ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

เกร็ดประวัติศาสตร์
22
เมษายน
2563
ในอดีต มาตรการหนึ่งที่รัฐเคยใช้ในการหาเงินทุนมาแล้วหลายครั้ง ก็คือการออกพันธบัตรให้คนมากู้เงินในราคาถูก เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนช่วยชาติในยามคับขัน ถือเป็นความร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือกันของรัฐและประชาชน
แนวคิด-ปรัชญา
5
เมษายน
2563
ดังได้เสนอไว้ในบทความเรื่อง ภราดรภาพ (Solidarity) คืออะไร ว่าความคิดเรื่องภราดรภาพนิยมนี้มิใช่เป็นเพียงปรัชญา หรืออุดมการณ์ทางการเมืองหากเชื่อมโยงกับธรรมชาติของมนุษย์ที่มีข้อบ่งชี้ในทางชีววิทยาซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์แล้ว แนวคิดเรื่องภราดรภาพนิยมนี้ยังถือเป็นแนวคิดเชิงศีลธรรมที่ปรากฏในคำสอนของทุกศาสนาด้วย
ชีวิต-ครอบครัว
4
เมษายน
2563
ทีมงานเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ เรื่อง   การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เป็นปฏิบัติการลับของบรรดานายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ทั้งหมดเป็นความลับที่มิอาจแพร่งพรายให้ผู้อื่นรับรู้ แม้แต่คนในครอบครัว  เมื่อถึงวันปฏิบัติการจริง สมาชิกคณะราษฎรแต่ละคนจึงมีวิธี “เลี่ยง” พูดความจริงต่อสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกันไป
บทบาท-ผลงาน
3
เมษายน
2563
ข้อมูลจากการเสวนา ปรีดีศึกษา ครั้งที่ ๒ “โมฆสงคราม งานนิพนธ์ที่ค้นพบล่าสุดของปรีดี พนมยงค์” ในหนังสือ “ปรีดีศึกษา และปาฐกถาศิลปกับสังคม”   เชื่อว่าเราหลายคนคงเคยเห็นท่อดับเพลิงสองหัว ซึ่งบางคนจะทราบว่า มันมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ (และเข้าใจว่าอีกหลายภาษา เพราะภาษาฝรั่งเศสก็เรียกเช่นนี้ด้วย) ว่า “Siamese Connection”
แนวคิด-ปรัชญา
3
เมษายน
2563
พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล เรื่อง   เมื่อกล่าวถึง ‘คณะราษฎร’ และการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ตัวละครหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้น ‘ปรีดี พนมยงค์’ ในฐานะตัวตั้งตัวตีในการอภิวัฒน์สยามสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทว่าบันทึกและหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวอ้างถึงปรีดีและคณะราษฎรในระยะหลัง มักปรากฏในลักษณะของการบอกเล่า ตีความ วิเคราะห์ จากมุมของคนนอก เช่น นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ เสียส่วนใหญ่ ขณะที่ข้อมูลชั้นต้นจำพวกบันทึกหรือข้อเขียนจากตัวละครต่างๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์ กลับไม่แพร่หลายเท่าไหร่นัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม
2
เมษายน
2563
ข้อมูลจากบทความ “คณะสุภาพบุรุษกับวรรณกรรมราษฎร” โดย ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ในหนังสือ “ปรีดีศึกษา และปาฐกถาศิลปกับสังคม”   “วรรณกรรมแนวทดลอง” คือรูปแบบการเขียนงานวรรณกรรมประเภทเรื่องแต่ง ที่ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากรูปแบบของเรื่องเล่ามาตรฐานทั่วไป ที่เล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมาเหมือนนิยายหรือนิทานที่เราคุ้นเคย มีตัวละคร มีฉาก มีเนื้อเรื่องเป็นเส้นตรงและอาจจะมีการหักมุมตอนท้ายบ้าง
บทบาท-ผลงาน
2
เมษายน
2563
พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม เรื่อง   ทราบกันไหมครับว่า ปรีดี พนมยงค์ คือผู้ที่ริเริ่มให้มีการวางรากฐานธนาคารชาติขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับผู้สนใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเงิน กำเนิดธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจไม่น้อย ทั้งนี้เนื่องจากก่อนการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เกิด ‘สภาพปฐมแห่งธนาคารกลาง’ หรือที่เรียกว่า ‘สำนักงานธนาคารชาติไทย’ ขึ้นมา ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความพิเศษของประวัติศาสตร์ธนาคารกลางที่ไม่เหมือนใครในโลก
แนวคิด-ปรัชญา
1
เมษายน
2563
ข้อมูลจากหนังสือ “ภราดรภาพนิยม (Solidarisme) ของ ปรีดี พนมยงค์” โดย ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
บทสัมภาษณ์
30
มีนาคม
2563
กษิดิศ อนันทนาธร เรื่อง   ผมได้ทราบจากอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรว่า ดร.จริย์วัฒน์ สันตะบุตร คือบุคคลซึ่งอาจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ รักเหมือนลูกคนสุดท้อง  เขาเป็นคนมีอารมณ์ขัน และเป็นคนหนึ่งที่กล้าแหย่ให้อาจารย์ปรีดีหัวเราะอย่างมีความสุขได้
บทบาท-ผลงาน
27
มีนาคม
2563
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เรื่อง   “คืนนั้นผมเข้านอนปรกติ ถึงเวลาเขามาปลุก บอกว่า ไปกันเถอะ แล้วต่างคนต่างแยกย้ายไปตามจุดนัดหมายตัวเอง ทุกหมู่เหล่ามีชาวบ้านอย่างเราไปอยู่ด้วย ถนนราชดำเนินตอนนั้นเงียบมาก พี่ชายบอกว่า เดี๋ยวมีคนเอาปืนมาให้ ผมคิดอย่าเดียวว่า ตั้งใจมาทำงานให้สำเร็จ เขาสู้ก็สู้กับเขา ตายก็ตาย…” กระจ่าง ตุลารักษ์ คณะราษฎรคนสุดท้าย ผู้อยู่ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง หวนรำลึกเหตุการณ์ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ระหว่างให้สัมภาษณ์นิตยสาร สารคดี ก่อนเสียชีวิตไม่นาน
Subscribe to บทความ