ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

บทบาท-ผลงาน
10
ธันวาคม
2565
10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 "สถาปนาธนาคารชาติ" อันเกิดจากความพยายามของนายปรีดี พนมยงค์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารชาติบังเกิดขึ้นด้วยกิจการพัฒนาชาติเพื่อเพิ่มหลักประกันความมั่นคงทางการเงินและทุนสำรองของประเทศ อีกทั้งในการดังกล่าวนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก "ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ" เพื่อเป็นกลไกสำคัญทางเศรษฐกิจแก่ความผาสุกของชาติและพลเมือง
แนวคิด-ปรัชญา
9
ธันวาคม
2565
จุดเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของประเทศ ภายหลังเมื่อเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 อันเป็นที่มาแห่งการรำลึกในนาม "วันรัฐธรรมนูญ" ของทุกๆ ปี รวมไปถึงขั้นตอน กระบวนการ และสาระสำคัญในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งท้ายที่สุดได้บรรลุผลเป็นหลักการกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศดังรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อีกทั้งความสำคัญของการมีส่วนทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
บทสัมภาษณ์
8
ธันวาคม
2565
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ชวนคุยกับ 'คุณไกรศรี ตุลารักษ์' วีรชนแห่งขบวนการเสรีไทย อีกทั้งยังเป็นทายาทของ 'คุณสงวน ตุลารักษ์' หนึ่งในผู้ร่วมก่อการอภิวัฒน์สยาม 2475 และบุคคลใกล้ชิดของ 'นายปรีดี พนมยงค์' รวมไปถึงคราวเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งได้เป็นผู้ร่วมชะตาเดียวกันกับขบวนการเสรีไทย
บทบาท-ผลงาน
8
ธันวาคม
2565
8 ธันวาคม 2488 มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่อง “นายปรีดี พนมยงค์” ไว้ในฐานะ “รัฐบุรุษอาวุโส”
แนวคิด-ปรัชญา
6
ธันวาคม
2565
พัฒนาการของการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในทางเศรษฐกิจ ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่เริ่มต้นนับตั้งแต่การอภิวัฒน์สยาม 2475 อีกทั้งการเกิดขึ้นของบทบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอันเป็นแนวทางคุ้มครองสิทธิและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทว่า การรัฐประหารได้ทำให้หลักการดังกล่าวนั้นพร่าเลือนลงไป อันเนื่องมาจากความถดถอยของความเป็นประชาธิปไตย
เกร็ดประวัติศาสตร์
5
ธันวาคม
2565
เนื่องในวาระ 113 ปี ชาตกาล 'นายเตียง ศิริขันธ์' ขุนพลแห่งภูพานผู้ยิ่งใหญ่ และนักประชาธิปไตยผู้ต่อต้านเผด็จการ ผู้เขียนบอกเล่าถึงชีวประวัติย่อของ 'นายเตียง ศิริขันธ์' รวมไปถึงอิทธิพลความคิดทางการเมืองที่กรุยทางไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบเผด็จการ และปฏิบัติการขบวนการเสรีไทยในภาคอีสาน
เกร็ดประวัติศาสตร์
4
ธันวาคม
2565
'ทวีป วรดิลก' เขียนถึง ชื่อเสียงของ 'หวอเหงียนย้าป' ที่ขจรไปไกลสืบเนื่องจากการต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมฝรั่งเศสและอเมริกาได้จนสำเร็จ อีกทั้งเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง 'นายปรีดี พนมยงค์' และ 'โฮจิมินห์' ที่นำพาให้ผู้เขียนและ 'ศุขปรีดา พนมยงค์' พร้อมด้วย "คณะมิตรภาพ" ได้เดินทางเข้าเยี่ยมเยียนหวอเหงียนย้าป ณ ที่พำนัก
เกร็ดประวัติศาสตร์
3
ธันวาคม
2565
ผู้เขียนได้บอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ทางการเมืองของ 'นายปรีดี พนมยงค์' ในประเทศอังกฤษ โดยมีที่มาซึ่งเกิดขึ้นขณะที่นายปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข ต้องระเห็จระเหินไปยังต่างแดน ทว่า ระหว่างการเดินทางในครานั้นก็ได้นำพาให้ทั้งสองไปพบเจอกับ 'เจมส์ แม็กซ์ตัน' (James Maxton) สมาชิกสภาอังกฤษแห่งพรรคแรงงานอิสระ (Independent Labour Party: ILP)
แนวคิด-ปรัชญา
2
ธันวาคม
2565
บทความนี้ชวนให้พิจารณาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพิจารณาผ่านทฤษฎี "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ" ซึ่งว่าด้วยการกำเนิดขึ้นของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ อีกทั้ง "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่ได้รับมา" ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และข้อจำกัดในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
ศิลปะ-วัฒนธรรม
1
ธันวาคม
2565
"คินีและทูรันโดต์" บอกเล่าเรื่องราวเจ้าหญิงทูรันโดต์ผู้เย็นชาและไม่ศรัทธาในความรัก การจะอภิเษกกับเจ้าหญิงต้องถูกทดสอบโดยตอบปริศนา 3 ข้อ หากตอบข้อใดผิดชายผู้นั้นจะต้องถูกบั่นศีรษะ เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างซ่อนเร้นนัยที่แอบแฝงไว้ และชวนให้ผู้ชมได้ตีความผ่านมุมมองที่แตกต่างและหลากหลาย
Subscribe to บทความ