Focus
- ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ได้บอกเล่า เหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ 2 หลังการเข้ามาของประเทศญี่ปุ่น นำไปสู่การเกิดขึ้นของขบวนการเสรีไทยภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าเสรีไทยในประเทศจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม และจากการกระทำของขบวนการเสรีไทยทำให้ไทยไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด
- นอกจากนี้ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ได้ฉายถึงที่มาการเกิดขึ้นของขบวนการเสรีไทยที่มาจากการรวมตัวของประชาชนในประเทศและต่างประเทศ และการดำเนินการของขบวนการเสรีไทย
สวัสดีทุกท่านครับ แรกทีเดียวต้องขอบคุณสถาบันปรีดี พนมยงค์ที่ให้เกียรติผมมาพูดคุยประวัติศาสตร์ในวันสันติภาพไทย 79 ปี ต้องเรียนตามตรงว่าก่อนหน้านี้ ผมเพิ่งได้ทำประวัติศาสตร์ว่าด้วยเรื่องของนโยบายการต่างประเทศของประเทศไทยเพราะปีนี้ครบรอบ 150 ปี ของกระทรวงการต่างประเทศ พอดีและข้อมูลส่วนหนึ่งเลยที่เป็นข้อมูลเชิงลึก และเป็นข้อมูลที่ได้รับการเรียบเรียงมาอย่างดีก็คือ บรรดา Paper ของสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซึ่งก็ขอกราบขอบพระคุณ เป็นเหมือนดั่งขุมทรัพย์ทางปัญญา ที่ทำให้เราสามารถต่อจิ๊กซอว์ได้มากขนาดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ทางสถาบันปรีดี พนมยงค์ ส่งให้ผมก่อนหน้านั้น มีว่าชื่อว่า การวิเทโศบายของไทยเขียนโดยท่านอดีตนักการทูตของบ้านเราก็คือ ท่านกนต์ธีร์ ศุภมงคลซึ่งท่านได้บอกแบบนี้ท่านบอกว่าประเทศไทยนี้เป็นประเทศที่เราต้องการสันติภาพ เราต้องการที่จะไม่มีคู่ขัดแย้งใด ๆ เราไม่อยากที่จะเป็นคู่สงครามใด ๆ เลย แต่กระนั้นประเทศไทยเทียบกันแล้วเราก็เป็นประเทศขนาดกลาง ๆ ถ้าเป็นภาษายุคปัจจุบันเขาเรียกว่า Middle power
ดังนั้น คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เวลาที่คลื่นลมนะครับของความขัดแย้งระหว่างประเทศ หรือปัจจุบันเรียกว่า คลื่นลมแห่งภูมิรัฐศาสตร์นั้นจะซัดส่ายมาจนกระทั่งทำให้เรานั้นจำเป็นจะต้องมีการวางนโยบายการต่างประเทศที่สอดรับ และสำคัญที่สุดนั้นก็คือเรื่องของสันติภาพ
หลาย ๆ คน คนไทยในยุคปัจจุบันนี้ พอได้ยินคำว่า สันติภาพ จะบอกว่านั่งเฉย ๆ ก็มีสันติภาพแล้วใช่ไหม ไม่ใช่นะครับ ถ้าเรามองย้อนกลับไป ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ในช่วงเวลานั้นเรามีความสุ่มเสี่ยงครับที่จะกลายมาเป็นคู่สงครามกับประเทศมหาอำนาจด้วย หลายท่านอาจจะไม่รู้การที่เราได้มานั่งตรงนี้อย่างที่ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ที่ผมเรียกท่านว่าพี่นุ ได้บอกไปคือ ถ้าหากวันเราไม่สามารถบริหารจัดการได้ดี ถ้าเราไม่มีแนวความคิดเกี่ยวกับสันติวิธีที่ดี ท้ายที่สุดแล้ว ประเทศไทยเราอาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ก็ได้ แต่คำว่าสันติภาพ ไม่ได้ว่าท่านอยู่ดี ๆ แล้วก็เกิดขึ้น ไม่ได้มาแบบอัตโนมัติ เป็นสิ่งที่ถูกสร้างทำขึ้นมา เป็นสิ่งที่มีคนอยู่กลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเลยช่วงเวลาที่มีความหน้าสิ่วหน้าขวานอย่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งพื้นที่ของเราถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลก ครั้งที่ 2 เพราะเป็นสมรภูมิแปซิฟิกที่ภาษาฝรั่งเรียก สงครามที่มีหลายสมรภูมิว่า theater ไม่ได้แปลว่าโรงหนัง แปลว่าสมรภูมิหนึ่งนั้นก็คือสมรภูมิแปซิฟิก ประเทศเราตั้งอยู่ตรงนี้ ดังนั้นคลื่นลมความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลยการขยายอิทธิพลของลัทธิทหารนิยม แล้วก็ Fascism (ลัทธิฟาสซิสต์-กองบรรณาธิการ) ของญี่ปุ่นเองส่งผลกระทบมาให้บ้านเราไม่มากก็น้อยด้วยเช่นเดียวกัน
ผมขอเริ่มต้นก่อนเลย ภาพนี้ที่เราเห็น ด้านนอกก็จะมีอยู่นะครับ ภาพนี้เกิดขึ้นในวันที่ 25 กันยายน ขออนุญาตนะครับ ผมชอบเรียงปีคริสต์ศักราช ถ้าเป็นปีไทยก็จะเป็นปี 2488 ตรงกับปีฝรั่งปี 1945 เป็นภาพที่ท่านรัฐบุรุษอาวุโสก็คือ ท่านปรีดี พนมยงค์ นี้ได้ทำพิธีเริ่มต้นการสวนสนามของเสรีไทยเป็นการเฉลิมฉลองสันติภาพของประเทศไทยหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 แล้วแน่นอนว่า คำว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีความทุ่มเทและความเสียสละของคนไทยไม่เพียงแต่ในราชอาณาจักรไทยนะครับแต่ยังในทุก ๆ พื้นที่ทั่วโลกร่วมกันภายใต้ชื่อของ ขบวนการเสรีไทย ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงสันติภาพได้
ผมเริ่มต้นมาก่อนเลย ทุกท่านน่าจะรู้จักกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ห่างจากตรงนี้เท่าไหร่ใครพอทราบไหม 2.4 กิโลเมตร แค่นี้เอง หันหน้าไปทางทิศเหนือก็จะเห็นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แต่ว่าน้อยคนที่จะรู้ว่าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั้นสร้างขึ้นมาเฉลิมฉลองอะไรจริง ๆ แล้วเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของเราที่เหนือฝรั่งเศสนะครับหลายคนถามโอ้โห เราเคยรบชนะฝรั่งเศสด้วยหรือ ถูกต้อง เรารบชนะฝรั่งเศสตอนที่ฝรั่งเศสเกิดปัญหา ดังนั้นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถูกสร้างขึ้นมาและเราก็จะเห็นว่าจะมีผู้เสียสละอย่าง 5 เหล่าด้วยกัน อยู่รอบ ๆ ทั้งหมดมี 5 หลายคนนับคิดว่า 4 มี 5 ก็ออกแบบโดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรี คำถามก็คือว่า แล้วตกลงมันเกิดอะไรขึ้นทำไมไทยจึงไปเริ่มต้นทำสงครามกับฝรั่งเศส แล้วก็นำมาซึ่งเรื่องของการที่เรามีความสุ่มเสี่ยงต่อการที่เราจะเป็นคู่สงครามโลกครั้งที่ 2
ผมขอถอยไปนั้นก็คือในปี 1940 กล่าวก็คือเกิดสงครามได้ประมาณเพียงแค่ 9 เดือนเท่านั้นเองเริ่มต้นที่นาซี เยอรมันบุกไปยังโปแลนด์ ยุทธการ Blitzkrieg ในวันที่ 1 กันยายน 1939 ถัดมาเพียงแค่ 9 เดือนฝรั่งเศสคงไม่คิดว่านาซี เยอรมันจะแข็งแกร่งขนาดนี้ใช้เวลาสั้นมากเพียงแค่ไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้นเอง สามารถกรีฑาทัพจากชายแดนซาร์ลันท์ (Saarland) ก็คือพื้นที่ซาร์ลันท์(Saarland) ในเยอรมันก็เดินทัพเข้าสู่ปารีสและสามารถยึดครองปารีสได้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ ดังนั้นแล้ว ช่วงเวลาแบบนั้นรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เองก็ล่มสลายไปโดยปริยาย รัฐบาลนาซีเยอรมันจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของฝรั่งเศสภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมันที่มีชื่อว่า วิตชี คนที่เป็นหุ่นเชิดเยอรมันมีชื่อว่า ฟิปลิป เปแตง (Philippe Pétain)
หลังจากนั้นบ้านเรานะครับเห็นว่าทางด้านของฝรั่งเศสเริ่มต้นอ่อนแอ เป็นโอกาสในการที่เราสามารถที่จะชิงพื้นที่บางส่วนที่เราเสียไปในช่วงที่ฝรั่งเศสเริ่มต้นที่ล่าอาณานิคมได้ ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวเองทางด้านของท่านนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้เริ่มส่งกองกำลังของเราเข้าไปเพื่อที่จะชิงดินแดนบางส่วนของฝรั่งเศสมาเป็นของเราด้วย แล้วก็มีการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นการเฉลิมฉลองด้วยภาพที่ผมให้ดูนิดหนึ่งครับ หลายคนเห็นภาพ crop มาแค่นี้ ท่านทราบไหมครับว่าภาพเต็มว่าถ่ายกับใคร ภาพเต็มนี้ถ่ายกับสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐอเมริกา Eleanor Roosevelt ก็คือภริยาของ Franklin Roosevelt ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่จริงบ้านเราก็มีความหมายสำคัญไปทั่วเลย ในช่วงเวลานั้นที่มีการรุกรานฝรั่งเศส ช่วงมีการฉลองที่โตเกียว ช่วงนั้นเราได้มีการเชิญตัวแทนของรัฐบาลญี่ปุ่น แล้วตัวแทนของรัฐบาลเยอรมันมาร่วมเฉลิมฉลองด้วยมีความหมายว่าเราเองไม่อยากที่จะเป็นคู่สงครามกับใคร แต่เรายกเว้นได้ดินแดนบางส่วนมาจากทางด้านของฝรั่งเศส
ในช่วงเวลานั้นเองดังเมื่อสักครู่ ดร.อนุสรณ์กล่าวไว้ว่า ทางด้านท่านรัฐบุรุษอาวุโสก็คือ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ได้ประพันธ์แล้วก็สร้างภาพยนตร์มาเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องพระเจ้าช้างเผือก อันนี้ไม่ได้อิงกับประวัติศาสตร์นะครับในเรื่องก็จะพูดถึงพระเจ้าจักราซึ่งเป็นเจ้าของไทยเจ้าของสยามกับเจ้าแห่งหงสา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อเป็นการสื่อสารแนวความคิดของสันติภาพที่ว่า ประเทศไทยต้องการดำรงตนไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับใครเลย อันนี้เป็นจุดหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ สาเหตุเป็นเพราะว่าเวลานั้นเอง ญี่ปุ่นเองเริ่มต้นขยายอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกแล้วก็สร้างความสัมพันธ์ และสร้างสิ่งที่เรียกว่า มหาเอเชียบูรพาเพราะว่าต้องการขยายอำนาจตัวเองโดยมีตัวเองเป็นศูนย์กลาง ณ เวลานั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามซึ่งต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็คือท่านนี้นะครับ ฮิเดกิ โตโจ ในสมัยนั้นเป็นยุคของรัฐบาล ฟูมิมาโระ โคโนเอะซึ่งเป็นเจ้าชายองค์หนึ่งของญี่ปุ่นต้องการที่จะบุกไปที่จีนก่อนเริ่มต้นที่ปี 1937 โดยที่มีทางด้านของฮิเดกิ โตโจเป็นผู้นำ หลังจากนั้นฮิเดกิ โตโจ ก็ขึ้นมาสร้างสัมพันธ์กับภูมิภาคในเอเชียอาคเนย์ไว้ก่อน สาเหตุเพราะว่าต้องการล้มอำนาจของจักวรรดินิยมยุโรปก็คือฝรั่งเศสและอังกฤษที่มีอาณานิคมมากมายในภูมิภาคของเราด้วย ส่วนหนึ่งถ้าเห็นภาพบันไซ ญี่ปุ่นชนะแล้วทุกสมรภูมิเลย
แต่สมรภูมิที่ญี่ปุ่นอยากจะได้มาก ๆ ก็คือเมืองขึ้น ทางด้านของอังกฤษก็คือ British Malaya กับ British Burma วันที่ 7 ธันวาคม 1941 ครับหลายคนน่าจะจำกันได้ก็คือเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นนั้นถล่มเพิร์ลฮาเบอร์ (Pearl Harbor) เชื่อไหมครับเพียงเวลา 1 ชั่วโมงครึ่งนับจากนั้น ถ้าท่านดู Time zone จะพบว่าทางด้านญี่ปุ่นติดต่อมาที่ประเทศไทย ตอนนั้นเราเปลี่ยนชื่อจากสยามไปไทยแล้ว ต้องการที่จะให้ประเทศไทยเปิดทางในการให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพไปโจมตีทั้ง British Malaya กับ British Burma ให้ได้วางแผนไว้แล้วว่าจะมีการรบ 2 แนวรบในเวลาเดียวกัน ถล่มเพิร์ลฮาเบอร์ (Pearl Harbor) เสร็จปั๊บ 1 ชั่วโมงครึ่งหรือ 90 นาที หลังจากนั้นติดต่อมาที่ประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยว่าขอเดินทัพผ่าน
ถ้าในสถานการณ์แบบนั้น ทำอย่างไรครับ 7 ธันวาคม ถ้าเราไปดูจะพบว่าวันที่ 8 ธันวาคม เป็นวันที่ญี่ปุ่นติดต่อเรามาแต่ด้วยความที่ว่าไทม์โซนเวลาไทยกับฮาวายห่างกัน 15 ชั่วโมงจริง ๆ แล้วก็แทบจะเป็นเวลาเดียวกันเลย เวลาเดียวกันนั้นเอง แผนที่ให้ดู ว่าญี่ปุ่นติดต่อมา เป็นท่าน ท่านเลือกอะไรครับ สู้ป่ะ เอาไงดีวะ เอาไม่เป็นไรให้เดินทัพในการที่จะยกทัพผ่านไปทั้งสองฝ่ายด้วยกัน แต่ที่นี้ครับ สถานการณ์ ณ เวลานั้น อันนี้เป็นญี่ปุ่นบุกไปที่สิงคโปร์ บุกไปที่มลายูนะครับได้พื้นที่ต่าง ๆ มากมายทีเดียว ในช่วงเวลานั้นเองทางด้านของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับการทัดทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเวลานั้นก็คืออาจารย์ดิเรก ชัยนาม ว่าจริง ๆ แล้วเราควรที่จะมีการดำรงตนเป็นกลางด้วย แต่ทีนี้ที่ท่านได้มีการทัดทาน ด้วยสาเหตุนี้ท่านก็เลยบอกว่า อันนี้เป็นภาพหลังสงครามโลก แต่ในช่วงสงครามโลกจอมพล ป. ก็เลยบอกว่าให้ท่านย้ายไปดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัคราชทูตไทยที่โตเกียว จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศให้เป็นเอกอัคราชทูตไทยที่โตเกียวแรกทีเดียวท่านบ่ายเบี่ยง แต่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ท่านบอกว่า ไปเถอะ อย่างน้อยที่สุดไปยังไงก็ได้เพื่อไม่ให้ประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายอักษะตอนนั้นเปิดพื้นที่ให้นะครับ แต่ทางเรามิใ่ช่คู่สงคราม เราไม่ใช่ส่วนหนึ่งของฝ่ายอักษะ ดังนั้นทางท่านดิเรก ชัยนามจึงยินยอมไปเดินหน้าในเรื่องการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างไทยกับญี่ปุ่นให้ได้
นอกจากนี้ครับ 25 มกราคมของปีต่อมา1942 นะครับทางด้านของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านได้ประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร บ้านเราประกาศสงครามกับสองยักษ์ใหญ่ ที่สุดครับท่านนี้เลย จดหมายดังกล่าวส่งไปที่เอกอัครราชทูตไทยที่วอชิงตัน ดี.ซี. ก็คือท่านเสนีย์ ปราโมช ท่านเสนีย์ดูแล้วแบบนี้ไม่ไหวมั้งก็เลยไม่ได้มีการส่งเอกสารประกาศสงครามไปยังรัฐบาลที่วอชิงตัน ดี.ซี. ดังนั้น เป็นการประกาศสงครามแต่ฝ่ายเดียวที่ได้ โดยที่อีกฝ่ายไม่รู้ด้วยเพราะเอกสารส่งไปไม่ถึง
นี่ก็เป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ต้องถามสถาบันปรีดี พนมยงค์ เพราะเป็นความเห็น ต่างเป็นอื่นว่าอาจแต่ไม่ใช่ก็ได้ ด้วยเหตุนั้นอเมริกาไม่ได้ประกาศสงครามกับเรา แต่ในขณะที่สหราชอาณาจักรเป็นแบบนั้น สถานการณ์เป็นแบบนี้ ประเด็นก็คือว่าแล้วจะอย่างไร แน่นอนว่าคนไทยจำนวนมากมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เราไม่อยากเป็นคู่สงครามกับใคร ดังนั้น ก็เลยเกิดขบวนการที่มีชื่อว่า ขบวนการเสรีไทย ในพื้นที่ประเทศไทยเองรวมถึงในพื้นที่ต่างประเทศ เช่น กรณีสหรัฐอเมริกา คนไทยรวมตัวกันนะครับ แล้วก็ร่วมมือกับทางการสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง US. Office of Strategic Services หรือ US.-O.S.S) ในการเข้าไปร่วมฝึกเป็นบอกว่าคนไทยรักสันติภาพ ดังนั้น การดำรงคงอยู่และความกล้าหาญของคนไทยในสหรัฐอเมริกาเป็นการตอกย้ำคนไทยรักสันติภาพ ไม่แต่เพียงแค่ที่นี่แต่ยังมีอีกหลากหลายภูมิภาคกันเลยทีเดียวที่มีคนไทยที่มีความกล้าหาญและแสดงจุดยืนของพวกเราในเรื่องความรักสันติภาพนี้อย่างชัดเจน เช่นในสหราชอาณาจักรแล้วเราจะพบว่ามีเสรีไทยจำนวนมากมายทีเดียว
ขออนุญาตนะกลับมาที่อาจารย์ดิเรก ชัยนาม ท่านอยู่ที่ญี่ปุ่น ณ เวลานั้น สิ่งที่ท่านทำคือพูดคุยกับเจ้าหน้าที่การทูตของญี่ปุ่นเพื่อที่จะบอกว่าไทยเองจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายอักษะ ท่านลองคิดดูถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายอักษะจะเกิดอะไรขึ้น การทูตนั้นปรากฏว่าญี่ปุ่นนั้นพูดคุยกันได้ ลงตัวไม่เป็นไร ขอเพียงแค่ไทยเปิดพื้นที่ให้ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพต่อไปได้ ท่านไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายอักษะ ถ้าเราเป็นจะเกิดอะไรขึ้น สหราชอาณาจักรก็เช่นเดียวกันนะครับก็มีความเคลื่อนไหวจากคนไทยที่อยู่ที่นั่น ท่านทุกคนคือผู้ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพด้วย
และหนึ่งในบุคคลที่มีความสำคัญก็คือ ท่านนี้ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในสมัยรัชกาลที่ 7 ท่านเป็นส่วนหนึ่งที่ให้การสนับสนุนเสรีไทย ไม่แต่เพียงสองประเทศนี้เท่านั้นนะครับ แน่นอนการมีอยู่ของเสรีไทยจำนวนนับหมื่นนับแสนคนทั้งในประเทศ ในราชอาณาจักร และนอกประเทศราชอาณาจักรเป็นการยืนยันว่า ประเทศไทยนี้เป็นประเทศที่รักสันติภาพ เราไม่อยากที่จะขัดแย้งกับใครเลย แต่กระนั้นตนั้ลกองกำลังผสมสัมพันธมิตรภายใต้การนำของลอร์ด หลุยส์ เมานท์แบทเตน (Lord Louis Mountbatten) ส่งเครื่องบินมาจากอินเดียเป็นเครื่องบิน B52 Super Fortresses ในการที่จะโจมตีกรุงเทพมหานคร ตอนนั้นเรามีโรงไฟฟ้าหลัก ๆ แค่ 3 โรง แล้วระเบิดไป 2 โรงก็คือ โรงฟ้าพระนครใต้กับวัดเลียบ ช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยก็คือไฟมืดไปชั่วคราว
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในที่สุดแล้วตอนที่ผมเข้ามาถามว่า 16 สิงหาคมคือวันนี้ ครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพ ทำไมต้องเป็นวันนี้ ถ้าท่านไปดูประวัติศาสตร์แล้วนำมาไล่เรียงท่านจะพบว่า วันที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดลูกแรกคือ Little Boy ที่ฮิโรชิมา และลูกที่สอง Fat man ที่นางาซากิ นั่นคือวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม กล่าวคือ 5 วันก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นนั้นจะบอกว่ายอมแพ้แล้ว เพราะฉะนั้น ถัดมาเป็นระลอกก็คือว่า ประเทศไทยจึงสามารถที่จะมีสันติภาพได้เพราะว่าซึ่งญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาในช่วงเวลาตรึงกำลังอยู่ในประเทศไทยได้พ่ายแพ้สงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ถัดมา 2 กันยายน 1945 เรือรบลำนี้มีชื่อว่า เรือรบมิสซูรีเป็นเรือรบที่ทางด้านกองกำลังของสัมพันธมิตรเปิดให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของญี่ปุ่นเข้ามาเพื่อที่จะลงนาม unconditional-surrender การยอมพ่ายแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข มีความหมายว่าสงครามโลกจบลงอย่างเป็นทางการ หรือว่า V-J DAY ท่านนี้ก็คือจอมพล ดักลาส แมกอาร์เธอร์ (Douglas MacArthur) หรือที่เขาเรียกว่านายพลห้าดาวเดินทางไปแล้วก็ถ่ายภาพกับพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Hirohito) ท่านจะมองว่า แล้วไงเหรอ ภาพนี้ปกติเวลาถ่ายภาพพระจักรพรรดิญี่ปุ่น พระองค์ต้องอยู่สูงสง่า ไม่มีใครสูงกว่าพระองค์ แต่ภาพนี้นะครับ ดูการแต่งตัวของจอมพล ดักลาส แมกอาร์เธอร์ (Douglas MacArthur) not formal, semi-formal เรียกว่า เสื้อคอแบะ ให้รู้ว่าที่นี่ใครคุม เป็นอันว่าสงครามโลก ครั้งที่ 2 theatre ที่เป็นแปซิฟิกจบลงโดยสมบูรณ์แล้ว
สำหรับประเทศไทยเองครับ ลอร์ด หลุยส์ เมานท์แบทเตน (Lord Louis Mountbatten) คือท่านที่สวมชุดสีขาวยืนอยู่เคียงข้างกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็เดินทางมาในท้ายที่สุดก็เป็นการบอกว่าทางด้านของฝ่ายสัมพันธมิตรจบสงครามโลกในภูมิภาคนี้ ลอร์ด หลุยส์ เมานท์แบทเตน (Lord Louis Mountbatten) คนนี้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังสัมพันธมิตรในภูมิภาคของเราเป็นอันว่าจบลง
คำถามก็คือว่า แล้วบทบาทของไทยที่เปิดทางให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพไปยัง British Malaya กับ British Burma เป็นอย่างไรบ้าง ต้องบอกแบบนี้ว่าการดำรงคงอยู่ของเสรีไทย ด้วยความทุ่มเทของนักการทูตหลาย ๆ คน ด้วยความมุ่งมั่นพยายามของคนไทยจำนวนมากมายในการประสานงานกับสหรัฐอเมริกาก็ดี สหราชอาณาจักร Great Britain หรือ British Empire ก็ดีเป็นการยืนยันว่า ประเทศไทยนั้นมิใช่คู่สงคราม ท่านจำได้ไหมครับว่า เมื่อสักครู่ว่าเราประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา สำหรับสหรัฐอเมริกา การมีอยู่ของเสรีไทยทำให้มองว่า หนึ่ง ประเทศไทยมิใช่คู่สงครามกับสหรัฐฯ นอกจากนี้จดหมายที่ท่านเสนีย์ ปราโมช เก็บไว้มิได้ส่งต่อไปที่รัฐบาลวอชิงตันเป็นการบอกว่าประเทศไทยดำรงตนเป็นกลางต่อสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สหราชอาณาจักรก็เช่นเดียวกัน
และก็ด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา ท้ายที่สุด สิ่งที่เราประกาศสงครามฯ เอาไว้ในวันที่ 25 มกราคม 1942 ในเวลานั้นจึงกลายเป็นโมฆสงคราม ก็นี้นะครับก็เป็นภาพรวมที่ให้เราเห็นที่ว่าช่วงหนึ่งที่ประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นคู่สงครามของประเทศมหาอำนาจในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ด้วยความที่เรามีหลักการยึดมั่นในหลักของสันติภาพประเทศไทยเป็นประเทศซึ่งดำรงไว้ด้วยสันติภาพ ด้วยความพยายามเสียสละของเสรีไทยทุกท่าน ด้วยการทำงานหนักและความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่การทูตทุก ๆ คน ท้ายที่สุด แล้วจึงทำให้ประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเราเป็นประเทศที่สามารถที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติภาพแล้วลุกขึ้นมาต่อไปได้ แล้วประเทศไทยก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ประเทศที่ 55 โดยสมบูรณ์หลังจากนั้นสืบมา
ย้ำนะครับว่า สันติภาพเกิดขึ้นได้ไม่ใช่เพราะว่าเรานั่งเฉย ๆ นะครับแต่เพราะว่ามีกลุ่มคนจำนวนมากมีหลักการยึดมั่นในหลักสันติภาพ มีการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายก็เพื่อว่าประเทศของเราเดินหน้าอย่างมีเอกราชและสันติภาพโดยสมบูรณ์แบบ
ผมใช้เวลาไปเกิน 40 วินาที ขอโทษด้วย อย่างไรก็ตาม ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ย้ำอีกทีนะครับ เรื่องเชิงลึกในเชิงวิชาการผมเชื่อว่านักวิชาการหลายท่านมีบทความดี ๆ ทางสถาบันปรีดี พนมยงค์ มีบทความดี ๆ มากมายที่ทำให้เราได้ศึกษาในเชิงลึก วันนี้อย่างน้อยที่สุด ผมมารวบรวมทุกอย่าง อย่างน้อยเพื่อทำให้เราตอกย้ำความสำคัญของเสรีไทยในวันนี้
หมายเหตุ:
- ภาพประวัติศาสตร์ขบวนการเสรีไทยจากเอกสารส่วนบุคคลปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ จากหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=r5lFFrgbhWc&t=2s
ที่มา : PRIDI x BMA 79 ปี วันสันติภาพไทย สถาบันปรีดี พนมยงค์ร่วมกับกรุงเทพมหานครร่วมจัดกิจกรรมขึ้น ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.30-19.30 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5