ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์

ชีวิต-ครอบครัว
18
กรกฎาคม
2563
เมื่อ วาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์ จากไป สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต) ได้เขียนข้อความรำลึก และให้ข้อธรรมเป็นข้อคิดว่า "ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท"
ชีวิต-ครอบครัว
17
กรกฎาคม
2563
ประวัติ วาณีเป็นน้องคนสุดท้องของครอบครัว เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2484 ที่บ้านป้อมเพชรนิคม หลังจากเกิดได้ไม่กี่เดือน สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็แผ่มาถึงประเทศไทย สภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาหารือกันแล้วลงมติตั้งคุณพ่อเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ครอบครัวจึงย้ายไปพำนักที่ทำเนียบท่าช้างซึ่งทางราชการจัดให้ ในขั้นต้น วาณีเรียนที่โรงเรียนดรุโณทยานของคุณครูฉลบชลัยย์ พลางกูร และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์
บทสัมภาษณ์
16
กรกฎาคม
2563
ที่ผ่านมา อจ.ปรีดีท่านได้พยายามทำเพื่อชาติบ้านเมืองตลอดเวลา แต่ก็ยังถูกกลั่นแกล้งใส่ร้าย ไม่ทราบว่าพี่เคยเห็น อจ.ท้อใจหรือเคยบ่นให้ลูก ๆ ฟังบ้างหรือไม่ อันนี้รู้สึกจะเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ท่านมีอยู่ คือท่านไม่เคยแสดงความท้อใจและไม่เคยบ่นเลย จนกระทั่งหลายต่อหลายคนเคยพูดเหมือนกันว่า ถ้าเขาโดนสภาพเช่นเดียวกับท่านอาจารย์ก็คงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ แต่คณพ่อพี่ถึงแม้จะถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายยังไง ท่านก็ยังมีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะทำอะไรเพื่อความเจริญของบ้านเมือง จนกระทั่งไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว ท่านก็ยังพยายามเขียนข้อเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ ในบั้นปลายชีวิต แม้เรื่องกรณีสวรรคตก็ไม่เคยบ่น
ชีวิต-ครอบครัว
11
กรกฎาคม
2563
หลิวยู่ซี้ นักไวโอลินผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เขียนจดหมายถึงท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ หลังจากได้รับเชิญจากมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ให้มาแสดงที่เมืองไทยใน พ.ศ. 2537
ชีวิต-ครอบครัว
30
มิถุนายน
2563
ผมไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้รู้จักครอบครัวของท่านปรีดี พนมยงค์ เพราะผมไม่มีทางจะเข้าไปเกี่ยวข้องอะไรเลยไม่ว่าจะด้านใด ผมไม่ใช่นักศึกษาธรรมศาสตร์ ไม่ได้เรียนทางกฎหมายหรือการเมืองการปกครอง ไม่มีญาติหรือมีเพื่อนที่มีประวัติหรือลู่ทางที่จะเข้าไปรู้จักครอบครัวของท่านได้เลย
เกร็ดประวัติศาสตร์
20
มิถุนายน
2563
เป็นที่น่าเสียดายว่ากระแสประชาธิปไตยและปรีดีศึกษาที่ดูเหมือนกำลังไปได้ดีกลับถูกเหนี่ยวรั้งให้ชะลอตัวลงจากรัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙ รัฐบาลพลเรือนผ่านการเลือกตั้งต้องพ้นวงจรอำนาจไปอีกครั้ง รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ ถูกฉีกทิ้ง พร้อมกับระบอบขุนทหารฝ่ายอนุรักษ์นิยมกลับขึ้นมามีอำนาจ บุคคลจำนวนไม่น้อยที่เคยร่วมฉลองและมีส่วนในการฟื้นภาพลักษณ์นายปรีดี พนมยงค์ เริ่มเผยทัศนคติย้อนแย้งต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตยด้วยการหันไปสนับสนุนเผด็จการทหาร
ชีวิต-ครอบครัว
13
มิถุนายน
2563
“ผมกับภรรยาสืบมาจากเชียดเดียวกัน” ท่านปรีดี พนมยงค์ กล่าวตอนหนึ่งในการสนทนากับนายฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อเดือนเมษายน 2525 ถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างท่านกับท่านผู้หญิงพูนศุข ผู้เป็นศรีภริยา คําว่า “เชียด” นั้นเป็นคําโบราณที่ไม่ค่อยมีใครในปัจจุบันเรียกกัน หมายถึงพ่อของชวด (ทวด) ตามประวัติของท่านรัฐบุรุษอาวุโสนั้น เชียดของท่านมีบุตรอยู่หลายคน บุตรีคนหนึ่งชื่อปิ่นได้แต่งงานกับจีนก๊ก แซ่ตั้ง เป็นพ่อค้าเชื้อชาติจีน ทั้งสองมีบุตร หลายคนคนหนึ่งชื่อเกิด ได้แต่งงานกับนางคุ้ม มีบุตร 8 คน ชื่อ ฮวด ชุ้น แฟง ง้วย ใช้ ฮ้อ เสียง และบุญช่วย
บทสัมภาษณ์
13
พฤษภาคม
2563
บางส่วนจากบทสัมภาษณ์ในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ โดย คำนูณ สิทธิสมาน และขุนทอง ลอเสรีวานิช เรื่อง นายปรีดี พนมยงค์ ในโอกาสครบรอบวันถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2546 คำนูณ – เข้าสู่สภาท่าพระอาทิตย์ในช่วงชั่วโมงสุดท้ายนะครับอย่างที่ผมเกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นว่า วันนี้วันที่ 2 พ.ค. ก็เป็นวันคล้ายวันถึงแก่อสัญกรรม ของท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ท่านจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2526 จนบัดนี้ก็ 20 ปีเต็ม
ชีวิต-ครอบครัว
12
พฤษภาคม
2563
บทสัมภาษณ์ครอบครัวนายปรีดี พนมยงค์ จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ช่วงปีพ.ศ.2490 ประเทศไทยยุคเผด็จการครองเมือง เหตุผลทางการเมืองหลายครั้งหลายคราทำให้คนในครอบครัวนายปรีดี พนมยงค์ ถูกกลั่นแกล้ง ถูกให้ร้ายป้ายสี และรังแก จนจำต้องเดินทางออกนอกประเทศ ลี้ภัยไปพำนักยังดินแดนไกลบ้าน
Subscribe to วาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์