ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทบาท-ผลงาน
3
กรกฎาคม
2563
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม เวียนมาบรรจบ ผมในฐานะศิษย์เก่า มธ. ของท่านรัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอจารึกความรู้สึกไว้ว่า ท่านรัฐบุรุษอาวุโสไม่ได้จากไปไหน เพียงแต่อัฐิธาตุของท่านได้ลอยจากไปท่ามกลางทะเลใสสะอาด แต่ผลงานของท่านยังคงอยู่ และผมระลึกอยู่เสมอว่า ฯพณฯ ปรีดี ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเปิดขึ้นแห่งแรกในประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง  ผมกล้าพูดได้ว่า ไม่มีท่าน ไม่มีธรรมศาสตร์ ไม่มีธรรมศาสตร์ ก็ไม่มีพวกเราทุกคน 
ชีวิต-ครอบครัว
28
มิถุนายน
2563
       ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ จักคงคู่ยุคอยู่ทุกสมัย คู่นามปรีดีปรีติชัย ปิ่นประชาธิปไตยไผทนิรันดร์      คือมือประคับป้องประคองมือ ถือธงนำทางร่วมสร้างสรรค์ ร่วมชีพร่วมประชาร่วมประชัน ศักดิ์สามัญแห่งมหาประชาชน      ร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วมเสียสละ สมถะ สันโดษ สำแดงหน คัลลองแห่งผู้ตัด อัตตาตน เป็นเยี่ยงอย่างให้ยลอยู่ทุกยาม      โอวาทสุดท้ายที่ธรรมศาสตร์ ดังประกาศ ฝากไว้ในสยาม “นักศึกษาธรรมศาสตร์ ทุกทุกนาม จงมีความสำนึกอยู่เป็นนิตย์
เกร็ดประวัติศาสตร์
13
มิถุนายน
2563
ตอน ๖ ปรีดีอสัญกรรม พ.ศ.๒๕๒๖ ถึง งาน ๑๐๐ ปีชาตกาลท่านรัฐบุรุษอาวุโส บุคคลสำคัญองค์กร UNESCO   ณ บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส เวลา ๑๑ นาฬิกาเศษ ของวันจันทร์ที่ ๒ พ.ค.๒๕๒๖ นายปรีดีสิ้นใจอย่างสงบด้วยอาการหัวใจวายขณะกำลังเขียนหนังสืออยู่ที่โต๊ะทำงาน สรีระของท่านได้รับการประกอบพิธีฌาปนกิจศพอย่างสมเกียรติและเรียบง่ายตามเจตนารมณ์ของผู้วายชนม์เมื่อเที่ยงของวันจันทร์ที่ ๙ พ.ค.๒๕๒๖ ณ บริเวณสุสาน Père Lachaise สถานที่สำหรับ ฝังศพบุคคลสำคัญของประเทศ เช่น Chopin, Molière, Hugo, Delacroix ฯลฯ
เกร็ดประวัติศาสตร์
9
มิถุนายน
2563
ท่านนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านอธิการบดี ท่านที่เคารพรักทุก ๆ ท่าน
บทบาท-ผลงาน
22
พฤษภาคม
2563
การเปลี่ยนแปลงการปกครองยังไม่ทันผ่านพ้นข้ามปี อาจารย์ปรีดีก็สามารถก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง” ขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2476 ในฐานะผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย อาจารย์ปรีดีได้แถลงถึงเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เอาไว้ว่า เพื่อจะได้ช่วยบำบัดความกระหายการศึกษาของราษฎรโดยทั่วไป
Subscribe to มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์