
วิดีโอคลิป: คณะทูตสันถวไมตรีขณะเดินทางถึง สถานีวิคตอเรีย กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดย British Pathé
ไฟล์ INFOGRAPHIC: "ตามรอยเส้นทาง คณะทูตสันถวไมตรี: ของนายปรีดี พนมยงค์และคณะหลังสิ้นสุดเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2" ความละเอียดสูงสำหรับงานพิมพ์
"ตามรอยเส้นทาง คณะทูตสันถวไมตรี: ของนายปรีดี พนมยงค์และคณะหลังสิ้นสุดเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2" ความละเอียด 300 DPI (CMYK และ RGB)


นายปรีดี พนมยงค์ และคณะ ได้ออกเดินทางไปกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถึง 9 แห่ง คือ จีน ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ค สวีเดน และนอร์เวย์ ใช้เวลาถึง 3 เดือน ในการเดินทางเพื่อถือโอกาสขอร้องให้สมาชิกถาวรที่สําคัญ ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสนับสนุนประเทศไทยให้ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การฯ และเพื่อกระชับสัมพันธไมตรี ดูงานศึกษาการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
นายปรีดี ท่านผู้หญิงพูนศุข และคณะ ออกเดินทางโดยสายการบิน พี.โอ.เอ.เอส. ซึ่งให้บริการเที่ยวบินทดลองระหว่างกรุงเทพฯ กับนานกิง เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2489 (นานกิงเป็นเมืองหลวงของจีนอีกครั้งหนึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2)

เส้นทางที่ 1 เดินทางออกจากรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 คณะทูตสันถวไมตรีนำโดยนายปรีดีพร้อมคณะได้เดินทางออกจากสนามบินดอนเมืองโดยเครื่องบินของสายการบิน POAS Pacific Overseas Airline (Siam)
เส้นทางที่ 2 เดินทางสู่นานกิง ประเทศจีน วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 พบผู้นำระดับสูงของรัฐบาลจีนที่เมืองนานกิง ‘จอมพลเจียง ไคเช็ค’ ‘ดร. ทีวี ซุง’ และคณะฯเจรจาให้จีนช่วยสนับสนุนการขอเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของประเทศไทย
เส้นทางที่ 3 เดินทางสู่ปักกิ่ง ประเทศจีน วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 พบ ‘หลี จุงเหริน’ ที่พระราชวังจงหนานไห่เข้าศึกษาดูงานหอสมุดแห่งชาติและเยี่ยมชมกำแพงเมืองจีน

เส้นทางที่ 4 เซี้ยงไฮ้ ประเทศจีน วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 แวะพักที่เมืองเซี้ยงไฮ้ เพื่อเดินทางต่อไปยังกรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
เส้นทางที่ 5 กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 พบประธานาธิบดี ‘มานูเอล โรฮัส’ และรองประธานาธิบ ‘ดี เอลปิดิโอ ควิริโน’ ซึ่งให้ต้อนรับอย่างอบอุ่น

เส้นทางที่ 6 เมืองกวม ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489
เส้นทางที่ 7 เมืองฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489
เส้นทางที่ 8 เมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 โดยเข้าพักที่โรงแรมเบเวอร์ลีฮิลส์ และ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เข้าชมโรงถ่าย ฮอลลีวูด และพบเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐที่เคยร่วมงานลับกับปรีดี พนมยงค์หัวหน้าขบวนการเสรีไทยที่ใช้นามแฝงว่า “RUTH - รูธ” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

เส้นทางที่ 9 วอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2489 พบประธานาธิบดี ‘แฮร์รี เอส. ทรูแมน’ และรัฐมนตรีต่างประเทศโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกามอบเหรียญเสรีภาพชั้นสูงสุด Medal of Freedom (Gold Palm)

เส้นทางที่ 10 นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ‘ปรีดี พนมยงค์’ เป็นหัวหน้าคณะในการเจรจากับผู้แทนประเทศซึ่งเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อให้ยอมรับไทยเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations)

เส้นทางที่ 11 ลอนดอน สหรัฐราชอาณาจักร ธันวาคม พ.ศ. 2489 พบสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักรและเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เจ้าหญิงมาร์กาเรตลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบตเตน และเคลเมนต์ แอตต์ลีนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรเจรจาให้เพิ่มราคาข้าวที่สั่งซื้อจากไทยให้สูงขึ้นตามราคาโลก โดยสหราชอาณาจักรได้ยินยอมตามผลการเจรจาครั้งนั้น

เส้นทางที่ 12 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส มกราคม พ.ศ. 2490 พบประธานาธิบดี เลออง บลุมและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลฝรั่งเศสที่ Quai d'Orsay กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เส้นทางที่ 13 ดาโวส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มกราคม พ.ศ. 2490 ‘ปรีดี พนมยงค์’ และ ‘ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์’ เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระราชชนนีที่เมืองดาโวส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เส้นทางที่ 14 โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มกราคม พ.ศ. 2490 สมเด็จพระราชินี Alexandrine พร้อมด้วยเจ้าชายแอกเซิล แห่งเดนมาร์กได้พระราชทานเลี้ยงต้อนรับคณะทูตสันถวไมตรีรวมถึงสภาผู้แทนราษฎรเดนมาร์กได้เลี้ยงรับรองคณะทูตสันถวไมตรีอีกครั้ง

เส้นทางที่ 15 สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน มกราคม พ.ศ. 2490 ปรีดี พนมยงค์ เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ลา กรองด์-ครัวส์ เดอ วาสา” (La Grande-Croix de Vasa)
เส้นทางที่ 16 ออสโล ประเทศนอร์เวย์ มกราคม พ.ศ. 2490 สมเด็จพระราชาธิบดีฮากอนที่ 7แห่งนอร์เวย์ได้พระราชทานเลี้ยงต้อนรับ

เส้นทางที่ 17 กัลกัตตา บริติชราช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ตัวแทนจากสถาบันสมิทโซเนียน สหรัฐฯมอบเอกสารการค้นพบนกชนิดใหม่และตั้งชื่อนกชนิดนี้ไว้ว่า "CHLOROPSIS AURIFRONS PRIDII" เพื่อเป็นเกียรติแก่นายปรีดี ในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย
เส้นทางที่ 18 เดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เดินทางกลับถึงประเทศไทยที่ สนามบินน้ำคลองเตย โดยสายการบิน BOAC มีประชาชนชาวไทยมาต้อนรับกาารกลับมาของคณะทูตสันถวไมตรีอย่างเนืองแน่น
นายปรีดีนำคณะฑูตสันถวไมตรี ไปเยือน 9 ประเทศ เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกเดินทางเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2489 เริ่มจากจีน ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ใช้เวลาปฏิบัติภารกิจ 3 เดือน เดินทางกลับถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2490 หลังจากนั้นอีก 9 เดือน ก็เกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
บรรณานุกรม
- ไสว สุทธิพิทักษ์, ดร.ปรีดี พนมยงค์, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2526), น. 733-746.
- นรุตม์ เรียบเรียง, หลากบทชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์, 2537). น. 97-101.
- ปรีดี พนมยงค์, ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน, ภาษาฝรั่งเศส แปลโดยพรทิพย์ โตใหญ่ และจำนง ภควรวุฒิ, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เทียนวรรณ, 2529), น. 91-103.
- พูนศุข พนมยงค์, ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น 95 ปี 4 เดือน 9 วัน พูนศุข พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : ตถาตา พับลิเคชั่น, 2551), น. 139-167.
- วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย อัตชีวประวัติ ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2549). น. 405-416.