ปรีดี พนมยงค์
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
1
เมษายน
2564
1 เมษายน 2476 เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยในยุคสมัยนั้น แต่ ณ ห้วงเวลานั้น ได้เกิดการรัฐประหารครั้งแรกในภายใต้ระบอบใหม่ นำโดยนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาลตัวเอง ที่เรียกกันว่า "รัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา"
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
30
มีนาคม
2564
แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่บริเวณที่จะดำเนินโครงการคลองคอคอดกระ
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2501
เรียน นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ ประเทศไทย
บทความ • บทสัมภาษณ์
29
มีนาคม
2564
เย็นวันนี้ ทีมบรรณาธิการของเรามีนัดสัมภาษณ์กับ ลุงแมว พันตรี พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนาบุตรคนที่ 4 ของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย ผู้ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นหัวหน้าคณะราษฎร หนึ่งในสี่ทหารเสือผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
เมื่อถึงเวลานัดหมาย เราพร้อมกันที่บ้านทาวน์เฮ้าส์ หลังหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกจากชานเมืองไปไม่ไกลนัก เจ้าของบ้านดวงหน้ายิ้มแย้มสดใสยืนรอต้อนรับพวกเราอยู่ที่หน้าประตูบ้านด้วยความเป็นกันเอง ก่อนเชื้อเชิญกันเข้ามานั่งที่โต๊ะรับรองภายในบ้าน ลุงแมวตระเตรียมทั้งขนมและน้ำให้พวกเราอย่างเต็มที่
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
27
มีนาคม
2564
ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ ณ วันที่ 9 มิถุนายน อันเป็นปีที่ 26 แห่งวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 จึงขอน้อมถวายแรงงานในการนี้เป็นราชพลี เจตนารมณ์ของการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ นายชาญวิทย์เข้าใจว่าเพื่อจะลบล้างความคิดที่ว่านายปรีดีไม่ชอบเจ้า นอกไปจากนี้แล้ว ก็ต้องการจะยืนยันงานชิ้นโบว์แดงอันสำคัญที่นายปรีดีทำได้สำเร็จอย่างงดงาม “ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2”
ข่าวสาร
23
มีนาคม
2564
“พระเจ้าช้างเผือก” นับเป็นภาพยนตร์ไทยขนาดยาวที่เก่าแก่ที่สุด ที่ยังคงหลงเหลืออยู่อย่างครบสมบูรณ์ ปัจจุบัน ฟิล์มภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ ของ “พระเจ้าช้างเผือก” ได้รับการอนุรักษ์อยู่ที่หอภาพยนตร์ และได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นหนึ่งในมรดกภาพยนตร์ของชาติชุดแรก เมื่อ พ.ศ. 2554
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
12
มีนาคม
2564
ก่อนการอภิวัฒน์สยามเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ย้อนกลับไปนับตั้งแต่ช่วงปลายอยุธยาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิทธิที่จะใช้สอยทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้สิทธิของกษัตริย์ โดยราษฎรได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินในฐานะสิ่งตอบแทนที่เป็นแรงงานให้กับรัฐ ซึ่งกษัตริย์ยังสงวนอภิสิทธิ์และพระราชอำนาจที่จะจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินให้กับคนในบังคับของพระองค์
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
10
มีนาคม
2564
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองและเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการเมืองซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เขียนคำแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองและร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้เรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้นว่า ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ เปลี่ยนจากระบอบที่กษัตริย์มีอำนาจอย่างล้นพ้นมาเป็นการจำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญ
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
Subscribe to ปรีดี พนมยงค์
28
กุมภาพันธ์
2564
หลังจากหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลา 5 เดือน นายปรีดี พนมยงค์ จึงตัดสินใจลี้ภัยออกจากสยามประเทศอีกครั้ง โดยมอบหมายให้ท่านผู้หญิงพูนศุขจัดหาลู่ทางในการหลบหนีและขอความช่วยเหลือจากมิตรผู้ซื่อสัตย์ทั้งชาวไทยและชาวจีนซึ่งได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีในเรื่องของการเตรียมที่เตรียมทาง แต่ทว่าไม่ได้ราบรื่นไปเสียทั้งหมด เพราะหนทางยาวไกลนั้นเกิดอุปสรรคนานานัปการให้คอยแก้ไข ให้คอยลุ้นอยู่ตลอดกว่าจะถึงปลายทางเกือบไม่รอดหลายต่อหลายครั้ง