ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม

เทศกาลหุ่นโลก โลกนวัตกรรม แห่งการออกแบบสร้างสรรค์หุ่นในทุกมิติ Harmony World Puppet Innovation Festival 2024

26
ตุลาคม
2567

Focus

  • “เทศกาลหุ่นโลก” ครั้งที่ 27 ปี 2567  (Harmony World Puppet Innovation Festival 2024) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2567 ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลัก เพื่อทำข้อตกลงความร่วมมือพร้อมสนับสนุนการพัฒนา ‘นวัตกรรมหุ่น’ นำทีมดำเนินงานโดย NSM (National Science Museum Thailand หรือ อพวช. - องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม)
  • “เทศกาลหุ่นโลก” ครั้งที่ 27 ได้รับการสนุบสนุนหลักจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม , สมาพันธ์หุ่นนานาชาติ ประเทศไทย (Unima Thailand) , บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด และได้รับการสนับสนุนในแนวทางการสร้างเทศกาล (Festival Economy) โดย TCEB (สสปน. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ)

 

 

การแสดงซึ่งไม่ใช่แค่มหรสพที่ผู้ชมหลายกลุ่มรอคอย พร้อมแล้วที่จะมอบความรู้ความบันเทิงหลากมิติระหว่าง วิทย์ กับ ศิลป์ ให้ทุกคนได้มีความสุขร่วมกันใน “เทศกาลหุ่นโลก” ครั้งที่ 27 ปี 2567  (Harmony World Puppet Innovation Festival 2024) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 พ.ย.2567 ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลัก ทำข้อตกลงความร่วมมือพร้อมสนับสนุนการพัฒนา ‘นวัตกรรมหุ่น’ นำทีมดำเนินงานโดย NSM (National Science Museum Thailand หรือ อพวช. - องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม) ได้รับการสนุบสนุนหลักจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม , สมาพันธ์หุ่นนานาชาติ ประเทศไทย (Unima Thailand) , บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด และได้รับการสนับสนุนในแนวทางการสร้างเทศกาล (Festival Economy) โดย TCEB (สสปน. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ) กว่าจะถึงวันนี้ 10 ปีผ่าน …พิสูจน์ความมุ่งมั่นในวิถีของคนทำงานศิลปะ กับการต่อสู้เพื่อหยัดยืนสถานะด้วยงานที่รัก บนเส้นทางที่เลือก ล้วนเป็นเรื่องน่าศึกษากลไกหลักที่หนักอยู่เบื้องหลังงานบริหารจัดการ (ศาสตร์นอกหลักสูตร) ประวัติศาสตร์การสร้างชาติด้วยงานศิลปะทุกแขนง จึงควรถูกแจ้งจารึกไว้ให้โลกจำ

 

 

20 ปี “หุ่นสายเสมา” 10 ปี “Harmony World Puppet Festival”

 

มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม ก่อกำเนิดจากความคิดริเริ่มด้วยความรักในศิลปะการแสดงหุ่นของ ผิวน้ำ เฉลิมญาติ ผู้เป็นกำลังสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของงานด้วยบทบาทหลัก นักแสดง และ Artistic Director โดยมี นิมิตร พิพิธกุล ศิลปินศิลปาธร ปี 2550 ผู้อำนวยการคณะ คอยสนับสนุนและร่วมประคับประคองให้งานมีพัฒนาการเติบโตด้วยปณิธานในแนวทางของ ‘ศิลปะเพื่อการพัฒนา’ เริ่มจากเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ในขณะที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับศิลปะการแสดงหุ่น ผิวน้ำ ได้เริ่มเรียนรู้ศิลปะการแสดงหุ่น และตกหลุมรักทันที พร้อมทุ่มเทใจให้เวลาค้นคว้าอย่างจริงจัง นิมิตร มีพื้นฐานการศึกษาสายตรงเรื่องหุ่นและสื่อเยาวชน (ศิลปศาสตรบัณฑิต เอกภาษาไทย/โทการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ได้ออกแบบพัฒนาหุ่นไทยร่วมสมัย ให้มีอัตลักษณ์ตามบริบทพื้นถิ่น รวมไปถึงงานประพันธ์ ‘บท’ เครื่องมือสำคัญในการแสดงและการสื่อสาร ทั้งคู่หาลู่ทางพัฒนา ‘สื่อใหม่’ ร่วมกับชุมชน ร่วมสร้างและเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศ ในนาม “คณะหุ่นสายเสมา” (ก่อตั้งเมื่อปี 2547 ถึงวันนี้ 20 ปี แห่งความพากเพียร)

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้ประจักษ์ในการทุ่มเททำงานและผลงาน จึงได้ให้การสนับสนุนทุนจัดทำ “โครงการฟื้นฟูและพัฒนาศิลปะหุ่นสายไทย” (Rod Marionette) และการแสดงชุด “เจ้าเงาะ” (เมื่อปี 2551) ความฝัน ความสำเร็จ จะเป็นจริงสำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมอยู่เสมอ เมื่อจังหวะและโอกาสมาถึง ในปีเดียวกันคณะหุ่นสายเสมา (SEMA THAI MARIONETTE) เป็น 1 ใน 29 คณะหุ่น ที่ได้รับการคัดเลือกจาก 400 คณะทั่วโลก ให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมงาน เทศกาลหุ่นโลก ครั้งที่ 12 (12 th. World Festival of Puppet Art Prague 2008) ที่ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic ประเทศต้นแบบงานเทศกาลหุ่นโลก) หุ่นไทยรับเชิญไปร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ด้วยการแสดงหุ่นสายเรื่อง “เจ้าเงาะ” ได้รับรางวัลพิเศษ The Most Poetic Creation รวมทั้งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในสาขา The Best Performance และ The Best Director อีกด้วย

 

 

ปีถัดมา พ.ศ 2552 คณะหุ่นสายเสมา รับเชิญเป็นตัวแทนประเทศไทยอีกครั้งเข้าร่วมงาน เทศกาลหุ่นโลก ครั้งที่ 13” (13 th. World Festival of Puppet Art Prague 2009) ร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมด้วยการแสดงหุ่นสายเรื่อง “ศึกพรหมมาสตร์” โดยใช้เทคนิคชักเชิดแบบดั้งเดิมของหุ่นหลวงกับหุ่นสายไทยประยุกต์ (และปรับบทจากวรรณคดี รามเกียรติ์ เน้นเนื้อหาเรื่องความสามัคคีที่เป็นสากล) อันเป็นผลมาจาก “โครงการจัดสร้างและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม การแสดงหุ่นสายไทยร่วมสมัย” ที่ได้ทำไว้ในปี 2551 จึงเป็นการแสดง classic ที่ได้รับรางวัลสำคัญสูงสุดของงานคือ “The Best Traditional Original Performance” เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2552 เวลา 20.00 น. และ หุ่นสายเสมา เป็นคณะเดียวที่ได้รับเกียรติให้จัดการงานแสดงชุด “LOVE IS WONDERFUL” รวมทุกคณะหุ่นแสดงโชว์ในพิธีปิดเทศกาลเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม 2552 จากพันธกิจนำสู่ ‘พันธมิตร’ จนถึงปัจจุบัน

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ให้การสนับสนุน คณะหุ่นสายเสมา เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมงาน ‘เทศกาลหุ่นสายโลก’ ใน ปี 2556 (Wayang world puppet carnival 2013) ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดย มี 46 ประเทศ 63 คณะนักแสดงจากทั่วโลกเข้าร่วมประชัน ระหว่างวันที่ 1-8 กันยายน 2556 คณะหุ่นสายเสมาของไทยนำเสนอการแสดงเรื่อง "เจ้าเงาะ" สามารถชนะใจคณะกรรมการคว้า 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลศิลปะสื่อสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม (The Best Artistic Creation) และรางวัลพิเศษ นักแสดงเชิดหุ่นยอดเยี่ยม ที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก (The best young puppeteer) ได้แก่ ด.ช.ภูริณัฐ ขะบูญรัมย์ ซึ่งมีอายุ เพียงอายุ 6 ปี เท่านั้น เป็นสายสัมพันธ์ต่อเนื่องพี่น้องคณะหุ่นจากทั่วโลก

จากประสบการณ์ผู้เข้าร่วมงานเทศกาลหุ่นระดับโลกในต่างแดน เป็นแรงบันดาลใจให้หุ่นสายเสมาปรารถนาที่จะเรียนรู้การเป็นผู้จัด ก้าวแรกหัดเดินด้วยเทศกาลหุ่น “Harmony Puppet Festival 2013” ในปี พ.ศ 2556 ณ โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเวทีหุ่นนานาชาติกลางสวนร่มรื่นชื่นใจ … ในปีต่อมา 15-17 ม.ค. 2559 จัดที่จังหวัดเดิมอีกครั้งในนาม “เทศกาลหุ่นเยาวชนนานาชาติ”  (Harmony International youth puppet festival 2016) และสัมมนาหัวข้อ “Puppets in Education Forum” ในวันศุกร์ที่ 15 ม.ค. 2559 ณ อุทยาน ร.2  ทั้งเวทีแสดงหุ่นนานาชาติ และสัมนากลางอุทยานบรรยากาศรื่นรมย์ด้วยเจตจำนงเพื่อสร้าง ‘เทศกาลหุ่น’ ให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ‘ศิลปะหุ่นเยาวชน’ ในประเทศไทย กับ ‘ศิลปะหุ่นนานาชาติ’ เพื่อพัฒนา ‘ศิลปะหุ่น’ ในรูปแบบของ Puppet Forum และ ‘ศิลปะการแสดงหุ่น’ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องหุ่นออกไปในวงกว้าง ให้กับผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ มีความสุขกับนาฏกรรมที่เป็นวัฒนธรรมการแสดงอีกแขนงของมนุษย์ชาติ 

 

 

Harmony Puppet Festival มีพัฒนาการจากเทศกาลขนาดเล็กที่จัดต่อเนื่องทุกปี จนเติบโตขยายสร้างเครือข่ายไปในวงกว้าง มีคณะหุ่นนานาชาติให้ความสนใจเข้าร่วมเทศกาลมากขึ้นทุกปี นับตั้งแต่ พ.ศ 2556-2566 ประเทศไทยจัดเทศกาลหุ่นภายใต้แนวทางของ Harmony Puppet Festival (เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพียงหนึ่งเดียวในโลก) เบื้องหลังความสำเร็จมี ‘กุญแจดอกสำคัญ’ ที่ใช้ในการบริหารงานวัฒนธรรม คือ โครงการ “Harmony Puppet Village” หนึ่งในหลายโครงการที่ มูลนิธิหุ่นสายเสมา ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมสร้างควบคู่ไปกับการจัดเทศกาลหุ่น  พันธกิจการจัดเทศกาลหุ่นภายใต้ชื่อนี้ ดำเนินงานมาแล้วถึง 25 ครั้ง ในรอบ 10 ปี

จากจุดเริ่มต้นของปณิธานการทำหน้าที่รักษาศิลปะหุ่นให้ดำรงคงอยู่คู่ชุมชน ภายใต้บริบทพื้นที่ ตามแนวทางของพื้นถิ่น ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว Puppet Village ใช้แนวคิด "ชุมชนดูแลหุ่น หุ่นดูแลชุมชน " นั่นหมายถึงว่า หุ่นได้ทำหน้าที่เป็นทั้ง ผู้พัฒนาชุมชน ไกด์นำเที่ยว ไปจนถึงการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ให้เกิดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สินค้าที่เกิดขึ้นในชุมชนนำมาจำหน่ายสร้างรายได้ในแนวทาง Social Enterprise ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย โดยใช้หุ่นเป็นแนวทางตั้งต้นในการออกแบบ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจึงเป็นทั้ง โครงการพัฒนาท้องถิ่น เส้นทางท่องเที่ยว ที่มีคณะหุ่นร่วมดูแล จากหุ่นเยาวชนในโรงเรียนเมื่อวันวาน สืบสานสู่หุ่นประจำท้องถิ่นในวันนี้ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำ ‘กิจการเพื่อสังคม’ สร้างสังคมแห่งการอยู่ร่วมอย่างโอบเอื้อเกื้อกูลระหว่าง หุ่น กับ ชุมชน โดย มูลนิธิหุ่นสายเสมา มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเคียงข้าง ด้วยแนวทางการทำงานศิลปะเพื่อสังคมตลอดมา

 

 

มูลนิธิหุ่นสายเสมา ได้รางวัลด้าน Social Enterprise จาก  สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) เป็นกิจการเพื่อสังคมองค์กรแรกในประเภทศิลปะที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมประชุมใน Asian Art Management for Social Enterprise Conference ณ ประเทศญี่ปุ่น จาก ‘อัตลักษณ์’ สู่  ‘นวัตกรรม’ นำแนวคิดนี้เป็นธงชัยไปต่อยอด พัฒนาองค์ความรู้สู่กิจการเพื่อสังคม สั่งสมบ่มเพาะความยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

  • เพื่อสร้างให้เกิดการขยายลิขสิทธิ์การจัด ‘เทศกาลหุ่นนานาชาติ’ ในประเทศ
  • เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์หุ่นเยาวชนนานาชาติ  Korat International Youth Puppet Festival ที่ จ.นครราชสีมา 2 ครั้ง
  • เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จังหวัดอยุธยา 2 ครั้ง และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 ครั้ง Ayutthaya Harmony Puppet Network
  • เพื่อสร้างผลงานทางการศึกษา Puppet Education ใน “Harmony Puppet Forum” ที่ กรุงเทพ 1 ครั้ง
  • ร่วมกับเอกชน หน่วยงานราชการ เติบโตแผ่ขยายภายใต้การบริหารจัดการของ Harmony Puppet Thailand “เทศกาลหุ่นอาเซียน กรุงเทพ” 2 ครั้ง
  • ในนาม ‘เทศกาลหุ่นโลก’ ทั้งสิ้น 5 ที่ กรุงเทพ กาญจนบุรี เพชรบุรี ภูเก็ต  (Phuket Harmony World Puppet) ครั้งล่าสุดเป็นที่น่ายินดีว่า “Phuket Peranakan Festival”[1]  ได้รับรางวัล สุดยอดพาเหรดและเทศกาลของไทย ได้รับความเชื่อถือในระดับสากล ร่วมสร้างผลงานกันต่อไป ให้เป็น legacy ของประเทศไทย
  •  เทศกาลหุ่นนานาชาติ ณ พารากอน  1 ครั้ง “SIAM PARAGON WORLD FASCINATING PUPPETS 2019” (31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2562)
  • “Harmony World Puppet Innovation Festival” 2 ครั้ง ที่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ล่าสุด 13 - 17 พฤจิกายน 2567
  • รวมถึงการจัดในรูปแบบ “เทศกาลหุ่นออนไลน์”  3 ครั้ง

ฯลฯ   ฯลฯ   ฯลฯ   ฯลฯ  ฯลฯ

 




 

 

การเดินทางของทูตวัฒนธรรม
กับพันธกิจ “Harmony World Puppet Festival”

 

มูลนิธิหุ่นสายเสมา ได้รับความไว้วางใจในเอกสิทธิ์เพียงหนึ่งเดียวสำหรับการเป็นผู้จัดงานเทศกาลหุ่นโลก จากการสนับสนุนของ TCEB (สสปน.) และ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม จึงเป็นที่มาของ “เทศกาลหุ่นโลกกรุงเทพ” (HARMONY WORLD PUPPET CARNIVAL IN BANGKOK, THAILAND 2014) เป็นการจัดเทศกาลหุ่นโลกครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ 1-10 พฤศจิกายน 2557 ศิลปินไทยภูมิใจที่ได้ประกาศศักยภาพในการจัดเทศกาลระดับโลกขึ้นบนพื้นที่ ‘เกาะรัตนโกสินทร์’ กลางกรุงเทพฯ โดย “เทศกาลหุ่นโลกกรุงเทพ 2014” (Harmony World Puppet Carnival in Bangkok Thailand 2014) เป็นครั้งแรกที่คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้ว่า ในประเทศไทยมีคณะหุ่นมากกว่า 60 คณะ (เข้าร่วมงานเทศกาลหุ่นโลกกว่า 50 คณะ) รวมกับหุ่นนานาชาติจาก 80 ประเทศทั่วโลกเป็นจำนวนมากถึง 165 คณะ  จัดแสดงทั้งในโรงละครและครอบคลุมพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ ผู้คนให้ความสนใจเข้าร่วมชมเต็มล้นทุกโรง ทุกเรื่อง และทุกรอบ เป็นที่ประทับใจของผู้คนที่เข้าร่วมงาน และผู้ให้การสนับสนุนทุกฝ่าย งานชาติครั้งนั้นทำสถิติสูงสุดในทุกด้าน สร้างประวัติกาลจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาแห่งการเดินทางในฐานะผู้จัดเทศกาลหุ่น ของ มูลนิธิหุ่นสายเสมา ร่วม 10 ปีเต็ม

งานบริหารจัดการอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่ได้รับจากประสบการณ์ ทำให้งานประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย จากการตอบรับของผู้เข้าร่วมงาน และการประเมินผลงานอย่างเป็นทางการของผู้สนับสนุนทุกภาคส่วน Harmony Puppet Festival มีนโยบายสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์คณะหุ่นไทย และหุ่นนานาชาติแบบยั่งยืนจนเกิด Social Impact สร้างเสริมกระบวนการเชิงสังคม ชุมชน การศึกษา การพัฒนา สร้างมูลค่าจากการจัดการองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมงานบูรณาการ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สร้าง Economic Impact ก่อให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจจาก ชุมชน จังหวัด สู่ระดับประเทศ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ผลการสร้างงานประสบความสำเร็จสูงเป็นที่ยอมรับมาแล้วถึง 27 ครั้ง ในรอบ 10 ปี นิมิตร พิพิธกุล Festival Design , Project Directer เทศกาลหุ่นโลก และ ผู้อำนวยการ มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม ให้ข้อมูลที่เป็นหัวใจสำคัญของงานบริหารเทศกาลระดับโลกว่า

 

 

“การเกิดขึ้นครั้งแรกของ เทศกาลหุ่นโลก Harmony Puppet Festival เชื่อหรือไม่ว่าเป็นช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ‘หุ่น’ คนไทยรู้จักหุ่นในประเทศไทยไม่เกิน 10 คณะ และในมุมของการมองแบบนักการตลาด หุ่นเป็นเพียงหุ่นตัวเล็ก ๆ และเป็น Niche Market[2] ซึ่งเป็นการขายสินค้าให้กับคนเฉพาะกลุ่ม จะไปจัดให้เป็นงานเทศกาลใหญ่ ๆ ได้อย่างไร ในปี 2014 เทศกาลหุ่นโลกมีคณะหุ่นเข้าร่วมถึง 80 ประเทศ มีผู้ชมเข้าชมเต็มล้นทุกรอบในทุกโรงละครรอบเกาะรัตนโกสินทร์ และรอบสนามหลวง เกิดขึ้นได้อย่างไร!? สิ่งหนึ่งซึ่ง festival ทำหน้าที่คือแปรการขายเฉพาะกลุ่ม ให้เป็น Mass Market คือตลาดที่มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก หลากหลาย ในความของทางการตลาดก็คือ วิธีทำการตลาดเพื่อสื่อสารและขายสินค้าให้กับผู้คนจำนวนมากแบบไม่เฉพาะเจาะจง

การเสนอแผนจัดงานครั้งหนึ่งจึงไม่ง่าย เพราะหากเอาทฤษฎีการตลาดไปจับ เรามักคุ้นชินกับการถูกถามว่า ทำให้ใครดู?  ยิ่งมาชูว่า ‘หุ่นคู่กับเด็ก’ หรือเป็นสื่อสำหรับเด็ก ยิ่งยาก เพราะขนาดสื่อเด็กในบ้านเรายังมีการผลิตน้อย และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุน

เบื้องต้น เมื่อเราจะทำเทศกาลนานาชาติ product ที่เรากำลังทำ ไม่ใช่เรารู้จักไหม แต่โลกรู้จักไหม ทั่วโลกมี 193 ประเทศ และทุกประเทศมี ‘หุ่น’ นั่นหมายความว่าต้นทุนของการนำเสนอ เราสามารถจับคู่ได้ถึง 193 ประเทศ ที่สำคัญทุกประเทศไม่ได้ใช้หุ่นกับเด็กเท่านั้น แต่ยังเป็นทั้งวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ภูมิปัญญา และสินค้า

การจัดงานเทศกาลนานาชาติ จึงเป็นการสร้าง platform เชื่อมกับแต่ละประเทศในแบบที่เรียกว่าการทำ ‘Festival Design’  ทำไมจึงใช้คำว่า design เพราะเรากำลังออกแบบเพื่อรักษา identity ของ product ให้ยังคงรักษาลักษณะทางชนชาตินั้น ไม่ใช่พัฒนา เพราะเราจะไม่ไปกำหนดคุณค่าว่า ดี หรือ ไม่ดี แต่ขับเน้นให้ผู้เล่นเกิด ‘Self Esteem’[3] (เห็นคุณค่าตัวเอง) ในสิ่งที่เป็น ให้ปรากฎให้เห็น

เพราะ festival ต่างจาก event ตรงนี้  คือการจัดการภาพรวมโดยไม่ไปจัดสร้าง  ‘ปรับ’ แต่ ‘ไม่เปลี่ยน’  เคารพตัวตนคนสร้างงาน แต่ไม่สร้างงานใหม่เพื่อเปลี่ยนตัวตนคนทำ หรือ ทำให้ศิลปินฉายศักยภาพ แต่ไม่ใช่การจ้างศิลปินให้มาทำภาพที่อยากเห็น

นับตั้งแต่สร้างงานเทศกาลหุ่นโลกมาตั้งแต่ปี 2014 จนถึงวันนี้ 10 ปี กับการจัดงานเทศกาลหุ่น ได้พยายามทำตัวเป็น Curator ด้านนี้มาโดยตลอด สร้างการรับรู้ใหม่ต่อคำว่า ‘หุ่น’ จากวันนั้นถึงวันนี้ การที่ หุ่น จะมาจับมือกับ ‘หุ่นยนต์’ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ ได้ทำมาก่อนหน้านี้ นับ 10 ปีแล้ว และคำว่า ‘นวัตกรรม’ ก็ไม่จำเพาะว่าต้องหมายถึง ‘เทคโนโลยี’ เท่านั้น เพราะหุ่นจากวัสดุในท้องถิ่น แม้ของเหลือใช้ ของรอบกาย ก็อยู่ในกลุ่ม ‘นวัตกรรมนำเสนอ’ เช่นกัน”  นิมิตร กล่าว

 

 

“Harmony World Puppet Innovation Festival 2024”

 

Harmony World Puppet Innovation Festival 2024” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 17 พ.ย.2567 ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นการจัดเทศกาลหุ่นที่ต่อยอดจากเทศกาลหุ่นโลก “Harmony World Puppet Toy Robot Innovation Festival 2023” เมื่อปีที่ผ่านมา 2566 เพื่อนำสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับตัวให้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการการออกแบบ สร้างสรรค์ ด้วยเทคโนโลยี และการเปิดประสบการณ์ ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อแสดงถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการอุดมศึกษา ที่นำสมัย สามารถส่งพลังกระตือรือล้น สร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักในองค์ความรู้ระหว่างวิทยาศาสตร์ผสานศิลปะแก่สังคมไทย เป็นโอกาสดีที่เยาวชนและประชาชนทั่วไปจะได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ประสบการณ์จากการลงมือทำ และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่แปลกใหม่ ในปีนี้มุ่งเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้เกิดกระบวนการอันจะนำไปสู่การออกแบบสร้างหุ่นที่หลากหลายเทคนิคสร้างสรรค์

ภายในงานมีทั้งการจัดแสดง , นิทรรศการหุ่นไทย-หุ่นนานาชาติ , การนำเสนอรูปแบบกลไกการชักเชิด เปิดประสบการ์การเล่นหุ่นให้สนุกตื่นเต้น ปีนี้จัดขึ้นภายใต้ theme ‘PUPPET MAKER’ ด้วยแนวคิดการขับเคลื่อนเทศกาลแบบ FESTIVAL Automata ECONOMY เป็นกิจกรรมยิ่งใหญ่ระดับประเทศที่มาเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม เปิดพื้นที่ให้สังคมไทยได้เรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ผ่านองค์ความรู้ด้านศิลปะการแสดงหุ่น และเรื่องราวประวัติ พัฒนาการของหุ่นจากงาน เทศกาลหุ่นโลก ด้วยมุ่งมั่นในปณิธานและอุดมการณ์ร่วมกัน

 

  1. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนระหว่างศิลปินนักเชิดหุ่นนานาชาติ ศิลปินไทย นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ในรูปแบบศิลปินในพำนัก (Artist Residency)
  2. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการนำศิลปะการเชิดหุ่นไปใช้ในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน (Puppetin Education) ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
  3. เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยน จัดการแสดง และจัดเทศกาลศิลปะหุ่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการรับรองจากสมาพันธ์หุ่นนานาชาติ (UNIMA - ศูนย์ใหญ่ประเทศฝรั่งเศส) โดยไม่มีการประกวดแข่งขัน
  4. เพื่อส่งเสริมการวิจัยองค์ความรู้นวัตกรรมด้านศิลปะการออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะหุ่น และเผยแพร่ผลงานวิจัยที่อิงตามหลักประวัติศาสตร์เชิงทฤษฎีและวิทยาศาสตร์ ผ่านเวทีสาธารณะ สื่อเว็บไซต์ และสื่ออิเลคทรอนิกส์ รูปแบบต่าง ๆ
  5. เพื่อให้การสนับสนุนการจัดสัมมนา อภิปราย ประชุมทางวิชาการ การรวบรวมประมวลข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะหุ่นจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่

 

 

โลกนวัตกรรม
แห่งการออกแบบสร้างสรรค์หุ่นในทุกมิติ

 

เทศกาลหุ่นโลก Harmony World Puppet Innovation Festival 2024 ปีนี้มีแนวคิดสำคัญคือการสื่อสารเรื่องสภาวะโลกที่เปลี่ยนไป จนเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตคือสัตว์ป่าซึ่งนำไปสู่การสูญพันธ์ุ คณะหุ่นที่มาร่วมงานจะมีโจทย์สำคัญมุ่งนำเสนอการสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโลกร่วมกัน เพื่อบอกเล่าถึงธรรมชาติที่ต้องการการดูแลรักษา มีงานเสวนา online และ live ไปทั่วโลกโดยตัวแทนคณะหุ่นจาก ออสเตรเลีย ตุรกี เม็กซิโก อินโดนีเซีย ร่วมด้วยหุ่นในภูมิภาคเอเซีย ลาว พม่า ไทย ร่วมกันส่งเสียงแทนธรรมชาติให้ได้ยินไปทั่วโลกด้วยศิลปะการแสดงหุ่น โดยเฉพาะประเด็นการสูญพันธ์ของสัตว์ป่า ด้วยการแสดง Opera เรื่อง “The Story of the Long-Gone Animals สรรพสัตว์ที่หายไป” โดย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม 

Harmony World Puppet Innovation Festival 2024 จึงเป็นการเปิดโลกเชื่อมร้อยระหว่าง ศาสตร์ กับ ศิลป์ - เทคโนโลยี และ การร่วมสร้างสรรค์ ผลผลิตวิธีคิด   จากการออกแบบ New Generation Animation  , Stop Motion  , Character Design (การออกแบบสร้างตัวละครยุคใหม่) , การ์ตูนมังงะ , เทคโนโลยี VR เกี่ยวข้องอะไรกับการสร้างภาพเคลื่อนไหว , ความเข้าใจเรื่องข้อต่อโครงสร้างหุ่น , การสร้างเรื่องราวแบบการ์ตูน  ไปจนถึงการนำหุ่นไปอยู่บนจอ ด้วยเทคนิค AI ทั้งหมดล้วนมาจากทักษะความรู้ความเข้าใจด้านหุ่น ฯลฯ และพิเศษกับการจัดประกวด Character Design จากนิยายวิทยาศาสตร์ , สร้างเทคนิคการเคลื่อนไหวหุ่นด้วย Stop Motion สู่งานออกแบบ Animation ที่ใช้หุ่น โดยผู้จัดงาน THAILAND ANIMATOR ที่นำภาพยนตร์ Animation เข้าร่วมงานครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพื่อเสริมประสบการณ์ความรู้ให้กับเยาวชนไทย นำไปสู่การพัฒนาทักษะ และกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่ระดับนานาชาติได้ในอนาคต

 

 

ก้าวข้ามนิยามเดิมของ ‘เทศกาลหุ่น’ สู่ ‘นวัตกรรมหุ่น’

 

เทศกาลหุ่นโลก ครั้งที่ 27 ในวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2567 ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี (อพวช.) เป็นการก้าวข้าม ‘นิยาม’ เดิมของ ‘เทศกาลหุ่น’ สู่ “เทศกาลหุ่นโลก” (Harmony World Puppet Innovation Festival 2024) นำเสนอโปรแกรม ‘เทศกาลหุ่น โมเดลใหม่’ ที่ใช้การขับเคลื่อนงานสานสร้าง combine ผ่าน local สู่ global  เพื่อให้หุ่นท้องถิ่นสู่ หุ่นโลก และการปะทะสังสันท์ระหว่าง ศิลปะหุ่น กับ Eco System ของงานสร้างสรรค์สื่อ New Media อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จากการสร้าง platform ร่วมกันของ หุ่น กับ หุ่นยนต์ Stop Motion - Animation - Illustration - Puppet Design  ขยายผลไปสู่การสร้างหุ่นจาก Object Theatre และ ก้าวสู่ Giant Puppet และมุ่งสู่งานวิจัยที่จะทำให้เทศกาลหุ่นก่อเกิดคุณค่าด้านการพัฒนาองค์ความรู้ คู่กับการเพิ่มมูลค่าของเทศกาล ผ่านการศึกษาด้าน Festival Economy ที่มีงานวิจัย ด้าน Economic Impact และ Social Impact รองรับ มุ่งเน้นกระบวนการพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นำไปสู่การทำ Workshop , Collaboration และ การจัดสัมมนาใน 8 หัวข้อหลัก เป็นการนำศาสตร์ที่มีความหลากหลาย มาทำการทดลอง ลองทำ เพื่อนำสู่การพัฒนาต่อยอดต่อไป

 

การจัดสัมมนา 8  หัวข้อหลัก ประกอบด้วย

 

  • Experimental Science Puppet : การจับคู่นวัตกรรมหุ่น กับการแสดงทางวิทยาศาสตร์

  • Shadow Puppet & Stage Performance Design : การจับคู่นวัตกรรมระหว่างการจัดแสง ศิลปะจัดวาง ศิลปะหุ่นเงา และการแสดง

  • Illustration for Making Puppet & Animation :  จับคู่การออกแบบภาพประกอบกับการออกแบบหุ่นเพื่อพัฒนาสู่งาน Animation

  • Puppet Art Toy & Automata Maker : จับคู่หุ่นเพื่อพัฒนาเป็นของเล่นและออโตมาต้า

  • Giant Puppet Maker : จับคู่นวัตกรรมหุ่นใหญ่กับมหาวิทยาลัย หรือแผนกวิทยาการหุ่นยนต์ และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์

  • Lambe-Lambe Micro Puppet Theatre : การสร้างสรรค์หุ่นกล่องเพื่อพัฒนาเป็นสื่อการเรียนรู้

  • How to Make Puppets with Recycled Materials : การออกแบบสร้างสรรค์หุ่นและงานศิลปะจากวัสดุรีไซเคิล

  • Youth Puppet Community Network International : จัดสัมมนาและแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติเรื่องการใช้หุ่นเพื่อการศึกษาและสร้างการเรียนรู้เทศกาลนี้มุ่งเน้นให้ศิลปินจากหลากหลายสาขาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลงานร่วมกัน

 

 

ศิลปินหุ่น เข้าร่วมงาน “เทศกาลหุ่นโลก 2024”

คณะศิลปินนานาชาติจาก 10 ประเทศ 13 คณะ

 

 ออสเตรเลีย CONSTANTINE  KORSOVITIS  / SYDNEY PUPPET THEATRE

 แคนาดา LITTLE CHOOS CO.

 ฮ่องกง SKYBIRD PUPPET

 ลาว KRABONG LAOS PUPPET THEATRE

 เม็กซิโก - อินโดนีเซีย GNAYAW PUPPETS

 เมียนมาร์ HTW OO MYANMAR

 ฟิลิปปินส์ - PUPPETS PHILIPPINES

 ออสเตรเลีย - LUNARIA PUPPET SHOW

 สิงคโปร์ PAPER MONKEY

 ไต้หวัน HYLIGHT STUDIO & HYTREE STUDIO

 ตุรกี CEMAL FATIH POLAT KARAGÖZ THEATRE

 โคลอมเบีย (นิโคล) NICOLAS BERNAL

 

 

 คณะศิลปินไทยจาก 8 จังหวัด 19 องค์กร

 ระยอง หนังใหญ่วัดบ้านดอน

 เพชรบุรี หนังตะลุงเมืองเพ็ชร มหาฟลุ๊ค

 มหาสารคาม หมอลำหุ่นเด็กเทวดา / หนังบักตื้อเพชรอีสาน

 เชียงราย รัฐ จ าปามูล SPUTNIK TALES CO.,LTD.

 กรุงเทพฯ รุ่งอรุณของเล่นพื้นบ้าน

 นครราชสีมา คุณสุทัศน์ ถาวรวิไลฤกษ์ นักปั้นดิน / STOP MOTION

 กรุงเทพฯ โรงเรียนรุ่งอรุณอินเตอร์เนชั่นเนล

 เพชรบุรี กลุ่มเยาวชนรักหนังใหญ่วัดพลับพลาชัย

 กรุงเทพฯ Moon Manga Museum

 กรุงเทพฯ Ta Lent Show

 กรุงเทพฯ คุณป๋อง แท่งทอง วิทยากร Stop Motion

 กรุงเทพฯ กลุ่มเยาวชนวายุบุตร

 กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

 กรุงเทพฯ วรรณศักดิ์ ศิริหล้า และมหาวิทยาลัยหอการค้า

 นครปฐม วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 นครสวรรค์ คณะคนรักษ์หุ่น โรงเรียนตาคลีวิทยาคม

 กรุงเทพฯ โรงเรียนทอสี

 กรุงเทพฯ ดร.สุรัตน์ จงดา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

 สงขลา คณะบ้านโนรา 168 ม.ทักษิณ (ครูธรรมนิตย์ นิคมรัตน์)

 

 

Highlight การแสดงหุ่น จาก 14 ประเทศ 32 คณะ

การแสดงทั้งหมดจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 13 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พบกับการแสดงหุ่นจากทั่วโลก ทั้งหุ่นไทยและหุ่นนานาชาติจาก 13 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เม็กซิโก-อินโดนีเซีย โคลัมเบีย แคนาดา เมียนมา ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว ฮ่องกง ไต้หวัน  ตุรกี และ ไทย NSM จัดเต็มความสนุกใน 3 พื้นที่ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร แบ่งพื้นที่การจัดแสดง และกิจกรรม ให้สอดคล้องกับรูปแบบของแต่ละพิพิธภัณฑ์ ได้แก่

  • พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เน้นการจัดแสดงหุ่นและกิจกรรมการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ Link Booking : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58
  • พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นเรื่องราวที่เชื่อมโยงด้านนวัตกรรมหุ่น และ INNOVATION ต่าง ๆ Link Booking : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8
  • พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า เน้นการจัดแสดงและถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเรื่องราวของสัตว์และพืช Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

สำหรับผู้สนใจเข้าชมงาน “เทศกาลหุ่นโลก 2024” สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติม และจองที่นั่งชมการแสดงฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายได้ทาง เว็บไซต์ www.nsm.or.th หรือ Facebook : NSM Thailand / Facebook : Harmony Puppet Thailand และ มูลนิธิหุ่นสายเสมา

 

Immerseive Theatre

 

 

การแสดงหนังใหญ่ : รามายณะ 360º  BAN DON SHADOW

การแสดงนวัตกรรมใหม่ ‘หนังใหญ่ 360 องศา’  จาก หนังใหญ่วัดบ้านดอน มีให้ชม 3 รูปแบบ แบบจอแบน เล่นเงาดั้งเดิม - แบบจอ Led ใช้เทคนิคตัดต่อผสานมัลติเทคโนโลยี และการแสดงบนพื้นที่โดมวงกลมภายในห้องฉายดวงดาว BIG BANG แบบท้องฟ้าจำลอง ที่ผู้ชมจะได้ชมทั้งหนังใหญ่ และหนังอวกาศฉายบนจอที่ผู้ชมจะชมได้รอบทิศ 360 องศา ในพื้นที่เดียวกัน ครั้งแรกของการแสดงหนังใหญ่ ในรูปแบบใหม่ แสดงในอาคารโดมภาพฉาย  ท่ามกลางภาพฉายของหมู่ดาว และกราฟฟิคอันตื่นตา ในแนวทางของ Immerseive Theatre

การแสดงหนังใหญ่ : รามายณะ 360º คณะหนังใหญ่วัดบ้านดอน ระยอง

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 BIG BANG THEATRE  ชั้น 2

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 - 15.30 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

หุ่นไทย หนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง ประเทศไทย

พบกับ หนังใหญ่วัดบ้านดอน ในการแสดงนวัตกรรมใหม่ ที่ผู้ชมจะได้ชมทั้งหนังใหญ่ และ หนังอวกาศฉายบนจอ 360 องศา

หนังใหญ่ รามเกียรติ์ ตอน ยกรบ  ใน version ใหม่

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ออดิทอเรียม ชั้น 1 โซนสำนักงาน

วันที่ 13  พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.30 -11.30 น.

วันที่ 15  พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 - 14.30 น.

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นเรื่องราวที่เชื่อมโยงด้านนวัตกรรมหุ่น และ INNOVATION ต่าง ๆ

Link Booking : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

 

หนังใหญ่ รามเกียรติ์ ตอน ยกรบ  ใน version ใหม่

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ IT MUSEUM ห้องแสดงงาน IT AUDITORIUM โซนสำนักงาน ชั้น 1 โซนสำนักงาน

ในวันที่ 15  พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.30 - 15.00 น.

workshop ในวันที่ 13  พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.30 -11.30 น.

 และ 15  พฤศจิกายน เวลา  13.30 - 14.30 น.

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นเรื่องราวที่เชื่อมโยงด้านนวัตกรรมหุ่น และ INNOVATION ต่าง ๆ

Link Booking : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

 

หมอลำหุ่นเด็กเทวดา และเพชรอิสาน : สินไซ

สินไซ  เป็นการแสดงที่ผู้ชมจะต้องติดตามตัวละครไปยังลานแสดงนิทรรศการสัตว์ป่าและพืชพรรณ ป่ายปีนตอไม้ยักษ์ เผชิญสิงสาราสัตว์ ผ่านการแสดงจาก หมอลำหุ่นเด็กเทวดา และเพชรอิสาน สินไซ เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมอีสาน มีเนื้อเรื่องสนุกสนานและให้คติสอนใจ ในการแสดงครั้งนี้จะหยิบยกตอนที่สินไซต้องออกตามหาอาว์ คือ นางสุมณฑา จากเมืองยักษ์กุมภัณฑ์กลับสู่นครของตน ระหว่างทางต้องเผชิญกับอุปสรรคภยันตรายต่าง ๆ มากมาย จึงเป็นที่มาของความสนุกสนานตื่นเต้นในเรื่องราวของ สินไซ

การแสดง: สินไซผจญภัย

หมอลำหุ่นเด็กเทวดา เพชรอิสาน

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 RAMA 9 MUSEUM

โซนพาเหรดสัตว์ ชั้น 1

14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 - 12.00 น.

16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 - 12.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

หุ่นจากวัสดุจักสาน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกระติ๊บข้าวเหนียว เป็นหนึ่งใน Objectheatre ที่ สร้างคุณค่าจากนวัตกรรมการจักสานของอิสาน จนสามารถสร้างเป็นหุ่นขนาดใหญ่ หุ่นในขบวนพาเหรด งานศิลปะ และของที่ระลึก สร้างมูลค่า อย่างยั่งยืน

Workshop : นวัตกรรมหุ่นท้องถิ่น

หมอลำหุ่นเด็กเทวดา และเพชรอีสาน

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 โซนต้นไม้ใหญ่ เขตอบอุ่น ชั้น 1

วันที่ 13 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 น. และ 14.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

THAILAND : COLLEGE OF MUSIC, MAHIDOL UNIVERSITY & NSM

ผลจากมลพิษกระทบระบบนิเวศทั่วโลก (Climate Change) สัตว์กว่าล้านสายพันธุ์เสี่ยงสูญพันธุ์เร็วขึ้น เทศกาลหุ่นโลก Harmony World Puppet Innovation 2024 ปีนี้มีแนวทางการแสดงเพื่อสื่อสารเรื่องนี้โดยเฉพาะ มีการคัดสรรค์คณะหุ่นจากทั่วโลกที่เดินทางมาเข้าร่วมจัดแสดง ในเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม จำลองหุ่นสัตว์สูญพันธ์ุ จากหลายคณะหุ่นนานาชาติ อาทิ Canada , Mexico , Australia etc. บนพื้นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ พระราม 9 ซึ่ง อพวช. เปิดนิทรรศการ “On the edge of Extinction : สู่สูญพันธุ์” พร้อมรับฟังเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะทำให้การชมละครหุ่นครั้งนี้เป็นการเสริมความรู้ เพิ่มความรักต่อสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สำหรับประเทศไทยพบกับละครผสมการแสดงหุ่นเกี่ยวกับปัญหาสัตว์สูญพันธ์ โดยภาควิชาขับร้องคลาสสิกและละครเพลง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหุ่นสร้างสรรค์โดยทีมงาน มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม มีความภูมิใจที่นำเสนอโอเปร่าที่เขียนขึ้นใหม่สำหรับเด็ก นำเสนอโอเปร่าสำหรับเด็กเรื่อง  “The Story of the Long-Gone Animals”  เป็นเรื่องราวของดาวเหนือ, เด็กหญิงที่ป่วยจนต้องหยุดเรียนอยู่บ้านเป็นเวลานาน และต้องทานยาทุกวัน เธอรู้สึกเหงาและท้อแท้จนกระทั่งวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์แปลกประหลาด นกโดโด้ปรากฏตัวขึ้นและพาเธอไปเที่ยวยังดินแดนของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

ประพันธ์เพลง/เรียบเรียงเสียงประสาน โดย อาจารย์กฤษดา เรเยส

ประพันธ์เนื้อเพลง/กำกับการแสดง โดย อาจารย์นพีสี เรเยส

 

 

เปิดนิทรรศการ : “On the edge of Extinction : สู่สูญพันธุ์”

“THE STORY OF THE LONG-GONE ANIMALS”

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ห้อง AUDITORIUM 1: ชั้น 2

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30-14.30 น.

 

เสวนา : “โลกกับสภาวะที่นำไปสู่ภาวะสัตว์สูญพันธุ์”

ณ  อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9   ห้องนิทรรศการสู่สัตว์สูญพันธุ์ ชั้น 1

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 15.00-17.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

UNIMA THAILAND - UNIMA AUSTRALIA - UNIMA SINGAPORE

สมาพันธ์หุ่นนานาชาติ ศูนย์ประเทศไทย, ออสเตรเลีย และสิงคโปร์

LIVE TALK : “VOICES OF NATURE”

PUPPETEERS UNITE FOR ENVIRONMENTAL CHANGE

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 NSM Studio fl.2 เวลา 10.00-11.00 น.

 

สมาพันธ์หุ่นนานาชาติ ศูนย์ประเทศไทย, ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เทศกาลหุ่นโลก ปี 2024 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ สภาวะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ สัตว์ป่า และมนุษย์ ในฐานะศิลปินสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงหุ่น และสื่อต่าง ๆ จึงร่วมกันสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อส่งเสียงจากธรรมชาติ ให้ทั่วโลกได้รับรู้ร่วมกัน

 

จัดกิจกรรม Live Talk ถ่ายทอดสด

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ IT  ห้องสตูดิโอ NSM ชั้น 2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 -11.00 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

 

หุ่นชาติพันธุ์ลาวเวียง และ WORKSHOP : คณะฅนรักษ์หุ่น โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์

หุ่นชาติพันธุ์ลาวเวียง การนำเอาหุ่นกระบอกมาเป็นสื่อกลางในการนำเสนอเรื่องราว ประเพณีการแห่ข้าวพันก้อน ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง เป็นประเพณีที่ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองจิกรีร่วมกันปั้นข้าวเหนียวที่นึ่งจนสุกแล้วให้ได้ครบหนึ่งพันก้อนเพื่อบูชาพระคาถา 1,000 คาถาแล้วนำไปบูชาพระอุปคุตในช่วงเวลาเช้ามืด เดิมประเพณีแห่ข้าวพันก้อนเป็นประเพณีที่ได้มาจากชาวเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านชุมชนบ้านหนองจิกรี ที่ได้อพยพมาจากประเทศลาวจึงได้นำประเพณีนี้ติดตัวมาด้วย ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการนำข้าวเหนียวหนึ่งพันก้อนไปบูชาพระพุทธรูป จะทำให้ต้นข้าวออกมางอกงามได้ผลผลิตดี ในปัจจุบันประเพณีแห่ข้าวพันก้อนเริ่มที่จะเลือนหายไปจากหมู่บ้านหนองจิกรี กลุ่มฅนรักษ์หุ่น โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จึงมีความต้องการที่จะฟื้นฟูและรักษาประเพณีนี้ไว้ให้สืบต่อไป จึงนำเอาหุ่นกระบอกมาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเรื่องราว

 

หุ่นชาติพันธุ์ลาวเวียง และ WORKSHOP

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ห้องการแสดงวิทยาศาสตร์ ชั้น 1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00-12.00 น.

Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

OBJECT THEATRE

 

โปรดักชั่นสุดคลาสสิค ตามแนวทางของ Object Theatre (ไม่ว่าอะไรก็เป็นอุปกรณ์การแสดงหุ่นได้) จาก “คณะละครแห่งชาติ หุ่นกระบองลาว”  ประเทศลาว สร้างงานด้วยวัสดุเรียบง่ายจากธรรมชาติ ฉบับกระบุง ตะกร้าประเทศลาว ที่งดงามและมีเสน่ห์น่าชื่นชม ทำให้เราได้เห็นว่า ศิลปะหุ่นเริ่มด้วยต้นทุนที่สูงค่าคือ ‘คุณค่าทางความคิด’ สู่งานสร้างสรรค์ที่มี ‘มูลค่า’ ไม่สูง หากแต่เต็มไปด้วยงานออกแบบที่มีความเป็นนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

ศิลปะกระบองลาว : คณะละครแห่งชาติ (หุ่นกระบองลาว)

คณะละครแห่งชาติ (หุ่นกระบองลาว) นำหัตถกรรม ‘กระติบข้าว’ (ภาชนะบรรจุข้าวเหนียวที่สานจากไม้ไผ่ เช่นเดียวกับภาคอีสานของไทย) มาประดิษฐ์ศิลปะหุ่น ที่มีอัตลักษณ์สะท้อนถึงวัฒนธรรมลาว และมีมะพร้าวผลไม้เขตร้อนที่สามารถนำทุกส่วนมาใช้ทำประโยชน์ได้ ทั้งต้นมะพร้าว  ใบมะพร้าว มะพร้าวอ่อน และ ลูกมะพร้าวที่โตเต็มวัย ประเทศในแถบเอเซียโดยเฉพาะไทยกับลาว จะนำมาประกอบอาหาร และผลิตเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำ ศิลปินนำ ‘หัวมะพร้าวน้อย’ มาเป็นส่วนประกอบสำคัญของหุ่น เมื่อแสดงดูน่ารักจนกลายเป็นตัวแทนด้านสันทนาการในศิลปะการเชิดหุ่นของ กระบองลาว และ พระเอก ที่ขาดไม่ได้คือ ช้าง ประเทศลาวเคยมีช้างมากไม่ต่างจากไทย จึงมีชื่อเรียกในประวัติศาสตร์ว่า ‘ลาวล้านช้าง’ แต่ปัจจุบันแทบไม่มีช้างให้พบเห็นแล้ว ช้างจึงถูกสร้างขึ้นในการแสดงชุดนี้ เพื่อไม่ให้ช้างเหลือเพียงในนิทาน หรือจินตนาการจากเรื่องเล่า

คณะละครแห่งชาติ (หุ่นกระะบองลาว) : การแสดงหุ่นจากวัสดุท้องถิ่น : ศิลปะกระบองลาว

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ห้องแสดงวิทยาศาสตร์ ชั้น 1

วันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 - 11.00 น.

วันที่ 16 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 15.00 - 16.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

PHILIPPINES PUPPETS PHILIPPINES

หนึ่งในการสร้างสรรค์หุ่นนวัตกรรมจากวัสดุ recycle นําเสนอด้วยวิธี ง่าย งาม ตามวิถีคนชนเผ่า โดยใช้หุ่นเป็นตัวแทนของ ชนพื้นถิ่นเมืองปาลาวัน โชว์ ‘การเต้นรําแบบนักรบพื้นเมืองปาลาวัน’ โดยใช้หุ่นเชิดสองตัวที่ทําจากขวดพลาสติกมือสอง eco.bag วัสดุรีไซเคิล และเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว เต้นประกอบเพลงพื้นบ้านแบบดั้งเดิมของ PHILIPPINES  มีเพื่อนหุ่นร่วมร้องเพลงสนุกสนาน

การแสดงหุ่น : ระบำนักรบชนเผ่า สร้างสรรค์จากของเล่นและหุ่นสาย

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 โซนต้นไม้ใหญ่ เขตอบอุ่น ชั้น 1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00-11.00 น.

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00-11.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

ครูกั๊ก วรรณศักดิ์ สิริหล้า และ นักศึกษาการละคร มหาวิทยาลัยหอการค้า  กับการแสดงในรูปแบบละครเวทีผสาน Object Theatre การสร้างสรรค์หุ่นจากไม้ไผ่ ทั้งสองโคจรมาพบกันกับการสร้างสรรค์อะไรก็ได้ให้เป็นหุ่น ต้นทุน จากวัสดุ เรียบง่ายรอบตัวและการเล่าเรื่อง Story Telling อันน่าทึ่ง ตื่นตะลึง สนุก และซาบซึ้ง ต่อการให้ชีวิตกับสิ่งไร้ชีวิต (ให้กลายเป็นหุ่น ที่เสมือนมีชีวิต) ผ่านตำนาน “นางพญางูขาว” เป็นเรื่องเล่าของเมืองหังโจว เรื่องราวของปีศาจงูขาวที่บำเพ็ญเพียรจนสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ นางงูขาวมีความรักต่อบัณฑิตหนุ่ม ความรักของทั้งคู่ถูกขัดขวางโดยหลวงจีนผู้ยึดมั่นว่า

คนกับปีศาจไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะผิดกฎของสวรรค์ สงครามแห่งความขัดแย้งจึงบังเกิด

นางพญางูขาว (LADY WHITE SNAKE)

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 โซนต้นไม้ใหญ่ เขตอบอุ่น ชั้น 1

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00-15.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

PHILIPPINES LUNARIA PUPPET SHOW

ศิลปินคณะฟิลิปปินส์และครอบครัว นําเสนอศิลปะการแสดงหุ่นสัตว์

ที่มีเทคนิคการพูดดัดเสียง ชักเชิดหุ่น และการเรียนรู้เกี่ยวกับงานดูแลสวัสดิภาพของสัตว์ ที่จะทําให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น

 

การแสดงหุ่น : ANIMAL PUPPET SHOW

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 โซนต้นไม้ใหญ่ เขตอบอุ่น ชั้น 1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. - 11.00 น.

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 น. - 15.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

Mime Puppet &  Object Theatre

TALENT SHOW THEATRE คณะศิลปินไทยที่สร้างสรรค์หุ่นสุดแสนสนุก ผสานการใช้ศิลปะละครใบ้ (mime) นำเอาแนวทางการสร้างตัวละครหุ่นจากสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน มาออกแบบรังสรรค์การละเล่นหุ่น จากจินตนาการของเด็กปฐมวัยที่สร้างเรื่องราวขณะเล่นกับสิ่งของ มาลองสร้างเป็นหุ่นร่วมเล่นสนุกไปด้วยกัน การแสดงชุดนี้จึงสามารถชมได้ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้ใหญ่ และทำให้เข้าใจได้ว่า หุ่น สามารถสร้างขึ้นจากอะไรก็ได้ การแสดงชุดนี้จึงผสมผสานทั้ง Mime Puppet และ  Object Theatre เล่าสนานดูสนุกประกอบด้วย 5 เรื่อง

1. กระเป๋าหมา : สุนัขมีชีวิตขึ้นมาด้วยกระเป๋า ที่หนีบผ้า และ กรวย

2. แมงมุม : ร่มหัก แสดงวิธีล่าแมงมุม

3. ภารกิจที่เป็นไปไม่ได้ : ถุงมือ ถ้วย รองเท้าแตะ และแว่นกันแดดทําให้ภารกิจที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้

4. Oceanholic : เบาะ และจินตนาการที่ไม่สิ้นสุด สู่การผจญภัยในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่

5. ถังขยะรีไซเคิล : เรื่องราวของครอบครัวขยะที่ส่งต่อขยะพิษให้กันและกัน


การแสดง : TALENT SHOW THEATRE   ละครใบ้ กับ ตัวละครสิ่งของ

จัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ห้องการแสดงวิทยาศาสตร์ ชั้น 1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 - 15.00 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

TAIWAN : การแสดงหุ่น Animation ชมผ่าน เทคโนโลยี VR

 โดย HYLIGHT STUDIO & HYTREE STUDIO

เรื่อง : HUNGRY-VR PUPPET ANIMATION

ณ  อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 AUDITORIUM 2 ห้องประชุมแสงเดือน ชั้น 2

การแสดง: HUNGRY-VR PUPPETANIMATION

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 / 14.00 น.

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 / 15.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

การสร้างสรรค์เทคโนโลยี Animation ผสมผสานการเล่นหุ่นจากสิงคโปร์ Paper Monkey Theatre จาก SINGAPORE  ได้เคยเข้าร่วมเทศกาล “Harmony World Puppet Innovation 2023” ในครั้งนั้น ได้สร้างรูปแบบการแสดงอันน่าตื่นเต้นจากการประยุกต์ ใช้ การวาดภาพ การตัดต่อภาพ ด้วยเทคนิค Animatic และบอกเล่านิทานสดที่ทำให้ภาพต่าง ๆ เคลื่อนไหวต่อเนื่องเล่าเรื่องราวเสมือนชมภาพยนตร์ Animation

ในปีนี้ 2024 Paper Monkey Theatre กลับมาพร้อมงานสร้างใหม่ ออกแบบ พัฒนาเทคนิคการนำเสนอได้น่าสนใจ และทำให้ศิลปะหุ่น Puppet งานออกแบบภาพวาด Illustration และ Animation เชื่อมร้อยเข้าหากันด้วยนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตผลงานสร้างสรรค์ในอนาคตได้

เค้าโครงเรื่อง “MY CLOUD” เด็กน้อยจูงเมฆที่ลอยอยู่ด้วยเชือกเพื่อเรียกความกล้าหาญ และเริ่มต้นการเดินทางสู่ความกล้าหาญ และการค้นพบตนเอง เมฆนี้ทําหน้าที่เป็นเพื่อนพูดคุยนําทาง ขณะเดินทางผจญภัย คล้ายกับการประมวลผลแบบ  CLOUD คลาวด์นี้มีความรู้หลากหลาย และมีทรัพยากรมากมาย เหมาะสําหรับเด็กประถม 3 และต่ำกว่า เนื้อหาเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ความมีชีวิตชีวา และจินตนาการจากการสนทนาโต้ตอบที่ชาญฉลาด  สร้างสรรค์โลกอิสระเพื่อเด็กเล็กที่มีจิตใจอ่อนโยน

 

“MY CLOUD”

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ 

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 รอบ 10.00 - 11.00 และ รอบ 14.00-15.00 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

 

หุ่นแนวประเพณีดั้งเดิม

การแสดงหุ่นจีนแบบประเพณี HONG KONG – SKYBIRD PUPPET GROUP เป็นการแสดงประกอบด้วยรูปแบบหุ่นแบบดั้งเดิมของจีนคือ หุ่นชัก และหุ่นกระบอกที่รวบรวมแนวทางการแสดงหุ่นจีนไว้ให้ชม ให้ศึกษา และหรรษากับการออกแบบการเล่นหุ่น ละคร ระบำ หน้ากาก พบกับการแสดง

  • Monkey King Kung-Fu
  • Borrow Boots
  • Youth Dream
  • Face Change

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ห้องการแสดงวิทยาศาสตร์ ชั้น 1

วันที่ 13 และ 15 พฤศจิกายน 2024 เวลา 10.00 - 11.00 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

เป็นเวลากว่าร้อยปีมาแล้วที่ "หุ่นสาย" หรือ "yoke thé" (โยกเธ่) เป็นมหรสพที่จัดแสดงเฉพาะในราชสำนักของกษัตริย์พม่า สมัยต่อมาจึงมีจัดแสดงทั่วไปทั้งในงานวัด งานสมโภช ด้วยเรื่องราวหลากหลาย ตั้งแต่นิทานแฝงคติสอนใจ ไปจนถึงเรื่องแต่งเพื่อความบันเทิงล้วน ๆ คณะหุ่น “เถว่อูเมียนมาร์” กำเนิดจากครอบครัวนักเชิดหุ่นที่อนุรักษ์งานหุ่นสายมาอย่างยาวนาน มีงานแสดงอย่างสม่ำเสมอในกรุงย่างกุ้ง เปิดรับผู้ชมหลากหลายกลุ่ม ทั้งโรงละครภายในบ้านตัวเอง โรงเรียน เทศกาลศิลปวัฒนธรรม และได้รับคัดเลือกให้แสดงต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ครั้งที่ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเยือนพม่าก็ได้แสดงหน้าพระที่นั่ง ฯลฯ จนได้รับเรตติ้งสูงสุด 5 ดาวจาก Tripadvisor ในหมวดการแสดงหุ่น

เทศกาลหุ่นโลกปีนี้ เถว่อูเมียนมาร์ เข้าร่วมโชว์การแสดงรวมหลากตอนจากหลายเรื่อง บรรเลงสดประกอบการแสดงด้วยเครื่องดนตรีพม่า พร้อมสาธิตเทคนิคการชักเชิดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ รวมถึง workshop ฟรี พร้อมที่จะนำผู้ชมไปสัมผัสมรดกพื้นบ้านผ่านอารยวัฒนธรรมหุ่นสายที่ดูสนุกได้ความรู้

 

MYANMAR : HTW OO MYANMAR การแสดงหุ่นสายจากประเทศพม่า

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ห้องประชุมไอน์สไตน์  ชั้น 2

วันที่ 13 / 15 / 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา  13.30 - 14.00 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

TYLTYL & MYTYL ไททิลและ ไมทิล Ultervision ประเทศญี่ปุ่น

การแสดงโดยนักเชิดหุ่นสามคนในสไตล์บุนราคุ หลายฉากได้รับการเล่าด้วยวัสดุและการแสดงออกทางกายภาพ เรื่องราวนี้อิงจาก "The Blue Bird" ของ Maeterlinck ที่ตั้งคำถามว่า “พลังชีวิตมนุษย์คืออะไร?” “จริงๆแล้วเราอยู่ร่วมกันในโลกที่ซับซ้อนนี้เพื่ออะไร” คําถามเหล่านี้จะถูกถามต่อผู้ชม

 

TYLTYL & MYTYL : Utervision Company Japan

ณ  อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 Big Bang Theatre ชั้น 2

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 - 15.30 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

คณะสมาคมโนรา 168 ทักษิณ จ.สงขลา : หุ่นพรานโนรา Giant Puppet

ตัวละคร พราน มาจากวัฒนธรรมการแสดง โนรา ที่ได้รับการออกแบบสร้างสรรค์เป็นหุ่นขนาดใหญ่ โดย ครู ธรรมนิตย์  นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ และการนำเสนอ โนรา ซึ่งเป็นศิลปะมรดกโลก ที่ได้รับการเชิดชู ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้ ของ Unesco  หุ่นใหญ่นี้ ได้รับการออกแบบและนำไปเผยแพร่ ในงาน Venice Biennale 2022 ในเทศกาลหุ่นโลกปีนี้ได้นำมาจัดแสดงร่วมกับศิลปินนานาชาติ ในงาน Harmony World Puppet Innovation festival 2024

 

การแสดง: หุ่นพรานโนรา Giant Puppet

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 17.00 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

 

COLOMBIA & THAILAND : ROONG AROON INTERNATIONAL SCHOOL & NICIOLAS BERNAL

รุ่งอรุณ เป็นโรงเรียนต้นแบบ Home School ของการศึกษาทางเลือก ที่มีแนวทางชัดเจนเป็นเอกลักษณ์ สอนให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ด้วยตัวเอง ผ่านการเรียนรู้จากความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติ และมีวิทยาศาสตร์นำทาง

 

การแสดงหุ่น “สู่ความมืดมิด ผ่านแสงแห่งธรรมชาติ” ศิลปินนักสร้างสรรค์การแสดงหุ่นจาก โคลอมเบีย นิโคล จัดโชว์ชุดพิเศษ ออกแบบงานแสดงขึ้นใหม่ เป็นประสบการณ์ที่ได้รับจากนิยายวิทยาศาสตร์ระดับโลกสู่การแสดงนวัตกรรมหุ่นไม่ทิ้ง Trend งานไซไฟที่กำลังได้รับความสนใจ โดยนำผลงานของ จูลส์ เวิร์น นักเขียนไซไฟนิยายวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งผลงานของเขาเป็นนิยายชื่อดังก้องโลก และได้รับฉายา "บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์" ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักสำรวจ รวมถึงวิศวกรตื่นตัวต่อโลกอนาคต การแสดงนี้จัดขึ้นที่ห้อง Big Bang ซึ่งเป็นพื้นที่ทรงกลมลูกโลก ที่ผู้ชมจะได้เข้าชมการแสดงในมิติของการออกแบบภาพฉายโดยใช้เทคโนโลยีจัดแสดงร่วมไปกับหุ่นทุกขนาด

การแสดงหุ่น: สู่ความมืดมิด ผ่านแสงแห่งธรรมชาติ

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 Big Bang Theatre ชั้น 2

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา  14.00  น. และ 15.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

คนรักคนชอบ หุ่นเงา ต้องไม่พลาดคาราวานหุ่นเงามารอแล้วจาก เม็กซิโก อินโดนีเซีย แคนาดา ออสเตรเลีย ตุรกี นำหุ่นเงาที่มี character และเทคนิคเฉพาะของแต่ละประเทศ มาเล่น มาเล่า ด้วยลีลาหลากหลาย และเนื้อหาที่เข้ากับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบัน และเป็นการออกแบบการนำเสนอ Shadow Puppet Stage Performance Design ที่ตื่นตาน่าเรียนรู้พร้อมชมนวัตกรรมการศึกษาจากโรงเรียนทางเลือกที่ใช้หุ่นร่วมพัฒนาเด็ก

 

 

นวัตกรรมหุ่นเงาในสถานศึกษา : หุ่นเงาโรงเรียนทอสี

 โรงเรียนทอสี หนึ่งในโรงเรียนทางเลือกคุณภาพ ที่ใช้หุ่นเงาบูรณาการตลอดปีการศึกษาได้อย่างน่าสนใจ เพื่อพัฒนาผลผลิตทางการศึกษาด้วยศิลปะการแสดงหุ่น ตั้งแต่การสร้างเรื่อง ออกแบบ ประดิษฐ์ ไปจนถึงการนำเนื้อหามาสร้างประเด็นการเรียนรู้ใหม่ ในทุกปลายปีการศึกษาโรงเรียนทอสีจะมีเทศกาลหุ่นเงา ที่ผู้ชมคือคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองรอคอย เพื่อชื่นชมผลงานการแสดง ที่เห็นถึงพัฒนาการอันเกิดจากการเรียน การสอน และผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียน

 

หุ่นเงาโรงเรียนทอสี : นวัตกรรมหุ่นเงาในสถานศึกษา

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ห้องการแสดงวิทยาศาสตร์ ชั้น 1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 - 11.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

หนังตะลุงเพชรบุรี คณะมหาฟลุค

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ห้องประชุมไอน์สไตน์  ชั้น 2

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา  13.30 - 14.30 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

ครุฑยุดนาค : กลุ่มเยาวชนวายุบุตร

การแสดงหุ่นละครเล็ก และหุ่นนาค ขนาดใหญ่ Giant Puppet ที่ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่มีวิวัฒนาการการพัฒนา กลไกการเชิด ไปจนถึงการเล่าเรื่องนำเสนอการชักหุ่นแบบลอยตัว คือการเล่นหุ่นที่เห็นคนชักเชิด ออกลีลาผสมผสานร่วมแสดงละครไปกับหุ่น  วิธีเล่นนี้เป็นหนึ่งในหลักสากลของการเล่นหุ่นสมัยใหม่

การแสดง: ครุฑยุดนาค

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 Auditorium ชั้น 2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 -15.00 น.

Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

หนังใหญ่ : จับลิงขาว-ลิงดำ โดย กลุ่มเยาวชนรักษ์หนังใหญ่วัดพลับพลาชัย

เค้าโครงเรื่อง พระฤาษีได้เลี้ยงลิงไว้ 2 ตัวที่อาศรมเป็นลิงขาวกับลิงดำ ต่อมาลิงขาวเป็นลิงที่ดีคอยดูแลพระฤาษี ส่วนลิงดำจะคอยกลั่นแกล้ง ลักเล็กขโมยน้อย และชอบเอาของไปซ่อน อีกทั้งยังคอยแกล้งญาติโยมที่มาหาพระฤาษีที่อาศรม ต่อมาลิงขาวทนพฤติกรรมของลิงดำไม่ไหว จึงพยายามจับลิงดำไปมอบให้กับพระฤาษีเพื่อลงโทษ เมื่อลิงขาวจับลิงดำได้นำตัวไปมอบให้กับพระฤาษี แต่พระฤาษีมีจิตใจเมตตา จึงขอให้ลิงขาวปล่อยลิงดำไป ก่อนที่ลิงขาวจะปล่อยลิงดำไป พระฤาษีได้สั่งสอนทั้งลิงขาวและลิงดำให้เป็นคนดี และมีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวซึ่งกันและกัน

 

หนังใหญ่: จับลิงขาว-ลิงดำ กลุ่มเยาวชนรักษ์หนังใหญ่วัดพลับพลาชัย

ณ พิพิธภัณฑ์พระราม 9 ห้องการแสดงวิทยาศาสตร์ ชั้น 1

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 - 14.00 น.

 

Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

Australia : Sydney Puppet Theatre 

"Footprint" (รอยเท้า) เป็นการแสดงหุ่นเงาทดลอง เล่าเรื่องการแสดงความเคารพต่อแผ่นดิน การแสดงนี้ประสบความสำเร็จในการแสดงในโรงละครบรอดเวย์ในนิวยอร์ก , ในเทศกาลหุ่นกระบอก Reutlingen ในเยอรมนี และได้เล่นในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย การแสดงใช้  Sound Track ต้นฉบับโดย Steve Coupe

หุ่นเงา : FOOTPRINT

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า  ห้องชมภาพยนตร์ป่าเขตร้อน ชั้น 1

วันที่ 15 -16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 - 15.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

ตุรกี TURKEY: CEMAL FAITH POLAT KALAGOZ THEATER

PERFORMANCE : WORLD STARS SHOW การแสดงของดาราระดับโลก

การแสดงหุ่นเงาหลากหลายรูปแบบใหม่ พบกับดาราระดับโลกที่

Karagoz Stage , Elvis Presley, Luciana Povarotti, Charlie

Chaplin, Carlos Santana, Louis Armstrong และอีกมากมายยกขบวนมาร่วมแสดงหุ่นดนตรีหรรษา

 

 

TÜRKIYE CEMAL FATIH POLAT KARAGÖZ THEATRE

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ห้องชมภาพยนตร์ป่าเขตร้อน ชั้น 1

หุ่นเงา : เวิลด์สตาร์โชว์

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 - 15.00 น.

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 - 14.30 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

MEXICO-INDONESIA : GNAYAW PUPPETS

“THE HUMAN FATE” (ชะตากรรมของมนุษย์) เป็นหุ่นเงาที่สำรวจการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วขององค์ประกอบหลักหลายอย่างในสังคมมนุษย์ โดยมุ่งเน้นที่การแสวงหาประโยชน์จากแหล่งธรรมชาติ เพื่อสร้างความเจริญให้เมืองของพวกเขาผลที่ตามมาคือโลกที่ไม่มีทรัพยากรเหลืออยู่ นอกจากสงครามและการทำลายล้าง ดังนั้นธรรมชาติจึงสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ที่โดดเด่นในฐานะผู้ควบคุมสิ่งแวดล้อม

 

หุ่นเงา : THE HUMAN FATE

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ห้องชมภาพยนตร์ป่าเขตร้อน ชั้น 1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 - 11.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

*******************************************

 

 

Mexico – Indonesia Gnayaw Puppets : DEPARTING OF DEWI SRI

การแสดงหุ่นเงาเล่าเรื่อง “การจากไปของแม่โพศรี (หรือ แม่โพสพ ตามความเชื่อของไทย) เล่าตามความเชื่อดั้งเดิม "แม่โพศรี" เทพธิดาของข้าว ติดตามวิวัฒนาการอารยธรรมของมนุษย์อย่างระมัดระวัง แต่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกต่อไปในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ ดังนั้นเธอจึงนําสัตว์และสิ่งมีชีวิตจํานวนมากอพยพออกไปนอกโลก สิ่งที่การแสดงต้องการจะส่งสารคือ การตระหนักถึงความเสียหายที่โลกกําลังประสบ เนื่องจากผลกระทบที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติ

 

การแสดงหุ่นเงา : DEPARTING OF DEWI SRI

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ห้องชมภาพยนตร์ป่าเขตร้อน ชั้น 1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 -11.00 น.

 

Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

CANADA : LITTLE CHOOS CO.,

MOONDANCE คือการแสดงหุ่นเงาที่เคลื่อนย้ายได้และแสดงได้ทุกที่

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาวที่จัดการกับความเหงาด้วยการค้นหาเวทมนตร์

และออกไปผจญภัย เหมาะสําหรับผู้ชมทุกวัยและแสดงในเต็นท์เงาที่ไม่เหมือน

ใคร มูนแดนซ์เหมาะสําหรับผู้ชมที่นั่ง 50-100 คนหรือเป็นการแสดงรอบข้าง

นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยหลังการแสดงสําหรับผู้ชมที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นเงา

 

การแสดงหุ่นเงา : MOONDANCE

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า  โซนต้นไม้ใหญ่ เขตอบอุ่น ชั้น 1

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 - 14.30 น.

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา  10.30 - 11.30 น.

WORKSHOP: MOONDANCE 13 NOV. 14.30 - 15.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

หุ่นเงา : “รามเกียรติ์ ตอน นนทก”

รามเกียรติ์ ปรากฏในงานแสดงหนังใหญ่ หนังตะลุง แต่รามเกียรติ์ ในการแสดงหุ่นเงาแบบอีสานที่เรียกว่า ‘หนังบักตื้อ’ เป็นนวัตกรรมการแสดงที่มีความแตกต่างทั้งดนตรี ภาษาพูด และการสร้างหุ่น หุ่นหนังเงาแบบอิสานมีลักษณะเฉพาะ และการแสดงครั้งนี้ก็มีรูปแบบเฉพาะ

รามเกียรติ์ ตอน “นนทก”

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ห้องชมภาพยนตร์ป่าเขตร้อน ชั้น 1

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 - 12.00 น.

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 - 12.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

Workshop : หุ่นเงามาสเตอร์คลาสสำหรับเด็กจากประเทศตุรกี

TÜRKIYE CEMAL FATIH POLAT KARAGÖZ THEATRE 

หุ่นเงามาสเตอร์คลาสสำหรับเด็ก สร้างสรรค์หุ่นเงาในสไตล์ตุรกีเต็มรูปแบบ หุ่นเงาตุรกีถือได้ว่าเป็นหุ่นเงาที่อยู่ในประวัติศาสตร์ หุ่นโลก เป็นต้นกำเนิดของหุ่นเงาเก่าแก่ที่สืบสานมายาวนานที่สุด

 

Workshop : หุ่นเงามาสเตอร์คลาสสำหรับเด็กจากประเทศตุรกี

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ด้านหน้า โซนต้นไม้ใหญ่ เขตอบอุ่น ชั้น 1

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 น. และ 14.00 น.

Link Booking :  พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

กิจกรรมเชิงวิชาการสนานสนุก

กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ และกิจกรรม workshop จาก NSM อาทิ Micro : bit Puppet Robot (หุ่นยนต์กระดาษสมองกล) เรียนรู้หลักการเคลื่อนไหวของโครงสร้างหุ่นชักสายเชิด พร้อมลงมือประกอบ Servo Motor[4] ( เซอร์โวมอเตอร์ คือ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่มักถูกนำมาใช้ในการควบคุมมุม หรือตำแหน่งเชิงเส้นที่มีความละเอียดสูง), เรียนรู้ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ Micro : bit box Transport Robot (นักยกจอมพลัง) , สร้างสรรค์มือจับจอมพลังให้กับหุ่นยนต์ พร้อมเรียนรู้การใช้ Ultrasonic จับและเคลื่อนย้ายวัตถุไปยังตำแหน่งที่ต้องการ  และ Micro: bit Recue Robot (หุ่นยนต์กู้ภัยใจอาสา) เรียนรู้การวางแผนกระบวนการคิดและเขียน code คำสั่งควบคุมหุ่นยนต์

 

 

Workshop สร้างสรรค์ หุ่นสัญลักษณ์ เทศกาล

การจัดงานเทศกาลโลกปีนี้ Theme งานคือ Puppet Maker จึงมีการนำเสนอห้วข้อและกิจกรรมอันหลากหลาย เช่น การออกแบบ Character Design  เทคนิคการสร้างหุ่นและภาพให้เกืดการเคลื่อนไหว ทั้งการชักเชิด เครื่องกลไก

ในเทศกาลมีการออกแบบคาแรคเตอร์สัญลักษณ์การจัดงานที่มีชื่อว่า Mekabot หมายถึง ‘หุ่นยนต์ นักสร้างสรรค์’ กิจกรรมนี้จะได้สร้างหุ่นชักกระดาษ ที่สามารถวาดระบายสี ผูกโยงใยเชือกชัก และได้หุ่นกลับไปเรียนรู้ โดย มูลนิธิหุ่นายเสมา

 

Workshop สร้างสรรค์หุ่นชักสายกระดาษ Mekabot

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ Science Museum ชั้น1

วันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. - 15.00 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

         

 

การอบรมการออกแบบ Character การประกวดสร้างตัวละครหุ่น การ์ตูนมังงะ โดย Moon Munga Museum การ์ตูนมังงะ (ญี่ปุ่น: 漫画; โรมาจิ: manga) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียก การ์ตูนช่อง และการเล่าเรื่องด้วยวิธีการแบบ การ์ตูนช่อง คือพื้นฐานการเล่าเรื่องแบบ storyboard ที่ช่วยให้การกำหนดแอคชั่นของตัวละคร สามารถสื่อสารทั้งอากัปกริยา การสื่อความหมายผ่านคำบรรยาย และการพูด

เทศกาลหุ่นโลก เปิดประสบการณ์ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะแขนงนี้ด้วยต้นฉบับนวนิยายวิทยาศาสตร์รางวัลชนะเลิศ ของ อพวช. มาเป็นแนวทางการฝึกสร้างสรรค์งานออกแบบ character ที่สามารถนำไปต่อยอดการสร้างได้ทั้งการ์ตูน  สร้างหุ่น หรือ การสร้างงานแอนิเมชั่น

 

MOON MUNGA MUSEUM พิพิธภัณฑ์การ์ตูนมังงะ ประเทศไทย

  • จัดอบรมและประกวดที่อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ SCIENCE MUSEUM ณ ห้องประชุมยูเรก้า ชั้น 2 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. / 11.00 น. / 13.00 น. / 14.00 น.
  •  workshop : ออกแบบตัวละครนิยายวิทยาศาสตร์ 3 เรื่อง กุหลาบบนดวงจันทร์ , ฝันชั่วนิรันดร์ของแมวศุภลักษณ์ , ซีมาผู้ช่วยให้รอด
  • ประกวดชิงรางวัล SCIENCE FICTION CHARACTER DESIGN AWARDS

มอบรางวัลประกวดออกแบบตัวละครนิยายวิทยาศาสตร์ ใบประกาศ และโอกาสในการนำคา character ที่ชนะเลิศ ผลิต การ์ตูนมังงะ แอนิเมชั่น หรือ ละครหุ่น โดย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จาก  NSM Moon มังงะ บริษัทสปุตนิค  จำกัด และ UNIMA THAILAND

  • ประกาศผลมอบรางวัล วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 15.00-16.00

 

Link Booking : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

อบรมงานออกแบบ Stop Motion โดย ศิลปิน ป๋อง แท่งทอง ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาพยนตร์เทคนิค Stop Motion มานานกว่าสิบปี ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา Stop Motion ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Stop Motion เป็นกลวิธีสำคัญในการสร้างการเคลื่อนไหวให้กับหุ่น หรือวัตถุที่ต้องการนำมาประกอบการเล่าเรื่อง ในงานสร้างสรรค์ Stop motion จะมีการทำงานร่วมกับนักปั้นหุ่นที่ศึกษาเรื่อง ข้อต่อ อวัยวะ ของร่างกายหุ่น เพื่อนำมาประกอบกับโครงสร้างที่สามารถขยับชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ ซึ่งใช้เทคนิคเดียวกันกับการสร้างหุ่น

การ workshop :  Stop Motion ครั้งนี้ จะมีการ collaboration ปั้นหุ่นขึ้นจากดินน้ำมันและดินเหนียวจากด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา โดยศิลปินช่างท้องถิ่น สุทัศน์ ถาวรวิไลฤกษ์ (ครูต๋อย) ที่เข้าร่วมใช้ดินทดลองพัฒนา สร้างงาน Stop Motion หลังจากการปั้นจะมีการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นหนึ่งเรื่อง เมื่อมีกล้องถ่ายก็ต้องมีวัตถุที่จะถ่ายเพื่อเล่าเรื่องด้วย ผู้เข้าร่วมกิจกรรม workshop จะได้รับดินน้ำมันหรือดินปั้นคนละชุด และหากเข้าใจหลักการแล้วสามารถใช้วัสดุรอบตัวหรือหุ่นต่าง ๆ ที่โชว์ในเทศกาลร่วมได้  หรือใช้ร่างกายตัวเองก็ได้เช่นกัน

 

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

EDUCATION INNOVATION  STUDIO ชั้น 2

workshop : การสร้างหุ่นเคลื่อนไหว (กลุ่มที่ 1 / 25 คน)

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 - 12.00 น.

workshop : การสร้างหุ่นเคลื่อนไหว (กลุ่มที่ 2 / 25 คน)

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 - 15.00 น.

Link Booking : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

ชวนเปิดประสบการณ์ ‘โลกแห่งการเล่าเรื่องจาก Character Design’ ที่สร้างขึ้นด้วยคาแรคเตอร์และเทคนิคอันหลากหลาย ให้ inspiration สำหรับนักสร้างสรรค์ที่ปรารถนาจะเป็นนักออกแบบ นักเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของการเล่นหุ่น ทำแอนิเมชันภาพเคลื่ินไหว จัดฉาย และร่วมพูดคุยถึงแนวทางการสร้างสรรค์ เรื่องแอนิเมชัน ที่เป็นมากกว่าแอนิเมชัน กับ รัฐ จำปามูล ผู้อยู่ในวงการแอนิเมชันมากว่า 20 ปี

 

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

พร้อมจัดฉายแอนิเมชันสร้างชื่อเรื่อง "เพลงพระอาทิตย์"  ให้ชมฟรี

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา  13.30 - 14.30 น.

 

Talk : "More than Animations"

By Rutt Jumpamule

Director, Thailand Animator Festival

Director, Sputnik Tales co.,ltd

Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

“เพลงพระอาทิตย์" เป็นเรื่องราวของของเด็กสองคนที่รู้สึกโดดเดี่ยวท่ามกลางผู้คนมากมายในเมืองใหญ่ ที่ต่างก็ล้วนโหยหาสิ่งเติมเต็มความอ้างว้างในหัวใจของตน เขาทั้งคู่กำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่มืดมนของชีวิต ในห้วงเวลาที่อ้างว้างนั้นมีบางเรื่องราวเกิดขึ้น เรื่องราวที่ดุจดังแสงสว่างเล็ก ๆ ท่ามกลางความมืดมิดที่ทั้งคู่เผชิญอยู่ และบางสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้อาจเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของเขาและเธอได้

 

ประเภทภาพยนตร์ : Open Source Personal Animation / Drama

กำกับภาพยนตร์ / บทภาพยนต์ / อนิเมเตอร์ / กำกับศิลป์ : รัฐ จำปามูล

ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ : ณัฐ จำปามูล

ดนตรีประกอบ : Headroom Music Production

ความยาวภาพยนตร์ : 58 นาที

 

 

Workshop การสร้างสรรค์ โรงละครหุ่น

โดย COLOMBIA : NICOLAS BERNAL

 

Workshop การสร้างสรรค์โรงละครหุ่นจิ๋ว “เลมเบ เลมเบ กล่องไม้มหัศจรรย์” โดย ศิลปินผู้เชี่ยวชาญ จาก COLOMBIA : NICOLAS BERNAL เรียนรู้การประดิษฐ์โรงละครหุ่นขนาดเล็กพกพาได้ สามารถนำผลงานกลับไปฝึกชักเชิดเล่นที่บ้านได้

 

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ห้องประชุมยูเรก้า ชั้น 2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2024 เวลา 13.00 - 15.00 น.

 

*Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form*

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

สัมมนา : ออกแบบสื่อเด็กเล็ก ตอน : เลือกนิทานอย่างไรให้ดีกับวัย 0-6 ขวบ

สร้างความเข้าใจในการเลือกนิทานและสื่อ Physical ต่าง ๆ ที่ออกแบบได้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย 0 - 6 ขวบ เพื่อเข้าใจหลักการสำคัญในการออกแบบภาพประกอบนิทานที่ Function กับแต่ละช่วงวัย ตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมอง ซึ่งคอร์สนี้นอกจากพ่อแม่แล้วยังเหมาะกับคนที่ทำงานด้านภาพประกอบ นักเล่า - เล่นนิทานหุ่น ไปจนถึงผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็ก

 

สัมมนา: ออกแบบสื่อเด็กเล็ก ตอน : เลือกนิทานอย่างไรให้ดีกับวัย 0-6

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ลานกิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุก

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 - 16.30 น.

 

*Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form*

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

Science & Culture in the world to Puppet

CULTURE WORLD  OF PUPPET ประวัติศาสตร์ศิลปะการแสดงหุ่นไทย ในบริบทวัฒนธรรมร่วมเรื่อง ‘หุ่นโลก’ ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ‘เทศกาลหุ่นนานาชาติ’ เกิดขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยมีบันทึกว่าการแสดงมหรสพหุ่น ทั้งไทย เทศ เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนมาก อาทิ หุ่น จีน ลาว ญวน และหุ่นชักจากตะวันตก เทศกาลหุ่นโลก 2567 ได้รวบประวัติศาสตร์หุ่นไทย หุ่นหลวง หุ่นวังหน้า หุ่นละครเล็ก  หุ่นกระบอก หุ่นสาย หุ่นหนังใหญ่ หุ่นหนังตะลุง หุ่นหนังบักตื้อ หุ่นร่วมสมัย นำมาจัดแสดงและนำเสนอความหลากหลายร่วมกับทุกประเภทหุ่นนานาชาติ  ที่เข้าร่วมเทศกาลหุ่นโลกในครั้งนี้ด้วย (Rod Puppet , Hand Puppet , String Puppet  etc.) จากหุ่นโลกสู่การหลอมรวมนิยามของคำว่า ‘หุ่น’ จาก ‘หุ่นพยนต์’ สู่ ‘หุ่นยนต์’ คนรักหุ่นไม่ควรพลาด

 

นิทรรศการหุ่นนานาชาติ จัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ห้องแสดงงาน EXHIBITION SPACE  พื้นที่จัดนิทรรศการ ชั้น 1

วันที่ 13  - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. - 15.00 น.

*Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form*

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

 

10 ปี “ชีวิตในแสงเงา” (A Life in Shadows)

ศิลปินนักถ่ายภาพแนวสารคดีชาวออสเตรเลีย Constantine Korsovitis ใช้เวลากว่า 10 ปี เพื่อเดินทางบันทึกภาพถ่ายของ นายหนังตะลุง หนังใหญ่ และหุ่นเงา ที่มีในเอเซียอาคเนย์ ออกจัดแสดงนิทรรศการมาแล้วในหลากหลายประเทศ มูลนิธิหุ่นสายเสมา ร่วมจัดนิทรรศการ และงานแสดงภาพถ่าย หุ่นเงา มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2661 และภาพถ่ายชุดนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือรวบรวมผลงานชื่อ “A life in shadow” จนเดินทางถึงวันเวลาที่หนังสือจะนำเสนอและจัดจำหน่าย ใน เทศกาลหุ่นโลก Harmony World Puppet Innovation 2024 ปีนี้ด้วย “ชีวิตในแสงเงา” รวม ภาพถ่ายหุ่นเงา นายหนัง ในเอเซียอาคเนย์ เปิดตัวหนังสือเมื่อ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) นิทรรศการภาพถ่ายชุดนี้จัดแสดงที่ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ IT MUSEUM ใน วันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2567

ในปี 2557 Constantine Korsovitis เริ่มศึกษาศิลปะการเชิดหนังโดยถ่ายภาพและสัมภาษณ์นายหนัง นักดนตรี และช่างฝีมือที่ทำหนัง ด้วยแนวคิดเบื้องหลังการทำงานคือการค้นหาว่า บุคคลที่อยู่ภายใต้ความเป็นศิลปินและการแสดงนั้นคือใคร Constantine สนใจแรงกดดันที่ศิลปะแนวประเพณีต้องเผชิญในโลกปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็เฉลิมฉลองจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ และเชิดชูศิลปินที่สร้างสรรค์ศิลปะงดงามทรงคุณค่าเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งหลายรายได้อำลาโลกนี้ไปแล้วนับแต่โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่า 10 ปีก่อน

 “A Life in Shadows” โดย Constantine Korsovitis  นำเสนอภาพถ่ายสารคดีที่บันทึกการเล่าเรื่องศิลปะการแสดงที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ความละเอียดอ่อน ความลุ่มลึก คุณค่าของการเชิดหนัง และศิลปินนักแสดงแขนงนี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และกัมพูชา

คือสิ่งที่นิทรรศการนี้มุ่งสำรวจ แม้ว่าประเทศที่กล่าวถึงเหล่านี้จะมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง แต่คุณลักษณะทางวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา และชนชาติหลายประการมีความคล้ายคลึงกัน การเชิดหนังเป็นศิลปะที่คนในภูมิภาคนี้มีร่วมกัน และสายใยที่เชื่อมการเชิดหนังของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันก็คือ การใช้มหากาพย์ฮินดูเรื่อง ‘รามายณะและมหาภารตะ’ ในการแสดง

“ศิลปินแขนงนี้เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ ความลุ่มลึก และความเป็นประวัติศาสตร์ที่เด่นชัด ผมต้องการให้งานสะท้อนให้เห็นความสำคัญของนักเล่าเรื่องเหล่านี้ และทักษะและความทุ่มเทที่นายหนังต้องมี ศิลปินเหล่านี้ต้องต่อสู้ดิ้นรนอยู่ทุกวันเพื่อให้เสียงของตนเป็นที่รับรู้ และให้สาธารณชนได้ฟังและเห็นเรื่องราวอันทรงคุณค่า ผมตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะช่างภาพและมนุษย์คนหนึ่งที่จะบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขา แม้ว่าการเชิดหนังจะไม่ใช่วัฒนธรรมของผมเองก็ตาม” Constantine กล่าวถึงการเชิดหนังในอุษาคเนย์

 

 

“A Life in Shadows” เผยให้เห็นภาพบางเสี้ยวของชีวิตศิลปินนอกบริบทการแสดงและการทำงาน เป้าหมายของโครงการจึงเป็นมากกว่าการบันทึกภาพเชิงสารคดี แต่พยายามที่จะยกระดับการตระหนักรู้ในคุณค่า และความชื่นชมที่มีต่อศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมแขนงต่าง ๆ ทั้งในภูมิภาคนี้และทั่วโลก

 

 Live Talk  สัมภาษณ์สดนักถ่ายภาพหุ่นเงาชาวออสเตรเลีย CONSTANTINE  KORSOVITIS

ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.

ใน วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 11.00 -12.00 น.
 ณ ห้องสตูดิโอ NSM ชั้น 2

*Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form*

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

นิทรรศการจัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

วันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 - 17.00 น.

Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

 

โปรแกรมการแสดง HARMONY WORLD PUPET INNOVATION FESTIVAL 2024 ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ปทุมธานี  (อพวช.)

วันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2567  โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้าทุกการแสดง และทุกกิจกรรม Workshop  จัดแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่

 

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ   IT MUSEUM

*Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form*

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ SCIENCE MUSEUM

*Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form*

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

พิพิธภัณฑ์พระราม 9 RAMA 9 MUSEUM

*Link Booking: HWPIF 2024 @ Google form*

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

กิจกรรมมากคุณค่าสืบสานภูมิปัญญาสู่สากลเหล่านี้ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เชื่อมร้อยระหว่าง หุ่น Puppet Toy และ Robot ทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ หุ่นของเล่น และหุ่นยนต์ ในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าและต่อยอดตามกรอบยุทธศาสตร์ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และยังเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่ทรงพลัง สามารถกระตุ้นทั้งการท่องเที่ยว และส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำไปสู่งานอาชีพที่มั่นคงได้ในอนาคต พร้อมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในระดับนานาชาติ คาดว่างานในปีนี้จะได้รับความสนใจและมีผู้เข้าชมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ไม่ต่างจากปีที่ผ่านมา กรุณาจองสิทธิ์การเข้าร่วมงานและชมการแสดงล่วงหน้า (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ได้ที่

www.nsm.or.th หรือ  Facebook : NSMThailand / Facebook : Harmony Puppet Thailand และ มูลนิธิหุ่นสายเสมา

 

 

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ / IT Museum: https://forms.gle/wApnRqpU3ZGcmtJb8

 

 

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  / Science Museum: https://forms.gle/y8AwWVBaEZcwp1R58

 

 

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า / Rama 9 Museum: https://forms.gle/jtvsp1DH2WtW8ACKA

 

 

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลข่าว และภาพประกอบ โดย มูลนิธิหุ่นสายเสมา

และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปทุมธานี (อพวช.)

 


[1] “Phuket Peranakan Festival” , Phuketandamannews , สืบค้น 15 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/story.php/?story_fbid=871464555076841&id=100066399140836

[2] Niche Market ตลาดเฉพาะกลุ่ม คืออะไร, talkatalka.com , สืบค้น 15 ตุลาคม 2567   https://talkatalka.com/blog/what-is-niche-market/

[3] Self esteem คืออะไร ,  นิธิกานต์ ปภรภัฒ, สืบค้น 25 ตุลาคม 2567   https://www.chula.ac.th/highlight/78536/

[4] การควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ , suwitkiravittaya.eng.chula.ac.th , สืบค้น 15 ตุลาคม 2567 http://suwitkiravittaya.eng.chula.ac.th/B2i2019BookWeb/servomotor.html