ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

ปรีดี-พุทธทาสภิกขุ หลักการชั้นต้นการจัดสถานที่ส่งเสิมปติบัติธัม อยุธยา

27
พฤษภาคม
2567

Focus

  • หลักการชั้นต้นการจัดสถานที่ส่งเสิมปติบัติธัม อยุธยา เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2480 ที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้เสนอต่อนายปรีดี พนมยงค์ และเห็นสอดคล้องกันเรื่องการจัดวัดพนมยงค์ให้เป็นสถานปฏิบัติธรรมแบบสวนโมกขพลาราม หลักการชั้นต้นฯ ชิ้นนี้มีการเผยแพร่แก่สาธารณชนไม่มากนัก ทั้งยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างนายปรีดี และท่านพุทธทาส รวมถึงแสดงให้เห็นความสนใจเรื่องพุทธศาสนาของนายปรีดีไว้ในคราวเดียวกัน
  • จุดมุ่งหมายของนายปรีดี พนมยงค์ที่ต้องการให้ท่านพุทธทาสช่วยส่งเสริม ‘การปติบัติธัม’ โดยเริ่มต้นที่ภาคกลางนอกจากความสนในเรื่องพุทธศาสนาแล้ว นายปรีดียังมีเป้าประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นอนุสาวรีย์แด่นางลูกจันทน์ พนมยงค์ มารดาซึ่งท่านเลื่อมใสในพุทธศาสนาดังนั้นจึงมีการทนุบำรุงวัดพนมยงค์แห่งนี้ขึ้นด้วยเงินทุนของนางลูกจันทน์ซึ่งมีผู้บริจาคเนื่องในการพระราชทานเพลิงศพของท่าน
  • หลักการในการจัดสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของท่านพุทธทาส มีดังนี้ 1. ความมุ่งหมาย 2. การจัดสถานที่ 3. กติกาผู้เข้ามาอยู่ 4. กติกาการอยู่ 5. เจ้าหน้าที่ โดยหลักการสำคัญคือ ความมุ่งหมายที่จะจัดการจัดสถานที่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่อบรมแก่ครูผู้ปฏิบัติธรรมทางจิตขั้นสูงที่มีความสามารถในการสั่งสอนที่ทันสมัย เป็นสถานที่สั่งสอนอบรมให้แก่พุทธบริษัททั่วไป และมีครูสอนประจำ และเป็นสถานที่ที่จัดให้ความสะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่จบการศึกษาทางปริยัติมาแล้วให้มาอยู่อาศัยเพื่ออบรมตนเองในความสงบโดยไม่มีครู

 


นายปรีดี พนมยงค์ และพุทธทาสภิกขุ

 


วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 


อุโบสถ วัดพนมยงค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

ปรารภมูลเหตุ

เนื่องจาก พนะท่านปรีดี พนมยงค์มีความประสงค์จะช่วยส่งเสิมการปติบัติธัมของพุทธบริสัท ตามแนวที่คนะธัมทาน ไชยา ริเริ่มขึ้น ไห้แพร่หลายขึ้นไนภาคกลางของประเทศไทย และเพื่อเปนอนุสาวรีย์แด่ท่านลูกจันทน์ พนมยงค์ ผู้เปนมารดา ไนการที่ผู้นี้เปนผู้เลื่อมไสไนพุทธสาสนาฝ่ายปติบัติธัมเปนพิเสสอีกส่วนหนึ่งด้วย จึงไห้มีการจัดทนุบำรุงสถานที่นี้ขึ้นด้วยเงินทุนท่านลูกจันทน์ ที่มีผู้บริจาคเนื่องไนการพระราชทานเพลิงสพท่าน

ไนการจัดสถานที่ส่งเสิมปติบัติธัมแห่งนี้ มีหลักการดังต่อไปนี้

๑. ความมุ่งหมาย

การจัดสถานที่เช่นกล่าวนี้ จะมุ่งหมายได้กว้างแคบหย่างไร ย่อมขึ้นแก่ลักสนะของสถานที่หยู่บ้าง ถ้าธัมชาติของสถานที่ไม่อำนวย แม้จะทุ่มเททุนรอนหย่างมากก็ไม่ได้ผลคุ้มกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องเพ่งเล็งไห้เหมาะแก่สถานที่หยู่บ้าง

ตามธัมดา อาดจัดสถานที่ได้เปน ๓ ชนิดคือ

๑. เปนสถานที่อบรมขนาดหนัก อบรมครูฝ่ายปติบัติธัมทางจิตขั้นสูง พร้อมทั้งมีความรู้ความสามาถไนการสั่งสอนอันทันสมัย

๒. เปนสถานที่ไห้การสั่งสอนอบรมแก่พุทธบริสัททั่วๆ ไปไม่ขีดขั้น มีครูสอนประจำ แต่ไม่เปนขนาดหนักถึงกับอบรมเปนนักเรียนครู

๓. เปนเพียงสถานที่ที่จัดไว้เปนกลางๆ ไห้ความสดวกแก่ภิกสุสามเนร ที่จบการสึกสาทางปริยัติมาแล้ว หรือพอควนแล้วเพื่อมาหยู่อาสัยอบรมตนเองตามความสมัคไปเรื่อย ไม่มีครู สถานที่นี้ทำหน้าที่เพียงเปนทายกผู้อุปถากหย่างเดียว ไม่มีครูรับหน้าที่สอน

สำหรับที่จะจัดขึ้นนี้ ควนจะจัดเปนชนิดที่ ๓ ไปก่อน เพราะยังหาครูที่มีความสามาถไม่ได้ และทั้งธัมชาติของสถานที่นี้ก็ไม่อำนวยมากนัก อีกประการหนึ่ง ภิกสุสามเนรสมัยนี้ได้เคยเรียนปริยัติ เปนเปรียญและนักธัมชั้นสูงมาแล้วก็มีมากพอที่ฝึกฝนตนเอง ยังขาดหยู่ก็แต่สถานที่และสัปปายธัมบางหย่างเท่านั้น

อีกหย่างหนึ่ง สถานที่นี้นอกจากเปนที่ไช้สำหรับภิกสุสามเนรผู้รู้ปริยัติฝึกฝนตัวเองแล้ว ยังเปนสถานที่นัดพบเปนครั้งคราวของครึหัสถ์ที่เปนนักสึกสาพิเสสบางพวกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และหาความพักผ่อนทางจิตไจตามควน

๒. การจัดสถานที่

โดยฉะเพาะสถานที่โคกวิหารพระนอนที่เปนหยู่ไนบัดนี้ ยังไม่จัดว่าเปนรมนียสถานตามธัมชาติ ยังมีสถานที่ปติบัติธัมแห่งอื่นๆ ซึ่งธัมชาติอำนวยความรื่นรมย์ตามทางธัมไห้เปนหย่างมาก ซึ่งอาดถึงดูดนักสึกสาไปยังที่นั้นเสียมากกว่าที่จะมายังที่นี่ เพียงเท่านี้ก็นับว่าเปนการเสียเปรียบกันมาก จึงจำเปนที่จะต้องแก้ไขสถานที่ไห้เปนที่รื่นรมย์ตามควน โดยเพ่งไห้เหมาะแก่การสึกสาหย่างหนึ่ง ไห้เยือกเย็นสบายชวนหยู่หย่างหนึ่ง

โคกวิหารพระนอนที่เปนหยู่เวลานี้ ถ้าจะส้างกุติเล็กๆ หลายหลังเรียงรายกันไป และดัดแปลงตัววิหารเปนสถานกลางสำหรับประชุมแล้ว นับว่ายัดเยียดกันมาก จะต้องคิดขยายและหาอุบายกันการรบกวนไห้ได้ผลเช่นเดียวกับป่ากว้างๆ

(ข้าพเจ้าเห็นว่า ควนเอาดินพอกโคกวิหารพระนอนไห้กว้างออกอีกโดยรอบๆ ยาว ๔ เมตรเปนหย่างน้อย ทั้งนี้มิไช่แต่เพื่อต้องการไห้โคกกว้างออกหย่างเดียว เรายังจะได้คูขนาดกว้างรอบโคก จนดูคล้ายเกาะกลางทะเลสาป เมื่อปลูกกุติเล็กๆ หย่อนลงไนคู เชิงบันไดจดโคกแล้ว ก็ทำไห้กุตินั้นๆ สงัดจากการถูกรบกวนหย่างยิ่ง และเปนที่รื่นรมย์ยิ่งขึ้นเปนหย่างมาก ปลูกไม้ร่มที่งอกงามเร็วรอบโคก และรอบๆ ริมคูด้านนอกจนครึ้มเย็น ตัววิหารที่จะไช้เปนสถานกลางนั้น ถ้าไม่เอาองค์พระนอนไว้ก็ไม่ต้องทำไหย่โต เท่าขนาดที่มีหยู่ก็พอ ถ้าจะเอาองค์พระนอนไว้ ต้องไห้โตพอ ที่หลังพระนอนมีเนื้อที่พอไช้สำหรับการประชุมของคนราว ๓๐ คนได้ ถ้าจะไห้มีที่พักเปนครั้งคราวของครึหัสถ์ด้วย ควนแบ่งแยกไว้ส่วนหนึ่ง เช่นแถวกุติพระหยู่ด้านหน้าวิหารประมาน ๕ กุติหรือ ๗ กุติ แถวที่พักครึหัสถ์หยู่ด้านหลังพระนอน อาคันตุกะที่เปนบรรพชิตควนพักไนวิหารพระนอน และบางพวกควนพักไนวัดพนมยงค์ตอนไนวัด)

๓. กติกาผู้เข้ามาหยู่

เนื่องจากสถานที่นี้ไนชั้นต้นยังไม่มีครูอาจารย์ผู้สามาถสอนโดยทั่วไป ทุกคนต้องช่วยตัวเอง จึงจำเปนจะรับฉะเพาะผู้มีความรู้ปริยัติพอควน-แล้ว หรือมีความรู้ นักธัมชั้นเอก หรือเปนเปรียญ ๓ ประโยคขึ้นไป และมีอายุไม่เข้าขีดชรา คือไม่เกิน ๔๐ ปี (การกำหนดความรู้นี้ ถ้าเปนผู้ไม่เคยเรียนสอบ ต้องได้รับการสอบสวนเทียบความรู้โดยคนะกัมการคนะหนึ่ง)

ผู้เข้ามาหยู่ต้องไม่เปนโรคติดต่อ ไม่ติดของเสพติด เปนคนเลี้ยงง่าย มีหนังสือสำคันประจำตัวตามระเบียบคนะสงค์ และไม่มีข้ออันพึงรังเกียดของผู้ที่จะหยู่ร่วมกัน และมีเจตนาทำประโยชน์แก่ส่วนรวม คือพระสาสนา

๔. กติกาการหยู่

ทุกคนต้องประพรึติวัตรปติบัติประจำวันตรงตามที่หมู่คนะนี้ตราขึ้นไว้เองโดยเสมอกัน มีการเปนหยู่และความคิดเห็นไม่เปนถึงกับเปนสัตรูกัน ถ้าหากถึงกับสมาชิกส่วนมากรังเกียดแล้ว จะออกไปเสียเองทันที

การฝึกฝนภาวนา ตามความรู้ความสามาถส่วนตน ทั้งไนด้านสมถและวิปัสนาไห้ถือว่าเปนความมุ่งหมายโดยตรงของการหยู่ที่นี่ เพื่อทำความรู้ทางปริยัติ ซึ่งยังเปนเหมือนวัตถุดิบไห้กลายเปนของมีประโยชน์ เปนธัมโมชะ แก่จิตไจโดยตรง

การสีกสาพิเสสไนฝ่ายปริยัติขั้นสูงเท่าที่จำเปนจะต้องค้นคว้า หรือการสึกสาวิชารอบตัวที่ทันสมัย และควนสึกสาเช่นวิชาปรัชญา จิตวิทยา วิทยาสาตรบางแขนง เหล่านี้ สึกสาได้ต่ามควนแก่โอกาสและความสามาถของบุคคล ส่วนการสึกสาพิเสส นอกไปจากนี้ ซึ่งบางทีดูไม่เหมาะสมแก่สายตาของผู้เลื่อมไสต้องได้รับอนุญาตพิเสสจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน ถ้าหากเห็นว่าควนอนุญาต

การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการช่วยเหลือร่วมมือไนกิจการคนะสงค์นั้น จะทำเท่าที่หยู่ไนขอบขีดอันพระประเภทนี้ควนทำ และสมัคไจจะทำ

การขบฉัน นุ่งห่ม ที่อาสัย การเปนหยู่เหล่านี้ ต้องไปตามแนวของการมักน้อยทุกๆ ประการ เพื่อฝึกฝนไห้เคยชินกับชีวิตแบบธัมชาติ ส่วนงานที่ทำต้องมุ่งและพยายามสูงหรือสูงสุด หย่างที่เรียกกันว่า “Plain Living High Thinking”

การสมาคมติดต่อ ขอไห้อยู่ไนความควบคุมแนะนำตักเตือนของเพื่อนหรือเจ้าหน้าที่ผู้หวังดี

เหตุการน์เบ็ดเตล็ด ขอไห้ถือหลักพระวินัยและพระธัมเปนสำคัน เมื่อวินัยเคร่งครัดหยู่ สิ่งต่างๆ ที่จะเปนไปเพื่อเสียหายย่อมไม่มีเปนธัมดา

๕. เจ้าหน้าที่

ไนชั้นต้นนี้ สถานที่นี้จะแบ่งเจ้าหน้าที่เปน ๓ ฝ่าย คือ

ก. เจ้าหน้าที่ปกครองและคุ้มครอง ช่วยรับภาระเกี่ยวกับการปกครองตามระเบียบคนะสงค์และคุ้มครองไห้ได้ รับความผาสุกตลอดถึงการช่วยเหลือหย่างอื่นที่หยู่ไนวงการปกครอง ไนชั้นนี้ ได้แก่ ท่านพระสรีสุธัมมุนี รองเจ้าคนะจังหวัด วัดสุวรรนดาราราม

ข. เจ้าหน้าที่ฝ่ายหลักวิชา มีหน้าที่ไห้ความรู้ความเห็นเกี่ยวกับหลักวิชาโดยฉะเพาะไนชั้นนี้ ได้แก่ผู้มีอาวุโสและมีความชำนาญกว่าผู้อื่นไนที่นั้น หรือที่หมู่คนะส่วนมากเห็นสมควน และมีพระภิกขุพุทธทาส อินทปญฺโญ สวนโมกขพลาราม ไชยา (ซึ่งมาช่วยเหลือเปนครั้งคราว) เปนที่ปรึกสา

ค. เจ้าหน้าที่ฝ่ายอุปถาก มีหน้าที่ไห้การบำรุงไนด้านการเปนอยู่ อุปกรน์การลึกสา การจร ไนที่นี้ได้แก่คนะกัมการจัดการทุนท่านลูกจันทน์ประจำสำนักนี้ และเหล่าทายก อุบาสก อุบาสึกา ที่เอาไจช่วยโดยทั่วไป

๖. ระเบียบการต่างๆ

ระเบียบการต่างๆ เช่นการทำวัตรปริยัติประจำวันของพระการเข้ามาขอสึกสาของครึหัสถ์ ตลอดจนมาปลูกส้างที่พักชั่วคราว และเรื่องอื่นๆ ควนตราระเบียบนั้นเปนเรื่องๆ ไปโดยฉะเพาะ

พุทธทาสภิกขุ

 

หมายเหตุ :

  • งานเขียนชิ้นนี้เป็นหลักการชั้นต้นของท่านพุทธทาสภิกขุ ในการจัดวัดพนมยงค์ ให้เป็นสถานปฏิบัติธรรมแบบสวนโมกขพลาราม ทั้งยังได้รักษาอักขรวิธีสมัยรัฐนิยมไว้ อ่านประกอบรายละเอียดในปาฐกถาธรรมของพระราชนันทมุนี ซึ่งแสดงเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๖ ในหนังสือเล่มนี้ หน้า ๗๕-๗๗
  • คงอักขร การสะกดคำ วรรคตอน และเลขไทยตามต้นฉบับ
  • ภาพประกอบจากสถาบันปรีดี พนมยงค์ buddadhas.org และเพจวัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม

บรรณานุกรม :

  • คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา, พนมยงค์ประดิษฐ์ธรรม (กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย, 2526)