ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

จดหมายจากนายปรีดี พนมยงค์ ถึงจอมพล ถนอม กิตติขจร เรื่อง เสนอความคิดเห็นในการใช้มาตรา 17

17
พฤศจิกายน
2567

 

 

Focus

  • บทความนี้เสนอหลักฐานประวัติศาสตร์หายากคือ จดหมายจากนายปรีดี พนมยงค์ ถึงจอมพลถนอม กิตติขจร ปี 2517 เรื่อง เสนอความคิดเห็นในการใช้มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเพื่อเอาทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์มีไว้หรือหามาได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายมาเป็นของรัฐ โดยนายปรีดีเสนอแก่รัฐบาลจอมพลถนอมในฐานราษฎรผู้หนึ่งว่า อย่างเคารพกรรมสิทธิ์ของเอกชนที่ได้มาโดยสุจริต ซึ่งนายปรีดีเห็นว่า รัฐจะริบทรัพย์สินดังกล่าวนี้ไม่ได้ ฉะนั้น จึงขอเสนอว่า ขอให้จอมพลถนอม และรัฐบาลออกคําสั่งอนุญาตให้ทายาทของจอมพลสฤษดิ์ พิสูจน์ว่า ทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์ มีไว้นั้นได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าทายาทพิสูจน์ได้ ก็ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นมรดกของจอมพลสฤษดิ์ฯ เพื่อทายาทได้แบ่งปันกัน ถ้าทายาทพิสูจน์ไม่ได้ก็เป็นการสมควรครับเป็นของจอมพลสฤษดิ์ฯ ต้องตกเป็นของรัฐตามเหตุผลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวแล้วตั้งแต่ต้น และอ้างอิงหลักการสำคัญจากประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 

 

 


จดหมายจากนายปรีดี พนมยงค์ ถึง จอมพล ถนอม กิตติขจร เรื่อง เสนอความคิดเห็นในการใช้มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเพื่อเอาทรัพย์สินที่จอมพล สฤษดิ์มีไว้หรือหามาได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายมาเป็นของรัฐ
ที่มา : TU Digital Collections 

 


นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส

 


จอมพล ถนอม กิตติขจร
ที่มา : วิกิพีเดีย

 

ฉบับที่ ๑/๒๕๑๗

นครกวางตุ้ง

วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗

จาก นายปรีดี พนมยงค์

ถึง จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี

 

ด้วยตามที่วิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ได้ประกาศเรียกร้องอยู่เสมอ ๆ เป็นใจความว่ารัฐบาลยินดีรับฟังความคิดเห็นของคนไทยทุกคนนั้น วันนี้ข้าพเจ้าจึงขอเสนอความเห็นบางประการมายังท่าน ดังต่อไปนี้

๑. แม้จะมีเรื่องที่น่ายินดีคือภายหลังที่ราษฎรได้เรียกร้องด้วยความเป็นธรรมและชอบ ด้วยเหตุผลขอให้ท่านกับรัฐบาลใช้อํานาจตามมาตรา ๑๗ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เพื่อเอาทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีไว้หรือหามาได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้นมาเป็นของรัฐ ท่านได้ออกคําสั่งลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๐๗ เรื่องทรัพย์สินของรัฐในกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

แต่ข้าพเจ้าต้องขออภัยที่จะเรียนท่านว่า เมื่อได้ยินเพียงหัวเรื่องว่า ได้มีคําสั่งให้ใช้มาตรา ๑๗ฯ ในกรณีนั้นแล้ว ก็ดูประหนึ่งว่า คําสั่งนั้นจะทําให้มวลราษฎร ได้รับผลที่เป็นธรรมครบถ้วนสมปราถนา แต่เมื่อได้พิจารณารายละเอียดแห่งคําสั่งดังกล่าวประกอบกับคําสัมภาษณ์ต่าง ๆ ของท่านและรัฐมนตรีกับเจ้าหน้าที่บางคนของท่านแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า คําสั่ง และวิธีปฏิบัติยังไม่ตรงกับความปรารถนาที่เป็นธรรมอย่างครบถ้วนของราษฎรและมีปัญหาสําคัญที่ต้องพิจารณาหลายประการคือ

ก. ประการที่ ๑

คําสั่งดังกล่าวนั้น จํากัดการใช้มาตรา ๑๗ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เฉพาะ “ทรัพย์สินของรัฐ” เท่านั้น คือเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐแล้ว ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ฯ เอาไปใช้ หรือครอบครองไว้ แต่ความปรารถนาของราษฎรนั้น ต้องการให้ท่านและรัฐบาลใช้มาตรา ๑๗ ๆ นั้นเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจอมพลสฤษดิ์ฯ มีไว้หรือได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายทุก ๆ ประเภท ซึ่งรวมทั้งหวานในของรัฐและทรัพย์สินที่ยังมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ แต่จะต้องถูกริบตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙ เพราะจอมพลสฤษดิ์ฯ มีไว้หรือได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่นทรัพย์สินที่ได้มาจากการค้าของต้องห้าม ทรัพย์สินที่ได้มาจากการค้าอภิสิทธิ์ และทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้อํานาจหน้าที่โดยไม่สุจริต ทางตรงและทางอ้อมทั้งหลาย

จากการให้สัมภาษณ์ของท่านและเจ้าหน้าที่ของท่านได้ความว่า “ทรัพย์สินของรัฐ” ซึ่งท่านและรัฐบาลต้องการได้คืนจากกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่กล่าวถึงคือ เงินรายได้สลากกินแบ่งซึ่งจอมพลสฤษดิ์เบิกไปใช้จ่ายโดยมิชอบประมาณ ๒๕๐ ล้าน ล้านบาท เงินส่วนลดการจําหน่ายสลากกินแบ่ง ของกองทัพบกที่จอมพลสฤษดิ์เอาไปใช้ส่วนตัวประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท เงินสํารองจ่ายส่วนกลางที่คณะรัฐมนตรี โอนให้จอมพลสฤษดิ์" เอาไปใช้จ่ายราชการลับประมาณ ๕๔ ล้านบาท รวมประมาณ ๔๐๐ ล้านบาท และถ้าท่าน จะกรุณารับความเห็นของผู้รักชาติทั้งหลายที่เสนอว่าทรัพย์สินของรัฐชนิดอื่น ๆ อีกบางรายการที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์บางฉบับเพิ่มเข้าด้วยแล้ว “ทรัพย์สินของรัฐ” ตามความหมายของคําสั่งดังกล่าวแล้ว คิดเป็นมูลค่ารวมอย่างมากประมาณ ๖๐๐ ล้านบาท

เมื่อก่อนออกคําสั่งนั้น ท่านและรัฐบาลย่อมรู้แล้วว่า ตามบัญชีทรัพย์สินที่ทายาทจอมพล สฤษได้ยื่นต่อศาลแพ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ซึ่งเป็นแต่เพียงทรัพย์สินส่วนหนึ่งที่ทายาทสืบมาได้นั้น คิดเป็นมูลค่าถึง ๒๘๐๐ ล้านบาทเศษ ถ้าถือตามคําสั่งของท่านแล้วรัฐจะได้คืนทรัพย์สินเพียงประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ ล้านบาทเท่านั้น ส่วนอีก ๒๒๐๐-๒๔๐๐ ล้านบาทเศษนั้น จอมพลสฤษดิ์ฯ จะมีไว้หรือได้มาโดยถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม เป็นอันพ้นจากการใช้มาตรา ๑๗ บังคับ

ตามที่ท่านและเจ้าหน้าที่บางคนของท่านให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลไม่อาจปฏิบัติตามคําเรียกร้องของราษฎรที่ให้ริบทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์นั้น ข้าพเจ้าเห็นชอบด้วย เฉพาะที่ไม่รับทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์ไว้หรือได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทายาทของผู้นั้นมีสิทธิจะได้รับเป็นมรดก

แต่สําหรับทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์ มีไว้หรือได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายประเภทต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างบนนี้ ข้าพเจ้าขออภัยที่จะเรียกว่า ท่านกับรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของท่านมีหน้าที่ตามกฎหมาย ที่จะต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙ ที่ได้บัญญัติขึ้นในสมัยที่เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกคณะรัฐประหาร ซึ่งท่านเป็นผู้หนึ่งแห่งคณะรัฐประหารนั้น คือท่าน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ท่านและพวกของท่านบัญญัติขึ้นเองนั้นแก่พวกของท่านเองด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ มีความว่า

ในการริบทรัพย์สินนอกจากศาลจะมีอํานาจรับตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วยคือ

๑. ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทําความผิดหรือ

๒. ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทําความผิด

เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทําความผิด

นอกจากนี้ มาตรา ๓๔ ยังกําหนดให้ริบทรัพย์สินที่ได้ให้เป็นสินบนหรือเพื่อจูงใจบุคคลให้ทําความผิดหรือให้เป็นรางวัลที่บุคคลได้กระทําความผิด

ส่วนปัญหาที่ว่าใครมีอํานาจสั่งให้ริบทรัพย์สินนั้น ในยามปกติศาลเป็นผู้มีอํานาจเช่นเดียวกับการสั่งให้ประหารชีวิตคนซึ่งต้องเป็นไปตามคําพิพากษาของศาล แต่ท่านกับคณะปฏิวัติได้เป็นผู้ริเริ่มให้ใช้วิธีการพิเศษ นอกเหนือจากกฎหมายธรรมดาและกฎอัยการศึกที่รุนแรงอยู่แล้ว คือท่านมีอํานาจอันเป็นอาชญาสิทธิ ตามมาตรา ๑๗ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ฉะนั้น ในทางนิตินัย ท่านกับรัฐบาลจึงมีอํานาจและหน้าที่อย่างสมบูรณ์ที่จะสั่งให้ริบทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญานั้นได้โดยไม่ต้องขออํานาจศาลใดใดเหมือนดังท่านกับคณะเคยใช้มาตรา ๑๗ฯ ในการประหารชีวิตและกักขังบุคคลไว้โดยไม่มีกําหนดมาแล้ว ปัญหาก็อยู่ที่ท่านมีความเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจหรือไม่ว่า ทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์ไว้หรือได้มานั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้นว่า ท่านไม่เคยได้ทราบเลยทีเดียวหรือว่ามีผู้ค้าของต้องห้ามหรือมีการค้าอภิสิทธิ์ และท่านกับรัฐบาลจะใช้มาตรา ๑๗ฯ เพื่อประโยชน์ของชาติอย่างสมบูรณ์หรือจะมีข้อยกเว้นให้จอมพลสฤษดิ์ฯ

อนึ่ง ตามที่มีผู้คัดค้านความเห็นของราษฎรที่เสนอให้ใช้วิธีการ มีการริบทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ เช่นเดียวกับที่ประเทศใกล้เคียงซึ่งอยู่ในค่ายเสรีประชาธิปไตยได้กระทําเกี่ยวกับทรัพย์สินของอดีตประธานาธิบดีกับครอบครัวของประเทศนั้น ที่ร่ำรวยอย่างมหาศาลผิดปกติที่ผู้หาเลี้ยงชีพโดยสุจริตจะพึงมีได้นั้นว่าเป็นการรุนแรงเกินไป ข้าพเจ้าขอเรียนว่าปัญหามิได้อยู่ที่รุนแรงหรือไม่รุนแรง แต่อยู่ที่การปฏิบัติตามหลักกฎหมายและหน้าที่ต่อประเทศชาติ ประเทศซึ่งอยู่ในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่กล่าวถึงนั้น มีหลักกฎหมายอาญาให้ริบทรัพย์ของบุคคลที่มีไว้หรือหามาได้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทํานองเดียวกับประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙ ของไทย ส่วนวิธีรับนั้นตามปกติต้องให้ศาลสั่ง แต่ในกรณีของอดีตประธานาธิบดีกับครอบครัวนั้น ราษฎรเห็นว่าผู้มีอํานาจ กราบบังหลวงย่อมมีวิธีการที่สลับซับซ้อนและมีผู้สมรู้ร่วมคิดมากมาย ราษฎรจึงเรียกร้องให้รัฐบาลแห่งประเทศนั้นใช้วิธีออกกฎหมายพิเศษเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักกฎหมายอาญานั้นเอง เพราะเขายังไม่มีบทบัญญัติ ทํานองมาตรา ๑๗ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่า ทรัพย์สินส่วนใดของอดีตประธานาธิบดีกับครอบครัวมีไว้หรือเรามาได้โดยสุจริตนั้น ราษฎรของประเทศที่กล่าวถึงนั้นเห็นว่า เมื่อก่อนอดีตประธานาธิบดีกับครอบครัวครองอํานาจทางการเมืองนั้น ไม่มีทรัพย์สมบัติอันใดมากมายและบางคนมีหนี้สินต่อมาเมื่อเขาเหล่านั้นมีตําแหน่งหน้าที่ในรัฐหรือกึ่งรัฐ ก็ได้รับเงินเดือนพอสมควร แต่พวกเขาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่งลําพังแต่เงินเดือนก็ไม่คุ้มค่าใช้จ่ายของเขาราษฎรจึงเป็นรูปธรรมชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยว่า ทรัพย์สินที่อดีตประธานาธิบดีคนนั้นกับครอบครัวมีอยู่อย่างมหาศาลนั้นย่อมมีไว้หรือได้มาโดยมิชอบ ด้วยกฎหมายทางตรงหรือทางอ้อมจะเป็นโดยวิธีสุจริตไม่ได้ ฉะนั้น จึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องรับตามหลักกฎหมายอาญาโดยไม่ต้องใช้วิธีโอ้เอ้ยืดเยื้อ อันเป็นการเปิดช่องทางให้มีการถ่ายเททรัพย์สินหรือให้ประเทศชาติต้องขาดประโยชน์

อย่างไรก็ตาม โดยที่ข้าพเจ้าเคารพกรรมสิทธิ์ของเอกชนที่ได้มาโดยสุจริต ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า รัฐจะริบทรัพย์สินดังกล่าวนี้ไม่ได้ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอเสนอว่า ขอให้ท่านและรัฐบาลออกคําสั่งอนุญาตให้ทายาทของจอมพลสฤษดิ์ พิสูจน์ว่า ทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์ มีไว้นั้นได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าทายาทพิสูจน์ได้ ก็ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นมรดกของจอมพลสฤษดิ์ฯ เพื่อทายาทได้แบ่งปันกัน ถ้าทายาทพิสูจน์ไม่ได้ก็เป็นการสมควรครับเป็นของจอมพลสฤษดิ์ฯ ต้องตกเป็นของรัฐตามเหตุผลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวแล้วตั้งแต่ต้น ข้าพเจ้าเห็นว่าทายาทของจอมพลสฤษดิ์ฯ ย่อมรู้ดีกว่าผู้นั้นว่า จอมพลสฤษดิ์มีไว้หรือหาทรัพย์สินนั้นมาได้โดยสุจริตถูกต้องตามประการใด จึงควรมอบหน้าที่พิสูจน์ให้แก่ทายาทเหล่านั้น อันเป็นการแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการสอบสวนทรัพย์ของรัฐในกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์ฯ

ข. ประการที่ ๒

บางคนที่ได้ยินแต่เสียงหัวเรื่องว่า ท่านกับรัฐบาลสั่งให้ใช้มาตรา ๑๗ฯ เกี่ยวกับ

ทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ฯ ก็คิดว่าคําสั่งนั้นจะได้ผลศักดิ์สิทธิ์รวดเร็วที่จะเอาทรัพย์สินที่จอมพลสมมีไว้หรือได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาเป็นของรัฐ แต่เมื่อได้พิจารณารายละเอียดในคําสั่งนั้นเปรียบเทียบกับวิธีการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นกฎหมายธรรมดาแล้ว ปรากฏว่าในหลายกรณีคําสั่งของท่านให้ใช้อํานาจคณะกรรมการสอบสวนทรัพย์สินของรัฐในกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์น้อยกว่าพนักงานสอบสวนที่มียศเพียงนายร้อยตํารวจตรีหรือ มีตําแหน่งเพียงปลัดอําเภอหลายประการ เช่นคณะกรรมการฯของท่านมีอํานาจเพียงทําการ ติดต่อให้บุคคล มาให้ถ้อยคําหรือส่งหลักฐาน คือจะเรียกใครมาให้การก็ต้องทําอย่างละมุนละไมนุ่มนวล โดยติดต่อกับคนนั้น แต่พนักงานสอบสวนส่วนชั้นนายร้อยตํารวจตรีมีอํานาจที่จะ “ออกหมาย” เรียกบุคคลมาให้ถ้อยคําอันเป็นการแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่จะเรียกบุคคลมาให้การแม้จะมีผู้เถียงว่า ผู้ใดไม่มาตามคําติดต่อของคณะกรรมการ ฯ จะเป็นผิดต่อคําสั่งมาตรา ๑๗ฯ ก็ตาม แต่มาตรา ๑๗ฯ ทํานองนั้นไม่มีวี่แววที่จะทําให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนั้น พนักงานสอบสวนขุนนายร้อยตํารวจตรียังมีอํานาจจับและควบคุมผู้กระทําผิดหรือผู้สมรู้สนับสนุนกระทําผิด อํานาจค้นเคหะสถานเพื่อพบสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทําผิดหรืออาจเป็นพยานหลักฐานซึ่งคณะกรรมการฯของท่านไม่มีอํานาจนั้น

ถ้าจะเปรียบคําสั่งของท่านกับวิธีพิจารณาความแพ่งอันเป็นกฎหมายธรรมดาก็เห็นว่าคําสั่งของท่านไม่มีความรัดกุมในการอายัดทรัพย์หรือ หรือยึดทรัพยพื้นของจอมพลสฤษดิ์ คือมิได้มีวิธีการป้องกันการโอน การถ่ายเททรัพย์สมบัติไว้ให้ทันท่วงที วิธีพิจารณาความแพ่งอันเป็นกฎหมายธรรมดา มีวิธีการที่โจทก์ซึ่งเป็นเ ขอให้ศาลสั่งยึดและหรืออายัดทรัพย์สินของจําเลยไว้ชั่วคราวก่อน จนกว่ามีคําพิพากษาเด็ดขาดได้ อันที่จริง ท่านและรัฐบาลยอมรู้อยู่เป็นอย่างดีว่า จอมพลสฤษดิ์ฯ เอาทรัพย์สินของรัฐไปครอบครองไว้ ท่านอาจสั่งให้พนักงานอัยการของกองมรดกของจาก ๆ แล้วขอให้ศาลสั่งยึดและหรืออายัดมรดกของจอมพลสฤษไว้ชั่วคราวก่อนจนกว่ามีคําพิพากษาเด็ดขาดก็ได้ เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของชาติไว้ แต่เมื่อท่านได้ใช้มาตรา ๑๗ฯ แล้ว ท่านก็ควรให้อํานาจนั้นแก่คณะกรรมการของท่าน อนึ่ง คําสั่งของท่านนั้น ต่างกับกฎหมายธรรมดา ที่ท่านมิได้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐที่จอมพลสฤษดิ์ฯ โอนให้แก่ผู้อื่นไป ข้าพเจ้าเห็นว่า ผู้ที่รับโอนโดยสุจริตที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายธรรมดาอยู่แล้ว แต่ผู้รับโอนโดยไม่สุจริตนั้น เมื่อคําสั่งมีช่องโหว่อยู่ เขาก็อาจโอนให้แก่ผู้อื่นไปอีกหลายต่อ และเมื่อถึงมือผู้รับโอนต่อ ๆ ไปที่สุจริตแล้ว รัฐก็จะไม่ได้ทรัพย์สินของรัฐคืนเลย

ข้าพเจ้าจึงต้องขออภัยท่านอีกครั้งหนึ่ง ที่จะเรียนว่า ข้าพเจ้าในฐานะราษฎรไทยคนหนึ่ง และเชื่อว่าราษฎรอีกจํานวนมหาศาล ก็คงจะมีความวิตกว่าคําสั่งของท่านที่ให้ใช้มาตรา ๑๗ฯ เท่าที่ประกาศไปนั้น กลับจะมีผลน้อยไปกว่าใช้วิธีการตามกฎหมายธรรมดาเสียอีก ซึ่งจะทําให้รัฐไม่ได้คืนทรัพย์สินของรัฐจากกอ มรดกของจอมพลสามอย่างครบถ้วน แม่ต่อไปท่านจะเห็นว่า สมควรที่ทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์มีไว้หรือหามาได้ โดยมิชอบด้วยกฎหมายประเภทอื่น ๆ นอกจากทรัพย์สินของรัฐต้องตกเป็นของรัฐก็ตาม แต่ถ้าท่านใช้คําสั่งทํานอง ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2557 นั้นแล้ว ก็ยิ่งจะเป็นการยากที่จะให้รัฐได้ทรัพย์สินที่ว่านั้น

ข้อ 2 แม้จะมีคําสั่งให้ใช้มาตรา ๑๗ ซึ่งยังมีข้อความที่ไม่สมบูรณ์ดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ ก็ยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับการกระทําผิดอาญาของจอมพลสฤษดิ์ฯ และผู้สมรู้และผู้สนับสนุนตามกฎหมายวิธีพิจารณานั้น ความตายของจอมพลส เตาย่อมทําให้คดีอาญาเฉพาะตัวจอมพลสฤษดิ์เท่านั้นที่จะระงับไป แต่คดีอาญาไม่ระงับสําหรับผู้สมรู้และผู้สนับสนุนและการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓ และ ๓๔

ปัญหาสําคัญเกิดขึ้นว่า ท่านเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญาหรือไม่

ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับตัวท่านและอนาคตของท่านอย่างสำคัญด้วย เพราะกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๐ มีความว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตําแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือ เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญา กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใด ๆ ในตําแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ ๖ เดือนถึง ๗ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๑ พันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท”

จริงอยู่ท่านมิใช่พนักงานอัยการ มิใช่ผู้ว่าคดีพนักงานสอบสวน และในยามปกติท่านมิใช่พนักงานสืบสวนเมื่อท่านมีอํานาจจนสืบสวนสอบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญา แต่ปัญหาเกิดขึ้นว่า ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่จะใช้มาตรา 17 ที่จะลงอาญาแก่บุคคลที่กระทําการตามที่ธรรมนูญนั้น ระบุไว้อันเป็นความผิดทางอาญา จึงทําให้น่าคิดว่าท่านมีลักษณะเป็นผู้มีอํานาจจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญาด้วย อนึ่ง หลักกฎหมายมีว่า สิทธิและหน้าที่เป็นของคู่กันเมื่อท่านมีอํานาจหรือสิทธิ์ที่จะลงอาญาแก่บุคคลได้ ท่านก็ต้องมีหน้าที่จะจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญา ข้าพเจ้าขอเรียนว่า กฎหมายอาญามาตรา ๒๐๐ ได้กําหนดบทลงโทษเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญาที่กระทําหรืองดเว้นกระทําเพื่อช่วยผู้อื่นมิให้ ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ดังนั้น เพื่อเจตนาดีต่อท่าน ข้าพเจ้าจึงขอฝากปัญหาในเรื่องนี้มาเพื่อท่านพิจารณาว่า ท่านมีหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา ๒๐๐ อย่างไรบ้าง ท่านได้กล่าวไว้ว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็จะลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ถ้าท่านจัดการเรื่องจอมพลสฤษดิ์ กับผู้สมรู้และผู้สนับสนุนให้เป็นไป ตามกฎหมายอาญาโดยครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ท่านก็จะปราศจากมลทิน ซึ่งรัฐบาลภายหน้าไม่สามารถที่จะอ้างกฎหมาย อามาจัดการกับท่านได้

ข้อ ๓. เพื่อป้องกันและพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติไทย ข้าพเจ้าในฐานะราษฎรไทยคนหนึ่ง และเชื่อว่าราษฎรไทยผู้รักชาติรักความเป็นประชาธิปไตยเป็นจํานวนนมากคงเห็นพ้องกับข้าพเจ้า ข้อเสนอให้ท่านกับรัฐบาลใช้วิธีการตามอํานาจที่ท่านมีอยู่แล้ว เพื่อเอาทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์ฯ มีไว้หรือหามาได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายทุก ๆ ประเภท ดังกล่าวแล้วข้างบนนี้ มาเป็นของรัฐโดยครบถ้วน ทั้งนี้ ท่านอาจจะทําได้โดยแก้ไขเพิ่มเติมหรือทําคําสั่งขึ้นใหม่ เพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์ สมตามเจตนารมณ์ที่เป็นธรรมและชอบด้วยเหตุผลของราษฎร และขอให้ท่านกับรัฐบาลซึ่งเป็นผู้จัดการให้เป็นไปตามกฎหมายทั้งหลายและกฎอัยการศึกได้จัดการและปฏิบัติตามกฎหมายและกฎอัยการศึกอย่างเคร่งครัดในกรณีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ และผู้สมรู้ร่วมคิดกับผู้สนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ด้วย

๔. เรื่องที่ข้าพเจ้าเสนอมานี้ เกี่ยวข้องกับประโยชน์อย่างสําคัญของชาติไทย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขออนุญาตท่านส่งสําเนาจดหมายนี้ให้หนังสือพิมพ์และผู้สนใจเพื่อจะได้ช่วยกันพิจารณา.

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

(นายปรีดี พนมยงค์)

 

 

หมายเหตุ : คงอักขระและวิธีการสะกดตามต้นฉบับ

ภาพประกอบ : TU Digital Collections พิพิธภัณฑ์รัฐสภา และหอสมุดปรีดี พนมยงค์

 

ภาคผนวก

จดหมายจากนายปรีดี พนมยงค์ ถึง จอมพลถนอม กิตติขจร เรื่อง เสนอความคิดเห็นในการใช้มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเพื่อเอาทรัพย์สินที่จอมพลสฤษดิ์มีไว้หรือหามาได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายมาเป็นของรัฐ

 

 

เอกสารชั้นต้น :