ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม

PERFORMANCE ART : To Be or Not To Be : Asiatopia International Performance Art Festival 2023

29
ธันวาคม
2566

Focus

  • ‘ศิลปะสื่อแสดงสด’ หรือ ‘ศิลปะสื่อแสดง’ (Performance Art) ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทย โดยเห็นได้จากการที่เพิ่งได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่าจะเผยแพร่มาจากยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และเข้าสู่ประเทศไทยมาแล้วกว่า 40 ปี
  • การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบงาน “เทศกาลศิลปะสื่อแสดงนานาชาติเอเชียโทเปีย” (Asiatopia International Performance Art Festival 2023) บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ (BACC) หัวข้อ “Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop ในวันที่ 4-5 ตุลาคม 2566 ให้กับผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมรวม 12 คน  และการจัดให้มีการนำเสนอ Collective Performance ที่เป็นการแสดงแบบรวมกลุ่ม/หมู่ วันที่ 6-7 ตุลาคม 2566 เป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงการมีอยู่และการสร้างสรรค์ของศิลปะสื่อแสดงสดในสังคมไทย อันเป็นศิลปะแบบเปิดกว้างที่ยึดโยงคนกับชีวิตประจำวัน มากกว่าการอยู่ในกรอบ กฏ และวิธีคิดเฉพาะใดๆ
  • ศิลปะสื่อแสดงสดมีเส้นทางสู่โลกอนาคตที่เชื่อในความไม่เหมือนเดิม เช่น วิพากษ์สังคม ขบถต่อคุณค่าเดิม แต่ก็มีคุณค่า (ใหม่/อื่น) ในชีวิตประจำวัน และ เน้นการมีปฏิกิริยาและบทสนทนาระหว่าง คนดูกับคนแสดงแบบตรงตัว เป็นต้น และไม่ควรจำกัดอยู่เฉพาะในพื้นที่ แต่ออกไปสู่ข้างนอกห้องแสดง เพื่อทำให้เกิดการสื่อสารกับมวลชนมากกว่าการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม
  • ศิลปินแนวศิลปะสื่อแสดงสดสามารถใช้วิธีการที่หลากหลายของตนสื่อสารออกไป และย่อมได้รับการตีความผลงานในมุมมองที่หลากหลาย ดังตัวอย่างการแสดงชิ้นต่างๆ ที่นำเสนอในการอบรมเชิงปฏิบัติการและผลงานรวมหมู่ ให้เห็นถึงการออกแบบ และงานศิลปะสร้างสรรค์หลังสมัยใหม่ในแนวที่ว่านี้

 


“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”,
Performance Art Workshop

 

ศิลปะมีวิวัฒนาการตามยุคสมัยไม่ต่างจากวัฏชีวิตของมนุษย์ ศิลปะการแสดงแนว ‘Performance Art’ ก็เช่นกัน ‘ศิลปะสื่อแสดงสด’ มีต้นกำเนิดจากยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จนแพร่หลายไปทั่วโลกถึงปัจจุบันร่วมร้อยกว่าปี เข้ามามีชีวิตในประเทศไทยกว่า 40 ปีก่อน จากการบุกเบิกของ จุมพล อภิสุข[1] กูรูผู้วางรากฐานการทำงานศิลปะแสดงสดในประเทศไทย รับเชิญบรรยายให้ความรู้กับนานาชาติทั่วโลก ก่อตั้ง “ศูนย์ศิลปะบ้านตึก” ชุมชนศิลปะแสดงสดแห่งแรกในไทยที่จังหวัดนนทบุรีเมื่อปี 2536 เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและอำนวยการ “เทศกาลศิลปะแสดงสดนานาชาติ เอเชียโทเปีย” ทำงานศิลปะ ให้แรงบันดาลใจ ให้โอกาส สร้างนักแสดง เผยแพร่  และสนับสนุนการแสดงสดด้วยทุนส่วนตัวตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

แม้ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ใฝ่ก้าวหน้ามาหลายสิบปี แต่ยังเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่ใช่ความบันเทิงสำหรับคนไทย และเพิ่งได้รับการบรรจุเข้าหลักสูตรการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย (ปริญญาตรี) เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หากเทียบกับศิลปะการแสดงแขนงอื่นจึงเป็นน้องใหม่ในมหาวิทยาลัยเพียง 3 แห่ง คือ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บางกลุ่มรับรู้ว่าเป็น ‘ละครเฉพาะกิจ’ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง ล้วนสร้างความกังขาสารพัดคำถามต่อแนวทางการแสดงที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ไม่ต่างจากภาพนามธรรมสำหรับผู้พบเห็นทั่วไป ล่าสุด “Asiatopia International Performance Art Festival 2023”  ให้โอกาส ให้ความรู้ และ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ (BACC) ให้พื้นที่ กับผู้ที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ด้วยกิจกรรมพิเศษอบรมเชิงปฏิบัติการก่อนนำเข้า “เทศกาลศิลปะสื่อแสดงนานาชาติเอเชียโทเปีย” ซึ่งเป็นกระบวนงานจัดการองค์ความรู้ที่มีคุณค่าน่าสนใจสำหรับผู้ใฝ่ศึกษา และเป็นการร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ศิลป์ สาขาศิลปะการแสดง (สื่อแสดงสด) โดยภาคประชาชนของประเทศไทย

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop
(Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปะสื่อแสดง “Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop โดย อาจารย์ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ (Taweesak Molsawat) และศิลปินรับเชิญ อาจารย์คธา แสงแข (Kata Sangkhae)[2] ผู้เข้าอบรมได้รับการคัดเข้มผ่าน Portfolio และ Biography ที่ต้องประกอบไปด้วยส่วนสำคัญซึ่งแสดงตัวตนความสนใจคือ ผลงานการออกแบบ , งานศิลปะสร้างสรรค์อื่นๆ และ ศิลปะแสดงสด พร้อมแสดงผลงานล่าสุด จำนวน 5 ชิ้น มีผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมรวม 12 คน มีโอกาสได้สร้างสรรค์ผลงาน Collective Performance ทุกจุดทั้งภายในและภายนอกทั่วบริเวณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ใน เทศกาลศิลปะสื่อแสดงนานาชาติเอเชียโทเปีย อีกด้วย (Asiatopia International Performance Art Festival 2023)

วิชชุกร ตั้งไพบูลย์  (Jon Tangpaiboon)  ศิลปินอิสระและผู้จัดการ AIPAF ชี้แจงแถลงถึง  “Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023” แทนคำไทยใน Performance Art ว่า “ศิลปะสื่อแสดง” มีแนวทางที่เป็นการผสมเนื้อหา และทำงานร่วมกันของศิลปิน เป็นการท้าทายบริบทโดยเนื้อหาศิลปะ ในแนวคิดของ ‘ศิลปะแบบปลายเปิด’ ภาพรวมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการศิลปะสื่อแสดง และ Collective Performance แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1: กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการศิลปะสื่อแสดง “Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop

ในวันที่ 4-5 ตุลาคม 2566 เป็นกิจกรรมนำก่อนเปิดงาน (A Pre-festival event) ใน เทศกาลศิลปะสื่อแสดงนานาชาติ เอเชียโทเปีย 03: 2566 (Asiatopia International Performance Art Festival 2023)

ส่วนที่ 2: Collective Performance การแสดงแบบรวมกลุ่ม ในวันที่ 6-7 ตุลาคม 2566 ในเทศกาลศิลปะสื่อแสดงนานาชาติ เอเชียโทเปีย 2566

 

Kata Sangkhae
“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop
Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC

 

Kata Sangkhae
“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop

Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ นักวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรม ผ่านศิลปะ เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านศิลปะและการออกแบบ ณ San Diego State University , ปริญญามหาบัณฑิต (MFA) สาขาศิลปะและการ ออกแบบ จาก The University of Kansas ฯลฯ อดีตอาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง , อาจารย์ด้านการออกแบบเครื่องประดับได้รับรางวัลเกียรติยศในระดับชาติและระดับนานาชาติฯลฯ ให้เกียรติเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ วิทยากร บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการใน วันที่ 4-8 ตุลาคม 2566 ให้ทัศนะเกี่ยวกับศิลปะสื่อแสดงสดไว้อย่างน่าศึกษาว่า

“ ผมไม่ได้มาจากสายการแสดง วิธีคิดจึงเป็นแบบ Visual Artist มากกว่า ในจุดเริ่มต้น การแทนค่า การใช้สัญญะ การใช้สี ความรู้สึก พอถึงจุดหนึ่งเราสนใจอะไรบางอย่างที่มากกว่ากายภาพของวัตถุ หรือกายภาพของ Visual เวลาเราจะพูดกับคนอื่นทำยังไงถึงจะ connect กับเขาได้โดยที่ไม่เหมือนกับ Visual Artist คนอื่น ๆ

เพราะผมฝึกการเป็น Visual Artist มาก่อน จึงนำวิธีคิดมาผนวกกับความสนใจ ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายมนุษย์ และภาษากาย (Body Language) ผมสนใจร่างกายมนุษย์ในบริบทสังคมวัฒนธรรม และการเชื่อมโยงระหว่าง private กับ public ท้ายที่สุดเรายังอยู่ในสังคมซึ่งกันใหญ่กว่าตัวเรา เพราะมันปฏิเสธร่างกายเราไม่ได้ ทุกอย่างมันเป็น politic งานผมส่วนใหญ่จะมีชื่อ Body Politic (Body Politic : How is The Taste of My Body", 2018 / Body Politic: When was Darkness become Image, Silence become Sound and Space become Spaceless? , 2023 ฯลฯ ) ไว้หนวดมันก็ Politic แล้ว เราทำอะไรก็ตั้งคำถาม มีหนวดมีเครา การแต่งกาย นี่คือภาษา คือ Visual Identity ที่คนสามารถจดจำได้ แต่เหล่านี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราจริงๆ มันอยู่ข้างใน ทัศนคติของเรามากกว่าที่มันเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าแค่ตัว Visual ภายนอกเท่านั้น ที่ผมสนใจ performance มากๆ เลยก็เพราะ เราสามารถเข้าถึงอะไรบางอย่างที่ศิลปินทำงาน media อื่น ไม่สามารถเข้าถึงได้เลย”

 

Body Politic : How is The Taste of My Body"[3]
By Taweesak Molsawat ,  Bangkok Biennial 2018 , Photo : Preecha Pattara       

 

“Body Politic: Cultural, Social and Political Masturbation?”
Performance by Taweesak Molsawat, Duration 2:40 hours

ASIATOPIA : International Performance Art Festival 22:2020
@ BACC Photo : Preecha Pattara

 

การบรรยายอบรมทั้งสองวัน 4-5 ตุลาคม 2566 เป็นไปในแบบบรรยากาศโรงเรียนบ้าน (Home School) ใครขี้คร้านจะนั่งเรียนกลัวหลับไปกับทฤษฎี ได้รับอนุญาตให้มีกิจกรรมตามอัธยาศัย ในวันแรกบทเรียนพื้นฐานว่าด้วยการใช้ร่างกายสื่อสาร วันที่สองงานปฏิบัติการกับวัตถุ ช่วงเช้าบรรยายทะลุเข้มเต็มศาสตร์สนุกสดับ สลับกับคุยกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ไม่ได้เรียนแบบตั้งรับอย่างไร้การตั้งคำถามเท่านั้น หลังเที่ยงวันเรียนปฏิบัติตลอดช่วงบ่ายรับแจกจ่ายอุปกรณ์ที่นำมา และสามารถสรรหาได้รอบด้านเพื่อสร้างสรรค์การแสดง ทุกคนต่างเต็มที่กับงานเหมือนเป็นการสอบเลื่อนขั้นขึ้นอีกชั้นของชีวิต เห็นถึงวิธีรังสรรค์ความคิดให้แตกต่างอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการแสดงได้อย่างน่าทึ่ง  ทั่วทุกจุดทั้งภายในและภายนอกบริเวณหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ (BACC) ทั้งในงานเดี่ยวและงานกลุ่ม ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์รู้สึกเป็นห่วงวิธีฝึกปฏิบัติการงานศิลปะ อย่างมีน้ำอดน้ำทนต่อการสร้างงานของศิลปินน้อยทุกคน แต่พวกเขากลับมีความสุขโดยไม่ได้รู้สึกว่าต้องใช้ความอดทนต่อการแสดงงานจากโจทย์ของบทเรียน เพราะความเพียรที่ไร้เงื่อนไขและแรงผลักจากภายในใจตนเอง[4]

 

Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC  

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop
(Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)  

 

PERFORMANCE ART : ประวัติศาสตร์และพัฒนาการ

อาจารย์ทิม ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ บรรยายประวัติศาสตร์ศิลป์เรื่องรากของ Performance Art พร้อมเพิ่มเติมรายละเอียด ตัวอย่าง ประสบการณ์ และทัศนคติ ตามที่ได้ตัดตอนมาบางส่วนซึ่งควรบันทึกไว้ สำหรับคนที่สนใจต้องการศึกษา หรือสำหรับคนทั่วไปก็จะช่วยให้เข้าใจศาสตร์การแสดงแขนงนี้มากขึ้น

“ใน workshop นี้ไม่ได้จะมาให้คำตอบว่า Performance คืออะไร ในทางตรงข้ามกลับจะตั้งคำถามกลับไปด้วยซ้ำ สำหรับคุณเอง Performance คืออะไร? Performing Art ต่างจาก Performance Art อย่างไร?

ในคลาสก็มีการตั้งคำถามว่าจริงๆ แล้ว Performance Art มันมาจากละครเวทีใช่ไหม ที่ผมศึกษาจากประวัติศาสตร์แขนงนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งของตะวันตก มันไม่ใช่ มันคือกระบวนการคิดในลักษณะที่เป็นงานศิลปะ แต่ตั้งคำถามกับศิลปะ เพราะว่ากลุ่มแรกที่ทำงานลักษณะนี้ก็คือ กลุ่มดาดา (DADA) ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะว่าคนได้รับความยากลำบากในการใช้ชีวิตล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่คนกลุ่มนี้ก็มองว่า ศิลปะยุคก่อนหน้านี้ที่มัน รับใช้คนรวย เจ้าขุนมูลนาย รับใช้ศาสนา มันไม่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตจริง ทัศนคติจริง ของยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

เพราะศิลปะควรจะยึดโยงคนกับชีวิตประจำวัน มากกว่าที่จะต้องอยู่ในกรอบ ในกฏ วิธีคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแน่นอนที่สุดก็คงมีศิลปินบางคน หรือศิลปิน  Performance Art ที่ยืมอะไรบางอย่างมาจากละคร (Theatre) ปฏิเสธไม่ได้เพราะท้ายที่สุดก็ต้องใช้ body แต่ความแตกต่างก็คือ คนที่ทำงาน  Performance Art คิดแบบศิลปิน ตั้งคำถามกับศิลปะและสังคม ไม่ได้คิดแบบละคร ที่มีคนอื่นเขียนบทแล้วเขาไปแสดง

Creativity ความเป็นศิลปะเกิดจากศิลปินไม่ได้เกิดจากคนอื่น ถ้าเรามอง   Creativity ครบ loop ของมัน นั่นหมายความว่า Performance Art มีกระบวนการคิดในเชิงศิลปะ เขาทั้งคิดงาน sketch ออกมาโดยใช้ร่างกายเป็นตัวสื่อสารกับ object กับพื้นที่ กับคนดูที่เป็น Active Participant บางครั้งไม่มีคนดูด้วยซ้ำ มีแต่คนร่วมแสดง… ต่างกันนะ”

“พัฒนาการของ Performance Art ไอเดียเริ่มจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับมหาอำนาจกลาง ยุค Futurism (ช่วงรอยต่อระหว่าง Futurism กับ Dada) มีเงื่อนไขทางสังคมที่ทำให้เราอยากคิดอะไรใหม่ๆ เพราะสงครามโลกทำให้คนต้องพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเอามาฆ่ากันเอาชนะกันเป็นความเลวร้ายของสงคราม พอสงครามเลิกไปแล้วเทคโยโลยีมีไว้ทำไม นี่ไงกระบวนการคิด การปฎิวัติอุตสาหกรรมเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาพัฒนาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อทำให้ชีวิตของคนทั่วไปหรือมนุษย์ดีขึ้น (มีรถหัวกระสุน Streamline ก็เกิดขึ้นในยุคนี้) เพราะช่วงสงครามผู้คน suffer มากนะ มนุษย์ยุคนั้นขาดแคลนอาหารถูกรุกราน ถูกทำร้ายร่างกาย กลุ่มคนที่เป็นศิลปิน นักออกแบบ คิดว่าเราต้องมองอนาคตไหม จึงเกิดกลุ่ม DADA หรือลัทธิ DADARISM ดาดาไม่มองว่าศิลปะคือจิตรกรรม ประติมากรรม เท่านั้น แต่คืออะไรก็เป็นศิลปะได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างเป็นศิลปะได้หมด ที่สำคัญกลุ่มนี้ต่อต้านสงคราม และต่อต้านกรอบเก่าต้องการทำลายขนบเดิมที่เป็นมา DADA คิดสร้างงานศิลปะที่ไม่เป็นขนบเดิม เป็นต้นกำเนิด Performance Art ที่มาจากการแสดงแบบ ‘ด้น’ นั่นเอง ”

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop
(Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

สรุปต้นกำเนิดของ DADARISM จากองค์ความรู้ตำราต่างประเทศที่ได้รับการแปลต่อกันมา (Aon Sakonpat) [5]

กลุ่ม DADA ผู้บุกเบิก Performance Art  เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มศิลปินนักเขียนและเหล่าปัญญาชนผู้ลี้ภัยทางสงครามในยุโรป เพราะพวกเขาตระหนักว่าสงครามส่งผลกระทบอย่างไรต่อกับมนุษย์ชาติ ในแนวคิดของมนุษย์นิยมที่มีต่อสงครามประณามว่า สงครามไม่ได้มีอะไรดีนอกจาก ‘มรณะ’ กับ ‘หายนะ’ การแย่งชิงอำนาจ และการสูญเสีย DADARISM เป็นกระบวนการเคลื่อนไหวทางศิลปะที่สำคัญในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่ต้องการต่อต้านสงคราม สะท้อนความเลวร้ายที่เกิดขึ้นจากผลของสงคราม ต่อต้านทุนนิยม (Capitalism) และ ด้วยเห็นว่าขนบแนวคิดที่ล้าหลังไม่ยังประโยชน์  เป็นประเด็นสำคัญ เป็นพลวัตทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยุคนั้น ต่อมากลุ่มนี้ได้โยกย้ายไปอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ โดยเฉพาะใน Zurich เป็นพื้นที่ลี้ภัยของผู้พลัดถิ่น ที่นี่มีนักเขียนชาวเยอรมัน Hugo Ball และเพื่อนของเขา Emmy Hennings เป็นนักแสดงและกวี ได้สร้างพื้นที่ศิลปะซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่าง Night Club กับ Art Center ขึ้น เพื่อให้ศิลปินสามารถแสดงงานศิลปะได้ที่นี่ Cabaret Waltaire (Zurich) เปิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1916

เมื่อสงครามรุนแรงมากขึ้นศิลปะและการแสดงออกของกลุ่มดาดาเริ่มทดลอง เริ่มต่อต้านระบบที่เป็นอยู่ และต้องการแสดงให้เห็นว่ารัฐในเวลานั้นไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป โดยการทำกิจกรรมประท้วงต่อความไร้เหตุผลที่ต้องสูญเสียชีวิต และสะท้อนถึงความน่าสะพรึงกล้วของสงคราม (สงครามที่รัฐเชิดชูว่าต้องต่อสู้เพื่อรัฐ) และคนทั่วไปไม่ได้คิดอย่างนั้น ต้องการท้าทาย ความคิด ขนบ วัฒนธรรม และศิลปะแบบเก่าให้เปิดมุมมองใหม่ ตั้งคำถามเพื่อเปิดทางใหม่ให้เกิดความแตกต่าง

 ช่วงต้นศตวรรษ 1910 ต้องการทดลองการสร้างสรรค์ศิลปะในรูปแบบใหม่ และต่อต้านแนวคิดศิลปะในยุคเก่า เพื่อพัฒนาแนวคิดใหม่ รูปแบบใหม่ งานศิลปะใหม่ๆ และต้องการตั้งคำถามต่อนิยามศิลปะในช่วงนั้นว่า “ศิลปะคืออะไร?” และวัตถุที่นำมาใช้สามารถที่จะเป็นศิลปะได้หรือไม่? ศิลปะในแนวของ DADARISM จะเป็นไปในแนวของการสร้างอารมณ์ขัน ความตะลึง งงงวย แต่ใช้กลวิธีที่ชาญฉลาดในการสร้างงานเพื่อตั้งคำถามกับผู้พบเห็น และตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของศิลปะในยุคสมัยใหม่ว่า ศิลปะมีบทบาทอย่างไรกันแน่ อยู่ในพื้นที่ไหน บริบทใดของสังคม

 ในปี 1915 แนวคิดของ DADARISM ได้แพร่ขยายไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น นิวยอร์ค ปารีส ฯลฯ ล้วนใช้อุดมการณ์นี้ ในการสร้างงาน พร้อมตั้งคำถามและต่อต้านแนวคิดที่ว่าศิลปะต้องเป็นความจริง ความงามในแบบเก่า (ประณีตศิลป์) เท่านั้นหรือไม่? ทั้งนี้เพื่อการสร้างงานรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น กลุ่มดาดาถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มหัวกบฏ ต่อมาได้รับการยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่เปิดมุมมอง แนวคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะรูปแบบใหม่ๆ ต่อศิลปินในรุ่นต่อมา เป็นกลุ่มที่ตั้งคำถามอย่างท้าทายต่อศิลปะ การเมือง ในยุคนั้น ทำให้เกิดการคิดทบทวนสิ่งที่อยู่รอบตัวเราว่า แท้จริงแล้วมันเป็นอย่างที่เราเห็นไหม บางทีมี memmory story ที่อยู่ข้างใน พูดถึงความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียม เสรีภาพ และความเป็นปัจเจกชน

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

ไทยมีการบันทึกถึงที่มาของ Performance Art ไม่มากนัก “Theatre Studies and News[6] ฯลฯ อ้างอิงหนังสือ “จากสยามเก่า สู่ ไทยใหม่” ให้บทสรุปไว้ดังนี้

Performance Art (อย่าสับสนกับคำว่า Performing Art)  "ศิลปะการแสดง",  "ศิลปะแสดงสด" หรือ "ศิลปะสื่อแสดง" คือคำที่พยายามถอดความมาจากศัพท์ศิลปะในตะวันตก คำว่า ‘performance art’ … ศิลปะที่ปรากฎในชื่อนี้เริ่มขึ้นในวงการศิลปะนานาชาติ ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1960

ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 กลายเป็นที่นิยมมากในรูปแบบกิจกรรมรวมศิลปะต่างๆ ที่นำเสนอต่อหน้าคนดูแบบสดๆ มีการรวมเอา ดนตรี นาฏศิลป์ กวี ละคร และวิดีโอ เข้ามาอยู่ในการแสดงด้วย ‘performance art’ คำนี้ยังใช้เรียกศิลปะที่เป็นการแสดงสดด้วย เช่น live art, body art, happenings, actions …

Performance  เกิดจากที่ศิลปินต้องการสื่อสารกับคนดูโดยตรง มากไปกว่าที่จิตรกรรมและประติมากรรมสามารถทำได้  ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินในสายทัศนศิลป์หลายคน เช่น John Cage (Dada artist) และ Jackson Pollock

performance art ในตอนแรก มักจะเป็นกิจกรรมในแนวคิดของกลุ่ม conceptual ซึ่งไม่มีลักษณะที่เป็น ละครเวที หรือ นาฎศิลป์ มักจะทำในแกลเลอรี่และพื้นที่สาธารณะ ความยาวของการแสดงมีตั้งแต่ไม่กี่นาทีไปจนถึงยาวนานเป็นวันๆ และมักจะทำเพียงครั้งเดียวไม่ค่อยทำซ้ำอีก

ศิลปินรุ่นที่สองเริ่มมีบทบาทในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970  โดยปฏิเสธความเคร่งครัดของศิลปะแนว conceptual ทำให้งานเริ่มไปปรากฎให้เห็นในโรงละคร และ ไนต์คลับ ในรูปของดนตรี หรือ ตลกเดี่ยว หรือบางทีก็อยู่ในรูปของวิดีโอหรือภาพยนตร์ ผลงานบางชิ้นอาจถูกเทียบเคียงหรือได้กลายเป็นนาฎลีลา ละคร หรือดนตรีแบบหัวก้าวหน้า avant-garde

ในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ได้เกิดศิลปินที่มีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมหลายคนที่ทำ performance ในลักษณะ "ผสมและข้ามสาขา (ทางศิลปะ)" คือ เก่งทั้งในสาขาการแสดงแบบ performing art และสาขา visual art เช่น Laurie Anderson, David Byrne, Ann Magnuson, Robert Wilson เป็นต้น ศิลปิน performance หลายคนทำงานทั้งแบบ performance และสร้างงานในสื่ออื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมหรือ ประติมากรรม เช่นเดียวกับศิลปินที่ทำงานจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นหลัก ก็อาจจะทำงาน performance ได้ด้วยเหมือนกัน งาน performance จึงเป็นเหมือนเครื่องมือหรือสื่ออีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการแสดงออก

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“บรรยายวันนี้ไม่ได้ให้ท่องจำนะครับ แต่เพื่อให้เอาไปคิด วิเคราะห์ แล้วทำงานของตัวเองได้

จุดเริ่มต้นของ Performance Art มันก็คือแนวคิดของการเป็นขบถ อะไรที่เคยทำมาก่อนหน้านั้นจะไม่ทำ ต้องใช้ร่างกายสื่อสารโดยตรงเลย แต่ถ้าใช้คำว่า ‘ร่างกายเราสื่อสารกับคนดู’ นั่นหมายความว่าคนดูเป็น Observer ศิลปินเป็นคนส่งสารเพียงเท่านั้น คนดูไม่ใช่ Active Participant ซึ่งสามารถเปลี่ยนบทบาทกับศิลปินก็ได้ เพราะเราไม่สามารถบังคับให้เขาเข้าใจอย่างที่เราเข้าใจได้ ทุกคนมาอ่านงานศิลปะใช้ประสบการณ์ของตัวเองทั้งนั้น ที่สำคัญที่สุดคือคนที่ไม่ได้เรียนศิลปะเข้าไปดูงานแล้วบอกดูไม่รู้เรื่อง เพราะศิลปินจงใจที่จะทำอย่างนั้น แต่จำเป็นแค่ไหนที่คนทั่วไปต้องเรียนศิลปะเพื่อเข้าใจศิลปะ จำเป็นไหม?

กลุ่มขบถขนบเก่าอย่าง DADA สนใจความที่ไม่คงทนถาวร (Impermanence-ความไม่เที่ยง) ทำไมจึงเกิดกระบวนการคิดงานลักษณะนี้ขึ้นมา เพราะงานศิลปะก่อนหน้านี้มองเห็นจับต้องได้ มัน collect ได้ ซื้อขายได้ เขาวิพากษ์ตลาดศิลปะ มองว่าศิลปะไม่ควรเป็นวัตถุของทุนนิยม หรือซื้อขายได้ วิธีคิดของดาดาเป็น Alternative ทางเลือกให้กับศิลปินในการสร้างงานที่ไม่เหมือนกับขนบก่อนหน้านี้

ต่อมามีแนวคิดว่าการดู performance ควรรับแค่ประสบการณ์ กลับบ้านไปทุกอย่างหายหมด ไม่ยอมให้แม้กระทั่งบันทึก ศิลปินห้าม document งานของตัวเอง  แล้วศิลปินเองด้วยที่ไปตามไล่ลบงานทุกอย่างที่ลอยอยู่ในอากาศบนอินเตอร์เน็ต เพื่อบอกคนดูว่า performance ของเขาคือ คุณต้องมาอยู่ด้วยกันกับเขา ณ ขณะนั้น มานั่ง นอน ดมกลิ่น มาใช้ผัสสะทั้งหมดในการที่จะเข้าถึงงานเขา ที่เหลือไม่ใช่งานเขาแล้ว เพราะในอินเตอร์เน็ตเห็นแค่ภาพ มันคือการบันทึก ไม่ใช่  Performance Art

เพราะยุคก่อนหน้านั้นถ้าเราพูดถึงศิลปะมีแค่ จิตรกรรม กับ ประติมากรรม จับต้องได้อยู่ได้นาน แต่ Performance Art สุดท้ายหายไปด้วย เพราะ ‘ศิลปะไม่จำเป็นที่จะต้องถูกแยกออกจากชีวิต’ หลังยุคสงคราม ถูกพัฒนาคู่กับ Conceptual Art[7]

สังเกตุว่าคนที่ทำงาน Conceptual บางคนก็ทำงาน Performance Art  จึงเกิดศิลปะลักษณะที่เป็นเหมือน Live Art หรือ Happening ที่เราคุ้นเคยกัน ทำไม Performance Art กับ Conceptual ถึงถูกพัฒนาควบคู่กัน? ก็เพราะ Immaterial nature (ไม่ได้ใช้วัสดุสื่อ) เพราะเริ่มต้นจากการตั้งคำถามกับศิลปะ และให้ความสำคัญกับร่างกาย ความคิด โดยไม่จำเป็นต้องผ่านจิตรกรรม ประติมากรรม

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

มีศิลปินคนหนึ่งซึ่งผมชอบงานเขามากๆ แล้วมันเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราคิดอะไรบางอย่างโดยที่ไม่เคยหยุดนิ่งเลย งานจะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ศิลปินคนนี้ชื่อ Joseph Kosuth[8]  เป็น  Conceptual Artist คนที่งานเขาแสดงมีรูปภาพฆ้อน เก้าอี้  แล้วมีคำจำกัดความจากดิคชันนารี ฆ้อนคืออะไร แล้วก็มีฆ้อนจริงวางถัดไป เขาตั้งคำถามว่า ‘ฆ้อนคืออะไร?’  ‘จริงเหรอ?’ เขาตั้งคำถามอะไร? presentation เป็นแบบนั้น ถูกนำเสนอใน gallery  คือการที่เขาตั้งคำถามว่าศิลปะคืออะไร? มันคือสิ่งที่คนให้คำจำกัดความ หรือมันคือกายภาพรูปแบบนี้ ที่คำจำกัดความนี้บอกว่ามันคืออันนี้ เรียกว่าอย่างนี้ หรือว่ามันคือฆ้อนจริงๆ นั่นแหละ

มีศิลปินชื่อดังหลายเคยใช้วิธีคิดแบบนี้ ยุคหนึ่งในอดีตเศรษฐกิจแย่มาก Walker Event ศิลปิน ได้รับเงินจากรัฐบาลอเมริกัน เขาให้คนนี้ไปถ่ายรูปชาวบ้าน ที่อยู่ตามบ้านนอกของอเมริกาแล้วมานำเสนอ ศิลปินนักถ่ายภาพคนหนึ่งไปถ่ายภาพซ้ำ Walker Event แล้วเอามานำเสนอเป็นงานของตัวเอง คิดว่าเป็นการก็อปปี้ไหม? ศิลปะเป็นอะไรก็ได้แต่ต้องมีเหตุและผล ด้วยวิธีการมองเราต้องมีความเชื่อเป็นของตัวเองไม่ใช่ของคนอื่น เขาเชื่อว่าอะไรถึงทำแบบนั้น? ใช่ต้องมองที่เจตนา แล้วเจตนาของเขาคืออะไร? วิธีคิดคือ เขาตั้งคำถามว่าอะไรคือ Original ? แล้ว Original ของงานภาพถ่ายคืออะไร? เจ้าของจริงควรจะเป็นใคร? ถ้าผมถ่ายรูปใครสักคนเจ้าของควรเป็นคนที่ถูกถ่ายไหมเพราะเป็นรูปของเขา? กล้องคือเครื่องก็อปปี้ในตัวเองอยู่แล้ว ก็อปปี้ของที่มันจริงที่สุดคือคนถูกถ่ายรูป ศิลปินท้าทายทุกอย่างโดยเฉพาะกฎหมาย แสดงถึงเกิดการขยับอยู่ตลอดเวลาว่า ‘ศิลปะคืออะไร?’

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

performance คือการสื่อสารโดยตรงซึ่งสื่ออื่นไม่ค่อยมีในยุคแรก ประเด็นส่วนใหญ่พูดถึงสังคม และตัวตน สาเหตุเพราะสงคราม ผู้คนอดอยากชีวิตยากลำบาก กระทบกับชีวิตจริงของเขา  Performance Artist ยุคแรกที่เห็นภาพชัดชื่อดังคือ Joseph Beuys[9] ที่สำคัญเขาไม่ได้คิดว่างานของเขาเป็น performance แต่ใช้คำว่า “Social Sculpture”  Social คือสังคม  Sculpture คือ body แต่ละคนมองไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าจะสร้างอะไรใหม่ขึ้นมา Performance Art เป็นคำที่เรายืมฝรั่งมาใช้ ส่วนตัวผมไม่ชอบนักเพราะมันเป็นการแสดง แต่หลายครั้งเราไม่ได้แสดง เราไม่ได้ท่องจำ เราด้นเรามีไอเดียอยู่ แต่ไอเดียเป็นเพียงภาพร่าง เรามี Space เป็นพื้นที่ว่างสำหรับการด้น การทำงานของเรา

Interaction เกิดได้ยังไง? มีคนชอบถามทำไมอาจารย์ทิมชอบ performance คำตอบคือเพราะการ React กับ Situation ที่อยู่ข้างหน้า คือการด้นนั่นเอง  ไม่ต้องท่องจำ Keyword นี้เลยคือจริงและแท้ “Audience Interaction , Improvisation and Spontaneity , Situationism , Happenings Public”

เมื่อวานตอนที่ฝึกเดินช้าแล้วน้องบอกรู้สึกไม่เป็นตัวเอง เพราะเราพยายามให้มันช้าไง แต่เราไม่ได้ช้าเพราะมันช้าแบบธรรมชาติ อย่างตอนทำ “The Garden” (Durational Performance) อาจารย์เดินจากบ้านมา 7 ชั่วโมง เกือบตาย ตะคริวกิน เท้าก็พองเป็นน้ำโดนรองเท้ากัด หน้ามันโกหกไม่ได้ คุณจะแสดงเก่งแค่ไหน หน้าก็ไม่สามารถพูดความจริงของความเจ็บปวดออกมาได้ จึงไม่จำเป็นต้องแสดง อาการมันออกมาเอง

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

ความสำคัญของพื้นที่ในบริบททางศิลปะ

Graffity ที่ย้ายพื้นที่มาโชว์ใน Gallery เป็นกราฟิตี้จริงไหม ในนิยามที่มันเริ่มต้นขึ้นมา? หรือกราฟิตี้ตอนนี้กลายเป็น Style? กับการใช้กระป๋องสเปรย์ ถ้าคุณใช้กระป๋องสเปรย์อะไรบางอย่างขึ้นมา มันกลายเป็นกราฟิตี้เลยไหม? จุดเริ่มต้นของมันมาจากชีวิตประจำวันเกี่ยวกับคน African American ที่พูดถึงเวลา โอกาส ความเสี่ยง อันตราย การทำผิดกฎหมาย คือ Mark Making การประกาศอาณาเขต ไม่สนใจเรื่องจะเป็นศิลปะศิลปิน แค่อยากทำ พอรถไฟใต้ดินเข้าไปจอดพวกนี้จัดการอย่างรวดเร็ว เพราะรถจะออกแล้วต้องรีบหนีออกมาเพราะผิดกฎหมาย มีเงื่อนไขมากมาย

จากพื้นที่สาธารณะขยับเข้ามาอยู่ในแกลเลอรี่ มันเป็นกราฟิตี้จริงไหม? เพราะในปัจจุบัน Projector ยิง ร่างก่อน ไม่ได้พูดถึงณขณะ การแก้ไขไม่ได้ การไหล การด้น เหล่านี้ยังเป็นกราฟฟิตี้ไหม? ไม่ได้มาให้คำตอบแต่ให้คิดเอง ว่าท้ายที่สุด Performance ของเราคืออะไร แล้วเราจะจัดการกับ Performance Art ของเราอย่างไร เราเรียนรู้อดีตจากปัจจุบันเพื่อจะก้าวไปสู่อนาคตได้อย่างไร Conceptual Art น่าสนใจตรงที่ทำให้เราคิด และตั้งคำถาม กับสิ่งที่มันเกิดขึ้นอยู่แล้วโดยเฉพาะ  Performance Art ก็เช่นเดียวกัน

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

ในอดีตถ้าพูดถึง Contemporary Art เราอ้างอิงอะไร ประเด็นคือใครเป็นคนแบ่งแล้วมองมุมไหน Contemporary เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว มันคือ Contemporary ของปีนี้ไหม? นั่นหมายความว่า Contemporary Art ยึดโยงอยู่กับ เวลา นั่นเอง มันขึ้นอยู่กับเรามองมุมไหน แต่ปัจจุบันนี้ใหม่กว่า ไม่ได้พูดถึงเวลาแล้ว แต่คือสิ่งที่ organic มาก เกิดได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก การแบ่งไม่แบ่ง เป็นไม่เป็นมันขึ้นอยู่กับมุมมองและการ  backup อะไรบางอย่างกับชุดความเชื่อนั้น

Futurism พูดถึงโลกอนาคตที่พัฒนามาสู่ยุค Dadarism ที่มีชุดความเชื่อว่าต้องไม่เหมือนเดิม ไม่ได้คิดว่าต้องเป็น Performance Art ต้องไม่มีตัวกลางมาเป็นตัวกลางระหว่างศิลปินกับ ‘คน’ (ไม่ใช้คำว่าคนดูด้วย) ดาดาเชื่อเรื่อง Audience Interaction นั่นหมายความว่าต้องมีบทสนทนาบางอย่างระหว่าง คนดูกับคนแสดง ดาดาเน้น Perform แต่เขาไม่คิดว่าเป็นการแสดง

Jonah Westerman นักปรัชญากล่าวว่า “Performance ไม่ใช่ศิลปะที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อสารได้ แต่คือการสื่อสารตรง ตัวต่อตัว” ตั้งคำถามเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมที่เราอยู่ บางสถานการณ์แค่ยืนเฉยๆ ก็กลายเป็นประท้วงไปแล้ว เพราะบริบทของพื้นที่ (เช่น ณ BACC ขณะนั้น และย่านธุรกิจสำคัญใกล้เคียงกลางกรุงเทพฯ) เราไม่สามารถแยกศิลปะออกจากชีวิตจริงได้ จะเห็นว่าแต่ละคนมองเรื่องเดียวกันแต่คนละมุมเลย นี่เป็นประเด็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นานมาแล้ว แต่หลายประเด็นยังอยู่จนถึงปัจจุบัน แล้วตัวเราล่ะจะทำ Performance Art ในยุคนี้เพื่อเดินทางสู่อนาคต แล้วมองเรื่องเดียวกันนี้ในมุมไหน? อย่างไร? แกนมันควรจะเป็นแบบนี้ไหม ควรจะเป็นแบบตัวคุณเอง หรือแบบไหนในอนคต?

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

กลุ่ม DADA จะใช้วิธีการด้นสดไม่มีสื่อกลาง คุยตรงๆ กับผู้ชม วิธีคิดในการสร้างงานศิลปะปราศศจากขนบเดิมอย่างสิ้นเชิง ในมุมของดาดา ‘ทุกอย่างเป็นศิลปะได้’

แต่ไม่ได้หมายความว่า ‘ทุกอย่างเป็นศิลปะได้ทั้งหมด’ งานของกลุ่ม DADA ไม่ได้เริ่มต้นที่ Public Space นะ แต่เริ่มในคาเฟ่ (Cabaret Waltaire ในเมือง Zurich ประเทสสวิสเซอร์แลนด์) การแสดงชื่อ “Machine of 3000” (1924) เป็นงานวิพากษ์สังคม ณ ขณะนั้นและอนาคต (หลังสงครามยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม) ชุดที่ใส่ก็คิดเตรียมกันมาแล้ว แต่ไม่ได้สนใจแบบขนบว่าต้องเนี๊ยบเป๊ะๆ เป็นแนว ‘ผิดคาด’ สังคมขณะนั้นและในอนาคต

งานของดาดาจะเป็นแบบอะไรก็ได้ (Satirical and nonsensical in nature) จะตลกๆ แต่ดูย้อนแย้งกันคือการวิพากษ์นั่นเอง pioneer ของกลุ่มคือ Hugo Ball ตัวพ่อเลยคนนี้ ไม่ใช่ศิลปิน Visual Artist ด้วยซ้ำไป สวมใส่เสื้อผ้าที่อยู่ในรูปแบบของ Cubist ถ้าพูดถึง Cubism เราจะคิดถึง ปิกาโซ ถูกเอามาล้อเล่นเหน็บแนม (Pablo Ruiz Picasso[10] จิตรกรเอกของโลก มีชีวิตอยู่ในช่วง 25 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 8 เมษายน ค.ศ. 1973 เป็นบุคคลที่ นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20)

Dadaism ขบถต่อคุณค่าเดิมแล้วสร้างอะไรใหม่ขึ้นมา ที่ดูธรรมดาไม่มีคุณค่า ให้กลายเป็นคุณค่าในชีวิตประจำวัน ด้วยปรัชญาที่มาจาก Nihilism (แนวคิดสูญนิยม) คือทำไปแบบไม่หวังจะได้อะไรตอบแทน มองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ศิลป์ กลับมีคุณค่าสำหรับประวัติศาสตร์ศิลป์และการขับเคลื่อนวงการศิลปะโลก  ด้วยซ้ำไป แต่เราต้องกล้าไงเพราะถ้าไม่กล้าเราก็จะอยู่ที่เดิม เหมือนคนที่ทำก่อนหน้าเรา กลุ่มดาดามีเป้าหมายทำลายคุณค่าขนบเดิม (Traditional Values) โดยเฉพาะ ‘ศิลปะ’

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

Performance Art ในมิติของการสื่อสารกับผู้ชมและสังคม

“ในประเด็นการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นเฉพาะกลุ่ม หรือกลุ่มใหญ่ผมว่าจริงๆ มันขึ้นอยู่กับตัวศิลปินเองมากกว่า แน่นอนที่สุดถ้าศิลปินแสดงงานใน Gallery Space ก็ไม่ต่างอะไรกับงานศิลปะทั่วไปที่สื่อสารผ่าน Gallery Space แต่โลกปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็น Visual Art , Performance Art หรือmedia อื่นๆ ก็ตาม ล้วนขยายขอบเขตทะลายกำแพงของ White Cube ออกมาหมดแล้ว ถ้าศิลปิน Performance ทำงานร่วมกับชุมชน ก็จะเป็นการสื่อสารที่ใหญ่ขึ้น Multiply ขึ้น (ทวีคูณ) ยกตัวอย่างเช่น มีงานชิ้นหนึ่งที่ผมเคยทำตอนเป็น Residency ให้กับ Peninsular (ทำกับโรงเรียนใน กทม. เช่น โรงเรียนวัดศรีสุวรรณ ฯลฯ ) พอเราทำงานให้กับชุมชนให้กับ Community มันจะถูกสื่อสารเป็นหลากหลายมิติ(Difference Dimention) ก็จะไปหลากมิติหลายระดับ World of mouth (การบอกเล่าแบบปากต่อปาก, การบอกต่อ, การเล่าสู่กันฟัง) ก็จะกระจายไปเอง

Performance Art ไม่จำกัด Audiences กลุ่มคนในการรับสาร เพราะมันสามารถ ‘อ่าน’ ได้อยู่แล้วไง ผมมองว่ามันสามารถ Connect กับตัวงานง่ายกว่าสื่ออื่นด้วยซ้ำไป เพียงแต่ว่าในแต่ละประเด็นที่ศิลปิน Performance แต่ละคนเอามาใช้ เขาจะเอามาใช้ในบริบทที่แตกต่าง เช่น เอาปี๊บมาใช้ ก็จะไม่ได้เอามาใช้ในลักษณะที่เป็น Containers แต่จะใช้ในบริบทอื่น ในความหมายเพื่อท้าทายการรับรู้ใหม่ของคนดู เช่น เอาปี๊บมาครอบหัว คำว่า “ปี๊บครอบหัว” โดยตัวมันเองเป็นคำเปรียบเทียบที่คนในสังคมรู้อยู่แล้วว่าหมายถึงอะไร แต่ผมว่าศิลปินส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน Performance ทัศนศิลป์ หรือสายอื่นๆ เวลาหยิบสัญญะที่มีความหมายเดิมติดอยู่ ศิลปินส่วนใหญ่ถูกฝึกให้เอามาตั้งคำถามกับสัญญะเดิมที่คนรับรู้กันอยู่แล้ว การสื่อความหมายจึงไม่ใช่ปัญหาครับ แต่เกี่ยวกับว่าตัวศิลปินเองต่างหาก ที่ตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกที่จะสื่อสารกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แค่ไหน อย่างไร

อย่างเช่นกรณีเล่นกับกระจก ถ้ามันเกิดแตกเราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนให้จบทั้งหมด เพราะอยู่ที่เรา ถ้าเราบอกว่าไม่หมดก็คือไม่หมด สมมุติกระจกแตกถ้าเหลือแต่เฟรม ถ้า Reflexion สำคัญจริงๆ ของงาน ปล่อยมันทิ้งไป เพราะไม่จำเป็นต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้ามันเป็นแค่ Concept ของ Reflexion ขึ้นอยู่กับว่า Reflexion ที่เราเอามาใช้ (กระจกที่เราเอามาใช้ ใช้ในบริบทไหน ความหมายไหน อย่างไร)มากกว่า แต่กรณีถ้ากระจกมีความสำคัญมากๆ กับงาน แตกแล้วเดินออกจบเลยก็ได้

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

เช่น การ Workshop ครั้งนี้ของเรา มันง่ายมากเลยที่จะทำ Performance Art  ใน Studio Space แต่ไม่ได้บอกว่าคนที่ทำ Performance ใน Studio งานไม่ดี ไม่ใช่นะครับ อันนั้นคือการตัดสินใจของเขา แต่ผมมองว่าอย่างน้องๆ ในคลาสพอเขาออกมาแสดงข้างนอกห้อง Studio มันพูดกับคนได้กว้างกว่า พูดกับคนดูที่อาจจะไม่ได้สนใจศิลปะได้มากกว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือคนที่ไม่ได้ตั้งใจจะมาดู Performance Art ในงานที่ชั้น 4 เขามาเห็นแล้วยืนดูถ่ายรูปมี Youtuber และ Tiktoker เอาไปเผยแพร่มากมาย มันเกิดการแลกเปลี่ยนในอีก Dimention หนึ่ง ซึ่งปกติแล้วกายภาพของตัวศิลปินไม่สามารถสื่อสารได้ อันนี้ผมมองว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจมากๆ การสื่อสาร First Hand … Second Hand จะกี่แฮนด์ก็ถูกกระจายออกไป ทำให้คนสนใจศิลปะ บางคนที่ไม่สนใจก็จะอ้างอิงอะไรบางอย่างที่เกี่ยวกับประสบกาณ์ของตัวเองก็ได้หมด อันนี้ต่างหากที่ผมมองว่าทำให้เกิด Mass Communication (การสื่อสารกับมวลชน) มากกว่า Specific Communication (การสื่อสารเฉพาะกลุ่ม) เพราะฉะนั้นมันไม่ได้อยู่ที่ Media ของศิลปะ แต่มันขึ้นอยู่กับศิลปินต่างหาก

ยกตัวอย่างเช่นศิลปินที่ทำงาน Paint ถ้า Paint ในเฟรมแล้วห้อยใน Gallery ก็จบแค่นั้น แต่ถ้าเอางานของเขาออกไปพื้นที่สาธารณะจะพูดกันคนละเรื่อง  Scale ของ Audience  คนรับสารและบริบทของพื้นที่จะคนละเรื่องเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมมองว่าสำคัญมากว่า ขึ้นอยู่กับว่าศิลปินต้องการจะสื่อสารกับใคร แม้กระทั่งคนที่ใช้ Mass Media ก็ตาม เช่น คนทำ Animation ทำ VDO ถ้าเอาไปใส่ Youtube มันกระจายเต็มไปหมดเลย ถ้าศิลปินบอกว่าไม่เอาฉันไม่อยากใส่ตรงนั้น ฉันอยากทำเป็น VDO ART แล้วฉายใน Gallery เท่านั้น มันก็จบแค่นั้นเฉพาะคนที่เข้ามาหาอย่างเดียว

เพราะการ Paint กับ Object หรืออะไรก็ตามพวกนั้นคือ Mediums เป็นตัวกลางระหว่างศิลปินกับคนดู แต่ถ้า Performance Art นี่คือศิลปินกับคนดูเจอกันเลย เพราะทุกอย่างมันเป็นภาษาหมดแล้ว (กวาดมือไปทั่วตัวหัวจรดเท้า)

Performance Artist บางคนสนใจใช้ Object ร่วมด้วย บางคนไม่สน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้มันยังไง มันทำงานร่วมกับเรายังไง ถ้าสิ่งของเลือกไม่ได้ มีอยู่จำกัดแล้วเราจะสร้างงานได้ยังไง แต่ถ้าคนดูต้องการงานสื่อสารแบบตรงไปตรงมาก็อ่านหนังสือพิมพ์ อ่านข่าว ไม่ต้องดูงานศิลปะ ขนาดละครน้ำเน่ายังมีการตั้งคำถามกับสังคมในความเป็นน้ำเน่าของชีวิตจริงเลย เขาถึงบอกไงชีวิตจริงยิ่งกว่าน้ำเน่า แต่ตัวศิลปินเองต้องการที่จะตั้งคำถามกับคนดูด้วยว่า ไม่ใช่ศิลปินถูกทั้งหมด เพียงแค่มุมมองและทัศนะของศิลปินที่ต้องการตั้งคำถามบางประเด็นกับสังคม สังคมจะต้องคิดตาม แล้วตั้งคำถามกับประเด็นที่ศิลปินสื่อสารด้วย ไม่ใช่เชื่อศิลปินอย่างเดียว

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

ทำไมหนังของฝรั่งถึงน่าสนใจ ไม่ใช่แค่มุมมองการถ่ายทำเท่านั้น แต่เนื้อเรื่อง (Story Telling) เขาตั้งคำถามผ่านภาพยนตร์ ในขณะที่ภาพยนตร์ของทางเอเชียดูแล้วเราสามารถเดาเรื่องได้หมดเลย มันทำให้คนดูเป็นแค่ observer (ผู้สังเกตการณ์) ไม่ใช่ Participant (ผู้มีส่วนร่วม) กลายเป็นศิลปินเขาแค่มาเล่าเรื่องให้ฟัง แต่ถ้าคนดูต้องการเข้าถึงงานในรูปแบบนั้นเขาควรจะอ่านข่าว ไปดูละคร เขามีทางเลือกไง ผมกลับมองว่าสิ่งที่มันจะทำให้เกิดแรงปะทะและการตั้งคำถามมากขึ้นในประเด็นต่างๆ ของศิลปิน ของงานศิลปะ ของสังคม เศรษฐกิจ ก็คือการที่ศิลปินตั้งคำถามกับคนดู แล้วให้คนดูไปตีความหรือไปหาข้อสรุปได้ด้วยตนเอง

ในเชิงทฤษฎีมีหนังสือเก่าของฝรั่งนานมากสมัยผมเรียนปริญญาโทจำชื่อคนเขียนไม่ได้ “The Death of the Author (Roland Barthes)” พูดถึงวงการศิลปะรวมไปถึงวงการเขียน นักเขียน ศิลปิน เวลาที่เราเขียนอะไรบางอย่าง เราไม่สามารถบังคับให้คนอ่าน หรือคนดู เข้าใจ 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนที่เราเขียนได้ เพราะคนดูกับคนอ่าน เอาประสบการณ์ของเขามาแปลตัวหนังสือ แปล Visual Language ที่เราถ่ายทอด ภาษาเองก็ตามมันดิ้นได้ สุดท้ายภาษาก็คือสัญลักษณ์ หรือสัญญะรูปแบบหนึ่งนั่นเอง เช่น (ยกนิ้วโป้ง) อาจแปลว่า like ชอบ เกลียด เห็นไหม Double Meaning ถ้าเราเรียนดำน้ำสัญลักษณ์แบบนี้แปลว่าอากาศกำลังจะหมด ต้องขึ้นข้างบนแล้ว และนี่คือความน่าสนใจของภาษา

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

เช่นเดียวกับภาษาก็เหมือนกัน กฎหมายเขายังบอกเลย ‘ขึ้นอยู่กับการตีความ’ ก็ในเมื่อเราไม่สามารถไปบังคับคนอ่าน คนมาดูงานศิลปะเข้าใจอย่างที่เราต้องการจะสื่อสารได้ เลยเกิดกระบวนการคิดที่ว่า แล้วทำไมเราไม่ให้คุณดู คนอ่านกลายเป็นส่วนหนึ่งในงานศิลปะของเราแล้ว หนังสือ “The Death of the Author (Roland Barthes)” เป็นการจุดประกายกลุ่มศิลปินยุคหลังสมัยใหม่ในกระบวนการคิดที่ว่า ‘เอาคนดูมาเป็นส่วนหนึ่งของงานเราเลย’ ก็ในเมื่อบังคับเขาไม่ได้ แล้วเราไม่ควรบังคับเขาด้วย ถูกไหม? ความงดงามของศิลปะคือการที่คนดู คนอ่าน มาเป็นส่วนหนึ่งของงานเรา เขาอาจจะไม่คิดว่ามันเป็นศิลปะก็ได้ เป็นการใช้สัญญะแล้วยอกย้อนให้คุณคิด หรือแม้กระทั่งในลัทธิเต๋าหรือเซ็น เราอ่านคำที่ง่ายๆ เสร็จแล้วรู้เลยว่า คำที่เราอ่านไม่ได้มีความหมายจริงตรงตามที่เห็นแบบนั้น มันกระตุ้นให้เราคิดตาม

อีกตัวอย่างที่ผมใช้สอนหนังสือบ่อยมากสมัยอยู่อเมริกา เขาเล่นกับคำ “Easy is right. Begin right and you are easy. Continue easy and you are right. The right way to go easy is to forget the right way, and forget that the going is easy”  (ถ้าจะทำให้ถูกก็ต้องเข้าใจว่ามันไม่มีอะไรง่าย โดย Zhuangzi ) คำง่ายๆ แต่พอเราอ่านเสร็จ มันไม่ได้บอกว่าทุกอย่างง่ายนะ มันกลับยอกย้อนคืนกลับมาอีกที ท้ายที่สุดแล้วถ้าคุณคิดว่าทุกอย่างง่าย คุณก็ต้องเริ่มให้มันถูกต้อง เพราะว่ามันไม่มีอะไรง่าย เขาเล่นกับคำว่า Easy นี่แหละ ไม่ใช่แค่  Performance ศิลปะทุกแขนงมันพูดถึงประเด็นเดียวกัน

ผมไม่สามารถพูดแทนคนอื่นได้ แต่วิธีการคิดและการทำงานของผมคือ เราควรจะต้องออกไปข้างนอก การประชาสัมพันธ์เป็นแค่หนึ่งในหลายปัจจัยที่เป็นตัวช่วย แต่ท้ายที่สุดถ้าเราประชาสัมพันธ์แต่ยังแสดงใน White Cube กล่องสี่เหลี่ยม แล้วมันก็ยังจำกัดอยู่ดี แต่ถ้าเราเอางานออกไปข้างนอกมันไม่จำกัดแล้ว

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

ตอน Bangkok Art Biennale 2018 ผมเริ่มแสดงงานด้วยการเดินมาจากบ้าน (ผลงานชื่อ “THE GARDEN” มีกล้องตามติดแบบ Real และ Live)[11] คิดดูว่าคนเห็นงานผมเท่าไหร่ Live  มีคนตามใน Facebook อีกเท่าไหร่ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการ Documentation แต่เป็นการเชื่อมโยงกับ Community ที่มันกว้างมากกว่าเรา เราเป็นแค่ส่วนเล็กๆ เท่านั้น แต่ถ้าในส่วนของงาน Performance การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่แก่นของ  Performance Art หรือศิลปะ แต่มันจำเป็นในลักษณะของการ Communication หรือ Documentation เพื่อการบันทึกเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อเรียกแขก แต่ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สามารถสื่อสารกับสังคมด้วย Performance Art ด้วยตัวมันเอง ถ้าในกรณีงานประชาสัมพันธ์ การผลิตสื่อ โปสเตอร์ สปอตวิทยุ ทีวี มันคือการประชาสัมพันธ์งาน มันแค่สื่อสารเรียกแขกมาดู แค่การจัดการเหมือนเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน มันคือการโฆษณาซึ่งต้องมี ตัวงานแสดงต่างหากที่ต้องออกไปสร้างแรงปะทะกับคนจริงๆ

เพราะฉะนั้นสำหรับผม  Performance Art จะต้องไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มคนที่สนใจ Performance Art หรือ Visual Art เพียงเท่านั้น เราต้องเอางานของเราออกไปข้างนอกโดย 1. Mass Media ต่างๆ  2. Performance ควรจะเกิดขึ้นด้านนอกสถาบันทางศิลปะไหม ผมสนใจที่จะทำงานร่วมกับชุมชน ในกระบวนการการทำงานของผม ผมไม่ได้แบ่งการเตรียมงาน เพราะการเตรียมงานก็คือการทำงานสำหรับผม เช่นผมอาจไปทำกิจกรรมอะไรก็ได้กับชุมชน …ถ้าไม่ก่อน Perform ก็จะเป็นระหว่าง  Perform หรือหลัง  Perform แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ เราเป็นศิลปินจะต้องสามารถทำได้ทั้งในพื้นที่ปิด และพื้นที่ Art Institution หรือพื้นที่สาธารณะด้วย เสร็จแล้วพื้นที่ตรงนั้นมันก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Performance หรือผมเอา Performance Art ไปทำกับชุมชนในทุกขั้นตอนเลย งานของผมจึงไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ใน Art Space”

 

“The Gardener”[12] By Taweesak Molsawat: Duration 22 days
As a part of 8 long duration performances titled “A Possible Island” curated by Marina Abramovic Institute (MAI) for Bangkok Art Biennale 2018 @ BACC
Photo : FB
Taweesak Molsawat

 

“Body Politic: Cultural, Social and Political Masturbation?”
Performance by Taweesak Molsawat, Duration 2:40 hours
ASIATOPIA : International Performance Art Festival 22:2020
@ BACC Photo : Preecha Pattara

 

อบรมเชิงปฏิบัติการ  กับงานถอดบทเรียน

“จากการ Workshop ประเด็นคือไม่มีธงว่าเราทำอะไร ต้องได้อะไร แต่ลึกๆ จริงๆ ผมมีหมดแหละ นั่นหมายความว่าไม่ตั้งธงว่าแต่ละคนจะต้องได้เหมือนกัน เป้าหมายมี เพราะถ้าไม่มีเป้าหมายผมจะทำตารางสอนไม่ได้  เนื้อหาที่จะเรียนในแต่ละวัน Workshop ที่เขาจะต้องมีประสบการณ์ในแต่ละครั้งมันถูกออกแบบมาหมดแล้ว เพียงแต่ว่าศิลปินมีวิธีการสื่อสารวิธีจัดการที่แตกต่างกัน เราในฐานะคนทำงานหรืออาจารย์ต้องเปิดโอกาสให้เขาเป็นตัวของตัวเองด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นจากการทำ  Workshop แล้วผมดีใจมากๆ  ที่แต่ละคนได้ก็คือ เขาได้กระบวนการคิด การตั้งคำถาม จากสิ่งที่มีประสบการณ์ร่วมกันระหว่าง Workshop ซึ่งสามารถเอาไปต่อยอดได้อีก ทุก Section ที่ทำ  Workshop เราจะนั่งถกกันในทุกอย่างที่เราทำ มันทำให้เกิดปัญญาเกิดกระบวนการคิดที่แต่ละคนมองเรื่องเดียวกันในวิถีที่แตกต่างกัน เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยน กระบวนการวิพากษ์ (Criticism) การติเพื่อก่อ ไม่มีผิดไม่มีถูก ซึ่งบ้านเราไม่มี ไม่ชอบเอามาใช้

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“วันแรกขณะ Workshop เราให้น้องใส่กุญแจมือมัดติดกันสองคน มีโอดโอยขอร้องให้แกะออกจะทนไม่ไหวแล้ว เพราะมันนานจนเขารู้สึกอึดอัด หงุดหงิดตั้งคำถามทำไมต้องมัดอยากให้อาจารย์อธิบาย เราบอกเอาออกไม่ได้คุณจะได้คำตอบเอง มันอยู่ในนั้นน่ะในสิ่งที่คุณกำลังเป็น แต่วันที่สองน้องก็ยังมาเต็มวันทั้งที่รู้ว่าวันสุดท้ายไม่สามารถอยู่ร่วมแสดงจนจบงานได้ (ติดธุระตามที่แจ้งไว้ก่อน) แล้วน้องก็เข้าใจกันว่า Performance Art คือคุณต้องไปอยู่ในสภาวะนั้นจริงๆ รู้สึกอึดอัดจริง อาจารย์เก่งคนสอนก็ดีใจที่มีคำถาม บอกให้กลับไปคิดดูเองนะ นี่คือประเด็น เราอยากให้คุณได้ประสบการณ์ First Hand แล้วน้องก็ได้รับคำตอบด้วยตัวเอง น้องสามคนที่มาจาก Theatre บอกว่าได้มุมมองที่แตกต่างเยอะมาก

ไม่ได้ให้ดูเพื่อจำ แต่ดูเพื่อเข้าใจ สนใจงานใครให้ไปหาความรู้ต่อเพื่อพัฒนา เราเรียนประวัติศาสตร์แบบท่องจำ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกสอนให้วิเคราะห์  ที่น่าเสียดายกว่านั้นคือ เราไม่เอาองค์ความรู้จากการวิเคราะห์มาใช้ใน Studio Practice ด้วยซ้ำไป เหมือนแยกเรียน ประวัติศาสตร์ศิลป์ ทฤษฎี และ Studio ที่อเมริกาไม่สนใจเรื่อง Media แต่เขาสนใจเรื่องกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ การแบ่งภาควิชาบางแห่งบ้านเราเอาวัสดุเป็นตัวตั้ง แต่ของเขานานแล้วนะประมาณช่วงปี  1995 มีวิธีการเรียนแบบ Interdisciplinary เรียน Design, Craft, Fine Art รวมกันหมดเลย เวลา Present ก็มานั่งถกกัน ไม่สนใจว่าใครทำงานดีไหม เป็นหน้าที่ของพวกคุณที่จะต้องตั้งใจทำให้มันดีขึ้น คำว่า ‘ดี’ ขึ้นอยู่กับเจ้าของงาน อยู่ที่ใครมองงานลักษณะไหน อย่างไร ไม่ได้เอา Crafts manship เป็นตัวตั้งต้น แต่เอากระบวนการ วิธีคิด เป็นตัวเริ่มต้น ทุกอย่างถึงจะขยับจากพื้นที่เดิมได้

ในการบรรยายผมย้ำเสมอว่าอย่ายึดตรงนี้เป็นธง เป็นคัมภีร์ ว่ามันต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น ไม่ใช่นะ แต่เรามาแลกเปลี่ยนกันมาเรียนรู้ว่า มันมีคนทำอะไรแล้วบ้าง เราจะไปต่อยอด ไปตั้งคำถามกับสิ่งที่คนอื่นทำในประเด็นคล้ายๆ กับเราไหม ไม่ได้ให้มาท่องจำ ให้คิดแล้วพาภาษาของตัวเองไปสู่อนาคต” Workshop ไม่ได้จะมาให้คำตอบว่า Performance Art คืออะไร งานที่แตกต่างคนส่วนใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยอาจคิดว่ามันไม่ดีก็ได้ ท้ายสุดคำว่า Creativity ต้องไม่เหมือนกันถูกไหม ถ้าเหมือนก็ไม่รู้จะทำไปทำไม”

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“หลายคนมาจาก Theatre  ซึ่งจะมีวิธีทำ Performing Art อย่างหนึ่ง พอเขามาทำ Performance Art มันคนละวิธีคิด เขาก็จะตั้งคำถามในความต่างแต่ท้ายที่สุดเขาก็เข้าใจว่า มันสามารถ Support ซึ่งกันและกันได้นะ แม้มีอะไรบางอย่างที่แตกต่างกัน Performance Art คือ เราเป็นศิลปินทุกอย่างเริ่มต้นจากในหัวเรา ประเด็นที่เราสนใจ กลยุทธในการจัดการการสื่อสารเราเขียนทุกอย่างด้วยตัวเอง เราตั้งคำถามกับใครหรือบางอย่างด้วยตัวเราเอง เราไม่ได้ไปสวมบทของใครคนใดคนหนึ่งที่คนอื่นเขาเขียนให้ เพราะ Performance Art คิดแบบศิลปิน Performing Art ส่วนใหญ่ต้องมี Stage คนแสดงต้องไปแสดงบทบาทของคนอื่นที่คนอื่นคิดมา ปัจจุบันมีคนทำงาน  Performing Art และ Theatre ขยับมาทำงานที่เป็นศิลปะมากขึ้น (เอา Performance Art ผสมกับ Performing) ถ้า Performing Art ตั้งคำถามกับสังคมและการจัดการทางศิลปะสำหรับผมมันคือ ‘งานศิลปะ’ หรือ Performing Art

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้จาก Workshop แน่นอนคือความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ การจัดการตัวเอง การเล่นกับเวลา เล่นกับพื้นที่ เรื่องการด้น(ขณะแสดง) ฯลฯ ประเด็นต่างๆ รายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน Performance Art ผมการันตีว่าภายในระยะเวลา 2 วัน น้องได้ไปมากกว่าคนที่เรียนเป็น Semester เลยด้วยซ้ำไป (ภาคเรียนครึ่งปี ในแต่ละพื้นที่มีระยะเวลาไม่เท่ากัน)

น้องเขาให้ความสนใจกับสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกันมาก แล้วเขาสู้มากๆ ตลอดเวลา 2 วัน ที่ Worshop ใน section ตอนบ่ายที่ออกมาปฏิบัตินอกห้องเรียน (บริเวณภายในและด้านหน้าหอศิลป์ BACC) รวมใช้เวลาถึง 3-4 ชั่วโมง กว่าจะเสร็จในแต่ละวัน ทุกคนสู้ไม่ยอมถอย ที่สุดเขาก็เข้าใจในอะไรบางอย่าง ทั้งเวลา จะจัดการยังไงเมื่อออกไปเจอคนไม่รู้จัก ที่อาจจะไม่ได้สนใจว่าคุณเป็นศิลปินหรือไม่เป็นศิลปิน สิ่งที่กำลังทำเป็นศิลปะหรือไม่ใช่ศิลปะ เราสนใจแต่ว่าจะจัดการกับสถานการณ์ตรงหน้านั้นยังไง มันคือการจัดการกับตัวเองครับ”

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

สรุปบทเรียนวันที่ 5 ตุลาคม 2566 Collective Performance / อ.ทิม ทวีศักดิ์

“ภาพรวมทั้งหมดเหมือนอยู่ในจังหวะเดียวกันหมดเลย ดูแบนทั้งๆ ที่ทุกคนทำแตกต่างกันนะ ส่วนหนึ่งที่มีผลมากๆ เลยคือ พื้นที่ภายในห้องนี้ แต่พอออกไปข้างนอก กับลงชั้นล่าง เงื่อนไขทุกอย่างมันคนละเรื่องเลย พื้นที่สูงต่ำมีพลังบางอย่างผลักกันไปมา คุณจอน วิชชุกร ตั้งไพบูลย์ ผู้จัดการโครงการฯ เสริมว่า ‘เป็นเพราะนอกห้องมีจุดเร้าจากสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยสร้างมิติให้กับงานได้มากขึ้น มีจังหวะที่สร้างบทสนทนาระหว่างกัน ทุกคนเป็นอิสระต่อกัน และมีส่วนร่วมระหว่างกัน’

งานปีนี้มี slogan ว่า “To Be or Not To Be”  กว้างมากเป็นอะไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราสนใจประเด็นไหนอย่างไร หรือเรามองความหมายของคำว่า Collective ในความหมายหรือนัยยะ อะไร อย่างไร Collective สามารถเริ่มต้นจากจุดเดียวกันแล้วกระจายออกไป บางกลุ่มทำงานรวมกัน กระจายออกไปแล้วกลับมาเชื่อมรอยต่อเข้าด้วยกันก็ได้ มีหนุ่มน้อยท่าทาง nerd นั่ง sketch ผลงานงานพวกเราวันนี้เขาให้ความเห็นจริงจังว่า ‘ผมชอบมากเลยแต่ละคนมีภาษาของตัวเอง สุดท้ายมีอะไรบางอย่างที่มันทำให้มีการเชื่อมจุดของแต่ละคนเข้าด้วยกัน’ สำหรับเราสองวันมันสั้นมาก มาเจอกันเพื่อจุดประกาย จะไปไหนในอนาคตอยู่ที่พวกเราทั้งหมด

เมื่อวานกับวันนี้ที่เอาหลายอย่างมาให้ดู หวังว่ามันจะไปสะกิดต่อมสงสัยให้ตั้งคำถามบ้างนะครับ อย่าเชื่อทุกอย่างที่อาจารย์พูดยกเว้นเรื่องความปลอดภัย ถ้าเชื่อทุกอย่างมันคือความเชื่อของอาจารย์ไม่ใช่ของพวกเรา นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ใครจะไปทางไหนก็ขอให้มีภาษาที่เป็นของตัวเอง งานวันนี้ผมประทับใจมาก เห็นถึงความมุ่งมั่นมาก สู้มาก ของพวกเราทุกคน ไม่มีใครยอมแพ้ ไม่อยากบอกว่ามันคือ Key ของการประสบความสำเร็จ เพราะ ‘ความสำเร็จ’ คืออะไรยังไม่รู้เลย ความหมายคำคำนี้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้าได้ทำเต็มที่แล้วก็ให้ภูมิใจกับสิ่งที่เราทำ เรื่องจริงที่อยากบอกคือ ใครจะทำ Performance ต่อไป ต้องคิดให้ดีทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบนะครับ

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop     (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop     (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

ลักษณะเฉพาะของ Performance Art : Durational Performance

“Performance Art ส่วนใหญ่เรา จะไม่ซ้อมแต่เป็นการเตรียมงานคร่าวๆ แล้วไปด้นหน้างาน ให้ body มันพูด ให้ภาษามันพูด ให้ object มันพูด เพราะเราคิดในลักษณะที่เป็นงานศิลปะเหมือน Visual Art ว่าเราจะสื่อสารยังไงแต่ใช้ Body Language เป็นหลักมารินา (Marina Abramović งานชิ้นที่นั่งจ้องหน้านานๆ “The Artist is Present” (2010) ใช้ร่างกายท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์)[13] ซ้อมแต่ไม่ได้ซ้อมแบบท่องจำ (เพราะถ้าใช้คำว่า ‘ซ้อม’ เป็นการท่องจำ มันท่องจำไม่ได้ไง) เธอทำความเข้าใจมากกว่า เพราะหลายอย่างมันซ้อมไม่ได้ เป็นการเตรียมตัว เอาจริงๆ เป็นการด้นด้วยนะ สมมุติเราวางแผนแต่พอทำไปแล้วมันผิดแผน เกิดอะไรบางอย่างที่แตกต่างแต่เกิด Impact มากกว่าเราก็เปลี่ยน การเปลี่ยนก็คือการด้น ณ หน้างานนั่นเอง 

เราต้องเรียนรู้เรื่องการกินอาหารการอดอาหารระหว่างการแสดงด้วยนะ ต้องอดอาหารเป็นเวลา 3 เดือน อย่างมี Pattern ไม่ใช่อดติดต่อกัน 3 เดือนรวดเดียว เช่น อดอาหาร 8 ชั่วโมงต่อวัน  ตามเวลาเปิดทำการของสถานที่จัดแสดง ช่วง Perform จะกินอาหารกี่โมงก่อนหรือหลังการแสดง อาจารย์ว่าเธอต้องมีที่ปรึกษา เป็นการศึกษา วางแผน เตรียมการ Nutrition พอได้เวลาอาหารจะมีบางจังหวะที่หิวมาก พอเลยช่วงนี้ไปก็จะไม่หิว แต่สักพักจะกลับมาหิวอีกเพราะร่างกายไม่ไหว เป็นการเตรียมการแบบปลายเปิด มีกระบวนการนะครับ แต่ละคนทำงานไม่เหมือนกัน บางคนให้ความสำคัญกับการซ้อม เพื่อให้ร่างกายเกิดการจดจำ แต่ไม่ใช่จดจำในแบบที่เป็น Pattern ให้เป็นธรรมชาติก็มี” (เพื่อใช้กับการแสดงแบบ Duration)

“การแสดงแบบ Duration (Durational Performance) และ Long  Duration มารินา (Marina Abramović) Performance Artist ชาวยูโกสลาเวีย (หรือ เซอร์เบียในปัจจุบัน แต่อยู่อาศัยและทำงานในสหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัล Golden Lion สำหรับศิลปินที่ดีที่สุดที่ Venice Biennale ในปี 1997)[14] เธอทำ 8 ชั่วโมง 3 เดือน ผมทำ 8-9 ชั่วโมง 1 เดือน ทุกวัน หรือ เท็ชชิง เซย์ (Tehching Hsieh Performance Artist ศิลปินชาวไต้หวันที่มารินาเรียกขานเขาว่า ‘The Master’)[15] ทำงานชิ้นละ 1 ปี แบบไม่หยุดพัก จริงๆ แล้ว Performance Art ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานนานขนาดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวศิลปิน แต่ศิลปินที่ทำ Duration คือคนที่สนใจเรื่อง เวลา (Time) คนปัจจุบันนี้อย่าว่าแต่ Duration เลย เราเคยนั่งนิ่งๆ กับตัวเองไหมสัก 5 นาที?  ไม่ได้!  มีโทรศัพท์เราต้องปัดมือถือต้องยุ่งอยู่ตลอดเวลา ต้องเร่งรีบ การที่เราสามารถจัดการตัวเองได้ จัดการกับวิธีคิดของเราได้ เราสามารถตัดเวลาออกจากชีวิตของเราได้ นั่นคือการที่เราอยู่กับตัวของเราเอง ถ้าเราอยู่กับตัวเอง เข้าใจตัวเอง จัดการกับตัวเราเองได้  เราสามารถจัดการทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ได้”

 

“The Gardener” By Taweesak Molsawat: Duration 22 days
As a part of 8 long duration performances titled “A Possible Island” curated by Marina Abramovic Institute (MAI) for Bangkok Art Biennale 2018 at Bangkok Art & Culture Centre (BACC), Bangkok, Thailand. / Photo : FB
Taweesak Molsawat

 

“ตอนที่ผมไปทำ Workshop กับทีมของมารินา  4 วันไม่ได้กินอะไรเลย ต้องฝึกจากร่างกายเพื่อเข้าใจร่างกายและจิตใจของตัวเอง ในชีวิตปกติคนหิวต้องกิน หิวกิน หิวกิน แต่ร่างกายมนุษย์สามารถเอาชนะความหิวได้ เราสามารถรับรู้ร่างกายกับจิตใจของเราได้ แล้วเราสามารถจัดการความรู้สึกตรงนั้นได้ (คือเหตุผลที่ทำไมต้องฝึกการอด เพื่อควบคุมร่ายการและจิตใจให้ได้) ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับกระบวนการปฏิบัติธรรม แล้วมารินาสนใจการปฏิบัติธรรมทางพุทธมาก ไปธิเบตสนใจการจัดการกับตัวเองที่เป็น Primitive เช่น ไปอยู่กับ Aborigine ชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลีย ไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติเข้าใจตัวเอง

มีการฝึกเดินช้ามาก เดินให้ช้าที่สุดเท่าที่จะช้าได้ จนกระทั่งรู้สึกว่าเราไม่เดิน แต่เรายังเดินอยู่ คล้ายกับเดินจงกรมเลย แต่ Practice ของมารินายิ่งช้ากว่าเดินจงกรมเยอะ (จงกรมคืออยู่กับปัจจุบัน ในระยะ (Phase) และในจังหวะที่สม่ำเสมอ) เพื่อเราจะหยุดเวลาไว้ ทำให้จิตใจเรารับรู้ว่าเราเดินแบบไม่ได้เดิน ในขณะที่เรายังเดินอยู่นะ (Super Slowmotion) ทุกอย่างมีที่มาที่ไป แต่ท้ายที่สุดมันจะย้อนกลับมาอยู่ที่ตัวของศิลปิน ตัวของผู้ฝึกฝนเอง”

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“ลองจินตนาการดู ว่าเราต้องแสดงในห้องพื้นที่ทางศิลปะ หรือแสดงข้างนอกวันหนึ่ง 8 ชั่วโมง คนดูเดินมาถึง ถ่ายรูป น่ารัก กลับบ้าน เราจะจัดการกับคนที่เดินมาเดินไป ไม่ได้สนใจกับศิลปะเราเท่าไหร่อย่างไร? เพราะเราไม่รู้ว่าคนดูจะจัดการกับเรายังไง การจัดการแบบไม่สนใจคนดูก็คือการจัดการนะ (เพราะไม่จำเป็นต้องทำอะไร) แต่เราต้องจัดการกับเวลาออกมาให้ได้ จนเราไม่รู้สึกว่าเวลามันอยู่กับเรา เราจัดการกับตัวเรา กับปรากฏการณ์ตรงหน้า หรือที่เราแสดงในพื้นที่สาธารณะ ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างคนดูกับตัวศิลปิน เราจะเล่นกับเขายังไง เราจะ response กับเขายังไง การไม่จัดการคือการจัดการอย่างหนึ่ง ที่ศิลปินได้ตัดสินใจลงไปแล้ว

มี Performance Artist ที่ไม่สนใจคนดู แสดงด้วยตัวเองแล้วก็จบตรงนั้น ในเมื่อเลือกที่จะทำอย่างนั้นก็เป็นสิทธิ์ของเขา แต่ถ้าเราแสดงในพื้นที่สาธารณะ คนดูคือเงื่อนไขที่ต้องจัดการ เพราะว่าเราก็ยังเป็นมนุษย์ มีคนมองเราก็รู้ตัวว่ามีคนมอง ‘ถูกดู’ แล้วนะ เราจะจัดการกับสายตาเหล่านั้นอย่างไร ไม่ได้พูดเรื่องกายภาพด้วยนะ เขาอาจเป็นผู้แสดงแล้วเรากลายเป็นวัตถุก็ได้ เปลี่ยนบทบาทกันยังได้เลย

คือศิลปะมันอยู่ตรงนั้นแหละ เพราะในขณะที่เราคุยกัน คนดูรับสาร ศิลปินส่งสาร - ศิลปินรับสาร คนดูส่งสาร เป็นขณะที่ศิลปะหายไป เราอาจสรุปโดยตัดคำว่าศิลปะออกได้ด้วยซ้ำไป พอบทสนทนาเกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องมีศิลปะไหมล่ะ ศิลปะแค่เป็นตัวกลางแล้วมันก็หายไปจากการพูดคุยแล้วไง เช่นเดียวกับเราอ่านงานเขียน พอเราอ่านเสร็จตัวหนังสือสำคัญไหม นักเขียนส่งสารมาถึงคนอ่านเรียบร้อย แล้วเราก็ตั้งคำถามแค่นั้นพอ ตัวอักษรจะสละสลวยยังไงไม่เกี่ยวเป็นแค่ตัวกลางหมด ถ้ามองในมุมของศิลปะ ศิลปะเป็นแค่ตัวกลางในการสื่อสาร (ว่าได้รับอะไร คิดยังไง) แต่ในโลกของความเป็นจริง กระบวนการ Art Maketing เขาก็ต้องการอะไรที่มันจับต้องได้ ถือครองได้ เลยมองศิลปะเป็นเหมือนสินค้าที่จับต้องได้เท่านั้น”

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop
(Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

เศรษฐกิจสัมพันธ์สร้างสรรค์ผลงาน

“การทำงานจำเป็นต้องมองหลายมุม ถ้าเราให้ลูกศิษย์หรือคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่นักศึกษามาช่วย แม้จะบอกว่า ‘อาจารย์หนูทำฟรี’ ไม่ได้ มันไม่แฟร์ ทุกอย่างมีค่าใช้จ่าย อย่างลูกศิษย์ผมที่มานำโยคะก่อนเข้าเรียน เป็นครูโยคะมืออาชีพด้วยนะ เปิดสตูดิโอสอนโยคะ ขอมาช่วยหน่อยอาจารย์มีตังค์ให้คิดเท่าไหร่ว่ามา แต่ถ้าเป็นราคาแบบทำกับข้างนอกเต็มที่อาจารย์ก็ไม่มีให้นะ เขาก็เข้าใจเพราะเรียนศิลปะมา ต้องเปลี่ยนวิธีคิด เพราะทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยเงินมีต้นทุน เราเป็นศิลปินขอใครก็ไม่ได้หรอก ผมเองทำงาน Performance Art นี่ไม่มีรายได้นะแล้วไงล่ะ ผมต้องกินพ่อแม่ครอบครัวก็ต้องเลี้ยงดู ผมอยากให้ Ecology ของศิลปะทั้งหมดมันครบ Loop ให้อยู่ได้ Organizer อยู่ได้ คนดูได้อะไรบางอย่างไป เราอาจจะไม่รวยแต่ต้องไม่ Struggle ต่อการใช้ชีวิต ตรงนี้สำคัญมาก

ทุกวันนี้ผมยัง Struggle อยู่ แต่ยังสามารถบริหารจัดการชีวิตได้ การร่วมงานถึงต้องชัดเจนให้แน่ใจว่าช่วยกันได้ไหม ช่วยไม่ได้ก็หาคนใหม่ ส่วนงานสอนก็มีรายได้น้อยมากเพราะผมไม่ใช่อาจารย์ประจำ ที่เป็นอาจารย์ประจำเองก็เงินเดือนน้อยนะ เมื่อก่อนรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการทำวิจัย การสอนที่เป็นอาจารย์ประจำ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจไม่ดี 8 ปี ที่ผ่านมาเรามีการใช้เงินไปเยอะมากกับหลายนโยบาย ทั้งกับการวิจัยไทยแลนด์ 4.0[16] (โมเดลพัฒนา เศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) หรืออะไรก็แล้วแต่ซึ่งมันไม่ได้ผล มีผลกระทบมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดงบประมาณวิจัยด้านศิลปะและการออกแบบ ผมเองก็ใช่จะมีชีวิตที่ดีนะ เปรียบยังหาเช้ากินค่ำอยู่เลยครับ มันจะดีมากถ้าเราทำงานนี้แล้วมีรายได้เข้ามา เราไม่ปฏิเสธรายได้ แต่บางทีสิ่งที่เราทำกับรายได้มันไม่สัมพันธ์กัน ทั้งที่ผลงานคือคนเรียนได้เติบโตพัฒนาต่อเนื่อง”

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop     (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop (Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Light as a Feather”

พิชชาภา หวังประเสริฐกุล (น้ำอุ่น) จากนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Performance Artist ที่เพิ่งสร้างสรรค์งานผ่านมาเพียง 3 ปี แต่มีผลงานเด่นเป็นที่จับตามอง ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ กราฟิกดีไซน์เนอร์ , นักออกแบบปกหนังสือ, ครีเอทีฟบริษัทโฆษณา และเป็นสมาชิกของกลุ่ม Spring Movement (เคลื่อนไหวในกิจกรรมการเมือง มีสโลแกน “ปิตาธิปไตยจงฉิบหาย ความเป็นธรรมหลากหลายจงเจริญ”) น้ำอุ่น ได้เริ่มเรียนรู้ศาสตร์ Performance Art ครั้งแรกขณะอายุ 19 ปี เมื่อถูกเลือกให้เป็น Facilitator (ผู้อำนวยความสะดวกงานนิทรรศการ) ในโครงการศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ “Bangkok Art Biennale 2018” ครั้งที่ 1

ปี 2561 คือการค้นพบครั้งสำคัญ แล้ว ‘โอกาส’ ก็ได้เปลี่ยนบทบาทจาก ‘DEK BAB’ สู่การเป็นศิลปินที่สร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง นับจากก้าวแรกที่มอบตัวเป็นศิษย์ อาจารย์ทิม (ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์) ในโครงการ “From PM2.5 to Zero' Digital Roadshow” ที่พูดถึงมลพิษทางอากาศในประเทศไทย จากการ Workshop (Durational Performance) 4 วัน ด้วยกระบวนการ “Body Politic: Out of  Picture” ออกมาเป็นผลงานการแสดง “KING OF THE PLAYGROUND” ครั้งนั้นอาจารย์ทิมนำนักแสดง 5 คน โชว์ผลงานการแสดงใหม่ 5 ชิ้น ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเปิดตัวและจัดแสดงในงาน “Galleries Night BKK 2020” เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563/2020 ที่ Bridge Art Space โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา และสร้างช่องทาง ทางเลือกสำหรับศิลปินการแสดงรุ่นใหม่ ในขณะเดียวกันก็สร้างความตระหนักรู้ในศิลปะการแสดงที่ต่อเนื่องยาวนานในประเทศไทย

 

“KING OF THE PLAYGROUND”  : Galleries Night BKK 2020 “ From PM2.5 to Zero'    Digital Roadshow”  @ Bridge Art Space / Photo : Pheranat Lorwongkamol

 


BREATH, BREATHING, BREATHE” :  “From PM2.5 to 0' Digital Roadshow” @ BACC  Photo :  Pheranat Lorwongkamol

 

และอีกครั้งเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2563/2020 เรื่อง “BREATH, BREATHING, BREATHE” (ต่อยอดจากแคมเปญ “From PM2.5 to 0' Digital Roadshow”) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ล่าสุดผลงานของปีนี้ 2566/2023 ในเวทีเดียวกับอาจารย์ ด้วยผลงานเดี่ยวที่โดดเด่นอีกเช่นเคย “Light as a Feather” กับการแสดงที่งดงามตามความคิดที่ถูกออกแบบ พัฒนา ต่อยอดมาจากการค้นหาตัวเองตลอด 3 ปี ที่ทำให้น้ำอุ่นค้นพบคำตอบที่ชัดเจน และพร้อมต่อยอดต่อไปไม่สิ้นสุด… ในจุดที่ได้เลือกแล้ว

 

Asiatopia International Performance Art Festival 03 : 2023 @ BACC
“Light as a Feather”
Performer : Pitchapa Wangprasertkul
Photo : Nattakarn Jirarattanawan

 

“Light as a Feather” Performer : Pitchapa Wangprasertkul
บันทึกการทำงานของ Creative  พิชชาภา หวังประเสริฐกุล (น้ำอุ่น)

คิดต่อยอดมาจาก Theme ของงาน Asiatopia : To be or not to be มีหลายประเด็นซ้อนทับอยู่ด้วยกัน ความฝัน งาน การดำเนินชีวิต

ประเด็นแรก พูดถึงความฝัน ซึ่งอาจจะเป็นความฝัน ความต้องการเกี่ยวกับเรื่องอะไรก็ได้ หรือสิ่งที่ต้องการทำเพราะถูกผลักดันจากจิตวิญญาณของตัวเอง ซึ่งมันต่างจาก 'งาน' ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อรักษาสภาพความเป็นอยู่ เพื่อดำเนินชีวิต หรือเพื่อทำให้สังคมดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ เรารู้สึกว่า To be or not to be สำหรับเรา หมายถึง การที่ต้องเลือกระหว่างความฝันกับงาน สิ่งที่อยากทำกับสิ่งที่ต้องทำ เพราะในบางครั้งน้ำอุ่นเองก็ต้องเลือกทำงาน แล้วบอกตัวเองว่า ที่ต้องทำก็เพื่อหาเงินมา Support ความฝันนะ แต่สุดท้ายงานก็มักจะพาเราออกห่างจากความฝันเรื่อยๆ หรือแม้กระทั่งมาแทนที่ความฝันได้ คำพูดที่ว่าให้ ‘ทำงานที่รัก’ หรือ ‘หางานที่เรามี Passion ให้กับมัน’ น้ำอุ่นก็ยังไม่แน่ใจว่ามันคือ ‘การรวมความฝันกับงานเข้าด้วยกัน’ หรือ ‘การล่อหลอกให้ทำงาน โดยอ้างว่ามันคือสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต’ กันแน่?

 

Asiatopia International Performance Art Festival 03 : 2023 @ BACC
“Light as a Feather”
Performer : Pitchapa Wangprasertkul
Photo : Nattakarn Jirarattanawan

 

ประเด็นต่อมา พูดถึงความฝันของตัวเอง สำหรับตัวน้ำอุ่นจะพูดถึงการเป็นศิลปิน ที่เรารู้สึกว่าการเกิดขึ้นของศิลปินในประเทศนี้เหมือนกับการ ‘คัดออก’ การเอาตัวรอดจากสภาพความเป็นอยู่ ค่าตอบแทนที่น้อย โอกาสที่น้อย ฯลฯ แทนที่จะเป็นการฟูมฟัก ช่วยกันหล่อหลอมให้ศิลปินคนหนึ่งเกิดขึ้นมาได้ คนส่วนใหญ่ยังมองว่า การเป็นศิลปินนั้นเป็นพรสวรรค์ หรือแม้กระทั่ง Genetics ( ลักษณะทางกรรมพันธุ์) ทั้งๆ ที่การหล่อหลอม การช่วยกันประคับประคองให้ศิลปินเติบได้โตขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นคำถามว่าทำไมบางประเทศสามารถผลิตศิลปินระดับนานาชาติได้เรื่อยๆ แต่สำหรับประเทศเราก็ยังปล่อยไปตามเวรตามกรรม…?

 

Asiatopia International Performance Art Festival 03 : 2023 @ BACC
“Light as a Feather”
Performer : Pitchapa Wangprasertkul
Photo : Nattakarn Jirarattanawan

 

ประเด็นเรื่องความเป็นผู้หญิง ที่จริงในตอนแรกไม่ได้อยากให้งานนี้เน้นไปที่ความเป็นหญิงขนาดนั้น เพราะเรารู้สึกว่าสองประเด็นข้างต้นมันเป็นประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ สำหรับน้ำอุ่น การตัดขนนกจากราวเชือก มันมีลักษณะท่าทางเหมือนกับการตากผ้า ซึ่งเราอยากจะทำ action นี้ในงาน performace มานานแล้ว การที่ผู้หญิงตากผ้ามันอยู่ในความทรงจำของคนหลายคน ให้ความรู้สึกอบอุ่นแบบกำลังจะเสร็จจากงานที่ทำ ความสบายใจจากการได้เห็น Routine งานบ้านซ้ำๆ มันมีหลายอารมณ์อยู่ในการตากผ้า ถ้าเป็นไปได้ก็อยากลองทำอีก และที่จริงแล้วตั้งใจจะพูดถึงเรื่องของงานมากกว่าการเป็นผู้หญิง การนำ ‘ปลอกหมอน’ มาใช้แทน ‘ผ้ากันเปื้อน’ แทนที่จะใช้นอน ก็เป็นการทดลองกับ ‘วัสดุ’ ว่า สำหรับบางคนผ้าคือ ‘การพักผ่อน’ แต่สำหรับบางคนผ้ากลับคือ ‘งาน’ ”

 

Asiatopia International Performance Art Festival 03 : 2023 @ BACC
“Light as a Feather”
Performer : Pitchapa Wangprasertkul
Photo : Nattakarn Jirarattanawan

 

สุดท้ายนำปลอกหมอนที่ไร้ขนนกมาปูพื้นหนุนนอน บอกนัย ‘ความฝันสลายกลายเป็นงานที่ต้องทำหมดแล้ว’ (จากเริ่มแสดงนอนอยู่บนหมอนปกติมีนุ่นนุ่มเต็มใบ สภาพบอกนัยที่มีความฝันเต็มเปี่ยม) ไม่ว่าจะเป็นฝันดีหรือร้าย สรุปเชื่อมร้อยเรื่องทั้งหมดเข้าด้วยกัน เสมือนความฝันที่ค่อยๆ คลายกลายสภาพ (Transform) ไปสู่งาน เพื่อเจอจานการมีชีวิตอยู่ คือความจริงของคนยุคนี้ที่ต้องต่อสู้กับหลายสิ่ง ขณะพยายามวิ่งตามความฝัน บันได … หมอนหนุน … นุ่นขนนก … ท้ายสุดมีคำถามปลายเปิดว่า สิ่งที่เกิดคือผลกระทบจาก‘ระบบ’ หรือคือจุดจบของคำตอบจาก ‘ระบอบฯ’ ซึ่งมอบความเป็นคนในแบบที่ต้องจำนนต่อ ‘โชคชะตา’…

การแสดงที่บอกถึงกระบวนการทางความคิดจาก “Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop มีเนื้อหาที่สะท้อนถึงการมีอยู่ของปัญหาในเชิงโครงสร้างของสังคม ที่อุดมไปด้วยผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและวิกฤติเศรษฐกิจ บริบทของพื้นที่เสมือนเวทีขนาดใหญ่ เอื้อต่อการส่งพลังให้การแสดงแนบนัยใส่ความหมายได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้คน นิทรรศการงานศิลป์ที่รายรอบ ฯลฯ โดยเฉพาะ Collective Performance ทั้ง 2 วัน ส่งเสียงยืนยันความเป็นอยู่จริงของสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไข (ไม่ให้ลอยหายไปกับสายลมเพราะไร้การเหลียวแล) ที่ล้วนมีเหตุมาจากพิษภัยของการบริโภคที่เกินพอดีของมนุษย์โลก(Theme)

ไม่ว่าสารที่ต้องการสื่อคือประเด็นไหน และให้เสรีในการตีความตามประสบการณ์ แต่เชื่อว่างานสร้างสรรค์ของนักแสดง ไม่ได้มีแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ศิลป์ต่างดินแดน แก่นของเนื้อหา (Concept) ทุกคนล้วนคั้นเข้มมาจากประสบการณ์ตรงที่ลงกระทบใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ปัจเจกประคองจิต, สารพัดมลพิษ, ความจำนนต่อชีวิตซึ่งถูกหลอมจากสิ่งแวดล้อมที่บิดเบี้ยว ฯลฯ แค่นี้ก็เกินจะแบกไหวใน Pollution ที่รุมเร้าให้เราต้องตระหนัก นักแสดงน้อยที่มากคุณภาพกลุ่มนี้คือตัวแทนภาพรวมศิลปินไทยหัวก้าวหน้าที่มีแนวโน้มจะพัฒนาเติบโตไปได้อีกไกลในแนวทางของ  Performance Art หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หากได้ ‘ปุ๋ยดี’ มีส่วนสนับสนุนต่อไป

 

Asiatopia International Performance Art Festival 2023 @ BACC
Photo : Bangkok Art and Culture Center

 

ผลประกาศการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรม 11 สาขา[17] (อาหาร กีฬา เทศกาล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบ และแฟชั่น) ด้วยนโยบาย ‘ยุทธศาสตร์ Soft Power แห่งชาติ’ แม้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์โปรไฟล์น่าเชื่อใจให้ความหวัง แต่รัฐบาล “เพื่อไทย” ก็นำมาซึ่งวิกฤตศรัทธาซ้ำซ้อนเมื่อภาพรวมของ ‘อำนาจละมุน’ หนุนเอื้อเพื่อเศรษฐกิจเฉพาะกลุ่ม อาจทุ่มงบประมาณเพื่อผลด้านการตลาดเพียงอย่างเดียว เมื่อสาขา “ศิลปะ” ถูกประกาศควบรวมโดยไม่แยกแขนง สายศิลปะการแสดงออกมาส่งเสียงพร้อมเพรียงกัน มีคำถามสำคัญสำหรับความเหลื่อมล้ำที่รัฐจัดให้ เพราะกรรมการมีฐานเทไปทางจิตรกรรม ประติมากรรม ฯลฯ ประกาศแผนไม่ละเอียดชัดเจนต่อทุกศิลป์สายที่ควรได้รับการสนับสนุน เหมือนไม่แยกเรื่องเศรษฐกิจการลงทุนกับการหนุนนำพัฒนามนุษย์ด้วยศิลปะ ว่าแยกไปคนละหน่วยงาน คนละงบประมาณกัน  

ล่าสุด 20 ธันวาคม 2566 สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กับภาคีเครือข่าย ได้เปิดแถลงข่าวประโลมใจให้ศิลปินแช่มชื่นคืนความหวัง ด้วยพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ประจำปี 2567 มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย รวมทั้งสิ้น 27 โครงการ[18] เป็นจำนวนเงิน 3,950,000 บาท นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ย้ำผ่านการแถลงข่าวที่ RCAC หลายครั้งว่า “ปีนี้ได้งบประมาณน้อย” (ขอให้อดใจคอยกันต่อไป) ไม่ว่าจะ “ศิลปาธร” หรือไม่ใช่ ศิลปินไทยผู้ทรหดก็ชินกับการอดทน เพราะส่วนใหญ่เติบโตแบบไร้การสนับสนุนจากรัฐมาตลอด จึงยังคงกอดคอสู้ต่อไป ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ศิลปะการแสดงไทยในภาคประชาชน จนกว่าความฝันจะเป็นจริง หากว่า THACCA คือคำตอบสุดท้าย (Thailand Creative Content Agency) แค่ขอให้มี Performance Art เป็นอีกศาสตร์สาขาที่ไม่ถูก ‘คัดออก’ จากรายชื่อการมอบทุนก็อุ่นใจแล้ว…

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop
(Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 

“Body/less Dialogue : Whispers of the Void”, Performance Art Workshop
(Asiatopia International Performance Art Festival 03: 2023 @ BACC)

 


[1] จุมพล อภิสุข ศิลปิน Performance Art, mgronline.com, สืบค้น 8 ตุลาคม 2566 https://mgronline.com/celebonline/detail/9580000074183

[2] Kata Sangkhae, สืบค้น 10 ตุลาคม 2566 https://www.facebook.com/kata.sangkhae

[3] Body Politic: How is The Taste of My Body" for Bangkok Biennial 2018 , Ach chakratok สืบคน 4 สิงหาคม 2561    https://www.youtube.com/watch?v=93Cvocjfu64

[4] Asia Topia International Performance Art 2023 : workshop ⅕ , Citizen Journalist Citizen Journalist , สืบค้น 26 ธันวาคม 2566 https://www.facebook.com/taweesak.molsawat.1?locale=th_TH

[5] Aon Sakonpat , กลุ่มหัวกบฏแห่งศิลปะ Dada | TELLING EP02, สืบค้น 1 ตุลาคม 2566 https://youtu.be/gnjPQuvpLwc?si=vZrTkHVesPuoWTN2

[6] Performance Art,   Theatre Studies and News, สืบค้น 8 ตุลาคม 2566   https://www.facebook.com/theatrestudiesandnews/posts/2234138663472717/

[7]  PATRICK GRAY , Conceptual Art คืออะไร, ocacfe.com , สืบค้น 5 ตุลาคม 2566  https://ocacfe.com/th/conceptual-art-khuue-aair-bribththaangprawatisaastr-silpin-phlngaan

[8] Joseph Kosuth , Conceptual Artist , hmong.in.th , สืบค้น 5   ตุลาคม 2566 , https://hmong.in.th/wiki/Joseph_Kosuth

[9] Joseph Beuys , Something Curated , สืบค้น 8 ตุลาคม 2566    https://somethingcurated.com/2019/10/30/sculpture-as-social-practice/

[10] เจาะลึกชีวิตปิกัสโซ่ ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ , Artralux , สืบค้น 8 ตุลาคม 2566 https://artralux.co.th/travel-guide/picasso-history-and-museum-in-europe

[11] “The Gardener” : Duration 22 days , Taweesak Molsawat , สืบค้น 10 ตุลาคม 2566 https://www.facebook.com/photo/?fbid=10161377281951004&set=a.10150773422626004&locale=th_TH

[12] “The Gardener” , Taweesak Molsawat , สืบค้น 9 ตุลาคม 2019   https://www.facebook.com/TaweesakMolsawat/videos/2394193197507529

[13] ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์, Marina Abramović  ผู้ใช้ร่างกายท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์, สืบค้น 10 ตุลาคม 2566  https://themomentum.co/art-and-politic-marina-abramovic/

[14] วลัญช์ สุภากร,  Marina Abramović , www.bangkokbiznews.com,  สืบค้น 15 ตุลาคม 2566 https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/art-living/1045042

[15] Wassachol Sirichanthanun, Tehching Hsieh,  thematter.co, สืบค้น 15 ตุลาคม 2566 https://thematter.co/life/tehching-hsieh-people-1-should-know/42892

[16] ไทยแลนด์4.0 คืออะไร ? , www.excise.go.th , สืบค้น 10 ตุลาคม 2566 https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mjgy/~edisp/uatucm282681.pdf

[17] ซอฟต์พาวเวอร์ 11 อุตสาหกรรม, voicetv.co.th, สืบค้น 6 ตุลาคม 2566   https://voicetv.co.th/read/LgD1Lv69E#google_vignette

[18] โครงการที่ได้รับการส่งเสริม , กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย , สืบค้น 20 ธันวาคม 2566 https://ocacartfund.go.th/promoted-projects/