ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เกร็ดประวัติศาสตร์

เจ้าลูกตุ้มผู้ยิ่งยง: ตำนานนาฬิกาของขวัญแห่งตึกโดม

9
กรกฎาคม
2568

Focus

  • บทความ “เจ้าลูกตุ้มผู้ยิ่งยง” เป็นบันทึกความทรงจำของ สมิทธิ นวกุล ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ นาฬิกาลูกตุ้มบนตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่เบื้องหลังการเลือกซื้อ “นาฬิกาปารีส” การออกแบบตึกโดมของหมิว อภัยวงศ์ ไปจนถึงสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของนักศึกษาในอดีต จากความทรงจำส่วนตัวที่ผสานกับประวัติศาสตร์ของสถาบัน เพื่อให้คนรุ่นหลังเห็นคุณค่าและเข้าใจบริบทของสิ่งเล็ก ๆ ที่ยืนยงเคียงข้าง “แม่โดม” มาอย่างยาวนาน

 


ตึกโดมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะบูรณะในปี 2568 ที่ “นาฬิกาปารีส” ยังคงทำงานอยู่บนหน้าบันของตึก

 


ตึกโดมขณะก่อสร้าง

 


พิธีเปิดตึกโดม
ที่มา: หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์

 

ตามหัวเรื่อง ผมหมายถึงนาฬิกาลูกตุ้ม

ครับ ก็นาฬิกาที่สถิตประดิษฐานอยู่ส่วนบนของตึกโดมนั่นแหละ

สมัยก่อนนี้ นักศึกษาหรือใครก็ตาม ที่เดินผ่านเข้ามาหน้าตึกโดม หวังจะอาศัยดูเวล่ําเวลา จะต้องเดินไปกลางสนามหน้าโคม แล้วแหงนหน้าจนคอตั้งบ่า (ที่จริงคอมันตั้งอยู่บนบ่ามาตั้งแต่เกิดแล้ว เพียงแต่แหงนหน้าขึ้นเท่านั้นเอง) จึงจะมีโอกาสได้เห็นเข็มนาฬิกาว่าเป็นเวลากี่โมงกี่ยาม แต่มาในปัจจุบันวันนี้เจ้านาฬิกาลูกตุ้มเรือนนี้ดูเหมือนจะเป็นที่พึ่งของใครไม่ได้เสียแล้ว เพราะไม่มีสนามที่จะให้เดินแหงนหน้าได้ ด้วยว่าสนามได้กลายเป็นสวนป่าที่รกครึ้มและร่มเย็นไปด้วยไม้นานาพันธุ์ แผ่กิ่ง บ้านเสียดยอดขึ้นไปจนปิดบังหน้าปัดเจ้านาฬิกาลูกตุ้มเสียหมดสิ้น นับแต่นี้ไปประโยชน์ก็จะมีเพียงเป็นสิ่ง ประดับคู่บุญบารมีของ "แม่โดม" เท่านั้นเอง

 


นาฬิกาลูกตุ้มบนตึกโดม
ที่มา: หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์

 

แต่อย่าเพิ่งก่อน อย่าถึงกับหมดอาลัยตายอยากในบุญวาสนาของตัวไปนักเลย เจ้าลูกตุ้มเอย "แม่โดม" เองก็ยังถูกสิ่งปลูกสร้างใหม่ ๆ สูงบดบังซะหัวจนหมดสง่าราศีไปด้วยกันนั่นแหละ แต่สักวันหนึ่ง คงจะมีคนดีของลูกโดมมาเกิด และชุบชีวิตของ "แม่โดม" ให้สูงผงาดสง่า งามค้ำฟ้า สมศักดิ์ศรีกับที่เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันแห่งนี้ชั่วนิรันดร์

คงไม่ช้าหรอกนะ ฟ้าสีทองคงจะผ่อง....โอ๊ะ! ไม่เอา เข็ดแล้ว ไม่สร้างก็อย่าสร้าง การที่คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยได้ดัดแปลงสนามหญ้าหน้าตึกโดมเป็นสวนพฤกษชาติดังที่เห็นกันอยู่นี้ ก็มิได้มีเจตนาความปรารถนาดีที่จะปลูกป่าเพื่อเป็นการชดเชยเขาหัวโล้น อันเป็นน้ํา ลําธารแทนกรมป่าไม้แห่งกรุงสยาม เป็นการประชดประชันให้ได้อาย หามิได้ หากแต่เป็นการป้องกัน ระยะยาวและอย่างสุภาพ หรือจะเรียกว่า "แก้ลํา" บรรดาลูกของแม่โดมที่กําลังแรกรุ่นดรุณชนก็ยังได้ เพราะพ่อเจ้าประคุณรุนช่องทั้งหลายเธอชอบนําเอาตะกร้อบ้าง ลูกบอลบ้าง (แบบพลาสติกที่เด็กอนุบาล เล่น) มาเตะกันตั้งแต่เช้ายันค่ํา จนหญ้ามรณภาพราพณาสูร กลายเป็นสนามโคลนไปฉิบ

ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็คือ

1. ด้านมหาวิทยาลัย ต้องเสียทรัพย์และแรงงานในการซ่อมสนามไม่ได้หยุดหย่อน

2. ด้านนักศึกษา ต้องเสียเวลาเรียนเวลาเข้าห้องสมุด เพราะเล่นกันทั้งวันจริง ๆ ยังจําหน้ากลุ่มได้ติดตาตําใจมาจนทุกวันนี้

3. ด้านวัฒนธรรม ก็พระคุณท่านเล่นถอดรองเท้าบ้าง ถอดเสื้อบ้าง ถลกขากางเกงขึ้นไปถึงเข้าบ้าง เล่นไป ๆ ขากางเกงหลุดลงมา สั้นข้างยาวข้าง โดยไม่อินังขังขอบ ด้วยลูกมันกําลังติด พัน ไม่มีเวลาที่จะคิดถึงสภาพของตัวเองและสถาบัน รถจะผ่าน ใครจะเดิน ก็ต้องเสี่ยงดวงกันเอาเอง ผมหมายถึงยุคที่ประชาธิปไตยกําลังเบ่งบานโน่น ซึ่งเป็นสมัยที่รุ่งสุริยาท่าสีทองผ่องอําไพ

เรื่อง ๆ ขึ้นเบื้องบุรพทิศ แต่ครั้นพระสุริยันตะวันอัสดงลงสู่ขอบฟ้าเบื้องทิศประจิมนั้นเล่า กลับเปล่ง รัศมีดั่งสีเลือก - ว้า ไม่เอาน่า

รวมความว่า เดี๋ยวนี้ "เจ้านาฬิกาลูกตุ้ม" ไม่มีประโยชน์แก่ใครผู้ใด ทั้งที่อยู่ในบริเวณมหา วิทยาลัย และที่สัญจรผ่านไปมาเสียบฝั่งหรือกลางแม่น้ําเจ้าพระยา แม้กระทั่งคนที่แหงนคออยู่ฝั่งระโน้น ก็จะเห็นแต่ยอดโดมเพียงรําไร ๆ เท่านั้นเอง

 


จิตรเสน (นามเดิม หมิว) อภัยวงศ์ สถาปนิกผู้ออกแบบตึกโดม
ที่มา: อัสสัมชัญอุโฆษสมัย ฉบับปี 1920

 

ในการออกแบบสร้างตึกโดมนี้ คุณหมิว อภัยวงศ์ (น้องท่านควง อภัยวงศ์) เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ และในแบบนั้นได้เว้นช่องเป็นรูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตรไว้บนยอดโดมด้วยความมุ่งหมายเพื่อติดตั้งนาฬิกานั่นเอง

คุณหมิว อภัยวงศ์ ผู้ออกแบบตึกโดมนี้ ได้ถึงแก่กรรมไป 40 กว่าปีแล้ว ท่านสําเร็จการ ศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส ยอดโดมก็คงเอาแบบอย่างมาจากศิลปของฝรั่งเศสนั่นเอง แต่ก็ยังมีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองบางท่านป้ายสีเอาว่า เอาแบบมาจาก "พระราชวังเครมลิน"

ก็ย่อมได้ เมื่อถือการเมืองเป็นงานสงกรานต์เสียอย่าง ใครจะทําไม ท่อระบายน้ําโสโครกในมหาวิทยาลัยลงสู่แม่น้ําเจ้าพระยา ท่านยังว่าเป็น "อุโมงค์" ตะขอเหล็กสําหรับตัดรานกิ่งไม้รอบ ๆ สนามฟุตบอล พระเดชพระคุณยังเหมาเอาว่าเป็น "เคียว" ไปได้

อะ! เผลออีกแล้ว

เกี่ยวกับคุณหมิว อภัยวงศ์ นี้ รุ่นพี่ ๆ เล่าให้ผมฟังว่า ท่านดื่มเบียร์แทนน้ํา ก็คงติดมาจาก ฝรั่งเศส เช่นเดียวกับท่านศาสตราจารย์เดือน (บุนนาค) ผมไม่เคยเห็นท่านดื่มน้ําชากาแฟ หรือน้ําเปล่าเลย กระหายน้ําขึ้นมาท่านก็สั่งให้ภารโรงรินเบียร์ในตู้เย็นมาดื่มแทน แต่ท่านดื่มเบียร์เยอรมันนะครับ ราคาขวดละเท่าไหร่ก็จําไม่ได้แล้ว แต่เบียร์ไทย 3ขวดหนึ่งบาทในสมัยโน้น - ว้า เปรี้ยวปาก วันหนึ่งขณะที่คุณหมิว อภัยวงศ์ นั่งจินตนาการเพื่อออกแบบตึกโดมอยู่ริมแม่น้ําเจ้าพระยา หลังพิงต้นไม้ หันหน้ามาทางตึกโดมที่จะสร้าง จินตนาการพลางก็ดื่มเบียร์ไปพลาง จะสิ้นเวลาไปเท่า ไหร่ไม่มีใครยืนยัน แต่เมื่อคุณหมิวลุกขึ้นจากที่นั่งอยู่ ซึ่งคงหมายความว่า โครงสร้างของตึกโดมองเสร็จ สมอารมณ์หมายแล้ว ปรากฏว่าทิ้งขวดเบียร์ไว้เกลื่อนโคนต้นไม้

เอาไว้เขียนเกี่ยวกับตึกโดมโดยตรงดีกว่า

 


แผนผังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนก่อสร้างตึกโดม
ที่มา: หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2562). จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 22 มิถุนายน 2561-พฤษภาคม 2562.

 


แบบรูปตึกโดมที่เขียนขึ้นในคราวซ่อมอาคาร ปี พ.ศ. 2526
ที่มา: หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2562). จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 22 มิถุนายน 2561-พฤษภาคม 2562.

 

เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2478 หลังจากการสร้างตึกโดมเสร็จแล้ว ทางผู้บริหารมหา วิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้ปรึกษากับคุณหมิว อภัยวงศ์ นายช่างสถาปนิกว่า ควรจะจัดซื้อนาฬิกายี่ห้อ (ยังไม่มีภาษาไทยใช้) อะไรจึงจะเหมาะสม แล้วมอบให้คุณหมิวช่วยสอบถามราคา ให้ด้วย ปรากฏว่ามีห้างขายนาฬิกาต่าง ๆ เสนอขายนาฬิกาชนิดเดินด้วยไฟฟ้า มีแบตเตอรี่ และมีน หน้าปัดสําหรับดูเวลากลางคืนได้ด้วย รวม 4 รายด้วยกัน คือ

1. ห้าง วินด์เซอร์ เสนอราคา 970 บาท ไม่รวมค่าติดตั้ง

2. ห้าง เกสรกาโบว์ เสนอราคา 1,050 บาท ไม่รวมค่าติดตั้ง 3. ห้าง บี.กริมแอนด์โก เสนอราคา 959 บาท ไม่รวมค่าติดตั้ง

4. ห้าง เอส.เอ.บี. เสนอราคา 1,250 บาท รวมค่าติดตั้งและค่าบํารุงรักษา 1 ปี ประกัน 5 ปี

ในการพิจารณาว่ามหาวิทยาลัยควรจะซื้อนาฬิกาของผู้เสนอราคารายใดไว้ใช้ติดตั้งกับตึกโดมนั้น ท่านศาสตราจารย์เดือน บุนนาค เลขาธิการ, ท่านศาสตราจารย์วิจิตร สุลิตานนท์ ผู้ช่วย เลขาธิการ และท่านศาสตราจารย์ขุนประเสริฐศุภมาตรา ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายปฏิคม ผู้ดํารงตําแหน่ง ในขณะนั้นตามลําดับ ได้ร่วมกันพิจารณา และมีมติว่า น่าจะซื้อนาฬิการายของห้าง เอส.เอ.บี.เพราะ เป็นห้างที่ขายนาฬิกาที่มีความชํานาญและมีประสบการณ์มากกว่าห้างอื่น ๆ เพราะได้เคยติดตั้งนาฬิกา ที่ รร.วชิราวุธวิทยาลัย สวนลุมพินี และที่เนติบัณฑิตยสภามาแล้ว ราคาที่ห้าง เอส.เอ.บี. คิดสูงกว่า ห้างอื่นก็เพราะรวมค่าติดตั้ง ซึ่งทางอื่นไม่ได้คิดรวมไว้ แต่คณะผู้ดําเนินการติดตั้งนาฬิกานี้ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เท่าที่ทราบมาจากห้าง เอส.เอ.บี. นั้น นาฬิกาไฟฟ้าชนิดมีแบตเตอรี่ด้วย แต่เดินไม่ตรงเวลา ต้องเสียค่ารักษา และใช้ความระมัดระวังมาก เพราะกระแสร์ไฟฟ้าสมัยนั้นส่งกระแสร์ไฟมาไม่สม่ําเสมอ ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กัน สู้นาฬิกาลูกตุ้มไม่ได้

นาฬิกาลูกตุ้มที่ว่านี้ มีชื่อว่า "นาฬิกาปารีส" ครับ

ในภาพท่านจะเห็นลูกตุ้มห้อยอยู่ ลูกตุ้มเป็นเหล็กแผ่นกลม ๆ แผ่นล่างสุดใหญ่และเล็กขึ้น มาเรื่อย ๆ ตามลําดับ มีอยู่ 7 ชิ้นด้วยกัน รวมน้ําหนัก 50 กก. สายที่เห็นโยงขึ้นโยงลงนั่น อย่านึก ว่าเป็นเชือกนะครับ ลวดสลิงขนาดน้อง ๆ นิ้วก้อย ยาวประมาณ 20 - 30 เมตร โยงตั้งแต่ยอดโดม ถึงพื้นของตึกโคมชั้น 3

ภายในตู้หรือห้องเครื่อง เป็นตู้ประกอบด้วยไม้ ภายในตู้เป็นที่ตั้งของเครื่องจักร ซึ่งมีอยู่ เพียง 7 - 8 ชิ้น ฟันเฟืองและกระเดื่องแต่ละชิ้นขนาดนิ้วก้อยขึ้นไป ไม่มีวันหัก ไม่มีวันคด น้ํามันเครื่องหล่อลื่น จะหยอดหรือไม่หยอด ที่ลูกตุ้มไม่แยแส ต่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาที่ลูกตุ้มเมามาย ขนาดไหน จะเอาขวดเหล้าขว้างเข้าไปในห้องเครื่อง ขวดแตกเปล่า ฉะนั้นที่ลูกตุ้มจึงยังยืนหยัดปฏิบัติรับใช้มหาวิทยาลัยมาได้โดยตลอดจนครบรอบ 50 ปีเข้าวันนี้

 


กลไกลูกตุ้มนาฬิกา
ที่มา: หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์

 

นาฬิกาลูกตุ้มหรือนาฬิกาปารีสเรือนนี้ ปกติจะต้องไขลาน 7 วันต่อครั้ง แต่ก็ไม่แน่เสมอไป ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบขี้หลงขี้ลืมไปบ้าง 15 วันไขลานครั้งก็ยังไหว และการไขลานแต่ละครั้งนั้น เจ้า หน้าที่จะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ต้องเกร็งข้อมือทั้ง 2 ข้าง มิฉะนั้นที่ลูกตุ้ม ของเราจะไม่ยอมเขยื้อนขยับ - ก็น้ําหนักตั้ง 50 กก นี่ครับ

ในการขออนุมัติซื้อนาฬิกาจากห้าง เอส.เอ.บี. ราคา 1,250 บาทนี้ ท่านเลขาธิการได้ เสนอท่านผู้ประศาสน์การว่า แม้ราคาจะแพงกว่ารายอื่น 150 บาท ก็น่าจะซื้อรายนี้ เพราะรวมค่าติด ตั้ง ค่าดูแลรักษา และค้ําประกัน 5 ปี

ท่านผู้ประศาสน์การได้สั่งลงมาว่า ให้เลขาธิการพิจารณาว่าอย่างไหนจะสะดวกและเที่ยงตรงมากกว่ากัน แล้วจัดการสั่งซื้อได้โดยไม่ต้องเสนอทวนขึ้นไปอีก

ต่อจากนั้นมหาวิทยาลัยก็สั่งซื้อด่วน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2478 และห้าง เอส.เอ.บี. ได้ตอบหนังสือมาในวันที่ 21 เดือนเดียวกันว่า ได้สั่งไปทางเมล์อากาศตั้งแต่วันนี้แล้ว และมีความยินดี ที่จะแจ้งให้มหาวิทยาลัยทราบด้วยว่า เพื่อเป็นของขวัญในโอกาสที่มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ ทาง ห้างจึงบริจาคให้โดยไม่คิดมูลค่าใด ทั้งสิ้น ทั้งยังขอให้ทางมหาวิทยาลัยไปเลือกนาฬิกาเอาเองได้ ตามความพอใจอีกด้วย

สรุปว่า แทนที่มหาวิทยาลัยจะต้องลงทุนซื้อนาฬิกาติดตั้งบนโคมด้วยเงิน 1,250 บาท กลับ กลายเป็นได้ของขวัญวันขึ้นบ้านใหม่อันสวยงามและสูงด้วยคุณค่า ด้วยประการฉะนั้น

จึงขอจารึกไว้ให้คนรุ่นหลังรู้กันไว้ ณ ที่นี้

อนึ่ง ตามที่ทางห้าง เอส.เอ.บี. เสนอว่าเมื่อซื้อนาฬิกาเรือนนี้แล้วยังรับจะดูแลรักษาให้ เป็นเวลา 1 ปีนั้น ก็ไม่จริง เพราะปรากฏว่าได้ช่วยดูแลรักษามาตลอดเวลาถึงปี 2482 มาพ้นภาระ รับผิดชอบของห้างต่อเมื่อได้อบรมให้เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยรู้วิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาและแก้ไขข้อขัดข้องอันอาจเกิดขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นอย่างดีแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2482

เป็นพ่อค้าที่น่ารัก ผิดกับสมัยนี้ที่พยายามเอาเปรียบ ตบตา ดีไม่ดียังสมคบกับเจ้าหน้าที่โกง--เผลอจนได้

ที่ผมตั้งหัวเรื่องว่า "เจ้าลูกตุ้มผู้ยิ่งยง” เพราะนาฬิกาเรือนนี้ได้ติดตั้งมาควบคู่กับมหาวิทยาลัยจนถึงบัดนี้ ก็ยังใช้ได้ดีอยู่ และตลอดเวลาที่เจ้าลูกตุ้มได้รับการติดตั้งยืนผงาดเคียงบ่าเคียงไหล่ มากับมหาวิทยาลัยนั้น ได้ฝ่าฟันอุปสรรคขวากหนามมาหลายขั้นตอน เช่น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ตึกโดมถูกลูกระเบิดตกลงที่ไหล่ด้านใต้ของตึกโดม ตรงกับห้องรับ - ส่งหนังสือของมหาวิทยาลัยเดี๋ยวนี้ ตึกโดมบิ่นไปพอหอมปากหอมคอ โดมยังผงาด เจ้าลูกตุ้มยังยืนหยัดอยู่ด้วยความสงบ และปฏิบัติรับ ใช้ชาวเหลืองแดงตลอดมาอย่างสม่ำเสมอ ตามที่เห็นกันอยู่

ผมจึงตั้งให้เป็น "เจ้าลูกตุ้มผู้ยิ่งยง” ไงละครับ

 


ด้านในของนาฬิกาปารีส
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

 

หมายเหตุ:

  • บทความชิ้นนี้กองบรรณาธิการ สถาบันปรีดี พนมยงค์ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น เจ้าลูกตุ้มผู้ยิ่งยง: ตำนานนาฬิกาของขวัญแห่งตึกโดม จากบทความเจ้าลูกตุ้มผู้ยิ่งยง โดยตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2533

อ้างอิง:

  • สมิทธิ นวกุล,เจ้าลูกตุ้มผู้ยิ่งยง ใน มีอะไรในธรรมศาสตร์ ,(ม.ป.พ. ,2533) หน้า 14-18.