Focus
- บทความนี้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งและความไม่สงบมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยได้รับการแก้ไขแล้ว แต่ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข
- ผู้เขียนบทความได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีอยู่ โดยเปรียบเทียบกับกรณีศึกษาของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงบทบาทของมาเลเซียและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาในพื้นที่ รวมถึงนโยบายรัฐที่ผิดพลาด “บิน(ลอยตัว)เหนือทุกสิ่งอย่าง” ่มากกว่าจะดำเนินการ “พัฒนาเหนือทุกสิ่งอย่าง”
- ผู้เขียนยังได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยเน้นความสำคัญของการหันหน้าเข้าหาประชาชน ร่วมมือกันต่อสู้กับนโยบายของรัฐที่ผิดพลาด เพื่อให้ความทุกข์ยากของคนในสามจังหวัดได้รับการแก้ไข

Behind the Accidental Border. All Rights Reserved.
Unauthorized reproductions of this map strictly prohibited and subject to legal proceedings.
ที่มา: http://patanibook.blogspot.com/2007/12/anglo-siamese-treaty-of-1909.html
๑.
ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๓๗, จนถึงบัดนี้ก็เป็นเวลาราว ๗๐๐ ปีแล้ว. อีสานเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาราว ๖๕๐ ปี. ล้านนาเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาราว ๒๐๐ ปี
แต่ล้านนากลับหลอมตัวเข้ากับประเทศไทยเป็นอย่างดีมามากกว่า ๑๕๐ ปีแล้ว, อีสานก็สามารถแก้ปัญหาแบ่งแยกดินแดนได้ตกโดยพื้นฐานแล้วกว่า ๒๐ ปี. ยังเหลือแต่ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส เท่านั้นที่โดยพื้นฐานแล้วยังแก้ปัญหาแบ่งแยกดินแดนไม่ตก.
๒.
ขอให้เรามาพิจารณาปัญหาการรวมล้านนากันเถอะ ชนชั้นศักดินาไทยอาศัยการร่วมกัน ทางศาสนาและประเพณี, อาศัยการชิดกันทางภาษา, อาศัยการผูกพันกันกันทางประวัติศาสตร์, อาศัยการสมานประโยชน์กันและการแต่งงานกันระหว่างชนชั้นศักดินาไทยกับชนชั้นศักดินาล้านนา, และอาศัยการเสื่อมอิทธิพลของพม่าและลาวถึงขั้นเป็นเมืองขึ้นอังกฤษและฝรั่งเศส, ทำให้ล้านนาสามารถสมานกับไทยได้โดยรวดเร็ว.
คราวนี้เรามาพิจารณาปัญหาอีสานดูบ้าง. ชนชั้นศักดินาแก้ปัญหาแบ่งแยกดินแดนทางอีสานไม่สำเร็จ. ปัญหาแบ่งแยกดินแดนทางอีสานแก้สำเร็จโดยพื้นฐานภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วราว ๒๐ ปี. เงื่อนไขของความสำเร็จในการแก้ไขมีดังนี้คือ : การร่วมกันทางศาสนาและประเพณี, การชิดกันทางภาษา, การชิดกันทางประวัติศาสตร์, การหลั่งไหลเข้าสู่ภาคกลางของคนอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สอง, การหลั่งไหลเข้ามาเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ ของภิกษุสามเณรจากอีสานและญาติมิตรตลอดจนศิษย์ของท่าน, และการขยายตัวโดยรวดเร็วของตลาด และเส้นทางคมนาคม, ทำให้อีสานหลอมตัวเข้ากับภาคกลางได้เป็นอย่างดีในช่วง ๒๐ ปีเศษมานี้.

ตนกู มูฮ์ยิดดิน
หันมาดูดินแดนสามจังหวัดกันหน่อย. ประการแรก, จักรพรรดินิยมอังกฤษพยายามชุบเลี้ยงเจ้าปัตตานีอย่างดีเยี่ยม. เพื่อเจ้าเหล่านี้จะได้เป็นเครื่องมือของอังกฤษในการแบ่งแยกดินแดน. ประการที่สอง, ตนกู มูฮ์ยิดดิน[2] ลูกเจ้าปัตตานีได้เคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนอย่างเอาการเอางานและต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนานเพื่อเขาจะได้เป็นสุล ต่าน แห่งปัตตานี. ประการที่สาม, พรรคแพนมาเลเซียนอิสลามแห่งมาเลเซีย[3]ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนอย่างเปิดเผย, และพรรคการเมืองบางพรรคในมาเลเซียก็สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนอย่างลับ ๆ . ประการที่สี่, โครงสร้างของรัฐที่ให้มีสุลต่านแห่งรัฐและให้สุลต่านผลัดเปลี่ยนกันเป็นกษัตริย์มาเลเซียนั้นยิ่งยั่วยุให้ตนกู มูฮ์ยิดดิน อยากมีอำนาจเหนือดินแดนปัตตานี, และนราธิวาส. ในขณะเดียวกัน, แผนผักชีโรยหน้าของตนกู อับดุล เราะห์มาน[4]ที่ให้รื้อสุเหร่าเก่าสร้างสุเหร่าใหม่ทั่วมาเลเซีย, โครงการประกวดการอ่านคัมภีร์กูรอ่านซึ่งเริ่มแต่ปี ๒๕๐๓, และแผนการจัดตั้งจักรภพมุสลิมก็สามารถดึงดูดความศรัทธาของชาวมุสลิมต่อมาเลเซียได้ไม่น้อย. ประการที่ห้า, ถนนและผังเมืองและสื่อสารมวลชนในมาเลเซียมีสภาพดีกว่าในเขตสามจังหวัด. ประการที่หก, รายได้ถัวเฉลี่ยรายหัวของประชาชนมาเลเซียมากกว่าประชาชนไทย. นี่คือแรงดึงของมาเลเซียต่อดินแดนสามจังหวัด.
โปรดตรวจสอบแรงผลัก. ประการแรก, การกดขี่และขุดรีดประชาชนของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างทารุณ ความเสมอภาคทางชนชาติที่ระบุไว้โดยกฎหมายนั้น เป็นเพียงความเสมอภาคบนแผ่นกระดาษเท่านั้น. โจรส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการบีบคั้นของเจ้าหน้าที่. ประการที่สอง, เจ้าหน้าที่มิได้ถือเอาประโยชน์ของชาติไปแบ่งมิตรแบ่งศัตรู, แต่ถือเอาผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นสิ่งกำหนด. ยกตัวอย่างเปาะซู[5]. เปาะซูเป็นนักประชาธิปไตยคนหนึ่ง. ด้านหนึ่ง, เขาคัดค้านการแบ่งแยกดินแดนอย่างเด็ดเดียวและให้ความร่วมมือกับทางราชการเป็นอย่างก็ในการพัฒนา. อีกด้านหนึ่ง, เขามีความสัมพันธ์กับประชาชนอย่างกว้างขวางและตัดด้านการกตรีขูตรีดของเจ้าหน้าที่. ตนกู
มูฮูยิดดินและตนกูอับดุลยะลา[6]ถือเปาะชูเป็นศัตรูสำคัญ. แทนที่เจ้าหน้าที่จะถือเปาะซูเป็นคนที่มีคุณค่าของชาติ, เจ้าหน้าที่กลับกลายเป็นเครื่องมือของตนกู มูฮ์ยิดดิน และตนภู อับดุลยะลา ทำลายเปาะซู, และโฆษณาว่าเปาะซูร่วมมือกับเปาะเยะ.
อันที่จริง, เปาะเฮะเป็นคนของตนกู อับดุลยะลา, เป็นเครื่องมือของ ตนกู อับดุลยะลา ในการก่อกวนความสงบชายแดน, ในการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดน, และในก่ารทำลายเปาะซู. ใคร ๆ ก็รู้กันอยู่แล้ว ว่าเจ้าหน้าที่บางส่วนได้เลี้ยงโจรไว้จำนวนหนึ่งเพื่อประโยชน์แห่งตน, และเจ้าหน้าที่บางส่วนก็เป็นพันธมิตรกับกลุ่มโจรบางกลุ่มที่มีเบื้องหลังทางการเมืองเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดน. จากนี้จะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ได้นำเอาการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย. การเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดน, การเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้าย, การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์มะลายู, และการเคลื่อนไหวของโจรปะปนกันและเรียกเป็นโจรทั้งสิ้น. พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเป็นภัยอย่างมหันต์ต่อความมั่นคงและปลอดภัยของชาติ. ประการที่สาม, การปฏิรูปและการพัฒนา ถูกละเลย, หน่วยราชการบางหน่วยไปทำอยู่บ้างแต่ก็มีงบประมาณจำกัดจำเขี่ยอย่างน่าสงสาร, ไม่สามารถพังทะลายสังคมปิดในดินแดนสามจังหวัดลงได้, ประชาชนก็ยากจนแร้นแค้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ประการที่สี่, การใช้มาตรฎารปราบพรรคคอมมิวนิสต์มะลายูอย่างหลับหูหลับตา, บีบให้พรรคคอมมิวนิสต์มะลายูซึ่งไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนและไม่มีนโยบายเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยต้องหันไปร่วมมือกับ
กลุ่มต่าง ๆ ที่พอร่วมมือได้ทั้งที่มีนโยบายแบ่งแยกดินแดนและไม่แบ่งแยกดินแดน, ทั้งนี้เพื่อการอยู่รอดของตน นี่คือแรงผลักดินแดนสามจังหวัดอออกไปจากประเทศไทย

ครูเปาะซู
โดยพื้นฐานแล้ว, ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดยังมิได้รับการแก้ไข. เหตุที่การเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนยังมิได้ขยายตัวถึงขั้นรุนแรงก็เพราะ : ๑) พรรคอัลไลอันซ์[7]ของรัฐบาลมาเลเซียยังจำเป็นต้องยืมมือไทยปราบพรรคคอมมิวนิสต์มะลายูอยู่. ๒) พรรคอัลไลอันซ์ประสบปัญหาความแตกแยกระหว่างชนชาติภายในประเทศอย่างหนัก เช่น ความแตกแยกระหว่างชนชาติมะลายูกับชนชาติจีนจึงไม่สามารถมาสนใจปัญหาแบ่งแยกดินแดนได้อย่างเต็มที่. ๓) พรรคแพน มาเลเซียน อิสลามซึ่งมีอิทธิพลในกลันตันและซึ่งหนุนการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนนั้นเกิดการขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับพรรคอัลไลอันซ์ของรัฐบาล

อับดุล ตนกู เราะห์มาน
๓.
ตนกู มูฮ์ยิดดิน เป็นลูกเจ้าปัตตานี. พ่อส่งเขามาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ. ต่อมา, เจ้าปัตตานีถูกใส่ร้ายว่าเป็นกบฏจึงต้องลี้ภัยไปอยู่ในมะลายู. ตนกู มูฮ์ยิดดิน ถูกนักเรียนเยาะเย้ยว่า "อ้ายลูกกบฏ" จนทนไม่ไหวจึงต้องเดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อถึงมะลายู, อังกฤษก็ให้การอุปการะอย่างดีเยี่ยมและส่งเขาเรียนหนังสือ. นี่คือความแตกต่างระหว่างนโยบายของไทยกับอังกฤษ. ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง, ตนกู มูฮ์ยิดดินได้รับเงินก้อนใหญ่จากอังกฤษ. เขาได้นำเงินก้อนใหญ่นี้ไปให้ความอุปการะแก่ชาวมุสลิมจากประเทศไทยราว ๓,๐๐๐ คน ซึ่งตกค้างอยู่ในเมกกะและไม่มีหนทางติดต่อขอรับเงินจากทางบ้านได้. เมื่อสงครามสงบแล้ว, ชาวมุสลิม ๓,๐๐๐ คนนั้นก็กลับมาเป็นครูบาอาจารย์เป็นที่เคารพนับถือของชาวมุสลิมในประเทศไทย. เหล่านี้แหละคือขุมอิทธิพลของตนกู มูฮ์ยิดดิน.

แช่ม พรหมยงค์ (ขวา) กับปรีดี พนมยงค์ (ซ้าย) ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ตนกู มูฮ์ยิดดิน ได้วางแผนแบ่งแยกดินแดนดนครั้งสำคัญ เมื่อปี ๒๔๘๘-๒๔๘๙. ในครั้งนั้น, เขากำหนดว่าถ้าไทยต้องคืนดินแดนสี่จังหวัดในอินโดจีนให้แก่ฝรั่งเศส, เขาก็จะดำเนินการแบ่งแยกดินแดนสี่จังหวัดชายเเดน. ภาคใต้ทันที. เพื่อรับมือกับแผนการนี้, ปรีดี พนมยงค์ และ แช่ม พรหมยงค์ ได้ร่วมมือกันแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างรวดเร็ว โดยการตั้งจุฬาราชมนตรีขึ้นและอาศัยจุฬาราชมนตรีไปทำความเข้าใจกับชาวอิสลาม. ในช่วงวิกฤตที่ไทยจะต้องคืนกินแดนสี่จังหวัดให้แก่ฝรั่งเศสนั้น, แช่ม พรหมยงค์ ก็สามารถส่งครูบาอาจารย์ทางศาสนาซึ่งมีอิทธิพลอยู่ในหมู่ชาวอิสลามและซึ่งตนกู มูฮ์ยิดดิน จะต้องอาศัยในการแบ่งแยกดินแดนรวม ๙๐ ดนเดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ฉันพี่น้องระหว่างชาวมุสลิมกับฝ่ายบ้านเมืองในเมืองหลวง. เมื่อการคืนดินแดนสี่จังหวัดทางอินโดจีนเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคลื่นลมที่สืบเนื่องมาจากมรสุมของการคืนดินแดนสี่จังหวัดในอินโดจีนสงบลงแล้ว, ครูบาอาจารย์ทางศาสนาราว ๙๐ คนนั้นจึงเดินทางออกจากกรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนา. ทั้งนี้, เป็นเหตุให้ตนกู มูฮ์ยิดดินสูญเสียโอกาศสำคัญในการแบ่งแยกดินแดน
หลังจากนั้น ปรีดี พนมยงค์ เเละ แช่ม พรหมยงค์ ก็ได้ร่วมมือกันวางแผนระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาชายแดนสี่จังหวัดภาคใต้, เช่น จัดตั้งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยขึ้นเพื่อปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้
กระชับความสามัคคีระหว่างชนชาติ. แต่รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ปี ๒๔๙๐ ทำให้โครงการนี้พิการลงเสียก่อน.
๔.
แม้ว่าทางการไทยจะปฏิบัติต่อพี่น้องสามจังหวัดอย่างไม่เบ็นธรรมมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบีบบังคับพี่น้องสามจังหวัดอย่างทารุณในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ปี ๒๘๘๕-๒๔๘๘) ก็ตาม, แต่นโยบายแบ่งแยกดินแดนก็เป็นนโยบายที่ผิด
ก่อนปี ๒๕๐๐ คือก่อนมะลายูประกาศเอกราช, นโยบายแบ่งแยกดินแดนเป็นนโยบายปฏิกริยา. เพราะเหตุใดเล่า ? ก็เพราะว่าการเอาพี่น้องสามจังหวัด ซึ่งอยู่ในประเทศกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินาไปขึ้นอยู่กับมะลายที่เป็นเมืองขึ้นนั้นเป็นการถอยหลังเข้าคลอง. พี่น้องสามจังหวัดจะไม่มีอะไรก็ขึ้นเลยจากการแบ่งแยกไปเช่นนั้น. นอกจากคนบางคนจะได้เป็นสุลต่านแห่งปัตตานีแล้ว, ประชาชนมีแต่จะตกเป็นขี้ข้าของอังกฤษ

GOVERNMENT OF THE FEDERATION OF MALAYA'S INVITATION TO GOVERNMENT OF SINGAPORE TO MARK ATTAINMENT OF INDEPENDENCE BY FEDERATION OF MALAYA WITHIN COMMONWEALTH OF NATIONS
ที่มา: Singapore. Ministry of Information and the Arts
หลังปี ๒๕๐๐ คือหลังจากมะลายูประกาศเอกราชแล้ว, นโยบายแบ่งแยกดินแดนก็เป็นนโยบายที่อันตราย. ประการแรก, สังคมมะลายูยังคงเป็นสังคมกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา, มิได้มีความก้าวหน้ากว่าสังคมไทยแต่ประการใดเลย. ฉะนั้นการแบ่งแยกดินแดนจากไทยไปอยู่กับมะลาย ย่อมไม่มีอะไรดีขึ้นสำหรับคนส่วนใหญ่ที่สุดนอกเสียจากคนเพียงไม่กี่คนที่จะได้มีโอกาสเป็นสุลต่าน. ประการที่สอง, การแยกดินแดนคือการรบ, คือการร้าวฉานอย่างใหญ่หลวงระหว่างชนชาติของประเทศ. ถ้ากวรรบเกิดขึ้น, รัฐบาลมะลายูที่แม้แต่การสนับสนุนทางการเมืองก็ยังต้องทำอย่างลับ ๆ , เช่นนี้แล้วจะกล้าสนับสนุนการรบของพี่น้องสามจังหวัดหรือ ? ผลสุดท้าย, พี่น้องสามจังหวัดนั่นแหละจะเป็นผู้รับเคราะห์กรรมอย่างน่าเอน็จอนาถ. ประการที่สาม, การกำหนดนโยบายแบ่งแยกบ้างก็เพื่อรวมกับมาเลเซียและบ้างก็เพื่อตั้งรัฐปัตตานีขึ้นใหม่โดยเอาดินแดนมาเลเซียบางส่วนมาผนวกเข้าด้วย, เช่นนี้แล้วการดำเนินนโยบายแบ่งแยกย่อมจะต้องเผชิญกับการแตกแยกกันเองและก่อศัตรูขึ้นทุกด้าน.
๕.
ชนชั้นศักดินาแก้ปัญหาชนชาติส่วนน้อยด้วยวิธีใช้กำลังประสานกับการกลืนทาง วัฒนธรรม และสายเลือดโดยมักจะเริ่มต้นจากชนชั้นสูงด้วยกันเองก่อน. ที่ไม่ประสบความสำเร็จก็มักจะเป็นเพราะละเลยต่อวิธีการดังกล่าว หรือมีเหตุผลบางอย่างทำให้ไม่สามารถปฏิบัติวิธีการดังกล่าวได้.
ชนชั้นนายทุนแก้ปัญหาชนชาติส่วนน้อยด้วยวิธีใช้กำลังบังคับ, ประสานกับระบบเลือกตั้ง, และประสานกับการสร้างตลาดที่เป็นเอกภาพ. การสร้างตลาดที่เป็นเอกภาพเป็นหัวใจของการแก้ปัญหาชนชาติส่วนน้อยของชนชั้นนายทุน. ชนชั้นนายทุนได้ทำลายสังคมปิดแห่งศักดินา, ได้ทำให้การผลิตและการบริโภคต้องพึ่งตลาด, ได้ทำให้การคมนาคมและการสื่อสารเป็นแบบทันสมัย, ได้ทำให้ผู้คนต้องมีชีวิตร่วมกันในโรงงานในเหมืองแร่, ในโรงเรียน, ในแหล่งงาน, และในแหล่งธุรกิจ, ทำให้วัฒนธรรมและภาษาของชนชาติต่าง ๆ ม้วน ตัวเข้าสู่วงจรของการใกล้ชิดติดต่อกันและละลายตัวเข้าหากัน.

Seven of the eight pro-communist People's Action Party (PAP) detainees (with garlands) freeing caged pigeons to symbolise their release from prison. From left to right: Fong Swee Suan, S Woodhull, Chan Chiaw Thor, Chen Say Jame (behind Mr Chan), Lim Chin Siong, Tan Chong Kin and Devan Nair. The PAP had said during the election campaign that it would not assume office unless the PAP detainees are freed. In return for their release, the detainees were asked to write a pledge that they would work for a non-communist Malaya.
ที่มา: Singapore. Ministry of Information and the Arts
สังคมนิยมแก้ปัญหาชนชาติส่วน น้อยโดยใช้หลักการเสมอภาค, หลักการปกครองตนเองหรือหลักการปกครองตนเองภายใต้ความเป็นเอกภาพของชาติ, หลักการขจัดการกดขี่ขูดรีด, และหลักการพัฒนา. สังคมนิยมจะทำลายการกดขี่เหยียดหยามระหว่างชนชาติ, จะสร้างประเทศที่เป็นครอบครัวใหญ่ของชนชาติต่าง ๆ, และทำให้ชนชาติต่าง ๆ รักใคร่ปรองดองกันฉันพี่ฉันน้อง, จะเคารพต่อภาษาและหนังสือของทุกชนชาติโดยถือการสอนและเรียนภาษากลางเป็นสิ่งที่ต้องกระทำควบคู่กันไป, สังคมนิยมจะทำลายการกดขี่ขดรีดที่ดำรงอยู่ในแต่ละชนชาติ, ทำให้แต่ละชนชาติได้รับการปลดแอกโดยแท้จริง. สังคมนิยมจะพยายามฝึกคนท้องที่ขึ้นมาบริหารงานในเขตของชนชาตินั้น ๆ ภายใต้นโยบายใหญ่ของประเทศที่เป็นเอกภาพ, สังคมนิยมจะเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของทุกชนชาติอย่างขนานใหญ่ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและเพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวแห่งสังคมนิยม.
๖…
การแก้ปัญหาภาคใต้ในเขตสามจังหวัด, จำเป็นต้องแก้ทั้งปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาพื้นฐาน. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า, จำเป็นต้องดำเนินการดังต่อไปนี้คือ
๑) ยกเลิกมาตรการปราบปรามเป็นสำคัญ, ใช้มาตรการการเมืองและมาตรการพัฒนาเป็นสำคัญ ยุติการปะปนการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดน, การเคลื่อนไหวประชาธิปไตย, การเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้าย, และการเคลื่อนไหวของโจรรวมกันเป็นการเคลื่อนไหวของโจร. ให้โอกาสกลับตัวแก่โจรที่ถูกบังคับให้เป็นโจร.
๒) เร่งทำลายสังคมปิดในดินแดนสามจังหวัด โดยเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างขนานใหญ่, ทั้งนี้มีแต่รัฐบาลยุตินโยบาย “บินเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” และดำเนินนโยบาย “พัฒนาเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” เท่านั้น, รัฐบาลจึงจะมีกำลังเงิน และกำลังคนไปทำลายสังคมปิดในดินแดนสามจังหวัดได้.
๓) ย้ายข้าราชการอย่างขนานใหญ่, คัดเลือกคนที่สามารถเข้าถึงประชาชน และสามารถปฏิบัตินโยบายประชาธิปไตย และนโยบายพัฒนาไปปฏิบัติหน้าที่ในเขตสามจังหวัด. ยุติการถือเขตสามจังหวัดเป็นแดนเนรเทศราชการที่มือสกปรกและเต็มไปด้วย กลิ่นไอของลัทธิขุนนางออกไปเสีย, หรือมิฉะนั้นก็ดำเนินการลงโทษพวกเขาตามระดับแห่งความผิดที่เขาได้กระทำ.
สำหรับการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้โดยพื้นฐานนั้น, จำเป็นต้องใช้แนวทางสังคมนิยม, คือยึดมั่นในหลักการแห่งความเสมอภาตระหว่างชนชาติ, ยึดมั่นในหลักการปกครองตนเองภายใต้ความเป็นเอกภาพแห่งชาติ, ยึดมั่นในหลักการทำลายการกดขี่ขูดรีดทั้งปวง, และยึดมั่นในหลักการเร่งรัดพัฒนาทุกด้าน.
ปัญหาสามจังหวัด เป็นปัญหาส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมดของประเทศ, ความทุกข์ยากของประชาชนสามจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของความทุกข์ยากของประชาชนทั่วประเทศ. ประชาชนสามจังหวัดมิได้อยู่โดดเดี่ยว. ทางออกที่แท้จริงของประชาชนสามจังหวัดมิได้อยู่ที่การหันหน้าเข้าหาการแบ่งแยกดินแดน, แต่อยู่ที่การหันหน้าเข้าหาประชาชนและชนชาติต่าง ๆ ของไทยร่วมมือกันต่อสู้กับนโยบายที่ผิดพลาดและรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายผิดพลาด. มีแต่รัฐบาลที่ผิดพลาดและนโยบายที่ผิดพลาดถูกขจัดออกไปแล้วเท่านั้น. ความทุกข์ยากของประชาชนสามจังหวัดจึงจะได้รับการแก้ไข.
ดินแดนสามจังหวัดมีพื้นที่ถึง ๑๐,๙๕๗ ตารางกิโลเมตร, เท่ากับหนึ่งในสี่ของพื้นที่ทั้งหมดในภาคใต้. ดินแดนสามจังหวัดมีประชากรราว ๑ ล้านคน, เท่ากับ ๗ เปอร์เซ็นต์ ของพลเมืองทั่วทั้งภาคใต้, จังหวัดนราธิวาสมีผลิตผลยางมากเป็นที่ ๑ ของปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ประเทศ, จังหวัดปัตตานีกับยะลาก็มีผลิตผลยางมากเป็นที่ ๓ และที่ ๔ ของประเทศ. ประชาชนสามจังหวัดของเราได้ร่วมกับประชาชนทั่วประเทศสร้างชาติ, สร้างวัฒนธรรม. ขอแต่ประชาชนสามจังหวัดมีความสามัคคีกันและร่วม มือกับประชาชนทั่วประเทศดำเนินการต่อสู้กับอธรรม, ในที่สุดเราจะต้องประสบชัยชนะอย่างแน่นอน.
พฤษภาคม ๒๕๑๗
เอกสารอ้างอิง :
- แช่ม พรหมยงค์ - อำนาจ ยุทธวิวัฒน์. ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้, ความเป็นเอกภาพของชาติกับปัญหาชายแดนใต้, (กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์, 2517). หน้า 17-31.
[1] เกี่ยวกับผู้เขียน "อำนาจ ยุทธวิวัฒน์" เป็นนามปากกาของ ผิน บัวอ่อน
[2] บุตรคนสุดท้องของตนกู อับดุลกอเดร์ กามารุดดีน เจ้าเมืองปัตตานีองค์สุดท้าย
[3] พรรคแพนมาเลเซียนอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือที่รู้จักกันในชื่อพรรคปาส (Parti Islam Se-Malaysia - PAS) เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1951 โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดทางศาสนาอิสลาม พรรคนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมหลักการของศาสนาอิสลามในรัฐธรรมนูญและการเมืองของมาเลเซีย
[4] ตนกู อับดุล เราะห์มาน (Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj) เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียและได้รับยกย่องเป็น "บิดาแห่งเอกราช" (Bapa Kemerdekaan) ของประเทศ
[5] หมายถึง เปาะสู วาแมดิซา อดีตเป็นครูประชาบาลโรงเรียนบ้านจะรังตาดง ตำบลท่าธง จังหวัดยะลา เป็นปัญญาชนมลายูปาตานีในยุคสมัยนั้น ข้อมูลจาก วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
[6] นายอดุลย์ ณ สายบุรี หรือ ตนกูอับดุลยาลาล์ นาเซร์ ผู้สืบเชื้อสายตระกูลเจ้าเมืองสายบุรี
[7] The Alliance Party หรือ พรรคพันธมิตร เป็นแนวร่วมทางการเมืองในมาเลเซีย พรรคพันธมิตรซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วยองค์กรแห่งชาติมาเลเซีย (UMNO) สมาคมชาวจีนมาเลเซีย (MCA) และพรรคคองเกรสอินเดียมาเลเซีย (MIC) ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการเป็นองค์กรทางการเมืองเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1957 เป็นแนวร่วมปกครองของมลายาตั้งแต่ปี 1957 ถึง 1963 และมาเลเซียตั้งแต่ปี 1963 ถึง 1973 แนวร่วมนี้ได้กลายมาเป็นแนวร่วมแห่งชาติในปี 1973