Focus
- กฎหมายคุ้มครองแรงงานในประเทศไทยพัฒนาผ่านหลายยุคสมัย ตั้งแต่บทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งให้ความคุ้มครองทั่วไป จนถึง ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจออกประกาศย่อยต่าง ๆ เช่น เวลาทำงาน วันหยุด ค่าจ้าง การคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็ก เป็นต้น ทั้งนี้ กฎหมายบางช่วงกลับกลายเป็นเครื่องมือควบคุมแรงงาน แทนที่จะปกป้อง
- พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งรับรองสิทธิลูกจ้างในการรวมตัว ตั้งสหภาพ และยื่นข้อเรียกร้อง แต่กฎหมายยังมี “ข้อยกเว้น” หลายประการที่เปิดช่องให้นายจ้างแกล้งเลิกจ้างหรือไม่จ่ายค่าชดเชย โดยอ้างพฤติกรรมไม่เหมาะสมของลูกจ้าง เช่น การละทิ้งหน้าที่หรือผิดวินัย แม้ลูกจ้างอาจทำไปด้วยเหตุแห่งการต่อสู้เพื่อสิทธิของตน นอกจากนี้ ยังมีการยกเว้นความคุ้มครองแก่ข้าราชการ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบแรงงานโดยรวม

ทองใบ ทองเปาด์
(12 เมษายน 2469 - 24 มกราคม 2554)
ประกาศแห่งฟิลาเดลเฟีย

Edward J. Phelan signing the Declaration of Philadelphia on 17 May1944 at a meeting with President Roosevelt at the White House in Washington. Also present are: Secretary of State Cordell Hull, the President of the ILO Philadelphia Conference Walter Nash, US Secretary of Labor Frances Perkins and ILO Assistant Director Lindsay Rogers
ที่มา: The Declaration of Philadelphia: 1944 – 2004 / François Agostini
เมื่อปี 2489 อันเป็นปีครบรอบที่ 27 ของการก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ประชุมแรงงานระหว่างประเทศได้ลงมติรับหลักการแนวทางตลอดจนวัตถุประสงค์ใหม่ขององค์การ ซึ่งมตินี้ได้เป็นที่ทราบกันแพร่หลายในเวลาต่อมาว่า “คำประกาศแห่งฟิลาเดลเฟีย” อันเป็นคำประกาศที่มีลักษณะคุ้มครองแรงงาน
ความว่า
- แรงงานไม่ใช่สินค้า
- เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการตั้งสมาคม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าอันยืนยง
- ความยากจน ณ ที่แห่งใด ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญรุ่งเรืองในทุกหนทุกแห่ง
- มนุษย์ทุกคน มีสิทธิที่จะแสวงหาทั้งสวัสดิภาพทางด้านวัตถุ และพัฒนาการด้านจิตใจภายใต้เงื่อนไขของเสรีภาพและความเสมอภาคภูมิ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสอันทัดเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ความเชื่อถือหรือเพศ
คำประกาศแห่งฟิลาเดลเฟียสะท้อนการรับรองและคุ้มครองแรงงานว่ามิใช่สินค้า รับรองสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการรวมกันเป็นสมาคมสหภาพหรือสหพันธ์ รวมทั้งสัจจะที่ว่าความยากจนที่อยู่ ณ ที่แห่งใดย่อมเป็นศัตรูหรือปริมาตรต่อความเจริญรุ่งเรืองในแห่งอื่นด้วย และการรับรองสิทธิของผู้ใช้แรงงานเช่นเดียวกับเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายที่มีสิทธิแสวงหาสวัสดิภาพทางวัตถุและการพัฒนาด้านจิตใจ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ก็ได้ประกาศสิทธิพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานไว้ในคำปฏิญญา ซึ่งประเทศไทยเราเป็นสมาชิกและให้สัตยาบัน เฉพาะที่เกี่ยวกับแรงงานไว้ ดังนี้
ข้อ 22 ทุกคนในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคมและมีสิทธิในการบรรลุถึงซึ่งสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม อันจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกียรติศักดิ์ของตน และวิวัฒนาการแห่งบุคลิกภาพของตนโดยความเพียรพยายามของแต่ละชาติ และโดยความร่วมมือระหว่างประเทศ และตามระบอบการของแต่ละรัฐ
ข้อ 23 (1) ทุกคนมีสิทธิในการงาน ในการเลือกงานโดยอิสระ ในเงื่อนไขอันยุติธรรมและเป็นประโยชน์แห่งการงานและในการคุ้มครองต่อการว่างงาน
(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเท่าเทียมกันสำหรับงานเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ
(3) ทุกคนที่ทำงานมีสิทธิที่จะได้รับศีลจ้างที่ยุติธรรมและเป็นประโยชน์ที่จะให้ประกันแก่ตนเองและครอบครัวแห่งตน ซึ่งความเป็นอยู่อันคู่ควรแก่เกียรติศักดิ์ของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็จะต้องได้รับวิธีการคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย
(4) ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้งและที่จะเข้าร่วมสหพันธ์กรรมกร เพื่อความคุ้มครองแห่งผลประโยชน์ของตน
ข้อ 24 ทุกคนมีสิทธิในการพักผ่อนและเวลาว่าง รวมทั้งการจำกัดเวลาทำงานตามสมควร และวันหยุดงานอันมีกำหนดโดยได้รับค่าจ้าง
นี่คือสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่เป็นหลักการคุ้มครองแรงงาน เป็นสิทธิสากลของมวลมนุษย์ชาติ ที่รัฐที่เป็นสมาชิกและให้สัตยาบันต้องเคารพ ปฏิบัติหรือทำให้สำเร็จเป็นความจริง มิใช่รับรองแต่โดยตัวอักษรหรืออย่างเป็นพิธีการเท่านั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายเก่าแก่ของเราคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีบัญญัติถึงเรื่องการจ้างแรงงานไว้เป็นหลักกว้าง ๆ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้แรงงานและผู้จ้างแรงงานยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ ปรากฏในบรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 ว่าด้วยการจ้างแรงงาน ในมาตราต่าง ๆ ดังนี้
มาตรา 576 ถ้าตามพฤติการณ์ไม่อาจจะคาดหมายได้ว่างานนั้นจะพึงทำให้เปล่าไซร้ ท่านย่อมยึดเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง
มาตรา 577 นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย
ลูกจ้างจะให้บุคคลภายนอกทำงานแทนตนก็ได้ เมื่อนายจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย
ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดทำการฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
มาตรา 578 ถ้าลูกจ้างรับรองโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายว่าคนเป็นผู้มีฝีมือพิเศษ หากปรากฏว่าไร้ฝีมือเช่นนั้นไซร้ ท่านว่านายจ้างชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
มาตรา 579 การที่ลูกจ้างขาดงานไปโดยเหตุอันสมควร และชั่วระยะเวลาน้อยพอสมควรนั้น ท่านว่าไม่ทำให้นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
มาตรา 780 ถ้าไม่มีกำหนดโดยสัญญาหรือจารีตประเพณีว่าจะพึงจ่ายสินจ้างเมื่อไร ท่านว่าพึงจ่ายเมื่องานได้ทำแล้วเสร็จ ถ้าการจ่ายสินจ้างนั้นได้กำหนดกันไว้เป็นระยะเวลา ก็พึงจ่ายเมื่อสุดระยะเวลาเช่นนั้นทุกคราวไป
มาตรา 581 ถ้าระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างกันนั้นสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างยังคงทำงานอยู่ต่อไปอีกและนายจ้างรู้ดั่งนั้นก็ไม่ทักท้วงไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่ โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าวตามความในมาตราต่อไปนี้
มาตรา 582 ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ท่านว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้า ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทำได้กว่าสามเดือน
อนึ่ง ในเมื่อบอกกล่าวดั่งว่านี้ นายจ้างจะจ่ายสินจ้างแก่ลูกจ้างเสียให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวนั้นทีเดียว แล้วปล่อยลูกจ้างจากงานเสียในทันทีก็อาจทำได้
มาตรา 584 ถ้าจ้างแรงงานรายได้มีสารสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคลผู้เป็นนายจ้าง ท่านว่าสัญญาจ้างเช่นนั้นย่อมระงับไปด้วยมรณะแห่งนายจ้าง
มาตรา 585 ถ้าจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้ว ชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร
มาตรา 586 ถ้าลูกจ้างเป็นผู้ซึ่งนายจ้างได้เอามาแต่ต่างถิ่นโดยนายจ้างออกเงินค่าเดินทางให้ไซร้ เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลง และถ้ามิได้กำหนดกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาแล้ว ท่านว่านายจ้างจำต้องใช้เงินค่าเดินทางขากลับให้ แต่จะต้องเป็นดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) สัญญาไม่ได้เลิกหรือระงับเพราะการกระทำหรือความผิดของลูกจ้าง และ
(2) ลูกจ้างกลับไปยังถิ่นที่ได้จ้างเอามาภายในเวลาอันสมควร
ข้อกำหนดในบทมาตราต่าง ๆ ของประมวลกฎหมายแพ่งที่กล่าวมานี้เป็นบทกำหนดโดยทั่วไป ซึ่งลูกจ้างนำมาใช้เป็นเกาะในการคุ้มครองตนเองได้ในกรณีที่ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายอื่นเช่นกฎหมายแรงงาน หรือกฎหมายศาลแรงงาน เราย่อมนำเอาบทบัญญัติของกฎหมายทั่วไปดังกล่าวนี้มาอ้างอิงให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างได้
รัฐธรรมนูญฯ ปี 2521
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ได้บัญญัติถึงสิทธิของลูกจ้างตลอดจนหน้าที่ของรัฐไว้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เราอาจนำมาอ้างเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างได้ ดังนี้
หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตราที่ 37 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์หรือหมู่คณะอื่น
การรวมกัน การจัดตั้ง การดำเนินกิจการและการเลิกสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์หรือหมู่คณะอื่น ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ
มาตรา 66 รัดพึงดำเนินการเพื่อยกฐานะบุคคลในทางเศรษฐกิจและทางสังคมให้สูงขึ้นถึงระดับที่จะดำรงชีพได้โดยปกติสุข
มาตรา 72 รัฐพึงส่งเสริมให้ ประชากรวัยทำงานมีงานทำตามควรแก่อัตภาพและพึงคุ้มครองแรงงาน และจัดระบบแรงงานสัมพันธ์รวมทั้งค่าแรงตอบแทนให้เป็นไปโดยเป็นธรรม
นี่เป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กล่าวว่าเป็นกฎหมายสูงสุดที่ตาขึ้นเพื่อคุ้มครองแรงงาน บทบัญญัตินี้เป็นการวางโครงและหลักการไว้ให้รัฐถือเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งรัฐจะแสดงออกมาโดยทางนโยบายและทางกฎหมายบังคับให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้แรงงานในการที่จะให้สามารถดำรงชีพอยู่โดยปกติสุขทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ให้มีงานทำตามของควรแก่ไวและ สภาพของบุคคลและให้ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2533
ที่มา: คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ
เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 20 ตุลาคม 2501 นอกจากจะเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภา ปิดหนังสือพิมพ์ ตั้งศาลทหารปกครองโดยกฎอัยการศึกและอำนาจเด็ดขาด เป็นทั้งผู้ออกกฎหมาย (นิติบัญญัติ) เป็นผู้บริหาร (นายกรัฐมนตรี) และเป็นทั้งตุลาการหรือผู้พิพากษา ตามอำนาจเด็ดขาด “ม.17” นั้น นอกจากจะสั่งยกเลิกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ แล้ว พระราชบัญญัติแรงงาน 2499 ซึ่งเพิ่งประกาศใช้ได้ปีเศษ ๆ ก็ถูกยกเลิกไปด้วย กรรมกรไทยหรือลูกจ้างแรงงานจึงไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิหรือให้ความคุ้มครองโดยตรง สิทธิในการก่อตั้งสหภาพเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเองก็ถูกระงับไป กรรมกรไทยจึงถูกกฎอยู่ใต้เกือบเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ อยู่เกือบสองทศวรรษ ในช่วงนั้นจอมพลสฤษดิ์ได้ออกประกาศฉบับที่ 19 มาใช้บังคับ กำหนดวิธีการเกี่ยวกับแรงงาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2501
ในปี 2508 จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ปี 2506 ออกมาใช้บังคับ แต่ต่อมาเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ทำการปฏิวัติยึดอำนาจตัวเองเพื่อให้ตนเองมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น ก็ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นเสีย แล้วออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ 103 มาใช้บังคับแทนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2515
ประกาศของคณะปฏิวัตินี้มีข้อกำหนดคุ้มครองแรงงานไว้ ดังนี้
ข้อ 2. ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดการคุ้มครองแรงงาน ดังต่อไปนี้
(1) การใช้แรงงานทั่วไป โดยกำหนดเวลาทำงานปกติ การทำงานล่วงเวลา เวลาพัก วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปีและการลาป่วยของลูกจ้าง
(2) การใช้แรงงานหญิง โดยกำหนดเวลาทำงาน ชนิดของงาน ซึ่งห้ามหญิงทำ กำหนดอายุของหญิงซึ่งนายจ้างจะรับเข้าทำงานและการลาของหญิงมีครรภ์
(3) การใช้แรงงานเด็ก โดยกำหนดเวลาทำงาน ชนิดของงาน ซึ่งห้ามเด็กทำ กำหนดอายุของเด็กซึ่งนายจ้างจะรับเข้าทำงาน
(4) อัตราค่าจ้าง การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดและวันสำคัญสำหรับลูกจ้าง และให้มีคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
(5) การจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่มีการเลิกจ้าง
(6) ความรับผิดชอบของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน หรือจากโลกซึ่งเกิดขึ้น ตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือโลกซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงาน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดชนิดของโรคนั้น
(7) สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสำหรับลูกจ้าง
(8) ให้นายจ้างจัดทำทะเบียนลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด และข้อบังคับว่าด้วยการทำงาน
นี่คือหัวใจของประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้ ที่ให้อำนาจแก่กระทรวงมหาดไทยที่จะออกประกาศหรือคำสั่งในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วนั้นเพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานเป็นรายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง
นอกจากนี้ ก็กำหนดเกี่ยวกับการให้มีกองทุนเงินทดแทนและกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนดังกล่าวเพื่อจ่ายแก่ลูกจ้างกรณีประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพหรือตาย (ข้อ 3)
ข้อ 6 ให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีมีอำนาจทำการเป็นทนายความดำเนินคดีให้ลูกจ้างซึ่งมีข้อพิพาทแรงงานกับนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างยากจนและคดีมีมูล เมื่อกระทรวงมหาดไทยแจ้งให้ทราบแล้ว ก็ให้มีอำนาจดำเนินคดีได้ตลอดถึงศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
ข้อ 7 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับนายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปหากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาขั้นต้น ร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้าง ในค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วย
ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่การจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง การจ่ายเงินทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานและการจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนด้วย
ความข้อนี้เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้างที่ใช้วิธีการรับช่วงเหมางาน หรือวิธีจ้างแรงงานโดยผ่านตัวแทนเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อลูกจ้างในเรื่องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินชดเชย ค่าทดแทนในกรณีเลิกจ้าง
กฎหมายกำหนดโทษไว้ด้วยว่าการฝ่าฝืนมีโทษต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบหรือเงินเพิ่มได้ ทั้งนี้เพื่อนำทรัพย์สินนั้นออกขายทองตลาดเพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างและหากเป็นค่าใช้จ่ายในการยึดและขาย หรือผักเข้ากองทุนเงินสมทบและเงินเพิ่มที่ค้างจ่าย หากมีเงินเหลือจริงคืนให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน
จากนั้นกระทรวงมหาดไทยก็ได้ประกาศคุ้มครองแรงงาน เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2515 โดยนายพ่วง สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ลงนามในประกาศนั้น ซึ่งได้กำหนดเกี่ยวกับการใช้แรงงานทั่วไป เช่น
กำหนดเวลาทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง สำหรับงานอุตสาหกรรมและงานขนส่งไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง งานพาณิชยกรรมหรืองานอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้วไม่เกินสัปดาห์ละ 54 ชั่วโมง (ข้อ 3)
กำหนดเวลาพักระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง ให้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีอย่างน้อยปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ ถ้าวันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้เลื่อนวันหยุดตามประเพณีวันนั้นไปหยุดในวันทำงานถัดไป ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละ 5 วันทำงาน
กำหนดการใช้แรงงานหญิง มีข้อห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างที่เป็นหญิงทำงานเช่นทำความสะอาดเครื่องยนต์ ขณะทำงาน ทำงานบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป งานใช้เลื่อยวงเดือน งานผลิตหรือขนส่งระเบิดหรือวัตถุไวไฟ งานเหมืองแร่ที่ต้องทำใต้ดิน งานอื่น ๆ ตามที่กระทรวงมหาดไทยจะกำหนด ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานนอก แบก หาม ทูน ตาก หรือเข็นของหนักเกินอัตราคือ 30 กิโลกรัม กิโลกรัมสำหรับ กิโลกรัมสำหรับงาน กิโลกรัมสำหรับงานบนในที่ราบ 25 กิโลกรัม สำหรับงานที่ขึ้นบันไดหรือที่สูง 600 กิโลกรัม สำหรับการลากหรือเข็นของที่ต้องบรรทุกล้อเลื่อนที่ใช้ราง 300 กิโลกรัมสำหรับการลากหรือเข็นของที่ต้องบรรทุกล้อเลื่อนที่ไม่ใช้ราง
ห้ามมีให้รับหญิงอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ยังไม่ได้สมรสหรือเป็นลูกจ้างในสโมสรราตรี สถานเต้นรำหรือฝึกสอนเต้นรำ สถานขายและเศษสุรา สถานอาบอบนวด โรงแรมหรือสถานที่อื่นตามที่กระทรวงมหาดไทยจะกำหนด
ห้ามนายจ้างให้หญิงทำงานระหว่างเวลาตั้งแต่ 24.00 ถึง 06.00 น.
กำหนดสิทธิในการลาของหญิงมีครรภ์ก่อนและภายหลังคลอด
กำหนดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก ห้ามจ้างเด็กต่ำกว่า 12 ปีเป็นลูกจ้าง ห้ามจ้างเด็กอายุเกิน 12 ปีแต่ยังไม่ถึง 15 ปีเป็นลูกจ้าง เว้นแต่ (1) งานที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้ทำได้ หรือ (2) งานอื่นที่ไม่ได้กำหนดแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานออกใบอนุญาต โดยสรุปคือต้องยื่นขออนุญาตและต้องได้รับอนุญาตก่อน
กำหนดเวลาห้ามใช้เด็กทำงานตั้งแต่เวลา 22.00 ถึง 06.00 น. เว้นแต่เด็กนั้นเป็นนักแสดงหรืองานอื่นที่คล้ายคลึงกันแต่ต้องจัดเวลาพักผ่อนให้เด็ก ห้ามมิให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีทำงานในวันหยุด ห้ามมีให้นายจ้างให้ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึง 18 ปีทำงาน (1) ทำความสะอาดเครื่องจักรยนต์ขณะเครื่องกำลังทำงาน งานใต้ดินหรือใต้น้ำ งานผลิตหรือขนส่งวัตถุเคมี วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังษี งานอื่น ๆ ตามที่กระทรวงมหาดไทยจะกำหนด
กำหนดเกี่ยวกับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
กำหนดเรื่องการจ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างที่ทำงานเกิน 120 วันแต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายเงินชดเชยตามอัตราราคาจ้างวันสุดท้าย 30 วันหนึ่งปีแต่ไม่ครบ 3 ปีจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วันสุดท้าย และลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปจ่าย 180 วันสุดท้าย
กำหนดเรื่องเงินทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือเจ็บป่วยจนถึงความตาย กรณีลูกจ้างเจ็บป่วยให้ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากพนักงานเงินทดแทนแห่งท้องที่ที่นายจ้างมีสำนักงานหรือหน่วยงานตั้งอยู่ ก็กรณีลูกจ้างตายบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตร ยื่นขอรับเงินทดแทนได้ ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลเท่าที่จำเป็น กำหนดเรื่องการจ่ายค่ารักษาพยาบาลและอัตราค่ารักษาพยาบาล
กำหนดเรื่องการสวัสดิการของลูกจ้างเช่นเรื่องน้ำดื่ม ห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกสุขอนามัย เรื่องการรักษาพยาบาล การจัดพยาบาลหรือแพทย์ตรวจสุขภาพอนามัยลูกจ้างไม่น้อยกว่าปีละครั้ง ตลอดจนจัดให้มีการระบายอากาศ ทางระบายน้ำและสิ่งโสโครก แสงสว่าง ทางออกฉุกเฉินในอาคารตามมาตรการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
กำหนดเกี่ยวกับการควบคุมนายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเป็นประจำ ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทยประกาศใช้บังคับ ข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายการว่าด้วยวันทำงาน และทำงานปกติและเวลาพัก วันหยุดและหลักเกณฑ์วันหยุด วันและสถานที่ที่จ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด วันเวลาและหลักเกณฑ์การลา วินัยและโทษทางวินัย การยื่นคำร้องทุกข์และการเลิกจ้าง ข้อบังคับนี้ต้องส่งให้แก่อธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย เมื่อมีการแก้ไขข้อบังคับให้แจ้งให้อธิบดีหรือผู้ได้รับหมายทราบภายใน 7 วันนับแต่วันแก้ไข ข้อบังคับนี้นายจ้างต้องประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำงาน
นายจ้างต้องจัดให้มีทะเบียนลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
ประกาศนี้ยังให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่ทำงานเกิน 120 วันโดยรวมวันลาและวันหยุดที่นายจ้างสั่งให้หยุดเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำนับแต่วันทำงานเกิน 120 วันเป็นต้นไป การที่ลูกจ้างชั่วคราวไม่ได้ทำงานติดต่อกัน เพราะนายจ้างเลิกจ้างก่อนครบกำหนด 120 วันโดยเจตนาจะไม่ให้ลูกจ้างมีสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้นับเวลาในตอนหลังรวมเข้ากับเวลาทำงานตอนก่อนเพื่อลูกจ้างจะได้สิทธิตามวรรคหนึ่งด้วย (ข้อ 75)
ข้อนี้นายจ้างมักจะเอาเปรียบลูกจ้างเสมอ โดยไม่ยอมให้ทำงานเกิน 120 วัน พอจะคบก็มักจะปลดหรือให้ออกเสีย แล้วยังรับเข้าทำงานใหม่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่มีผล เพราะตามนัยข้อ 75 นี้
นอกจากประกาศนี้แล้ว ก็มีประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับต่าง ๆ กำหนดมาตรการคุ้มครองลูกจ้าง รวมประกาศแก้ไขเพิ่มเติมต่าง ๆ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดเรื่องโรคที่เกิดเกี่ยวกับการทำงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518
ภายหลังการเคลื่อนไหวของประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาธิปไตยมากขึ้น จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ออกมาใช้บังคับอีกครั้งหนึ่ง ชื่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2518 กฎหมายนี้ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช้บังคับหรือให้ความคุ้มครองแก่ข้าราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัชกาลกรุงเทพมหานครและกิจการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา หมายความว่าข้าราชการทั้งหลายไม่อยู่ใต้หรือได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติฉบับนี้
กฎหมายนี้บัญญัติออกมากำหนดเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้อง การตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเจรจาตลอดจนการหยุดงาน และห้ามนั้นหยุดงานในกิจการบางประเภทหรือภาวะที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือภาวะฉุกเฉิน การปัดงานและการนัดหยุดงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ คณะกรรมการลูกจ้างสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน การกระทำอันไม่เป็นธรรมและบทกำหนดโทษ
กฎหมายนี้รับรองสิทธิในการนัดหยุดงานของลูกจ้าง รับรองสิทธิในการจัดตั้งสหภาพและสหพันธ์แรงงาน ตลอดจนกรรมการลูกจ้าง
กรรมการลูกจ้างได้รับความคุ้มครอง นายจ้างจะไล่ออก ปลดออก ลดค่าจ้างหรือกระทำการใด ๆ จนกรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปไม่ได้ หากจะกระทำการดังกล่าวต้องฟ้องศาลแรงงานขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะทำให้ (ม.52) กรรมการลูกจ้างหรือนัย 1 ลูกจ้างจึงได้รับการคุ้มครอง การจะไล่ออกหรือลดค่าจ้าง ศาลจะต้องไต่สวนเสียก่อน
สำหรับการดำเนินงานของสหภาพได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 29 เมื่อสหภาพดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อประโยชน์ของสมาชิกอันมิใช่กิจการเกี่ยวกับการเมือง ให้ลูกจ้าง สหภาพแรงงาน กรรมการ อนุกรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องทางอาญาหรือทางแพ่ง คือ
(1) เข้าร่วมเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างสมาคมนายจ้าง ลูกจ้างสหภาพแรงงานอื่น สหพันธ์นายจ้าง หรือสหพันธ์แรงงาน เพื่อเรียกร้องสิทธิ
(2) นัดหยุดงาน หรือช่วยเหลือ ชักชวนหรือสนับสนุนให้สมาชิกนัดหยุดงาน
(3) ชี้แจงหรือโฆษณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงาน
(4) จัดให้มีการชุมนุมหรือเข้าร่วมโดยสงบในการนัดหยุดงาน
แต่ความคุ้มครองนี้ไม่ยกเว้นถ้าเป็นความผิดทางอาญาในลักษณะความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน เกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง เกี่ยวกับทรัพย์ และความผิดในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดอาญาในลักษณะดังกล่าว
สิทธิลาลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา การไกล่เกลี่ยและการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน และมีสิทธิลาเพื่อไปประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ โดยแจ้งให้นายจ้างทราบพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง วันลาดังกล่าวนี้ถือเป็นวันทำงาน ไม่ถือว่าเป็นการลาหรือขาดงาน (ม.102)
ความคุ้มครองโดยตรงที่ลูกจ้างได้รับ มีบัญญัติไว้ในหมวด 9 ว่า ว่าด้วยการจะทำอันไม่เป็นธรรม คือบทบัญญัติในมาตรา 121, มาตรา 122 และมาตรา 123
มาตรา 121 ห้ามมิให้นายจ้าง
(1) เลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการสหภาพแรงงานหรือกรรมการสหพันธ์แรงงาน ไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานได้นัดชุมนุม ทำคำร้องยื่นข้อเรียกร้อง เจรจาหรือดำเนินการฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน หรือให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือนายทะเบียน พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อศาลแรงงาน หรือเพราะเหตุที่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานกำลังจะกระทำการดังกล่าว
(2) เลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
(3) ขัดขวางในการที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือให้ลูกจ้างออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหรือให้หรือตกลงจะให้เงินหรือทรัพย์สินแก่ลูกจ้างหรือเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานเพื่อมีให้สมัครหรือรับสมัครลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือเพื่อให้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
(4) ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานหรือขัดขวางการใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน หรือ
(5) เข้าแทรกแซงในการดำเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย
บทบัญญัติในมาตรานี้ เป็นการสนับสนุนสหภาพแรงงาน จึงตรากฎหมายออกมาคุ้มครองกำหนดเป็นข้อห้ามมิให้นายจ้างกระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการดำเนินการของสหภาพแรงงาน นายจ้างฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 158 มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 122 ห้ามมีให้ผู้ใด
(1) บังคับหรือขู่เข็ญโดยทางตรง หรือทางอ้อม ให้ลูกจ้างต้องเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ
(2) กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 121
บทบัญญัติมาตรานี้เป็นบทบังคับแก่บุคคลอื่นอันไม่ใช่นายจ้างกระทำการดังกล่าวใน (1) หรือกระทำการใด ๆ ที่จะเป็นผลให้นายจ้างกระทำการตามกล่าวในมาตราก่อนเช่นเลิกจ้างหรือกระทำการอย่างอื่นจนทำให้ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการสหภาพแรงงานหรือกรรมการสหพันธ์แรงงาน ไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้ หรือเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือขัดขวางมิให้ลูกจ้างเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหรือลาออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงาน ขัดขวางการใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหรือเข้าแทรกแซงการดำเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานโดยมิชอบ เป็นความผิดตามมาตรานี้และมีโทษตามมาตรา 159 จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 123 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสหภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้นายเลิกจ้างลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการ สหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง หรือ
(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(5) จะทำการใด ๆ เป็นการยุยง สนับสนุน หรือชักชวนให้มีการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสหภาพการจ้างหรือคำชี้ขาด
บทบัญญัติมาตรานี้ เป็นการคุ้มครองลูกจ้างจากการกลั่นแกล้งหรือกระทำการอย่างไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างภายหลังที่ได้ยื่นข้อเรียกร้องและมีการตกลงกันแล้ว และข้อตกลงนั้นหรือคำชี้ขาดนั้นมีผลใช้บังคับอยู่ นายจ้างจะปลดหรือเลิกจ้างลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการหรือสมาชิกของสหภาพแรงงานหรือกรรมการหรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข่ายลูกจ้างหรือผู้แทนหรือกรรมการหรืออนุกรรมการนั้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามข้อยกเว้น 5 ข้อที่กล่าวมานั้น
การฝ่าฝืนมาตรานี้เป็นความผิดตามมาตรา 158 มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อยกเว้น 5 ข้อนี้ เป็นช่องทางให้เกิดความกลั่นแกล้งลูกจ้างได้ หากนายจ้างไม่มีความสุจริตใจ ดังที่เกิดขึ้นในคดีต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีการนั้นหยุดงานหรือยื่นข้อเรียกร้อง ทำนองเดียวกับข้อยกเว้นตามประกาศคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ว่าด้วยเงินชดเชย ซึ่งมีข้อยกเว้นนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย หากลูกจ้างกระทำการ
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำต้องตักเตือน
(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(5) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ผลของการนี้ แม้ภายหลังลูกจ้างหรือผู้ที่ถูกกระทำสามารถพิสูจน์ได้ นายจ้างก็มักบิดพลิ้วไม่ยอมรับกับเข้าทำงาน หรือหากต้องจ่ายเงินชดเชยก็มักมีวิธีการพักผ่อนบิดพริ้วต่าง ๆ มากมาย
นอกจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ยังมีบังคับที่ถือว่าเป็นการคุ้มครองลูกจ้างหรือผลประโยชน์ของลูกจ้างไว้อีกด้วยเช่น
มาตรา 128 กำหนดโทษของผู้แทนลูกจ้างหรือผู้แทนสหภาพแรงงานผู้ใดรับหรือยอมรับเงินหรือทรัพย์สินเพื่อกระทำการใดให้ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานที่ตนเป็นผู้แทนเสียผลประโยชน์อันควรได้มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 129 กำหนดว่าที่ปรึกษาลูกจ้างรับหรือยอมรับทรัพย์สินจากผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อกระทำการอันเป็นให้จ้างที่ตนเป็นที่ปรึกษาต้องเสียผลประโยชน์อันควรได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ การฝ่าฝืนเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งลูกจ้างผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีได้ บทบัญญัติดังกล่าวนี้นับว่าเป็นการคุ้มครองลูกจ้างส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ดังที่ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์เสมอว่ามีการละเมิดกฎหมายและการคุ้มครองแรงงาน กรมแรงงานเองก็ไม่สามารถควบคุม สอดส่องดูแลได้ทั่วถึง จึงมีการละเมิดกฎหมายคุ้มครองแรงงานอยู่เสมอเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การกระทำอันไม่เป็นธรรม การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การใช้แรงงานเด็กและสตรี ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากความโลภและเห็นแก่ได้ของนายจ้าง ก็เป็นสิ่งที่ลูกจ้างทั้งหลายจะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือของชนชั้นของตนคือของผู้ใช้แรงงานทั่วไปเพราะความยุติธรรม ณ ที่แห่งใดย่อมกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในที่ทุกแห่ง
ศาลแรงงาน

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน 2522
เมื่อปี 2552 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ซึ่งได้มีผลใช้บังคับและเปิดดำเนินการพิจารณาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2523 นั้น เป็นองค์กรหนึ่ง ที่จะช่วยเหลือให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างผู้ใช้แรงงานทั้งหลายอีกระดับหนึ่ง อันถือได้ว่าเป็นความพยายามของรัฐที่จะให้ความคุ้มครองแรงงานของรัฐตามสภาพและเงื่อนไขของสังคมในปัจจุบัน
การคุ้มครองแรงงานที่เห็นได้จากกฎหมายนี้คือ
การที่ลูกจ้างมีสิทธิเลือกผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างเข้าไปร่วมการพิจารณาคดีแรงงาน (ม.14) เท่ากับว่าลูกจ้างมีผู้แทนของตนเข้าร่วมในการพิจารณาคดีแรงงาน เป็นผู้พิทักษ์ความยุติธรรมของฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
การยื่นฟ้องคดีโดยไม่เสียค่าฤชธรรมเนียม (ม. 27) นี้นับว่ามีส่วนช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของลูกจ้างผู้ใช้แรงงานทั้งหลายมาก เพราะอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของลูกจ้างในการดำเนินคดีก็คือเรื่องเงินค่าฤชาธรรมเนียม แม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะให้โอกาสดำเนินคดีอย่างบุคคลอนาถาได้ ก็ต้องผ่านวิธีการและการไต่สวนก่อนจึงจะมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างบุคคลอนาถาได้ แต่กฎหมายนี้ให้ความสะดวกแก่ลูกจ้างในการแสวงหาความยุติธรรมได้กว้างขวางขึ้น
นอกจากนี้การพิจารณาคดีของศาลแรงงานก็อาจเปิดดำเนินการ ณ สถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น หรือสถานที่อื่น หากศาลเห็นสมควร (ม.28) นี้นับว่าเป็นการให้ความสะดวกและเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีแรงงานอย่างยิ่ง ซึ่งหากพิจารณาคดีในศาลอื่นเช่นศาลแพ่ง นอกเสียจากว่าเป็นการเผชิญสืบแล้ว ต้องดำเนินการพิจารณาคดีที่ศาลเท่านั้น
ในการพิจารณาศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาคดีได้ (ม.30) การให้อำนาจศาลดังกล่าวนี้เพื่อยังให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น
การฟ้องคดี กฎหมายก็กำหนดให้เพื่อความสะดวกเช่นจะฟ้องคดีต่อศาลแรงงานที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือจะฟ้องต่อศาลที่โจทย์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้ โดยแสดงให้ศาลแรงงานนั้น ๆ เห็นว่าการพิจารณาคดีในศาลนั้นจะเป็นการสะดวก (ม.33)
ท้องที่ที่ไม่มีศาลแรงงาน โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดหรือสารแรงงานภาคก็ได้ เมื่อยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด ๆ จะแจ้งให้ศาลแรงงานภาคทราบและศาลแรงงานภาคจะไปนั่งพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดนั้น (ม.34)
การยื่นฟ้อง จะยื่นฟ้องเป็นลายลักษณ์อักษรหรือแถลงด้วยวาจาต่อหน้าศาลก็ได้ (ม.35)
ลูกจ้างจะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานที่ตนเป็นสมาชิกหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ดำเนินคดีแทนก็ได้ (ม.36)
ที่นับว่าเป็นการให้ความสะดวกแก่ลูกจ้างเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้มาตรา 47 เมื่อศาลให้ผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นพยานศาล ลูกจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าพาหนะ ถ้าป่วยการ หรือค่าที่พัก ศาลแรงงานเป็นผู้ออกแทนตามกฎหมาย เป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนของลูกจ้างอีกประการหนึ่ง
ในการพิจารณาคดีแรงงานคำนึงถึงสภาพการทำงาน ภาวะค่าครองชีพความเดือดร้อนของลูกจ้าง ระดับค่าจ้าง หรือสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดของลูกจ้างที่ทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน รวมทั้งฐานะแห่งกิจการของนายจ้างตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไปประกอบการพิจารณาเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย (ม.48)
ในการพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะเลิกจ้าง
ถ้าศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ (ม.49)
บทบัญญัตินี้เป็นบทบังคับอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ เป็นการให้อำนาจแก่ศาลแรงงานที่พิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างมากขึ้น ในกรณีที่อยู่นอกเหนือบทบังคับดังกล่าวหรือบทบังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
บทบัญญัตินี้ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะไม่ต้องถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม มาขอความเป็นธรรมจากศาลได้
ลูกจ้างประจำทุกคนที่ไม่มีกำหนดเวลาการจ้างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่ ได้สิทธิคุ้มครองจากบทบัญญัตินี้
การเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมตามมาตรานี้มีความหมายคนละความหมายกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 121, 122 และมาตรา 123 นัยหนึ่ง เป็นการขยายความกว้างขวางขึ้น มีขอบเขตในการให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างมากขึ้น อันนับได้ว่าเป็นผลดีแก่ลูกจ้าง
ทางปฏิบัติ
ที่เก่าข้างต้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของต่างประเทศคำประกาศปฏิญญา และด้วยบทกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งนอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีกฎหมายและบทบัญญัติอื่น ๆ และประกาศต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้อีก
อย่างไรก็ตาม บทกฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงตัวหนังสือ การที่จะยังให้เกิดความเป็นธรรมหรือมีผลในการคุ้มครองลูกจ้างแรงงานอย่างแท้จริงต้องอาศัยการปฏิบัติ
เรายอมรับกันว่า บทกฎหมายต่าง ๆ ยังมีข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องแก้ไขอยู่อีกมาก เพราะเปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเกิดผลในทางไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง หรือบทกำหนดโทษสำหรับการละเมิดกฎหมาย และโทษที่ลงแก่ผู้ละเมิด ก็บัญญัติไว้เพียงเบา ๆ ครั้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาด้วยเหตุผลและดุลยพินิจตามวิธีการของสารที่กฎหมายกำหนดก็มีการลดโทษ ลดการปรับลงมาอีก รวมทั้งการรอลงอาญาการทำให้เกิดการละเมิดกฎหมายดังที่เจ้าหน้าที่กรมแรงงานเองก็เคยบ่น กรณีที่มีการ “ลดครึ่งราคา” หนังที่ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์มาแล้วเป็นต้น
นอกจากบทกฎหมายจะยังไม่สมบูรณ์แล้ว การปฏิบัติตามกฎหมายก็ยังหย่อนยานไม่ครบถ้วนบริบูรณ์อีก ดังเช่นปัญหาของกรมแรงงานที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือ บุคลากรเพียงพอในการที่จะบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ยังไม่อาจแก้ไขได้
นอกจากนี้ปรากฏการณ์ในระยะหลัง ๆ จะเห็นได้ว่า ฝ่ายนายจ้างมักได้เปรียบลูกจ้างตรงที่สามารถจ้างที่ปรึกษาหรือนักกฎหมายมาร่วมให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินการต่าง ๆ ตามช่องโหว่ที่กฎหมายเปิดให้ อันมีผลทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงหรือละเมิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่นการว่าจ้างผ่านบริษัทนายหน้าคนกลาง การจัดตั้งห้าง ร้านหรือบริษัทใหม่รับช่วงการทำของหรือการจ้างงานไปทำเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อลูกจ้างของนายจ้างบางรายเป็นต้น
บริษัทหรือนายจ้างบางแห่งก็ดำเนินการเพื่อรับมือลูกจ้างด้วยการจ้างนักแรงงานที่รู้ที่เข้าใจกฎหมายหรือวิธีการแรงงานรับมือกับลูกจ้าง ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาต่าง ๆ ในการดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย
การกระทำอันไม่สุจริตของพนักงานแรงงานก็เคยปรากฏเป็นข่าว แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดก็ตาม ข่าวดังกล่าวได้แก่การที่เจ้าพนักงานแรงงานได้รับผลประโยชน์จากบริษัทโรงงานนายจ้างต่าง ๆ ทำให้ต้องเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับการละเมิดกฎหมายการคุ้มครองแรงงาน
ข้อบกพร่องทั้งหลายเหล่านี้เป็นเรื่องที่ลูกจ้างสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานจะต้องเอาใจใส่ดูแล ศึกษา แสวงหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ เก็บเอาไว้เพื่อหาทางแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้ เคยมีปรากฏบ่อย ๆ ว่า ทั้งที่กฎหมายกำหนดว่านายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปต้องจัดให้มีระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการจ้างแรงงานและปิดประกาศให้ลูกจ้างได้ทราบ แต่ลูกจ้างไม่เคยเห็นข้อบังคับหรือระเบียบการจ้างงานนั้นเลย ผู้เขียนเองเคยเผชิญปัญหานี้เสมอ ๆ เมื่อถามลูกจ้างว่ามีข้อบังคับหรือไม่ ขอดูหน่อยจะได้หาทางแก้ไข ปรากฏว่าลูกจ้างหลายแห่งตอบว่าไม่มีข้อบังคับ ไม่เคยเห็น จะเห็นต่อเมื่อถูกไล่ออกหรือเลิกจ้างโดยนายจ้างอ้างว่าผิดข้อบังคับและเตือนแล้ว เช่นนี้
หรือกรณีลูกจ้างทำงานมาเกิน 120 วันนายจ้างต้องบรรจุเป็นลูกจ้างประจำดังที่กฎหมายบัญญัติในทางปฏิบัตินายจ้างบางแห่งไม่ยอมบรรจุ วิธีการคือก่อนจะครบ 120 วันก็ปลดออกเสีย หนึ่งสัปดาห์บ้าง สามวันบ้าง ห้าวันบ้าง แล้วก็รับเข้ามาทำงานใหม่เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ จะขัดขืนนายจ้างบอกให้ออกก็ออกเป็นบุญคุณเสียอีกที่นายจ้างรับเข้าทำงานใหม่ ขอแต่ให้มีงานทำเท่านั้น หรือบางทีนายจ้างบางแห่งก็ใช้วิธีทำสัญญาจ้างชั่วคราวหรือจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลา ไม่ใช่เพราะความจำเป็นหรือความต้องการเช่นนั้น แต่เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของลูกจ้าง ซึ่งเป็นการกระทำตามที่กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ แต่ว่าพฤติการณ์เห็นได้ชัดว่าเพื่อนหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการ เรื่องเงินชดเชยหรือค่าทดแทน
ผู้ใช้แรงงานทั้งหลาย ต้องสามัคคีกัน ร่วมกันศึกษากฎหมาย ระเบียบบังคับและสภาวะทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบการแก้ไขเพื่อความเป็นธรรมของลูกจ้าง
ต้องร่วมใจกันดำเนินการให้องค์กรของลูกจ้างมีความแข็งแกร่ง ขยายสามัคคีระหว่างลูกจ้าง สามัคคีกับองค์หรือบุคคลที่เป็นมิตรกับลูกจ้างในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างให้ใกล้ชิดและเข้มแข็งมากขึ้น
ดำเนินการต่อสู้ต่อไปอย่างองอาจ มั่นคงและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ยึดมั่นในการพึ่งตนเองและความเป็นอิสระในการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์แรงงานอย่างเด็ดเดี่ยว
ชัยชนะจะเป็นของผู้ใช้แรงงานอย่างแน่นอน
หมายเหตุ :
- บทความชิ้นนี้มีการปรับปรุงชื่อโดยกองบรรณาธิการ สถาบันปรีดี พนมยงค์จาก “คุ้มครองแรงงาน” เป็น “เปรียบเทียบกฎหมายคุ้มครองแรงงาน : ช่องโหว่การเลือกปฏิบัติ” บทความเผยแพร่เมื่อปี 2523
เอกสารอ้างอิง
- ทองใบ ทองเปาด์, คุ้มครองแรงงาน, ระพี’23, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์, 2523), หน้า 125-140.
- ทองใบ ทองเปาด์
- กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- ประกาศแห่งฟิลาเดลเฟีย
- สหภาพแรงงาน
- สหพันธ์แรงงาน
- เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
- รัฐธรรมนูญ ปี 2521
- ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
- พระราชบัญญัติแรงงาน 2499
- พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518
- พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน 2522
- จอมพล ถนอม กิตติขจร
- จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์