ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เกร็ดประวัติศาสตร์

เกร็ดประวัติศาสตร์

เกร็ดประวัติศาสตร์
28
พฤษภาคม
2563
ท่านรัฐบุรุษอาวุโสเป็นคนสายน้ำเดียวกันกับผม ท่านเกิดที่บ้านคลองเมือง เหนือหัวรอขึ้นไป ส่วนผมเกิดในเรือที่คูขื่อหน้า ใต้หัวรอลงมา ท่านเรียนหนังสือโรงเรียนเดียวกับผม แต่ห่างกันหลายสิบรุ่น ท่านเข้าเรียนเมื่อ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) และสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2458 เลขประจำตัว 791 แต่ผมเรียนเมื่อ พ.ศ. 2482 เลขประจำตัว 4450 ห่างไกลกันลิบ ถึงกระนั้นผมก็เคยเป็นนักเรียนร่วมชั้นกับลูกชายคนหนึ่งของท่านคือ คุณปาล ซึ่งตอนนั้นเป็นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่คุณปาลมานั่งอยู่ไม่กี่วันไม่ทันได้พูดกันด้วยซ้ำ ก็หายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
เกร็ดประวัติศาสตร์
27
พฤษภาคม
2563
เนื่องในโอกาส 114 ปีชาตกาล พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือที่รู้จักกันในนาม “พุทธทาสภิกขุ”  27 พฤษภาคม 2449-2563 จึงขอนำธรรมกถาชิ้นสำคัญที่มาจากบันทึกเสียงของท่านจากสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งนำมาเปิดให้สาธุชนได้รับฟัง ณ กองบังคับการตำรวจน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ ในงานอัญเชิญอัฐิธาตุของนายปรีดี พนมยงค์ ไปลอยอ่าวไทย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2529 มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง - - - - -
เกร็ดประวัติศาสตร์
25
พฤษภาคม
2563
ใครที่เคยไปเรียนหนังสือหรือทำงานที่ประเทศฝรั่งเศส ย่อมมีโอกาสได้พบคุณลุงคุณป้าคู่หนึ่ง คุณลุงมีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ผมสีดอกเลาตัดสั้นเกรียน หน้าตาสดใส ดูไม่ออกว่าท่านอายุ 80 ปีกว่า คุณป้าคนผิวคล้ำ รูปร่างสันทัด คล่องแคล่ว โอภาปราศรัย
เกร็ดประวัติศาสตร์
24
พฤษภาคม
2563
ในการบำเพ็ญกุศล เนื่องในวันคล้ายวันเกิด นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ณ ตำหนักสมเด็จฯ วัดมหาธาตุ 11 พฤษภาคม 2526 ที่มา : พุทธจักร ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2526   ท่านผู้มีเกียรติแลวิสาสิกชนผู้เจริญทั้งหลาย วันนี้อาตมภาพรู้สึกมีความสุขใจเป็นพิเศษ ที่ได้เป็นเจ้าของสถานที่จัดต้อนรับดวงวิญญาณของ ฯพณฯ รัฐบุรุษอาวุโส ดร. ปรีดี พนมยงค์ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้บำเพ็ญกุศลอุทิศวิบากกัลปนาผล ไปสนองดวงวิญญาณของท่านในปรโลกเบื้องหน้าตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนา
เกร็ดประวัติศาสตร์
23
พฤษภาคม
2563
หนังสือชีวประวัติปรีดี พนมยงค์ เล่มแรก ตีพิมพ์ปีไหน? ใครเป็นคนเขียน? มีกี่เล่มที่สำคัญ?
เกร็ดประวัติศาสตร์
17
พฤษภาคม
2563
ขอนำเกร็ดประวัติเรื่องวัดพนมยงค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของนายปรีดี พนมยงค์ มาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม 2526 “เวลาอาตมาเข้ากรุงเทพฯ พอบอกว่าอยู่ที่วัดพนมยงค์ คนชอบร้องว่า อ้อ… วัดปรีดี พนมยงค์นั่นเอง จริงๆ ไม่ใช่หรอก วัดพนมยงค์เป็นวัดเก่าแก่มานมนานแล้ว ทางปรีดีเขามาเอาชื่อวัดไปเป็นชื่อนามสกุลอีกทีหนึ่งต่างหาก” พระเกษม อติเมโธ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพนมยงค์เล่าให้ฟัง
เกร็ดประวัติศาสตร์
14
พฤษภาคม
2563
เสี้ยวหนึ่งแห่งความทรงจำ[1] คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ[2]      
เกร็ดประวัติศาสตร์
10
พฤษภาคม
2563
ปฐมบท “นายปรีดี พนมยงค์ เนติบัณฑิตสยาม ดอกเตอร์อังดรัวต์และประกาศนียบัตร์ชั้นสูงในทางเอคอนอมิก...ข้าพเจ้ายิ่งฟังก็ยิ่งรู้สึกขึ้นทุกทีว่า นายปรีดี พนมยงค์ แม้พึ่งจะกลับมารับราชการในสยามก็จริง แต่เป็นผู้มีความคิดกว้างขวางรอบคอบกว่าคาดหมายมาก มิได้เปนแต่เนติบัณฑิตผู้เปรื่องด้วยนิติศาสตร์อย่างเดียว แต่เป็นผู้ที่อาจเห็นทั้งทางได้ทางเสียแห่งการใช้กฎหมายเป็นอย่างรอบคอบด้วย. เป็นเยี่ยงอย่างอันดีแก่คณครูทั่วไป.” ธานีนิวัต กระทรวงธรรมการ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๑[1]
เกร็ดประวัติศาสตร์
10
พฤษภาคม
2563
ความทรงจำทางประวัติศาสตร์มิใช่เรื่องบังเอิญ หากเป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นโดยสังคม ตราบใดที่ยังไม่มีความทรงจำร่วมกันในสังคม การต่อสู้เพื่อปลูกผังความทรงจำชุดนั้นก็ยังคงดำรงอยู่โดยเฉพาะจากผู้ที่มีส่วนได้เสียจากชุดความทรงจำนั้นๆ วันชาติ 24 มิถุนา  เป็นหนึ่งตัวอย่างของความทรงจำทางประวัติศาตร์ที่ถูกยกเลิกและทำให้ลืมหลังเป็นวันชาติมา 21 ปี โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นหลังที่โตไม่ทันการยกเลิก 24 มิถุนา วันชาติในปี 2503 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
Subscribe to เกร็ดประวัติศาสตร์