ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

ถาม-ตอบ ประชาธิปไตยที่ไร้สันติภาพ : เมื่อความรุนแรงไม่ได้อยู่แค่ในสงคราม

19
พฤษภาคม
2568

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

วันนี้มีการเลือกตั้งเทศบาล จะต้องมีวิทยากรหลายท่านจะต้องวิ่งออกไปรับผิดชอบหลายเรื่องเลยขออนุญาตอย่างนี้ครับ มีคำถามถึงคุณกัณวีร์คำถามเดียวครับ “เราสามารถนำนโยบายด้านสันติภาพมาปรับใช้กับการบริหารท้องถิ่นได้อย่างไรบ้างครับ”

 

 

กัณวีร์ สืบแสง: 

คำถามจากข้างล่างครับและน่าจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจรากฐานของการเมืองเป็นโครงสร้างใหญ่ เราตื่นขึ้นมาเราเดินทางไปทำงาน เรากลับบ้าน ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นในท้องถิ่น เพราะฉะนั้น ถ้าสันติภาพไม่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ท้องถิ่น ในหลาย ๆ เทศบาล เห็นชัดเจนว่าการเมืองมันอยู่นิ่ง เราเห็นชัดเจนว่ามันอยู่นิ่ง 10-30 ปี แล้วมันหาจุดสุดท้ายไม่ได้ว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน ปัญหามันอยู่ตรงนั้นมานานหลายทศวรรษแล้ว เพราะฉะนั้นการพูดคุย การสร้างสันติภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสันติภาพจากฐานราก ขึ้นมาวางบนพรม วางบนโต๊ะและมีการพูดคุยกัน อาจจะมีบางอย่างที่เราไม่สามารถเจรจาต่อรองกันได้ก็เลยกลายเป็นว่า เราไม่พูดคุยกันเลย

เอามาวาง เอามาพูด เพราะฉะนั้นกลไกของการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นกลไกที่สามารถทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา เช่น การเลือกตั้งเทศบาลที่ผ่านมา จะมีผลการเลือกตั้งประมาณ 17:00-18:00 เนี่ยเราจะเริ่มรัน จะเริ่มเห็นข่าวนี้ เราจะเริ่มมองเห็นและรูปร่างของโครงสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเทศบาลจะเป็นอย่างไรจะเหมือนเดิมไหม หรือ จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปบ้างไหม จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลเป็นอย่างไรบ้าง ตรงนี้แหละมันจะสามารถสร้างว่าอนาคตต่อไป สันติภาพมันจะเกิดขึ้นในพื้นที่ท้องถิ่นหรือเปล่า ผมยังมองเห็นนะครับว่าถ้ามันเริ่มต้นจากฐานรากได้  (ต่อมา) จะสามารถสร้าง (Build) ระดับบนได้จนถึงระดับบประเทศ และต่อไปจะสามารถสร้างสันติภาพได้ อย่างแท้จริง

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

ขอบคุณมากครับ เรามาถึงช่วงสุดท้ายนะครับ มีท่านใดจะถามตอบที่เวทีเลยครับ ขออนุญาตไม่เกินท่านละ 2 นาทีนะครับ

 

กฤต ไกรจิตติ :

สวัสดีครับผม กฤต ไกรจิตติ นะครับ เป็นอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นทูตที่เวียดนาม, ฮังการี, อินเดีย, และมาเลเซีย โดยผมมี 3 ประเด็นครับ

 

 

วันนี้เป็นวันวิสาขบูชา ผมขอสรุป ที่ทุกท่านในพูดมาไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ หรือ ระหว่างประเทศเกิดจากอัตตา (Ego) เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องของการที่ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ดี เป็นเรื่องการไม่ยอมรับสิทธิเสรีภาพ และประวัติศาสตร์ด้วยก็มีความสำคัญ เมื่อ 2-4 วันที่ผ่านมา อินเดีย กับ ปากีสถาน รบกันใหญ่โต เพราะเรื่องที่ไม่ยอมรับว่าทุกคนก็เป็นคน วันนี้เป็นวันสันติภาพ (วันชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์) นอกจากเป็นวันวิสาขบูชาแล้ว ที่อาจารย์พูดว่าบรรพบุรุษของเราทุกคน ทั้งจีน, ไทย, ลาว, มลายู ผมจำได้ว่าท่านปรีดีพิจารณาเรื่องที่มีการเสนอเปลี่ยนชื่อสยามเป็นไทย ท่านไม่เห็นด้วยเพราะดินแดนสยามไม่ได้ประกอบเฉพาะคนไทย มีทุกชนชาติเชื้อชาติ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าลัทธิชาตินิยม และการไม่ยอมรับเริ่อง้ชื้อชาติ เป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งระดับชาติและประเทศ ผมคิดว่าศีล 5 นั่นแหละที่เป็นเครื่องค้ำจุนโลก, กฎบัตรสหประชาชาติครับ ผมกำลังพูดถึงเรื่องการที่มีกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องของการแก้ไขป้องกันความขัดแย้ง และเรื่องสิทธิเสรีภาพ ผมคิดว่าประเทศไทยไม่ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติหลายเรื่อง อย่างที่อาจารย์อังคณาพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน

มาถึงเรื่องประชาธิปไตยเลยแล้วกันนะครับ ทุกวันนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่สุด ทุกท่านครับที่เราเลือกส.ว. ไปเนี่ย ประชาชนคนไทยกว่า 40 ล้านคนเป็นคนเลือก ส.ส. แล้วทำไมคนที่เลือกส.ว. คนที่จะเป็น ส.ว. ถึงต้องไปสมัคร แล้วก็เลือกกันเอง แล้วประชาชนคนไทย อีก 40 ล้านคนหายไปไหน และไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญก็ดี องค์กรอิสระทั้งหลายทำให้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรื่องอำนาจ 3 อำนาจ คือ บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ มันเสียหายไปหมดเลย

สุดท้ายนะครับผมต้องขอกราบรำถึกถึงท่านอาจารย์ปรีดี นะครับในฐานะที่เป็นเป็นผู้วางรากบานประชาธิปไตยไทย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขผมย้ำตรงนี้นะครับ เรื่องของสิทธิเสรีภาพ และรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าใช้ UN Charter (กฎบัตรสหประชาชาติ) เถิดครับ เป็นหลักในการยกร่างรัฐธรรมนูญเลยนะครับ

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

กราบขอบพระคุณท่านทูตนะครับ สั้น ๆ ชัดเจน 3 ประเด็น มีคำถามจากข้างล่างอีกไหมครับ

 

ประภาวิน เพชรนิล: 

สวัสดีค่ะ ประภาวิน เพชรนิลนะคะ อดีตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขาสตรีศึกษา เพศวิถีศึกษา มีคำถามถึงฟูอาดี้ค่ะ จากที่อาจารย์อธิบายเรื่อง “พระเจ้าช้างเผือก” ที่บอกว่าเป็น Peace as long as (สันติภาพตราบเท่าที่…) เนี่ยว่าสงครามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่อยู่ในพระเจ้าช้างเผือกมันมีอยู่จริงไหมคะ หรือว่าเป็นแค่ claim (อ้าง) ที่ใช้เพื่อการก่อสงครามอย่าง Justify (สร้างความชอบธรรม/เหตุผล) เท่านั้นเอง ขอบคุณค่ะ

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

ครับ ท่านใดจะตอบคำถามไหมครับ คำถามเยอะแยะนะครับ อย่างการแก้ปัญหาเรื่องนักโทษการเมือง  แล้วก็สุดท้ายอย่างการสร้างประสิทธิภาพให้รัฐบาล จะมีใครตอบไหมครับ

 

กัณวีร์ สืบแสง:

ในเรื่องแรกเกี่ยวกับนิรโทษกรรม แน่นอนพรรคฝ่ายค้านเราพยายามผลักดันเต็มที่ ผลักสุดซอยแล้วครับคุณอา เราผลักสุดซอยแล้วก็ยังติดขัดอยู่หลายเรื่ิง คงไม่หยุดหย่อนและไม่ลดละ ในการผลักดันเรื่องนี้ เพราะจำเป็นครับ เพราะสิทธิของการเป็นพลเมือง สิทธิในด้านการเมือง เราต้องมีพื้นที่ที่สามารถแสดงความเห็นได้ สามารถแสดงออกตามความคิดของเราได้ภายใต้รัฐธรรมนูญ  เพราะฉะนั้นเราจะผลักดันเต็มที่ อันนี้เป็นคำมั่นนะครับ ผมไม่สามารถจะพูดในนามพรรคประชาชนได้ แต่คงจะเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้าน แม้ว่าเราจะเป็นเสียงเสียงเดียว แต่จะเป็นเสียง ๆ เดียวที่กึกก้องต่อไป  ในเรื่องเกี่ยวกับว่ารัฐบาลจะทำยังไงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เราก็ทำเต็มที่ครับในฐานะฝ่ายค้าน  สามารถทำการตรวจสอบ ในฝ่ายนิติบัญญัติ  ครั้งที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นชัดเจน  ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 151  เราก็ทำเต็มที่เรียบร้อยแล้วนะครับ  ก็เป็นสังคมสาธารณะจะตัดสินใจในการเลือกตั้งว่าจะเกิดอะไรขึ้นอันนี้เป็นสิ่งที่อยากฝากไว้นะครับ

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

ครับ อาจารย์ฟูอาดี้ เชิญครับ

 

ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ:

ถ้าตั้งคำถามแบบนี้ก็หมายถึงว่าคุณพูดตั้งคำถามนี้น่าจะเป็น Pacifist (นักสันตินิยม)  คือไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตามการทำสงครามการสู้รบ ไม่มีโอกาสที่จะมีความชอบธรรม  ผมเอง มอง ตัวเองอยู่ตรงกลางนะ  คือถ้ามันถึงสถานการณ์ที่จำเป็นและเป็น Last Resort (ที่พึ่งสุดท้าย)  มันมาได้ แล้วมันจำเป็นว่าต้อง Lost (สูญเสีย) ให้มากที่สุด การทูตมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสงครามมาก ๆ  ดังนั้นต้องใช้ให้มากที่สุด  และเมื่อไหร่ที่สงครามจะมีความชอบธรรม  ผมคิดว่ามันต้องถึงจุดที่ว่าเรา evaluate (ประเมิน)  แล้วว่าถ้าเกิดสงครามขึ้น  หมายถึงว่าถ้ามีข้าศึกบุกมายึดประเทศเรา และหลังจากเขายึดได้แล้ว การที่จะบอกว่า Peace at all cost (สันติภาพไม่ว่าจะต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม) ก็คือคุณมายึดเราไปเลย  คุณฆ่าเราก็ตาม แต่ถ้าเราประเมินว่า หลังจากนั้นถ้าเค้ามายึดเราแล้วชีวิตแย่กว่าเดิม ความเป็นอยู่แย่กว่าเดิม อย่างนั้นน่ะผมคิดว่าเราสามารถลุกขึ้นสู้ได้ อย่างน้อยมี concept (มโนทัศน์) ที่ผมคิดว่าสำคัญ โดย Alexis de Tocqueville ผู้เขียน Democracy in America  เขามี concept  มองผลประโยชน์ของประเทศมากกว่าประชากรของตัวเอง  มากกว่าเขตแดนของตัวเอง Enlighten self interest หมายความว่า “Do unto others as you want others to do to you.”   ก็คือเรา อยากให้คนประเทศอื่นคนชาติอื่น ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างจากเรา ทำกับเราอย่างไร  เราก็ทำกับเขาอย่างนั้น แล้วในที่สุด ผลประโยชน์ ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง มันจะจับต้องไม่ได้ มันอาจจะเป็น Economic (เศรษฐกิจ) เป็น Material (วัตถุ) ก็ได้ในที่สุดแล้วมันจะกลับมาสู่เรา  ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมากเรื่องอุยกูร์ เรื่องอาจารย์พอล (เชมเบอร์) ถ้าเรามีเมตตาธรรมกับเรื่องอุยกร์ เรื่องอาจารย์พอล เราจะได้ไปเจรจากับอเมริกาแล้ว จะได้วันแล้ว อันนี้เป็น condition (เงื่อนไข) ที่สำคัญ

สิ่งที่เราพูดมาทั้งหมดนี้ที่ท่านทูตกฤตพูด ถูก Capture (จับประเด็น) ในบทกวีอันหนึ่งที่ผมอยากยกขึ้นมา เป็นบทกวีในศตวรรษที่ 17 คนเขียนชื่อ John Donne (รอสไลด์)

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

ระหว่างที่รอสไลด์เรียนเชิญคุณอังคณาครับ

 

 

อังคณา นีละไพจิตร

คืออยากเสริมเรื่องนิรโทษกรรมนิดเดียวนะคะ  ในฐานะอดีต กรรมมาธิการศึกษาเรื่องนิรโทษกรรม คือนิรโทษกรรมอย่างไรก็ตาม  คงต้องหยิบยกขึ้นมาพูดคุย เพราะว่าคนที่ โดนคดีตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้ว วันนี้หลายคนถูกยึดทรัพย์ หลายคนถูกหักเงินเดือนอยู่นะคะ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้มีรายละเอียดเยอะมาก  ต้องเอามาดูเป็นรายกรณี หวังว่าประธานรัฐสภา บรรจุวาระเรื่อง พ.ร.บ นิรโทษกรรม เข้าไปแล้วก็เชื่อว่าคงมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาและเปิดโอกาสให้ คนทุกกลุ่ม   ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมาธิการ และพิจารณาร่วมกันค่ะ

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

ขอบคุณครับ อาจารย์ชลิดาครับ

 

ชลิดา ทาศักดิ์เจริญ:

ตอบทุกคำถามเลยนะคะ  คำถามที่หนึ่ง ความรุนแรงในประเทศไทย  ดิฉันมองว่ามันเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง  ซึ่งผู้นำต้องการรักษาไว้ซึ่ง อำนาจและผลประโยชน์ของตัวเอง  นึกถึงบทความที่น้องนักศึกษาได้พูดที่ชนะเลิศ  ก็เห็นอย่างชัดเจนว่าความจริงไทยเหมือนยังมีโครงสร้าง ปัญหาอยู่ตรงที่โครงสร้างตรงนี้ตราบไดที่ผู้นำไม่มีความจริงใจและไม่ได้มาด้วยประชาธิปไตย  ก็คือโครงสร้างการเมืองที่ยังอยู่ตอนนี้ก็คือโครงสร้างของความรุนแรง  ที่ไม่ใช้ความรุนแรงเชิงกายภาพ  แต่มันเป็นความรุนแรงทั้งเชิงวัฒนธรรมและโครงสร้างเพราะฉะนั้นจุดยืนทางการเมืองของรัฐที่เป็ยอยู่นี้ จะแก้ไขได้ยากมาก พ.ร.บ อะไรต่าง ๆที่เรายกขึ้นมา  ถ้าโครงสร้างอย่างเป็นแบบนี้รัฐบาลทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ไม่นึกผลประโยชน์ของประชาชนมันก็คงจะแก้ยาก

ประเด็นที่สอง  ประเด็นที่ขอให้คุณสุธรรมออกจากพรรครัฐบาล  ยังไม่ค่อยเห็นด้วยพวกเราควรจะมีคนแบบนี้เข้าไปนั่งอยู่ตรงนั้นบ้างเพื่อที่จะได้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างกัน และกันได้ พวกเรายังพูดคุยกันได้นะ อย่างสุธรรมนี้มีอะไรก็พูดคุยกันแต่ถ้าไม่มีเลยมีแต่พวกเสือพวกจระเข้เราจะคุยกับใครอย่างน้อยก็ให้มีอยู่บ้าง  ให้มีอย่าง กัณวีร์ อยู่บ้างจะได้เป็นช่องทางเชื่องความหวังเล็ก ๆน้อย ๆ แล้วก็ผลักดันกันไป อย่างที่สุธรรมว่าเข้าไป “เข้าง่าย แต่ออกนะออกยาก” เพราะฉะนั้นอยู่ตรงนี้แล้วอย่าพึ่งออกอยู่ต่อนะคะ

 

 

ข้อสามเรื่องภาคใต้คิดว่าทางออกที่ดีที่สุดต้องเป็นการเจรจาแต่รัฐบาลไม่มีความจริงใจ ยังแต่งตั้งทหารเข้าไปเป็นตัวแทนเจรจา ไม่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเรื่องสันติภาพมีแต่ความรุนแรงแล้วก็ควบคุมจัดการคนที่เข้าไปเจรจาต้องเข้าใจ ต้องเป็นแบบท่านทูต  ดิฉันเห็นการเจรจาแต่ประเทศไม่เคยเอาทหารเข้าไป  ไม่ว่าจะเป็นในอาเจะห์ หรือ มินดาเนา หรือที่อื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้น ต้องพิจารณา  แล้วก็ความจริงใจของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหามีความสำคัญมาก  เราเจรจากันมา 5 ครั้งนะคะ ยังไม่ประสบความสำเร็จเลยค่ะ  เพราะรัฐไม่มีความจริงใจ  คือตกลงกันไม่ได้ว่าข้อที่ตกลงกันไว้กับ BRN  ว่าพื้นที่ความปลอดภัยคืออะไร  จุดสรุปทางการเมืองคืออะไรการเปิดพื้นที่ให้ BRN มากับภาคประชาชนให้มี Public Consultation (การปรึกษาหารือสาธารณะ)  แล้วเราจะแก้ปัญหาได้ยังไง อันนี้เป็นประเด็นที่จะพิจาณาที่จะขับเคลื่อนปัญหา

อันหนึ่งที่มีคนถามกัณวีร์เรื่องเลือกตั้งท้องถิ่น ตราบใดประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจนว่าเลือกตั้งเท่าไหร่ก็แพ้เท่านั้น

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

วันนี้น่าจะจบที่อาจารย์ฟูอาดี้นะครับ สำหรับบทกวี

 

ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ:

ขอตอบเรื่อง​ Just war (สงครามที่ชอบธรรม) อีกสักนิดนะครับ  ผมคิดว่าระบบประชาธิปไตยทำให้การให้เหตุผลสงครามที่ชอบธรรม  ทำได้ถูกต้องมากขึ้นเพราะถ้าเราดูพระเจ้าในหนัง  พระองค์ท่านมีกลิ่นอายของความชอบธรรมจากประชากรอยู่เยอะมากจากการที่พระเจ้าจักรา บอกกับพระเจ้าหงษาว่าถึงฉันจะแพ้ แต่ประชาชนยังอยู่ ท่านให้เหตุผลกับสงครามครั้งนี้กับประชาชนของตนเอง ว่าไม่เอาด้วย ก็ไม่ออกรบได้  ขณะที่พระเจ้าหงสาบอกว่าฉันเอาอย่างไรต้องเป็นอย่างนั้นแล้วก็แทงหอกไปที่ประชาชน  มีความแตกต่างกันชัดเจนในเรื่องความชอบธรรมในการยึดโยงกับประชาชน  ประชาธิปไตยมันจะทำให้มีแบบนี้มันต้องมีดีเบสแล้วถ้าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดเนี่ยคนตัดสินใจคือนายกรัฐมนตรีต้องถูกโหวตออกได้นะครับ  ประชาธิปไตยจึงมีความจำเป็นมากในการที่ไปถึงสงครามที่ชอบธรรมได้

 

 

จบที่บทกวีจาก John Donne นะครับ  เป็นบทกวีที่พูดถึงระฆังที่ดังตอนงานศพ  ยุโรปถ้ามีงานศพจะมีเสียงระฆัง  แล้วเค้าก็ตั้งคำถามกับคนที่ถามว่าระฆังนั้นดังเพื่อใคร  John Donne บอกว่า  คุณไม่ต้องสนหรอกว่าระฆังนั้นดังเพื่อใคร มันดังเพื่อคุณนั่นแหละ เพราะทุกคนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เดี๋ยวผมจะอ่านให้ฟังครับ

 

No man is an island

No man is an island,
Entire of itself;
Every man is a piece of the continent,
A part of the main;
If a clod be washed away by the sea,
Europe is the less,
As well as if a promontory were,
As well as if a manor of thy friend’s
Or of thine own were;
Any man’s death diminishes me,
Because I am involved in mankind;
And therefore never send to know for whom the bell tolls;
It tolls for thee.

- John Donne

 

ไม่มีมนุษย์คนใดคือเกาะที่โดดเดี่ยว

ไม่มีใครเป็นเกาะ ที่แยกขาดจากผืนแผ่นดินใหญ่
มนุษย์ทุกคนคือส่วนหนึ่งของทวีป
ส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินเดียวกัน
หากก้อนดินก้อนหนึ่งถูกคลื่นซัดหายไป
ยุโรปก็จะขาดสิ่งหนึ่งไป
ไม่ต่างจากแหลมที่หายไป
ไม่ต่างจากบ้านของเพื่อนเจ้า หรือแม้แต่บ้านของเจ้าเอง
การตายของใครคนหนึ่งย่อมลดทอนข้าลงด้วย
เพราะข้าเกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์
เพราะฉะนั้น อย่าส่งใครไปถามว่า ระฆังศพนั้นตีเพื่อใคร
มันตีเพื่อเจ้าเองต่างหาก

- จอห์น ดันน์

 

 นี่น่าจะจับประเด็นทั้งหมดที่เราพูดคุยกันในวันนี้ได้ครับ และน่าจะเป็นหลักการหลักของท่านปรีดีได้ดี

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ:

ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ 125  ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์  คงจะไม่ใช่ในเวทีนี้เวทีเดียวนะครับ  มี Facebook และเว็บไซต์ของสถาบันปรีดีนะครับสำหรับส่งคำถามอีกเยอะเลยที่ผมไม่ได้ถามในวันนี้  อีกหลายท่านที่อยากจะแสดงความคิดเห็น  ก็คงจะใช้โอกาสต่อไปเพื่อจะจัดงาน #PridiTalk 31  ครั้งนี้ #PridiTalk 30  ก็จะจบลงในเวลาเท่านี้ขอเสียงตบมือให้กับวิทยากรครับ

 

 

รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/live/Q1HZDjbcsVA?si=9YQI2_SDT0Hdr2dP 

 

หมายเหตุ : คงรูปแบบการสะกดและการเว้นวรรคไว้ตามต้นฉบับ

ที่มา : PRIDI Talks #PRIDI Talks #30 “ประชาธิปไตยที่ไร้สันติภาพ : เมื่อความรุนแรงไม่ได้อยู่แค่ในสงคราม”วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2568 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.