ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

คอมมิวนิสม์คืออะไร ?

14
กันยายน
2567

 

๑. คอมมิวนิสม์ (ลัทธินิยมมวลชนหรือสรรพสาธารณนิยม) นั้น มักจะวิเคราะห์ศัพท์กันว่า เปนการก่อร่างสร้างองค์การเมืองเสียใหม่ทำนองโซซลิสม์ (ลัทธินิยมชุมชนหรือสังคมนิยม) รูปใดรูปหนึ่ง โดยอาศัยแผนการเลิกทรัพย์สินเอกชน และโอนทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเอกชนครอบครองอยู่แต่ก่อนนั้น ไปเปนของรัฐ แล้วรัฐรับภาระในการแบ่งสรรการงานให้แก่พลเมืองแต่ละคน และแบ่งกำไรในระหว่างพลเมืองนั้น ๆ โดยทั่วกัน.

๒. ศัพท์นี้ ในอดีตได้ใช้หมายความรวม ๆ ถึงโครงการจัดระเบียบชุมชนโดยมีการเลิกกรรมสิทธิ์เอกชน และมอบทรัทย์สินทั้งหมดให้เปนของมวลชน. พวกคริสเตียนในตอนต้นได้รวมทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งตนมีอยู่นั้น เข้าเปนของกลาง และแต่ละคนเอาของกลางนั้นมาใช้ตามที่ตนต้องการ. มหาบุรุษหลายท่าน เช่น เปลโต ธอมัส มอร์ แซงค์ ชีมอง ฟูริเอร์ และรอเบอร์ต โอเวน อาศัยความรู้สึกสังเวชเปนอย่างยิ่ง ในความยากจนข้นแค้นของคนจน และอาศัยความปรารถนาอันแรงกล้าในอันจะยกความสุขความสบาย ความปรองดองเปนพี่น้องกัน และความธำรงศีลธรรมของมนุษยชาติให้ลุระดับที่สูงขึ้น จึงได้วางแผนการชุมชนเชิงอุดมคติ ว่าจะให้สมาชิกในชุมชนนั้นถือทรัทย์ต่าง ๆ เปนของกลางรวมกันแล้วจะได้มีชีวิตเปนศรีสุข ปราศจากความกังวลทั้งปวง จะได้รับเครื่องอยู่กินนุ่งห่ม รับการศึกษา และรับความพิทักษ์รักษา จากรัฐ ซึ่งจะได้ปันงานอันจะพึงกระทำเพื่อความสวัสดีของมวลชนนั้น ให้แก่สมาชิกแต่ละคน ตามส่วนที่สมควร. อุดมคติทั้งนี้ ได้มีผู้สนับสนุนในประเทศมากหลายเกือบทุกยุคทุกสมัย และเปนอุดมคติที่มีเสน่ห์อย่างแปลกปลาดจับใจยุพชนซึ่งมีความรู้สึกแรงกล้า และมีใจไหวติงต่อคติต่าง ๆ.

๓. ในวาระต่าง ๆ เปนลำดับมา ได้มีคณะชน ฉะเพาะอย่างยิ่งในอเมริกาสละกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชน แล้วยังชีพตามทฤษฎีคอมมิวนิสม์ แต่สมาคมเช่นว่านี้ หายากที่ได้ดำรงอยู่นาน.

๔. นอกจากการทดลองกะท่อมกะแท่นชั่วครั้งคราวเหล่านี้แล้ว แนวความคิดที่รวมกรรมสิทธิ์เปนของกลางนั้น ยังได้มีอิทธิพลอันลึกซึ่งเปนเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ในการวิวัตน์มันแปร (evolution) ของมนุษยชาติ ในทางการชุมชนทางการโภคกิจ และทางการเมือง. หลักที่ว่าเอกชนจะต้องมีส่วนพลีในการบำรุงรักษากิจการอัน เปนอุปการะหรือเปนประโยชน์ที่จะพึงได้รับร่วมกัน เช่น ทางหลวง ความสงบเรียบร้อย ระเบียบการท่อระบาย และการประปา วนาสาธารณะ บำนาญผู้แก่เฒ่า ฯลฯ นั้น เปนหลักอันจำ เปนส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันและอารยธรรมของเรา. สมาคมสหกรณ์ใหญ่ ๆ ทั้งในการประดิษฐ (การบังเกิดโภคทรัพย์ - production) และการประดน (การจำหน่ายโภคทรัพย์ -supply) กับทั้งการดำเนินตามแบบโซซลิสม์และแบบคอเลคติวิสม์ (ลัทธินิยมปวงชนหรือสมูหนิยม) นานัปประการ ก็ได้คติความคิดมาจากคอมมิวนิสม์ และในที่สุด กำหนดการของคณพรรคการเมือง เกือบทุกสีทุกวรรณ ก็มีแนวความคิดทำนองคอมมิวนิสม์ย้อมอยู่ด้วย เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดในเชิงศัพท์แล้ว คำว่า "คอมมิวนิสม์" หรือ"คอมมิวนิสต์” ก็ไม่มีความหมายอันเปนตำหนิติดพันธ์อยู่ประการใดเลย.

๕. แต่ในปีท้าย ๆ นี้ ในประเทศที่เดียงสาในการเมืองแล้ว ได้มีนำคำ "คอมมิวนิสม์” มาใช้เปนสลากเครื่องหมายสำหรับบรรดาวาทะของคณพรรคการเมืองชนิดหนึ่ง, การที่เปนมาดังนี้ เนื่องมาหาจากประพันธ์ของ คาร์ล มาร์คซ (ค.ศ. ๑๘๑๘ - ๑๘๘๓) เปนสำคัญ คาร์ล มาร์คซเปนนักคิดยิ่งใหญ่คนหนึ่งซึ่งใช้วิธีวิทยาศาสตร์ศึกษาอิทธิพลอันวิธีการโภคกิจใหญ่มีอยู่ในชีวิตการเมือง มาร์คซ เปนนักสังคมวิทยา (วิชาว่าด้วยชุมชน- sociology) และวาทะอันเปนหลักมูลของมาร์กซ์ ซึ่งได้วิวัตน์แปรผันเอามาจากการศึกษาระเบียบการอุตสาหกรรมโรงงานอันกำลังเกิดขึ้น

และระเบียบการเมืองของปรัสเซียนั้นได้เปนประหนึ่งตอร์ปีโดระเบิดทฤษฎีแบบฉะบับในเรื่องชุมชน ซึ่งนักโภคศาสตร์แต่ก่อน ๆ ได้สันนิษฐานเอามาจากระเบียบการเกษตรกรรม ซึ่งครอบคลุมสมัยของเขาอยู่. ในหนังสือชื่อว่า “ดัส คะปีตาล” (ทุน) นั้น มาร์คซพิจารณากลไกแห่งวิธีการคะปิตะลิสม์(วิธีการนายทุน) โดยตลอด ทั้งทางประวัติศาสตร์และทางวิพากษ์, มาร์คซได้แสดงโดยแจ่มแจ้งว่าในการรวิวัฒน์ผันแปรตามประวัติศาสตร์นั้น ตัวการประดิษฐกรรมได้กระทำหน้าที่อย่างไร กับได้อธิบายว่า มีอิทธิพลดลบันดาลรูปองค์การชุมชนอย่างไร และดลบันดาลคติความคิดอันเปนที่ตั้งแห่งรูปองค์การชุมชนนั้น ๆ อย่างไร.

ทฤษฎีของมาร์คซมีอยู่ว่า ในขั้นที่สุด แนวควานคิดและหลักประเพณีของชุมชนในยุคใดยุคหนึ่ง ก็เปนไปตามวิธีการอยู่กินทางโลกนั้นเอง เพราะฉะนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหลักมูลแห่งวีธีการอยู่กินทางโลกแล้ว ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลักมูลแห่งวิธีการอยู่กินทางโลกแล้ว มาร์คซถือว่า กำลังประดิษฐกรรมซึ่งมนุษย์มีอยู่นั้น มีอยู่อย่างไรและเจริญมาอย่างไร ก็ย่อมบังคับให้ความสัมพันธ์ทางโภคกิจและการชุมชนมีความผูกทันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างนั้น ๆ และถือว่า หลักประเพณีของชุมชนสถานใดสถานหนึ่ง ย่อมอนุโลมตามวิธี การประดิษฐกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ในขั้นที่สุดประวัติศาสตร์ การเมืองและการวิชาความรู้ในสมัยใดสมัยหนึ่งก็ต้องอนุโลมตามวิธีการประดิษฐกรรมในสมัยนั้น. ตามความเห็นของมาร์คซเห็นว่า ความสัมพันธ์ทางโภคกิจมีโครงสร้างอยู่อย่างไร ก็บังคับและกำหนดให้ความเจริญทางการเมืองของมวลชนซึ่งอยู่ในโครงสร้างโภคกิจนั้นเปนไปอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะว่า รัฐ ซึ่งทำต้องจัดระเบียบการสัมพันธ์ของคนในทางการ เมืองย่อมตั้งอยู่เพื่อรักษาภาวะที่จำเปนสำหรับดำเนินการประดิษฐกรรมและอำนวยอุปกรณ์การยังชีพให้แก่พลเมืองเปนสำคัญ.

๖. แต่มาร์คซถือทฤษฎี (ซึ่งออกจะเปนที่สงสัยอยู่)) ด้วยว่า "มูลย์ค่าแรงงาน" เปนปัจจัยที่กำหนดมูลย์ค่าแลกเปลี่ยน หรือมูลย์ค่าตลาดของสินค้าและเถียงว่า ตามลัทธินายทุนนั้น ได้ถือผิดไป ว่าแรงงานเป็นสินค้าอันจะพึงซื้อขายกัน จึงมีผลดังนี้ คือ พวกนายทุนได้ผูกขาดเอาอุปกรณ์ประดิษฐกรรมไปไว้เปนของตนเสียหมด เปนเหตุอันจำต้องนำมาซึ่งการกดใช้กรรมกรด้วย เหตุฉะนี้ มาร์คซจึงเกลียดชังระเบียบการของนายทุน และเชื่อว่าถึง เวลาแล้วที่ฝ่ายบุถุชนซึ่งถูกกดใช้เช่นนี้ จะปลดเปลื้องความเปนนายของฝ่ายกระฎมพีที่เปนนายทุนนั้นเสีย มาร์คซถือว่าจะกระทำการปลดเปลื้อง เช่นนี้ได้ ก็แต่โดยปลดเปลื้องชุมชนทั่วไปจากบรรดาการกดใช้ การกดขี่ การจำแนกชั้น และการต่อสู้ระหว่างชั้นนั้นเสียให้สื้นเชิงในคราวเดียวกัน.

มาร์คซอธิบายว่า คำว่า “พวกกระฎมพี” (bourgeoisie) นั้น มาร์คซหมายความถึงชนชั้นนายทุนปัจจุบันซึ่ง เปนเจ้าของอุปกรณ์ประดิษฐกรรมของชุมชน และเปนผู้จ้างพวกกรรมกรรับจ้างส่วนคำว่า “พวกชนกรรมาชีพ” (proletariat) นั้นหมายความถึงชนชั้นคนงานรับจ้างในปัจจุบัน ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ประดิษฐกรรมของตนเอง จึงจำต้องขายแรงงานของตนเพื่อจะให้ยังชีพอยู่ได้.

คำป่าวประกาศของคาร์ล มาร์คซ มีความว่า “พวกชนกรรมาชีพจะได้ใช้ความเปนใหญ่ของเขาในทางการเมือง เพื่อแย่งเอาทุนทั้งหมดมาจากพวกกระฎุมพึงเปนชั้น ๆ ไป แล้วและรวบเอาอุปกรประดิษฐกรรมทั้งหมดมาไว้ในย่านกลาง ในมือรองรัฐ กล่าวคือ ในมือของพวกขนกรรมาชีพ ซึ่งจัดระเบียบขึ้นเปยชนชั้นถืออำนาจปกครอง”.

๗. นักวิพากษ์ในปีท้าย ๆ นี้หลายคนแม้ถึงว่ายอมรับว่างานตรวจค้นของมาร์คซนั้น มีหลายประการที่มีคุณค่าอันปฏิเสธมิได้ แต่ก็ได้อธิบายให้เห็นข้อคลาดเคลื่อนในทฤษฎีของมาร์คซ ในข้อที่ว่าคณพรรคการเมืองแบ่งแยกกับตามชั้นของคน ๒ จำพวกที่ว่านั้นและชี้แจงว่า ตามระเบียบการอุตสาหกรรมและการชุมชนในปัจจุบันนี้ มีขั้นการดำรงชีพและขั้นการดำเนินโภคกิจอยู่ในระหว่างชั้นทั้ง ๒ นั้น อีกหลายชั้น จึงทำให้เห็นว่า การรวบรัดแบ่งคนออกเปน ๒ ชั้นนั้น ไม่ตรงต่อความจริง.

ผลประโยชน์ซึ่งในชั้น แรกดูประหนึ่งว่าเปนอันขัดขืนต่อกันนั้น อันที่จริงประโยชน์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกันอย่างสนิทสนม เพราะฉะนั้น ถ้าจะว่าพวกชนกรรมาชีพทั้งหมดอยู่ในค่ายหนึ่ง และพวกระฎุมพีทั้งหมดอยู่อีกค่ายหนึ่ง ดังนี้ ก็จะไม่เปนความจริงเลย.

ในข้อนี้อาจจะกล่าวข้อความได้อีกมาก ซึ่งเปนข้อควานอันสำคัญยิ่ง เพราะว่าเปนมูลเหตุแห่งการขัดขืนกันระหว่างพวกที่เรียกกันว่าคอมมิวนิสต์ และพวกคณพรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่จะให้แก้รูปการชุมชุนและการเมือง[1] ข้อความที่ว่านี้ ชี้ให้เห็นว่า ทำไมทฤษฎีที่ถือว่าคณพรรคการเมืองแบ่งกันตามขึ้นทั้ง ๒ นั้น จึ่งได้เปนลักษณะฉะเพาะของวาทะคอมมิวนิสม์ทุก ๆ ประเทศอยู่เท่าทุกวันนี้ และเปนการช่วยต่างทางให้เราวางบทวิเคราะห์ในความมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ของคอมมิวนิสม์ในปัจจุบันนี้ได้

๘. พวกคอมมิวนิสต์เชื่อว่า มีข้อบกพร่องฝังอยู่ในระเบียบการโภคกิจปัจจุบันนี้พลายอย่าง ซึ่งจะแก้ได้ก็ด้วยการ เปลี่ยมแปลงอย่างลึกซึ้งในโครงสร้างอันเปนที่ตั้งแห่งระเบียบการโภคกิจนั้น. เขาเหล่านี้ร้องขอให้การศึกษาเปนการสากลทั่วถึงกัน ให้อุตสาหกรรมเปนของประชาชาติ ให้วางระเบียบการประดิษฐกรรมโดยตั้งแผนโภคชคกิจสำหรับประชาชาติขึ้น และให้เก็บภาษีอากร เพื่อจะได้แบ่งโภคทรัพย์ระหว่างประชาชนให้ดียิ่งขึ้น สรุปความว่า ชีวิตโภคกิจของประชาชาติทุกประการ จะต้องอำนวยมาจากย่านกลางแห่งเดียว เพื่อจะได้บรรลุอุดมคติที่จะให้มนุษย์เสมอภาคกัน แต่ต้องเปนที่เข้าใจว่า ผลประโยชน์ของเอกชนต้องเป็นรองผลประโยชน์ของมวลชน. เท่าที่กล่าวมานี้ อุดมคติคอมมิวนิสต์ ยังไม่ผิดแผกมากมักจากอุดมคติของคมพรรคการเมืองอื่น ๆ อีกเปนอันมาก แต่วาทะคอมมิวนิสต์ไปไกลกว่านี้มาก.

๙. กำหนดการคอมมิวนิสต์ต่างกับกำหนดการของพรรคอื่น ๆ เพราะว่าตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ถึงทฤษฎีแห่งการสงครามระหว่างชั้นเปนที่ตั้ง และเพราะฉะนั้น จึงถือว่าการเปลี่ยมเปลงระเบียบการโภคกิจและการเมือง โดยปัจจุบันพลันพลิกนั้น เปนสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้.

ทั้งนี้ มีข้อสาธกอย่างดีในกำหนดการของพวกคอมมิวนิสต์เยอรมัน ซึ่งได้ตั้งขึ้นที่แอร์ฟวร์ต ในปี ค.ศ. ๑๘๙๑ ซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้

ตามปรกติวิสัยแห่งความเจริญทางโภคกิจ พ่อค้าน้อย ๆ จะต้องกลายเปนผู้รับจ้างหากินโดยไม่มีทรัพย์สินอย่างใดเลย สุดแท้แต่นายทุนและเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ ๆ ๒-๓ คนจะกรุณา, ในระยะต่อไป สหธุรกรรม (truts) มหึมาจะได้มีขึ้น แต่นายทุนและเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะได้ผูกขาดเอาประโยชน์แห่งสหธุรกรรมนั้น ๆ เสีย และพวกคนงานก็จะยากจนข้นแค้นยิ่งขึ้น. แล้วสงครามระหว่างชั้นอย่างขมขื่นจะได้เกิดขึ้นระหว่างพวกกระฎุมพีกับพวกชนชั้น

๑๐. กำหนดการที่ว่านี้. เปนไปในทำนองของมาร์คซโดยแท้เกือบทั้งหมดและใจความทั้งนี้ก็ได้เก็บเอามาบรรจุในคำป่าวประกาศในการเลือกตั้งทั้งของพรรคคอมมิวมิสต์ในเยอรมันนีเท่าทุกทุกวันนี้ด้วย คณพรรคนั้นปฏิเสธว่า ถ้าจะให้บรรลุรัฐคอมมิวนิสต์โดยอาศัยทบวงกรม คณะกรรมกรรมาธิการหรือรัฐสภาแล้ว ก็จะไม่มีทางที่จะสำร็จได้เลย และถือว่า ถ้าจะให้สำเร็จได้ก็มีอยู่ทางเดียว คือให้นิกรชนเข้าโจมตี

(ลงนาม) ร. กียอง
(ลงนาม) ร. อี. ฮอลแลนด์

 

 

หมายเหตุ :

  • คงอักขร การสะกดคำ การเว้นวรรค และเลขไทยตามต้นฉบับ

 

หลักฐานชั้นต้น

  • กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กรรมาธิการสอบสวนว่าหลวงประดิษฐมนูธรรมเปนคอมมิวนิสต์หรือไม่, บันทึกคอมมิวนิสม์ คืออะไร.

 


[1] หมายเหตุ

(*) ข้อนี้ มีนักประพันธ์หลายคนได้แสดง เหตุผลอันเปนที่เชื่อได้ ดู cialiom and sonisty, Loosialisnader.), welle /susinusin the Shadows), Shaw (Intelligent Woman's Guide to Socialism and Capitalism, 1929, p.218), and the Report of the Trade Union Congress, 1930.