รัฐประหาร 2490 นั้นมิได้มีความสำคัญเฉพาะในทางการเมือง ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ไม่ได้ฉุดรั้งการพัฒนาของประชาธิปไตยไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่การรัฐประหาร 2490 นั้นได้ผลักดันแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้เป็น “ทุนนิยมโดยรัฐ” แบบเข้มข้น โดยเอื้อประโยชน์ให้ส่วนตัวและให้ความคุ้มครองแก่พ่อค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสงครามเย็นเริ่มต้น การเข้ามามีบทบาทของพญาอินทรี ทำให้เกิดความสัมพันธ์สามฝ่ายระหว่าง ขุนศึก พ่อค้า และพญาอินทรี
สภาพเศรษฐกิจและการเมืองไทยก่อนรัฐประหาร 2490
ก่อนการรัฐประหาร 7 พฤศจิกายน 2490 โดยพลโท ผิน ชุณหะวัณ ประเทศไทยกำลังฟื้นตัวขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดารัฐบาลทั้งหลายที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาดำรงตำแหน่งนั้นใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการฟื้นฟูประเทศ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งภาวะเงินเฟ้อ และการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค (โปรดดู การขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
สงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นมีบทบาทสำคัญและเปลี่ยนโฉมหน้าเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากนับตั้งแต่สนธิสัญญาเบาว์ริงในปี พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งผลของการเปิดเสรีทางการค้านี้ทำให้ธุรกิจสำคัญตกอยู่ภายใต้การครอบงำของชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้าและการธนาคาร ในด้านการค้าบริษัทแองโกสยาม จำกัด บริษัทบอมเบย์เบอร์มา บริษัทบอร์เนียว บริษัทอีสต์เอเชียติค และ บริษัทบริติช-อเมริกันยาสูบ เป็นต้น[1] และในด้านการธนาคารนั้นในระยะเริ่มต้นบริษัทที่เข้ามาในรูปของบริษัทตัวแทนธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเข้ามาพร้อมกับบริษัทการค้าใหญ่ ๆ ของอังกฤษ เช่น บริษัทวินเซอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารเมอร์แคนไทล์ เป็นต้น[2]
อย่างไรก็ตาม เมื่อการค้าและพาณิชย์ขยายตัวมากขึ้น บริษัทตัวแทนธนาคารพาณิชย์รูปแบบนี้ไม่อาจตอบสนองความต้องการของบริษัทตะวันตกได้อีกต่อไป ธนาคารต่างประเทศจึงได้เริ่มเข้ามาตั้งกิจการในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งธนาคารสัญชาติอังกฤษ เช่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ และธนาคารเมอร์แคนไทล์ เป็นต้น และธนาคารสัญชาติฝรั่งเศส เช่น ธนาคารอินโดจีน เป็นต้น ซึ่งธนาคารต่างประเทศเหล่านี้เข้ามาเพื่อสนับสนุนและให้บริการทางการเงินแก่บริษัทของประเทศตะวันตก เพื่อให้สามารถทำการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น[3]
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้หน้าตาเศรษฐกิจของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากบริษัทการค้าของประเทศตะวันตกหยุดชะงักลง เพราะผลของภาวะสงคราม ประกอบกับบริษัทของประเทศตะวันตกส่วนใหญ่เป็นบริษัทของประเทศคู่สงคราม ในบางกิจการรัฐบาลได้รับโอนกิจการของเอกชนเหล่านั้นมาดำเนินการเอง แต่ในบางส่วนก็ต้องปิดกิจการไป เพื่อชดเชยการขาดหายไปของกิจการเหล่านี้ รัฐบาลได้สนับสนุนและอนุญาตให้มีการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ของเอกชนขึ้นภายในประเทศเพิ่มขึ้นมาอีกหลายแห่ง เช่น ธนาคารกรุงเทพ
รัฐบาลและนายทุนพ่อค้าชาวจีน
สถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ความชะงักงันของบริษัทธุรกิจของชาวยุโรปในช่วงภาวะสงคราม เปิดโอกาสให้ธุรกิจใหม่
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ธุรกิจสัญชาติไทยได้เกิดขึ้นและเข้ามาทดแทนธุรกิจชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจธนาคาร โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ธนาคารของต่างชาติถูกปิดไปช่วงสงครามและไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการได้อีก และประการที่สอง ความต้องการให้มีธนาคารขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการค้าและพาณิชย์ของคนไทยที่ขยายตัวขึ้นภายหลังสงคราม ปัจจัยทั้งสองช่วยให้ธนาคารสัญชาติไทยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีคู่แข่งที่มีความได้เปรียบจากต่างประเทศ ทำให้ธนาคารไทยพัฒนาบทบาทของตัวเองขึ้นมาแทนธนาคารของชาติตะวันตกได้
ลักษณะโดดเด่นของธนาคารพาณิชย์สัญชาติไทยที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ ธนาคารพาณิชย์เป็นการร่วมทุนของกลุ่มเศรษฐกิจหลายกลุ่มเข้าด้วยกันทั้งกลุ่มเชื้อสายเจ้า กลุ่มขุนนางเดิม กลุ่มข้าราชการ และพ่อค้าชาวจีน ดังปรากฏตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ธนาคารพาณิชย์และกลุ่มผู้ร่วมทุนจัดตั้งธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์ |
กลุ่มเชื้อสายเจ้า |
กลุ่มขุนนางเดิม/ข้าราชการ |
พ่อค้าชาวจีน |
ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ |
|
|
|
ธนาคารกรุงเทพ |
|
|
|
ธนาคารกสิกรไทย |
|
|
|
ธนาคารศรีนคร |
|
|
|
การเกิดขึ้นของกิจการธนาคารพาณิชย์สัญชาติไทย
ตารางที่ 2 : ธุรกิจภายในเครือตระกูลนักธุรกิจพ่อค้าชาวจีน
ตระกูลนักธุรกิจพ่อค้าชาวจีน |
ธนาคาร |
บริษัท/ธุรกิจในเครือ |
ตระกูลหวั่งหลี |
|
|
ตระกูลล่ำซำ |
|
|
ตระกูลโสภณพาณิชย์ |
|
|
ตระกูลเตชะไพบูลย์ |
|
|
อย่างไรก็ตาม สภาวการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยหากปราศจากเงื่อนไขสำคัญคือ การร่วมมือระหว่างรัฐบาลและนายทุนพ่อค้า ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 2480 แม้ว่าผู้ปกครองฝ่ายทหารพยายามวางแผนที่จะให้รัฐบาลเข้าควบคุมเศรษฐกิจภาคเมือง โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยมเป็นกลยุทธ์เพื่อจำกัดธุรกิจของชาวจีน โดยขยายกิจการรัฐวิสาหกิจออกไป แต่ผู้ปกครองฝ่ายพลเรือนบางคนกลับสนับสนุนการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกับธุรกิจเอกชน โดยตระหนักได้ถึงปัญหาของระบอบการปกครองใหม่ที่รวมศูนย์อยู่ที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และนายทหารอาวุโสทำให้เกิดความไม่แน่ใจในระบบราชการ ผู้ปกครองฝ่ายพลเรือนจึงใช้เงินทุนของรัฐส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการเอกชนชาวจีน นักธุรกิจพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้จึงได้ผลประโยชน์หลายด้าน เช่น ด้านเงินทุน ความคุ้มครองทางการเมือง หรือในบางครั้งได้สิทธิพิเศษผูกขาดกิจการบางอย่าง เป็นต้น[7]
การประสานความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองฝ่ายพลเรือนกับกลุ่มทุนชาวจีนจึงเป็นความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ในด้านของกลุ่มทุนชาวจีนนั้นได้ประโยชน์และความคุ้มครองจากผู้ปกครองฝ่ายพลเรือน ทำให้ผู้ปกครองฝ่ายทหารไม่กล้าเข้ามายุ่งเกี่ยวสามารถประกอบกิจการได้โดยสะดวก ในขณะที่ผู้ปกครองฝ่ายพลเรือนนั้นก็ได้ประโยชน์จากการอาศัยความชำนาญทางการค้าและพาณิชย์ของกลุ่มทุนชาวจีนเพี่อสร้างประโยชน์ในทางเศรษฐกิจโดยเชิญบรรดาพ่อค้าชาวจีนพวกนี้เข้ามาเป็นคณะกรรมาการบริหารในรัฐวิสาหกิจ และในอีกทางหนึ่งบรรดาพ่อค้าชาวจีนก็ได้เชิญผู้ปกครองเหล่านี้เข้าไปนั่งเป็นคณะกรรมการหรือผู้ถือหุ้นในบริษัทของตนเอง ทำให้ผู้ปกครองเหล่านี้สามารถแสวงหาประโยชน์จากผลกำไรจากการประกอบธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นคงและฐานเสียงให้กับตัวเองได้[8]
ความสัมพันธ์แบ
เมื่อกลุ่มราชครูยังคงดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐวิสาหกิจและกลุ่มทุนพ่อค้าชาวจีน ตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งธนาคารกรุงเทพประสบวิกฤตทางการเงินในปีช่วงปี พ.ศ. 2495
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทุนธุรกิจชาวจีนกับคณะรัฐประหารดำเนินไปบนความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลกันระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากกลุ่มทุนธุรกิจชาวจีน และอำนาจความคุ้มกันทางการเมืองจากคณะรัฐประหารที่มอบสิทธิผูกขาดและความช่วยเหลือให้กลุ่มทุนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น
การมาถึงครั้งใหม่ของพญาอินทรี
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงเค้าลางของสงครามเย็นเริ่มปรากฏให้เห็นบ
ประเทศไทยมีความสำคัญในฐานะจุดยุทธศาสตร์สำหรับฐานทัพอเมริกาในอินโดจีนและการสกัดกั้นการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งตามทฤษฎีโดมิโนจำเป็นต้องปกป้องมิให้ประเทศถัดไปเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาจึงพยายามเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทยเพื่อให้การดำเนินนโยบายของตนประสบผลสำเร็จ ซึ่งความเชื่อของผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า ประเทศไทยจะไม่กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์หากประกอบไปด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือ ประการแรก ประเทศไทยมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง และประการที่สอง เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตขึ้นบนพื้นฐานของทุนเอกชน[12]
สำหรับเงื่อนไขประการแรกนั้นสหรัฐอเมริกาเริ่มให้การสนับสนุนผู้นำทหารและช่วยเหลือให้ผู้นำทหารขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองเหนือรัฐบาล ซึ่งความพยายามนี้ทำได้ไม่ยากเย็นสักเท่าใด และได้รับการตอบสนองโดยดีจากผู้นำทหารในขณะนั้น สำหรับเงื่อนไขประการที่สองนั้นสหรัฐอเมริกาเสนอแนะและผลักดันให้รัฐบาลทหารจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่สนับสนุนเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้ยากเกินไปเนื่องจากบรรดาผู้นำทหารนั้นได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุนเอกชนก่อนหน้านี้แล้ว ทว่า ปัญหาบางประการเท่านั้นที่สร้างข้อจำกัดในเรื่องนี้ก็คือ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยมโดยใช้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกสำคัญตามแนวทางของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้นไม่สอดคล้องกับแนวทางของสหรัฐอเมริกา ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนั้นได้รับผลกระทบจากสงครามเกาหลีทำให้ภาคเอกชนซบเซา ทำให้สภาหอการค้ากรุงเทพฯ ได้แสดงความคิดเห็นว่า การสนับสนุนรัฐวิสาหกิจเป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น รัฐบาลจึงควรสนับสนุนธุรกิจเอกชนมากกว่า บทบาทของรัฐควรเปลี่ยนไปผูกขาดเฉพาะสิ่งซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจเอกชน เช่น การจัดหาสินค้าบริการให้กับกองทัพ การจัดหาสาธารณูปโภคพื้นฐาน และบริการด้านคมนาคมขนส่ง เป็นต้น ซึ่งการแบ่งบทบาทนี้จะทำให้รัฐและเอกชนประกอบกิจการสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน[13]
เมื่อทุกอย่างเป็นใจและถึงจุดที่สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย การรัฐประหารซึ่งนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ล้มล้างการปกครองของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2500 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2501 และใช้การปกครองในระบอบเผด็จการแทน รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมีจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรีได้ตอบรับนโยบายของสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ และสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทยมากขึ้น
จอมพลสฤษดิ์ได้เริ่มภารกิจในการปรับปรุงระบบเศรษฐกิจตามแนวทางการชี้นำของสหรัฐอเมริกาจากรายงานการประชุมธนาคารโลกในปี พ.ศ. 2502 ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ความไม่มีประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจไทยที่ดำเนินกิจการโดยขาดทุน (ยกเว้นกิจการยาสูบและสุรา) รายงานของธนาคารโลกแนะนำให้รัฐบาลไทยปรับลดจำนวนรัฐวิสาหกิจและสนับสนุนธุรกิจของเอกชน ตลอดจนถึงการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างกฎหมายเสียใหม่ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและระบบการให้สินเชื่อ พร้อมทั้งจัดตั้งสถาบันเพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ[14] ซึ่งรัฐบาลก็ได้รับเอานโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติทั้งในแง่ของการยุบเลิกรัฐวิสาหกิจและขายกิจการให้กับภาคเอกชน การพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา การบริหารราชการ และโครงสร้างองค์กรทางเศรษฐกิจ เกิดหน่วยงานของรัฐใหม่
แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ 3 ฉบับแรกนั้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และในขณะเดียวกันด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ธนาคารโลกได้ให้รัฐบาลไทยกู้ยืมเงินจำนวนสี่ร้อยสี่สิบล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างถนน เส้นทางคมนาคม ระบบชลประทาน ไฟฟ้าพลังน้ำ และการศึกษา ผลของการปฏิรูปเศรษฐกิจนี้ทำให้เกิดความพยายามดึงการลงทุนเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นผ่านทางกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ปรับปรุงระบบกฎหมายที่ดิน ยอมให้ธุรกิจเอกชนต่างประเทศถือครองที่ดินได้ และบั่นทอนการรวมตัวของสหภาพแรงงาน
สำหรับทุนเอกชนภายในประเทศการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่าง
สภาพดังกล่าวนี้สร้างความได้เปรียบให้แก่ทุนเอกชนภายในประเทศและสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วร่วมถึงการเข้าไปในชนบทที่มีศักยภาพ ธุรกิจโดยส่วนใหญ่ในขณะนั้นเป็นของทุนเอกชนภายในประเทศ สำหรับบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมักเข้ามาในลักษณะของการร่วมทุนกับทุนเอกชนภายในประเทศในอุตสาหกรรมที่บริษัทเอกชนสัญชาติไทยยังขาดความชำนาญ เช่น เคมีภัณฑ์ เภสัชกรรม ปิโตรเลียม และวิศวกรรม เป็นต้น ซึ่งเข้ามาเพื่อผลิตสินค้าและบริการป้อนให้กับตลาดภายในประเทศ ดังนั้น ทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาจึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจากทุนเอกชนภายในประเทศเลย ในทางตรงกันข้ามทุนจากต่างประเทศเหล่านี้กลับพลอยได้ประโยชน์จากเส้นสายที่ทุนเอกชนภายในประเทศมีกับรัฐบาล และทุนเอกชนภายในประเทศได้เรียนรู้องค์ความรู้จากต่างประเทศ
แม้โดยรวมเศรษฐกิจภายในประเทศจะดีขึ้นจากการที่รัฐบาลสร้างกำแพงภาษี และให้ทุนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากต่างประเทศ และแรงงานราคาถูกภายในประเทศ ทำให้ตลาดสินค้าและบริการภายในประเทศขยายตัวเร็วและสามารถรักษาดุลการชำระเงินระหว่างประเทศเอาไว้ได้ ทว่า ระบบเศรษฐกิจที่รัฐใช้อำนาจรัฐเข้าสนับสนุนทุนเอกชนภายในประเทศนั้นทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยบิดเบี้ยวและไม่เติบโตในลักษณะอย่างที่ควรจะเป็น ชุดของนโยบายที่รัฐบาลไทยนำมาจากสหรัฐอเมริกาถูกดัดแปลงไปโดยความประสงค์ของทุนเอกชนภายในประเทศ ในปัจจุบันนี้แม้ว่ารัฐบาลจะไม่ได้ออกหน้าหรือให้ความสนับสนุนกับเอกชนรายใดเป็นพิเศษ แต่กลับใช้กลไกอำนาจรัฐทางกฎหมายแทน ซึ่งตราบใดที่กฎหมายและระเบียบในประเทศไม่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้[16] นโยบายว่าด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจใด
[1] ธารทอง ทองสวัสดิ์, “เศรษฐกิจไทยในช่วง พ.ศ. 2488 – 2504”, ในเศรษฐกิจไทย, (นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2533), น. 293.
[2] เพิ่งอ้าง, น. 293.
[3] เพิ่งอ้าง, น. 293.
[4] เพิ่งอ้าง, น. 293.
[5]
[6] ธารทอง ทองสวัสดิ์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 1, น. 294.
[7] ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 5, น. 149 – 150.
[8] เพิ่งอ้าง, น. 151 – 155.
[9]
[10]
[11]
[12]
[13]
[14]
[15]
[16]