สถาบันปรีดี พนมยงค์
ข่าวสาร
7
สิงหาคม
2563
สถาบันปรีดี พนมยงค์ มีความยินดีขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมงานครบรอบ 75 ปี วันสันติภาพไทย และรำลึก 120 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ ภายใต้ภาคีร่วมจัดระหว่างสถาบันปรีดี พนมยงค์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ในช่วงบ่าย สถาบันปรีดี พนมยงค์ มีหมายกำหนดการจัดงานเสวนาวิชาการ PRIDI TALK #5 ในหัวข้อ “เศรษฐกิจแปรผัน สันติภาพแปรเปลี่ยน: จากขบวนการเสรีไทยสู่ยุคปัจจุบัน” ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 13.00-17.00 น.
27
กรกฎาคม
2563
16 สิงหาคม “วันสันติภาพไทย” วันสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นการรำลึกถึง “ขบวนการเสรีไทย” วีรชนผู้ยอมเสี่ยงชีวิตตนเอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงฐานะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ในขณะนั้น
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
17
กรกฎาคม
2563
ประวัติ
วาณีเป็นน้องคนสุดท้องของครอบครัว เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2484 ที่บ้านป้อมเพชรนิคม หลังจากเกิดได้ไม่กี่เดือน สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็แผ่มาถึงประเทศไทย สภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาหารือกันแล้วลงมติตั้งคุณพ่อเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ครอบครัวจึงย้ายไปพำนักที่ทำเนียบท่าช้างซึ่งทางราชการจัดให้
ในขั้นต้น วาณีเรียนที่โรงเรียนดรุโณทยานของคุณครูฉลบชลัยย์ พลางกูร และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์
ข่าวสาร
2
กรกฎาคม
2563
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดงาน “88 ปี 2475 ความทรงจำของสามัญชน”
โดย นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันปรีดี พนมยงค์ กล่าวเปิดงานเสวนาในหัวข้อ จากราชดำเนินถึง “2475: ความรู้ ความทรงจำและสถานการณ์ปัจจุบัน” ผ่านเพจสถาบันปรีดี พนมยงค์ และ ศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
30
มิถุนายน
2563
ผมไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้รู้จักครอบครัวของท่านปรีดี พนมยงค์ เพราะผมไม่มีทางจะเข้าไปเกี่ยวข้องอะไรเลยไม่ว่าจะด้านใด ผมไม่ใช่นักศึกษาธรรมศาสตร์ ไม่ได้เรียนทางกฎหมายหรือการเมืองการปกครอง ไม่มีญาติหรือมีเพื่อนที่มีประวัติหรือลู่ทางที่จะเข้าไปรู้จักครอบครัวของท่านได้เลย
ข่าวสาร
25
มิถุนายน
2563
วันที่ 24 มิถุนายน 2563 ทายาทคณะราษฎรร่วมทำบุญให้แก่บรรพบุรุษ ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องในวันครบรอบ 88 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นำโดยสุดาและดุษฎี พนมยงค์ ทายาทนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน ร่วมวางดอกไม้และทำบุญอุทิศส่วนกุศลอัฐิคณะราษฎร และถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์จำนวน 24 รูป
ข่าวสาร
23
มิถุนายน
2563
สถาบันปรีดี พนมยงค์รวบรวมหนังสือน่าอ่านประจำเดือนมิถุนายน ชวนผู้อ่านรำลึกวาระครบรอบ 88 ปี เหตุการณ์อภิวัฒน์สยาม การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
Subscribe to สถาบันปรีดี พนมยงค์
13
มิถุนายน
2563
“ผมกับภรรยาสืบมาจากเชียดเดียวกัน”
ท่านปรีดี พนมยงค์ กล่าวตอนหนึ่งในการสนทนากับนายฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อเดือนเมษายน 2525 ถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างท่านกับท่านผู้หญิงพูนศุข ผู้เป็นศรีภริยา
คําว่า “เชียด” นั้นเป็นคําโบราณที่ไม่ค่อยมีใครในปัจจุบันเรียกกัน หมายถึงพ่อของชวด (ทวด) ตามประวัติของท่านรัฐบุรุษอาวุโสนั้น เชียดของท่านมีบุตรอยู่หลายคน บุตรีคนหนึ่งชื่อปิ่นได้แต่งงานกับจีนก๊ก แซ่ตั้ง เป็นพ่อค้าเชื้อชาติจีน ทั้งสองมีบุตร หลายคนคนหนึ่งชื่อเกิด ได้แต่งงานกับนางคุ้ม มีบุตร 8 คน ชื่อ ฮวด ชุ้น แฟง ง้วย ใช้ ฮ้อ เสียง และบุญช่วย