ้ม มีบุตร 8 คน ชื่อ ฮวด ชุ้น แฟง ง้วย ใช้ ฮ้อ เสียง และบุญช่วย
บทสัมภาษณ์
13
พฤษภาคม
2563
“แต่ที่สำคัญที่สุดก่อนที่จอมพลป.จะถึงแก่อสัญกรรม จอมพลป.ได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงนายปรีดี จดหมายนี้มีความสำคัญมาก ผมพยายามจะค้นว่าต้นฉบับอยู่ที่ไหน ตอนลงท้ายของจดหมาย จอมพลป.เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ว่า “พลีส อโหสิ” คืออโหสิกรรมนะครับ ซึ่งสำคัญมาก และหลังจากนั้นไม่นานจอมพลป.ก็ถึงแก่อสัญกรรม” บางส่วนจากบทสัมภาษณ์ ศุขปรีดา พนมยงค์ ในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ดำเนินรายการโดย คำนูณ สิทธิสมาน และ ขุนทอง ลอเสรีวานิช
Subscribe to ศุขปรีดา พนมยงค์