ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

บทบาท-ผลงาน
29
พฤศจิกายน
2565
ห้วงยามอันสำคัญเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้กลายเป็นเรื่องราวที่ควรจารึกไว้ถึงภารกิจที่นำไปสู่สันติภาพของขบวนการเสรีไทย อีกทั้งยังได้ก่อเกิดประวัติศาสตร์ของภูมิภาคและท้องถิ่นในหลายจังหวัด ดั่งเช่นอนุสรณ์แห่งความทรงจำ "ถนนเสรีไทย" ณ จังหวัดตาก เพื่อเป็นเกียรติแด่วีรชนและเล่าขานความหาญกล้าไปยังอนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป
บทบาท-ผลงาน
28
พฤศจิกายน
2565
'อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ' หนึ่งในผู้ร่วมเดินทางได้จรดปลายปากกาเขียนบอกเล่าเรื่องราวการเยือนถิ่นประวัติศาสต์อันปรากฏร่องรอยของขบวนการเสรีไทยในพื้นที่จังหวัดตาก ณ หมู่บ้านชุมชนเล็กๆ คือ "ตรอกบ้านจีน" พร้อมด้วยชีวประวัติย่อของ 'นายหมัง สายชุ่มอินทร์' คหบดีผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าเสรีไทยแห่งเมืองตาก
เกร็ดประวัติศาสตร์
27
พฤศจิกายน
2565
นายพลนามว่า 'หวอเหงียนย้าป' จะยังคงเป็นชื่อที่อยู่คู่แผ่นดินเวียดนามและเคียงข้างนาม 'โฮจิมินห์' ตลอดกาล มิใช่ด้วยเหตุผลยศถาอันยิ่งใหญ่ แต่เพราะคุณูปการที่นักอภิวัฒน์ผู้นี้ได้เคยกระทำไว้ให้แก่ชาติเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ได้กลายเป็นอนุสรณ์ให้ชาวเวียดนามและโลกได้ระลึกถึงตราบนานเท่านาน สมดังเป็น "ทหารอาวุโสผู้เป็นอมตะนิรันดร์กาล"
ศิลปะ-วัฒนธรรม
26
พฤศจิกายน
2565
Bangkok Theatre Festival 2022 ในธีม "Reimagine" ตลอดจนละครเวทีเรื่อง "๔ แผ่นดินs : The Last Ten Years" การแสดงจาก "กลุ่มละครอนัตตา" และกำกับโดย 'ตั้ว ประดิษฐ ประสาททอง' ตกผลึกความคิดในบริบทการเมือง 90 ปีแห่งการอภิวัฒน์สยาม เพื่อล้อเลียนอมตะวรรณกรรม "สี่แผ่นดิน" ต้นฉบับโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
แนวคิด-ปรัชญา
25
พฤศจิกายน
2565
'นริศ จรัสจรรยาวงศ์' เขียนถึงพิธีฝังหมุดคณะราษฎรในงานรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479 กับบทความของ 'กุหลาบ สายประดิษฐ์' สิงห์น้ำหมึกแห่งวรรณกรรมไทย ซึ่งได้เขียนถึงระบอบใหม่ของประเทศและความประทับใจในหมุดคณะราษฎรอันแสดงไว้ในบทความ "ระบอบรัฐธรรมนูญ" และ "ความเสมอภาค" ดังปรากฏในหนังสือพิมพ์ประชาชาติเมื่อกลางธันวาคมของปีเดียวกัน
แนวคิด-ปรัชญา
24
พฤศจิกายน
2565
นอกจากรัฐประหาร 2490 จะเป็นจุดเริ่มต้นบทบาททางการเมืองของกองทัพแล้วนั้น เหตุดังกล่าวยังได้รื้อฟื้นองคาพยพในระบอบเก่าให้หวนคืนสู่เวทีการเมืองอีกครั้ง ซึ่งแม้จะเคยถูกยกเลิกไปครั้นเมื่อเข้าสู่ระบอบใหม่ในสมัยคณะราษฎร แต่ทว่าภายหลังการรัฐประหารในครั้งนี้องค์กรดังกล่าวได้ถูกนำกลับมาผ่านรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2490 หรือ "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่มแดง" และอย่างเป็นทางการในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2492
เกร็ดประวัติศาสตร์
22
พฤศจิกายน
2565
'ระวิ ฤกษ์จำนง' อดีตทูตที่ปรึกษาฯ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม สังกัดกระทรวงต่างประเทศ และ กรรมการบริหารมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ นับตั้งแต่วันนั้นจนกระทั่งในกาลปัจจุบันนี้ห้วงเวลาได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งเป็นเวลากว่า 22 ปีแห่งการจากลา ทว่า คุณูปการที่ได้เคยกระทำไว้ยังคงเป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลังได้หวนระลึกถึงอยู่เสมอ
แนวคิด-ปรัชญา
21
พฤศจิกายน
2565
ผู้เขียนได้นำเสนอสาระสำคัญของร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ กล่าวคือสร้าง "ประชาธิปไตยสมบูรณ์" ซึ่งเป็นระบอบที่จะต้องเป็นประชาธิปไตยทั้งใน "ทางการเมือง" และ ใน "ทางเศรษฐกิจ" ควบคู่กันไปอย่างมิอาจแยกจากกันได้ ตลอดจนความรักชาติของนายปรีดีที่ปรากฏในร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ
เกร็ดประวัติศาสตร์
17
พฤศจิกายน
2565
พื้นที่จังหวัดตากได้ปรากฏร่องรอยทางประวัติศาสตร์ในการดำเนินงานของขบวนการเสรีไทย ด้วยเหตุฉะนี้จึงนำไปสู่ความพยายามในการสร้างอนุสรณ์แห่งความทรงจำ ได้แก่ "ถนนเสรีไทย" ขึ้น ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อเป็นเกียรติแด่เหล่าวีรชนและผู้กล้าทั้งหลายที้มีส่วนในภารกิจกู้ชาติในครานั้น
ชีวิต-ครอบครัว
16
พฤศจิกายน
2565
นับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 จนกระทั่งวันนี้ เป็นเวลา 94 ปี ที่นามของปรีดี-พูนศุข ได้ประสานรวมเป็นหนึ่งและเคียงข้างกัน แม้ทั้งสองจะล่วงลับละสังขารจากโลกนี้ไปแล้ว แต่เรื่องราวความรักและคุณูปการที่ได้เคยกระทำไว้เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ ยังคงโลดแล่นและไหลเวียนอยู่ในสายธารแห่งประวัติศาสตร์อย่างมิรู้จบ....ตราบนานเท่านาน .
Subscribe to บทความ