ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ:
อาจารย์ลลิตา หาญวงษ์ จากคณะสังคมศาสตร์ จริง ๆ แล้วอาจารย์อยากจะคุยหลายเรื่องเลย แต่ว่าผมขอให้อาจารย์ เล่าเรื่องที่คล้าย ๆ กับอาจารย์ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ เล่าได้ไหมครับ ผู้นำสตรีของฟิลิปปินส์ไปแล้ว มาเป็นผู้นำสตรีของพม่าบ้าง ถ้าปราศจากร่มเงาของบุรุษแล้ว สุภาพสตรีในพม่าโดยเฉพาะซูจีเป็นอย่างไร อาจารย์อาจจะใช้เวลาซัก 15 นาที
ผศ. ดร.ลลิตา หาญวงษ์:
ความเป็นจริงในฐานะที่ตัวเองดูรับผิดชอบดูงานทางฝั่งชายแดนภาคตะวันตกมาประมาณหนึ่ง และก็มีความคุ้นเคยกับทางฝั่งเมียนมากับพม่ามากที่สุด เราดูบทบาทของผู้หญิงในสังคมเมียนมา ถ้าสมมุติชื่อคนเดียวมาคืออองซานซูจี ในมุมมองของคนทั่วโลก คือ “ประชาคมโลก” อาจจะไม่ได้มีสถานะทางการเมืองที่สวยหรูเท่ากับคอราซอน อากีโน (Corazon Aquino) คือไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในช่วงหลัง ๆ มานี้เราอาจจะคุ้นเคยกับบทบาทของออง ซาน ซูจีในฐานะเป็นผู้ที่ต่อต้านชาวโรฮิงญาอย่างที่เป็นเรื่องมาในช่วงประมาณปี 2016-2017
พี่ก็เป็นข่าวไปทั่วโลก อันนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านถูกบอยคอตและถูกวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างจะมากในช่วงหลังหลายปีมานี้ แต่มี Point หนึ่งที่ดิฉันอยากจะนำเสนอในที่นี้ว่า ไม่ว่าอดีตเมื่อไม่นานมานี้จะเป็นยังไง แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับกันก็คือว่า ในสังคมของประเทศเมียนมา จะเรียกว่ามี Hero หรือ Heroine เพียงแค่คนเดียวก็ว่าได้ ที่เป็นภาพแทนของการเมืองสมัยใหม่ของประเทศของเขาก็คืออองซานซูจี
เมื่อสักครู่คิดว่าสามารถ Relate กับประเด็นของอาจารย์ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ ได้ประมาณหนึ่งว่า สถานการณ์นี้สร้างวีรบุรุษวีรสตรีจริง ๆ คือ การที่อองซานซูจีกลับมาเยี่ยมแม่ที่ป่วยหนัก ช่วงเดียวกับที่มีการประท้วงครั้งใหญ่เพื่อขับไล่นายพลเนวินในปี 1988 จริง ๆ แล้วเธอจะไม่กลับมาตอนนั้นก็ได้ เธอจะไม่รับคำเชิญเป็นหัวหน้าพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (NLD) ก็ได้
แต่ด้วยความที่เป็นลูกพ่อ แล้วก็นายพลอองซานกับด่อ ขิ่น ยี (Daw Khin Kyi) มีลูกสาวเพียงแค่คนเดียวเท่านั้น ลูกชายมี 3 คน แต่ว่าประวัติไม่ได้ชัดเจน และเท่าที่ทราบมาลูกชายคนรองก็จมน้ำเสียชีวิตตั้งแต่ 8 ขวบ จมน้ำอยู่ในย่างกุ้งแถว ๆ บ้านพัก ส่วนลูกชายคนโต ถ้าจำไม่ผิดน่าจะชื่อว่าอองซานอู เพราะว่า "อู" ในภาษาพม่าแปลว่าศีรษะหรือต้น ก็ไม่ได้อยากจะเข้ามายุ่งกับการเมืองเท่าไหร่ ลูกชายคนสุดท้อง ไม่ทราบประวัติแล้วก็ไม่ทราบชื่อ แต่ว่าด้วยความที่เธอ (อองซานซูจี)
เราต้องยอมรับว่าเธอมีกระดูกที่แข็งกว่าลูกคนอื่น ๆ ของนายพลอองซาน เห็นเพราะว่าเธอได้รับการศึกษาในระดับสูง ตอนที่กลับมาเยี่ยมแม่ที่ป่วยหนัก เธอก็เรียนปริญญาโทหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบคือเมื่อนานมาแล้วแต่ว่าเตือนความจำนิดนึงว่าอองซานซูจี ตอนที่กลับมาปี 1988 เธอเรียนปริญญาโทอยู่ที่ SOAS ก็คือเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยลอนดอนแต่ก่อนหน้านั้น เธอก็จบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัย Oxford คือจะมีผู้หญิงชาวเมียนมาชาวพม่าสักกี่คน ที่มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อในระดับสูงอย่างนี้แล้วก่อนที่ชีวิตการเรียนของเธอจะมาถึงจุดนี้
เธอก็มีโอกาสได้ติดติดสอยห้อยตามคุณแม่ไปอยู่ที่อินเดีย คือเราต้องเข้าใจนิดหนึ่งว่าภายหลังจากที่นายพลอองซานถูกลอบสังหารในปี 1947 เพียงแค่ไม่กี่เดือนก่อนที่เมียนมาจะได้รับเอกราช รัฐบาลที่ขึ้นมาในเวลานั้นจริง ๆ แล้วนายพลอองซานก็ถูกวางตัวให้เป็นให้เป็นนายกรัฐมนตรีของพม่า แต่พอดีว่าท่านก็ถูกรอบสังหารไปก่อนคนที่ขึ้นมาก็เป็นเหมือนกับอุบัติการณ์ทางการเมืองเหมือนกันที่ทำให้คนที่โดดเด่นเป็นอันดับ 2 ของกระบวนการชาตินิยมในเมียนมาก็คืออูนุ ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น
ประเทศพม่ามีอยู่ 2 ตำแหน่ง อาจจะใกล้เคียงกันกับสิงคโปร์ในปัจจุบันก็คือ เขามีทั้งประธานาธิบดีแล้วก็มีทั้งนายกรัฐมนตรีแต่ว่าผู้ที่เรียกว่าเป็นภาพแทนของประเทศ เดินทางไปไหนมาไหนก็จะเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นหลักก็เหมือนกับระบบในสิงคโปร์ในปัจจุบันส่วนประธานาธิบดีระบบเดิมเป็นระบบที่ดีมาก คือ เขาจะ Rotate เนื่องจากว่าพม่านี่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย มี 7-8 กลุ่มที่เป็นเป็นกระดูกสันหลังหลักของเขา เขาก็เลยคิดระบบกันขึ้นมาว่าประธานที่คนแรกจะเป็นคนไทใหญ่แล้วหลังจากนั้นก็อาจจะมีประธานาธิบดีที่เป็นคนคะฉิ่นตามมา แต่ว่ายังไม่เท่าไหร่ก็อุบัติเหตุทางการเมืองในเมียนมาแล้วเราก็เห็นประธานาธิบดีที่มีเพียงคนไทใหญ่แล้วก็คนพม่าเท่านั้น ก่อนที่จะเกิดรัฐประหารของนายพลเนวินในปี 1962 กลับมาที่อองซานซูจี อีกนิดหนึ่งว่าที่เธอขึ้นมามีบทบาทได้
เราก็ต้องยอมรับด้วยว่าเธอมีพื้นฐานทางการศึกษาที่เข้มแข็ง นอกเหนือจากคุณพ่อที่จะเป็นผู้นำของประเทศที่เป็นเหมือนกับวีรบุรุษประจำชาติของเมียนมาแล้ว ก็ยังมีคุณแม่ หลายคนไม่ค่อยรู้จักคุณแม่ของอองซานซูจีเท่าไหร่ แต่อย่างที่บอกพอเวลาอูนุขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ให้เกียรติครอบครัวนี้ที่เรียกว่าต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเมียนมาออกจากการปกครองของอังกฤษ แล้วก็นายพลอองซานกับอีก 6-7 คน เสียสละชีวิตเพราะว่าถูกลอบสังหารในเวลาเดียวกัน ก็เลยแต่งตั้งให้คุณแม่ของอองซานซูจีไปเป็นเอกอัครราชทูตอยู่ที่ประเทศอินเดีย แล้วอองซานซูจีก็เลยมีโอกาสได้เติบโตในอนานิคมต้นตำรับของพม่าอย่าลืม ว่าพม่าก่อนที่จะได้รับเอกราชเคยเป็นส่วนหนึ่งของ British India มายาวนานหลายสิบปี คือพม่าเขาใช้คำว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของอินเดีย เลยไม่ต้องสงสัยว่าทำไมปัจจุบันอาหารพม่าถึงมีกลิ่นอายความเป็นอินเดีย ทำไมเราถึงเห็นคนอินเดียอยู่ในเมียนมามากมายไม่ใช่แค่โรฮิงญา ถ้าเราเคยไปย่างกุ้งไปมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่เมืองน้อยเราจะเห็นคนเมียนมาเชื้อสายอินเดียเป็นจำนวนมาก แล้วก่อนที่จะมีมาตราการควบคุมทางด้านเศรษฐกิจคนเรานี้ก็มีบทบาททางเศรษฐกิจควบคู่กับคนจีน ประเทศไทยเราอาจจะเห็นคนจีนมากกว่า แต่ว่าในเมียนมาก็ต้องยอมรับด้วยความที่เขตแดนติดกับอินเดียเลยทำให้มีคนอินเดียเข้ามาในเมียนมายุคอาณานิคมเป็นจำนวนหลายล้านคน
อีกหนึ่งประเด็นที่อยากจะนำเสนอในช่วงนี้ก็คือว่าเวลาเรามองขบวนการชาตินิยม หรือขบวนการต่อต้านเผด็จการต่อต้านรัฐประหารในที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ เราจะไม่เห็นฮีโร่คนใดคนหนึ่งเราจะไม่เห็นบทบาทของผู้นำที่เป็นผู้หญิงเลย แต่ถ้าเราลองดูเจาะไปตามองคาพยพต่าง ๆ ที่ยกตัวอย่างเช่นกองกำลังที่อยู่ตามแนวชายแดนไทยก็ได้ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดมากเราจะไม่เห็นผู้นำกองทัพผู้นำของกองพลนี้กองพลน้อยอันนั้นเป็นผู้หญิงเลยแม้แต่นิดเดียวเหตุผลที่เราสามารถอธิบายได้ในที่นี้ เพราะดิฉันมองว่าสังคมในประเทศเมียนมาไม่ได้จำกัดอยู่แค่คนพม่าอย่างเดียวเขามักจะมีนิยามของสตรีและผู้หญิงว่าเป็นคนที่อยู่หลังบ้าน คือเราแทบจะไม่เห็นผู้หญิงที่มาต่อสู้ในสงครามเลยหน้าที่หุงหาอาหารในสมรภูมิรบก็เป็นหน้าที่ของผู้ชาย แต่เราอย่าลืมบทบาทอันหนึ่งของผู้หญิงที่นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารในปี 2021 ก็คือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา มีความสำคัญที่ดิฉันอยากจะให้สังคมไทยได้รับรู้อีกอย่างหนึ่งก็คือว่าหลังเกิดรัฐประหารผู้ชายหรือแม้แต่ผู้หญิงบางคนก็ตามที่เป็นนิสิตนักศึกษาเป็นประชาชนที่เขารู้สึกคับข้องใจ แล้วหลายคนถูกกดดันโดยสภาวะทางเศรษฐกิจในเมียนมาที่ไปไม่ได้
ประชาชนก็ยากจนลงเรื่อย ๆ เพราะว่าเกิดรัฐประหาร และมีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นเขาก็หลบหนีออกนอกประเทศที่ชัดเจนก็คือฝ่ายต่อต้านเขาก็หลบหนีเข้าป่าเป็นคอนเซ็ปต์เดียวกับสมัยก่อนที่คอมมิวนิสต์ก็หนีเข้าป่าแล้วก็ไปฝึกอาวุธกันในป่าแต่ว่ากรณีของเมียนมาเขาก็ไปรับการฝึกทางด้านการทหารจากกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ชัดเจนตามแนวชายแดนไทยก็มีกะเหรี่ยง บางทีเรียกว่ากะยาบางส่วนก็มีมอญบ้างแต่ก็ไม่ได้เยอะ
คนเหล่านี้ความที่เขาจำเป็นจะต้องเสียสละออกมาจากบ้านหลายคนไม่เคยออกนอกเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ หรือเมืองใหญ่ ๆ มาก่อนเลย แต่ด้วยความรู้สึกที่ว่าสังคมของเรากำลังดีขึ้นภายใต้การปกครองของ NLD สังคมไม่ได้เพอร์เฟคมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจสังคมเยอะแยะเต็มไปหมดแต่อย่างน้อยเขามองว่าพม่าไปได้สวยแต่อยู่มาวันหนึ่งมีระเบิดปรมาณูลูกใหญ่ที่ประเทศของเขาพอเกิดรัฐประหารขึ้นเลยไม่รู้ว่าจะไปต่อยังไงประชาชนเวลาเขาคับแค้นสังคมของเมียนมาไม่เหมือนกับสังคมไทยตรงที่ว่าเขาต่อสู้กับระบอบอาณานิคมมาอย่างเข้มข้นดังนั้นประเทศเมียนมา
คนเมียนมาจะมีสิ่งที่ดิฉันอยากจะเรียกว่าวัฒนธรรมของการต่อต้านวัฒนธรรมของการประท้วงที่ฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรมของเขาเลยในขณะที่ประเทศของเรา เราก็มักจะชอบพูดด้วยความภูมิใจประเทศไทยไม่เคยเป็นอาณานิคมของใครอย่างเป็นทางการก็เลยทำให้สังคมไทยเราพอเกิดปัญหาขนาดใหญ่ขึ้นมาเราไม่ได้มีวัฒนธรรมแบบที่คนหนุ่มคนสาวพอรู้สึกคับข้องใจอะไรก็จะออกมาเดินขบวนประท้วง
เรา (คนไทย) ไม่มีวัฒนธรรมเข้มข้นเหมือนฝั่งโลกตะวันตก ที่ถ้าเกิดเงินไม่ขึ้นหรืออะไรอย่างนี้สหภาพแรงงานก็จะลุกขึ้นมาต่อต้านหรือนัดหยุดงานชัดเจนแต่สังคมไทยเป็นสังคมที่ถ้าไม่ปางตายจริง ๆ เราก็จะไม่ออกมาเดินขบวนประท้วงอย่างจริงจังที่ผ่านมาเรามีขบวนการทางสังคมอะไรต่าง ๆ มากมาย แต่ว่าดิฉันอยากจะเน้นตรงจุดนี้ว่าด้วยความที่เมียนมามีสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของการประท้วงที่เป็นระบบเขามีแพทเทิร์นจากยุคของอินเดียเราก็ต้องยอมรับว่าแนวทาง อหิงสา ขบวนการที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เราเรียกว่า Civil Disobedience Movement หรือ CDM
อินเดียในปัจจุบันเวลาจะประท้วงไม่ได้มีระบบระเบียบแบบพม่า พม่าได้นำแนวทางแบบนี้มาใช้ ยกตัวอย่างเช่นคนหนุ่มสาวหรือคนปกติที่เข้าร่วมขบวนการ Civil Disobedience Movement หมายความว่าเราเป็นครูเราเป็นหมออยู่ในโรงพยาบาลเราเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่เราอยากจะแสดงสัญลักษณ์แล้วเราไม่อยากที่จะทำงานให้กับรัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารอีกต่อไปแล้ว ก็นัดหยุดงาน แต่นัดหยุดงานในที่นี้ไม่ใช่แค่นัดหยุดงานประท้วงแต่คือการหยุดทำงานเลยแล้วก็กลายมาเป็นขบวนการที่มีความยิ่งใหญ่มาก ๆ ที่เรียกว่า CDM แล้วเขาก็เรียกตัวเองว่า CDMER เติม ER เข้าไปกลายเป็นคนที่กระทำการ CDM ตรงนี้แล้วคนกลุ่มนี้ความสำคัญของเขาก็คือ นับแสนคนผัวเมียมาหลายคนก็อพยพเข้ามาอยู่ในไทย ไม่ได้มีรายได้ถ้าบ้านเมืองกลับไปดีขึ้นแล้ว ก็ไม่ได้การันตีว่าชีวิตของคนพวกนี้จะกลับไปทำงานได้ แต่เขาเสียสละชีวิตส่วนบุคคลเพื่อที่จะยอมแลกกับอุดมการณ์ของตัวเองในบรรดา CDMER เหล่านี้คนที่หนีออกมาก็กลายมาเป็นคนที่เราเรียกว่านักรบ PDF คือ เมียนมาเอาแค่เฉพาะคนพม่าแท้เขาจะมีขบวนการอีกขบวนการหนึ่งกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า PDF People Defend Force ก็คือกองกำลังพิทักษ์ประชาชน คนเหล่านี้ได้รับการเทรนโดยกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายแต่ก็มีผู้หญิงเหมือนกัน
คนเหล่านี้ถ้าเราลองนึกถึงสภาพความเป็นอยู่ของเขาผู้ชายคนหนุ่มอายุ 20 กว่าถึง 30 กว่าเข้าป่าเกิดมาไม่เคยออกนอกเมืองมาก่อนเลย เข้าป่ามารวมกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสำหรับคนที่แต่งงานแล้วคนที่มีแฟน หมายความว่าแฟนไม่สามารถที่จะเข้าไปในป่าเพื่อร่วมกับเขาได้แล้วดิฉันเห็นกรณีนี้มามากพอสมควรว่ามีคนที่อพยพเข้ามาในไทยมีคนที่เป็น PDF/CDMER ที่หลบเข้ามาในประเทศเพื่อนบ้านแล้วบางส่วนก็มีภรรยาติดตามมาด้วยแล้วในขณะที่คนเหล่านี้เขาจะต้องข้ามไปฝึกฝนทางด้านการทหารคนเหล่านี้จะต้องเข้าไปทำสงครามหรือคนที่อยู่ในแนวหน้าต้องทำสงคราม
ภรรยาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยพูดซะว่าอยู่ในประเทศไทยก็แล้วกันคือเราลองนึกถึงสภาพผู้หญิงคนหนึ่งคนสาวเพิ่งจะมีลูกหลาย ๆ คนรูปก็เพิ่งอายุแค่เลขตัวเดียวแต่ต้องมาอยู่ในประเทศที่เขาไม่เคยคุ้นเคย เขาจะต้องมาอยู่แบบในบางครั้งก็หลบ ๆ ซ่อน ๆ เราลองนึกถึงจิตใจของผู้หญิงเหล่านี้ว่าเขาจะมีความรู้สึกอย่างไรจุดเด่นของผู้หญิงพม่าผู้หญิงจากเมียนมาอย่างหนึ่งคือด้วยความที่สังคมนี้หลายคนจะชอบบอกว่าคนพม่าก็เหมือนคนไทย
ดิฉันว่าไม่เหมือน สภาพสังคมแทบจะมีความแตกต่างกันนอกเหนือจากความเป็นคนพุทธแล้วก็ระบบครอบครัวที่ค่อนข้างจะเข้มแข็งอื่น ๆ แทบจะไม่เหมือนกันเลยบทบาทของผู้หญิงในเมียนมาดิฉันคิดว่าแม้ว่าสตรีนอกจากอองซาน ซูจี ไม่ได้มีสตรีที่มีบทบาททางการเมืองเข้มแข็งในพื้นที่ส่วนหน้า แต่ในส่วนของหลังบ้านเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าสตรีของเมียนมามีความเข้มแข็ง แล้วคนที่ทำงานไอทีที่ทำงานด้านระบบก็คงรู้ว่าระบบหลังบ้านมีความสำคัญไม่แพ้กับระบบหน้าบ้านเลย
ดิฉันมีประสบการณ์ไปเมียนมามาหลายครั้งในชีวิตและทุก ๆ ครั้งดิฉันคิดว่าข้อสังเกตอันหนึ่งที่เราสามารถเห็นได้คือระบบครอบครัวของเมียนมามีการแต่งงานกันอย่างชัดเจน คือ ผู้ชายคนที่เป็นพ่อก็จะไม่ทำกับข้าวเลยก็จะมานั่งคุยโสเหล่อยู่กับแขกบนโต๊ะอาหารไปในขณะที่คนเป็นแม่ก็จะมีหน้าที่เลี้ยงลูกจะมีหน้าที่ทำกับข้าวจะมีหน้าที่ดูแลบ้านทุกสิ่งทุกอย่างเราแทบจะไม่เคยเห็นคนพม่าที่เป็นผู้ชายเขาทำอาหารมาเลี้ยงแขกเลยยกเว้นอาจจะคนโสดคนหนุ่ม และคนที่มีหัวสมัยใหม่จริง ๆ แต่ว่าการแบ่งงานกันทำแบบนี้ทำให้บทบาทของผู้หญิงเมียนมา ถูกผลักไปที่ในครัวถูกผลักไปอยู่ด้านหลังมากกว่าแต่ถามว่าความเป็นอยู่ของบ้านหรือว่าความอยู่รอดของคนในครอบครัวอยู่ในมือแม่แน่นอนว่าก็อยู่ในมือของสตรีอยู่ในมือของแม่บ้านทั้งหลาย
ดิฉันก็เลยอยากจะเน้นย้ำในพื้นที่ตรงนี้ว่าในสังคมของเมียนมาการเคลื่อนไหวทางการเมืองประเทศนี้เป็นประเทศเหมือนกับต้องคำสาป คือตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีช่วงเวลาที่สงบสุขหรือประชาชนสามารถอยู่กันได้แบบสบาย ๆ คือเรียกว่าอยู่ในสภาวะสงครามตลอดเวลาตลอดเวลาแล้วผู้หญิงที่อยู่ด่านหลัง ที่อยู่เป็นคู่คิดให้กับสามีก็ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งมากเป็นธรรมดา
ดิฉันขอยกตัวอย่างอีกสัก 2 ตัวอย่าง เมียนมาก็เคยมีครอบครัวกวีครอบครัวนักเขียนที่มีบทบาทสำคัญมากๆอยู่ครอบครัวหนึ่ง ในปัจจุบันถ้ายังไปมัณฑะเลย์ก็จะมีห้องสมุดอยู่กลางเมืองที่ชื่อว่า ลูดุ๊ (Ludu) คำว่า ลูดุ๊ แปลว่าคนของประชาชน ลูดุ๊ เป็น 2 สามีภรรยาคนที่เป็นสามีชื่อ อู หละ (U Hla) คล้าย ๆ กับศรีบูรพาอยู่ร่วมสมัยกับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสังคมวรรณกรรมเพื่อชีวิตอะไรประมาณนี้ส่วนภรรยาชื่อด่อ อะมา (Daw Amar) เพิ่งจะเสียชีวิตไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว 2 คนนี้หลังจากที่ อูหล่ะ เสียชีวิตดออะมาก็ทำหน้าที่ทุกอย่างเพื่อที่จะทำให้สำนักพิมพ์ดำเนินการไปได้แต่งหนังสือเพื่อต่อต้านสงครามแต่งหนังสือเพื่อสนับสนุนสันติภาพในเมียนมาแล้วก็กลายเป็น Democracy Avocate มาจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ดิฉันไม่อยากจะใช้คำว่าผู้หญิงในเมียนมาเป็นคล้าย ๆ กับหลังบ้านแต่อยากจะชี้ให้เห็นว่าคำว่าหลังบ้านในที่นี้แม้ว่าเขาจะไม่ได้อยู่ด่านหน้าเขาจะไม่ได้ไปสงครามแต่สังคมของพม่าถ้าขาดผู้หญิงเรียกว่า ขาดสิ่งที่สำคัญที่สุดไปเลย
ดิฉันมีประสบการณ์โดยตรงของครอบครัวชาวเมียนมาหลายครอบครัวเขาก็พูดเลยว่าถ้าไม่มีแม่คอยทำอะไรทุกอย่างให้ครอบครัวเขาไปไม่ได้อย่างแน่นอนแล้วนี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สร้างให้สังคมของเมียนมาเขาแบ่งกันค่อนข้างชัดเจนว่าผู้ชายมีหน้าที่อะไรแล้วก็ผู้หญิงมีหน้าที่อะไรแต่ทั้งนั้นทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าในบริบทของปัจจุบันเป็นเรื่องที่ดี 100 เปอร์เซ็นต์ ดิฉันก็มีความคาดหวังว่าบทบาทของ ผู้แทนราษฎร (ส.ส) พรรค NLD หรือ ส.ส. ของกลุ่มชาติพันธุ์ หรือว่า Activist ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นผู้หญิงจะมีความโดดเด่นขึ้นมาเพราะว่าท้ายสุดแล้วโลกของเราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยผู้นำสตรีเพียงแค่คนเดียวถ้าเราจะสร้างสังคมใหม่ถ้าเราจะสร้างสังคมที่มีความเป็นสมัยใหม่เราก็ต้องมีสตรีหลาย ๆ คนที่ออกมาพร้อมใจบอกกับสังคมและโลกของเราว่าเรามีความสำคัญและเราอยากจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นและสังคมก็จะคล้อยตาม ขอบคุณ
ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ:
ขอบคุณอาจารย์ลลิตา หาญวงษ์ ท่านจะเห็นว่าผมถามคำถามเกี่ยวกับอองซานซูจี แต่อาจารย์ก็สามารถที่จะ Cover คำซึ่งเป็นคีย์เวิร์ดของงานวันนี้ สตรี สันติภาพ คำที่สำคัญอีกคำหนึ่ง “บทบาท” ใช่ไหม บทบาทตามมาด้วยคำว่าหน้าที่ท่านจะเห็นว่าตั้งแต่ อาจารย์ลัดดาวัลย์ไปจนกระทั่งถึง อาจารย์ชานันท์ ยอดหงษ์นี่ จนกระทั่งอาจารย์ลลิตานี่เอง เราเห็นคำพวกนี้และปรากฏอยู่ในสิ่งที่เป็นความรับผิดชอบในเครื่องหมายคำพูดนะของสุภาพสตรีนะที่จะทำให้เกิดผลต่อความเป็นชาตินิยมก็ดีต่อความมั่นคงก็ดี ชัดเจนว่าในกรณีของเมียนมา หายไปเลยสำหรับผู้หญิงเราไม่ค่อยจะได้รู้จักชื่อใครเท่าไหร่นัดจนกระทั่งอาจารย์มาเปิดเผยและมาแฉให้เราฟังวันนี้
ในรอบที่ 2 ตอนนี้เราจะวนมาให้เพื่อทุก ๆ ท่านสรุปประเด็นผมคิดว่าทางผู้จัดได้ให้เวลาเราถึงซักประมาณ 16:30 น. เพื่อที่จะเปิดเวทีให้ทุกท่านในวันนี้อาจจะไม่ได้มาเฉพาะฟังประวัติศาสตร์อย่างเดียวอาจจะพูดถึงท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ขอทุกท่านท่านละประมาณ 5 นาที เรื่องค่านิยมชายเป็นใหญ่
ผศ. ดร.ลลิตา หาญวงษ์:
ตอนแรกก็มีเรื่องที่อยากจะสรุปอยู่ แต่พออาจารย์ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ พูดถึงฟุตบอลขึ้นมาก็เหมือนไปสะกิดต่อมนิดหนึ่ง เพราะว่าดูบอลไทยมาตั้งแต่เด็กก่อนที่ Premier league และ Serie A ดังเราดูบอลไทยกันมาก่อนแล้วก็ก็จะมีต่อมชาตินิยมอยู่ในตัวมาตั้งแต่เด็กจริง ๆ ไม่ใช่แค่บอล ยุคที่เป็นเด็กก็มีมวยด้วย อย่างที่เราบอกว่าวันไหนที่เขาทราย แกแล็คซี่ ต่อย รถจะโล่งแต่ทุกวันนี้ เราไม่ได้มีเหมือนกับนักมวยแบบหนึ่งเดียวอะไรอย่างนี้อีกแล้วก็เลยทำให้การจราจรก็ยังติดขัดทุกวันแม้จะมีมวยแบบพิเศษ
ขออนุญาตพูดถึงพม่าแล้วก็เรื่องของความมั่นคงโดยรวมอีกสักนิดนึงเป็นเรื่องปิดท้าย ในพม่าอย่างที่เรียนไปข้างต้นว่ามีสิ่งที่เรียกว่าความชายเป็นใหญ่จริง ๆ แล้วเห็นชัดเจนตรงที่ว่า Activist เกือบทุกคนที่อยู่แนวหน้า นายพล ผู้บัญชาการทุกอย่างที่อยู่ในแนวหน้านักการเมืองทั้งหมดเป็นผู้ชายเกือบจะเรียกได้ว่า 98-99 เปอร์เซ็นต์ หรือแม้แต่งานเสวนาวิชาการต่าง ๆ ดิฉันเคยเข้าร่วมงานเสวนาที่เป็นคนพม่าล้วน ๆ อยู่หลายครั้ง ก็มักจะมีแต่ผู้ชายจนกระทั่งมี Activist เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ท่านหนึ่ง เขาตั้งเพจใน Facebook ขึ้นมาเลยว่า Anti-Man-Nel หมายความว่าขอต่อต้าน Panel บนที่ประชุม เขาเรียกว่า Man-nel ก็คือ Panel ที่ประกอบไปด้วยผู้ชายเท่านั้น ขึ้นมาเลย ก็ถามว่าเปลี่ยนแปลงได้ไหมก็ค่อนข้างจะยากคือ ดิฉันคิดว่าสิ่งแรกเลยถ้าสังคมประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาของเราจะเปลี่ยนแปลงได้ในระดับที่คนเขายอมรับว่าผู้หญิงเองไม่ได้มีบทบาทและสถานะเป็นแค่หลังบ้านอย่างที่เราอภิปรายกันมา
ผู้หญิงที่ก็ต้องออกมาบอกสังคมด้วยว่า ฉันเป็นแนวหน้าได้นะแต่ที่ผ่านมาอาจจะด้วยการฟูมฟักของสังคมด้วยความที่สังคมของเมียมาไม่ได้เคยอยู่ในสภาวะไม่มีสงครามสักเท่าไหร่ ก็อาจจะทำให้จิตสำนึกของผู้หญิง อาจจะมีความรู้สึกถูกกดทับไปบ้าง แต่ก็หวังว่าในอนาคต Anti-Man-Nel ก็เป็นหนึ่งในว่าท่าทีที่ดีขึ้น
สุดท้าย ดิฉันอยากจะฝากไว้ว่าเมืองไทยในด้านความมั่นคง ผู้หญิงเราก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นแม้ว่าทุกวันนี้ เรายังไม่มีผู้หญิงที่เข้าไปเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ฝั่งของหน่วยงานความมั่นคงยอมรับได้ว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ผู้หญิง หรือเพื่อไปรบแบบผู้ชาย แต่ว่าในปัจจุบันด้วยภัยคุกคามมีในหลายรูปแบบมากขึ้น บางครั้งยังคิดว่าการใช้ผู้หญิง หรือการให้คุณค่าในศักยภาพของผู้หญิงในสิ่งที่เราเป็นจริง ๆ ก็จะมีความสำคัญเรื่อย ๆ ในอนาคต งั้นยกตัวอย่างอย่างหนึ่ง พอดีว่าทำงานเรื่องความมั่นคงด้วยประมาณหนึ่งค่อนข้างมากในช่วงปี 2 ปีที่ผ่านมา
เราไปสังสรรค์ไปพูดกันตรง ๆ คือ ไปดื่มเหล้ากับหน่วยงานความมั่นคงไงก็มักจะมีเสียงตามมาว่า ไปกินเหล้ากับเขาได้ยังไงเราเป็นผู้หญิงจะมีคำนี้ที่โผล่มาเยอะมากแล้วคนที่ถามทั้งหมดจะเป็นผู้ชายแล้วเขาก็จะถามว่า เป็นผู้หญิงกินเหล้าได้ยังไงแล้วยิ่งไปกินเหล้ากับผู้ชายหลาย ๆ คน จะดีไหม เราก็ต้องถามกลับไปแล้วแปลกยังไงนี่คือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าอาจจะใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศบ้าง แล้วมหาวิทยาลัยที่ตัวเองเรียนจบมาเป็นมหาวิทยาลัยที่ซ้ายจัดมากเลย คือ เราก็อาจจะคุ้นเคยกับการเรียนเสร็จแล้วก็ไปสังสรรค์อะไรเป็นเรื่องปกติ แต่ว่าคือทัศนคติแบบนี้มีจริง ๆ ว่าผู้หญิงเวลาไปคุยกับผู้ชายที่แบบมีความเป็น Masculine สูง ๆ เราต้องทำตัวแบบเป็นผู้หญิงตัวเล็ก ๆ เราจะไปไปดื่มเครื่องดื่ม Alcohol กับเขาไม่ได้ก็อันนี้ฝากไว้สังคมเราจริง ๆ ศตวรรษที่ 21 แล้ว ผู้หญิงเราอาจจะไม่ได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้ชายทำได้ในเรื่องของร่างกาย แต่ว่าเรื่องอื่น ๆ เราก็ต้องถือว่าเราก็เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเหมือนกัน ขอบคุณ
รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=jAcAYTzqiLY
ที่มา : PRIDI Talks #29 : 113 ปี ชาตกาล ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ “สตรีกับสันติภาพ : บทบาทภายใต้กระแสชาตินิยมและมุมมองความมั่นคง” อาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 14.00-17.00 น. ณ สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ซอยงามดูพลี กรุงเทพฯ