ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

บทบาท-ผลงาน
15
มิถุนายน
2566
พิจารณามูลเหตุสำคัญผ่านมิติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมก่อนการอภิวัฒน์จะเกิดขึ้น หน่ออ่อนแห่งระบอบประชาธิปไตยซึ่งก่อกำเนิดครั้งแรกในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แผ้วถางทางให้แก่คณะราษฎรจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวันที่ 24 มิถุนายน 2475
บทบาท-ผลงาน
14
พฤษภาคม
2566
ประมวลฐานความคิดของนายปรีดี พนมยงค์ ที่มีต่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร นับตั้งแต่วัยเยาว์ ไปจนถึงการอภิวัฒน์สยาม 2475 ก่อร่างสร้างประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับ 2489 ซึ่งกำหนดหลักการผู้เกี่ยวข้องทางการเมืองไว้อย่างเป็นธรรม รวมไปถึงวิธีส่งเสริมให้ราษฎรสนใจประชาธิปไตย ซึ่งปรากฏในจดหมายถึง ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี
ชีวิต-ครอบครัว
11
พฤษภาคม
2566
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ชวนอ่านปฏิทินชีวิตของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เนื่องในวาระ 123 ปี ชาตกาล (11 พฤษภาคม 2443 - 2566)
แนวคิด-ปรัชญา
26
เมษายน
2566
ผลกระทบภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจของสังคมสยาม และการกำหนดประเภทของภาษี รวมถึงผลกระทบของภาษีที่เกิดขึ้นกับสังคม และความพยายามของคณะราษฎรเพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบอบภาษีของสยาม
บทบาท-ผลงาน
9
เมษายน
2566
สืบสาวความคิดทางเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ผ่าน "เค้าโครงการเศรษฐกิจ" โดยพิจารณาหลักการและความเข้าใจทางเศรษฐกิจของนายปรีดี ซึ่งได้รับอิทธิพลองค์ความรู้จากพัฒนาการความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ท่ามกลางพลวัตของโลกควบคู่ไปกับสภาพสังคมสยามในขณะนั้น
แนวคิด-ปรัชญา
9
กุมภาพันธ์
2566
รวินทร์ คำโพธิ์ทอง เขียนถึงศัพท์เกิดใหม่อย่าง "กรุงเทพอภิวัฒน์" โดยวิเคราะห์ผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างภาษาและการเมือง พร้อมทั้งบอกเล่าความเป็นมาของคำว่า "อภิวัฒน์" ซึ่งถูกนิยามและเชื่อมร้อยเข้ากับบริบททางการเมืองไทยเมื่อราวต้นทศวรรษ 2500 โดย นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในสมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎร
แนวคิด-ปรัชญา
30
ธันวาคม
2565
คำอธิบายโดยทั่วไปถึงความแตกต่างของรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ระหว่างฉบับที่หนึ่ง (24 มิถุนายน 2475) หรือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม (ชั่วคราว) พ.ศ. 2475 และฉบับที่สอง (10 ธันวาคม 2475) หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มักจะชี้ให้เห็นถึงการประนีประนอมระหว่างฝ่ายคณะราษฎรและฝ่ายตัวแทนของระบอบเก่า จนกระทั่งได้ข้อสรุปในเรื่องสำคัญคือ การยอมรับอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่กำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ และทรงใช้อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
แนวคิด-ปรัชญา
26
ธันวาคม
2565
ความเสมอภาคของปวงชนชาวไทยที่ได้ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกใน "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475" ถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการรับรองสิทธิและเสรีภาพให้แก่ประชาชนผ่านการเลือกตั้ง และเปรียบเทียบพัฒนาการทางการเมืองระหว่างไทยและต่างประเทศ โดยสะท้อนถึงบริบทและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปในแต่ละพลวัตทางสังคม อันนำไปสู่ความเสมอภาคของประชาชน
แนวคิด-ปรัชญา
9
ธันวาคม
2565
จุดเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของประเทศ ภายหลังเมื่อเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 อันเป็นที่มาแห่งการรำลึกในนาม "วันรัฐธรรมนูญ" ของทุกๆ ปี รวมไปถึงขั้นตอน กระบวนการ และสาระสำคัญในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งท้ายที่สุดได้บรรลุผลเป็นหลักการกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศดังรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อีกทั้งความสำคัญของการมีส่วนทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
แนวคิด-ปรัชญา
13
พฤศจิกายน
2565
ต้นทศวรรษ 2470 ได้ปรากฏการฟ้องร้องคดีขึ้นกรณีหนึ่ง โดยเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลามลัทธิเจ้าเซ็นหรือที่เรียกขานว่า “แขกเจ้าเซ็น” และบริเวณที่ดินของ “กระฎี” ท้ายที่สุด ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยต่อสู้กันถึงชั้นศาลฎีกาต้องพิจารณาตัดสินชี้ขาด จนประกาศเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931 พ.ศ. 2473
Subscribe to สมบูรณาญาสิทธิราชย์