ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

บทสัมภาษณ์
13
พฤษภาคม
2563
บางส่วนจากบทสัมภาษณ์ในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ โดย คำนูณ สิทธิสมาน และขุนทอง ลอเสรีวานิช เรื่อง นายปรีดี พนมยงค์ ในโอกาสครบรอบวันถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2546 คำนูณ – เข้าสู่สภาท่าพระอาทิตย์ในช่วงชั่วโมงสุดท้ายนะครับอย่างที่ผมเกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นว่า วันนี้วันที่ 2 พ.ค. ก็เป็นวันคล้ายวันถึงแก่อสัญกรรม ของท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ท่านจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2526 จนบัดนี้ก็ 20 ปีเต็ม
ชีวิต-ครอบครัว
12
พฤษภาคม
2563
บทสัมภาษณ์ครอบครัวนายปรีดี พนมยงค์ จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ช่วงปีพ.ศ.2490 ประเทศไทยยุคเผด็จการครองเมือง เหตุผลทางการเมืองหลายครั้งหลายคราทำให้คนในครอบครัวนายปรีดี พนมยงค์ ถูกกลั่นแกล้ง ถูกให้ร้ายป้ายสี และรังแก จนจำต้องเดินทางออกนอกประเทศ ลี้ภัยไปพำนักยังดินแดนไกลบ้าน
แนวคิด-ปรัชญา
11
พฤษภาคม
2563
การรำลึกครบรอบ 120 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยและสันติธรรมอย่างแท้จริง ถ้าจะให้เป็นไปอย่างมีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อสังคมปัจจุบันแล้ว เราควรจะกลับไปศึกษาจากประสบการณ์และความคิดทางการเมืองของเขา แล้วถอดบทเรียนเพื่อให้สังคมเดินไปข้างหน้า ไม่ก้าวพลาดซ้ำวนเวียน หรือเดินถอยหลังเข้าคลอง 
บทบาท-ผลงาน
11
พฤษภาคม
2563
เนื่องในโอกาสครบรอบ 120 ปี ชาตกาลรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
ศิลปะ-วัฒนธรรม
11
พฤษภาคม
2563
ซิมโฟนีหมายเลข 4 หรือ “ปรีดีคีตานุสรณ์” เป็นผลงานของ สมเถา สุจริตกุล วาทยากรและนักประพันธ์เพลงคลาสสิกชาวไทย เพื่อร่วมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2543
แนวคิด-ปรัชญา
11
พฤษภาคม
2563
เรารู้กันดีว่า มีโรคบางชนิดที่เป็นโรคระบาด โรคเหล่านี้ก็เช่นกาฬโรค หรือที่ดูเหมือนว่าเราเคยเชื่อกันมาผิด ๆ เช่นนั้นต่อโรคเรื้อนด้วย แต่เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า โรคติดต่อเหล่านี้ก็เป็นกฎทั่วไป และมนุษย์เรานี่เองต่างเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันในการติดเชื้อและการเสียชีวิตมากมายเพียงใด เราอาจกล่าวได้ว่า หนึ่งในบรรดาผู้บุกเบิกความคิดสำนักภราดรภาพที่ยิ่งใหญ่ก็คือ [หลุยส์] ปาสเตอร์ เมื่อเขาแถลงต่อสาธารณชนว่า มีโรคจำนวนไม่น้อยเลย – ในอนาคตอาจกล่าวโดยปราศจากข้อสงสัยได้ว่า โรคทุกโรค นั่นเอง – ที่อาจส่งผ่านจากคนสู่คนได้ ชาร์ลส์ จี๊ด
เกร็ดประวัติศาสตร์
10
พฤษภาคม
2563
ปฐมบท “นายปรีดี พนมยงค์ เนติบัณฑิตสยาม ดอกเตอร์อังดรัวต์และประกาศนียบัตร์ชั้นสูงในทางเอคอนอมิก...ข้าพเจ้ายิ่งฟังก็ยิ่งรู้สึกขึ้นทุกทีว่า นายปรีดี พนมยงค์ แม้พึ่งจะกลับมารับราชการในสยามก็จริง แต่เป็นผู้มีความคิดกว้างขวางรอบคอบกว่าคาดหมายมาก มิได้เปนแต่เนติบัณฑิตผู้เปรื่องด้วยนิติศาสตร์อย่างเดียว แต่เป็นผู้ที่อาจเห็นทั้งทางได้ทางเสียแห่งการใช้กฎหมายเป็นอย่างรอบคอบด้วย. เป็นเยี่ยงอย่างอันดีแก่คณครูทั่วไป.” ธานีนิวัต กระทรวงธรรมการ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๑[1]
เกร็ดประวัติศาสตร์
10
พฤษภาคม
2563
ความทรงจำทางประวัติศาสตร์มิใช่เรื่องบังเอิญ หากเป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นโดยสังคม ตราบใดที่ยังไม่มีความทรงจำร่วมกันในสังคม การต่อสู้เพื่อปลูกผังความทรงจำชุดนั้นก็ยังคงดำรงอยู่โดยเฉพาะจากผู้ที่มีส่วนได้เสียจากชุดความทรงจำนั้นๆ วันชาติ 24 มิถุนา  เป็นหนึ่งตัวอย่างของความทรงจำทางประวัติศาตร์ที่ถูกยกเลิกและทำให้ลืมหลังเป็นวันชาติมา 21 ปี โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นหลังที่โตไม่ทันการยกเลิก 24 มิถุนา วันชาติในปี 2503 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
แนวคิด-ปรัชญา
7
พฤษภาคม
2563
การอ่าน "เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (อาจารย์ปรีดี พนมยงค์) เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ต้องทำความเข้าใจบริบทของประเทศไทยในช่วงก่อนปี 2476 ที่มีปัญหาเศรษฐกิจ ชาวนาที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ มีความเป็นอยู่ลำบาก ไม่สามารถเข้าถึงที่ดิน เงินทุน เทคโนโลยี มีปัญหาชลประทานและถูกเก็บภาษีทีไม่เป็นธรรม ประกอบกับการค้าอยู่ในมือของต่างชาติ อาจารย์ปรีดีจึงเห็นว่าการที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยต้องเริ่มจากการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความยากจนของชาวชนบท  และในสมัยนั้นราษฎรยังคงอ่อนแอ แนวทางเดียวที่จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ให้ราษฎรคือรัฐบาลจะต้องมีบทบาทในการจัดการเศรษฐกิจ
Subscribe to บทความ