วันที่ 27 ธันวาคม 2563 นายปรีดิวิชญ์ พนมยงค์ เป็นตัวแทนทายาทนายปรีดี พนมยงค์ มอบรางวัล “ช้างเผือก” แก่ผู้ชนะการประกวดหนังสั้น ในเทศกาลภาพยนต์สั้นครั้งที่ 24 (24th Thai Short Film and Video Festival) ซึ่งเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่จัดต่อเนื่องยาวนานที่สุดของประเทศไทย โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
ทั้งนี้รางวัลดังกล่าวตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “พระเจ้าช้างเผือก” ซึ่งได้แต่งนิยายเรื่อง King of The White Elephant หรือ พระเจ้าช้างเผือก เป็นภาษาอังกฤษ และสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน ออกฉายครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2484 ที่กรุงเทพฯ สิงคโปร์ และนิวยอร์ค โดยความยิ่งใหญ่ของภาพยนตร์เรื่องนี้ อยู่ที่เจตนารมณ์อันจริงใจ ของผู้สร้าง ในการนำเสนอเรื่อง ธรรมะของการปกครองแผ่นดิน ธรรมของการทำสงคราม เพื่อสถาปนาสันติภาพ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดยบุคคลที่เป็นหลักทางความคิดของชาติในเวลานั้น บุคลากรที่เป็นเลิศ ในศิลปวิทยาการสาขาต่างๆ ของชาติ จึงได้มาร่วมงานมากมาย และยังได้ถ่ายทำ ในโรงถ่ายภาพยนตร์ที่ดีที่สุด "พระเจ้าช้างเผือก" จึงเป็นเสมือนตัวแทน พัฒนาการสูงสุด แห่งการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของชาติ ในเวลานั้น และเพื่อสื่อทัศนะสันติภาพไปยังนานาประเทศ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น รางวัลช้างเผือก สำหรับภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมระดับนักศึกษา โดยมีคณะกรรมการตัดสินคือ อาจารย์รัศมี เผ่าเหลืองทอง นายสิทธิศิริ มงคลศิริ นายวิทวัส เมฆสวรรค์ และรางวัลช้างเผือกพิเศษ สำหรับภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมระดับนักเรียน โดยมีคณะกรรมการตัดสินคือ นายเป็นเอก รัตนเรือง และนายวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
รายชื่อผู้ได้รับรางวัลช้างเผือก และรางวัลช้างเผือกพิเศษ ในโครงการเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 24 มีดังนี้
รางวัลช้างเผือก (ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมระดับนักศึกษา)
รางวัลชนะเลิศ
- Hia/tus กำกับโดย พีรพัฒน์ รักงาม (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร)
รางวัลรองชนะเลิศ
- After a Long Walk, He Stands Still กำกับโดย กันตาภัทร พุทธสุวรรณ (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- Fatherland กำกับโดย ปัญญา ชู (คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
- สุสานใต้ดิน (Underground Cemetery) กำกับโดย วิศรุต ศรีพุธสมบูรณ์ (คณะเทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร)
ประกาศนียบัตรชมเชย
- ดาววิกาล (Daovikarn) กำกับโดย เหมือนดาว กมลธรรม (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- กำแพงล่องหน กำกับโดย รสิตา อุดมศิลป์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาศิลปากร
- ปฏิกุน (Pa-ti-koon) กำกับโดย ภูวดล เนาว์โสภา (วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต)
- กระสุนพิมเสน (The Incense Bullet) กำกับโดย ปฏิคม ลาภาพันธุ์ (คณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
รางวัลช้างเผือกพิเศษ (ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมระดับนักเรียน)
รางวัลชนะเลิศ
- คำเป็น คำตาย (Grey Sin) กำกับโดย ภูบดินทร์ เสือคำราม (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา)
รางวัลรองชนะเลิศ
- Apology Day อดีต ความสัมพันธ์ คำขอโทษ กำกับโดย ศิรัส อุราแก้ว (โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร)
- The Lost Summer กำกับโดย กัลปพฤกษ์ ติยะจามร (โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย)
สำหรับเทศกาลภาพยนตร์สั้นถูกจัดขึ้นครั้งแรกที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ในปีพ.ศ. 2540 ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิหนังไทย โดยในครั้งแรกนั้น มีการจัดฉายภาพยนตร์สั้นที่ร่วมส่งเข้าประกวด จำนวน 30 เรื่อง พร้อมกับการมอบรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ที่ชนะเลิศ หลังจากนั้นจึงดำเนินการจัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์ ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม ตามแนวทางของสถาบันฯ
เทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 24 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-27 ธันวาคม 2563 ณ อาคารสรรพสาตรศุภกิจ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- สถาบันปรีดี พนมยงค์
- ปรีดิวิชญ์ พนมยงค์
- รางวัลช้างเผือก
- (1551)
- ชลิดา เอื้อบำรุงจิต
- โดม สุขวงศ์
- เทศกาลภาพยนต์สั้นครั้งที่ 24
- หอภาพยนตร์
- พระเจ้าช้างเผือก
- King of the White Elephant
- สงครามโลกครั้งที่ 2
- ขบวนการเสรีไทย
- อาจารย์รัศมี เผ่าเหลืองทอง
- สิทธิศิริ มงคลศิริ
- วิทวัส เมฆสวรรค์
- เป็นเอก รัตนเรือง
- วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
- Hia tus
- พีรพัฒน์ รักงาม
- After a Long Walk
- He Stands Still
- กันตาภัทร พุทธสุวรรณ
- Fatherland
- ปัญญา ชู
- สุสานใต้ดิน
- วิศรุต ศรีพุธสมบูรณ์
- เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- คำเป็น คำตาย Grey Sin
- ภูบดินทร์ เสือคำราม