ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม

“ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในนโยบายพรรคการเมืองไทย”

6
กันยายน
2566

Focus

  • นโยบายพรรคการเมืองที่มักจะกล่าวถึงกันไม่บ่อยนักคือ นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม การหาเสียงเลือกตั้งในครั้งล่าสุดของการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นโยบายดังกล่าวนี้ ได้มีการประกวดประชันกันในงานเสวนา “ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันที่ 4 พ.ค. 2566
  • ในบรรดาข้อเสนอของสี่พรรคการเมืองที่ส่งตัวแทนเข้าร่วมงาน คือ พรรคก้าวไกล พรรคไทยสร้างไทย พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทยนั้น  ข้อเสนอเด่นๆ อาทิ การลดการเซนเซอร์ของรัฐเป็นให้องค์กรของประชาชนดูแลกันเอง การส่งเสริมให้มีองค์การแบบสหภาพแรงงานเพื่อดูแลคนทำงานศิลปะวัฒนธรรม การจัดตั้งองค์กรกลางของงานศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาทักษะและส่งเสริมการศึกษาสำหรับศิลปหลายแขนงสำหรับแรงงานในวงการนี้ และการมีพื้นที่และสถานที่ต่างๆ ที่สามารถสร้างแรงบันดาลแก่ศิลปิน
  • ข้อมูลที่เสริมข้อเสนอของพรรคการเมืองที่มาจากนักวิชาการ ผู้ชม และบุคคลในวงการศิลปวัฒนธรรม เช่น การพิจารณาถึงความต่อเนื่อง การสอดคล้อง การสนับสนุน และการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ และคนทำงานผลิตกับสมาคมที่เกี่ยวข้อง  และรัฐบาลควรเน้นนโยบายอื่นๆ ด้วย เช่น การจัดตั้งสภาศิลปะ การจดทะเบียนองค์การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไร และการมีกองทุนส่งเสริมการทำงาน เป็นต้น

 

 

ใครดูถูกดูหมิ่นศิลปะ                       อนารยะไร้สกุลสถุลสัตว์
ราวลิงค่างเสือสางกลางป่าชัฏ        ใจมืดจัดกว่าน้ำหมึกดำ
เพียงกินนอนสืบพันธุ์นั้นฤๅ             ชื่อว่าสิ่งประเสริฐเลิศ (ล้ำ)

หยามยโสกักขฬะอธรรม                 เหยียบย่ำทุกหย่อมหญ้าสาธารณ์
ภพหน้าอย่ามีรูปมนุษย์                    จงผุดเกิดในร่างดิรัจฉาน
หน้าติดดินกินขี้เลื้อยคลาน              ทรมานทุกข์ร้อนร้ายนิรันดร์เอยฯ

 

อังคาร กัลยาณพงศ์[1]

 

ก่อนถึงวันเลือกตั้งครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยล่าสุดเมื่อ 14 พฤษภาคม 2566 คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดมีจุดขายที่แตกต่างออกไปจากธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยมีมาทุกยุค นั่นคือนโยบายเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งน่าสนใจในประเด็นการตื่นตัวเรื่อง Soft Power ที่มีมาก่อนหน้านี้ และถูกจุดให้เป็นนโยบายหลักเพราะความสำเร็จของประเทศเกาหลี สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT[2]- CONTEMPORARY ARTS & CULTURE INDUSTRY PROMOTION TRADE ASSOCIATION (THAILAND) ได้จัดอภิปรายประเด็นนี้อย่างเข้มข้น บนรายละเอียดของการเจรจาจะเห็นถึงปัญญา วิธีคิด ของแต่ละพรรค ที่บอกความมีวิสัยทัศน์ต่างกัน ในยุคที่ต้องการนโยบายบริหารที่ต้องก้าวหน้าอีกระดับ และสามารถขับให้เป็นจริงได้ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพในการสร้างสรรค์ผลงานและรัฐสวัสดิการ หลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แต่ละพรรคได้พยายามผลักดันกันแค่ไหนเป็นเรื่องที่น่าจับตาต่อไป ด้วยการย้ำเตือนให้ไม่เลือนในจุดขายที่ได้ใจประชาชน ไม่ต่างจากการขายประกันชีวิต หลังปิดการขาย ตัวแทนต้องผลักดันกรมธรรม์คุ้มครองตามครรลองและกฎบัญญัติที่ให้ไว้กับประชาชน หน้าที่ของสื่อมวลชนคือการเฝ้าระวัง ช่วยเป็นกำลังเสริมความหวังของมวลชนคนตัวเล็ก เสมือนสร้างเด็กให้เติบโตอย่างมีความสุขกับความฝัน ที่เขาสามารถสร้างมันให้เป็นจริงขึ้นมาได้ด้วยระบบรัฐสวัสดิการ ที่เปี่ยมศักยภาพในการดูแลสวัสดิภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ผ่านนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสรรค์งานศิลปะทุกแขนงอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าเทียม และทั่วถึงกัน

 

 

รายงานการอภิปรายหัวข้อ “ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในนโยบายพรรคการเมือง” [3] โดย สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
พิธีกรดำเนินรายการโดย ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย วันที่ 4 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ประกอบด้วย ตัวแทนพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเสวนา 4 พรรค

พรรคก้าวไกล – อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล

พรรคไทยสร้างไทย – ดร.เมลิสา มหาพล

พรรคเพื่อไทย – นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

พรรคภูมิใจไทย – ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม

นักวิชาการและผู้ที่ทำงานในสายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

ผศ.ดร.ปริยกร ปุสวิโร หัวหน้า ESIC Lab (Edutainment Socio-Interaction Computing Lab) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : นักวิชาการทีมวิจัยภาคการศึกษา โครงการวิจัย “การพัฒนาเครือข่ายความคิดสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และจัดกลุ่มผู้มีสมรรถนะสูงเพื่อสร้างระบบนิเวศของงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม”[4] (The Development of CREATIVITY Network in Digital Economy Transformation and Talent Clustering to fabricate Creative and Innovation ECOSYSTEM) ของคณะวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ.

 


ผศ.ดร. ปริยกร ปุสวิโร นักวิชาการทีมวิจัยภาคการศึกษา หัวหน้า ESIC Lab
photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล)

 

เรามองว่านโยบายของประเทศไทยหรือทุกๆ ประเทศ มีส่วนสนับสนุนในการพัฒนาประเทศทั้งหมด ทำยังไงให้นโยบายยั่งยืน ไม่ใช่แค่สี่ปีเลือกตั้งแล้วจากไป เพราะฉะนั้นในมุมของนักวิชาการผู้ผลิตบัณฑิตเพื่อป้อนสู่ตลาด เราทำงานวิจัยเพื่อศึกษานโยบายว่าประเทศไทยเราพูดเรื่อง soft power / economy / Eco Sytem เรื่องศิลปะ งานสร้างสรรค์ เยอะมากเลย ถามว่าตัวเชื่อมต่อมันอยู่ตรงไหน ท้ายที่สุดแล้วในฐานะนักวิชาการ เราทำงานศึกษาวิจัย ค้นคว้า และเปรียบเทียบ เพื่อหาปัญหา หาหลักฐานเพื่อให้นักการเมือง Policy Maker ซึ่งเป็นคนกำหนดวิถีชีวิตในเชิงนโยบายของพวกเราทุกคน เอาไปปรับใช้ และทำให้ทุกคนเดินด้วยกันแบบมือจับมือไปด้วยกันได้ อย่างสอดรับกับปัญหาของทุกๆ ท่าน

ในฐานะของมหาวิทยาลัย เราทำการศึกษานโยบายของ Creative Network ในประเทศไทย และนโยบายของประเทศต่างๆ เพื่อที่จะเอามาเชื่อมโยงเปรียบเทียบ ที่สำคัญก็คือว่า เราพูดกันเรื่องนโยบาย โดยไม่เคยค้นถึงปัญหาที่แท้จริง ในฐานะนักวิจัย การทำงานคือการค้นหาต้นตอของปัญหา การหาหลักฐาน การสร้าง invidence แล้วก็ทำการสังเคราะห์ใน 2 ปีที่ผ่านมาเราทำการสังเคราะห์ วิเคราะห์นโยบายมากกว่า 20 ประเทศ ว่าเขาทำกันยังไง สิ่งที่เราค้นพบคือความต่อเนื่อง งบประมาณเป็นเรื่องรอง แต่ความต่อเนื่อง การสอดคล้อง และการสนับสนุน ตั้งแต่คนตัวเล็กตัวน้อย ไม่ว่าจะเป็น freelance ศิลปินเดี่ยว ศิลปินกลุ่ม หรือแม้กระทั่งสมาคม เป็นเรื่องสำคัญมาก

การเปลี่ยนแปลง 1 ครั้งไม่ได้เห็นภายใน 4 ปีของนักการเมือง แต่เห็นในช่วงอายุของระบบการศึกษาของเด็ก 1 คนที่ตั้งแต่เข้าเรียน อนุบาล ประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเห็นคือความเชื่อมโยงของรัฐบาลในเชิงต่างๆ กระทรวงศึกษา กระทรวงศิลปวัฒนธรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) แม้กระทั่งสำนักนายกที่ดูแลพื้นที่สร้างสรรค์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้มันเป็นการเชื่อมโยงที่ในฐานะนักวิชาการ เราเชื่อมโยงให้เห็นถึงข้อดีข้อเสีย evident หวังว่าจะมีโอกาสยื่นเอกสารที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้ให้กับใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน และสมาคมต่างๆ ก็ถือว่าเป็นผู้แทนที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศที่ใช้ความสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศ และมีความเหมาะสมกับการสร้างพื้นที่สนับสนุน โดยไม่ติดขัดในแง่นโยบายของภาครัฐ หรือกฎหมายต่างๆ

เพราะฉะนั้นกฎหมายเป็นแนวทางที่สำคัญมาก ที่กำหนดโดยนโยบายที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงภาคหน่วยงานทั้งหมด และที่สำคัญคือหลักสูตรการศึกษา สถาบันการศึกษา และเด็กน้อยทั้งหลายที่เกิดมาแล้วก็เรียนรู้กับวัฒนธรรม ที่พวกเราได้ซึมซับผ่านการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และมีความสุข หวังว่าจะได้มีโอกาสยื่นงานวิจัยให้กับทุกท่านที่จะขึ้นมาไม่ว่าพรรคไหนก็ตาม ทั้งฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล ขอบคุณมากค่ะ

 


photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล)

 

MC : ทำอย่างไรที่จะยั่งยืนและพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ คำว่ายั่งยืนยากนะ เอาเป็นว่า ทำอย่างไรที่จะต่อเนื่องได้มากที่สุด เราเชิญไป 10 พรรคการเมือง ตอบรับ 4 พรรค และได้ส่งนโยบายเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมมาให้ทีมงานเราอ่านก่อนส่งไปให้ผู้ทำงานด้านนี้อ่าน แล้วมีคำถามกลับมา และพรรคการเมืองส่งตัวแทนมาขยายนโยบาย ตอบคำถาม จากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตพบว่าใน ปี 2562[5] พบว่าเกือบทุกพรรคมีนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมมากมาย แต่ปี 2566 หายากมีไม่มากนัก อาจไปรวมกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือหมวดสร้างงานศิลปะอุตสาหกรรม ฯลฯ

การเสวนาแบ่งเป็น 3 รอบ รอบแรก 4 กระทู้ ท่านละ 3 นาที

รอบ 1 เกี่ยวกับการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เช่น โครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ นโยบาย การเซนเซอร์

รอบ 2 คำถามจากประชาชน คนทำงานด้านนี้ เป็นคำถามเจาะจงไปที่พรรคใดพรรคหนึ่ง

รอบ 3 ให้แต่ละพรรคพูดถึงนโยบายของแต่ละพรรค ให้เวลาพรรคละ 3 นาที

 


พิธีกรดำเนินรายการ ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย
photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล)

 

รอบที่ 1 เกี่ยวกับการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เช่น โครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ นโยบาย การเซนเซอร์

กระทู้ที่ 1 เสรีภาพในการแสดงออกผ่านผลงานศิลปวัฒนธรรม ควรจะเป็นอย่างไร (เรามีโอกาสสร้างสรรค์งานได้มากแค่ไหนที่เรียกว่าพอดี แค่ไหนเกินไป) สถานการณ์งานเซนเซอร์ในศิลปะในปัจจุบัน เช่น ศิลปินต้อง Self-censor เนื่องจากไม่มั่นใจในเสรีภาพการแสดงออก หรือการจัด Rating ภาพยนตร์ ที่ไม่สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ส่งผลร้ายอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทย ท่านมีความเห็นอย่างไร? และจะแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร?

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

เรื่องเสรีภาพและความหลากหลาย เป็นพื้นฐานสำคัญของคนทำงานสร้างสรรค์ ถ้าขาดเสรีภาพและความหลากหลายไม่สามารถจะไปต่อได้ ไม่สามารถถ่ายทอดจากสิ่งที่คิดแล้วงอกขยายความเป็นเรื่องอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน คนทำภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ จึงเป็นพื้นฐานที่พรรคให้ความสำคัญ สิ่งแรกที่ทำให้ทุกคนประสบปัญหาคือ พ.ร.บ.เซนเซอร์ เรามีตัวอย่างหนังในปีนี้ที่เพิ่งผ่านไปคือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ถูกเซนเซอร์ด้วยการจัดเรตติงแบบที่ต้องอายุ 20 ปี ขึ้นไป ทำให้คนทำงานต้องไปแก้ไขบทใหม่ ตัดต่อใหม่ ต้องทำออกมาเป็น 2 เวอร์ชัน เป็น ‘หุ่นพยนต์’ เรตอายุ 20 กับ ‘ปลุกพยนต์’ เรตอายุ 18 เพื่อให้หนังฉายได้ คำถามคือ คนอายุ 18 สามารถเลือกตั้งได้ แต่ไม่สามารถดูหนังบางเรื่องได้ เนื่องจากกรรมการเซนเซอร์ส่วนหนึ่งมาจากราชการ อีกส่วนจากเอกชนที่บางคนเป็นข้าราชการเก่ามา เกษียณแล้วก็มาเป็นกรรมการเซนเซอร์ต่อ

ระบบเซนเซอร์ที่พรรคก้าวไกลเสนอคือระบบที่ทั่วโลกยอมรับ

1. คนที่ทำหน้าที่เซนเซอร์ต้องเป็นคนที่ประกอบอาชีพในการทำงานด้านนี้เป็นหลัก แล้วก็รับผิดชอบตัวเอง เพราะเขาต้องตอบคำถามกับสังคมถ้ามันเกิดปัญหาอะไรขึ้น ในโลกนี้ที่คนเปลี่ยนแปลงกันไปหมดแล้วเขาก็เจริญก้าวหน้า เช่นในเกาหลีก็เปลี่ยนเป็นระบบ Self-censor ในอิตาลีก็เพิ่งเปลี่ยนระบบ Self-censor เพราะปัญหาทางการเมือง

2. เรื่องระบบ IP เนื่องจากเป็นต้นทางที่จะขยายความไปเรื่องอื่นๆ ในภาพยนตร์โดนหนักมาก ต้องไปดูวิธีการจด IP กันใหม่ คือตัวทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้น เพื่อให้คนเริ่มต้นคิดเป็นเจ้าของ IP ได้ มีสัดส่วนในการแบ่งได้มากขึ้น

3. การคุ้มครองเสรีภาพของคนทำงาน เช่นใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องต้องจัดการเรื่องนี้

 


photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล)

 

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

ในนามนักออกแบบดิฉันเข้าใจในปัญหาการเซนเซอร์ไม่ว่ารูปแบบใด ประเทศไทยก็มีมาตรฐานในส่วนหนึ่งแล้วนะคะ การที่รู้สึกไม่มีเสรีภาพในบางจุด ถูกละเมิด จริงๆ นำเสนอในองค์กรที่เป็นส่วนกลางที่จะเป็นคนตั้งมาตรฐาน มาตรการนั้นไว้นะคะ เพื่อว่าอย่างน้อยประเทศไทยเราก็ยังต่างจากประเทศอื่น จำเป็นต้องมีศีลธรรม งานแสดงไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรืออื่นๆ ต่างก็ต้องได้รับนโยบายส่วนรวมจากประเทศ เพื่อสร้างให้เกิดค่านิยมอันดีแก่เด็กและเยาวชนนะคะ

ดิฉันเป็นผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนด้วย เห็นปัญหามาเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ จากการที่เด็กเห็นตัวอย่างไม่ดี ถึงแม้ไม่ใช่ภาพยนตร์ อาจเป็นละคร เป็นอนิเมะ ฯลฯ ที่อยู่ในสื่อโซเชียล เด็กได้รับทราบจากสื่อภาพต่างๆ ที่ทำให้เกิดการกระตุ้น ทำให้เขาทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ ดังนั้น อยู่ที่นโยบายหลักของศูนย์รวมจากส่วนกลาง ที่จะทำให้เด็กได้รับสื่อดีๆ นี่เฉพาะในแง่มุมของ Entertainment แต่เราพูดถึงศิลปวัฒนธรรมไทยด้วย แน่นอนว่ามันต้องสื่อออกมาในลักษณะของการมีสุนทรียภาพ สร้างสรรค์ ทำให้ระดับชาติยอมรับด้วย ในแง่ Entertainment ยังมีอีกหลายจุดที่ประเทศไทยต้องพัฒนาในด้านเทคโนโลยี จำเป็นต้องศึกษามาตรฐาน มาตรการ จากต่างประเทศด้วย ขอให้มีมาตรฐานที่เป็นเส้นบางๆ ทำให้ประเทศไทยมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นสากลได้ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยด้วยค่ะ

 


photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล)

 

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

ผมสงสัยว่าตอนที่ท่านอังคารแต่ง “เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย” ท่านคิดไหมว่า จะต้องถูกเซนเซอร์  ผมคิดว่าจินตนาการในเรื่องศิลปะร่วมสมัย หรือแม้แต่ศิลปะแขนงอื่นๆ ก็ตาม ถ้าเราจัดว่าเป็น Soft power เปรียบเทียบระหว่าง Hard Power กับ Soft Power นี่ Hard Power จะแข็งแกร่งมากหากอยู่ใต้อำนาจของเผด็จการ แต่ Soft Power จะเบิกบานมากถ้าอยู่ใต้อำนาจของประชาธิปไตย การที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีการแสดงออกได้เป็นปัจจัยสำคัญ ในการที่จะทำให้ศิลปะเติบโต ถ้าเรามองในแง่ศิลปะร่วมสมัย ภาพยนตร์ หนังสือ หรืออะไรก็ตาม จะทำอย่างไรให้ศิลปะเหล่านี้กลายเป็นเครื่องยนต์สำคัญ ในการที่จะทั้งแสดงออกทางความคิดเห็น ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ ที่จะผลักดันประเทศไทยให้ก้าวต่อไป เป็นประเทศที่มีรายได้สูง ประชาธิปไตย และโอกาสในการแสดงออกเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นถ้าหากเราคิดเรื่องนี้ ต้องบอกว่าจะทำยังไงให้กฎหมายต่างๆ ที่ ณ วันนี้อาจไม่ทันกับยุคสมัย เช่น พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี 2551 ซึ่งเป็นต้นตอการเซนเซอร์ของภาพยนตร์ “หุ่นพยนต์” หรือการจัดเรตติงของ “Bad Boy Band” เป็นปัญหาที่พูดคุยกัน ถึงจุดหนึ่งต้องกลับมาทบทวนแล้วล่ะครับ แต่ล่าสุดผมทราบว่ามีการทบทวนให้เข้มงวดมากขึ้น งั้นบทบาทของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่นี้จะต้องไม่ใช่เป็นเรื่องของการกำกับดูแล ต้องเป็นการส่งเสริมให้ศิลปะต่างๆ ได้เติบโต

นโยบายของพรรคเพื่อไทยคือว่า ทำอย่างไรจะสามารถไปแก้ไข พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ แก้ไขกฎกระทรวงก่อน ปรับให้มีความคล่องตัวมากขึ้น สุดท้ายแล้วต้องแก้ไขที่ตัว พ.ร.บ. ด้วย อยากเห็นเป็นยังไง มีมาตรฐานในต่างประเทศที่เป็นต้นแบบอยู่แล้ว เช่น ของอเมริกาที่เป็น Motion Picture Assosiation ซึ่งปล่อยให้สมาคม ประชาคมของคนที่ทำงานศิลปะได้ดูแลกันเอง แนวคิดของการเซนเซอร์ต้องหมดไป หน่วยงานศิลปะในประเทศไทย กลายเป็นกลุ่มที่ถูกเซนเซอร์มากที่สุดในขณะนี้ ถ้าเปรียบกับสื่อมวลชนแขนงอื่นๆ โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ อะไรต่างๆ การเซนเซอร์ต้องเปลี่ยนเป็นว่าแทนที่จะ เซนเซอร์หรือจัดเรตติงโดยรัฐ ต้องให้ประชาคมของศิลปวัฒนธรรม ได้ดูแลกันเอง น่าจะเป็นจุดที่ทำให้การเริ่มต้นเติบโตของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในประเทศไทยได้ก้าวหน้าต่อไปครับ

 


photo : CAPT : สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล

 

ดร.เมลิสา มหาพล : พรรคไทยสร้างไทย

ดิฉันมาในฐานะพรรคไทยสร้างไทย และ ศิลปิน การที่จะมีผลงานออกมาสักผลงานหนึ่งแล้วจะต้องถูกเซนเซอร์ มันเหมือนกับเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงออกทางความคิด บางครั้งมันไม่ถูกแสดงออกมาอย่างเต็มกำลังเต็มความสามารถ เรารู้สึกมีกรอบบางอย่างครอบอยู่ ให้คนเข้าใจไปในทิศทางที่เหมาะสม อาจมีกรอบบางอย่างที่ตั้งใจไว้ว่า ไม่อยากให้ใครเข้าใจอะไร หรือได้รับรู้อะไรที่นอกเหนือจากกรอบนี้ ถึงเกิดมีการเซนเซอร์ตรงนี้ขึ้นมา แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ทำหน้าที่เซนเซอร์จริงๆ แล้วควรจะต้องหลากหลาย เป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจในงานศิลปะ ที่เราหมายถึงต้องมีการ Self-censor ไม่ได้หมายถึงแค่ภาพยนตร์ ไม่ว่าผู้ผลิตหรือตัวศิลปินเองก็จะต้องมีจรรยาบรรณของตัวเองอยู่แล้ว ในการที่เราจะถ่ายทอดอะไรออกมา รวมถึงในงานประเภทอื่นๆ ด้วย ภาพวาดก็เช่นเดียวกัน ฯลฯ

เคยมีข่าวออกมาประมาณ 3 ปีที่แล้วมีการวาดภาพอุลตร้าแมน[6] เกิดเป็นกระแสสังคมที่ค่อนข้างแรงมากๆ ถามว่ามีถูกผิดไหม จริงๆ มันไม่มีเส้นที่จะมาขีดถูกหรือผิดได้ เพราะเป็นสิ่งที่แล้วแต่มุมมอง บางอย่างบางคนอาจจะมองว่าผิดเพราะมันเป็น Norm (บรรทัดฐาน) ของสังคม ที่ถูกกำหนดไว้ว่าแบบนี้คือถูกแบบนี้คือผิด แต่ผลงานศิลปะเป็นการแสดงออกทางความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่จะเป็นคนที่คิดนอกกรอบ สิ่งที่เขาแสดงออกมาบางครั้งอาจจะนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่ารับไม่ได้ หรือบางครั้งอาจจะผิดแผกหรือแตกต่างจากที่เคยเป็นมา พรรคไทยสร้างไทย เราพูดเสมอเรื่องการสนับสนุนสิทธิเสรีภาพ ถือว่าเป็นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน เรามีสิทธิ์ที่จะพูดจะทำอะไรก็ได้ที่เราอยากพูดอยากทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราเป็นคนไทยถูกปลูกฝังมาในวัฒนธรรมอันดีอยู่แล้ว ถ้าผลงานถูกบล็อกอาจทำให้มีผลกระทบต่อการแสดงความคิดให้ชาวโลกรู้ว่าจริงๆ แล้วเราอยากจะนำเสนอความคิดอะไรออกไปแบบไหนค่ะ

 


photo : CAPT : สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล

 

กระทู้ที่ 2 สวัสดิการ สวัสดิภาพ และค่าจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมศิลปะ

ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีสหภาพแรงงานศิลปะ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ค่าแรงและเวลาทำงานไม่สอดคล้องกัน ไม่มีสวัสดิการ รัฐไม่รับรองสถานะอาชีพศิลปินและนักสร้างสรรค์ จึงขาดโอกาสเข้าถึงธุรกรรมต่างๆ เช่นประกันสังคม การกู้เงิน การขอวีซาเดินทาง ท่านมีนโยบายแก้ปัญหานี้อย่างไร ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านหน่วยงานรัฐส่งเสริมดูแลดี

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

นอกจากองค์กร 4-5 แห่งที่จัดงานในวันนี้ เชื่อว่าประเทศไทยยังมีอีกหลายองค์กร ที่สามารถจะมาร่วมกันเป็นสหภาพแรงงานได้ แล้วก็จะเป็นองค์กรที่มี power มากในการที่จะ คัด ปรับ นำเสนอศิลปินเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ หรือคุณตาคุณยายที่เป็นศิลปินในต่างจังหวัด เพราะเราต้องพูดถึงภาพรวม เนื่องจากเป็นศิลปวัฒนธรรมของไทย นอกจากนั้นยังเป็นศิลปิน freelance หรือใครก็ตามที่มีใจในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ต่างต้องเข้ามาสู่ระบบที่รัฐจัดตั้งขึ้นโดนผ่าน สหภาพฯ เชื่อว่าน่าจะมีความพยายามหลายครั้งแล้วของภาครัฐที่จะนำทุกท่าน สถาบัน องค์กร ผลักดันขับเคลื่อนศิลปวัฒนธรรมของไทย คงจะบรรจุช่วยเหลืองานกันอยู่ เพียงแต่ยังไม่เคยวางกรอบระเบียบหรือว่าจัดตั้งให้เป็นรูปธรรม

ในการทำงานครั้งนี้ แน่นอนว่าพอมีสหภาพแรงงานที่เป็นรูปธรรม แล้วสามารถอยู่ในทุกยุค ทุกสมัย ทุกพรรค ต่อให้ 4 ปีเปลี่ยนรัฐบาลก็ยังอยู่ ท่านสามารถที่จะคัด ปรับ และพัฒนาศิลปินเหล่านั้น แล้วจะนำมาสู่สวัสดิการ ประกันสังคม ฯลฯ เช่นเดียวกับที่เราอยู่ในระบบองค์กรเอกชน น่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก เพียงแต่ตอนนี้ศิลปินก็กระจัดกระจาย แบ่งเลเยอร์แบบไทยบ้าง แบบท้องถิ่นบ้าง แบบในเมือง แบบสากล แบบอิสระบ้าง ซึ่งยังไม่ถูกรวบรวมมาเข้าร่วมกันนะคะ แน่นอนก็ต้องจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยองค์กรที่มีความรู้อย่างท่านนี่ล่ะค่ะ (หมายถึงผู้จัดงาน) เข้ามาร่วมมือกับรัฐบาล เพื่อจัดสวัสดิการให้กับศิลปินเหล่านั้น โดยการ คัด ปรับ พัฒนา ขอบคุณค่ะ

 


photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย)

 

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

ประเด็นนนี้มีสองเรื่องที่จะต้องพิจารณานะครับ เรื่องแรกเกี่ยวกับการจัดตั้งสหภาพแรงงาน คนที่ทำงาน freelance หรือประเภทศิลปินนักสร้างสรรค์ไม่มีองค์กรสังกัด การตั้งสหภาพแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำคือการไปแก้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แต่ก่อนแก้ ขั้นตอนแรกที่ต้องทำคือ ให้สัตยาบันของ ILO ที่ 87/98 เพื่อที่จะบอกว่าเราสามารถที่จะแก้กฎหมายนี้ให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงาน โดยที่ไม่ได้เป็น แรงงาน หรือ คนทำงานที่อยู่ในองค์กรธุรกิจ ประมาณนี้ การแก้กฎหมายถ้ามีเสียงข้างมากไม่ยากครับจะแก้ได้ ตอนนี้มีสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ที่พยายามก่อตัวกันขึ้นมา มีการพูดคุยกันเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ผมคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

ประเด็นที่สองคือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนในวงการนี้ จะทำอย่างไรให้สามารถที่จะรวมกลุ่มกันแล้วมีสถานภาพทางกฎหมายด้วย เปรียบเทียบว่าคนในวงการสาธารณสุขมีแพทยสภา สภาพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นองค์กรตามกฎหมาย ถ้าเราคิดว่าคนที่ทำงานศิลปะถือว่าเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าแพทย์ พยาบาล จะต้องคุยอย่างเอาจริงว่า สหภาพทางกฎหมายของคนที่ทำงานด้านนี้จะมีไหม จะเป็น พ.ร.บ. แบบไหน ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยกัน ทำยังไงให้มีการมาร่างกฎหมายแล้วก็เสนอ ค.ร.ม. อาจจะเสนอมาที่ เพื่อไทย ก็ได้เป็นแกนนำรัฐบาลก็จะนำเสนอ แล้วไปพิจารณาในสภา

ประเด็นต่อเนื่องเรื่องค่าแรงในเวลาทำงาน วันนี้ปัญหาอยู่ที่ศิลปะร่วมสมัย Soft Power ของประเทศไทยไม่มีโอกาสสร้างรายได้มาก เมื่อมีปัญหาว่ารายได้น้อยนายทุนก็มากดค่าแรง สิ่งที่เราต้องทำคือ พยายามส่งเสริมให้องค์การศิลปะร่วมสมัยออกไปสู่ตลาดโลก ตรงนั้นค่าแรงจะถูกปรับให้เหมาะสมสอดคล้องยิ่งขึ้น

ดร.เมลิสา มหาพล : พรรคไทยสร้างไทย

ตัวอย่างเช่น จิตรกรมีคนที่ประสบความสำเร็จแต่ยังมีอีกมากมายที่ยังไม่มีชื่อเสียง เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นคุณค่าของงานศิลปะ ภาพภาพหนึ่งยังไม่ได้เอาไปขายต่อที่ร้านบางครั้งอาจจะได้แค่หนึ่งพันบาท แล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะวาดภาพนั้นแค่หนึ่งวัน ถ้ามาหารเฉลี่ยกับจำนวนวันที่ต้องทำงาน อาจจะน้อยกว่าแรงงานขั้นต่ำที่ต้องได้ในแต่ละวัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอยู่แล้ว หน่วยงานของรัฐต้องโอบอุ้มคนกลุ่มนี้ โดยไปร่วมกับ Platform ของต่างประเทศ แล้วเป็นตัวกลางช่วยนำเสนอเพื่อขายผลงานศิลปะ ศิลปินขายเองภาพขนาดใหญ่อาจจะได้แค่หนึ่งพันบาท ถ้าเราขายใน Platform อาจได้หนึ่งร้อยหรือหนึ่งพันยูเอสดอลลาร์ พอคิดเป็นเงินไทยจะมีมูลค่าที่สูงขึ้น อาจมีเรื่องแบ่งปันผลประโยชน์กัน ให้ศิลปินกับส่วนกลางเป็นการเพิ่มช่องทางช่วยให้ศิลปินขายผลงานเพิ่มมากขึ้น

นโยบายของทาง พรรคไทยสร้างไทย คือ สร้างพลัง สร้างรายได้ สร้างโอกาส มองเห็นความสำคัญของคนตัวเล็ก ศิลปินถือว่าเป็นคนตัวเล็กนะคะ เรื่องของภาษีรายได้ก็จะมีการไม่เก็บภาษีคนตัวเล็กที่มีรายได้สุทธิไม่เกินสามแสนบาท และมีเรื่องของ กองทุนสร้างไทย สามแสนล้านบาท อาจจะทำให้คนตัวเล็กอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ Start up ธุรกิจอะไรขึ้นมาสักอย่าง เช่น อาจไม่ใช่เรื่องงานศิลปะ อาจเป็นอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น การส่งเสริมผ้าไหมก็ถือว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกัน เป็นวัฒนธรรมของเราค่ะ

 


photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล)

 

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

เรื่องอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ เราอาจไม่ค่อยรู้สึกกับคำว่า ‘แรงงาน’ เท่าไรแต่พอไปดูสายโซ่ของคนที่ทำงานอยู่ในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะคนที่อยู่ปลายสายโซ่ของอุตสาหกรรม เช่น ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมบันเทิง ปลายสายโซ่ของคนกลุ่มนี้มันถูกไล่เบี้ยไปจนติดดินมาก เราจะเห็นได้ว่าปัญหากับข้อเท็จจริงมันปรากฏให้เกิดคำถามว่า ทำไมคนที่อยู่ปลายทางเหล่านี้ คนยก reflex คนประกอบฉาก คนเก็บของ คนที่ไปเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้ศิลปินเบอร์หนึ่ง ระยะเวลาในการทำงานของเขาต่อวัน 16 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น สัญญาในการว่าจ้างไม่มีเป็นเรื่องเป็นราว เพียงเรียกมาทำงานจ่ายกันเป็นรายวัน เขาทำงานเสี่ยงอันตรายเช่น ในกลุ่มที่เป็นสตั๊นท์แมน ค่าจ้างเขาควรต้องบวกค่าเป็นนักเสี่ยงภัยด้วย ข้อเหล่านี้พรรคก้าวไกลได้มองแล้วก็ได้พูดคุยถึง วิถี แนวทางที่พรรคเสนอ คือ

  1. แรงงานสร้างสรรค์ ในอนาคตข้างหน้าอาชีพที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ก็คือคำว่า Freelance แรงงานอิสระ จะเป็นอาชีพที่ขยายกลุ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คือ จ้างตัวเองเป็นเจ้านาย เพราะฉะนั้นในกฎหมายแรงงานต้องปรับให้อาชีพนี้เข้ามาอยู่ในระบบให้ได้ จะได้เกิดสิ่งที่มันตามมาก็คือ เรื่องอัตราค่าจ้าง เรื่องการทำสัญญาอย่างเป็นธรรม เรื่องการจัดตั้ง สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ ในคำว่า “สหภาพแรงงานสร้างสรรค์” มันมีเงาๆ เกิดขึ้นอยู่ในหลายกลุ่มมาก เขาอยากตั้งสหภาพแรงงาน เขาก็รวมตัวกันเรียกชื่อไว้อย่างไม่เป็นทางการ แต่ว่าเราจะทำอย่างไรให้สหภาพแรงงานพวกนี้มันอยู่ในระบบได้
  2. ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ก็คือเรื่องระบบประกันสังคม ถ้าเข้ามาอยู่เขาก็จะได้ใช้สิทธิประโยชน์เหมือนคนทำประกันสังคมในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เงินชดเชยในขณะที่เขาป่วย โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านไป คนเหล่านี้ชีวิตลำบากมาก นักดนตรีกลางคืนชีวิตลำบากสาหัสมาก พรรคก้าวไกล ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ครับ

 


photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล)

 

กระทู้ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานงานศิลปวัฒนธรรม เพราะ ศิลปวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องของศิลปินเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน เช่นเดียวกับ เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ หรืออื่นๆ พรรคของท่านมีนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงศิลปวัฒนธรรม อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมได้อย่างไร

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

คนตั้งคำถามเก่งมากนะคะ ข้อนี้มีสาระล้อกันมาตั้งแต่ข้อสองเลย เพราะเราไม่ได้พูดถึงศิลปินคือคนที่เป็นศิลปินมาตั้งแต่เกิดถูกไหมคะ เราบอกว่าวันนี้ถ้าเด็กไม่มีความรู้เรื่องศิลปะ แต่เขาได้เข้าถึงแล้วก็เรียนรู้ เขาสามารถสร้างการ์ตูนส์เรื่องหนึ่งด้วยตัวเองได้ เขาสามารถแต่งเพลงแรป หรืออะไรก็ตามที่นำเสนอในสังคมได้ เราเรียกเขาว่าศิลปินหรือยังคะ ถ้าเราเรียกแล้ว เขาก็จะเป็นหนึ่งคนที่เราพูดว่า ศิลปวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องของศิลปินเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน คุ้นๆ ไหมคะ มันเหมือนที่เราบอกว่า เรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องของนักการเมืองเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน

เด็กหรือคนแก่ที่กำลังนั่งสานตะกร้าก็คือศิลปิน แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภาครัฐบาลสามารถที่จะตั้งองค์กร คือเน้นเรื่องนี้เพราะว่าจะเป็นศูนย์กลางนำคนที่มีความรู้อย่างท่าน (หมายถึงคณะจัดงาน) เป็นผู้ที่สร้างมาตรฐานให้กับคนที่ต้องการพัฒนาทักษะ หรือเพิ่มพูนทักษะที่เขามีอยู่ คนที่ไม่มีก็ทำให้เกิดมีความเป็นศิลปินหรือทำงานศิลปะได้ถูกไหมคะ อย่างดิฉันเรียนมาก็พูดได้ว่าเป็นนักออกแบบ เป็นศิลปิน แต่ถ้าคนที่ไม่เรียนมาไม่ใช่ศิลปินเหรอคะ คำถามนี้ก็มีคำตอบอยู่แล้วว่า ไม่จริง เพราะว่าประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการเป็นศิลปิน และศิลปวัฒนธรรมของไทยได้ทั้งนั้น

นโยบายของพรรคคือการสร้างระบบ upskill หรือ reskill โดยการที่ใช้เทคโนโลยีดึงดูดคนเก่งค่ะ คนเก่งเกิดจากการที่เขาเรียนรู้แล้วเขาเก่งขึ้นมาใช่ไหมคะ แล้วคนที่มีพรสวรรค์ล่ะคะ เขาอาจจะไม่มีโอกาสเรียน แต่ถ้าเขาได้รับการฝึกฝน และก็ฝึกทักษะจากนโยบายของรัฐ จากสหภาพแรงงาน เขาก็สามารถที่จะเป็นศิลปินได้ ดังนั้นกองทุนที่รัฐบาลจากพรรคภูมิใจไทยจะสร้างขึ้น จะตอบโจทย์ในการสร้างประชาชนคนไทยให้สามารถเป็นศิลปินได้นะคะ ขอบคุณค่ะ

 

 

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

โครงสร้างพื้นฐานที่เราต้องการมีอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาคน อย่างที่สองคือโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาคน วันนี้เรามีคนจำนวนไม่น้อย เด็กจำนวนไม่น้อยที่มีพรสวรรค์ มีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองในด้านศิลปะ ไม่ว่าจะแขนงไหนก็ตาม แต่เด็กจำนวนไม่น้อยหรือส่วนใหญ่ด้วยซ้ำไป ไม่ได้โชคดีที่เกิดมาในครอบครัวที่สนับสนุน สิ่งที่เราต้องพัฒนาคือโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ สามารถนำไปสู่การเจียระไนทุกคนที่มีความต้องการที่จะเป็นเชฟทำอาหาร ศิลปินนักร้อง นักเขียน นักดนตรี หรือ E-sports ฯลฯ พวกนี้ถ้าเกิดมาในครอบครัวที่โชคดีก็สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ แต่จำนวนไม่น้อยที่ไม่มีโอกาสอย่างนั้นนะครับ

นโยบายของพรรคเพื่อไทยคือว่า เรามีนโยบาย หนึ่งครอบครัว หนึ่ง Soft Power จะเน้นให้สถาบันการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระดับอำเภอ สถานอาชีวะศึกษาทั้งเอกชนและรัฐบาล 800 แห่งทั่วประเทศ จะมีระบบลงทะเบียนว่า แต่ละครอบครัวมีใครสนใจที่จะพัฒนาความสามารถเชิงสร้างสรรค์ของตัวเองในแนวไหนบ้าง แล้วลงทะเบียนเข้าไปฝึกอบรมตั้งแต่ในระดับอำเภอ แล้วค่อยไต่ชั้นขึ้นมาระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ถ้าหากเขามีพรสวรรค์แล้วพัฒนาได้มากขึ้น หรือเราสามารถนำเอาผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเข้ามาเพื่อที่จะฝึกอบรมให้กับคนในอุตสาหกรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่นเกาหลีใต้ที่ทำช่วงแรกเอาผู้กำกับดังๆ จากฮอลลีวูดมาช่วยอบรม

ในแง่ของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเรื่อง reskill คนทั้งประเทศ เป็นเป้าหมายสำคัญที่เราเรียกว่านโยบาย OFOS[7] : One Family One Soft Power เราตั้งเป้าหมายว่า 20 ล้านครอบครัว จะต้องมีอย่างน้อย 20 ล้านคนที่เชี่ยวชาญแขนงใดแขนงหนึ่ง

ส่วนที่สองคือการพัฒนาอุตสาหกรรม เราจะต้องทำให้คนมีโอกาสที่จะแสดงความสามารถมาก แล้วทำให้อุตสาหกรรมนี้เฟื่องฟูเติบโต ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงกับอันแรกอย่างเช่น ในระดับตำบลจะมี หนึ่งตำบลหนึ่งลานสร้างสรรค์ ในระดับจังหวัดเราประกาศว่าจะต้องมี TCDC[8] ทุกจังหวัด (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center) ทำให้คนสามารถที่จะเข้ามาค้นหาแล้วก็พัฒนาตัวเองได้ ในระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ก็จะต้องมีโรงหนังดีๆ ใน TCDC ไม่มีปัญหาว่าโรงหนังถูกจำกัดให้ฉายเฉพาะหนังนอกเท่านั้น TCDC สามารถจะฉายหนังดีๆ รวมทั้งมี Amphitheatre (พื้นที่การแสดงกลางแจ้ง) ดีๆ สำหรับการจัดแสดงดนตรีดีๆ ตรงนี้จะเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้ทุกๆ คนมีความรู้สึกว่า มีเวทีให้เขาแสดงออกและมีอุตสาหกรรมที่เขาจะเติบโตไปด้วยได้ เรามีสนามกีฬาเยอะแยะ ตรงนี้ทำยังไงให้เราได้มีสนามสร้างสรรค์มากมายด้วย

ดร.เมลิสา มหาพล : พรรคไทยสร้างไทย

ทุกวันนี้เรื่อง Soft Power มีผล มีกระแส มีอิทธิพลกับคนสมัยนี้มากต่อการพัฒนาประเทศ สมัยก่อนเราอาจจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของการศึกษา วิชาการต้องเด่นต้องเป็นเลิศ ตอนนี้ยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนไป การเป็นศิลปินบางครั้งผลตอบแทนที่ได้อาจจะไม่ได้สูงนัก แต่ขั้นตอนกว่าจะมาเป็นศิลปินถ้าไม่ได้มีพรสวรรค์ต้องไปเรียนหรือหาครูมาสอน แต่เรารู้กันอยู่ว่าหลายครอบครัวไม่ได้รับโอกาส การเรียนอะไรที่นอกเหนือจากหลักสูตรในโรงเรียน ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นถ้าเราจะแก้ไขตั้งแต่โครงสร้าง จะต้องเร่งพัฒนาตั้งแต่ระบบการศึกษา ต้องมีวิชาที่สามารถส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กในโรงเรียน ศิลปะมีหลายแขนง ศิลปะการทำอาหาร ศิลปะการต่อสู้ เช่น มวยไทยของเรา ฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างที่พูดมาล้วนเป็น Soft Power ที่สร้าง Impact (ผลกระทบ) กับคนไทยได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ที่มีความฝันแล้วผู้ปกครองไม่สามารถสนับสนุนได้ ถึงแม้ว่าอยากจะสนับสนุนค่ะ

พรรคไทยสร้างไทย เรามีนโยบาย Thainess Economy Super Soft Power[9] เราจะสนับสนุนในทุกด้านทุกมิติที่เป็น Soft Power เพราะเราเล็งเห็นว่าการพัฒนาคน ต้องวางฐานที่การพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการสร้างรากฐานให้แข็งแรงตั้งแต่ต้น เท่ากับว่าเด็กจะได้ถูกพัฒนาเป็นบุคลากรที่สมบูรณ์พร้อมอย่างเต็มรูปแบบในสิ่งที่เขาสนใจ และมีความสามารถ ไม่จำเป็นว่าเด็กไทยจะต้องเรียนเก่งอย่างเดียว อาจจะมีทักษะหลายอย่างที่นำไปประกอบอาชีพได้ ตรงนี้จะส่งผลเป็นวงจรว่า เมื่อเขามีความถนัดในสิ่งนั้นแล้วได้รับการสนับสนุนและมีการเปิดกว้าง ค่านิยมที่มีคนพูดให้ได้ยินบ่อยมากว่า “เป็นศิลปินไส้แห้ง” คำนี้จะได้หมดไปสักที เพราะจริงๆ แล้วศิลปินเป็นบุคคลที่มีความสามารถทำอะไรได้มากมายหลายอย่าง แต่อาจถูกจำกัดด้วยเรื่องสิทธิ การแสดงออก หรือทุนทรัพย์ที่เขาอาจจะมีจำกัดด้วยค่ะ

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

ผมว่าเรื่องนี้ต้องมาทำความเข้าใจกับ concept หรือวิธีคิดก่อน ว่าทำไมเราถึงไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี สิ่งแรกเลยคือความเข้าใจคำว่า “ศิลปะ” ต้องเข้าใจคำว่า “สุนทรียศาสตร์” มันแยกออกจากชีวิตประจำวันของเรา เพราะฉะนั้นเราต้องไปปูพื้นฐานของความเข้าใจไปสร้างโครงสร้าง สร้างระบบ วิธีคิดก่อน ตั้งแต่เด็กผมมีประสบการณ์เป็นคนเรียนศิลปะ ทำงานเป็นอาจารย์สอนศิลปะ[10] , ทำงานที่ TCDC , สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ฯลฯ ปัญหาแรกที่ต้องแก้คือ ทำโครงสร้างให้คนเข้าใจศิลปะ และประโยชน์ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน สร้างคนให้เป็นมนุษย์ ให้เป็นคนที่มีความรู้สึกทางจิตใจ แล้วหลังจากนั้นเราจะเอาค่าอะไรไปแทนกับสื่อความหมายเหล่านั้นก็เกิดขึ้นได้ เช่น ในระบบการศึกษาเราต้องปรับวิธีการสอนวิชาศิลปะใหม่ เราต้องทำให้คนเข้าใจในศิลปะกับชุมชนเพิ่มมากขึ้น

เราต้องมีพื้นที่ที่ทำให้สถานที่ต่างๆ สามารถสร้างแรงบันดาลใจ โดยศิลปะมันต้องการแสดงความรู้สึกของตัวตนออกไปให้กับสังคม มันต้องมีพื้นที่ให้เขาสามารถแสดงออกไปได้ หรือการออกแบบมันต้องการหา solution (วิธีแก้ปัญหา) ใหม่ๆ ให้กับโลกให้กับสังคมได้ สิ่งที่จะทำได้ เช่น เรามีพื้นที่ในระดับจังหวัด ระดับอำเภอให้เป็น Common Space (เป็นพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมโยงทุกคน ให้เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน เสมือนความอบอุ่นผูกพันในครอบครัว) ใครก็ได้ที่คิดว่าฉันเก่งเรื่องนี้ ฉันอยากบอกเรื่องนี้อยากทำเรื่องนี้ ก็เอา express (การแสดงออกทางความคิดหรือความรู้สึกโดยใช้คำพูด) ของตัวเองใส่เข้าไปบนพื้นที่นั้น

เรามีห้องสมุดกันเต็มไปหมด แต่ถ้าเผื่อเรามีห้องสมุดที่สามารถมีผลงานศิลปะและยืมไปติดบ้านได้ เราทำห้องสมุดแบบนี้บ้างได้ไหม แทนที่จะยืมหนังสือ แต่เรามีความชื่นชมกับศิลปะโดยตรง แล้วเราก็ไปยืมรูปภาพจากห้องสมุดไปติดที่บ้านเราสามเดือน เราจะได้ชื่นชมกับความงาม ซึ่งในต่างประเทศมีเยอะแยะไปที่ทำเรื่องเหล่านี้ เราต้องทำงานศิลปะ งานออกแบบ ให้มันเป็นศิลปะและงานออกแบบเพื่อชุมชนให้มากขึ้น เราต้องทำคำอธิบายประโยชน์ของศิลปะทั้งในแง่เศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิต การชื่นชมกับความงามจะทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจมีคุณภาพที่ดี โดยผ่านโครงสร้างต่างๆ ตามที่พรรคก้าวไกลเตรียมไว้ให้ ขอบคุณครับ

 

 

กระทู้ที่ 4 เป็นเรื่องที่อาจจะสำคัญที่สุดด้วยซ้ำไป คือเรื่องงบประมาณครับ การสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในฐานะเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ แน่นอนว่าเมื่อมีการใช้เงินลงไป เราก็หวังว่าจะได้กลับมาเพื่อจะได้หมุนเวียน แล้วก็เพิ่มมากขึ้นๆ เพื่อที่จะสร้างงาน สร้างศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญที่เก่งมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย คือการสร้างสรรค์ต่อยอดสิ่งที่เรามี ไปสู่สิ่งใหม่สอดคล้องกับยุคสมัย และข้ามขีดจำกัดเขตแดนทางวัฒนธรรม รัฐที่พัฒนาแล้วล้วนมีนโยบายและงบประมาณ สนับสนุนการทำงานของศิลปินร่วมสมัย และส่งออกไปทั่วโลก ท่านวางแผนการใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อการนี้อย่างไร และมีเงื่อนไขการเข้าถึงงบประมาณเหล่านี้อย่างไร

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล   

จากประสบการณ์ทำงาน ในเมื่อเรามีนโยบาย มี Direction ในการทำงานที่ชัดเจน สิ่งที่เราอยากได้ตามมาคือตัวงบประมาณ เราอยากได้คนทำงาน แล้วก็ใช้งบประมาณที่ถูกต้อง ดีๆ เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อพรรคก้าวไกลมีโอกาสได้เข้าไปทำงาน สิ่งหนึ่งที่เราจะทำคือนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ชัดเจน และต้องเตรียมเงินเพื่อผลักดันให้นโยบายเหล่านั้นให้เกิดขึ้นจริงได้ ตลอดระยะเวลาที่ทำเราก็จะมีความรู้สึกว่า มีโครงการต่างๆ แต่เวลาขอเงินงบประมาณไม่ได้ พรรคก้าวไกลเตรียมเรื่องนี้ไว้ใน ภาพรวมของโครงการทั้งหมดประมาณ 15,000 ล้านบาท อีก 3,000 ล้านบาท ไปอยู่ในกองทุน เพื่อทำ 2 ระบบ

ระบบแรกคือคนที่ขอ apply ฝั่งงบประมาณของประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งหน่วยงานเดิมและหน่วยงานใหม่ โดยนโยบายจะตั้งสำนักงานรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง แล้วก็ทำงบประมาณโฟกัสเข้าไป ปีนี้เราจะโฟกัสเรื่องอะไรก็ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ หรือ อว. (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) โฟกัสในประเด็นเดียวกัน

ระบบที่สองคือกองทุน จะต้องทำหน้าที่เป็นแหล่งที่จะทำให้เกิดการทดลองในโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น เราต้องการให้เด็กทดลองทางศิลปะ เราต้องการสนับสนุนคนที่ทำด้านดนตรี คนที่ทำภาพยนตร์ หนังสั้น คนตัวเล็กได้มีโอกาสใช้เงินกองทุนไปทดลองโครงการกึ่งธุรกิจได้ รัฐอุดหนุนครึ่งหนึ่งเราอุดหนุนครึ่งหนึ่ง เพื่อทำให้มีความรับผิดชอบร่วมกัน

อันต่อมาคือตัวเงิน support ให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่ทางพรรคเรียกว่า “คูปองเปิดโลก”[11] ปกติถ้าอยากรู้เรื่องที่ยังไม่ต้องออกไป เริ่มเสิร์ชในเน็ตก่อนเราให้ 2,000 บาท ไปเริ่มต้นในคูปองเปิดโลก แต่ถ้าเขาอยากเรียนรู้ในเรื่องอื่นที่เป็นระยะยาว เราจำกัดไว้ให้ 1 ปี 5,000 บาท สำหรับเรียนรู้เรื่องใหม่ ความจริงเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในโลกนี้นะครับ ทั่วโลก ในเยอรมัน ในสิงคโปร์ เขาให้เงินอุดหนุนกับ talent (คนที่มีความสามารถพิเศษ) คนที่ทำงานหน้าใหม่ๆ ในจำนวนที่หลักหมื่นขึ้นทั้งนั้นเลย เราอยากเสนอสิ่งเหล่านี้ให้คนที่ทำงานด้านการออกแบบวัฒนธรรม ขอบคุณครับ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

เรื่องการใช้นโยบายกับงบประมาณ ผมจะคิดต่อจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ ปัญหาที่ต้องตั้งคำถามคือว่า ใครคือเจ้าภาพ เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณพรรคเพื่อไทยเสนอว่าเราต้องมีเจ้าภาพที่รับผิดชอบเรื่องนี้เต็มตัว เพราะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของพรรคเพื่อไทย ถ้าได้เป็นรัฐบาล เราใช้องค์กรที่ถูกออกแบบมา ไม่ใช่องค์กรตามระบบราชการปกติ ไม่ใช่กระทรวงวัฒนธรรม ไม่ใช่กระทรวงศึกษา กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม เราตั้งชื่อองค์กรนี้ว่า Thailand Creative Content Agency (THACCA)[12] จะต้องออกเป็นกฎหมายไม่ใช่องค์กรมหาชน ที่เป็นพระราชกฤษฎีกาซึ่งจะถูกล้มกันได้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นองค์กรตามพระราชบัญญัติ หากจะล้มต้องไปล้มกันในสภา ถ้าเปรียบเทียบอย่างที่ผมคุ้นเคยคือ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นกฎหมาย เป็น พ.ร.บ. ผ่านมา 22 ปีใครก็ล้มไม่ได้

องค์กรนี้มีหน้าที่ของการใช้งบประมาณ กำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศ แล้วเอางบประมาณนี้ใช้ให้คุ้มค่า ทั้งในแง่ของการสร้างคนตามนโยบาย OFOS : 1 ครอบครัว 1 Soft Power แต่ต้องใช้ในแง่ของการส่งเสริมอุตสาหกรรมทุกแขนง ทั้งศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทั้งภาพยนตร์ ดนตรี ฯลฯ ถามว่า แล้วจะใช้งบประมาณแบบไหน องค์กรนี้ถูกออกแบบมาให้คนทำงานเป็นของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะภาคเอกชนที่เป็นคนรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับศิลปะแขนงต่างๆ เหล่านี้ จะต้องเข้ามาช่วยกันคิดแล้วรัฐมีหน้าที่ facilitate (อำนวยความสะดวก) ให้สามารถที่จะเติบโตได้ แล้วที่สำคัญคือ รัฐจะใช้บทบาทของรัฐในฐานะที่รัฐเป็นตัวแทนต่างประเทศ

คำถามวันนี้คือ ไม่ว่าศิลปะแขนงไหนก็ตามถ้าเรายังพัฒนาแล้วดูกันเอง ขายกันเองภายในประเทศ มันไม่เติบโตอยู่แล้ว ตลาดโลกมีอีกตั้งเยอะแยะมากมาย ฉะนั้นทูตของประเทศไทยที่อยู่ต่างประเทศ จะต้องทำหน้าที่ในการนำเอา Soft Power ศิลปะแขนงต่างๆ ของไทยออกไปสู่ตลาดโลกให้ได้ THACCA ต้องทำงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ แล้วดำเนินยุทธศาสตร์ในแง่การทูตเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถผลักดันกิจกรรมต่างๆ ศิลปะแขนงต่างๆ ไปจัดแสดงงานทั่วโลก แล้วสามารถทำให้เวทีโลกมีศิลปินไทยเข้าไปปรากฏอยู่ในนั้น และ THACCA ต้องมีสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ ที่เป็นศูนย์รวมของทวีปนั้นๆ จะเป็นจุดเชื่อมโยงที่ตอบคำเรื่องการใช้งบประมาณในการผลักดันการส่งออกต่างประเทศ ซึ่งต้องใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท

 

 

ดร.เมลิสา มหาพล : พรรคไทยสร้างไทย

เราส่งเสริม Soft Power ในทุกมิติ เรื่องกองทุน 300,000 ล้าน ก็ต้องถูกนำไปใช้ในหลายภาคส่วน เรามองการทำงานให้เป็นการสอดประสานกันทั้งศิลปะและเศรษฐกิจที่จะต้องไปพร้อมกันด้วย ประเทศเกาหลีที่ได้รับความสนใจในเรื่องภาพยนตร์ต้นทุนเขาไม่ได้เข้มแข็งเท่ากับบ้านเรา แต่เขาอาจจะได้รับการสนับสนุนที่ดีกว่า ถ้ามีศิลปินที่อยากทำภาพยนตร์เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม หรือสอดแทรกวัฒนธรรมเรื่องอาหาร การต่อสู้ ฯลฯ ทางพรรคจะสนับสนุนเงินลงทุน เพื่อให้ชาวต่างชาติรู้จักเรามากขึ้น ช่วยกันสร้างภาพลักษณ์ให้ชาวโลกเข้าใจว่าเราเป็นอย่างไรอย่างแท้จริง ให้เขารู้สึกอยากมาท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มเม็ดเงินผ่านศิลปะคือภาพยนตร์ หรืออาจใช้เทศกาลที่คนทั่วโลกรู้จักสนใจอยากมา เช่น สงกรานต์ ฯลฯ อาจนำมาประสานกับสิ่งที่ทันยุคทันสมัยอย่างคอนเสิร์ต S2O (S2O Songkran Music Festival) นอกจากจุดประสงค์เรื่องดนตรี ศิลปินอื่นๆ ก็จะได้มีโอกาสแสดงงานให้ชาวต่างชาติได้ชมด้วย จะส่งผลทำให้เกิดวงจรที่ไม่ได้พัฒนาแค่จุดเดียวเท่านั้น

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

ตามที่พี่แอ๊ดพิธีกรได้พูดว่า ‘ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้ง 3 ด้าน’ เป็นการใช้งบประมาณในระยะกลางคือ ระยะที่ 1 เร่งรัดการลงทุนภาครัฐ โดยการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาส 2 เครื่องยนต์ที่ 2 ด้านการท่องเที่ยวเทศกาล อาจรวมศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย หรือศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วย เรื่องนี้พูดถึงงบประมาณไว้ว่า ‘1 จังหวัด 100 ล้าน’ เพื่อให้เกิดศักยภาพในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด เช่น Thailand Wellness Ecstatic ซึ่งชุมชนเหล่านี้ต้องสร้างสรรค์ใช้งานผ่านอาสาสมัคร 1,000,000 คนจากทั่วประเทศ เราสามารถให้กองทุนภูมิใจไทยสร้างงานได้ค่ะ

 


photo : CAPT (สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล)

 

รอบที่ 2 คำถามจากวงการศิลปะ

เป็นคำถามจากประชาชนคนทำงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ได้อ่านนโยบายพรรค ถามเฉพาะเจาะจงไปที่แต่ละพรรค โดยไม่มีพรรคใดทราบคำถามมาก่อน เป็นเสมือนตัวแทนความคิดเห็นจากประชาชนทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดในนโยบายของพรรคก่อนเลือกตั้ง และยืนยันบทบาทหลังเข้าไปเป็นรัฐบาลแล้ว

คำถามที่ 1 บทบาทของ Thailand Creative Content Agency (THACCA) ที่จะดูแลทั้งระบบเบ็ดเสร็จภายในองค์กรเดียว มีความเหมือนหรือต่างกับบทบาทของ CEA ในปัจจุบันอย่างไร เพราะอำนาจ THACCA ครอบคลุมหลายเรื่องตั้งแต่ ศิลปะ Soft Power ไปจนถึงอาหารและกีฬา THACCA จะสามารถทำงานร่วมกับกระทรวง และหน่วยงานรัฐที่มีอยู่เดิม ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย CEA เป็นองค์การมหาชน ออกตามพระราชกฤษฎีกาองค์การมหาชน ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปบังคับใครได้เลย องค์การมหาชนเป็นอำนาจเชิงโปรโมชัน แต่เราต้องการองค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมาย

และสามารถที่จะใช้อำนาจนั้น เช่น เราต้องการทำ One Stop Service เวลาจัดเทศกาลไม่ต้องวุ่นประสานหลายจุด อำนาจถูกถ่ายมาให้เราจะประสานทั้งหมดเอง ฯลฯ นี่คืออำนาจที่ต่างจากองค์การมหาชน และจะมีงบประมาณของตัวเองที่มากพอสมควร มีกฎหมาย มียุทธศาสตร์ที่จะรองรับอย่างชัดเจน ค.ร.ม. ไม่สามารถล้มองค์กรนี้ได้ อย่างกฤษฎีกาองค์การมหาชนล้มได้ง่ายมาก ถ้าจะล้ม

THACCA ต้องไปล้มในสภาดังนั้นตรงนี้จะมีความยั่งยืนครับ

ประเด็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นได้ไหม เราต้องมองว่ายุทธศาสตร์ของ THACCA เป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ ที่จะส่งเสริมให้รัฐและเอกชนทำงานร่วมกัน แล้วผลักดัน Soft Power ทุกแขนงรวมทั้งศิลปะร่วมสมัยทั้งในประเทศและให้ออกไปนอกประเทศด้วย ต้องมีการแบ่งแยกบทบาทกัน กรณีศึกษาของเกาหลีใต้ก่อนมี KOCCA (Korea Creative Content Agency) กระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยวทำทุกอย่าง แต่พอมี KOCCA แยกงานด้านการส่งเสริมมารวมอยู่ที่นี่ ส่วนกระทรวง MTSC (Ministry of Tourism and Sports) ก็ทำหน้าที่ในบทบาทดูแลวัฒนธรรมส่งเสริมกีฬาไป แต่ถ้าจะส่งเสริมมวยไทยทำให้เป็น Soft Power ระดับโลก กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาอาจไม่มีความคล่องตัวที่จะทำได้ ต้องให้ THACCA ดำเนินการแข่งขันและสร้างกระแสในตลาดโลก ความคล่องตัวไม่อยู่ที่ระบบราชการแล้ว เพราะไม่ใช่หน่วยงานรัฐบาล แต่ต้องมีตัวแทนของรัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจขับเคลื่อนด้วยครับ

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

เท่าที่ผมทราบในโลกนี้มี เกาหลี ไต้หวัน ตั้งหน่วยงานขึ้นมาทำเฉพาะ Creative Content แต่ในยุโรป อังกฤษจะ base on ‘Creative Industry’ ไม่ทำเฉพาะ Content แต่ทำ Industry ทั้งหมด ในอินโดนีเซียก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่ง พรรคก้าวไกลเสนอแบบในยุโรปคือตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลภาพรวมใหญ่ทั้งหมด วิธีคิดมีอยู่หลายวิธีที่ตอบโจทย์

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

ในนามประชาชน องค์กร CEA จัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อไหร่ รัฐบาลสมัยไหนคะท่าน / THACCA ต่อยอดมาจาก CEA เพื่อว่าเปลี่ยนรัฐบาลแล้วจะไม่ถูกล้ม ถูกไหมคะ?

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

น่าจะตั้งแต่ปี 2546 - 2547 รากที่จัดตั้งโดยมี รัฐบาลไทยรักไทยตั้งขึ้นมาโดยองค์การมหาชน หน่วยงานชื่อ OKMD[13] สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกา แบ่งออกเป็น 7 แห่ง มี TCDC TKpark ฯลฯ หลังรัฐประหารทำให้ล้มลุกคลุกคลาน ช่วงหลังตั้ง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)[14] เป็นองค์การมหาชนเหมือนกัน ดูแล TCDC[15] ด้วย (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) THACCA คิดต่อยอดมาจาก CEA เพื่อจะทำให้ยั่งยืน เพราะหลังรัฐประหาร 2549 TCDC เกือบถูกล้มนะครับ ถ้าพัฒนามาเป็น THACCA ออกกฎหมายโดยสภาผู้แทนราษฎรต่อด้วยการรับรองของวุฒิสภา จะทำให้อยู่ยาวนานต่อไป ยกเว้นแต่ว่าหมดยุคสมัยไม่มีใครต้องการก็มาล้มกันในสภาครับ

 

 

คำถามที่ 2 นโยบายเปลี่ยนกระทรวงวัฒนธรรมเป็น กระทรวงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เท่ากับยุบ CEA ใช่หรือไม่ / งานศิลปวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นโดยมิได้ใช้มูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ส่งออกไม่ได้ ก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนเท่ากับงานที่สร้างขึ้นเพื่อส่งออกใช่หรือไม่ / ข้อกังวลนี้สะท้อนจากนโยบายพรรคก้าวไกล ซึ่งเน้นไปที่งานภาพยนตร์ ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจชัดเจน งานศิลปวัฒนธรรมอื่น จะมีพื้นที่เติบโตในนโยบาย พรรคก้าวไกล อย่างไร

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

ชื่อเต็มใหม่ของกระทรวงคือ ‘กระทรวงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์’ เนื่องจากกลุ่มของ ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ถ้า base on ของเดิมมีหลากหลายมาก แต่ตอนเราจัดทำนโยบายได้ grouping 5 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกๆ จะพูดถึงเรื่อง

  1. CREATIVE CONTENT INDUSTRY
  2. เกี่ยวกับทักษะทางด้านศิลปวัฒนธรรม
  3. FUNCTIONAL เกี่ยวกับหน้าที่การทำงาน
  4. CREATECH[16] (CREATIVE+TECHNOLOGY) คือการใช้พลัง Soft Power ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 
  5. กลุ่มที่ไป cross กับ Industry ในเรื่องของสาธารณสุข คมนาคม มหาดไทย

วิธีการวางโครงจะต่างจากเดิม กระทรวงยังทำภารกิจเดิม แต่มีเพิ่มภารกิจอื่นๆ ที่ไม่เคยทำ อันที่ขยายความว่า ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ โดยผ่านหน่วยงานที่เราตั้งชื่อว่า “สำนักงานนโยบายและกองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ดูแลนโยบายและการเงิน ในนโยบายที่ยังทำกันอยู่ เช่น CEA เป็น Promoter ที่จะทำงานในกลุ่มของการออกแบบ ถ้าเป็นกลุ่มของ Technology เรามี DGA[17] เป็นเจ้าภาพ (DGA : Digital Goverment Development Agency บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ Consulting Services)

กระทรวงมีสองขาสำคัญคือ ศิลปะ กับ วัฒนธรรม ที่ยังต้องทำต่อ ถามว่า-แล้วถ้าไม่ได้ทำเพื่อการส่งออกจะได้รับการสนับสนุนยังไง? ถ้าเป็นพื้นฐานเดิมที่เราเห็นภาพกระทรวงทำงานวัฒนธรรม ก็คือแค่วัฒนธรรม แต่ถ้าเผื่อเราเติมคำว่า ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ เข้าไป แล้วปั่นวัฒนธรรมให้ออกไปอยู่ใน “วัฒนธรรมร่วมสมัย” เพื่อไปเจอกับตลาด เราจะเห็นตลาดอีกตลาดหนึ่งเกิดขึ้น แล้ววัฒนธรรมที่เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์มันจะใหญ่มากขึ้น ก็คือตลาดที่อยู่ในต่างประเทศซึ่ง Creative Industry ตลาดต่างประเทศเป็นตลาดใหญ่ที่จะใช้ทำ

อันที่สามไม่ได้โฟกัสไปที่ภาพยนตร์ ถ้าไปอ่านในบาง page ของพรรคอาจจะโฟกัสคำว่า “ภาพยนตร์” ทำให้คนเข้าใจว่าพูดถึงเฉพาะอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ความจริงพูดถึง 5 อุตสาหกรรมที่อธิบายไว้แต่แรกครับ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยนะครับกับการที่บอกว่า ทำให้กระทรวงวัฒนธรรมกลายเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพราะเรามองว่ากระทรวงวัฒนธรรมคือหน่วยงานราชการ ทำตามระเบียบราชการ ถ้าเราจะผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ออกไปทั้งในประเทศและตลาดโลกด้วย ต้องการการคล่องตัวและการตัดสินใจระหว่างภาครัฐภาคเอกชน และ ประชาคมด้านศิลปะ ระบบราชการไม่ได้เปิดโอกาสให้คนที่อยู่นอกระบบมาร่วมตัดสินใจด้วย การที่จะทำให้กระทรวงวัฒนธรรมกลายเป็นเครื่องยนต์ การผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศิลปะร่วมสมัย Soft Power ผมว่าเป็นหนทางที่เราไม่เห็นด้วยครับ

ถามว่าแล้วทำไมถึงคิดว่า THACCA จะทำได้ เพราะเป็นหน่วยงานตามกฎหมาย และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี คนที่จะผลักดันศิลปะต่างๆ ให้เป็น Soft Power ได้ ต้องเป็นคนที่มีอำนาจ แล้วเห็นยุทธศาสตร์นี้เป็นเรื่องสำคัญ ในการที่จะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่จะเป็นคนดูแลหน่วยงานนี้ แล้วหน่วยงานนี้จะ Integrate (บูรณาการ) เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์กับทุกๆ กระทรวง ไม่ใช่ไปฝากไว้ที่กระทรวงวัฒนธรรมเท่านั้นครับ

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

ผมเพียงอธิบายว่ากระทรวงวัฒนธรรมมีสองขาเดิมอยู่แล้วคืองาน ศิลปะกับวัฒนธรรม ที่มีสำนักรับผิดชอบ อีกอันคือ กระทรวงวัฒนธรรมเป็น Regulator (หน่วยงานกำกับดูแล) ของกลุ่มภาพยนตร์ ข้อเสนอของพรรคคือ ตั้งสำนักงานอีกหน่วยขึ้นมาดูแลนโยบายกับกองทุน แล้วทำหน้าที่ในส่วนของ Creative Content เพื่อมาแก้ปัญหารากฐานงาน Creative Content ของไทยที่ไม่ยอมโต คือกลุ่มนักเขียน กลุ่มที่ทำจุดเริ่มต้นในงาน เช่น บทภาพยนตร์ ฯลฯ เพราะฉะนั้นผมยังรักษาขาเดิมของกระทรวงวัฒนธรรมไว้ 2 ขา คืออันเดิมที่ทำอยู่ซึ่งเป็นต้นรากฐาน แล้วหน่วยงานอื่นผมคิดว่ายังต้องใช้เป็นตัวปฏิบัติ หน่วยงานที่จัดตั้งคือ สำนักงานนโยบายและกองทุน

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

เห็นด้วยกับการที่ CEA ปรับเป็น THACCA ว่าเป็นองค์กรเหมาะสมที่จะช่วยหลีกข้อจำกัดต่างๆ จากกระทรวงและระบบราชการ ที่มีมาตรการมาตรฐานของเขา เราไม่ต้องไปเปลี่ยนอะไร เพียงเพิ่มเติมแล้วให้พิเศษขึ้นก็จะดีมาก ขอพระคุณค่ะ

 

 

คำถามที่ 3 จากมูลนิธิละครไทย (Thai Theatre Foundation) ในอเมริกา ถึงพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งทางพรรคมีนโยบาย Creative and Green Economy เสริมอัตลักษณ์ชุมชน : ท่านมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คำว่า Soft Power ไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงการขายภาพลักษณ์ “ไทยนิยม” เท่านั้น

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

ถ้าเรามองว่า คือการขายภาพลักษณ์ “ไทยนิยม” เท่านั้น อาจไม่ส่งผลไปสู่ด้านเศรษฐกิจ เวลาเราจะทำโครงการไม่ได้มุ่งไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือแค่ ศิลปวัฒนธรรม ต้องมองให้ครบทุกด้านว่าเราจะรวบรวมเอา Soft Power ทั้งหลาย มาทำยังไงให้มันเกิด Impact สูงสุด ไม่ใช่การขายภาพลักษณ์อย่างเดียว เราจะได้นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น การเผยแพร่วัฒนธรรม การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มของ GDP ทางพรรคส่งเสริม Soft Power ทุกมิติ อาหาร แฟชั่น สิ่งทอ การต่อสู้ ฯลฯ โดยเฉพาะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่เราจะนำเสนอภาพลักษณ์ได้ชัดเจน เพราะเข้าถึงคนได้ง่าย เช่น บุพเพสันนิวาส ทำให้เกิดกระแสมะม่วงน้ำปลาหวานขึ้นมา ส่วนเล็กๆ เหล่านี้เมื่อมาทำงานสอดประสานกันแล้วทำให้เกิดผลกระทบใหญ่ ถ้ามีคนต้องการให้สนับสนุนเฉพาะส่วนทางพรรคก็ยินดี กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ เรามองในภาพกว้าง ถ้าเป็นการลงทุนก็เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาคใหญ่เท่านั้น แต่ส่งผลถึงคนตัวเล็กๆ ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญด้วย

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

เรื่องไทยนิยมผมคิดว่าอาจจะต้องนิยามว่า ‘ไทยนิยม’ คือความหมายแค่ไหน ผมคิดว่า ‘ไทยนิยม’ ไม่ใช่ ‘ไทยประเพณีนิยม’ เราไม่จำเป็นต้องจำกัดเรื่องความเป็นไทยอยู่ที่ไทยประเพณีเท่านั้น จริงๆ แล้วความเป็นไทยเป็นแต้มต่อด้วยซ้ำไป มวยไทย อาหารไทย นวดไทย เป็นวัฒนธรรมที่เราสามารถต่อยอด ทั้งในเชิงความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการทางศิลปะ รวมทั้งสื่ออื่นๆ ด้วย การทำให้ต่อยอดเป็นเรื่องการวิจัยและพัฒนา ไม่ใช่แค่การสร้างภาพลักษณ์เท่านั้น การติดกับภาพลักษณ์ไทยประเพณีจะทำให้เราต่อยอดไม่ได้ ไม่สามารถวิจัยและพัฒนาต่อยอดได้ ตัวอย่างอาหารไทย หลังการจัดอันดับของมิชลิน (MICHELIN Guide[18]) เราสามารถนำอาหารไทยไปทำให้เกิดมิติใหม่ๆ ทำให้เกิดความน่าสนใจรวมทั้งเป็นคุณค่าที่สามารถจะส่งออกได้ด้วยซ้ำไป

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดอยู่บน Soft Power หรือความเป็นไทย มีความคิดสร้างสรรค์ที่ไปขยายความอื่นๆ ซึ่งมันเป็นโลกอีกโลกหนึ่ง เป็นโลกใหม่ เช่นคำว่า CREATECH (การใช้พลัง Soft Power ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ) ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นไทยเลย แต่เป็นเรื่องที่เราตอบโจทย์อนาคต หรือไปสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมใหม่ เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมคมนาคม เราใช้คำว่า ‘Service Design’ เพื่อไปพัฒนาระบบบริการให้เราเดินทางสะดวกขึ้น ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไปทำให้ระบบบริการของโรงพยาบาลเข้าใจง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง ลดกระดาษลง ทำให้การบริการในกระทรวงมหาดไทยสะดวกเพิ่มขึ้น ด้วยวิธีที่เราเรียกว่า ‘Design Thinking’ ฐานของวิธีคิดข้ามไปอีกกลุ่มอุตสาหกรรมแล้ว

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

ไทยนิยมอาจจะหมายถึงต่างชาตินิยมผู้กำกับไทยสร้างหนังสไตล์ไทย หรือลูกหลานเราที่สามารถสร้างเกมส์ หรืออนิเมะ แม้ไม่มีเอกลักษณ์ไทย แต่ก็ทำให้เกิดความภูมิใจในเด็กไทยที่สามารถสร้างคำว่า ‘ไทยนิยม’ ได้ คำนี้มีคุณค่าควรเก็บไว้นะคะ

 

 

คำถามที่ 4 ถามพรรคภูมิใจไทย : กองทุนภูมิใจศิลปวัฒนธรรมไทย มีความตั้งใจที่จะดึงงานระดับโลกมาจัดที่ประเทศไทย และนำเทศกาลของไทยไปสู่ระดับโลก งานที่ว่านั้นมีลักษณะอย่างไร เน้นการท่องเที่ยวเป็นหลักใช่หรือไม่? ทางพรรคมีนโยบายสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมในส่วนอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างไร?

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

เนื่องจากงานศิลปวัฒนธรรมของไทยสอดคล้องกับการท่องเที่ยว มีความเด่นชัดต่างกันในแต่ละจังหวัด แต่ยังไม่ทรงพลังพอที่จะเปิดตลาดในต่างประเทศ ดังนั้นเราต้องสร้างรากฐานที่เข้มแข็งของ Soft Power ให้ยั่งยืนมั่นคงผ่านวิกฤติต่างๆ ได้ เราจะทำ 2 อย่างคือ ดึงและดัน การดึงก็คือดึงงานเทศกาลระดับชาติเข้ามา เช่น เทศกาลพลุ เพลง ฯลฯ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเป็นลูกค้า เห็นวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของแต่ละจังหวัด สร้างงานแบบนี้เป็นกิจจะลักษณะตลอดไป

การดันคือ ดันเทศกาล ดันผลงานศิลปินไทย และประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถ ออกไปสู่งานระดับโลก ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์กรใหญ่ๆ เข้ามาร่วมกันกับกองทุนภูมิใจศิลปวัฒนธรรมไทย เราไม่ทำเฉพาะกรุงเทพฯ แต่สร้างทุกจังหวัดให้เป็นพื้นที่ศักยภาพ มีของดีวิเศษเฉพาะถิ่นที่จะเกิดจากกองทุนนี้ เพื่อนำเสนอระดับโลก

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

งานสำคัญระดับโลกมาที่ประเทศไทยและส่งงานไทยไปสู่ระดับโลก เป็นเครื่องมือสำคัญมากในการพัฒนาศิลปะของเรา เช่น เราเคยมีเทศกาลภาพยนตร์อินดี้ระดับโลก หายไปนานแล้วเพิ่งกลับมาเมื่อปลายปีที่แล้ว (World Film Festival) อย่างงานของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ออกไประดับโลกหรือคนอื่นๆ ได้เห็นงานระดับโลกโดยไม่ต้องเดินทางไปไกล ขณะเดียวกันก็ได้มีโอกาสแสดงผลงานระดับโลกด้วย หรืองานมหกรรมหนังสือจากต่างชาติเข้ามาในไทย ของไทยไปร่วมที่ต่างประเทศได้โดยไม่ต้องกระเบียดเกษียณกันมากนัก มีงบสนับสนุนพอสมควร บทบาทอย่างนี้ THACCA ตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของศิลปะแขนงต่างๆ ถ้า TCEB เป็นองค์การมหาชน ที่ทำเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ ไม่ได้เน้นเรื่องศิลปะ Soft Power เน้นว่าต้องเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีต้องเป็นคนผลักดันเรื่องนี้เองครับ

 

 

คำถามสำคัญจากผู้เข้าร่วมฟังการอภิปรายภายในห้องอเนกประสงค์ 3 ท่าน

คำถามที่ 1 จาก พงศ์สิริ เหตระกูล ผู้อำนวยการจัดเทศกาล Awakening Bangkok และ Siam Music Festival , คณะกรรมการเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพฯ , ผู้ดูแลโครงการ Bangkok Street Performer ฯลฯ

เรื่องกองทุนที่พูดถึงกันมากแต่คนทำได้น้อย ผมตั้งเกณฑ์ว่าคนที่จะทำได้ต้องมีความเข้าใจสูงมากและลึกมาก ว่าจริงๆ แล้วอุตสาหกรรมนี้ต้องการให้เงิน inject (อัดฉีด) ไปที่ไหนกันแน่ เราไม่เรียกกองทุนก็ได้ เอาเงินไปวางไว้บางจุดเพื่อให้อุตสาหกรรมมันโต เช่น ถ้าเราเชื่อว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์มี Narrative Relate (เนื้อหาเรื่องราวเข้ามาเกี่ยวข้อง) วันนี้เนื้อหาเรายังไม่ค่อยถึงบทยังไม่ดี ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งนี้สำคัญ คนเขียนบทสำคัญมากเราจะ inject เงินให้คนเขียนบทอย่างไร อย่างเกาหลีถ้าต้องพัฒนาบท 3-4 ปี มีเงินสนับสนุนการทำงานนะ แต่เมืองไทยไม่มีเวลาขนาดนั้น ถ้าหนังไม่สร้างพัฒนาบทไปก็ไม่ได้เงิน แสดงว่าคนเขียนบทซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาเนื้อหาอยู่ไม่ได้ ไม่สามารถโฟกัสการทำงานให้ดีได้ด้วยเพราะไม่มีเงิน inject มาให้ ถ้ามีงบสนับสนุนมาให้ภาพยนตร์ ทีวี เกมส์ก็จะได้ไปด้วย คำถามถึงเรื่องการตั้งกองทุน 1. เอาเงินมาจากไหน 2. จะ inject เงินไปที่จุดไหนของอุตสาหกรรมบ้าง 3. เพราะอะไร ขอถามทุกพรรคครับ

 

 

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

กองทุนต้องมีงบจากรัฐ แต่การคัดคนไปอัดฉีดนี่สำคัญ ไม่ว่า THACCA หรือองค์กรสหภาพ ฯลฯ สามารถคัด ปรับ นำเสนอ พัฒนาคนที่มีความสามารถจากทั่วประเทศ เพื่อเข้ามาเป็นคนที่ถูกอัดฉีดเงินเข้าไปให้สร้างผลงานดีๆ โดยมีองค์กรกลางที่มีศักยภาพในการดึงคนเก่งเข้ามาร่วมกัน เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับผู้รับทุนและผลงานให้สมกับที่เรียกว่า ‘ศิลปิน’ โดยผ่านกองทุนภูมิใจศิลปวัฒนธรรมของไทย

ดร.เมลิสา มหาพล : พรรคไทยสร้างไทย

อุตสาหกรรมภาพยนตร์คนที่เป็นศิลปินไม่ใช่เฉพาะนักแสดงซึ่งเขาอาจมีรายได้สูง แต่ยังมีคนอีกหลายหน้าที่ เงินจากกองทุนไทยสร้างไทยมาจากรัฐบาล วิธีจัดสรรงบประมาณเราจะส่งเสริม Soft Power หลายมิติ เศรษฐกิจ SME และอีกหลายส่วน ศิลปะสามารถโยงเข้าไปได้หลาย part ของการพัฒนา อาจเป็นกองทุนพัฒนา SME ได้ด้วย ถ้าผู้สร้างยังไม่มีทุนมากพอและต้องการรัฐช่วยเหลือ โดยนำเสนอโครงการเข้ามาพร้อมระบุถึงประโยชน์ที่จะเกิดจากการสร้างผลงาน หลายสาขา ทั้งอาหาร การท่องเที่ยว ภาพยนตร์ ฯลฯ ตามนโยบาย World Class Destination

ในภาพรวมที่เรามีศิลปินเยอะพอสร้าง Impact รวมกันแล้วสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก Invest (ลงทุน) เรื่องนี้เป็นการสมควรและไม่สูญเปล่าค่ะ

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

เงินกองทุนที่เราตั้งเป้าไว้คือ 3,000 ล้าน มาจากเงินก้อนใหญ่ที่พรรคตั้งไว้ตั้งแต่ต้น จากการรีดไขมันจากผลประโยชน์ที่รัฐควรจะพึงได้มาไว้ตรงส่วนกลาง (ที่ปรับเรื่องภาษี) เป็นภาพใหญ่ที่เตรียมเรื่องเงินไว้ ตัวเงินจะใช้ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ตัวเงินในกลุ่มแรกที่เราอยากให้ใช้ก็คือ นักศึกษา กับ New Young Talent ซึ่งพวกนี้โอกาสยากลำบากมาก เช่น สำหรับการเดินทางไปประกวดดนตรีที่เมืองนอก, ขอทดลองทำที่เรียกกันว่า Sandbox บางโครงการที่มันมีความเสี่ยง กลุ่มนี้เป็นหน้าที่ของกองทุน

เงินต้องเติมลงไปในกลุ่มนี้อีกเรื่องก็คือ กลุ่มที่มีโอกาสจะทำเป็นธุรกิจได้ เราจะไปร่วมแชร์ในการลงทุน หรือเราจะให้เงินสนับสนุนไปเต็มโครงการ เพื่อทำให้เกิดความหลากหลายในวิธีคิดเพิ่มมากขึ้น ทำให้เขามีโอกาสเพิ่มมากขึ้น เช่น คนทำหนังแค่เริ่มต้นเขียนบทหนึ่งปีก็มีค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้นต้องมีเงินเพื่อไปสนับสนุนให้เขามีชีวิตอยู่ได้ ไปทำให้คุณภาพต้นทางคือตัวบท ให้ได้บทที่ดี หรือในกลุ่มนักออกแบบ ในช่วงแรกต้องทำการทดลองเพื่อจะทำให้ได้ต้นแบบที่ดี กองทุนจะไปหนุนกลุ่มนี้ ถ้าใครต้องการทำธุรกิจต้องเอาไปต่อกับเงินประเภทอื่น

สองกลุ่มแรกเราควรต้องโฟกัสมากขึ้น ยังมีเงินเดิมอยู่ในกลุ่มต่างๆ อีกหลายกองทุนที่ทำเรื่องเกี่ยวข้องใกล้ๆ กับเราประมาณ 3-4 กองทุน เช่นกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, กองภาพยนตร์และวีดิทัศน์[19], กองทุนที่ใช้เงินจาก NIA[20] (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ), เงินทุนที่มาจากงานวิจัย ฯลฯ ถ้าเผื่อเราไปปรับหน้าที่ของกองทุนเหล่านี้ให้มันโฟกัสมากขึ้น ก็จะช่วยตอบโจทย์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้ครับ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

ที่มาของกองทุนคือ นึกอะไรไม่ออกก็ตั้งกองทุน ตรงนี้เป็นปัญหามากกับการใช้งบประมาณ เป็นการตั้งกองทุนโดยไม่มียุทธศาสตร์ เรามีงบวิจัยเยอะแยะเรี่ยราดไปหมดเลย ไม่สามารถตอบสนองยุทธศาสตร์อะไร กองทุนมาจากงบประมาณแน่นอน ใช้เพื่อประโยชน์อะไร? สำคัญมากที่สุดคือกองทุนต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ในแต่ละช่วงเวลาเป้าหมายอาจจะแตกต่างกันไป เช่น ช่วงนี้ต้องการพัฒนานักเขียนบทให้เป็นด้านหลัก ฯลฯ คนที่จะมาร่วมในการจัดสรรกองทุนต้องเป็นเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้น ซึ่งจะชี้เป้าได้ดีที่สุด ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือราชการที่ไม่ได้เข้าใจในแง่ของอุตสาหกรรมนี้มาเป็นคนกำหนด และต้องไม่ใช่คนในวงการที่อยู่กันมายาวนาน เพราะโลกจะค่อยๆ เปลี่ยนไป

ประเด็นที่ผมอยากจะขยายมากที่สุดคือว่า จริงๆ แล้วเงินจำนวนมากมันอยู่นอกระบบงบประมาณ ก็คือจากภาคเอกชน ทำยังไงให้มีเงินทุนต่างๆ ที่จะมาสนับสนุนในแง่ศิลปะร่วมสมัยทุกแขนง โดยที่เราจะต้องทำให้โอกาสที่จะระดมทุนมากขึ้นง่ายขึ้นด้วย Crowd Funding[21] (การระดมทุนจากประชาชน ผ่านผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลาง) ทำยังไงให้ง่ายขึ้นกว่านี้ บทดีๆ สามารถไปขอกู้ทุนกับธนาคารได้ (แปลงทรัพย์สินเป็นทุน) หรือพัฒนาศิลปะไทย Soft Power ให้เป็นจุดสนใจของเอกชนที่มีจำนวนมาก นักลงทุนระดับโลกเขาสนใจแน่ถ้ามีโอกาสทางธุรกิจ นั่นคือทุนมหาศาลที่อยู่นอกประเทศ ทำอย่างไรให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างสะดวก มีสิทธิประโยชน์อะไรที่ทางรัฐสามารถจัดสรรได้ก็ทำไป เงินทุนของรัฐแม้ไม่มีมากมายแต่ต้องเป็น Seed Money (ทุนตั้งต้นในกิจการช่วงแรกเริ่ม) ชี้เป้าว่าเราจะพัฒนาตรงจุดไหน พอเติบโตแล้วเงินทุนที่จะตามมาคือภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศครับ

 

 

คำถามที่ 2 จาก กฤษณ์ สงวนปิยะพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Urban Street Bangkok, คณะกรรมการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรุงเทพฯ ดูแลนโยบายเรื่อง “เพิ่มพื้นที่แสดงออกสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ 15 นาทีใกล้บ้าน” ฯลฯ

เมื่อวันก่อนผมทำงานกับนักกิจกรรมกว่าร้อยคนที่ใช้ศิลปะในการสื่อสารกับสังคม เป็นศิลปินสร้างสรรค์ด้วย เราคุยกันในเรื่องสหภาพแรงงาน ประเด็นความเท่าเทียม เหลื่อมล้ำและการส่งเสริม เลยมาถึงกระทรวงวัฒนธรรม สิ่งที่มันน่าเศร้าคือเราตั้งคำถามกับเด็กๆ ว่า ตลอด 4 ปี ที่ผ่านมา ใครคือคนที่ดูแลพวกเราอยู่ ในฐานะที่เขาเป็นคนดูแลกระทรวงวัฒนธรรมก็คือ ร.ม.ว (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ) ผมถามว่า ร.ม.ว.กระทรวงวัฒนธรรม คือใคร? ทั้งร้อยกว่าคนไม่มีใครรู้ น่าเศร้าที่สุด วันนี้เราดีใจที่หลายพรรคบอกว่าจะเพิ่มเงินอัดฉีดเข้าไปในวัฒนธรรมมากขึ้นเป็นหมื่นล้านใช่ไหมครับ อีกเรื่องน่าเศร้าคือเมื่อเงินเยอะมันมาพร้อมกับ 2 กลไก

  1. กลไกที่ทำยังไงให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมกับการบริหารเงินนี้
  2. กลไกการตรวจสอบ ยิ่งเงินเยอะยิ่งต้องมีการตรวจสอบที่ดี

เรามี 20 กระทรวง ปี 2566 กระทรวงวัฒนธรรมได้งบ 6,000 ล้าน เป็นอันดับ 16 ถ้าเป็นฟุตบอลเราอยู่ท้ายกระดาน ใกล้จะตกชั้นแล้วนะครับ ตลอด 90 ปีที่ผ่านมาเรามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทรวง มีแค่ 4 กระทรวงที่ไม่เคยถูกสนใจยกเข้าไปในสภา เพื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจ ร.ม.ว. หนึ่งในนั้นคือ กระทรวงวัฒนธรรม มันทำให้เราค่อนข้างหนักใจมากว่า ถ้าเราถูกอัดฉีดเงินเข้าไปมากขึ้น เราจะมีระบบตรวจสอบจากสภายังไง แล้วเราจะตรวจสอบคนที่เป็นเจ้าภาพฝั่งรัฐบาลซึ่งเป็นคนสูงสุดที่จะดูแลเรื่องนี้ เพราะพออภิปรายไม่ไว้วางใจไม่เคยมีเรื่องนี้มา 90 ปี ตั้งแต่เกิดมาแล้ว แล้วประชาชนจะช่วยตรวจสอบได้ยังไง คำถามไฮไลท์คือ

ร.ม.ว. และเจ้าภาพในใจของทั้ง 4 ท่าน 4 พรรค ถ้าต้องตั้งขึ้นมาใหม่คือใครครับ

 

 

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

พี่ก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่า ร.ม.ว. ชื่ออะไร วันที่ 15 ถ้าได้เป็น ส.ส. อยากเสนอชื่อ ร.ม.ว ของกระทรวงวัฒนธรรมขอเป็น ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม ค่ะ เพราะพี่มีความใส่ใจและตระหนักในเรื่องของศิลปวัฒนธรรมไทยค่ะ มีวิธีตรวจสอบโดยการแต่งตั้งน้องกฤษณ์ให้อยู่ในองค์กรของการตรวจสอบสหภาพค่ะ น้องเป็นคนคล่องมากดังนั้นสามารถเฟ้นหาคนที่จะมาตรวจสอบพี่ได้ค่ะ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

ร.ม.ว. รักษาการคนปัจจุบันชื่อ อิทธิพล คุณปลื้ม นะครับ เราจะทำให้เกิดความโปร่งใสยังไง เรื่องเกี่ยวกับการดูแลงบประมาณ เรากำลังพูดถึงเรื่อง THACCA กับกระทรวงวัฒนธรรม นโยบายของพรรคเพื่อไทยคือทุกกระทรวงต่อไปนี้ต้องเป็น Digital goverment เป็น Open Goverment เพราะฉะนั้นข้อมูลต่างๆ ต้องค้นหาได้ ถ้าสมมุติเป็น THACCA บอร์ดของ THACCA และจากภาคเอกชนจะมีบทบาทช่วยพิจารณากองทุน งบประมาณต่างๆ รัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยที่จะเสนอผลักดัน Soft Power คือ คุณจิราพร สินธุไพร ครับ

 

 

ดร.เมลิสา มหาพล : พรรคไทยสร้างไทย

ดิฉันเชียร์คุณหญิงสุดารัตน์เป็นนายกนะคะ ถ้าถามอยากให้ใครเป็น ร.ม.ว. ก็ต้องเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ควบสองตำแหน่งได้ไหมคะ คิดว่าในเมื่อท่านออกนโยบายมาในเรื่องของการสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมเป็น Soft Power ทุกมิติ น่าจะเป็นการเหมาะสม โดยส่วนตัวดิฉันก็มีความเชื่อมั่น ถ้าเรื่องตรวจสอบยังไง ต้องเป็นหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามาช่วยกันทำงาน อาจต้องมีบอร์ดของเอกชนกับพี่ๆ น้องๆ ในห้องนี้ ฝากพี่สกุลรัตน์เข้าไปเป็นผู้ตรวจสอบด้วยอีกคนนะคะ (หัวเราะ)

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

ปัญหาในกระทรวงวัฒนธรรมไม่ถูกหยิบยกออกมาพูดในแง่ของประโยชน์และการปลูกฝัง ในสิ่งที่จะเป็นเรื่องของอดีตกับอนาคตข้างหน้า เพราะถูกมองวัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรม ถ้าเผื่อใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมอธิบายอนาคตข้างหน้า ก็จะมองวัฒนธรรมในอีกมิติอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่พรรคก้าวไกลมองกระทรวงวัฒนธรรม มองในมิติอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ส่วนในเนื้อหาผมได้รับผิดชอบให้มาดูนโยบายเกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แล้วพรรคก้าวไกลก็ให้เรื่องนี้เป็นนโยบายสำคัญ โดยผมสมัครในบัญชีรายชื่ออันดับ 5 เพราะพรรคให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จัดให้อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจที่เรียกว่า Fast Forward ที่จะไปต่อยอดกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น เพราะฉะนั้นมองว่ากระทรวงวัฒนธรรมเป็นกระทรวงที่สำคัญ ถามว่าใครจะดูแลผมตอบไม่ได้ เนื่องจากว่าผมเป็นคนดูแลรับผิดชอบนโยบายนี้

 

 

คำถามที่ 3 เป็นคำถามที่ดีมากจาก เพียงดาว จริยาพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสาร BIPAM (Bangkok International Performing Art Meeting) : ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ของศิลปิน ผู้จัดการ และนักวิชาการศิลปะการแสดงร่วมสมัยในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขอบคุณมากเลยวันนี้ที่ได้ยินหลายท่านพูดเรื่องการส่งออก การใช้ศิลปะในการเพิ่มมูลค่าให้กับประเทศ ซึ่งเราเชื่อว่าศิลปะทำได้ ตัวอย่างจากหลายๆ ประเทศก็แสดงให้เห็นเด่นชัดแล้ว แน่นอนว่า พี่เจ้ย (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับไทยที่มีผลงานและชื่อเสียงระดับโลก) ไม่ได้ผุดขึ้นมาจากดินแล้วได้รับรางวัลจากเมืองคานส์เลยใช่ไหมคะ ศิลปินกว่าเขาจะโตมาเป็นเพชรเม็ดงามได้มีขบวนการ Incubation (ระยะฟักตัว) มีเส้นทางการเดินในฐานะศิลปินของตัวเอง มีการฝึกฝนล้มลุกคลุกคลาน ทำการทดลอง ฯลฯ ในหลายประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องศิลปะ เขามักจะตั้งสิ่งที่เรียกว่า ART COUNCIL (สภาศิลปะ) แล้วก็มักจะตั้งรูปแบบการจดทะเบียนแบบ Non Profit (ไม่แสวงหาผลกำไร) เพื่อให้องค์กรทางศิลปะทำงานในเชิงที่ไม่ต้องคำนึงถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจมากนัก วันนี้ยังไม่ค่อยได้ยินสิ่งนี้เท่าไหร่ค่ะ อยากถามแนวคิดรวมไปถึงนโยบายของพรรคต่างๆ ที่มีต่อการทำให้คนที่ทำงานศิลปะเชิง Non Profit มีที่ถามคุณอภิสิทธิ์ไปก่อนหน้านี้ว่า ถ้าเราทำงานโดยที่ไม่คำนึงถึงมูลค่าเศรษฐกิจมากนักจะยังได้รับการสนับสนุนอยู่ไหม? น่าจะเป็นคำถามในเครือเดียวกัน อยากฟังวิสัยทัศน์ในอีกมุมมองหนึ่งค่ะ

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล : พรรคก้าวไกล

ที่ผมอธิบายเรื่องกองทุนไว้ กลุ่มแรกเราสนับสนุนร้อยเปอร์เซ็นต์กับคนที่จะขอโอกาสไปแสดงงาน ไป pitch งาน ฯลฯ กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ทำงานเชิงทดลอง เราเข้าใจได้ว่ากลุ่มทดลองไม่ใช่เป็นงานที่จะหวังผลทางธุรกิจ เพราะฉะนั้นกองทุนก็ต้องทำหน้าที่สนับสนุนคนที่เป็น New Talent เพื่อได้มีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นครับ

ดร.เมลิสา มหาพล : พรรคไทยสร้างไทย

ถ้าต้องมีกองทุนที่เป็น Non Profit เห็นด้วยค่ะ เพราะเราให้ความสำคัญกับเรื่องศิลปะ เพราะศิลปะเป็นสิ่งสร้างคน ทำให้คนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดีขึ้น เป็นการพัฒนาคนอีกเส้นทางหนึ่ง พัฒนาตั้งแต่เด็กเป็นการสร้างรากฐานที่ดี เป็นอีกบทบาทหน้าที่หนึ่งซึ่งอาจไม่ได้ผลประโยชน์ออกมาเป็นตัวเงิน แต่เราสร้างคนมีคุณภาพที่ดูแลตัวเองได้ เป็นกำลังของชาติได้ในอนาคต ทางพรรคไทยสร้างไทยเห็นด้วยค่ะ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี : พรรคเพื่อไทย

เนื่องจากเวลาน้อยทำให้ไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้นะครับ นโยบายของพรรคเพื่อไทยเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในเพจเฟซบุ๊กเขียนไว้ชัดว่า แก้กฎหมายคลายระเบียบ ศิลปินจดทะเบียนไม่แสวงผลกำไรได้ง่ายขึ้น ให้เอกชนที่สนับสนุนศิลปะได้มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นนโยบายที่เราคิดว่าสำคัญ คนที่ทำงานด้านศิลปะบางคนต้องการทำโดยที่ไม่ได้คิดในเชิงธุรกิจ แต่อยากมีโอกาสทำศิลปะบริสุทธิ์เพื่อศิลปะ ถ้าเราเน้นธุรกิจอย่างเดียวสุดท้ายแล้วจะทำให้ช่องทางที่สนับสนุนศิลปินให้ค่อยๆ เติบโตมา อยากจะทำตามความฝันของตัวเอง ไม่มีโอกาสจะได้รับการสนับสนุนจากคนอื่น ถ้าสามารถจัดตั้งองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และคนอื่นๆ สามารถที่จะร่วมสนับสนุนได้ ถ้านำไปลดหย่อนภาษีได้ยิ่งดี พรรคเพื่อไทยเราคิดไว้อยู่แล้วครับ

ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม : พรรคภูมิใจไทย

สถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไรต้องเกิดขึ้นภายใต้สหภาพฯ หรือว่าองค์กรที่เราได้คัดคนเก่งมาแล้ว สนับสนุนโดยกองทุนทำให้ท่านมีทุนที่จะพัฒนาองค์กร สามารถที่จะ Up Skill - Re Skill ให้กับศิลปินนั้นๆ ได้ เพราะเราคงไม่หวังให้ท่านเป็นศิลปินธรรมดา แน่นอนเราต้องหวังให้ไกลคือ ให้ท่านเป็นเพชรเม็ดงามในระดับนานาชาติ เพราะท่านมีพรสวรรค์อยู่แล้ว ถ้าเราเอาท่านมาอยู่ในองค์กรที่ไม่เกิดประโยชน์ ไม่แสวงหาผลกำไรไม่ทำอะไรเลยมันไม่ถูกต้องค่ะ เรามีหน้าที่ผลักดันให้คุณเป็นเพชรเม็ดงามเม็ดนั้นค่ะ

 


photo : CAPT : สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กวิน คุณวิศาล

 

ก่อนเปิดอภิปรายครั้งนี้มีนักบริหารงานวัฒนธรรม นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวในแวดวงศิลปะได้แสดงความคิดเห็น ต่อนโยบายของพรรคการเมืองในช่วงหาเสียงก่อนวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 เป็นความคิดก้าวหน้าควรค่าใส่ใจ แม้บางคนไม่ได้เข้าร่วมงานในวันอภิปราย 4 พฤษภาคม 2566 แต่ได้เสนอแนวคิดอย่างเป็นรูปธรรม ที่ต่างจากวิธีคิด วิธีทำ ของพรรคการเมือง ตามแนวทางของนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม และที่สำคัญกำลังสร้างโครงการให้เห็นเป็นตัวอย่าง มีรายงานความเคลื่อนไหวเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เช่น ใน Facebook : Wayla Amatathammachard[22], มูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะ[23] และคณะทำงาน เริ่มตั้งแต่แสดงทัศนะเกี่ยวกับการให้ความหมายที่ต่างกันต่อคำว่า soft power > creative economy ที่ทุกพรรคประกาศเป็นนโยบายและมีแผนการทำงานในอนาคตว่า

“บอกถึงจักรวาลทัศน์ของแต่ละพรรคในเรื่องนั้นๆ ในทางกลับกัน มันก็สะท้อนค่านิยมและความเชื่อตามกระแสหลักเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน 'ส่วนตัว' เราว่าความผิดฝาผิดตัวของการมองปัญหาวงการศิลปะในระดับ Superstructure มันไม่ควรพุ่งความสำคัญไปแค่การทำให้ศิลปินและคนทำงานศิลปะมีรายได้ หรือมีทุนสร้างงาน ผลักดันให้เกิด Market ขายงานเป็นชิ้นๆ เพราะถ้าทำแบบนั้นวงการศิลปะเองก็จะไม่ต่างจากสินค้า commodity อื่นๆ ที่พอไม่มีรัฐบาลมาอุ้ม มันหายไปอยู่ดี และที่สำคัญ มันก็ไม่ต่างจากนโยบายประชานิยมทั่วไป คือเอาเงินไปแจก ไม่ได้ช่วยสร้าง creative ecosystem ใดๆ แต่สิ่งที่ควรจะโฟกัสคือให้โอกาสในการเข้าถึง 'ศิลปะ' กับ 'สังคม'  ให้โอกาส 'สังคม'  ได้มีความรู้ และมีศักยภาพที่จะหยิบใช้  'ศิลปะ'  ในหลากหลายโอกาส หลากหลายมิติ เมื่อมันเกิด use case จำนวนมาก แน่นอนมันจะเกิด economic > การจ้างงาน > และตลาดในที่สุด และเมื่อนั้นประเทศไทยจะกลายเป็น creative playground ที่มีทั้งคนสร้างและคนเสพในหลายมิติ เมื่อถึงวันนั้นอย่าว่าแต่ soft power เลย เราคงเป็นประเทศดึงดูดคนทั้งโลกให้มาทำงาน มาเที่ยว มาลงทุน รวมถึงมาปักหลักปักฐานอยู่ด้วยกัน

ตั้งแต่ปลายปี 2563 เป็นต้นมา ผมกับเพื่อนร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะขึ้นมา เราทดลองสร้าง use case ของการใช้ศิลปะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย โครงการระยะยาวอย่างน้อย 6 โครงการถูกเริ่มขึ้นนับตั้งแต่นั้น เรามีโครงการ Parallel Normalities: Empowering regional cities with performing arts เป็นโครงการต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 3 เราทดลองใช้ศิลปะการแสดงมาเชื่อมโยงผู้คนจากจังหวัด Shizuoka ประเทศญี่ปุ่น และอำเภอด่านซ้ายเข้าด้วยกัน ผ่านการกลับไปมองความงามของสิ่งที่ทุกคนพบเห็นในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปสู่คำถามเรื่องคุณค่าของเมืองที่ตนอาศัยอยู่ โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจากประเทศญี่ปุ่น พวกเราเตรียมกิจกรรมอยู่ที่เมือง Gotemba จังหวัด Shizuoka ก่อนจะนำผลงานมาเปิดการแสดงที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย ในเดือน กรกฎาคม 2566

เรามีโครงการ TAI: Transnational Artistic Intervention ที่รวมพลังทั้งศิลปิน curator, art manager, social worker จากไต้หวันมาระดมความคิดแลกเปลี่ยนกับชาวด่านซ้ายถึงความเป็นไปได้ที่จะเรียนรู้ ปรับตัว และมองหาความเป็นไปได้ที่จะจัดการกับปัญหาน้ำท่วม ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของลำน้ำหมัน ปีนี้เป็นปีที่ 2 โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐของไต้หวัน ตัวเราเองจะเดินทางไปประชุมเรื่องการจัดการเพื่อนำทีมนักสร้างสรรค์จากไต้หวันมาลงพื้นที่ในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2566 เช่นกัน

นอกจากนี้เรายังมีโครงการอีกมากมายที่จะผลักดันให้ อ.ด่านซ้าย จ.เลย ให้กลายเป็น sandbox ของการสร้างเมืองศิลปะ ที่ศิลปะถูกหยิบใช้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ ต่อการพัฒนาชุมชนในทุกมิติ การสนับสนุนงานของพวกเราไม่ได้เป็นเพียงแค่การเปิดโอกาสให้ผู้คนที่ อ.ด่านซ้าย ได้เข้าถึงศิลปะร่วมสมัยจากหลากหลายแหล่ง มากกว่านั้นมันคือการสนับสนุนการสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ในประโยชน์ของศิลปะ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนภาคนโยบายระดับประเทศ สนับสนุนกิจกรรมของพวกเราได้ที่บัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์มูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะ Prayoon for Art Foundation 218-301012-0”

 


photo : Facebook : Wayla Amatathammachard

 

รัฐบาลใหม่ : ความหวังหรือฝันสลายของนโยบายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

สถานการณ์ล่าสุด 11 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย , พรรคภูมิใจไทย, พรรคพลังประชารัฐ, พรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคประชาชาติ, พรรคชาติพัฒนากล้า, พรรคเพื่อไทรวมพลัง, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคพลังสังคมใหม่, พรรคท้องที่ไทย / ฝ่ายค้าน 6 พรรค ประกอบด้วย พรรคก้าวไกล, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคไทยสร้างไทย, พรรคเป็นธรรม, พรรคประชาธิปไตยใหม่ และ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม คนใหม่ ประกาศก่อนการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนรับตำแห่งว่า กระทรวงฯ จะต้องเน้นนโยบายเศรษฐกิจแก้วิกฤติความยากจนด้วย “1 ครอบครัว 1 Soft Power” หนุนขนานไปกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นหลักสำคัญ

หลังรัฐประหาร ความผันผวนปรวนแปรที่เกิดแก่การเมือง ย่อมมีผลต่อเนื่องเรื่องวิสัยทัศน์ของรัฐบาล แน่นอนว่าจะมีผลกระทบต่อนโยบายด้านบริหารจัดการงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และโดยเฉพาะเมื่อพรรคแกนนำที่ทำคะแนนอันดับหนึ่งจากการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย จนกลายเป็นปรากฏการณ์เหนือความคาดหมาย แต่ฝ่ายเสรีนิยมก้าวหน้าไม่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล นั่นหมายถึงผลงานที่ควรจะเกิดขึ้นจากการบริหารตามระบอบประชาธิปไตยอาจไม่บรรลุผล หลังรัฐประหาร นานร่วมทศวรรษที่ประชาชนอดทนรอชีวิตที่ดีขึ้น หวังจะเห็นการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมนานาประเทศ (อย่างที่ควรจะเป็นมานานแล้ว เพราะเรามีต้นทุนทางทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ดีในทุกๆ ด้าน จนได้รับการขนานนามว่า Thailand The Land of Golden Culture) แต่อาจมีอันต้องเปลี่ยนไปในทิศทางที่ต่างคาดเดาไม่ได้ ในขณะที่หลายกลุ่มใช้คำว่า “ฝันสลาย” แต่มีอีกหลายกลุ่มเชื่อมั่นว่า ยังมีความหวังและตั้งตารอ เพราะต่างก็ชัดเจนว่าความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีจะมีมาแน่นอน แม้ไม่ง่ายและไม่เร็วอย่างที่เราต้องการ.

 

 

หมายเหตุสำคัญ :


 

[1] ตัวแน่น, อังคาร กัลยณพงศ์ กวีผู้ตวัดถ่าน อ่านกลอน สอนสัจธรรม, [online]  สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2555

[2] CONTEMPORARY ARTS & CULTURE INDUSTRY PROMOTION TRADE ASSOCIATION (THAILAND) [online] สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566,

[3] ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในนโยบายพรรคการเมือง, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร [online]

[4] การพัฒนาเครือข่ายความคิดสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัลฯ ,[online] สืบค้น 25 พฤศจิกายน 32565,

[5] มฤณ ถนอมกิตติ(25 กุมภาพันธ์ 2564), แนวคิดและนโยบายพรรคการเมืองปี 2562, ใน adaymagazine ,

[6] ปรีปโนด นัยนภัทร, จากยอดมนุษย์ร่างใหญ่ สู่การกินอาหารเหล็กในอุลตร้าแมนในตีความใหม่อีกครั้ง, ความบันเทิง ,[online] สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2019

[7] พรรคเพื่อไทย, นโยบาย OFOS : One Family One Soft Power, สืบค้น 5 พฤษภาคม 2566.

[8] TCDC, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center, สืบค้น 5 พฤษภาคม 2566

[9]แนวหน้า ออนไลน์, 'ไทยสร้างไทย'หนุน Soft power ไทยสู่ระดับโลก, สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566

[10]Chanoknun, TheThaiger, ประวัติ ‘อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล’ พรรคก้าวไกล, สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566

[11] พรรคก้าวไกล, คูปองเปิดโลกเรียนรู้นอกห้องเรียน, , สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566

[12]สยามรัฐออนไลน์, “แพทองธาร” เปิด 2 นโยบาย ตั้ง The Thai Creative Content Agency ขอเลือกเพื่อไทย พร้อมทำทันที, , สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566

[13] OKMD, สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้, สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566,

[14] CEA, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์, สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566,

[15] TCDC, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ, สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566,

[16]กรุงเทพธุรกิจ, “ชาคริต” ดัน “CREATECH” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยสู่เวทีโลก, สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565,

[17] DGA : Digital Goverment Development Agency บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ Consulting Services, Overview, สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565

[18]MICHELIN GUIDE, การจัดอันดับร้านตามมาตรฐานมิชลินไกด์, สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566

[19]สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, กองภาพยนตร์และวีดิทัศน์, สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566

[20]สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), การสนับสนุนด้านการเงิน, สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566

[21] Crowd Funding, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2558,

[22] Wayla Amatathammachard, นโยบายพรรคการเมืองด้านศิลปวัฒนธรรม > soft power > creative ecomony , สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2566

[23] มูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะ, สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2566