ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

ขบวนการประชาธิปไตยต้องเป็นเอกภาพในอุดมการณ์และหลักการ เสียงประชาชนจะนำประชาธิปไตยสู่ความสมบูรณ์

27
มิถุนายน
2567

Focus

  • การทบทวนบทเรียนประชาธิปไตย 2475 จำเป็นต้องกลับไปย้อนดูว่า หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยตลอด 92 ปีที่ผ่านมา กราฟของคําว่าประชาธิปไตยแต่ละช่วงอยู่ในระดับไหน เราจึงจะสามารถพิจารณาได้ว่าจะสามารถเอาบทเรียนอันไหนมาพิจารณาได้บ้าง
  • เอกภาพในหลักการประชาธิปไตยคือการตั้งอยู่ในหลักการเดียวกันซึ่งต้องวางอยู่บนฐานของหลักการ อุดมการณ์ และเจตนารมณ์ของประชาธิปไตยที่เป็นเอกภาพ
  • การเขียนรัฐธรรมนูญเป็นการเขียนแบบเจ้าเล่ห์คือสามารถออกได้สองหน้า เมื่อไหร่ก็ตามที่ผลออกมาตามที่เขาต้องการเขาก็สามารถที่จะให้เดินหน้าตามนั้นได้ แต่ถ้าผลออกมาตรงกันข้ามเขาก็จะล้มกระดานหรือไม่ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงปฏิวัติ

 

วรรณภา ติระสังขะ

ขบวนการประชาธิปไตยที่ผ่านมาเป็นอย่างไร บทเรียนอะไรที่เราต้องเก็บไว้ และบทเรียนอะไรที่เราควรจะต้องมองถึงปัญหาแล้วก็ปรับปรุงมากขึ้น

 

 

 

ศิธา ทิวารี

สําหรับบทเรียนประชาธิปไตย 2475 ผมคิดว่าเราต้องกลับมาย้อนดูครับว่า 92 ปีที่ผ่านมา หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วนั้น กราฟของคําว่าประชาธิปไตยย่อมสูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก แล้วมาย้อนดูว่า 92 ปีที่ผ่านมากราฟที่ผมพูดถึง ณ เวลานี้อยู่บนจุดสูงสุดหรือว่าตกต่ำลงมา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องมาพิจารณา แล้วเราจะได้รู้ว่าบทเรียนหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบัน เราจะสามารถเอาบทเรียนอันไหนมาพิจารณาได้

ย้อนไปตั้งแต่แรกเริ่มการปฏิวัติ 2475 อาจารย์ปรีดี พนมยงค์เป็นคนที่มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกๆ ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นฉบับที่หนึ่งและฉบับที่สอง แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นคือจุดเริ่มต้นของกราฟประชาธิปไตย ซึ่งทําให้ประชาธิปไตยโดดขึ้นไปสูงมาก และกราฟก็ควรจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นระยะเวลา 92 ปี

แต่ ณ ปัจจุบันแค่เรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญ ผมเชื่อว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยคือ เมื่อกราฟโดดขึ้นมาสูง แล้วหลังจากนั้นเราก็จะเห็นว่าเส้นทางที่ผ่านมาประชาธิปไตยก็ยังลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอด รัฐธรรมนูญที่ผมมองว่าเป็นประชาธิปไตยฉบับสุดท้ายน่าจะเป็นรัฐธรรมนูญปี 40  ซึ่งร่างโดยพี่น้องประชาชน มีการเลือก สสร. ไม่มีอํานาจใดๆ เข้ามาเกี่ยวพัน เพราะฉะนั้นจึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างอย่างตรงไปตรงมา

เราลองกลับมาดูครับว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีการร่างอย่างไรบ้าง ซึ่งต้องยอมรับก่อนว่าคนที่ร่างรัฐธรรมนูญ ให้กับทั้งในเรื่องของประชาธิปไตยหรือฝ่ายประชาธิปไตยด้วย ก็ร่างรัฐธรรมนูญให้กับการยึดอํานาจและการทํารัฐประหารด้วย ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญในการรัฐประหาร คนร่างก็ออกมายืนยันเลยครับบอกว่าการเขียนรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามใจของผู้ที่สั่งให้เขียนมีคําพูดแบบนี้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นคนที่สั่งให้เขียนก็คือคนที่ยึดอํานาจรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ ซึ่งก็น่าจะเขียนโดยคนกลุ่มเดิมๆ ซ้ําๆ โดยเฉพาะคนที่อาจจะเริ่มต้นจากการเป็นเลขานุการตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งตอนร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 30-40 ปีที่แล้วก็มีส่วนร่วมในการเขียนจนกระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย

ผมเชื่อว่าบทเรียนหรือการพัฒนาฝ่ายประชาธิปไตยในช่วง 20 ปีหลัง เราเป็นรอง เราแพ้การพัฒนาหรือการกลายพันธุ์ของฝ่ายเผด็จการ เราอาจเคยได้ยินนะครับว่าเคยมีการพูดถึงเรื่องต้นไม้พิษผลไม้พิษต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วคนพูดก็เป็นอดีตนายกด้วย ซึ่งก็มีบทบาททางการเมืองสําคัญ ณ ปัจจุบัน เมื่อก่อนเราสามารถแยกต้นไม้ 2 ประเภทก็คือ ต้นไม้พิษหรืออาจจะมองว่าเป็นต้นไม้ของเผด็จการ กับต้นไม้ที่ให้ผลผลิตที่ดีอันเป็นต้นไม้ของประชาธิปไตย

 

 

แต่จากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว พัฒนาการของมันมีลักษณะเหมือนการตัดตาแล้วก็ไปทาบกิ่ง คือคนที่ออกไปเลือกปลูกต้นไม้ เขาหวังที่จะปลูกต้นไม้ประชาธิปไตย เลือกจากฝั่งประชาธิปไตย ต้องการให้ไปรวมกัน แล้วเราก็ใช้คําว่าได้กลิ่นความเจริญ แต่ว่าถัดมากลายเป็นว่าใช้ต้นไม้ที่บอกว่าเป็นประชาธิปไตยนี่แหละแล้วก็เอากิ่งเผด็จการมาทาบ

หากถามว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร จะเป็นผลไม้ที่ดีหรือเป็นผลไม้พิษ อันนี้ผมคิดว่าการเมืองเนี่ยถ้าเกิดมาเปรียบเทียบการเมืองไทย ณ ปัจจุบันนี้ออกแบบในรูปแบบที่ผมกล่าวมานี้ได้

ในส่วนของการร่างรัฐธรรมนูญ เราเล่นในเกมที่เขาเขียนขึ้นเสมอ แล้วคนที่เขียนมา 30-40 ปี เขาเอาบทเรียนเข้ามาแก้ไข แรกก็จะเขียนธรรมนูญไปในทิศทางหนึ่งซึ่งแน่นอนหลักกฎหมายที่ดีก็คือตัวบทกฎหมายซึ่งชัดเจนแล้ว ก็ใช้อํานาจการตัดสินใจของคนให้น้อยที่สุด

รัฐธรรมนูญในความคิดของผมนั้น คิดว่าเป็นการเขียนแบบเจ้าเล่ห์มากๆ คือเป็นการเขียนด้วยการที่สามารถออกได้สองหน้า คือเมื่อไหร่ก็ตามที่ผลออกมาตามที่เขาต้องการ เขาก็สามารถที่จะให้เดินตามนั้นได้ แต่ถ้าผลออกมาตรงกันข้ามหรือคํานวณหักลบหนี้แล้วขาดทุน เขาก็จะล้มกระดานหรือไม่ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง

เรามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างจากรัฐธรรมนูญหรือจากกฎหมายลูกที่กําหนดมา เรามีศาลรัฐธรรมนูญที่จะมาคอยตีความ แล้วก็มีองค์กรอิสระต่างๆ ที่จะมาทําในส่วนของกฎหมายลูก ถ้าเราจําได้มันมี ตั้งแต่พอเขียนรัฐธรรมนูญมาแล้วก็ฉบับหลังนะครับฉบับปี 40 ที่ผมบอกเป็นประชาธิปไตย ใช้วิธีการหารร้อยซึ่งผมจะไม่ลงรายละเอียด แต่การหารร้อยเนี่ยจะทําให้พรรคการเมืองที่ยิ่งที่ใหญ่จะยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าเกิดเป็นการหาร 500 พรรคการเมืองที่ใหญ่จะโดนตัดทอนลงมา เมื่อเขาเขียนแบบนี้ปรากฏว่าเกิดพรรคไทยรักไทยในอดีต แล้วก็ได้ สส. ถล่มทลาย ครั้งแรกก็เกือบครึ่งสภา ครั้งที่สอง 377 จาก 500 เขาก็มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่หลังจากที่มีการยึดอํานาจ ด้วยการใช้การหาร 500

ในการหาร 500 นี้ ถ้าเอาโมเดลเดียวกันไปคํานวณในการเลือกตั้งแบบเดิม 377 อาจจะเหลือประมาณ 320-330 เท่านั้น ก็ทําแบบพอกลับก็กลับไปเป็นหาร 500 พอหาร 500 การเมืองก็พัฒนาไปเรื่อยๆ เมื่อดูแล้วว่าหาร 500 ขาดทุนอีกแล้ว  ก็กลับมาหาร 100 ใหม่เพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์

ถ้าเรายังจํากันได้และดูให้ละเอียดในเส้นทางการเมืองที่ผ่านมา มีการตัดคะแนนพรรคใหญ่ไปแจกพรรคเล็ก พรรคเล็กโดนได้คะแนนจากพรรคก้าวไกล ณ เวลานั้นซึ่งควรจะได้ 88 หรือ 87 เสียงนะครับ ผมเข้าใจว่า 88 เสียงโดนตัดเหลือ 80 แล้วเอาคะแนนไปแจกพรรคเล็กซึ่งได้คะแนนกันคนละ 30,000 คะแนน ซึ่งจริงๆ น่าจะเป็น 70,000 กว่า ก็ไปแจกเพราะรู้อยู่แล้วว่าใช้เงินไปช็อปได้เอาเงินไปจ่าย เอากล้วยไปแจก และเขาก็จะมารวมกับเราทําให้เราใหญ่ขึ้น คือลําพองใจกันถึงขนาดพูดว่าตั้งรัฐบาลไปก่อนเดี๋ยวก็ใหญ่เอง แล้วก็ทําได้ด้วย พูดแม้กระทั้งว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีไซน์มาเพื่อพวกเรา พวกเราคือนักการเมือง พวกเราไม่ใช่ประชาชน เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าพัฒนาการของประชาธิปไตยตั้งแต่ 2475 กราฟเนี่ยก็ยังขึ้นมาตลอดหรือลุ่มๆ ดอนๆ เป็นไซด์เวย์อัพออกด้านข้าง แต่ในช่วง 20 ปีหลังจากการยึดอํานาจปี 49 และยึดอํานาจปี 57

ในปี 57 พัฒนาการของเขาบอกว่าการยึดอํานาจเมื่อปี 49 เสียของเพราะฉะนั้นเนี่ยทุกอย่างในระยะเวลา โดยเฉพาะ 10 ปีหลังที่ผ่านมา เขายัดกลไกทุกอย่างเข้าไปในกฎหมายแม่และกฎหมายลูกเข้าไปในองค์กรอิสระเข้าไปในทุกภาคส่วนและปัจจุบัน

เมื่อกี้จะมีคําถามที่ 2 ที่เราบอกว่าเอกภาพของประชาธิปไตย ผมเรียนว่า ณ ปัจจุบันเอกภาพที่เกิดขึ้นมันเป็นเอกภาพของคนที่กระหายอํานาจ และก็ต้องการที่จะเข้าไปหาประโยชน์จากการเมืองเป็นเอกภาพเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าคนที่มีอาวุธ คนที่เป็นนายทุนใหญ่ คนที่เป็นนักการเมืองทุกอย่างไหลรวมกันไปผสมกลมกลืนกัน ซึ่งไม่ได้เอื้อต่อประชาธิปไตยเลย

 

 

ถ้าวนเข้าคําถามที่ 2 ที่ถามถึงเอกภาพของความเป็นประชาธิปไตยนั้น ผมมองว่าเราต้องเป็นเอกภาพในหลักการประชาธิปไตยคืออยู่ในหลักการเดียวกัน ซึ่งหลักการอุดมการณ์และเจตนารมณ์ของประชาธิปไตยต้องเป็นเอกภาพ แต่ความหลากหลายภายใต้เอกภาพอันนี้สามารถที่จะทําได้ เพราะฉะนั้นเก็ต้องแยกแยะว่าความขัดแย้งทางประชาธิปไตยความเห็นต่างกันเป็นสิ่งที่ดีนะครับ แต่กลไกประชาธิปไตยที่ถูกต้องเขากําหนดอยู่แล้ว

คาดการณ์ในอนาคตต่อไป ผมบอกว่าการเขียนกฎหมายเอื้อให้กับฝ่ายเผด็จการคืออะไรผมบอกเลยครับในการเลือกตั้ง สว. ที่เกิดขึ้นไม่มีประเทศไหนในโลกที่เขาต้องการให้ประเทศเจริญแล้วเขียนกฎเกณฑ์การเลือกตั้งแบบนี้ออกมาให้สับสนอลหม่านหมดแล้วก็ท้าทาย หนึ่งคือ ให้คนลงสมัครเนี่ยฟ้องร้องกันระเนระนาดคนที่สมัครเข้าไปดีดีเป็นคนดีดีตอนนี้ยังไงรู้ไหมครับ พอเข้ามาถึงจะไปถึงขั้นตอนที่ 3 หรือ 4 กลายเป็นว่าถ้าอยากชนนะก็ต้องกลืนเข้าไปสู่ระบบเดิมๆ นั่นก็คือต้องไปสังกัดพรรคการเมือง และการเลือกตั้งแบบนี้ มันท้าทายนักการเมืองให้เข้าไปแสวงหาสมาชิกรัฐสภาเพิ่มเติม โดยการใช้เงินน้อยกว่าการเลือกตั้งเป็น 10 เท่า การเลือกตั้งต้องซื้อตัว สส. 60-80 ล้านบาท ใช้เงินในพื้นที่ซื้อเสียงอาจจะร่วม 100 ล้านบาท ได้หรือไม่ได้ยังไม่รู้ ครั้งนี้คัดกันมาให้เหลือน้อยแล้วโดยไม่ต้องไปซื้อเสียงจํานวนเป็นหมื่นๆ คน แต่ว่าใช้แค่ไม่กี่ 10 คนก็สามารถชนะได้ สามารถได้สมาชิกรัฐสภามา 1 คนที่มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับ สส. ที่ต้องใช้เงินเป็น 100 ล้านในการที่จะไปเลือกตั้งแบบผิดๆ เข้ามา

เพราะฉะนั้นเมื่อเขียนกฎหมายแบบนี้มันส่งผลอะไรบ้าง กลับไปดูข้อที่ผมบอก เขาเขียนกฎหมายมาโดยที่ถ้าถึงเวลาสรุปจํานวน สว. ใหม่ๆ ของเราที่จะได้มา 200 คน เป็นพวกตัวเองอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมที่ต้องการเค้าก็ปล่อยให้ สว. ทํางานได้ แต่ถ้าคํานวณมาแล้วปรากฏว่า สว. ของอีกฝั่งนึงหรือว่าของคนกลางๆ ที่ตัวเองไปสั่งไม่ได้คนที่ทําตามความถูกต้องเข้าไปเยอะ เขาก็สามารถล้มกระดาน หยิบจับข้อกฎหมายตรงไหนมาก็ได้ นี่คือความเจ้าเล่ห์ที่ฝังไว้ในรัฐธรรมนูญ


แล้วถ้าเรายังต้องสู้กันในระบอบประชาธิปไตยโดยที่อยู่กับระบบแบบนี้ ผมเชื่อว่าโอกาสที่เราจะไปถึงคําถามข้อที่ 3 ที่บอกว่า การเป็นประชาธิปไตยแบบสมบูรณ์สามารถจะเป็นไปได้หรือไม่

ผมต้องเรียนก่อนครับว่า คําว่าประชาธิปไตยแบบสมบูรณ์ซึ่งตั้งแต่สมัยท่านปรีดีมาจนถึงปัจจุบัน 92 ปี แน่นอนว่าเราเปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะฉะนั้นเราจะพูดอยู่ภายใต้ระบอบที่เรียกว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อันนี้ในความคิดของผมนะครับ เพราะว่าซึ่งจริงๆ แล้วเนี่ยถ้าเราพูดไปนอกเหนือจากนี้ก็อาจจะโดนข้อหานู้นข้อหานี้ไปถึงขั้นล้มล้างการปกครองได้หรือว่าปัจจุบันเนี่ยเขาดูละเอียดไปถึงขั้นว่า พูดแตะตรงโน้นตรงนี้ก็เป็นการเซาะหล่นบ่อนทําลายได้ เพราะฉะนั้นมันค่อนข้างจะละเอียดอ่อน แต่เอาแค่ว่าการที่จะเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสําหรับระบบการเมืองแบบบ้านเราที่ทุกฝ่ายไหลรวมกันไปแล้วก็ไปทําเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

ผมคิดว่าเราน่าที่จะอยู่บนเส้นกราฟของประชาธิปไตยที่กําลังดิ่งตกต่ําลงทุกวันนะครับ แต่ว่าก็ไม่ได้พูดให้หดหู่นะครับ ภาพที่เห็นแล้วก็เป็นส่วนดีก็คือ การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาฝ่ายที่ไม่ใช้เงินในการซื้อเสียง ใช้เงินแค่การบริหารจัดการตามปกติที่ กกต. อนุญาต กกต. กําหนดจะสามารถที่ชนะแล้วได้เสียงส่วนใหญ่เข้าไปในรัฐสภา ผมเชื่อว่าครั้งหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและ ประชาธิปไตยสมบูรณ์อย่างที่เราต้องการที่จะเห็นก็จะมีวันนั้นเกิดขึ้นจริงครับ ขอบคุณครับ

 

วรรณภา ติระสังขะ

คุณศิธาพูดถึงรัฐธรรมนูญเป็นตัวอย่างหนึ่งของการขึ้นลงของขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยนะคะ การแบ่งแย่งชิงพื้นที่ในการร่างรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุดเราก็เล่นเกมที่เขาเป็นคนร่างเสมอนะคะ ตัวอย่างนึงที่สําคัญคือการเลือก สว. นะคะแล้วก็อันนึงที่ดิฉันชอบมากเลยก็คือ ทุกวันนี้เราเห็นความแนบเนียนในการเปลี่ยนแปลงกลายพันธุ์ในทางการเมืองอยู่มาก แต่ละท่านลองถามตัวเองดูก็จะเห็นความแนบเนียนแบบนี้เกิดขึ้นลึกลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

และสำหรับคำถามที่ 2 ในมุมมองของผู้ที่ทำงานการเมืองและผู้ที่อยู่ทั้งในและนอกวงการการเมือง พื้นที่ของการขับเคลื่อนขบวนการประชาธิปไตยในสังคมเป็นอย่างไรบ้าง การเมืองในรัฐสภายังมีความหวังหรือไม่ และมองความขัดแย้งระหว่างประชาชนของผู้ที่สนับสนุนที่อ้างว่าตนเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง

 

 

ศิธา ทิวารี

จริงๆ แล้วผมไม่ได้แค่อยู่ในการเมืองและนอกการเมืองนะครับ ถ้าเทียบกับรายละเอียดของการเมืองในปัจจุบันต้องบอกว่า ตั้งแต่ปี 2543 ผมลาออกจากราชการทหารเป็นนักบินของกองทัพอากาศมาลงการเมืองสังกัดพรรคไทยรักไทย เคลื่อนไหวในเรื่องของการเมือง ทํางานการเมืองในมุมเดียวกับทางเพื่อไทยตลอด ถามว่ามาจนถึงเมื่อไหร่ ก็ต้องบอกว่ามาจนถึงการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แล้วก็มาเห็นสิงบอกเหตุที่จะมองว่า ประชาชนที่เลือกพรรคการเมืองเข้าไปเนี่ยอาจจะต้องการแบบหนึ่ง แต่ว่าพอถึงเวลาพรรคการเมืองก็ไปดําเนินอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมันก็จะสอดคล้องกับสิ่งที่เราที่เป็นคําถามเฉพาะของผมในวันนี้นะครับ  ก็ต้องเรียนว่า จุดของผมก็จะแย่อย่างหนึ่งครับ คือคนที่อยู่ฝั่งซ้ายสุดก็จะมองว่าผมอยู่ทางขวา คนที่อยู่ขวาสุดก็จะมองผมอยู่ทางซ้าย เพราะฉะนั้นเวลาที่มองมาเนี่ยจะเห็นว่าผมไม่ได้อยู่ฝั่งเขาเลยแต่ผมมองว่าสิ่งที่เราจะสะท้อนหรือแสดงออกทางการเมืองมันน่าจะมาจากความรู้สึกนึกคิดหรือมาจากจิตวิญญาณของเราอย่างแท้จริง

ตัวผมเองจริงๆ ลูก 4 คนนะครับ อายุไม่ได้เป็นคนรุ่นใหม่ครับ ปีนี้ก็จะครบ 60 นะครับ ถ้าเกิดเขามีบํานาญหรือเกษียณผมต้องได้รับแล้วล่ะ เพราะปีนี้ใกล้จะ 60 แล้ว แต่ว่าด้วยความมีลูก 4 คนแล้วลูกผมยังเล็ก ลูกคนเล็กเพิ่งจะ 6 ขวบ ผมมองว่าถ้าเราไม่ออกมาพูด ไม่ออกมาชี้ให้สังคมเห็นเพราะว่าเราก็อยู่ในการเมืองมานาน เราเห็นรายละเอียดมานานแล้วจะให้ลูกเราเติบโตในประเทศแบบนี้ต่อไปหรือ  ก็เลยอาจจะพูดไปแล้วก็อาจจะทําให้หลายๆ ฝั่ง ผมมองว่ามองว่าผมไม่ได้เข้าข้างอะไรอย่าง หรือแม้กระทั่งว่าอย่างตอนเพื่อไทยเมื่อก่อน สมัยที่เป็นไทยรักไทย เป็นพลังประชาชน จะมีม็อบมีอะไร ผมบอกเลยว่าผมเป็นน่าจะเป็นไม่กี่คนนะครับที่ไม่เคยไปม็อบเลย ไม่ใช่ว่าผมไม่สนับสนุนนะครับ แต่ผมเห็นว่าสิ่งที่เขาทําบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการทํา แต่วิธีการที่บอกว่าจะไปทางซ้ายไปทางขวาจะขึ้นเขาลงห้วยหรือว่าลงน้ําหรือจะเดินไปข้างหน้าอาจจะไม่ตรงกันแค่นั้นเอง แต่ว่าอยากให้บรรลุวัตถุประสงค์

แต่ในความคิดของผมคือ การเมืองต้องใช้ความคิดนํามวลชน แต่การเมืองที่ขับเคลื่อนในรูปแบบมวลชนนําความคิดเนี่ยมันเป็นอีกมุมหนึ่งซึ่งก็จะสอดคล้องกับสิ่งที่พูดวันนี้

คําถามแรกครับที่บอกว่าพื้นที่ขับเคลื่อนของฝ่ายประชาธิปไตยทุกวันนี้มีการเปิดกว้างอะไรยังไงนั้น ในภาพรวมที่ทุกคนเห็นคือการแสดงออกทางการเมืองถูกจํากัดเฉพาะฝั่งที่สนับสนุนรัฐบาลมาในช่วง 10 ปีหลังนี้ค่อนข้างที่จะชัดเจนมาก ตอนนี้อาจจะดูว่ามันดีขึ้น แต่อย่างที่ผมบอกครับการเมืองปัจจุบันมันเหมือนกับการทาบกิ่ง กับต้นไม้เดิมซึ่งอาจจะมีความคงทนหรือว่าอาจจะโตมาจากประชาธิปไตย พอถึงเวลาทาบกิ่งแล้วผลผลิตออกมามันอาจจะไม่ใช่ มีคําหนึ่งที่หนุ่มเมืองจันท์เคยพูดว่า เวลาที่เราเห็นคนออกไปกระโดดโลดเต้นอยู่กลางถนน เราอย่าเพิ่งไปคิดว่าเค้าเป็นคนบ้า แต่ที่จริงอาจจะเป็นเราที่หูดับและไม่ได้ยินเสียงเพลงที่มันกําลังกระหึ่มดังอยู่ก็ได้ ซึ่งตรงนี้ มันเป็นจุดที่เราต้องย้อนกลับมาดู แล้วคนที่เป็นรุ่นผู้ใหญ่อย่างผมต้องมาคิดว่าแล้วเราจะสนับสนุนระบบเดิมต่อไปเพื่อให้เด็กเติบโตไปในประเทศแบบนี้หรือ ผมมองว่ามันต้องมีคนที่เผชิญกับภาวะเครียดได้แล้วก็กล้าที่จะออกมาพูดแล้วบอกว่าสิ่งนี้มันไม่ถูกต้อง นี่คือสิ่งที่ผมกําลังพยายามทําอยู่ เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าพื้นที่ที่เปิดกว้างทางการเมืองของฝั่งที่ผู้มีอํานาจอาจจะไม่นิยมชมชอบก็จะถูกปิดกั้นแคบ ส่วนฝั่งที่ออกมาสนับสนุนก็จะกว้างขึ้น

คำถามที่ 2 คือ รัฐสภาสามารถเป็นที่พึ่งที่หวังให้กับพี่น้องประชาชนได้หรือไม่นั้น ผมเรียนว่าเราอยู่ในระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาจริงๆ แล้วคือตัวแทนประชาชน สว.อาจจะมาจากกลไกแปลกๆ แต่ สส. ก็ประชาชนเลือกเข้ามานะครับ อาจจะมีกลไกในการไปแมนบุเลต สส. ให้ต้องทําอะไรหลายอย่างที่จริงๆ แล้วอาจจะขัดกับความรู้สึกของประชาชน อันนี้ผมจะพูดได้เต็มปากเพราะผมเป็นนักการเมือง เช่นถ้านักการเมืองของพรรคเพื่อไทย ที่อยู่ในกรุงเทพฯ เขาบอกเลยว่าถ้าพรรคเดินแบบนี้ครั้งหน้าเค้าไม่มีอนาคตทางการเมืองในการเลือกตั้งเลยเพราะว่าเค้าจะไม่ชนะ

อันนี้มันเป็น fact ที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วถามว่ามันเครียดไหม คำตอบคือมันเครียดกับทุกคน แต่เขาจําเป็นที่จะต้องยอมรับ ผมไม่ได้อยู่ในการเมืองตอนนี้ ไม่สังกัดพรรคอะไรเลย ออกจากทุกพรรคมาแล้วก็มาดูการเมือง แต่ถามว่าจะทิ้งการเมืองไหม ไม่ได้ทิ้งครับ ถามว่ายังช่วยที่จะให้ระบบการเมืองทุกอย่างถูกต้องและถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างออกไปหรือเปล่า ผมจะทําต่อไปนะครับ แล้วใครจะด่าจะว่าอะไรหรือไม่  ถ้าใครติดตามการดีเบตกับท่าน สว. ยุคที่แล้วที่กําลังจะหมดวาระไปกลางรายการบอก เรียกคุณศิธาว่าเป็น...ได้ไหม ผมก็ยังบอกว่าถ้าอยากเรียกก็เรียก ผู้ชมเป็นคนวินิจฉัยไม่ใช่ผมจะต้องไปตอบโต้กับท่าน เพราะฉะนั้นเนี่ยผมบอกเลยว่ารัฐสภาซึ่งคนที่ถูกเลือกเข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชนซึ่งคําจัดความนี้อาจจะไปทาง สส. มากกว่า สว. เพราะ สว. อาจจะเข้าไปโดยที่มีการจัดตั้งค่อนข้างมากในครั้งนี้นะครับ เราควรจะใช้ระบบนี้แล้วก็ทําให้มันถูกต้อง และ tendency ของการเมืองไทยทุกวันนี้มันเป็นไปในมุมที่ดี แล้วการเมืองก็จะเป็นเรื่องของกระแสความนิยมชมชอบของประชาชน เอาชนะกระสุน และเอาชนะบ้านใหญ่ได้นะครับ

สำหรับคําถามสุดท้ายที่ว่า ความขัดแย้งของผู้สนับสนุนและกองเชียร์พรรคการเมือง ที่สร้างความขัดแย้งมหาศาล  ผมต้องขอสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาว่าผมอยู่ในการเมือง และเมื่อครั้งที่มีม็อบมีการดึงประชาชนลงมาเกี่ยวข้องมากที่สุดจนกลายเป็นว่าประชาชนเนี่ยโดดเข้ามาเชียร์การเมือง แล้วไม่ได้เชียร์อย่างคนที่เป็นเจ้าของเงินภาษีอากรหรือเป็นเจ้านายของนักการเมือง แล้วให้นักการเมืองกินเงินเดือนภาษีอากรจากเราแล้วไปทําตามที่เราหวัง

แต่เขาเชียร์พรรคการเมืองในรูปแบบที่ผมบอกว่ามันเหมือนกับการเชียร์ฟุตบอล คือเวลาเห็นอีกฝั่งนึงมาล้มฝ่ายเราก็บอกว่าเค้าพุ่งล้ม พอฝั่งเราไปล้มในฝ่ายเค้าก็บอกว่าต้องได้จุดโทษ คือเป็นการเชียร์แบบนี้หมด เพราะฉะนั้นเนี่ยอยากให้เปลี่ยน mindset ของกองเชียร์ใหม่ว่า การที่เราเลือกใครก็แล้วแต่เข้าไปทํางานถือว่าเค้าเป็นผู้รับใช้เราครับ ไม่ใช่การนับหนึ่งเป็นการนับศูนย์ในการที่จะเค้าเริ่มหนึ่งสองสามในการทํางานให้เรา ไม่ใช่ว่าเข้าไปแล้ว จะไปเปลี่ยนแปลงคําพูดหรืออ้างนู่นอ้างนี่ที่มันไม่สมเหตุสมผลยังไง แล้วเราจําเป็นที่จะต้องตามไปเชียร์อย่างสุดตัวนะครับ ผมถึงบอกว่าสิ่งที่ผมทําก็จะตรงกับสิ่งที่ผมพยายามจะสื่อสารกับสังคมอยู่ตลอดเวลา แต่ทําให้คนรู้สึกว่า ผมอ่ะอยู่อีกฝั่งหนึ่ง หรือแม้กระทั่งอย่างพรรคเพื่อไทยที่ผมเคยสังกัด ซึ่งคนดูก็รู้ว่าตอนอภิปรายหรือตอนดีเบตผมก็จะพูดเรื่องความเป็นธรรมแล้วแก้ต่างให้หลายๆ พรรค แต่ถ้าเกิดมีอะไรที่ผมดูว่ามันออกนอกร่องรอยในความคิดของเราซึ่งผมอาจจะผิดก็ได้

ผมจะรู้สึกว่ามันไม่ใช่ซึ่งผมจำเป็นต้องพูด คนที่อยู่ในเพื่อไทยก็บอกว่าผมเปลี่ยนไป ผมไม่เหมือนเดิม ผมไปโจมตีเขา ผมบอกว่าถ้ายึดพรรคการเมืองยึดตัวบุคคลเนี่ยผมอาจจะเป็นอย่างคุณว่า แต่ถ้ายึดอุดมการณ์ ยึดหลักการที่ถูกต้อง ผมเชื่อว่าผมอยู่ที่เดิม แต่พวกคุณเองที่เปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ ทั้ง 3 คําถาม สำหรับผมคิดว่าเป็นที่พึ่งที่หวังและเป็นทางออก แต่เวลาสื่อสารอาจจะรู้สึกว่ามันขัดแย้งบ้างก็ถือว่าเป็นสีสันของประชาธิปไตยที่ทุกคนต้องมีความคิดหลากหลายครับ

 

วรรณภา ติระสังขะ

ดิฉันรู้สึกว่าต้องขอบคุณพื้นที่ประชาธิปไตยที่ทําให้คนที่เห็นต่างมีพื้นที่ในการออกมาพูดดังๆ ได้บ้าง แล้วก็ไม่ได้เห็นด้วยตามๆ กันไปกับทุกเรื่องเสียทีเดียว พูดให้คิดพูดให้เค้ารู้สึกแล้ว ก็ต้องมีคนแบบนี้ออกมาพูดบ้างและยอมเป็นหน่วยกล้าตายให้กับบางคนที่เค้าอาจจะไม่กล้าพูด และอีกอันสิ่งที่ดิฉันคิดว่าน่าสนใจมากๆ คือเราอย่าตัดสินคนอื่นจากมุมมองของตัวเราเองเสมอไปเพราะบางทีเราไม่รู้หรอกว่าเขาเหล่านั้นคิดอย่างไร เกิดอะไรขึ้นกับเขา เขาจึงตัดสินใจในแง่มุมแบบนั้น ดังนั้น ถ้าฟังคนอื่นมากขึ้นก็จะทําให้ประชาธิปไตยมันเดินต่อไปข้างหน้าได้ 

 

 

 

 

 

รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/live/YVb4lfLzWIE?si=YxynccePR8-K5Juj

ที่มา : PRIDI Talk #26: 92 ปี อภิวัฒน์สยาม “เอกภาพขบวนการประชาธิปไตย สู่ ประชาธิปไตยสมบูรณ์จากบทเรียน 2475 สู่อนาคต” เนื่องในวาระ 92 ปี อภิวัฒน์สยาม วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 น.-17.00 น. ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์