Focus
- คุณค่าของขบวนการเสรีไทยสมควรได้รับการเรียนรู้โดยคนรุ่นหลัง และสำหรับคนเมืองแพร่แล้ว พิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่จึงเกิดขึ้น เพื่อแสดงถึงการที่บรรพบุรุษเสรีไทยของชาวแพร่ (นายทอง กันทาธรรม เป็นหัวหน้า พร้อมชาวแพร่อีก 500 คน) ได้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร ในคราวสงครามโลกครั้งที่สองนั้น
- พิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่เป็นการคืนกำไรให้สังคม โดยเปิดให้เข้าเยี่ยมชมฟรีทุกวัน (มีตู้รับบริจาค) โดยผู้ที่มาศึกษาเรียนรู้เป็นนักเรียนนักศึกษาและบุคคลทั่วๆ ไปทั้งในเมืองแพร่และจากต่างจังหวัด
- ภายในพิพิธภัณฑ์มีการแสดงรายชื่อของบรรพบุรุษที่สามารถรวบรวมได้ จำนวน 166 คน (ยังมีชีวิตอยู่ไม่ถึง 10 คน) รวมถึงหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และพิพิธภัณฑ์ฯพร้อมต่อการรับแจ้งชื่อของบรรพบุรุษเสรีไทยแพร่ที่อาจตกหล่น
จากเรื่องราวที่ผ่านมา อ่านแล้วคงจะเห็นได้ว่า บทบาทสำคัญที่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตร (อเมริกา) ให้การรับรองว่าประเทศไทยไม่ต้องแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่นอยู่ที่การปฏิบัติงานของขบวนการเสรีไทยแพร่ที่มีนายทอง กันทาธรรม เป็นหัวหน้าพร้อมคนเมืองแพร่อีก 500 คน
แต่เบื้องหลังความจริงไม่เคยปรากฏเปิดเผยที่ไหนมาก่อน ทุกอย่างหากไม่ได้รับการเปิดเผยถึงวีรกรรมของบรรพบุรุษของชาวเมืองแพร่ ต่อไปก็จะเลือนหายไปกับกาลเวลา
การทำความดีเสียสละและการแสดงออกถึงการรักชาติสมควรได้รับการถ่ายทอดเปิดเผยประกาศเกียรติคุณให้แก่คนรุ่นหลังได้รับรู้ผลงานของการเสียสละในครั้งนั้นของบรรพบุรุษชาวแพร่ ทายาทหรือคนรุ่นหลังจะได้สำนึกในบุญคุณอันใหญ่หลวงต่อการปฏิบัติงานชนิด ปิดทองหลังพระ และจะได้ภูมิใจในการที่เกิดมาเป็นคนเมืองแพร่ที่บรรพบุรุษของเขาได้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติไว้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้คุณภุชงค์ กันทาธรรม ทายาทนายทอง กันทาธรรมหัวหน้าขบวนการเสรีไทยแพร่ จึงได้คิดและสร้างพิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่ขึ้นที่โรงแรมภราดร เลขที่ 177 ถนนยันตรกิจโกศล อ.เมือง จ.แพร่ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเผยแพร่เชิดชูเกียรติประวัติของบรรพบุรุษชาวแพร่ที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ พิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่สร้างขึ้นโดยทุนส่วนตัวของคุณภุชงค์ กันทาธรรม และทีมทำงานเป็นบุคคลที่มีแนวความคิดทางเดียวกัน เป็นการคืนกำไรให้สังคมโดยเฉพาะเมืองแพร่แผ่นดินเกิด เปิดให้เข้าเยี่ยมชมฟรีทุกวัน แต่มีตู้รับบริจาคเพื่อใช้เป็นค่าพิมพ์เอกสารเผยแพร่ และรักษาความสะอาด ส่วนผู้บรรยายเป็นอาสาสมัครที่ผ่านมาได้รับการตอบสนองด้วยดีเกินความคาดหมาย โดยเฉพาะสถานศึกษาได้ส่งนักเรียนนักศึกษามาศึกษาเรียนรู้ และบุคคลทั่วๆ ไปทั้งในเมืองแพร่และจากต่างจังหวัด ทำให้หูตาสว่างขึ้น ทำให้ได้ทราบถึงการเสียสละของบรรพบุรุษชาวแพร่ เบื้องหน้าเบื้องหลังของความอยู่รอดของประเทศไทยมาจนทุกวันนี้
รายชื่อของผู้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยแพร่ที่สมควรได้รับการเปิดเผยเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติยกย่องในวีรกรรมของการเสียสละ และเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานมาชนิด ปิดทองหลังพระ เพื่อเยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักและเกิดความสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษ มีรายชื่อดังนี้ (เท่าที่สามารถรวบรวมได้ หากตกหล่นชื่อท่านใดขออภัยด้วย เพราะค้นคว้าตามหลักฐานที่พอหาได้) ในอดีตการจัดเก็บหลักฐานเอกสารทำได้โดยไม่มีประสิทธิภาพและต้องปกปิดตลอดจนต้องทำลายทิ้ง รายชื่อบุคคลเหล่านี้ สมควรได้รับการจารึกไว้ได้ฐานอนุสาวรีย์ด้วยซ้ำ ทราบว่าทางอำเภอหนองม่วงไข่ คิดสร้างอนุสาวรีย์เสรีไทยแพร่แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดทุนทรัพย์ในการดำเนินงาน
“การไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกรักชาติ”
รายชื่อขบวนการเสรีไทยแพร่
- นายทอง กันทาธรรม / หัวหน้าขบวนการเสรีไทย
- เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธ์ / รองหัวหน้าขบวนการเสรีไทย, ฝ่ายสนับสนุนเสบียง
- นายทวีศักดิ์ สินธุวงศ์ / รองหัวหน้าขบวนการเสรีไทย, ฝ่ายสื่อสารและการข่าว
- นายอ้วน ลือวัฒนานนท์/ รองหัวหน้าขบวนการเสรีไทย, ฝ่ายกำลังพล
สมาชิกขบวนการเสรีไทยแพร่
- นายแป่ง ชมภูมิ่ง
- นายบรรเลง (เหล็ง) ชมภูมิ่ง
- นายคำมูล ชมภูมิ่ง
- นายมั่น ชมภูมิ่ง
- นายชุม ชมภูมิ่ง
- นายเหลี่ยม ชมภูมิ่ง
- นายมี ชมภูมิ่ง
- นายจู ชมภูมิ่ง
- นายอู๊ด ลือวัฒนานนท์
- นายผัด ลือวัฒนานนท์
- นายปี้ ลือวัฒนานนท์
- นายปัน ลือวัฒนานนท์
- นายน้อย เสนวิรัช
- นายรัตน์ เสนวิรัช
- นายหมวก เสนวิรัช
- นายจ๋อย เสนวิรัช
- นายส่วย เสนวิรัช
- นายประยงค์ เสนวิรัช
- นายมูล โสภารัตน์
- นายมี โสภารัตน์
- นายสี โสภารัตน์
- นายมา โสภารัตน์
- นายเหรียญ โสภารัตน์
- นายรส โสภารัตน์
- นายคำมูล โสภารัตน์
- นายมาส โสภารัตน์
- นายปี้ โสภารัตน์
- นายจุ โสภารัตน์
- นายคำ โสภารัตนานันท์
- นายสุรินทร์ โสภารัตนานันท์
- นายอุทัย กันทาธรรม
- นายสม กันทาธรรม
- นายสวน ตันมิ่ง
- นายจันทร์ แก้วตีน
- นายเอี้ยง แก้วตีน
- นายหนุน สิทธิพัฒนา
- นายวิวัฒน์ สุวรรณกาศ
- นายอ่วม ตันมา
- นายทุน ตันมา
- นายทอน ตันมา
- นายโท สินธุวงศ์
- นายอิ๊ด สินธุวงศ์
- นายกำจัด สินธุวงศ์
- นายสุนทร สังขนนท์
- นายหลึก ทิพย์โพธิ์
- นายเลิศ ทิพย์โพธิ์
- นายหิ่ง ใจดี
- นายโก้ง ใจดี
- นายยอน ใจดี
- ร.อ.บุญเรือง พิมสาร
- นายกู้ พิมสาร
- นายมนูญ พิมสาร
- นายสี พิมสาร
- นายเติง จันกัน
- นายมี จันกัน
- นายหล่อ เขียวสลับ
- นายมูล เขียวสลับ
- นายต๊ะ เขียวสลับ
- นายอุด เขียวสลับ
- นายขาว อะทะเสน
- นายทา อะทะเสน
- นายอื่น รัตนมูลปัญญา
- นายประเสริฐ รัตนมูลปัญญา
- นายโกน สกูลปราโมทย์
- นายนวล มหาวัน
- นายตัน มหาวัน
- นายพินิจ มหาวัน
- นายก๋วน ปราบสงบ
- นายวิโจน์ แก้วธรรมานุกุล
- นายดำรง เทพลออ
- นายยอด แบ่งทิศ
- นายสวน เสาร์แดน
- นายสี เสาร์แดน
- นายสิงห์คำ เสาร์แดน
- นายอิ่น นันทะ
- นายทอด เตชะวงศ์
- นายส่วน ใจชิน
- นายต่อ รักพงษ์
- นายมูล มะเต่า
- นายหล่ง วงศ์สุภาภรณ์
- นายนิยม สารจินดาพงศ์
- นายแพทย์ ปัญญาพวก
- นายคำมูล รัตนวิมลชัย
- นายจ๋อม รักพงษ์
- นายเก้อ สุทธกัน
- นายใจ๋ สุทธกัน
- นายบุญยืน ปัญญาฉลาด
- นายเหล็ก ขวดแก้ว
- นายอ้วน ขวดแก้ว
- นายมูล สินธุชัย
- นายชุ่ม โสภารัตนากูล
- นายเงิน ปะละใจ
- นายมี สุริยะ
- นายเจือ พิกุลสวัสดิ์
- นายซุ้ย แหวนวัง
- นายเสาร์ จีนะพันธ์
- นายณรงค์ อุดตุ้ย
- นายบึง ยาวิลาศ
- นายประจัญ บ่อแก้ว
- นายพินิจ จินารักษ์
- นายสาย เพชรโก
- นายหรัง เพชรโก
- นายอารี ชาเชื้อ
- นายสุข เป็นมูล
- นายประวัติ มากมาย
- นายเกียรติ แสงสว่าง
- นายบุญเรือง ทุ่งกาวี
- นายเถลิง วงศ์มณี
- นายเสาร์ จิตตประพันธ์
- นายเขียว สวัสดิ์คัมภี
- นายแก้ว จันบุ
- นายดำเนิน เสนาพงศ์
- นายอุทัย เดือนเพ็ญ
- นายวรุณ ถือทอง
- นายยอด อุตมา
- นายวินัย เทียมแสน
- นายสงวน พันธ์เมือง
- นายยอด ธรรมสอน
- นายแสง พื้นงาม
- นายฮอม หงษ์สอง
- นายจี่น อจิมา
- นายเชาว์ สง่าศรี
- นายเดชา เสนาใจ
- นายสม ทองเย็น
- นายสมบูรณ์ เนื่องพืช
- นายวิศิษฐ์ จิตรบุญย์
- นายสมปรารถน์ ตนาวรรณ
- นายสุวิทย์ หอมขจร
- นายเฉลิม วรรณกุล
- นายศิลพร คุณาคำ
- นายแสง สอนอุ่น
- นายมอน สมร
- นายไพศาล กุมภิรัตน์
- นายวาร คำมา
- นายมานพ ใจกลม
- นายสุรัติ ไชยวุฒิพง
- นายชิต วีระไชยกุริ
- นายปรีชา ปัญญาชัย
- นายมา ยาพรม
- นายไฝ วันชัย
- นายปุ่น สุขมี
- นายเป็ง จันทรางกูร
- นายเสน ผูกพันธ์
- นายหาญ วิริยะพงษ์
- นายวิเชียร ไหวเคลื่อน
- นายยืน หงส์สิบสาม
- นายเหลี้ยน ปัญญาแก้ว
- นายหลวง ธรรมสรางกูร
- นายแก้ว ธรรมสรางกูร
- นายหลู่ วีระพันธ์
- นายทรง ชัยสุรัตน์
- นายเล็ก วงศ์ไข่
- นายวน วงศ์ไข่
- นายสมัย คนบุญ
- นายสี คนบุญ
- นายบุ ตื้อยศ
- นายเกียรติ ตันจันทร์พงษ์
- นายดี วงศ์อรินทร์
- นายอุน ทิพย์รักษ์
- นายชุมพล ปราชญ์วีระกุล
- นายสกุล ชัยวรรณคุปต์
- นายแก้ว แหวนวัง
บางท่านไม่ได้เข้าปฏิบัติงานในป่า แต่ให้การสนับสนุนส่งเสบียงอาหาร จากจำนวนรายชื่อเท่าที่สามารถรวบรวมได้เพียง 166 ท่านเท่านั้น ปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่มีเพียงไม่ถึง 10 ท่าน และสุขภาพไม่ค่อยดีเหตุเพราะสูงอายุ คนที่ยังอยู่และอายุน้อยที่สุดคือคุณสุรินทร์ โสภารัตนานันท์ ขณะนี้อายุ 83 ปี ตอนเข้าป่าในสมัยนั้นอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น
หมายเหตุผู้เขียน : การพิมพ์ชื่อ - นามสกุล อาจจะมีผิดพลาดบ้าง เนื่องจากพิมพ์ตามหลักฐานที่มีอยู่ต้องขออภัย และท่านผู้อ่านซึ่งเป็นทายาทลูก - หลาน เห็นว่าชื่อของบรรพบุรุษตกหล่นไป ขอความกรุณาแจ้งไปยังพิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่ โรงแรมภราดร เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลต่อไป
ที่มา : ณรงค์ จันทรางกูร. ชาวเมืองแพร่ผู้ปิดทองหลังพระ. ม.ป.ท. : ม.ป.พ. 2554.