ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข่าวสารและบทความ

เกร็ดประวัติศาสตร์
4
กุมภาพันธ์
2566
การเดินทางเพื่อแสวงหาเป้าหมายแห่งชีวิต คือ การศึกษาสั่งสมหาความรู้เพื่อตอบสนองต่อเจตจำนงที่ตนได้ตั้งไว้ ตลอดช่วงเวลาดังกล่าวนักปฏิวัติผู้นี้มิได้เคยย่อท้อต่อความยากลำบาก หากฝ่าฟันทุกอุปสรรคและเก็บเกี่ยวทุกประสบการณ์เพื่อประกอบกับการกอบกู้เอกราช
แนวคิด-ปรัชญา
1
กุมภาพันธ์
2566
สุพจน์ ด่านตระกูล วิเคราะห์ผ่านบทความของกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรืออีกนามปากกาหนึ่งคือ อิสรชน โดยวิพากษ์อคติและคำกล่าวหาของฝ่ายปฏิกิริยา อันบิดเบือนไปจากความมุ่งมาดที่แท้จริงของนายปรีดี พนมยงค์ ในการรื้อฟื้นแผนขุดคอคอดกระ อันเป็นความรุดหน้าไปนั้นดำเนินไปก็เพื่อผลประโยชน์ของชาติ
แนวคิด-ปรัชญา
31
มกราคม
2566
กล้า สมุทวณิช กล่าวถึง พลวัตของสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งปรากฏการกำหนดสภาพบังคับในเชิงป้องกันการละเมิดจากอำนาจรัฐ และสิทธิเรียกร้องต่อรัฐให้บังคับตามสิทธิ อันเป็นคุณค่าพื้นฐานของพลเมืองดังบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ 2550 ทว่า สิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไว้โดยชัดแจ้ง กลับมีจุดหักเหเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ได้ถือกำเนิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อ "มุมมอง" ตลอดจน "การตีความ"
แนวคิด-ปรัชญา
30
มกราคม
2566
เขมภัทร ทฤษฎิคุณ เขียนถึงบทบาทแนวคิดที่หลากมิติของ 'นายปรีดี พนมยงค์' สำหรับการทำงานเพื่อรับใช้สังคมอันเป็นเจตนารมณ์ที่ได้ต่อยอดทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสันติภาพ อันเป็นหลักการที่วางรากฐานและสร้างคุณค่าให้แก่ระบอบประชาธิปไตย โดยแก่หลักสำคัญได้แก่ "ปรัชญาสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย"
ศิลปะ-วัฒนธรรม
27
มกราคม
2566
กวินพร เจริญศรี เขียนถึง "Bangkok Art Biennale 2022" ภายใต้ธีม "CHAOS: CALM โกลาหล : สงบสุข" โดยรวบรวมงานศิลปะหลายแขนงจากทั่วโลก บอกเล่าเรื่องราวผ่านการตีความที่สอดแทรกความเป็นไปทางสังคมและสัจธรรมของมนุษย์ที่ต้องพบเจอทั้งโรคระบาด ความขัดแย้งทางการเมือง ตลอดจนภัยสงคราม เพื่อเปลี่ยนสภาพการณ์จากดิสโทเปียไปสู่ยูโทเปียในกาลข้างหน้า
แนวคิด-ปรัชญา
26
มกราคม
2566
กล้า สมุทวณิช เขียนถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของหลักการสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนคำอธิบายและนิยามของหลักการดังกล่าวซึ่งเชื่อมร้อยต่อกันในทางกฎหมาย นอกจากนี้ยังได้บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของสิทธิเสรีภาพในภูมิทัศน์การเมืองไทย ซึ่งปรากฏการตีความบทบัญญัติในกระบวนการยุติธรรมอันนำไปสู่การไร้สภาพบังคับทางกฎหมาย โดยยกกรณีศึกษาผ่านคำวินิจฉัยของคำพิพากษาในคดีต่างๆ
บทบาท-ผลงาน
25
มกราคม
2566
เรื่องราวของประเทศไทยในช่วงภาวะการประกาศสงครามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยผู้เขียนได้หยิบยกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความผิดอันร้ายแรงในการที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศสงครามอันเป็นสิ่งที่ละเมิดต่ออำนาจนิติรัฐภายในประเทศ
แนวคิด-ปรัชญา
24
มกราคม
2566
ภีรดา ชวนพิจารณาถึงฐานะทางประวัติศาสตร์ของการเลือกตั้งไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง โดยวิพากษ์และเปรียบเทียบพัฒนาการทางการเมืองในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกันต่อพื้นที่อื่นๆ ในฟากฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นการท้าทายต่อองค์ความรู้เดิมของพัฒนาการสิทธิสตรีต่อการเลือกตั้ง
แนวคิด-ปรัชญา
23
มกราคม
2566
เขมภัทร ทฤษฎิคุณ กล่าวถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศที่เกิดขึ้นต่อสตรีและกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมยกกรณีตัวอย่างซึ่งเป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการรองรับในทางกฎหมายที่ยังมีช่องว่างและไม่ทั่วถึงทุกๆ คน
แนวคิด-ปรัชญา
22
มกราคม
2566
อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เขียนถึงนายปรีดี พนมยงค์กับความเป็นมาของสูทสีกรมท่าตัวโปรดอันเป็นภาพคุ้นตาตามที่ได้ถูกบันทึกไว้ในขณะที่นายปรีดีใช้ชีวิตและลี้ภัยทางการเมือง ณ ต่างแดน นอกจากนี้ยังได้บอกเล่าพัฒนาการโดยย่อของประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกายที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก ราวต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของแฟชั่นชุดสูทแบบสากล