ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

บทบาท-ผลงาน
5
สิงหาคม
2565
ภายหลังที่ชาติไทยถูกรุกล้ำอธิปไตยโดยจักรวรรดิญี่ปุ่น หนึ่งในข้อตกลงที่เกิดขึ้นระหว่างชาติผู้รุกรานและรัฐบาลในขณะนั้น คือการใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองให้เป็นพื้นที่สำหรับกักกันพลเมืองจากประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร
เกร็ดประวัติศาสตร์
28
กรกฎาคม
2565
'ป๋วย อึ๊งภากรณ์' ผู้ที่ศรัทธาในความยุติธรรม เชื่อมั่นในความเท่าเทียม เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และปรารถนาที่จะเห็นโลกแห่งประชาธิปไตยที่สมบูรณ์พร้อมด้วยสันติประชาธรรม ตลอดจนมรดกทางความคิดที่ป๋วยได้สร้างไว้ขณะมีชีวิต คือ อุดมการณ์ที่ส่งต่อเพื่อจุดประกายให้แก่คนรุ่นหลังตลอดมา
บทบาท-ผลงาน
9
กรกฎาคม
2565
โอวาทของผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2482 ปรีดี พนมยงค์
บทบาท-ผลงาน
28
มิถุนายน
2565
ณ ที่นี้จะกล่าวถึงการตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” สถาบันอุดมศึกษา อันสร้างคน นักประชาธิปไตย นักปกครอง นักการเมือง อันเป็นกำลังของชาติให้แก่ประเทศไทย 
บทบาท-ผลงาน
27
มิถุนายน
2565
ในประกาศคณะราษฎร ลงวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 มีหลัก 6 ประการ ที่คณะราษฎรวางไว้ให้เป็นหัวใจของการดำเนินนโยบายภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อบำรุงชีวิตของราษฎรให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหลักข้อ 6. คือ “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร”
บทบาท-ผลงาน
10
มิถุนายน
2565
เมื่อมีอายุ 11 ปีในพุทธศักราช 2454 ข้าพเจ้าสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและน่าแปลกใจอย่างยิ่งในวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเลและในหมู่ลูกหลานของพวกเขา ซึ่งมีอยู่ราวร้อยละ 25 ของราษฎรทั้งหมดในประเทศสยาม กล่าวคือ ผู้ชายแทบทุกคนได้ตัดผมหางเปียของเขาออก ทั้งๆ ที่เป็นทรงผมที่พวกเขาไว้กันมานานหลายศตวรรษแล้ว พวกเขาอธิบายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ให้ราษฎรชาวสยามฟังว่า ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบโบราณซึ่งบังคับให้พวกเขาไว้หางเปียอันน่าอับอายเช่นนี้ได้ถูกโค่นล้มแล้ว ด้วยการอภิวัฒน์ของฝ่ายสาธารณรัฐนำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น ซึ่งในเวลานั้นได้เรียกร้องให้ชาวจีนทุกคนไว้ผมสั้นเช่นชาวยุโรป (ในสมัยนั้น)
บทบาท-ผลงาน
25
พฤษภาคม
2565
นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนกฎหมายวัยเพียง 19 ปีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังเรียนไม่จบ ได้ทำการขออนุญาตเป็นพิเศษต่อผู้พิพากษาเจ้าของคดี รับอาสาว่าความเป็นทนายแก้ต่างให้นายลิ่มซุ่นหงวน ในเวลานั้นได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ด้วยทนายอาสาผู้นี้นั้น ทั้งเรียนยังไม่จบและยังไม่เคยว่าความใดๆ มาเลยสักครั้งในชีวิต
เกร็ดประวัติศาสตร์
7
เมษายน
2565
ตั้งแต่เริ่มระบอบประชาธิปไตยมา แม้ในสภาผู้แทนราษฎรจะได้มีการร่ำร้องให้รัฐบาลลดหย่อนภาษีอากร และรัฐบาลได้ลดหย่อนลงจนถึงที่อยู่แล้วก็ตาม ภาษีอากรทั้งหมดที่เก็บอยู่นั้น เมื่อพิจารณาโดยทั่วๆ ไปแล้ว ยังเห็นว่า ยังไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรอยู่ ราษฎรเป็นแต่เพียงรู้สึกหายใจคล่องและพ้นจากการผูกมัดรัดแน่น ในด้านรัฐบาล รายได้จากการภาษีอากรทั้งหมด ก็ไม่พอแก่การที่จะบำรุงสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศชาติ และในส่วนรวม ภาษีอากรเหล่านั้น ไม่เป็นคุณต่อการผลิตและการจำแนกทรัพย์ในระหว่างชั้นของราษฎร และยังมีภาษีอากรที่คนจนหรือคนมั่งมีต้องเสียเท่ากันอยู่ เช่น รัชชูปการ เป็นอาทิ
บทบาท-ผลงาน
23
มีนาคม
2565
'ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์' เล่าถึงความเป็นมาระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ กับ “โรงเรียนเตรียมปริญญามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” หรือ ต.ม.ธ.ก. โดยความมุ่งหวังของท่านผู้ประศาสน์การเพื่อจะปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาทุกระดับเพื่อให้สอดคล้องกับระบอบรัฐธรรมนูญ
เกร็ดประวัติศาสตร์
22
มีนาคม
2565
ศ.ดร.วิเชียร วัฒนคุณ' เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เดินทางไปที่ “ยูเนสโก” ณ กรุงปารีส ในการเป็นคณะผู้แทนไทยเพื่อดำเนินการจัดการแถลงชี้แจงต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เพื่อทบทวนมติและขอให้เพิ่มชื่อ 'นายปรีดี พนมยงค์' ในบัญชีรายการที่ได้รับการคัดเลือกเสนอชื่อให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก .
Subscribe to มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง