ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แนะนำหนังสือ : คืออิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา

30
มีนาคม
2565

 ชื่อหนังสือ :           “คืออิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา” จัดพิมพ์ในวาระ 100 ปีชาตกาล กุหลาบ สายประดิษฐ์
บรรณาธิการ :        ตรีศิลป์ บุญขจร
ขนาดหนังสือ :        24.5*17.5 เซนติเมตร
จำนวนหน้า :           580 หน้า
พิมพ์ครั้งแรก :        มีนาคม 2548

 

 

คำนำหนังสือ

“คืออิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา” เป็นหนังสือที่ระลึกซึ่งจัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาลของ ‘กุหลาบ สายประดิษฐ์’ หรือ ‘ศรีบูรพา’ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 อีกทั้งในโอกาสที่ยูเนสโกประกาสยกย่องให้ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก และให้ปีพุทธศักราช 2548 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญที่ได้รับยกย่อง

“คืออิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา” เป็นหนังสือรวมบทความคัดสรรทั้งที่เป็นบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้วและมีคุณค่าสามารถทำให้เข้าใจชีวิตและผลงานของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา อย่างแจ่มชัด และบทความที่เขียนขึ้นใหม่เนื่องในโอกาสสำคัญนี้ บทความหลายเรื่องเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการศึกษาชีวิตและผลงานของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่ยังไม่เคยได้รับรู้กันมาก่อน

“คืออิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา” จึงเป็นหนังสือรวมบทความคัดสรรที่ทำให้ผู้อ่านได้รับทราบเรื่องราวของ ‘กุหลาบ สายประดิษฐ์’ ทั้งในฐานะที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม และสันติภาพ และผู้ใฝ่ในธรรมอย่างสมบูรณ์รอบด้านที่สุด

เนื้อหาในเล่มแบ่งเป็น 3 ภาค คือ

ภาคแรก     ประวัติและความทรงจำ
ภาคที่ 2     ผลงานของ “ศรีบูรพา” ในทัศนะของนักวิชาการและนักวิจารณ์
ภาคที่ 3     “ศรีบูรพา” กับแรงบันดาลใจข้ามยุค

ภาคแรก ประวัติและความทรงจำ นำเสนอชีวิตและผลงานของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ “ศรีบูรพา” โดยเน้นบทบาทหลักสามลักษณะ คือ บทบาทในฐานะนักหนังสือพิมพ์ ในฐานะนักเขียน และผู้ใฝ่ในธรรม ชีวิตของ “ศรีบูรพา” จากความทรงจำของคู่ชีวิตคือ คุณชนิด สายประดิษฐ์ ให้ภาพแจ่มชัดของประสบการณ์ในแต่ละช่วงตอนของชีวิตที่ถาโถมด้วยคลื่นชีวิตซึ่งส่วนใหญ่มีมูลเหตุจากการเมือง

ไพลิน รุ้งรัตน์ นำเสนอบทสัมภาษณ์ที่มีชีวิตชีวาทำให้ผู้อ่านเหมือนได้เข้าไปร่มวงสนทนาอยู่ด้วย บทความเรื่อง “สุภาพบุรุษ...มนุษยภาพ ‘ศรีบูรพา’ กุหลาบ สายประดิพฐ์” ของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี รวบรวมประวัติชีวิตและผลงานของ “ศรีบูรพา” ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ความทรงจำจากผู้ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับ ‘ศรีบูรพา’ นับตั้งแต่ สุภา ศิริมานนท์ ใน “ความทรงจำ : ชีวิตและการต่อสู้ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์” บทความของ สุพจน์ ด่านตระกูล และ กรุณา กุสลาสัย ให้รายละเอียคอันเข้มขันของบทบาทของนักหนังสือพิมพ์ที่ยึดมั่นในจรรยาบรรณและเสรีภาพ แม้จะทุกข์ยากเพียงไร จิตวิญญาณของความเป็นนักหนังสือพิมพ์ไม่เคยเสื่อมถอยในชีวิตของ ‘กุหลาบ สายประดิษฐ์’

บทบาทของ “ศรีบูรพา” ในฐานะผู้ใฝ่ในธรรมปรากฏเด่นชัดใน “ผู้เป็นศรีของโลก” ของ พระไพศาล วิสาโล และ “บันทึกการไปสวนโมกข์ : ภาพสะท้อนนักปฏิบัติของ กุหลาบ สายประดิษฐ์” ซึ่งให้รายละเอียดของวัตรปฏิบัติของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ และความสัมพันธ์กับท่านพุทธทาสภิกขุซึ่งมีคำควรแก่การศึกษายิ่ง

บทความเรื่อง “นูริอุทปา (Nuriootpa) เมืองงามเอื้ออาทรในมุมมองของ ‘ศรีบูรพา’” ซึ่ง รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน ตามรอยยัอนอดีตไปถึงประเทศออสเตรเลีย ความที่ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ “ศรีบูรพา” ในช่วงที่เดินทางไปศึกมาที่ออสเตรเสีย อีกทั้งยังเปรียบเทียบกับความเป็นไปในปัจจุบัน เรื่องราวชีวิตของ “ศรีบูรพา” ในประเทศจีน

ในช่วงสุดท้ายของชีวิตยังไม่ให้รับการเปีดเผยมากนัก บทความของ ซามา เรื่อง “ช่วงชีวิตในจีนของศรีบูรพา” จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่สัมภาษณ์จากมิตรสนิทของศรีบูรพาที่ร่วมเดินทางไปประเทศจีนด้วยกันและยังใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนถึงทุกวันนี้

เรื่องราวที่เล่าจากปากของ สุชาติ ภูมิบริรักษ์ ที่ถ่ายทอดโดย ซามา จึงเป็นเรื่องราวที่พลาดไม่ได้สำหรับผู้ต้องการเรียนรู้เรื่องราวของศรีบูรพา ส่วน อู๋ตง ผู้เป็นล่ามให้ศรีบูรพาในช่วงที่เดินทางไปเป็นทูตวัฒนธรรมให้ความทรงจำเกี่ยวกับมิตรแท้นามศรีบูรพาที่ประทับใจยิ่งและเข้มข้นด้วยความจริงใจอันสะเทือนอารมณ์

“ศรีบูรพา” ในฐานะพ่อของลูกในเรื่อง “ลูกพูดถึงพ่อ ‘ศรีบูรพา’” ของ สุรพันธ์ สายประดิษฐ์ ทายาทของศรีบูรพาให้ภาพของพ่อจากสายตาและความทรงจำของลูกที่บอกทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอ และความเป็นพ่อที่นำประทับใจซึ่งไม่สามารถจะรับทราบได้จากที่ใดนอกจากบทความพิเศษเรื่องนี้

ภาคแรกของหนังสือจึงประมวลความเป็น กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา ทั้งในด้านชีวประวัติ ผลงานในฐานะนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน และผู้ใฝ่ในธรรมที่สมบูรณ์ยิ่ง

ภาคที่ 2 ผลงานของ “ศรีบูรพา” ในทัศนะของนักวิชาการและนักวิจารณ์ ในฐานะนักเขียน “ศรีบูรพา” สร้างคุณูปการให้วงวรรณกรรมไทยด้วยการสร้างพัฒนาการให้สายธารนวนิยายทยตลอดช่วงเวลาเกือบ ๓ ทศวรรมของการเป็นนักเขียนนวนิยาย บทความของ เสถียร จันทิมาธร ชื่อ “เขาชื่อ กุหลาบ สายประดิษฐ์” และ “ศรีบูรพากับพัฒนาการนวนิยายไทย” ของ ตรีศิลป์ บุญขจร สำรวจและวิเคราะห์บทบาทของนวนิยายของศรีบูรพา ไว้อย่างละเอียดแจ่มชัด

ผลงานประเกทนวนิยายของศรีบูรพา นอกจากสร้างพัฒนาการให้วงวรรณกรรมไทยแล้ว ยังมีคุณูปการทำให้เกิดการศึกษา วิเคราะห์ วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางยาวนานจากสมัยที่เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่มาจนถึงยุคปัจจุบัน ที่น่าสนใจคือนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ที่ดูจะทรงพลังและสร้างความประทับใจให้ผู้อ่านเป็นอย่างสูงจึงเกิดบทวิจารณ์นวนิยายเรื่องนี้จำนวนมาก

ในภาคที่ 2 นี้ ได้คัดสรรบทวิเคราะห์วิจารณ์ของนักวิชาการและนักวิจารณ์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ คุณรัญจวน อินทรกำแหง จนถึงนักวิจารณ์ร่วมสมัยเช่น ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ และ วิภาพ คัญทัพ และยังส่งอิทธิพลถึงนักวิชาการต่งชาติคือ ดร.เดวิด สไมท์ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนที่จบปริญญาเอกจากวิทยานิพนธ์ซึ่งศึกษานวนิยายของศรีบูรพา และแปลเรื่อง ข้างหลังภาพ เป็นกาษาอังกฤษ

พลานุภาพของนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ จึงส่งผลต่อวงการวิจารณ์วรรณกรรมของไทยและทำให้เกิดการสร้างสรรค์สืบเนื่อง คือ การนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายครา บทความของ เชิด ทรงศรี เรื่อง “สงครามชีวิต-ข้างหลังภาพ” จึงมีคุณค่ายิ่งทั้งในด้านการตามรอยสถานที่ และเรื่องราวก่อนที่จะนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เบื้องหลังการทำงานของผู้กำกับฯ คุณภาพท่านนี้ที่เป็นนักอ่านตัวยงอีกด้วย

ความเป็นสากลของนวนิยายของ “ศรีบูรพา” และลักษณะที่ละม้ายกันของนักเขียน เพื่อนบ้านของไทยเห็นได้จากบทความของ มนทิรา ราโท ผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีเวียดนาม เรื่อง “ความเหมือนที่ต่างระหว่าง เญิ้ตลิญห์ (Nhat Linh) กับ ศรีบูรพา” ที่เปิดมุมมองและแนวการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของนักเขียนสองคน สองชาติที่น่าสนใจยิ่ง

บทความในภาคที่ 2 จึงนำเสนอการวิเคราะห์วิจารณ์นวนิยายของ “ศรีบูรพา” อย่างหลากรส หลากลีลา หลากมุมมองที่ทำให้คุณค่าของนวนิยายของ “ศรีบูรพา” เติบโตอย่างไม่รู้จบในบรรณพิภพทั้งของไทยและสากล

ภาคที่ 3 “ศรีบูรพา” กับแรงบันดาลใจข้ามยุค เป็นผลงานของยุวชนรุ่นหลังที่แม้ว่าจะไม่ใช่นักเขียนหรือนักหนังสือพิมพ์ แต่ผลงานของศรีบูรพาก็ทำให้รุ่นน้องที่โรงเรียนเทพศิรินทร์รุ่นแล้วรุ่นเล่าประทับใจและสร้างแรงบันดาลใจให้เป็นนักอ่าน นักเขียน และผู้ใฝ่รู้เสมอมา แน่นอนที่ว่าในวงวรรณกรรม ผลงานของศรีบูรพาส่งผลสร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนรุ่นต่อมารุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่ในส่วนของนักเรียนน้อยผู้เริ่มชีวิตของการแสวงหาศรีบูรพาก็สร้างแรงบันดาลใจผ่านถ้อยวรรณศิลป์อันประทับใจข้ามกาลเวลาเช่นกัน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความคัดสรรที่ประมวลมาไว้ใน คืออิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา จะทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงความเป็นอิสรชน ความเป็นคนดี และความเป็น “ศรีบูรพา” ที่คนไทยและสังคมไทยควรตระหนักและภาคภูมิใจ การเฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาลของ “ศรีบูรพา” ที่มีคุณค่าที่สุดก็คือการสืบสานสิ่งที่ศรีบูรพาได้สร้างสรรค์ไว้ ทั้งในด้านคุณธรรมและวัฒนธรรมทางหนังสือ สืบสานความเป็นอิสรชน ความเป็นคนดี เยี่ยง “ศรีบูรพา” ผู้เป็น “ศรี” แห่งสังคมไทยและสังคมโลก

ตรีศิลป์ บุญขจร
บรรณาธิการ
มีนาคม 2548

 

สารบัญ

  • คืออิสสรชน คือคนคื คือศรีบูรพา
  • Kularp Saipradit-Sriburapha

ภาค 1 ประวัติและความทรงจำ

  • ภาพชุดประวัติและความทรงจำ
  • กุหลาบแกร่งในชีวิต "ศรีบูรพา" ..................... ไพลิน รุ้งรัตน์
  • สุภาพบุรุษ...มนุษยภาพ "ศรีบูรพา" กุหลาบ สายประดิษฐ์ ..................... สุชาติ สวัสดิ์ศรี
  • ความทรงจำ : ชีวิตและการต่อสู้ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ..................... สุภา ศิริมานนท์
  • คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ..................... สุพจน์ ด่านตระกูล
  • กุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่ข้าพเข้ารู้จัก ..................... กรุณา กุศลาสัย
  • ผู้เป็นสรีของโลก ..................... พระไพศาล วิสาโล
  • บันทึกการไปสวนโมกข์ : ภาพสะท้อนนักปฏิบัติของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ..................... สมปอง ดวงไสว
  • นูริอุทปา (Nurootpa) เมืองงามเอื้ออาทรในมุมมอง "ศรีบูรพา" ..................... รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน
  • ช่วงชีวิตในจีนของ "ศรีบูรพา" ..................... ชามา
  • อาลัยมิตรแท้ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ..................... อู๋ตง
  • ไสว มาลยเวช เลขาฯ-อาลักษณ์ "ศรีบูรพา" ..................... ไพลิน รุ้งรัตน์
  • กุหลาบ สายประดิมฐ์ นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ..................... สมบูรณ์ วรพงษ์
  • "ศรีบูรพา" ลูกผู้ชาย และสุภาพบุรุษของประชาชน    วิทยากร เชียงกูล
  • ลูกพูดถึงพ่อ "ศรีบูรพา" ..................... สุรพันธ์ สายประดิษฐ์
  • บ้านศรีบูรพา : 70 ปีในวาระ 100 ปีชาตกาล ของ "ศรีบูรพา" ..................... อรรถภาค เล้าจินตนาศรี

ภาค ๒ ผลงานของ “ศรีบูรพา” ในทัศนะของนักวิชาการและนักวิจารณ์

  • ภาพชุดผลงาน
  • เขาชื่อ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ..................... เสถียร จันทิมาธร
  • "ศรีบูรพา" กับ พัฒนาการนวนิยายไทย ..................... ผศ.ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร
  • เมื่อผมได้สัมผัสกับตัวหนังสือของ "ศรีบูรพา" ..................... อาจิณ จันทรัมพร
  • รู้จัก "ศรีบูรพา" ..................... รัญจวน อินทรกำแหง
  • ข้างหลังภาพ ของ "ศรีบูรพา" ในทัศนะของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ..................... ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ
  • สงครามชีวิต-ข้างหลังภาพ ..................... เชิด ทรงศรี
  • ปริศนาข้างหลังภาพ ของ "ศรีบูรพา" ..................... ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
  • ความรักของ "ศรีบูรพา" ..................... ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
  • คำสารภาพของนพพร ..................... เดวิด สไมท์
  • พิจารณาการชะงักงันของความรักในนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพ และลูกผู้ชาย ของ "ศรีบูรพา" ..................... วิภาพ คัญทัพ
  • กุหลาบ สายประดิษฐ์ (รำพึงถึงการเปรียบเทียบบางอย่าง) ..................... นพพร สุวรรณพาณิช
  • ความเหมือนที่ต่างระหว่าง "เญิ้ตลิญห์" (Nhat Linh) กับ "ศรีบูรพา" ..................... ดร.มนธิรา ราโท

ภาค 3 “ศรีบูรพา” กับแรงบันดาลใจข้ามยุค

  • ปฏิทินชีวิต กุหลาบ สายประดิษฐ์
  • "ศรีบูรพา" สามัญชนและสุภาพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ..................... จิรกิตติ์ สุนทรลาภยศ
  • "ศรีบูรพา" เปิดโลกทางหนังสือให้แก่ข้าพเจ้า ..................... มังกร จารุจันทร์นุกูล
  • อ่าน "ศรีบูรพา" จากหน้ากระดาษ ..................... ณภคดล กิตติเสนีย์
  • แนะนำนักเขียน
  • รายชื่อคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 100 ปี ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์)