ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

“เอกราช-อธิปไตย” : ความหมายที่แปรเปลี่ยนและการต่อสู้ที่ยังไม่สิ้นสุด

1
กรกฎาคม
2568

 

 

ธนกร วงษ์ปัญญา :

อาจารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ช่วยให้ความชัดเจนมากขึ้นว่า หลักหกประการที่ประกอบด้วยเอกราชกับราษฎร และคำว่าอธิปไตย ในปัจจุบันแนวคิด หรือความหมาย ถ้าเทียบกันก็ถูกตีความไปไกลกว่าที่คณะราษฎรได้นิยามมากน้อยแค่ไหน

 

ศ. ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

ผมฟังดูแล้วก็คิดว่า อยากจะตอบตั้งแต่หัวเรื่อง “เอกราษฎร์” และ “อธิปไตย” ไม่ว่าจะเขียนอย่างไรก็ตาม ผมก็รับได้ทั้งนั้น แต่ว่า “ยุคประชาธิปไตย 2475 ถูกท้าทาย” จากที่ผมไปค้นคว้าข้อมูลมา ผมคิดว่า อยากจะหาความหมายที่แท้จริง เช่น “เอกราษฎร์” และ “อธิปไตย” ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองความหมายคืออะไร

 

 

อันแรกผมใช้วิธีง่าย ๆ คือ กลับไปเปิดพงศาวดารหาคำว่า “เอกราช” แต่หลายคนคงจะเดาได้ว่า ไม่มีหรอกคำว่าเอกราชในพงศาวดารไทย เพราะว่าพงศาวดารอยุธยาก็ตั้งแต่ยุคสมัยที่เรียกว่าโบราณ มาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ฉบับที่แก้ไขล่าสุดก็คือ ฉบับพระราชหัตถเลขาที่เขียนสมัยรัชกาลที่ 4 และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นคนปรับแก้เพื่อชี้แจง หรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ ถ้าอ่านประวัติศาสตร์ไทยจะรู้ว่ามีเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทยช่วงหนึ่งที่สามารถใช้คำว่าเอกราชได้ ก็คือสมัยพระนเรศวรที่รู้ว่าเราเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ตกเป็นเมืองขึ้นของหงสาวดี และพระนเรศวรก็ถูกเอาไปเป็นตัวประกัน จนกระทั้งตอนหลังฝ่ายหงสาวดีก็จะกำจัดพระนเรศวร เพราะรู้ว่ามีความสามารถมาก ก็เลยนำไปสู่การปะทะกันที่เมืองแครง และพระนเรศวรก็หลั่งน้ำอุทกธาราลงพื้นดิน

ประกาศว่า เราจะอยากตัดขาดกับหงสาวดี รายละเอียดผมจะอ่านให้ฟังว่า ไม่มีการทำเอกราช กระทั้งคำว่า อิสรภาพก็ไม่มี ในพงศาวดารพูดแค่พระนเรศวรประกาศความเป็นบ้านพี่เมืองน้องระหว่างหงสาวดีกับอยุธยาเท่านั้นเอง ก็คือขอไปเป็นใหญ่เท่านั้นเอง พอไปอ่านคำอธิบายของกรมดำรงฯ บอกว่า สิ่งที่พระนเรศวรทำก็คือการประกาศอิสรภาพ คำว่าเอกราชก็ยังไม่มี ซึ่งที่ใช้ก็คืออิสระแต่ก็ไม่ใช่เอกราช

ผมสรุปก็คือว่า คำว่า “อิสรภาพ” เข้าใจว่าใช้มานาน และเป็นคำเก่า เพราะอยู่ในกฎหมายตราสามดวง แล้วความหมายก็คืออำนาจของผู้เป็นใหญ่ ซึ่งผมไปเจอคำอธิบายของรัชกาลที่ 5 ผมจะอ่านให้ฟังก็คือ ตอนที่คณะเจ้านาย ร.ศ.103 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กับคณะเจ้านายได้ทำหนังสือให้ความเห็นต่อรัชกาลที่ 5 เรื่องปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งความคิดตอนนั้นมีความคิดที่ใกล้เคียงกับเอกราชมาก แต่ก็ไม่ได้ใช้คำว่าเอกราช ก็คือ ถ้าประเทศไม่มีศรีวิไลซ์ เราสุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็น colonial (อาณานิคม) เพราะฉะนั้น พบว่าคำว่าเอกราชต่อมาที่ใช้ หมายถึงความเจริญก้าวหน้า แต่ว่าตอนนั้นไม่มีศัพท์นี้ ในภาษาอังกฤษมีแต่ภาษาไทยยังไม่มี

รัชกาลที่ 5 ตอบน่าสนใจมากว่า ขอบใจที่เจ้านายต้องการที่จะคิดช่วยเหลือแผ่นดิน เราชอบใจอยู่ในการขึ้นพระบรมวงศานุวงศ์ แลข้าราชการของเราได้ไปเห็นการเมืองประเทศอื่นแล้วระลึกถึงประเทศของตน ปราถนาที่จะป้องกันอันตรายและจะให้มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่ในอำนาจอันเป็นอิสรภาพ ซึ่งก็ไม่ได้มีแนวคิดเรื่องเอกราช แต่ผมคิดว่าคำที่รัชกาลที่ 5 บอกว่า ต้องการให้ราชอาณาจักรมีความยั่งยืนอยู่ในอำนาจอันเป็นอิสรภาพ ผมคิดว่าอันนี้เป็นคำที่ต่อมาเราเรียกว่าเอกราช ซึ่งตอนนั้น “ความยั่งยื่น” เป็นอำนาจของใคร คำตอบก็คือ อำนาจของพระมหากษัตริย์ เพราะระบอบนี้คือระบอบกษัตริย์ หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 

ชื่อก็ตรงกับศัพท์คำว่า “อิสรภาพ” กฎหมายตาสามดวงแปลว่า ผู้มีอำนาจเป็นใหญ่ในบ้านเมือง คือ พ่อ หรือผัว มีอำนาจเหนือลูกเมีย เพราะฉะนั้น ความเป็นอิสรภาพไม่เกี่ยวกับเสรีภาพ แต่เกี่ยวกับว่าใครมีอำนาจ ถ้าดูจากประวัติศาสตร์ของเราจะแสดงว่า เรื่องอำนาจสูงสุดชัดเจนอยู่แล้ว ก็ต้องอยู่ที่คนเป็นผู้นำสูงสุด หรือคนที่เป็นหนึ่งในหน่วยนั้น

ผมก็จะก้าวมาเลยว่า ถ้าอย่างนั้นคำว่าเอกราชถูกใช้เมื่อไหร่ ผมไม่มีมีเวลาไปค้นก็เลยตอบไม่ได้ว่าใช้เมื่อไหร่ แต่ว่าที่แน่นอนก็คือ พอคณะราษฎรยึดอำนาจวันที่ 24 มิถุนายน 2475 หลักหกประการออกมา แล้วหลักแรกก็คือ “หลักเอกราช” เพราะฉะนั้น ผมก็เลยนั่งคิดใหม่ เมื่อก่อนผมไม่เคยคิด พอนึกถึงหลักหกประการก็ไล่ตั้งแต่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า และหก แต่พอต้องมาตอบโจทย์ที่มาคุยกันวันนี้  ผมเลยมาคิดใหม่ว่า ผมคิดว่าหลักเอกราชของคณะราษฎร ก็คือ หลักเอกราชอยู่ข้างบนสุด แล้วอีกหลัก 5 ประการ ก็คือโครงสร้าง หรือฐานที่รองรับเอกราชที่อยู่ข้างบนสุด และอันนี้ก็คือโฉมหน้าใหม่ของประเทศที่เป็นประชาธิปไตย

ผมยกประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะว่าตอบโจทย์ว่าหมายของเอกราษฎร์และอธิปไตย หลัง 24 มิถุนายน 2475 รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร เรารู้แล้วว่า ความหมายเดิมของอิสรภาพก็คืออำนาจสูงสุดที่เป็นของพระมหากษัตริย์ แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่า เอกราษฎร์และอธิปไตยก็เข้ามา และนำมาไปสู่การร่างกฎหมายสูงสุดซึ่งก็คือ “รัฐธรรมนูญ” เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะตอบถึงความเข้าใจของชนชั้นนำคิดอย่างไร ก็ต้องมาดูรัฐธรรมนูญ

ผมคิดว่า ถ้ามาดูรัฐธรรมนูญฉบับแรกก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิถุนายน 2475  ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ฉบับชั่วคราว ชัดเจนเลยว่า “มาตราหนึ่ง คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย” ในฉบับแรกรัชกาลที่ 7 บอกว่ามีการเขียนที่ไม่ได้รับฟังความคิดเห็นจากรอบด้าน จึงขอให้ร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ในที่สุดก็ได้ฉบับ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งต่อมาเราเรียกว่า “ฉบับถาวร” แต่ความเป็นจริงก็ไม่ถาวร

รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 มาตราหนึ่งชัดเจนว่า อำนาจอธิปไตยเปลี่ยน ไม่ใช่ “เป็นของ” แต่อำนาจ “มาจาก” ปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจนี้ ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านรัฐบาล และผ่านศาล ทั้งหมดนี้แปลว่าทางฝ่ายคณะราษฎรได้ยอมประนีประนอมทางความคิด หรืออุดมการณ์ เพราะในตอนนั้น คำว่าเอกราช แปลว่า independence มาจากเมืองนอก ผมว่าเขาเข้าใจเหมือนกันว่า เป็นอำนาจสูงสุดของประชาชน อธิปไตยก็เป็นของประชาชนในรัฐธรรมนูญที่เขาเขียนมาในตอนนั้น ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสจนถึงอเมริกาก็ชัดเจนว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน แต่ว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 เป็นรัฐธรรมูญฉบับที่ปะนีประนอม แล้วถ้าผมเรียกตามที่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ระบุ ท่านเรียกว่า “ระบอบราชาธิปไตยที่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย” ตอนนี้มีการประสานกันผสมกัน 2 อย่างระหว่างระบอบราชาธิปไตย Absolute Monachy กับรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยจะแปลว่าอะไรอันนี้ก็ต้องมาดูทางปฏิบัติในทางปฏิบัติ เราเราก็รู้ช่วงก็มีการแก้ไขหลายเรื่องก็คือการกีดกันราชวงศ์ชั้นเจ้านายไม่ให้ยุ่งกับการเมืองซึ่งก็ทำไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องปล่อยเข้ามา ในส่วนที่เป็นหลักสำคัญที่สุดของความเป็นประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญก็คือมาตรา 16 ที่บอกว่า สภานิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งของคนไทยทั้งปวงอันนี้เป็นการยืนยันอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน การเขียนครั้งนี้ก็ไม่เคยถูกแปลเปลี่ยนมาจนบัดนี้ 20 ฉบับก็เปลี่ยนไม่ได้ แต่ว่ามาตรา 1 อำนาจอธิปไตย ก็ไม่เคยเป็นของปวงชนก็มาจากปวงชนอย่างนั้นความหมายที่ขัดแย้งกันอำนาจอธิปไตยหรือเอกราชที่เป็นของราษฎรจากที่เป็นของข้าราชการหรือชนชั้นสูงอยู่อย่างไร

ผมสรุปว่าเมื่อมองกลับไป และก็ดูเทียบเคียงกับประวัติศาสตร์หลายประเทศ ผมว่าก็มีข้อน่าสังเกต คือปัญหาเอกราชอธิปไตย เป็นปัญหาที่ทุกรัฐอธิปไตยที่เป็นเอกราช ต้องจัดการเป็นปัญหาแรกและเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะที่เป็นประเทศที่ตกเป็นอาณานิคม หรือประเทศที่เปลี่ยนจากระบอบเก่ามาเป็นระบอบใหม่ เช่น อเมริกาที่ตกอยู่ภายใต้ของประเทศอังกฤษ พอเขาปฏิวัติมาเป็นสหรัฐอเมริกา เขาก็ต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ที่ยืนยันอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ปัญหาที่ท้าทายก็คือ ทั้งของประเทศไทยและประเทศทั่วโลก ช่วงเวลาที่ต้องค่อย ๆ ผ่านไป อาจจะยุคแรกก็รู้สึกไม่ได้มีปัญหาอะไรก็ยอม ๆ กันไป แต่ว่าถ้ายืนยันในหลักเอกราชที่เป็นของประชาชนที่มั่นคงมากขึ้นระบอบประชาธิปไตยก็จะมั่นคงอยู่รอดปลอดภัยไปได้ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนนาดา หรือประเทศในยุโรป

เพื่อนบ้านเราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผมคิดว่า สิงคโปร์น่าจะเป็นตัวอย่างที่พอผ่านจากยุคต่าง ๆ การสร้างอธิปไตยที่เป็นของประชาชนก็มาเลย เพราะว่าเขาไม่มีปัญหาประนีประนอมกับอำนาจเก่า สิ่งเหล่านี้ไม่มีเพราะของเก่าเป็นของเจ้าอาณานิคม มาเลเซียก็ไม่ได้มีอินโดนีเซียก็ไม่ได้มีมากเท่าไหร่ ผมว่าในอุตสาหะมีประเทศไทยประเทศเดียวที่เรามีปัญหากับคติเดิม Concept เก่า แต่ว่าถูกดึงเข้าสู่ยุคสมัยใหม่คติแบบเดิมก็ยังถูกยอมรับได้เพราะว่าระบอบกษัตริย์เป็นระบอบที่นำพาการเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปการนำสู่ความเป็นสมัยใหม่ ดำเนินโดยรัฐสมบูรณ์นารายาสิทธิราช ไม่ใช่เป็นนัดกึ่งประชาธิปไตยอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ชนชั้นนำจารีตโครงข่ายหรือเครือข่าย เขามีความเข้าใจ คุ้นเคยและชื่นชม เพราะว่าเราจะอ้างเอกราชเราจากยุคสุโขทัยอย่างยาวนาน อันนี้ถึงทำให้ความรักชาติดูดุเดือดมากในเมืองไทย เพราะว่าของเรามีความต่อเนื่องสูง มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และมีสถาบันที่เป็นหลักที่คอยกำกับ ให้คนที่ไปปฏิบัติในเรื่องรักชาติรู้ว่า ชาติจริง ๆ แล้วที่มีเป็นรูปเป็นร่างที่อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล พูดว่า หลังจากที่ชาติถูกทำให้มาเป็นแผนที่ Geo-body Foundation อยู่ตรงนั้น เส้นเขตแดนถึงได้มีความหมาย แต่ว่านอกจากเขตแดนแผนที่ของเรายังมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ตอกย้ำความเป็นชาติ และอาจจะมากกว่าตัวแผนที่ เพราะยังเจรจา พอเราเชื่อความเหนือกว่าของสถาบันกษัตริย์ ความชอบธรรมอันนี้เป็นคติเก่าอีก คติเก่าก็คือถ้าอำนาจอิทธิพลแผ่ขยายเหมือนกับแสงเทียนไปถึงตรงไหนเป็นของเราหมดมาได้อยู่ปัตตานีตราบใดถ้าแสงเทียนไปจากตรงไหนตรงนั้นย่อมเป็นของสยาม คุณจะมาอ้างว่า คุณอยู่มาก่อนก็ไม่ได้

อันนี้คือความยอกย้อน ซับซ้อน และก็ซ่อนเงื่อน ของคติเรื่องเอกราชของไทยที่เรารับทั้งความคิดแบบเก่าและแบบใหม่เข้ามา ทีนี้ปัญหาก็ต้องถูกคลี่คลายโดยการปฏิบัติกับการเมือง ผมรวบรวมสั้น ๆ เลยว่า ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผมคิดว่า พยายามที่จะขยายเอกราชให้ลงไปสู่ประชาชน โครงสร้างเศรษฐกิจ โครงสร้างทางการเมืองก็มาในยุคนั้น แต่ว่ามันมาไม่ถึงคือไม่ลงไปถึงชนชั้นกลางที่อยู่ข้างหน้าอันนี้คือฐานของประชาธิปไตยฐานของระบบการเมืองการปกครองที่จะเกิดขึ้นเพราะฉะนั้นเรามีชนชั้นสูงและก็ชนชั้นล่างตรงกลางก็คือราชการราชการก็คือมีหน่วยที่ทำหน้าที่คุมอำนาจคุมอาวุธและจริงๆยกจอมพลปกลุ่มเทคโนโลยีด้วยการปฏิวัติการพัฒนาอุตสาหกรรมเราก็ใช้กองทัพโรงงานอาคารโรงงานทหารเพราะว่าเอกชนก็ไม่พอกว่านายทุนพ่อค้าจะเข้ามาก็ช้าไปแล้ว เพราะฉะนั้น ฐานของประชาธิปไตย เอกราชของราษฎรจึงมีแต่สูงสุดข้างบนกับล่างสุดข้างล่างที่พร้อมจะเอียงไปตามกระแส อันนี้ก็คิดภาวะที่น่าห่วงว่า การที่จะรักษาให้เอกราชที่อ้างประชาชน ตอนนี้ใครก็อ้างได้ทั้งนั้น เพราะว่าถ้าคุณไม่ใช่ฝ่ายประชาชนก็เป็นฝ่ายทรยศทั้งนั้นเอง

 

ธนกร วงษ์ปัญญา :

คุณพรรณิการ์ วานิช เริ่มต้นที่รักชาติแบบใด คุณสุภลักษณ์ ในความหมายแบบรัฐราชการผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่าแผ่นดิน อาจารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มาเต็มเลยเป็นการช่วงชิงการอธิบายเยอะแยะความหมายจากเป็นของมาเป็นมาจากหรือว่าชนชั้นถูกแบ่งจากข้างบนสุดสู่ข้างล่างสุดเมื่อคำอธิบายนี้อย่างไร เหมือนอำนาจผู้เป็นใหญ่ในความหมายของอิสรภาพก่อนที่จะมีคำว่าเอกราชเราผ่านอะไรมาบ้าง

คิดว่ามีคำถามหนึ่งที่น่าสนใจและต่อเนื่องจากทั้งสองท่าน ถ้าเรามองประวัติศาสตร์การเมืองไทยเป็นคลื่นอาจารย์มองเห็นว่าอยู่ใรคลิ่นถอยหลัง หรือมีเสถียรภาพที่จะเป็นคลื่นลูกใหม่ อาจารย์ลองเทียบเคียงว่ามีอารมณ์แบบไหนบ้างที่เทียบเคียงกับสถานการณ์ปัจจุบันณตอนนี้

 

 

ศ. ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ:

ประวัติศาสตร์ไทยจะเห็นภาพไม่ชัดมาก ข้อมูลต่อความรับรู้ต่อพัฒนาทางด้านเอกราชและอธิปไตยที่นำเสนอจริง ๆ ยังไม่ตอกย้ำให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง อันนี้เป็นเรื่องที่พูดยาก อนาคตจะเป็นอะไรที่เป็นอนาคตไหม ถ้าดูจากประวัติศาสตร์ของไทยไม่ค่อยมี มองไม่ค่อยเห็น เพราะว่าที่ผ่านมา 10-20 ปี วนเวียนอยู่กับการใช้อำนาจนอกระบบทั้งนั้นเลย สิ่งที่ทำด้วยสถาบันที่อยู่ภายใต้อำนาจทางกฎหมายเกือบจะไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีความหมายเลย ที่ทำกันอยู่เป็นอิสรภาพแบบเก่าที่ไม่ใช่เสรีภาพแบบใหม่

ก่อนที่จะลงไปถึงอนาคตของไทย ผมอยากจะขยายภาพที่คุณพรรณิการ์กล่าวมาแล้ว ตอนที่สหรัฐอเมริกาที่มีประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ถล่มอิหร่าน ทำลายฐานผลิตนิวเคลียร์ของเขาสามแห่ง ผมได้ยินมาว่า ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกายังเพิ่มว่าทั้งหมดนั้นทรัมป์เป็นคนคิดเองทำเองทุกอย่างเลย ไม่ใช่แม่ทัพคนไหนคิด ผมรู้สึกว่าอาจจะเกินจริงไปนิดหนึ่ง คือ ถ้าแกจะสั่งแบบนั้นได้แม่ทัพก็ต้องเอาข้อมูลมาให้ทรัมป์ แต่เพียงต้องการทำให้ทรัมป์เหมือนใช้อำนาจได้ทั้งหมดตอนนี้ อันนี้เป็นตัวอย่างของสหรัฐฯ

ผมคิดว่า ถ้าเราดูรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ ตั้งแต่ทรัมป์ขึ้นมาจะพบว่า หวยรัฐบาลพยายามจะสร้างความปั่นป่วนทั้งในประเทศและนอกประเทศ สงครามน่ากับอิหร่านก็เป็นอีกอันหนึ่ง คนก็กลัวว่าจะนำไปสู่การทำสงครามครั้งใหญ่ ก็โชคดีที่เขาประกาศว่าจะยุติการยิงกันเป็นเวลา 12 วัน แต่บทเรียนของอเมริกาทำให้ผมชักสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้นในการปกครองทั่วโลก ประเทศใหญ่และประเทศเล็กต่าง ๆ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ที่เป็นฐานใหญ่เราไม่เคยคิดเขามีปัญหาการปกครอง ตอนหลังกำลังมีปัญหามากเรื่องการต่อต้าน อ้ายขวัญเริ่มมีบทบาทในการขึ้นมายึดรัฐบาล

อเมริกาทรัมป์ก็เป็นฝ่ายขวาแบบรักชาติเหมือนกับเราเลย เข้ากันได้เลย คำถามก็คือว่า  คำถามก็คือเกิดอะไรขึ้นกับการเมืองโลก ขนาดประเทศที่เรียกว่าประชาธิปไตยเข้มแข็งที่สุด ตัวแบบให้กับประชาธิปไตยของเราใครไปเรียนก็เรียนแบบประชาธิปไตยอเมริกา หรือยุโรป แต่ตอนนี้สิ่งที่โดนัล ทรัมป์ ใช้อยู่ คือ เขาระเมิดกฎหมายเกือบทุกฉบับ แล้วก็ถึงขั้นระเมิดรัฐธรรมนูญ อย่างเช่นการถล่มอิหร่าน เขาไม่ได้ขออนุญาตจาก Congress ตามรัฐธรรมนูญ ประกาศสงครามต้องให้รัฐสภาเป็นคนประกาศ ประธานาธิบดีเป็นคนปฏิบัติตามที่รัฐสภาเป็นคนอนุมัติ จะไปฟ้องศาลบ้างก็คงมี แต่ก็เดาว่าจะไปไม่ถึงไหน เพราะว่าศาลก็คงเถียงกันสารบางสายก็คงปล่อยของอเมริกาคือต้องฟ้องจากศาลชั้นล่างจนถึงศาลชั้นสูง 3 ขั้น ใช้เวลาเป็นปี แต่ฉันก็แบ่งเป็นสองฝ่ายระหว่างฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา กว่าก็จะอธิบายว่าสิ่งที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ทำได้ทั้งหมด ตราบที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งก็เหมือนไทยอ้างว่า ที่เขาทำไป ทำไปเพื่อความมั่นคงของชาติ ประชาชนได้ทำไปเพื่อของตัวเองเลย วันนี้ถ้าจะบอกนาฬิกาเขาเคารพทหารไม่ได้ทำ แต่มาใช้อำนาจที่เหนือกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะที่แกประกาศใช้หลายเรื่องทั้งเรื่องที่ปิดหน่วยงานบางหน่วยงาน เล่นงานคนไปทั่วโลก ประกาศขึ้นภาษีก็ผิดรัฐธรรมนูญ ละเมิดกฎหมายที่เขาใช้

 

 

ประเด็นของผมคือสิ่งที่สงสัยคือรัฐบาลทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะเข้าไปสู่การใช้อำนาจที่เป็นเอกสิทธิ์ คืออำนาจให้เฉพาะฝ่ายบริหาร ทุกประเทศจะต้องมี จะให้อะไรก็ได้หรือใช้ธรรมเนียมอะไรก็ได้ สิทธิ์ของฝ่ายบริหารในการดำเนินมาตรการเข้มงวด ก็คือการใช้กำลัง หรือการห้ามคนเข้าออกด้วยการปิดด่าน ก็คือว่าประเทศทั่วโลกกำลังจะโน้มเอียงเข้าสู่ยุคอำนาจนิยมของฝ่ายบริหารอันเป็นส่วนใหญ่แล้วหรือ

ผมก็ตอบไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น โลกมันเปลี่ยน หรือว่าโลกร้อน แต่ถ้าเอาความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง ผมค่อนข้างจะมองไปที่โครงสร้างเศรษฐกิจการเมือง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่คุมทั้งโลกเป็นการผลิตที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก แต่พวกเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทำให้การปกครองง่ายขึ้น เราต้องยอมรับว่าระบบราชการไทยมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

ผมกำลังมองว่าระบบการปกครองปัจจุบันและอนาคต แสดงว่าความต้องการรัฐแบบเดิมมือใจใสสะอาด และกว่าจะเป็นข้าราชการเรื่องใหญ่มาก ล้าสมัยมากแล้ว ปัจจุบันราชการบางแห่งไปจ้างเขาเข้ามาทำดีกว่า การปกครองเดียวง่ายขึ้น สิ่งที่รัฐบาลจะทำมีอะไรบ้าง ต้องกลับมาเรื่องตัวเองก็คือว่า จ้างอำนาจเพื่อสร้างความเกียรติภูมิยิ่งใหญ่ หรือคุณจะสร้างอนุสาวรีย์ สิ่งที่ทรัมป์เขาต้องการในชีวิตก็คือให้คนชอบเขา เพราะว่าเขาเป็น Reality show ยอดคนดูสูงเท่าไหร่เขาดีใจมาก เขาประกาศจากสื่อโซเชียลที่ไม่ได้ประกาศออกจากสื่อสำนักข่าว เพราะว่าไม่ได้จำเป็นแล้ว เขาเรียกสื่อพวกนี้ว่าศัตรูของประชาชน เขาเป็นเพื่อนประชาชนจริง เขาจึงพูดกับประชาชนเลย เพราะฉะนั้น เราก็จะเจอผู้นำแบบนี้ ด้วยอำนาจและเทคโนโลยี ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า วันที่ต้องการนำที่เด็ดขาดและเก๋า  ผมดูฝีมือทรัมป์ แต่ดูจากที่แกถล่มอิหร่าน ผมก็ต้องลดระดับว่า แกก็มีอะไรระดับหนึ่ง ลองคิดดูว่าเราต้องเอาระเบิด 30,000 ตันไปถล่มผ่านนิวเคลียร์ของอิหร่านมันเป็นเรื่องที่คนต้องเชื่อถือมาก ใช่อะไรที่ตัดสินง่าย ๆ  ผมก็ต้องยอมรับว่าเราก็ต้องมีผู้นำ Charisma Leader รัฐบาลแบบนี้จำเป็นจะต้องอยู่ต่อไป

ประเทศไทยปัญหาคือว่าความผันผวนทางการเมือง ระบบที่เป็นโครงสร้างสถาบันทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย อย่างที่คุณพรรณิการ์พูดไว้ที่นำไปสู่เอกราชอธิปไตยที่จะรองรับประชาชนกลับไม่เกิด คือ ไม่ได้ได้ทำ แต่ไม่ได้ถูกทำเลย ที่ผ่านมาคือทำแค่ของรัฐ ขยายต่อมาให้ราชการ แล้วก็วงเวียนอยู่กับฝ่ายนายทุนพ่อค้าก็เท่านั้นเอง ผมคิดว่าไม่กี่ปีหลังจากที่ได้พัฒนาที่มีเทคโนโลยีเข้ามามากขึ้น ที่ทำให้พวก SME หรือนายทุนเล็ก ๆ เริ่มทำการผลิตและการค้ามากขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ผลิตไทยส่วนใหญ่ออกต่างประเทศหมดเลย เพราะว่ารัฐไม่มีพวกคุณเลยทำยาก อันนี้ก็คือปัญหาที่ท้าทายเอกราชอธิปไตยของเรา ถูกมัดมือชกมาตั้งแต่ยุคแรก และประนีประนอมมาตั้งแต่ยุค 2475

ผมคิดว่ายุคจอมพล ป. สลายการประนีประนอม พยายามจะเอาราษฎรขึ้นมาให้มาก แต่ปัญหาของจอมพล ป. สถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 และลัทธินาซี ทหารแบบบูชิโด ทำให้แกไปคิดว่า ชาติต้องมีพลเมืองที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพเหมือนญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีชิโดเพราะว่ามีจิตใจที่ทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว เพราะฉะนั้น เราไม่มีวัฒนธรรมแบบนั้น แต่เรามีเชื้อชาติ ผมจึงคิดว่าเรารับคติเรื่องเชื้อชาติเข้ามา แล้วกลายเป็นรัฐชาติที่เป็น Mono-Ethnicity state รัฐเชื้อชาติเดียว คือปัญหาเพราะเอกราชเป็นของประชาชน งั้นก็กลับเป็นชาติที่ผูกขาดอยู่กับเชื้อชาติ เรียกในนามธรรมว่า “ไท” แต่เราก็แปลว่า “เสรีภาพ”

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ บอกว่า “ไท” ใช้มาตั้งแต่โบราณแล้ว เช่น ไทดำ เป็น ไม่ได้แปลว่าเสรีภาพไม่มี เพราะฉะนั้น อนาคตนั้นท้าทายแน่ ๆ แต่ผมคิดว่า ถ้าหากว่า พรรคการเมืองอย่างที่พรรคประชาชนกำลังจะทำ ผมคิดว่าเป็นความท้าทายที่ดีที่สุด เพราะว่าการแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ไปแก้ที่เผด็จการที่ดีกว่านี้ หรือเผด็จการที่เป็นธรรมานั่นไม่มีทาง อัศวินขี่ม้าขาวที่ไหนก็เหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นต้องแก้ที่โครงสร้าง แล้วโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย จึงหวังว่าถ้าเรามีประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชน พรรคประชาชนอาจจะประสบความสำเร็จเป็นชื่อสุดท้าย หลักประกันที่ผมคิดว่าต้องทำให้สถาบันอำนาจอธิปไตย นิติบัญญัติ ตุลาการ บริหาร อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอันเดียวกันเท่านั้นเอง

 

 

หมายเหตุ :

  • ถอดความและเรียบเรียงใหม่โดยกองบรรณาธิการ
     

รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=-q4KbUx9bbM&t=3s

 

ที่มา :

  • PRIDI Talks #31 เอกราษฎร์ และอธิปไตย ยุคประชาธิปไตย 2475 ถูกท้าทายวันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2568 เวลา 13.30 - 17.00  น. ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ ร.103 (ห้องทวี แรงขำ) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์