ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

พูนศุข พนมยงค์

ชีวิต-ครอบครัว
28
มิถุนายน
2563
       ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ จักคงคู่ยุคอยู่ทุกสมัย คู่นามปรีดีปรีติชัย ปิ่นประชาธิปไตยไผทนิรันดร์      คือมือประคับป้องประคองมือ ถือธงนำทางร่วมสร้างสรรค์ ร่วมชีพร่วมประชาร่วมประชัน ศักดิ์สามัญแห่งมหาประชาชน      ร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วมเสียสละ สมถะ สันโดษ สำแดงหน คัลลองแห่งผู้ตัด อัตตาตน เป็นเยี่ยงอย่างให้ยลอยู่ทุกยาม      โอวาทสุดท้ายที่ธรรมศาสตร์ ดังประกาศ ฝากไว้ในสยาม “นักศึกษาธรรมศาสตร์ ทุกทุกนาม จงมีความสำนึกอยู่เป็นนิตย์
เกร็ดประวัติศาสตร์
20
มิถุนายน
2563
เป็นที่น่าเสียดายว่ากระแสประชาธิปไตยและปรีดีศึกษาที่ดูเหมือนกำลังไปได้ดีกลับถูกเหนี่ยวรั้งให้ชะลอตัวลงจากรัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙ รัฐบาลพลเรือนผ่านการเลือกตั้งต้องพ้นวงจรอำนาจไปอีกครั้ง รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ ถูกฉีกทิ้ง พร้อมกับระบอบขุนทหารฝ่ายอนุรักษ์นิยมกลับขึ้นมามีอำนาจ บุคคลจำนวนไม่น้อยที่เคยร่วมฉลองและมีส่วนในการฟื้นภาพลักษณ์นายปรีดี พนมยงค์ เริ่มเผยทัศนคติย้อนแย้งต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตยด้วยการหันไปสนับสนุนเผด็จการทหาร
ชีวิต-ครอบครัว
20
มิถุนายน
2563
2 พฤษภาคม 2536 เป็นวันที่นายปรีดี พนมยงค์ ได้ละโลกอันสับสนวุ่นวายไปสู่ที่ที่มีความสงบครบ 10 ปี  ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่เนื่องจากเราได้ร่วมชีวิตกันมาเป็นเวลากว่า 55 ปี จึงอดที่จะระลึกถึงความหลัง ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวเฉพาะครอบครัว ไม่ได้ และเป็นชีวิตเสี้ยวหนึ่งของนายปรีดีที่ไม่ค่อยมีใครทราบ
ชีวิต-ครอบครัว
13
มิถุนายน
2563
“ผมกับภรรยาสืบมาจากเชียดเดียวกัน” ท่านปรีดี พนมยงค์ กล่าวตอนหนึ่งในการสนทนากับนายฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อเดือนเมษายน 2525 ถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างท่านกับท่านผู้หญิงพูนศุข ผู้เป็นศรีภริยา คําว่า “เชียด” นั้นเป็นคําโบราณที่ไม่ค่อยมีใครในปัจจุบันเรียกกัน หมายถึงพ่อของชวด (ทวด) ตามประวัติของท่านรัฐบุรุษอาวุโสนั้น เชียดของท่านมีบุตรอยู่หลายคน บุตรีคนหนึ่งชื่อปิ่นได้แต่งงานกับจีนก๊ก แซ่ตั้ง เป็นพ่อค้าเชื้อชาติจีน ทั้งสองมีบุตร หลายคนคนหนึ่งชื่อเกิด ได้แต่งงานกับนางคุ้ม มีบุตร 8 คน ชื่อ ฮวด ชุ้น แฟง ง้วย ใช้ ฮ้อ เสียง และบุญช่วย
บทสัมภาษณ์
10
มิถุนายน
2563
ท่านผู้หญิงพูนศุข เกิดในสมัยรัชกาลที่ 6 ในตระกูล ณ ป้อมเพชร์ ซึ่งเป็นตระกูลขุนนาง  บิดาของท่านคือ พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ  เมื่ออายุไม่ถึง 17  ปี ท่านผู้หญิงก็สมรสกับนายปรีดี พนมยงค์ ดอกเตอร์หนุ่มนักกฎหมายชื่อดังสมัยนั้น
เกร็ดประวัติศาสตร์
25
พฤษภาคม
2563
ใครที่เคยไปเรียนหนังสือหรือทำงานที่ประเทศฝรั่งเศส ย่อมมีโอกาสได้พบคุณลุงคุณป้าคู่หนึ่ง คุณลุงมีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ผมสีดอกเลาตัดสั้นเกรียน หน้าตาสดใส ดูไม่ออกว่าท่านอายุ 80 ปีกว่า คุณป้าคนผิวคล้ำ รูปร่างสันทัด คล่องแคล่ว โอภาปราศรัย
ชีวิต-ครอบครัว
12
พฤษภาคม
2563
บทสัมภาษณ์ครอบครัวนายปรีดี พนมยงค์ จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ช่วงปีพ.ศ.2490 ประเทศไทยยุคเผด็จการครองเมือง เหตุผลทางการเมืองหลายครั้งหลายคราทำให้คนในครอบครัวนายปรีดี พนมยงค์ ถูกกลั่นแกล้ง ถูกให้ร้ายป้ายสี และรังแก จนจำต้องเดินทางออกนอกประเทศ ลี้ภัยไปพำนักยังดินแดนไกลบ้าน
ชีวิต-ครอบครัว
4
เมษายน
2563
ทีมงานเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ เรื่อง   การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เป็นปฏิบัติการลับของบรรดานายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ทั้งหมดเป็นความลับที่มิอาจแพร่งพรายให้ผู้อื่นรับรู้ แม้แต่คนในครอบครัว  เมื่อถึงวันปฏิบัติการจริง สมาชิกคณะราษฎรแต่ละคนจึงมีวิธี “เลี่ยง” พูดความจริงต่อสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกันไป
1
มีนาคม
2563
หลากบทชีวิตท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ : ชีวประวัติ หนังสือเล่มนี้รวมเรื่องราวชีวประวัติของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้เขียน : นรุตม์ พิมพ์ที่ : แพรวสำนักพิมพ์, กรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่ : - ปีที่พิมพ์ : 2535 จำนวนหน้า : 166 หน้า ISBN : 974-8359-86-7 สารบัญ
28
มกราคม
2563
LIVE เนื่องในวาระ 108 ปีชาตกาลท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (2 มกราคม 2455-2563) ขอเชิญร่วมรับชมรับฟังงานเสวนาวิชาการเรื่อง "สิทธิมนุษยชน-สิทธิสตรี ในรัฐธรรมนูญ และสถานการณ์ปัจจุบัน" กล่าวเปิดงานโดย
Subscribe to พูนศุข พนมยงค์