ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ปรีดี พนมยงค์

บทบาท-ผลงาน
17
มิถุนายน
2567
3 บทเรียนสำคัญที่ได้จากประวัติศาสตร์ของคณะราษฎร คือ แนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ การทบทวนข้อผิดพลาดในอดีตของคณะราษฎร และหนทางสู่ความสมบูรณ์ของประชาธิไตยในอนาคต
บทบาท-ผลงาน
16
มิถุนายน
2567
คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงทั้งระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญโดยมีธรรมนูญการปกครองฉบับแรกที่ประกาศใช้ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 เป็นปฐมรัฐธรรมนูญที่แสดงถึงหลักการสำคัญของคณะราษฎร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายสำคัญของคณะราษฎรจึงตั้งต้นมาจากธรรมนูญการปกครองฉบับนี้
บทบาท-ผลงาน
13
มิถุนายน
2567
นายปรีดี พนมยงค์มีแนวคิดในการปฏิรูปการคลัง การสร้างเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่เน้นบทบาทรัฐในการจัดการทางเศรษฐกิจ ในด้านรายได้และภาษีอากร ได้แก่ การออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีใหม่ การลดและยกเลิกเงินรัชชูปการ และสถาปนาประมวลรัษฎากร
บทบาท-ผลงาน
11
มิถุนายน
2567
ดร.ปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ปรับปรุงพิกัดอัตราศุลกากร โดยลดหรือยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษา เพิ่มภาษีสินค้านำเข้า ปรับวิธีเก็บภาษีข้าวจากเก็บตามสภาพเป็นเก็บตามราคา เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสนับสนุนราษฎร โดยเฉพาะชาวนา
เกร็ดประวัติศาสตร์
10
มิถุนายน
2567
นอกจากวิธีการตรวจสอบพยานหลักฐานแวดล้อมที่มีข้อบกพร่องหลายประการและมีความน่าเชื่อถือน้อยแล้ว บันทึกคำให้การประกอบสำนวนคดีของโจทก์ พยาน และจำเลย ก็มีความเป็นไปได้และความสมเหตุสมผลไม่เพียงพอเอาผิดต่อจำเลยเช่นเดียวกัน
บทบาท-ผลงาน
8
มิถุนายน
2567
หลังจากการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 9 รัฐบาลนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ได้แถลงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภา ซึ่งมีใจความสำคัญคือการพัฒนาประเทศอย่างครอบคลุม 12 ด้าน
เกร็ดประวัติศาสตร์
7
มิถุนายน
2567
เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 ด้วยพระแสงปืนได้ก่อให้เกิดความสับสนในทางการเมืองอย่างมากท่ามกลางที่ประชุมรัฐสภาในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ที่เต็มไปด้วยความคลุมเครือในการสืบพยานของคดีดังกล่าวและการสืบราชสันตติวงศ์
บทบาท-ผลงาน
6
มิถุนายน
2567
บันทึกฉบับ 6 มีนาคม 2526 ของนายปรีดี พนมยงค์ฯ แสดงสัจจะทางประวัติศาสตร์ก่อนการอภิวัฒน์ 2475 จากหลักฐานเอกสาร (authentic documents) เพื่อโต้แย้งมายาคติ 2475 ใน 2 เรื่องได้แก่ รัชกาลที่ 7 จะพระราชทานธรรมนูญฯ และกฎหมายเทศบาลเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ
บทบาท-ผลงาน
5
มิถุนายน
2567
ชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้าโดยประยูร ภมรมนตรี เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นจากรัฐบาลไทยแต่นายปรีดี พนมยงค์ อ่านแล้วพบว่ามีความคลาดเคลื่อนหลายประการจึงฟ้องร้องคดีความเพื่อยืนยันสัจจะทางประวัติศาสตร์และบันทึกประกอบคำฟ้องฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่ารายละเอียดทางประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะจุดใหญ่และจุดเล็กล้วนมีความสำคัญ
บทบาท-ผลงาน
4
มิถุนายน
2567
อุดมการณ์และการจัดตั้งของคณะราษฎร ตอนที่ 2 เสนอให้เห็นการจัดตั้งคณะราษฎรผ่านหลักการของผู้ก่อการคนสำคัญ อาทิ นายปรีดี พนมยงค์ และสรุปได้ว่าการอภิวัฒน์ 2475 นํามาซึ่งการสิ้นสุดของอุดมการณ์แห่งรัฐ (state ideology) ราษฎรกลายมาเป็นมูลฐานแห่งอํานาจและความชอบธรรมแทนสถาบันพระมหากษัตริย์โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นตัวสัญลักษณ์
Subscribe to ปรีดี พนมยงค์