ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เกร็ดประวัติศาสตร์

อ่านบันทึกความทรงจำของเตียง ศิริขันธ์ : หลักฐานประวัติศาสตร์ใหม่ของเสรีไทย

31
มกราคม
2565

บันทึกความทรงจำของ ‘เตียง ศิริขันธ์’ ในบทบาทของเสรีไทยเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใหม่เกี่ยวกับเรื่องราวของเสรีไทยที่ไม่เคยมีใครได้อ่านมาก่อนโดยมีเผยแพร่ครั้งแรกจากงานศึกษาของ 'สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ' ที่ค้นพบเอกสารชิ้นนี้จาก หอสมุดแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NARA)

 

ภาพกล่องเอกสารที่พบบันทึกของเตียง ศิริขันธ์  RG 226 Entry 210 Box 216 NND 974345 อ้างอิงภาพจาก สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด: เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NARA), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ, 2564), หน้า 60.
ภาพกล่องเอกสารที่พบบันทึกของเตียง ศิริขันธ์  RG 226 Entry 210 Box 216 NND 974345
อ้างอิงภาพจาก สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด: เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NARA), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ, 2564), หน้า 60.

 

‘สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ’ ชี้แจงถึงข้อกำหนด ลักษณะของหลักฐานชั้นต้น และคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของบันทึกชิ้นนี้ไว้ว่า

“ก่อนจะลงมือทำการวิเคราะห์ในเรื่องนี้ ควรบอกกล่าวไว้ว่า จำเป็นต้องมีข้อกำหนดเชิงกติกาไว้ในใจอย่างไม่เป็นทางการ คือ ในเบื้องต้นต้องยอมรับกันก่อนว่า นายเตียง ศิริขันธ์ เป็นเจ้าของบันทึกนี้ แม้ว่านายเตียง ไม่ได้ลงนามไว้ก็ตาม เนื่องจาก
1) นายเตียง อาจยังเขียนบันทึกไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่ได้ใส่ชื่อไว้ และ
2) นายเตียง อาจเขียนต่อจนจบและลงชื่อไว้แล้ว แต่บันทึกตอนหลังยังคงไม่มีใครพบเห็น หรือทหารของหน่วย OSS ที่ทำงานฝึกพลพรรคใต้ดินเสรีไทยกับนายเตียง ได้ถอนตัวกลับไปสหรัฐอเมริกาก่อน จึงไม่ได้นำกลับไปเก็บไว้ที่ NARA

แต่เนื้อความที่ปรากฏชัดเจนและสรุปในเบื้องต้นได้ว่า ผู้เขียนบันทึกฉบับนี้คือ นายเตียง ศิริขันธ์ อย่างปฏิเสธไม่ได้ และถ้าเป็นเช่นนี้จริง สิ่งที่ควรจะต้องตรวจสอบกันต่อไป ก็คือ ข้อมูลในบันทึกมีอะไรใหม่ มีอะไรสำคัญ และความใหม่ ความสำคัญนี้จะมีผลกระทบต่อไปอย่างไร โดยเฉพาะในแวดวงประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะค่อยๆ ทยอยนำเสนอและขยายความเชิงวิชาการวิเคราะห์ให้เห็นกันต่อไป…”

 

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น งานฉลองรัฐธรรมนูญในอีสานและจำกัด พลางกูร

 

บันทึกของเตียง ศิริขันธ์ ภาพถ่ายจากสำเนาต้นฉบับ อ้างอิงภาพจาก สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด: เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NARA), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ, 2564), หน้า 85.
บันทึกของเตียง ศิริขันธ์ ภาพถ่ายจากสำเนาต้นฉบับ
อ้างอิงภาพจาก สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด: เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NARA), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ, 2564), หน้า 85.
 

ผู้เขียนได้อ่านบันทึกของ ‘เตียง ศิริขันธ์’ แล้ว จึงขอเลือกสรรข้อมูลใหม่ในเบื้องต้นไว้ 3 ประเด็น ได้แก่ ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น งานฉลองรัฐธรรมนูญในอีสาน และความสัมพันธ์ของเตียง ศิริขันธ์ กับจำกัด พลางกูร และเพื่อความถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์จึงสะกด และเว้นวรรคตามต้นฉบับบันทึกพิมพ์ดีดของเตียง นับตั้งแต่วันแรกที่เขียนคือ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ณ โรงแรมในจังหวัดอุดรธานี

เตียง เขียนเล่าถึงเช้าวันแรกที่ญี่ปุ่นผ่านไทยว่า

 

หมายเหตุ: เนื้อหาภายในล้อมกรอบยึดตัวสะกดตามเอกสารชั้นต้นของคุณเตียง ศิริขันธ์

 

“เช้าวันที่ 8 ธันวาคม พ.ส. 2484 ข้าพเจ้าตื่นนอนขึ้นที่โรงแรมไนจังหวัดอุดรธานี…เมื่อตื่นขึ้นข้าพเจ้าได้จับวิทยุฟังข่าวต่างประเทสและลไนประเท+ตามปกติธุระวิทยุนี้ข้าพเจ้ามักจะถือติดตัวเสมอลนเมื่อกลับขึ้นไปเยี่ยมบ้าน แต่วันนั้นจะเป็นวันเคร่าะห์ดีหรือเคราะห์ร้ายก็ไม่ทราบ เผอิญเสียงโคสนาข่าวจากวิทยุดังลั่นออกมาว่า ญี่ปุ่นขอยกกองทัพผ่านประเทสไทย และมีข้อความโคสนาว่า ญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีหมู่เก่าะต่าง ๆ ไนเอเชียตะวันออก และบอกด้วยว่าได้เข้าประเทสไทยทางอรัญประเทสและทางชุมพร สงขลา ข้าพเจ้ารู้สึกตกไจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ทราบว่าจะทำประการไดดี นั่งงงอยู่พักหนึ่งก็ลงไปข้างล่างเพื่อไต่ถามพรรคพวกดูว่าลไครได้ฟังข่าวเช่นนี้บ้าง

ข้าพเจ้าวิ่งไปบ้านข้าราชการหลายคน ถามก็ไม่ได้ความประการได และโดยมากก็มักตอบว่าไม่ได้เอาใจไส่ เพราะมั่วยุ่งอยู่กับการจัดงานรัถธรรมนูญในเช้าวันที่ 8 วันนั้นเมื่อกลับมาที่พัก ข้าพเจ้านั่งคิดอยู่คนเดียวไม่มีที่ปรึกสา ไม่รู้ว่าจะทำประการไดดี ท้ายที่สุดได้ตัดสินใจว่าจำเป็นจะต้องกลับไปสกลนครเพื่อส่งครอบครัวเสียก่อน ไนขณะนั้นข้าพเจ้ามีบุตรเล็กอายุขวบกว่า ๆ ไปด้วย จึงได้ตัดสินตกลงไจที่จะไปส่งครอบครัวเสียก่อนที่จะเดินทางกลับกรุงเทพ…ความจริงลนขณะนั้นข้าพเจ้ามีรถโดยสารอยู่ 3 คัน คือรถสิริขันธ์ 1 2 3 แต่เป็นคราวเคราะห์ร้ายที่รถสิริขันธ์ทั้ง 3 คันนี้ไม่ได้อยู่ลนอุดรไนขณะนั้น…

วันนั้นเมื่อตกสายมากแล้วรถก็ออกจากอุดรเกือบหมด ข้าพเจ้าวิ่งติดตามหาเช่ารถเพื่อจะไปสกลจึงไม่ได้ ประกอบกับรถบางคันมีความมุ่งหมายที่จะอยู่ดูงานฉลองรั%ธรรมนูญในจังหวัดอุดร จึงไม่ยอมเดินทางออกจากจังหวัดอุดรไป…เมื่อรถสิริขันธ์ 2 มาถึงอุดรและเทสินค้าเรียบร้อยแล้ว เราก็รีบบันทุกของของเราลงรถสิริขันธ์ 2 แล้วออกเดินทางไปสกลทันที เราออกจาอุดรเวลาประมาณ 20 นาลิกากว่าๆ ได้กำชับให้นายสวาสดิ์ ตราชู น้องเลี้ยงของข้าพเจ้าเป็นคนขับรถ และให้วิ่งรถเต็มที่โดยไม่ต้องหยุดพักรับคนโดยสารได ๆ ทั้งหมด นายสวาสดิ์ได้ทำหน้าที่ตามคำสั่ง ชั่วระยะทาง 165 กิโลเมตรเรามีเวลาหยุ่ดพักเพราะไฟตะเกียงรถเสีย 1 ครั้ง นอกนั้นไม่ได้หยุดัพักที่ไดเลย พอเข้าเขตต์สกลนครข้าพเจ้าสั่งลห้เด็กเก็บตั๋วรถตะโกนบอกชาวบ้านไกล้ ๆ ไห้ดับไฟ เพราะความเคยชินไนเรื่องนี้ได้เกิดมาีขึ้นแล้วไนสมัยไทยกับอินโดจีนฝรั่งเสสปะทะกัน ข้าพเจ้าไห้เด็กร้องตะโกนไปตลอดทางที่ผ่านมาทุกหมู่บ้าน

เมื่อถึงอำเภอพรรณานิคม เราได้พบรา=ฎรหมู่ไหญ่กำลังรุมฟังวิทยุอยู่ที่ร้านพ่อค้ามีชื่อคนหนึ่ง เราหยุดรถแต่ไม่ได้ดับเครื่องยนต์ ข้าพเจ้าวิ่งลงไปถามพ่อค้าเจ้าของวิทยุก็คงได้ รับคำแน่นอนว่า ญี่ปุ่นผ่านประเทสไทย และรัถบาลยอมให้ผ่านแล้ว ข้าพเจ้ารีบกลับขึ้นรถ และเดินทางต่อไปถึงสกลนครเวลาประมาณ 21 นาลิกาครึ่ง เมื่อขนของและครอบครัวลงจากรถเรียบร้อยแล้ว เรียกกาแฟมาดื่มคนละแก้ว เรา 3 คน คือ ข้าพเจ้า สวาสดิ์ และเด็กคนรถ ก็กลับรถเดินทางมุ่งตรงมายังอุดรธานี ได้กำชับสวาสดิ์ผู้ขับรถว่าไห้ไปไห้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้โดยไม่ต้องหยุดพักแห่งไดเลย

สวาสดิ์ตราชู ได้ ทำตามคำสั่งโดยเคร่งครัด คืนวันนี้อากาสหนาวจัด เพราะฉะนั้นการวิ่งรถโดยเร็วนั้ นรู้สึกเย็นชาไปหมดทั้งตัว สวาสดิ์เห็นว่าข้าพเจ้าจะต้องตรากตรำไนวันรุ่งขึ้นอีก จึงได้หยุดรถที่ท้องนาแห่งหนึ่ง ไปซื้อฟางข้าวจากชาวนาคนหนึ่งมาบันทุกรถจนเต็ม เสร็จแล้วก็ไห้ข้าพเจ้าเจ้าไปนอนไนกองฟางไนรถนั้น ครั้นเสร็จแล้วสวาสดิ์และเด็กก็ทำหน้าที่ของเขา ข้าพเจ้าก็หลับไนรถไม่ร้ ู ตัวมาตื่นเอาเมื่อรถถึงอุดร โดยสวาสดิ์เป็นผู้ปลุก เวลาประมาณ 3 นาลิกากว่าของเช้าวันที่ 9 รถได้ไปหยุดที่ที่ทำการบริสัทขนส่งทางอากาสสาขาอุดรธานี ข้าพเจ้าบอกไห้เด็กลงไปปลุกเจ้าหน้าที่เพื่อติดต่อถามเรื่องที่จะเดินทางด้วยเครื่องบินกลับไปยังกรุงเทพ…”[1]

 

‘สวัสดิ์ ตราชู’ น้องเลี้ยงของเตียง ศิริขันธ์ ที่ปรากฏชื่อในบันทึกว่าเป็นผู้ขับรถเพื่อพาเตียง ไปขึ้นเครื่องบินเข้ากรุงเทพฯ คือ ‘สวัสดิ์ ตราชู’ ซึ่งต่อมาได้รวบรวมบันทึกการจับกุม การสืบสวนสอบสวนจำเลย เช่น ตำรวจ ฯลฯ ผู้สังหารเตียง และคำพิพากษาคดีสังหารเตียง ศิริขันธ์ เรียบเรียงเป็นหนังสือ ลับสุดยอดเมื่อข้าพเจ้าเป็นเสรีไทยกับขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์[2]

ทั้งนี้จากบันทึกยังพบว่าเตียงกับจำกัด พลางกูร มีความสนิทสนมกันระดับหนึ่ง ทั้งเคยเป็นคู่คิดร่วมกันในการเสนอร่างพระราชบัญญัติพรรคการเมือง รวมทั้งเตียง และจำกัด ยังเคยคุยกันเรื่องเกมการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กรณีอินโดจีนฝรั่งเศสและแสดงความคิดเห็นต่อการที่ญี่ปุ่นผ่านไทยว่า ไว้ด้วยว่า

 

“...เวลาประมาณ 20 นาลิกาของวันที่ 9 เมื่อรถไฟมาถึงสถานี้ข้าพเจ้ารีบขึ้นรถไฟและเข้าไปนอนไนห้องชั้ นหนึ่ แต่ตลอดทางรถไฟนี้ข้าพเจ้านอนไม่หลับเลย ภาพต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้คุยกันไว้กับจำกัด พลางกูร ได้ปรากฏออกมาเป็นฉากๆ เราเคยพูดกันถึงเรื่องการคุกคามของญี่ปุ่นลนขณะที่ญี่ปุ่นยกทหารเข้าอินโดจีน

เราได้คุยถึงเกมการเมืองที่จอมพลแปลกเดินหมากรุก ว่าลยกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเสสเราได้เคยคุยกันถึงเรื่องกำลังรบของประเท+อักาะและประเท+สัมพันธมิตรเปรียบเทียบกัน ยิ่งกว่านั้นจำกัดยังไห้คำทำนายว่า การคุกคามของญี่ปุ่นนี้จะปรากฏผลไนไม่ช้า จำกัดคำนวณไปว่าประเท+สไทยจะเป็นสนามรบซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การที่ญี่ปุ่นเจ้ามาอินโดจีนฝรั่งเสสนั้นคงจะยังไม่ ทำการเหยียบย่ำประเท+ไทยเร็วนัก เพราะเหตุว่าการเจรจาของทูตญี่ปุ่นวอชิงตันกำลังดำเนินการอยู่

แม้ว่าการรบจะเกิดขึ้นจริง ก็คงหลังจากที่ทูต พิเสสของญี่ปุ่นได้กลับจากสหรัถอเมริกาแล้ว ส่วนจำกัดมีความเห็นวา่ประเทสอักสะ จะไม่ถืออะไรเป็นธรรมเนียมหรือเป็นอารยะเลย เขาจะถือเพียงสิ่งที่เขาจะได้ ข้อนี้ข้าพเจ้ารับสารภาพว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ผิดจำกัดเป็นผู้ ถู ก…เมื่อวันที่จ ะ จากสกลนครนั้น จำกัดได้พูดกับข้าพเจ้าว่า เอาลูกเมียไปส่งเสียก็ดี เพื่อจะได้ทำการทำงานได้เต็มที่ ข้าพเจ้าเห็นหน้าจำกัดยิ้มแย้มแจ่ไส คิดว่าพูดล้อกันเล่น ข้าพเจ้ายังตอบจำกัดเป็นเชิงล้อเล่นไปว่า ถ้านายตึงไปไกลแล้ว ข้าพเจ้าก็ ยิ่งทำงานไม่สะดวก จำกัดยังได้มาจับสีร์สะลู กชายข้าพเจ้า แล้วเราก็จากกันไป…[3]

 

ในบันทึกฉบับนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของเตียง ที่ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์ประชาธิปไตยในระบอบรัฐธรรมนูญของคณะราษฎรผ่านการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญไว้

 

“…แต่ความจริงการกลับขึ้นไปสกลไนคราวนี้นั้นก็โดยทุ่งหวังที่จะรีบขึ้น ไปไห้ ทันงานรัถธรรมนูญไนจังหวัดสกลนคร เพราะข้าพเจ้ามีส่วนเกี่ยวข้องไนการจัดงานคราวนี้อยู่ไม่น้อย เพราะฉะนั้นจึงได้รีบเดินทางก่อนวันปิดประชุมสภาผู้แทนรา=ฎรหนึ่งวัน แต่ข้าพเจ้าก็ไม่มีโอกาสที่จะอยู่จัดงานรัถธรรมนูญที่สกลนครได้อีกต่อไป ต้องรีบเดินทางกลับลงมาถึงกรุงเทพไนเช้าวันที่ 10 ข้าพเจ้ารู้ สึกเสียไจเป็นอย่างยิ่ง…”[4]

 

และยังเสนอให้เห็นข้อเท็จจริงเรื่องงานฉลองรัฐธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2484 ว่าในต่างจังหวัดแถบอีสาน เช่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย และจังหวัดสกลนคร ยังมีการจัดงานฯ อยู่ซึ่งแตกต่างจากในพระนครที่ไม่ได้การจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญขึ้นในปีนั้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในไทย

ในบันทึกนี้ยังเสนอให้เห็นว่า ‘เตียง ศิริขันธ์’ และ ‘จำกัด พลางกูร’ ได้เข้ามาร่วมงานเสรีไทยได้อย่างไร เตียงเล่าว่า ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า จะได้ร่วมงานกับอาจารย์ปรีดี แม้เตียงจะเคยเรียนวิชากฎหมายกับอาจารย์ปรีดี แต่ว่าไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัวมาก่อน และต่อมาเมื่อเริ่มดำเนินงานเสรีไทยในประเทศ  จำกัดได้เป็นผู้เชื่อมต่อให้เตียงและอาจารย์ปรีดีได้พบปะพูดคุยกัน[5]

 

ข้อความที่เตียง ศิริขันธ์ กล่าวถึงการที่จำกัด พลางกูร พาไปเข้าพบปรีดี พนมยงค์ อ้างอิงภาพจาก สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด: เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NARA), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ, 2564), หน้า 90.
ข้อความที่เตียง ศิริขันธ์ กล่าวถึงการที่จำกัด พลางกูร พาไปเข้าพบปรีดี พนมยงค์
อ้างอิงภาพจาก สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด: เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NARA), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ, 2564), หน้า 90.

 

รวมถึงได้สะท้อนให้เห็นร่องรอยการขัดกันทางความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบรัฐสภาระหว่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม, เตียง ศิริขันธ์ และจำกัด พลางกูร ไว้ดังนี้

 

“อุปสรรคประการที่ 3 คือการทำลายอุปสรรคที่มาขัดขวางเรา โดยฉะเพาะอย่างยิ่งก็ คือระบอบการปกครองภายไต้การวงงานของจอมพล ซึ่งไม่เพียงแต่รวบเอาอำนาจบริหารไว้ในกำมือเท่านั้น ระบอบการปกครองของจอมพล ได้รวบเอาอำนาจนิติบัญญัติคือสภาผู้แทนราษฎรไว้ไนกำมือ ตลอดจนอำนาจตุลาการก็พลอยมีความโน้มเอียงไปด้วย เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ การต่อต้านของพวกเราจึงมีอุปสรรคฉะเพาะหน้าคือ ระบอบเผดจการของจอมพล เราไม่มีหนทางไดที่จะปรับความเข้าใจกับจอมพลได้ โดยฉะเพาะตัวจำกัดนั้นเป็นศัตรูกับจอมพลตั้งแต่ยังไม่ได้เข้ามาในประเทสไทยในปัญหาเกี่ยวกับการเขียนเรื่องลงในหนังสือสามัคคีสาร ในหัวข้อที่ว่า

ในบทความนี้จำกัดได้เขียนชมเชยว่า การที่ข้าพเจ้ายกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันรักสารัถธรรมนูญนั้นเป็นบันไดคั่นแรกที่ลากเข้าไปสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยจริงจังและตำหนิว่าการที่รัถบาลจัดตั้งกรรมการพิเสสขึ้น เป็นกรรมการรักสารรัถธรรมนูญตามความไนพระราชบัญญัตินั้นเป็นรูปลักสนะสาลพิเสสอันไม่ชอบด้วยระบอบปกครองตามวิถีทางแห่งรัถธรรมนูญ มูลเหตุอันนี้ ทำไห้จอมพลเป็นเดือดเป็นแค้น และเมื่อจำกัดกลับเข้ามาถึงจึงไม่บรรจุเข้ารับราชการ แต่กลับไห้ไปทำงานไนกระทรวงสึกสาธิการประเภทลูกจ้างได้เงินวันละ 7 บาท

นอกจากนั้นจอมพลยังสั่งไห้นายประยูร ภมรมนตรีไปเกลี้ยกล่อมให้จำกัดเขียนเรื่องไนลักสนะขอขมา หรือลักสนะชี้แจงว่าตนเข้าไจผิด เพื่อไปกล่าวทางวิทยุ แต่จำกัดแทนที่จะเขียนเรื่องตามความปราถนาของจอมพล กลับเขียนเรื่องไปพูดทางวิทยุในลักสนะปรัชญา จนไม่มีใครฟังเข้าใจได้ และแทนที่จะเป็นการขอขมาลาโทสจอมพล กลับกระหน่ำหัวตะปูยืนยันมติ ของตนเองว่า การคิดเช่นนั้นเป็นการถูกต้องซึ่งในวันรุ่งขึ้น จำกัดก็ถูกสั่งไห้ออกราชการ กระทรวงสึกสาธิการ และต่อจากนั้นมาจำกัดก็เป็นขมิ้นกับปูนกับจอมพลเรื่อยมา…”[6]

 

ทั้งนี้ ในแง่มุมของการศึกษาด้วยระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์เรื่องบันทึกของเตียง ศิริขันธ์ ชิ้นนี้ สามารถวิพากษ์หลักฐานฯ ในเบื้องต้นได้ว่า บันทึกส่วนตัวหรือความทรงจำส่วนบุคคล คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นทัศนะของบุคคลผู้หนึ่งหรือในฝ่าย/ฝั่งหนึ่ง ซึ่งในแง่มุมของหลักฐานประวัติศาสตร์จากบันทึกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ย่อมจะมีแง่มุมแตกต่างกันจึงควรอ่านควบคู่กัน รวมทั้งอ่านประกอบร่วมกันกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทอื่นๆ เพื่อให้ได้อรรถรสและเข้าใจถึงมุมมองทางประวัติศาสตร์หลากหลายชุดมากยิ่งขึ้น

 

บรรณานุกรม

หนังสือ:

  • สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด: เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NARA), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ, 2564)
  • สวัสดิ์ ตราชู, ลับสุดยอดเมื่อข้าพเจ้าเป็นเสรีไทยกับขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์ พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มปป.)

สื่ออิเล็กทรอนิกส์:

  • U.S. National Archives & Records Administration NARA. สืบค้นจาก https://www.loc.gov/item/2003557723/
  • กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยจากหอจดหมายเหตุต่างประเทศ. สืบค้นจาก http://archives.histdept.crma.ac.th/archival/public/

หมายเหตุ:

  • เนื้อหาภายในล้อมกรอบยึดตัวสะกดตามเอกสารชั้นต้นของคุณเตียง ศิริขันธ์
  •  เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานใหม่เป็นบันทึกของนายเตียง ศิริขันธ์ ซึ่ง พันเอกดร.สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ ได้นำมาเผยแพร่เป็นหนังสือชื่อว่า จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด : เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NARA) โดยเอกสารนั้นได้ระบุว่านายเตียง มิได้อยู่ที่บ้านของนายปรีดี พนมยงค์ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484
 

[1] สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, จากแฟ้มเอกสารลับที่สุด: เผย “ข้อมูลใหม่” ทางประวัติศาสตร์ไทย สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NARA), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ, 2564), หน้า 85-86.

[2] สวัสดิ์ ตราชู, ลับสุดยอดเมื่อข้าพเจ้าเป็นเสรีไทยกับขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์ พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มปป.)

[3] อ้างแล้ว, น. 87-88.

[4] อ้างแล้ว, หน้า 88.

[5] อ้างแล้ว, หน้า 89-90.

[6] อ้างแล้ว, หน้า 96.