ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข่าวสารและบทความ

ชีวิต-ครอบครัว
3
มิถุนายน
2563
ในการศึกษาพิจารณาถึงชีวิตของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ที่ศึกษาแม้เพียงเผิน ๆ ก็ย่อมจะรู้สึกแก่ใจได้อย่างตระหนักชัดข้อหนึ่งว่า การดำรงชีวิตของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ไม่น่าจะตกระกำลำบากถึงเพียงนั้น
บทบาท-ผลงาน
2
มิถุนายน
2563
คำนำ ผลงานของท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ที่เป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองนั้นมีมากมาย และมีผู้เขียนเผยแพร่ไว้มาก แต่ผลงานของท่านเกี่ยวกับการริเริ่มเสริมสร้างอำนาจทางการคลังของรัฐสภา ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย ยังไม่มีใครเขียนมาก่อน เนื่องจากเป็นผลงานที่อยู่ในมุมอับ คือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทคนิคการคลังและกฎหมายการคลัง ซึ่งโดยธรรมชาติเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจยากและเข้าไม่ถึง
บทบาท-ผลงาน
1
มิถุนายน
2563
ประเทศซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยย่อมให้ความสำคัญและยอมรับว่าอำนาจสูงสุดในทางการคลังเป็นของรัฐสภา ด้วยเหตุที่ว่ารัฐสภาเป็นผู้แทนของประชาชน การจะเก็บและใช้จ่ายเงินงบประมาณจากภาษีของประชาชนต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา  ในช่วงเริ่มต้นพัฒนาการประชาธิปไตยทางการคลังในประเทศไทยนั้น หลักการอำนาจสูงสุดในทางการคลังเป็นของรัฐสภาได้รับการสถาปนาขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่อ
เกร็ดประวัติศาสตร์
31
พฤษภาคม
2563
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ ปัญญาวุฒิสัมปันโน วิทานะวิทิโก กาลันโย สะมะยันยูจะ ราชะวะสัญจึงวะเสหิ
บทบาท-ผลงาน
30
พฤษภาคม
2563
ข้าพเจ้ารู้จักนายพลตำรวจตรี พัฒน์ นีลวัฒนานนท์ เมื่อครั้งยังเป็นนายร้อยตำรวจตรี เริ่มสมัครเป็นนักเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมที่ข้าพเจ้าได้เป็นผู้สอนหลายวิชา คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท, กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล และกฎหมายปกครอง
เกร็ดประวัติศาสตร์
30
พฤษภาคม
2563
"ทัศนะต่อท่านปรีดีจากมิตรและบุคคลที่รู้จัก" บทความนี้ผู้เขียนได้รวบรวมทัศนะของบุคคุลที่มีความผูกพันและเกี่ยวข้องกับนายปรีดีมารวบรวมไว้ ดังนี้ 1. “สุลักษณ์ ศิวรักษ์” จากปฏิปักษ์สู่กัลยาณมิตร 2. สุภาพสตรีผู้ศรัทธาในตัว ปรีดี พนมยงค์ 3. บทสัมภาษณ์นายปรีดี 'รงค์ - ตะวันใหม่ - อรุณ - ฉัตรทิพย์
เกร็ดประวัติศาสตร์
29
พฤษภาคม
2563
“ถ้าไม่มีนายปรีดี พนมยงค์ ประเทศไทยจะไม่มีประชาธิปไตย ถ้าไม่มีนายปรีดี พนมยงค์ ประเทศไทยก็จะเป็นเมืองขึ้น” คำกล่าวในเชิงสดุดีจากปากของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามอันดับแถวหน้าสุดของประเทศเช่นนี้ สำหรับผู้ที่ติดตามประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทยด้วยความเที่ยงธรรมมาโดยตลอด ก็ไม่มีอะไรเป็นที่สงสัยเลยแม้แต่น้อย แต่สำหรับบางคนที่ม่านแห่งอคติบดบังจนดวงตาและดวงใจมืดสนิท คำกล่าวของ ส. ศิวรักษ์ ข้างต้น ก็มีแต่ก่อความขึ้งเคียดถึงขนาดตีอกชกหัวเลยทีเดียว
เกร็ดประวัติศาสตร์
28
พฤษภาคม
2563
ท่านรัฐบุรุษอาวุโสเป็นคนสายน้ำเดียวกันกับผม ท่านเกิดที่บ้านคลองเมือง เหนือหัวรอขึ้นไป ส่วนผมเกิดในเรือที่คูขื่อหน้า ใต้หัวรอลงมา ท่านเรียนหนังสือโรงเรียนเดียวกับผม แต่ห่างกันหลายสิบรุ่น ท่านเข้าเรียนเมื่อ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) และสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2458 เลขประจำตัว 791 แต่ผมเรียนเมื่อ พ.ศ. 2482 เลขประจำตัว 4450 ห่างไกลกันลิบ ถึงกระนั้นผมก็เคยเป็นนักเรียนร่วมชั้นกับลูกชายคนหนึ่งของท่านคือ คุณปาล ซึ่งตอนนั้นเป็นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่คุณปาลมานั่งอยู่ไม่กี่วันไม่ทันได้พูดกันด้วยซ้ำ ก็หายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
เกร็ดประวัติศาสตร์
27
พฤษภาคม
2563
เนื่องในโอกาส 114 ปีชาตกาล พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือที่รู้จักกันในนาม “พุทธทาสภิกขุ”  27 พฤษภาคม 2449-2563 จึงขอนำธรรมกถาชิ้นสำคัญที่มาจากบันทึกเสียงของท่านจากสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งนำมาเปิดให้สาธุชนได้รับฟัง ณ กองบังคับการตำรวจน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ ในงานอัญเชิญอัฐิธาตุของนายปรีดี พนมยงค์ ไปลอยอ่าวไทย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2529 มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง - - - - -
ศิลปะ-วัฒนธรรม
26
พฤษภาคม
2563
ความเงียบเหงาและว้าเหว่จู่โจมเข้ามาจับหัวใจ เมื่อความร้อนจัดแผดเผาอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งไกลแสนไกล ห่างออกไปตามความยาวของเวลา 6 ชั่วโมง แต่สามารถรู้สึกได้จากกระแสคลื่นร้อนที่แผ่กระจายเป็นวงกว้าง ระยิบระยับเป็นพยับเหมือนเปลวแดดที่กระพือเหนือปฐพี น้ำค้างบนกลีบดอกไม้ระเหยหายในความกรนเกรียม แปรแปลงไปเอ่อในดวงตาที่หม่นหมอง อินทรีย์ที่มีสมองและสองแขนสลายสภาพ….