ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สรุปประเด็นเด่นจาก PRIDI Talks #10 ปาฐกถาวันปรีดี พนมยงค์

11
พฤษภาคม
2564

ในวันอังคารที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดงานปาฐกถาออนไลน์ PRIDI Talks #10 ปาฐกถาวันปรีดี พนมยงค์: รัฐสวัสดิการ เพื่อความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook LIVE เพจ สถาบันปรีดี พนมยงค์ เนื่องในวาระ 121 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี เป็นผู้ปาฐก และคุณศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

 

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ กล่าวเปิดงาน PRIDI Talks #10 ผ่านคลิปวิดีโอ

 

 

อาจารย์ษัษฐรัมย์กล่าวถึงอาจารย์ปรีดีในฐานะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะในทางประวัติศาสตร์ เป็นตัวละครหนึ่ง ในสายตาชนชั้นสูง เป็นปีศาจร้าย แต่ในสายตาของเขาที่ปรีดี พนมยงค์เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ เพื่อรัฐสวัสดิการ เพราะฉะนั้นปรีดี พนมยงค์ไม่มีวันหายไป และพูดถึงความเหลื่อมล้ำยังคงอยู่ในประเทศนี้ ไม่ว่าจะทำงานหนักแค่ไหน จนถึงวันที่จากไป ชีวิตก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย

จากนั้นเริ่มต้นปาฐกถาในประเด็นแรกคือ สาเหตุที่ทำให้มีความเหลื่อมล้ำ คือการผูกขาดความทรงจำ คือสถานะของชนชั้นนำ หากเกิดมาเป็นชนชั้นไหน ต้องพอใจกับสิ่งที่มีอยู่ ความเหลื่อมล้ำกลายเป็นสิ่งปรกติ สังคมไทยกับทำให้ความเสมอภาคคือสิ่งที่อันตราย 

 

 

จากแนวคิดเค้าโครงการเศรษฐกิจซึ่งริเริ่มโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม สยามประเทศ พ.ศ. 2476 จนถึง ประเทศไทย พ.ศ. 2564 ผู้คนในสังคมได้อะไร และ เรียนรู้อะไรบ้าง และควรนำมาปรับใช้อะไรได้บ้าง ปฐมบทของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม การดูแลประชาชนในฐานะเท่าเทียม ปฐมบทเกิดเมื่อ 2475 เค้าโครงเศรษฐกิจ พระราชบัญญัติเพื่อความสุขสมบูรณ์ของราษฎร เนื้อหาภายในเป็นรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าและเงินเดือนพื้นฐาน เป็นการที่ทำให้คนในประเทศนี้จะอยู่อย่างสมศักดิ์ศรี แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือไม่เคยได้นำมาใช้ โดยมีข้ออ้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ว่า 1. ประเทศไทยยังไม่พร้อม 2. เรื่องเหล่านี้ไม่ได้จำเป็น เพราะประเทศเราไม่มีใครอดตาย นอกจากคนที่ไม่สามารถอ้าปากกินข้าว 

ในปี 2489 มีรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้ามากที่สุด ในมาตรา12 เขียนไว้ว่า บุคคลทุกคนมีสถานะภาพเท่ากันทางกฎหมาย ไม่ทำให้บุคคลนั้นมีเอกสิทธิ์เหนือใคร แต่การสวรรคตของรัชกาลที่8 และการรัฐประหารทำให้กฎหมายนี้ถูกดอง ทำให้ประเทศไทยหลังปี 2500 กลายเป็นรัฐสังคมสงเคราะห์มาแทนที่รัฐสวัสดิการ

“แต่รัฐสวัสดิการไม่เคยหายไปจากสังคมนี้ แต่เมื่อใดก็แล้วแต่ที่ประชาชนออกมาต่อสู้เพื่ออสังคมที่ดีกว่า จะมีเรื่องรัฐสวัสดิการเข้ามาเกี่ยวข้อง ชนชั้นนำเกลียดสิ่งที่ประชาชนรัก และรักในสิ่งที่ประชาชนเกลียด”

การรัฐประหารตั้งแต่ปี 49 จนถึงปี 57 อำนาจของกลุ่มคนที่เข้ามาแนบสนิดชิดเชื้อกับอำนาจของฝั่งรัฐบาลมากขึ้น เราเห็นว่าผู้คนที่คิดต่างถูกอุ้มหาย ต้องลี้ภัยทางการเมือง หลายคนปราถนาที่จะต่อสู้ ต้องหนี ความปรารถนาของพวกเขาคือเพียงแค่ต้องการสังคมที่ดีกว่านี้

ประเด็นสืบเนื่อง ว่าด้วย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้: การเปลี่ยนแปลงที่มีในอดีตถูกทำลายอย่างไร (2475 - 2490/2519/2549/2557) การผูกขาดความทรงจำของชนชั้นนำ การสถาปนาความปกติของความเหลื่อมล้ำ  การผูกขาดอำนาจทางการเมือง กลุ่มทุน กองทัพ การทำงานเป็นเครือข่ายทำให้ชนรุ่นใหม่ไม่มีพื้นที่ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ มีไม่กี่ตระกูลที่ครอบคลุมประเทศนี้ คนที่ยากจนที่สุดคือคนที่ทำงานหนักมากที่สุด ยิ่งรายได้น้อย ชั่วโมงทำงานก็สูง ตอนนี้มีกลุ่มผู้ใช้แรงงานใหม่ เรียกว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานเสี่ยง แบกรับความเสี่ยงแทนนายทุนจนไม่สามารถต่อรองอะไรได้ ขณะที่นายทุนมั่งคั่งยิ่งขึ้น และชนชั้นนำตามจารีตวัฒนธรรมที่ผูกคนไว้กับความกตัญญู ให้เสียสละเพื่อคนภายภาคหน้า คนรุ่นใหม่ถูกขังไว้กับสังคมผู้สูงอายุ 

 

 

ประเด็นสุดท้าย สถานะความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ความสิ้นหวังของกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่คนรุ่นใหม่ยังออกมาต้องการความเปลี่ยนแปลง ตั้งคำถามการดำรงอยู่ของรัฐ คนรุ่นใหม่กำลังใฝ่ฝันรัฐสวัสดิการ บาทแรกจนบาทสุดท้าย มารับประกันชีวิตของผู้คน เหลือเท่าไหร่ก็เอาไปทำอย่างอื่น ทุกวันนี้เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เมื่อคิดแบบนั้นบาทแรกถึงบาทสุดท้ายก็ถูกนำไปใช้อย่างอื่น แบ่งคนออกจากกัน และโยนเศษเนื้อมาให้ในฐานะสังคมสงเคราะห์ แต่เรามีอะไรได้ดีกว่านี้

“คำถามคือเราคิดว่าคนเท่ากันมั้ย ถ้าคิดว่าทำได้ก็สามารถก็สามารถทำได้”

“ประเทศล่มจ่มไม่เคยเกิดจากการดูแลประชาชน แต่เกิดจากการที่ชนชั้นปกครองละทิ้งประชาชน มองว่าเป็นไพร่ เป็นเบี้ย เป็นหมาก รัฐนั้นจะล่มสลาย”

 

 

ช่วงคุณศิโรตม์พูดคุยกับ อ.ษัษฐรัมย์  เรื่องประเด็นโควิด-19 ปัญหาการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ความล่าช้า ความไม่มั่นคง เสียงของคนจนที่แผ่วลงในระลอก3

ในส่วนของช่วงถาม - ตอบ คำถามเช่น มีคำตอบอื่นแทนรัฐสวัสดิการหรือไม่ การทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีความเป็นรัฐสวัสดิการมากขึ้น การไม่เกิดขึ้นของพรรคแรงงานในประเทศไทย

 

 

คุณสุดา พนมยงค์ มอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ปาฐก และผู้ดำเนินรายการ

 

 

คุณศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ พูดเรื่องทุนปาล และคุณปรีดิวิชญ์ พนมยงค์ มอบของที่ระลึกให้นักศึกษาที่ได้รับรางวัล

 

 

ช่วงทุนปาล พนมยงค์

กษิดิศ พรมรัตน์ พูดเรื่อง soft power ปัจจัยด้านวัฒนธรรม คุณค่าทางการเมือง และท้ายที่สุด นโยบายทางการต่างประเทศ ยกตัวอย่างสหรัฐในการใช้ soft power ผ่านภาพยนต์ Hollywood อย่างไรก็ดี soft power มีทั้งที่ไปเป็นตามแนวทางของภาครัฐและไม่เป็นทางภาครัฐ ประชาธิปไตยสามารถใช้ soft power ได้เช่นกัน ทั้งจากปัจเจก เริ่มต้นที่ตัวเอง จากนั้นสามารถใช้ในระดับของสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนเชิงวิชาการ พูดคุยผ่านเหตุผล และเพลงภาพยนตร์ ดนตรี ทำให้ผู้คนซึมซับอุดมการณ์ 

 

 

อติรุจ ดือเระ พูด การใช้ soft power ในการต่อสู้ การเคลื่อนไหวทางสังคม ตั้งแต่อภิวัฒน์ 2475 โดย soft power จะเป็นการปลูกฝังระบอบประชาธิปไตย และปลุกคนที่เฉยชาให้เห็นภัยเผด็จการ และต่อรอง หยิบยื่นข้อเสนอ เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการกดขี่ อย่างไรก็ดีไม่สามารถปฏิเสธไม่ได้ว่า นักวิชาการจำนวนมากถูกกดทับไม่ให้ผลิตงานเขียน พวกเขาควรมีเสรีภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน