ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ

เกร็ดประวัติศาสตร์
2
กันยายน
2565
แม้จะมีบันทึกรายนามของวีรชนที่เสียชีวิตจากการปะทะกับกองทัพญี่ปุ่น แต่จากการค้นคว้าของผู้เขียนยังคงไม่ปรากฏเอกสารที่กล่าวถึงวีรกรรมการต่อสู้ของครูลำยองอย่างเป็นทางการ มีเพียงเรื่องเล่าจากผู้ที่อยู่ร่วมในช่วงเวลาเดียวกัน
เกร็ดประวัติศาสตร์
27
สิงหาคม
2565
'อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ' เขียนบทความนี้ขึ้นหลังจากที่ได้ติดตามข่าวของ MUT 2565 ที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ถึงเรื่องราวชีวิตครอบครัวที่บิดาและมารดาเป็นพนักงานฝ่ายรักษาความสะอาดฯ กอปรกับเพิ่งผ่านพ้นช่วงวันสันติภาพไทย ทำให้ผู้เขียนพลันนึกถึงสมาชิกขบวนการเสรีไทยท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งมีอาชีพปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานแผนกรักษาความสะอาดของเทศบาลนครกรุงเทพเช่นกัน
เกร็ดประวัติศาสตร์
7
สิงหาคม
2565
'อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ' นำเสนอเรื่องราวของคณะทูตไทยซึ่งปฏิบัติหน้าที่และใช้ชีวิต ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ การเผชิญกับแรงกดดันทางการเมืองในโมงยามแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อุบัติขึ้น ทำให้ข้าราชการทั้งหลายต้องตกอยู่ในสถานะถูกควบคุมตัว โดยนายฉลีได้เปิดเผยเรื่องราวทั้งหมดผ่านหลักฐานสำคัญ คือ ‘ตอบหัวข้อการสอบสวนข้าราชการที่กลับจากประเทสอังกริด’
บทบาท-ผลงาน
31
กรกฎาคม
2565
เกร็ดประวัติศาสตร์ระหว่าง 'เปรม บุรี' และ 'นายปรีดี พนมยงค์' ท่ามกลางบรรยากาศงานสังสรรค์ภายหลังสิ้นสุดสงครามของเหล่าผู้กล้าเสรีไทยสายต่างประเทศ ณ บ้านถนนตก พร้อมด้วยเรื่องราวเส้นทางการเข้าร่วมขบวนการเสรีไทยของสองพี่น้องตระกูลบุรี คือ 'เปรม' และ 'รจิต'
บทบาท-ผลงาน
24
กรกฎาคม
2565
นายปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 เรื่อยมาจวบจนกระทั่งวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ภายหลังกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกรุกเข้ามาในเมืองไทยประมาณหนึ่งสัปดาห์เศษ สภาผู้แทนราษฎรปรึกษาหารือกันพร้อมลงมติแต่งตั้ง นายปรีดี ให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ถือเป็นการแต่งตั้ง สืบเนื่องจาก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนเดิมถึงแก่อสัญกรรม
แนวคิด-ปรัชญา
13
กรกฎาคม
2565
นับแต่ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้เกิดกระแสความตื่นตัวของหลากหลายกลุ่มคนที่แสดงความนิยมยินดีและส่งเสริมสนับสนุนต่อระบอบประชาธิปไตย มุ่งมั่นเทิดทูนรัฐธรรมนูญ รวมถึงศรัทธาในหลักการของ คณะราษฎร
บทบาท-ผลงาน
10
กรกฎาคม
2565
ห้วงเวลาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ปรากฏความตื่นตัวของกลุ่มคนในสังคมไทยจำนวนไม่น้อยที่ปรารถนาให้ประเทศของพวกตนได้ปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญแทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยิ่งเฉพาะในกลุ่มของผู้ทำงานด้านกฎหมายเยี่ยงพวกทนายความแล้ว ก็จะแสดงออกความคิดเห็นและเคลื่อนไหวเรียกร้องให้บ้านเมืองมีสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” อย่างแข็งขัน
เกร็ดประวัติศาสตร์
5
มิถุนายน
2565
ย้อนไปช่วงปลายทศวรรษ 2460 และต้นทศวรรษ 2470 ก่อนหน้าที่กลุ่มของ “คณะราษฎร” จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสังคมไทยเคยปรากฏกลุ่มของบุคคลหลายคณะที่ก่อตัวขึ้นเพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการปกครองแบบระบอบศักดินา ณ บัดนี้ ผมจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “คณะ” ต่างๆ เหล่านั้น
บทบาท-ผลงาน
14
พฤษภาคม
2565
สมัยที่ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคณะราษฎรได้มีนโยบายส่งเสริมการทำนาโดยจัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว ซึ่งการประกวดครั้งสำคัญนั้น เกิดขึ้นที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2477 ท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและสมาชิกคณะราษฎรบางส่วนยังเดินทางไปมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด อีกทั้งร่วมเกี่ยวข้าวจากแปลงนาของเกษตรกรด้วยตนเอง
Subscribe to อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ