Focus
- เนื่องด้วยช่วงเวลาของ วาระ 80 ปี วันสันติภาพที่กำลังจะมาถึง ทางกองบรรณธิการจึงขอคัดเลือก บทความที่หัวหน้าขบวนการเสรีไทย บันทึกถึงความทรงจำที่มีต่อปราโมทย์ พึ่งสุนทร และ “นายใบ้” หรือ แขก แสงชื่น สองสามัญชนผู้มีบทบาทสำคัญในภารกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และขบวนการเสรีไทย

ปราโมทย์ พึ่งสุนทร
ข้าพเจ้าได้ให้ปราโมทย์ฯ มีหน้าที่ทั่วไปประจำกองบัญชาการเสรีไทย และมีหน้าที่โดยเฉพาะอย่างหนึ่งที่พันโทนิโคล สมิธ (Nicol Smith) ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ “Into Siam Underground Kingdom” แปลว่า “เข้าสู่สยามราชอาณาจักรใต้ดิน” พิมพ์ใน ส.ร.อ. เมื่อ ค.ศ. 1945 และ ค.ศ. 1946 ซึ่งแสดงถึงงานของขบวนการเสรีไทยในการต้อนรับและพิทักษ์นายทหารสัมพันธมิตรซึ่งเข้ามาประจำในกองบัญชาการเสรีไทยได้ปฏิบัติอย่างไร
กองบัญชาการเสรีไทยได้จัดให้นายทหารอเมริกันอยู่ส่วนหนึ่ง และนายทหารอังกฤษอยู่อีกส่วนหนึ่ง
ส่วนที่เกี่ยวกับนายทหารอเมริกันนั้น ในขั้นแรกกองบัญชาการเสรีไทยได้ “บ้านมะลิวัลย์” (บ้านของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) เป็นที่พำนักนายทหารอเมริกัน ต่อมาเมื่อนายทหารอเมริกันมาประจำอยู่มากขึ้นจึงย้ายไปอยู่ที่ “วังสวนกุหลาบ” (ซึ่งจอมพลพิบูลสงครามเคยใช้เป็นทำเนียบนายกรัฐมนตรี)
ต่อไปนี้เป็นคำแปลจากหนังสือเล่มที่อ้างถึงข้างบนนั้น หน้า ๒๓๘-๒๕๒
ผู้ชายร่างสันทัดในชุดสีขาวผ้าผูกคอสีดำเดินยิ้มเข้ามาหาโฮวาร์ต (Capt Howard Palmer)

โฮวาร์ดกล่าวแนะนำให้เรารู้จักว่า “นี่คือ นายบุญล้อม (ชื่อเดิมของปราโมทย์ฯ) เขาเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งมีตำแหน่งเป็นช่างตัดผมให้กับพวกใต้ดินด้วย โดยมักจะตัดผมให้พวกเราในระหว่างที่เขาไปหรือกลับจากที่ประชุม”
บุญล้อมพูดภาษาไทยกับโฮวาร์ดพร้อมกับยื่นห่อของให้
โฮวาร์ดแจ้งแก่ นิโคล สมิธ และลอยด์ ยอร์ชว่า
“โอ ผมลืมบอกพวกคุณไปว่า เขานำกางเกงแพรมาให้ ซึ่งสวมใส่สบายกว่าเสื้อผ้าของเรามาก ผมเองก็สวมอยู่ตลอดเวลา”
“ก็ถ้าเช่นนั้น ทำไมคุณไม่สวมตอนนี้ละครับ” ลอยด์ (Lloyd Georges) ถามด้วยความสงสัย
“ก็ตอนนี้อยู่ที่ร้านซักผ้าครับ”
พวกเราไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับขนาดของกางเกงแพร นอกจากเรื่องสีของมันเท่านั้น ขณะที่สวมก็รู้สึกได้ว่ามันเย็นสบาย โฮวาร์ดสวมกางเกงแพรสีม่วง ผมสวมสีเขียว ส่วนลอยด์สวมสีดำ
โฮวาร์ดแปลให้พวกเราฟังว่า “นายบุญล้อมบอกว่าจะไปรัฐสภาตอน 10 โมงเช้า ตอนนี้เพิ่ง 8 โมงครึ่ง ดังนั้นถ้าใครต้องการจะตัดผม เขาก็จะยินดีมาก”
ความจริงผมเองก็ต้องการจะตัดเหมือนกัน แต่เมื่อวันก่อนช่างตัดผมในกัลกัตตาจัดการตัดผมของผมเสียจนเกรียนไปเลย หากขึ้นตัดออกไปอีกแม้แต่นิดเดียว ผมก็คงจะกลายเป็นคนหัวล้าน
แต่สำหรับลอยด์แล้วต่างกัน ผมไม่คิดว่าถ้าเขาสามารถที่จะเลือกร้านตัดผมเองได้แล้วเขาจะเลือกให้ บุญล้อมตัด แต่ก็นั่นแหละ ระหว่าง-บุญล้อมกับไม่ได้ตัด ผมซึ่งเราคาดว่าคงจะเป็นเวลาอีกหลายอาทิตย์ที่เดียวที่เราจะต้องอยู่ในกรุงเทพฯ ก็คงจะไม่มีทางเลือก นอกจากตกลงให้-บุญล้อมตัดผมเท่านั้น
บุญล้อมรู้แต่เพียงว่าจะทำอย่างไรกับการตัดผม เขาออกไปที่ระเบียงยกเก้าอี้มาให้ลอยด์นั่งรวมทั้งโต๊ะสำหรับการวางเครื่องมือ ซึ่งอยู่ในกระเป๋าใบเล็ก ๆ สีดำซึ่งเขาเอาติดมือมาด้วย ในกระเป๋านั้นมีกรรไกร กิ๊บ และกระป๋องแป้งกระป๋องโต ไม่มีกระดาษอะไรคลุมตัวลอยด์ มิหนำซ้ำลอยกลับถูกขอร้องให้ถอดเสื้อหน้าข้าลอยดีกลับถูกขอร้องไห้ถอดเสื้อ ต่อจากนั้นบุญล้อมก็โรยแบ่งให้เป็นการใหญ่ ลอยด์ร้องบ่นหลายครั้งว่ากัน แต่บุญล้อมก็โรยแป้งลงไปอีกจนกระทั่งลอยด์หยุดบ่น และในตอนท้ายที่สุด บุญล้อมก็หยิบสิ่งหนึ่งดูคล้ายไม้กวาดออกมาปัดเส้นผมที่ตัดออกจากลอยต์ ลอยด์บอกต่อมาว่าเขายังคงกันไปอีกหลายวัน แต่ก็ไม่มีใครกล้าพูดอีกแล้วว่าเขาควรจะตัดผม
บุญล้อมเกือบจะออกไปอยู่แล้วเมื่อนายใช้เข้ามา นายให้ไม่ใช่เป็นเพียงหนึ่งในจำนวนประชาชนซึ่งผมได้พบในสยามที่สร้างความประหลาดใจให้เท่านั้น แต่เขาเป็นหนึ่งในบรรดาคนพิการที่ผมได้เคยเผชิญหน้า ชื่อของเขาในภาษาไทยแปลว่า คนใบ้ เขาหูหนวกด้วย และดูประหนึ่งว่านายใช้เองจะมีความเข้าใจทุกคน รวมทั้งชาวต่างประเทศ เขาเข้าใจชาวต่างประเทศดีกว่าที่ชาวต่างประเทศเข้าใจกันเองเสียอีก
ขณะที่นายใบ้เข้ามาโฮวาร์ดก็ยิ้มให้ สังเกตได้ว่าโฮวาร์ดชอบบริกรคนนี้
โฮวาร์ดพูดขึ้นว่า “หวังว่าคงสบายดีขึ้นนะใบ้”
ใบ้รู้สึกทันที่ว่าโฮวาร์ดจะพูดอะไร เขาอวดกล้ามทุบหน้าอก และก่อนที่เราจะรู้ตัว เขาก็ก้มหัวลงมาที่พื้น กลับเอาเท้าขึ้นไปข้างบนพร้อมกับยืนด้วยนิ้วหัวแม่มือ ครั้งแรกยืนด้วยนิ้วมือข้างละ 3 นิ้วต่อมาเหลือข้างละ 2 นิ้ว และในท้ายที่สุดด้วยนิ้วหัวแม่มือ 2 ข้างเท่านั้น โฮวาร์ดบอกพวกเราว่านี่แหล่ะ เป็นวิธีของใบ้ว่าเขาสบายดีแล้ว
“ใบ้สบายดีและอยู่ในสภาพที่ดีด้วย”
“สภาพที่ดี” ลอยด์ตะโกนลั่น กลอกนัยน์ตาไปมา ซึ่งผมก็รู้สึกว่านัยน์ตาของผมก็เป็นเช่นนั้น ผมไม่คิดว่าจะมีมนุษย์คนใดในโลกที่สามารถทำอย่างนายใบ้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพหรือรูปร่างอย่างไรก็ตาม
“แต่ถ้าเวลาที่เขามีสุขภาพดีจริง ๆ แล้ว เขาสามารถจะสลัดมือและกลับมายืนต่อด้วยนิ้วหัวแม่มือ” โฮวาร์ดเสริมต่อด้วยว่า “เขาเหมือนแมวไม่มีผิด”
“เขามีหน้าที่อะไรหรือ” ผมถาม
“เขามีหน้าที่ทำความสะอาดทำเนียบ (วังสวนกุหลาบ) คอยรับใช้ที่โต๊ะอาหาร ทำความสะอาดห้องนอนและทำเตียง”
“เขามาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร” ลอยด์ซัก
โฮวาร์ดตอบว่า “โดยปกติแล้ว เขาทำงานอยู่กับนายบุญล้อม จนกระทั่งวันหนึ่งโฮวาร์ดได้นั่งอยู่ด้วยขณะที่ “รูธ” (ชื่อแฝงของปรีดี พนมยงค์) ปรารภว่าคนใช้ทั่วไปและภรรยาของเขาเก็บความลับไม่ได้ “รูธ” บอกบุญล้อมว่ามีปัญหาที่จะได้ใครทำหน้าที่ดูแลพวกใต้ดิน ขณะที่สองท่านกำลังปรึกษากันนั้น นายให้ก็เข้าใจว่าสองท่านนั้นพูดถึงเรื่องอะไร นายให้จึงขออาสาทำงานนี้
“เขาจะขอได้อย่างไร ในเมื่อใช้พูดไม่ได้” ผม (นิโคล สมิธ) ถาม
“แล้วคุณจะเห็นเอง” โฮวาร์ดพูด และผมก็ได้เห็นจริง ๆ
โฮวาร์ดเริ่มตั้งต้นถามนายให้เกี่ยวกับพวกเรา ทันใดนั้นคนใช้ชาญฉลาดก็เริ่มอธิบายลักษณะของพวกเราด้วยอาการแสดงออกชัดเจน เริ่มจากแสดงภาพของลอยด์ โดยนายให้ใช้มือทำวงกลมเหนือศีรษะด้านหลัง แสดงว่าลอยด์มีศีรษะด้านหลังล้าน สำหรับผม (นิโคล สมิธ) นั้น เขาทำแก้มป่องพร้อมกับยึดอกเพื่อให้เห็นว่าเป็นคนอ้วน ส่วนโฮวาร์ดนั้นนายให้เขย่งตัวเพื่อแสดงให้เห็นว่าแม้โฮวาร์ดจะอ้วนแต่ก็สูงกว่าผม (นิโคล สมิธ)
เมื่อผมยืนธนบัตร 5 บาทให้นายใบ้ เขาก็พนมมือไหว้ประหนึ่งอำนวยพรให้ผม ขณะเดียวกันก็โค้งคำนับ โฮวาร์ดเล่าว่านายให้เอาใจใส่มากในการเก็บรวบรวมธนบัตรเงินบาทที่ได้รางวัลจากตัวแทนอเมริกัน เพราะธนบัตรนั้นพิมพ์ในประเทศอังกฤษก่อนสงคราม ใบ้รู้ดีว่าธนบัตรเหล่านั้นมีค่ามากกว่าธนบัตรที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพิมพ์ขึ้น
“หลวงสังวร (สังวร สุวรรณชีพ) จะมากินอาหารกลางวันนี้” โฮวาร์ดแจ้งให้พวกเราทราบ “เขาเป็นคนสำคัญอันดับสองในกองทัพเรือไทย และเป็นหัวหน้าสมาชิกทหารเรือแห่งองค์การใต้ดินของเรา ขณะเดียวกันเขาเป็นผู้บังคับบัญชาสารวัตรทหารจำนวนสามพันคนด้วย”
“สามพันคน! ขนาดนั้นที่เดียว”
“หนึ่งในบรรดาหน้าที่ของเขาก็คือ ประกันความปลอดภัยและดูแลให้พวกเราได้รับความสะดวก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเวลาที่พวกเราพบกับตัวแทนฝ่ายอังกฤษที่อีกด้านหนึ่งของเมือง ก็เป็นหน้าที่ของพวกหลวงสังวรที่จะให้พวกเราไปถึงที่นั่น และกลับมาอย่างปลอดภัย พลพรรคหนุ่มคนหนึ่งของเราบอกผมว่าครึ่งหนึ่งของพลเรือนที่เราเห็นในขณะที่เราผ่านไปตามถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายที่เดินทอดน่องกับผู้หญิง หรือคนไกวเปลเด็กทารกตามลำคลอง หรือคนจับกลุ่มพูดคุยกันตามถนน ล้วนแต่เป็นสารวัตรทหารของหลวงสังวร ถ้ารถของทหารญี่ปุ่นจะเข้ามาเล่นงานเรา หรือกองลาดตระเวนญี่ปุ่นเกิดจะมาพบเราในขณะที่กำลังเปลี่ยนยางรถ หรือให้เราหยุดรถไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม สารวัตรทหารเหล่านี้จะปราดเข้ามาจัดการกับทหารของญี่ปุ่นแล้วนำศพออกไปโดยไม่ทิ้งร่องรอยใด ๆ ไว้เลย ต่อจากนั้นพวกสารวัตรทหารไทยก็จะเดินทอดน่องลาดตระเวนไปมาเหมือนเมื่อก่อนเหตุการณ์
ลอยด์กล่าวว่า :
“ผมไม่เคยได้ยินว่ามีผู้ใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบมาก โดยมีผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนน้อย”
“ไม่มีใครเหมือนท่านนายพลเรือ ๆ หรอกครับ” โฮวาร์ดพูดต่อไป “เขาส่งข่าวมาเมื่อเช้านี้ว่า พวกคุณชอบอาหารอะไรบ้างที่แปลกไปจากบัญชีอาหารประจำ”
“มีอะไรบ้างละครับ” ลอยด์ถาม
“ตามปกติก็มีเนื้อต่าง ๆ เนื้อ กวาง แกะ เปิด แกง สลัดเขียว กล้วยมะละกอ และไอศกรีม หากคุณต้องการ เราเพิ่งซื้อมาจากโรงแรมวันนี้เอง”
“สะเต๊กกับไอศกรีมหรือครับ พระผู้เป็นเจ้า ในขณะที่ภรรยาผมที่วอชิงตันมีแต่ปลาเท่านั้น”
“เรามีอาหารทะเลซึ่งสด มีกุ้งก้ามกรามซึ่งปรุงด้วยซอสซึ่งยากที่คุณจะชิมได้ที่ไหนอีก”
ผมเริ่มจะมองเห็นแล้วว่าทำไมโฮวาร์ดจึงสามารถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก 15 ปอนด์ขณะที่อยู่แนวหลังญี่ปุ่น 400 ไมล์
เนื่องจากรู้ว่าหลวงสังวรทำทุกอย่างเพื่อพวกเรา พวกเราก็เตรียมใจเอาไว้แล้วว่าคงจะชอบเขาแน่ ๆ และในที่สุดเราก็ชอบเขาจริง ๆ เขาตัวใหญ่กว่าแซมมีนิดเดียว และเป็นข้าราชการไทยที่ตัวเล็กที่สุดที่ผมเคยเห็น เป็นคนที่ร่าเริงว่องไวและเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาและผมก็เชื่อว่าเขาต้องมีภาระมาก…
เขามอบรายชื่อเรือของกองทัพเรือไทย และอธิบายให้ฟังถึงรายละเอียดความแตกต่างกันตั้งแต่เรือฝึก เรือบรรทุกน้ำมันจนถึงเรือดำน้ำ “ผมต้องการให้พวกคุณมีโอกาสเห็นเรือพวกนี้เองด้วยตาของคุณเอง เรากะว่าจะหาโอกาสในบางคืนภายในอาทิตย์หน้า”
ผมขอบคุณเขาแล้วก็เริ่มต้นกินอาหารกลางวันกัน
เราเดินเข้าห้องอาหารด้วย สังเกตเห็นกระถางเงินประดับด้วยดอกกุหลาบ และนายใบ้ที่สง่าเปรียบเหมือน “ชิ้นส่วนของการต่อต้าน” ไอศกรีมทำด้วยครีมแท้ เกือบทั้งหมด มีรสอร่อยมาก ผมไม่เคยกินอร่อยอย่างนั้นมาก่อน เรามีไอศกรีมเต็มถังเย็นพอที่จะแบ่งให้พวกเรา 18 คน เมื่อเราลุกขึ้นเดินจากโต๊ะอาหารไม่ปรากฏว่ามีไอศกรีมเหลือแม้แต่หยตเดียว ผมดีใจที่ไม่ต้องมีรายงานที่ต้องทำในบ่ายนั้น ผมอยากจะนอนพัก
โฮวาร์ดแจ้งว่า “พันโทสำเริง (สำเริง เนตรายน) จะมาที่นี่ตอนบ่าย 5 โมง พร้อมกับข่าวครั้งหลังสุด ตอนนี้เขากำลังกินข้าวกลางวันกับทหารญี่ปุ่น เขากินกับญี่ปุ่นแทบจะทุกวัน ไปถึงที่ทำงานก็จัดการเขียนรายงานข่าวถึงพวกเราแล้วก็หยุด เพื่อดื่มเล็กน้อย เขาหาข่าวให้พวกเราได้มากจนเราต้องใช้คนสองคนทำหน้าที่เพียงส่งข่าวต่อไปตลอดเวลา
“คุณจะไม่นอนพักเสียหน่อยก่อนหน้าที่เขาจะมาหรือ” ลอยด์ถาม
“ไม่หรอกครับ ผมเคยชินกับการกินอาหารกลางวันมาก ๆ แล้ว นอกจากนี้ยังมีข่าวที่เพิ่งมาจากแคนดีและผมจำเป็นต้องแยกแยะมันด้วย”
“สมมติว่าถ้าผม (นิโคล สมิธ) ขึ้นกินแบบนี้ตลอดเวลาละก็ มีหวังน้ำหนักเพิ่มเป็น 250 แน่ ๆ” ผมพูดกับลอยด์ในขณะที่เรากำลังเดินขึ้นบันได
“ผมท้องจะแตกอยู่แล้ว” ลอยด์กล่าวสั้น ๆ
5 โมงตรง พันโทสำเริงมาถึง เขาเป็นคนท้วม ริมฝีปากหนา ใบหน้าปรุท่าทางแข็งแรงมาก แม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษาอังกฤษที่เราพูดเป็นอย่างดี แต่เขาก็มักจะถามว่า “ขอโทษ คุณว่าอย่างไร” อยู่บ่อย ๆ
“พันโทสมิธครับ ผมนำเอาสภาพกำลังทหารญี่ปุ่นที่แน่นอนปัจจุบันนี้มาแจ้งให้ทราบ คือ ญี่ปุ่นมีกองทหารอยู่ในสยามโดยประมาณสิบสองกองพล แต่ละกองพลมีทหารประมาณหมื่นสองพันคน รวมตลอดไปถึงกองทหารที่อยู่ตามชายแดนพม่าและอินโดจีนด้วย”
พันโทสำเริงเส้นแบ่งอาณาเขตบนแผนที่ซึ่งโฮวาร์ดเอามากางไว้บนโต๊ะ
“5 กองพลตั้งอยู่ตามแนวชายแดนพม่า ตั้งแต่ “ตองยี” ในตอนใต้ของรัฐฉานถึง “เมืองหาน” ที่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้” เขากล่าวพร้อมกับชี้ในแผนที่
“กองพล “กุด” ภายใต้นายพล “กีมูระ” ทางเหนือของสยาม นายพลกีมูระแบ่งกองกำลังออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ ให้ประจำอยู่ที่เขต “เชียงตุง” , เขต “เมืองเลน” และ เขต “เมืองห้าพุง-เมืองหี”
อีกกองพลหนึ่งอยู่ตอนเหนือของพะโค อีกสองกองพลอยู่ตามฝั่งแม่น้ำสะโตง และอีกกองพลหนึ่งอยู่ที่มะละแหม่ง
“กองพลฮิคาริภายใต้บัญชาการของนายพลซาโต้ ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ มีพื้นที่ปฏิบัติการครอบคลุมเขตพระนคร บริเวณใกล้เคียงสระบุรีและปราจีนบุรี ส่วนกองพลของนายพลวาตะริตั้งฐานที่มั่นตอนใต้ของกาญจนบุรี
พันโทสำเริงกล่าวต่อไปให้ตรงจุดว่า “ผมทราบวันนี้เองว่ากองพลเต็มอัตรากำลังจะมาถึงในเร็ว ๆ นี้ แต่จะต่างกับกองพลอื่น ๆ เพราะจะไม่ขึ้นตรงต่อกองทัพญี่ปุ่นที่นี่ หากจะขึ้นต่อกองทัพญี่ปุ่น-ไซ่ง่อนซึ่งมีฐานที่มั่นในอินโดจีน กองพลนี้จะไม่เคลื่อนเข้ามาในสยาม และจะตั้งอยู่ที่ปากเซ”
โฮวาร์ดบันทึกข้อความอย่างระมัดระวัง และเขาก็รีบขึ้นไปข้างบนเพื่อจะส่งวิทยุรายงานไปยังแคนดีเพื่อให้แจ้งแก่กองกำลังของพันธมิตร และหน่วยปฏิบัติการกองทัพอากาศต่อไป
พันโทสำเริงใช้เวลา 40 นาทีเศษเพื่อปรึกษาเรื่องกำลังทหารญี่ปุ่นในสยามเสร็จธุระการงานแล้วเราก็พักผ่อนด้วยการดื่มเพื่อการเยือนทางสังคม เรื่องแรกที่สำเริงเอ่ยถึงในการสนทนาคือ “นางสาวเค ฟรานซิส ดาราภาพยนต์อเมริกัน” ซึ่งสำเริงรับสารภาพว่าชอบเขาอยู่อย่างลับ ๆ เมื่อสำเริงทราบว่าผมรู้จักดาราคนนั้นเป็นการส่วนตัว เราก็เป็นเพื่อนกันขณะนั้นเอง
ประวัติของนายใบ้ผู้รับใช้ชาติ
“นายใบ้” หรือ “ใบ้” เป็นสมญา หรือสามัญนามของบุคคลหนึ่งที่มีชื่อ และนามสกุลจริงว่า “นายแขก แสงชื่น” เกิดเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2461 เป็นบุตรนายแดงและนางก้าน แสงชื่น เมื่ออายุได้ 16 ปี นายให้ได้ทำงานอยู่ที่ร้านขายยาของปราโมทย์ฯ โดยมีหน้าที่ทำความสะอาดและบริการทั่วไป และได้ติดตามปราโมทย์ฯ ไปอยู่ที่บ้านของปราโมทย์ฯ ที่ฝั่งธนบุรีด้วย นายให้ได้รับความไว้วางใจจากปราโมทย์ฯ ให้เข้าร่วมในขบวนการเสรีไทยมีหน้าที่รับใช้ชาติดังที่พันโทนิโคล สมิธ ได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มที่อ้างไว้แล้วนั้น
นายใช้ชอบเล่นกล้ามและเล่นกายกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ใช้ขวดโซดาเอาไม้พาตบนขวดแล้วหกคะเมนเอาเท้าขึ้น ทำตั้งแต่ 5 นิ้วจนเหลือแค่นิ้วหัวแม่มือนิ้วเดียว ฯลฯ
เสร็จสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ตำแหน่งภารโรงของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่างลง ปราโมทย์ฯ จึงบรรจุนายให้ให้ดำรงตำแหน่งนั้น และแม้ว่าปราโมทย์ฯ ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่นายให้ก็ยังคงทำงานอยู่ที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จนถึง พ.ศ. 2519 จึงได้ลาออก
ปราโมทย์ฯ เป็นนายสนามมวยเวทีราชดำเนินคนแรก

เมื่อต้น พ.ศ. 2484 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งขึ้นต่อกระทรวงการคลัง ได้ดำริก่อสร้างอาคารสนามมวยถาวรตามมาตรฐานสากลในที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ริมถนนราชดำเนินนอกตอนมุมถนนพะเนียง ตรง ข้ามโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ จึงได้เรียกประมูลผู้รับเหมาก่อสร้างบริษัทอิมเปรสเซ อิตาเลียเน่ อันเลสเตโร โอเรียนเต เป็นผู้ประมูลได้รับเหมาก่อสร้าง
เริ่มลงมือค่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 กำหนดแล้วเสร็จภายใน 365 วัน แต่การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลงด้วยเหตุสุดวิสัย เพราะวัสดุก่อสร้างขาดแคลนเนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่สถานะสงครามโลกครั้งที่ 2
ภายหลังที่ประเทศไทยได้ประกาศสันติภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แล้วปราโมทย์ฯ ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้อำนวยการก่อสร้างต่อเติมอาคารสนามมวยที่สร้างค้างไว้เดิมนั้นให้สำเร็จพอที่จะสามารถเปิดทำการแข่งขันได้ ปราโมทย์ฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นอย่างดีจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายสนามมวยเวทีราชดำเนินคนแรก และได้เปิดทำการแข่งขันชกมวยเป็นปฐมฤกษ์ ณ เวทีนั้นเมื่อวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2488
ปราโมทย์ฯ ได้รับตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จนกระทั่งรัฐมนตรีของรัฐบาลรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ได้มีคำสั่งลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2490 ให้ปราโมทย์ฯ พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ปราโมทย์ฯ ได้ทำประโยชน์ให้แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ปราโมทย์ฯ ได้ทำประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีมากมายหลายประการ อาทิ เมื่อปราโมทย์ฯ ได้เลื่อนตำแหน่งจากผู้ช่วยผู้อำนวยการเป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2489 แล้วปราโมทย์ ๆ ได้ดำริให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดตั้งบริษัทประกันภัยขึ้นโดยมีความประสงค์จะให้ผู้เช่าอาคารของสำนักงานประกันภัยอาคารที่เช่าไว้กับบริษัททรัพย์สินจะตั้งขึ้นแทนวิธีการเดิม ซึ่งผู้เช่าจะต้องนำอาคารที่เช่าไปประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัทอื่น อันจะนำประโยชน์เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ทรัพย์สินฯ และสำนักงานทรัพย์สินฯ จะไม่ต้องจ่ายเงินค่าประกันภัยให้แก่บริษัทอื่น กับอีกประการหนึ่งองค์การของรัฐบาลก็จะประกันภัยแก่บริษัทของสำนักงานทรัพย์สินที่จะตั้งขึ้นใหม่ซึ่งจะช่วยให้สำนักงานทรัพย์สินได้มีรายได้เพิ่มขึ้น และองค์การของรัฐบาลก็ไม่ต้องประกันภัยบริษัทของเอกชน
ปราโมทย์ฯ ได้นำเรื่องเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2489 ที่ประชุมลงมติเห็นชอบด้วยให้สำนักงานทรัพย์สินจัดตั้งบริษัทประกันภัยขึ้นได้ โดยทรัพย์สิน ๆ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใช้ชื่อบริษัทนี้ว่า “บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด” มีทุนเริ่มแรก 4 ล้านบาท
ในการประชุมกรรมการบริษัทครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2490 ปราโมทย์ฯ ได้รับเลือกจากที่ประชุมให้เป็นผู้จัดการบริษัทคนแรก ปราโมทย์ฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ บริษัทนั้นก็เจริญก้าวหน้าเป็นลำดับมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งมีทุนสำรองและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นหลายสิบเท่าของทุนเดิม (4 ล้าน บาท) ปราโมทย์ฯ จึงเป็นผู้วางพื้นฐานช่วยให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ ประโยชน์จากกิจการรับประกันภัยนั้น
หมายเหตุ:
- บทความชิ้นนี้กองบรรณาธิการ สถาบันปรีดี พนมยงค์ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น “ปรีดี-ปราโมทย์ฯ เมื่อคราวอภิวัฒน์ 2475: จากบทความบางเรื่องของนายปรีดี พนมยงค์” จากบทความบางเรื่องของนายปรีดี พนมยงค์ ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับ 24 มิถุนายน โดยตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2525
อ้างอิง:
- ปรีดี พนมยงค์, บทความบางเรื่องของนายปรีดี พนมยงค์ ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับ 24 มิถุนายน ใน อนุสรณ์ นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร นักภิวัฒน์, เสรีไทย นายสนามมวยเวทีราชดำเนินคนแรก วันที่ 28 พฤศจิกายน 2525, (ม.ป.ท. : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2525) หน้า 68-77.